อกนิษฐ์ - อกุปปธรรม

อกนิษฐ์ รูปพรหมชั้นสูงสุดในพรหมสิบหกชั้น และเป็นสุทธาวาสภูมิชั้นสูงสุด (ข้อ ๕ ในสุทธาวาส ๕)

อกรณียะ กิจอันบรรพชิตไม่ควรทำ ๔ อย่าง ทำแล้วขาดจากความเป็นภิกษุ คือ ๑. เสพเมถุน ๒. ลักของเขาตั้งแต่ ๕
มาสกขึ้นไป ๓. ฆ่ามนุษย์ ๔. อวดคุณพิเศษ (อุตริมนุสธรรม) ที่ไม่มีในตน (สำหรับภิกษุณี มี ๘) ดู อนุศาสน์

อกัปปิยะ ไม่ควร, ไม่สมควรแก่ภิกษุจะบริโภคใช้สอย คือ ต้องห้ามด้วยพระพุทธเจ้าไม่ทรงอนุญาตให้ภิกษุใช้หรือ
ฉัน, สิ่งที่ตรงข้ามกับ กัปปิยะ

อกัปปิยวัตถุ สิ่งที่ไม่เหมาะไม่ควร คือภิกษุไม่ควรบริโภคใช้สอย

อกปฺปิเย กปฺปิยสญฺญิตา อาการที่จะต้องอาบัติด้วยสำคัญว่าควร ในของที่ไม่ควร

อกาละ เวลาอันไม่ควร

อกาลจีวร จีวรที่เกิดขึ้นนอกเขต จีวรกาล นอกเขตอานิสงส์กฐิน

อกาลิโก พระธรรมไม่ประกอบด้วยกาล, ให้ผลไม่จำกัดกาล คือไม่ขึ้นกับกาลเวลา ไม่จำกัดด้วยกาล ให้ผลแก่ผู้ปฏิบัติ
ทุกเวลา ทุกโอกาส บรรลุเมื่อใด ก็ได้รับผลเมื่อนั้น ไม่เหมือนผลไม้ที่ให้ผลตามฤดู, อีกอย่างหนึ่งว่าเป็นจริงอยู่อย่าง
ไร ก็เป็นจริงอยู่อย่างนั้นเรื่อยไป (ข้อ ๓ ในธรรมคุณ ๖)

อกิริยทิฏฐิ ความเห็นว่าไม่เป็นอันทำ, เห็นว่าการกระทำไม่มีผล อธิบายอย่างง่าย เช่น ทำชั่ว หากไม่มีคนรู้คนเห็น ไม่
มีคนชม ไม่มีคนลงโทษ ก็ชื่อว่าไม่เป็นอันทำ เป็นมิจฉาทิฏฐิร้ายแรงอย่างหนึ่ง (ข้อ ๑ ในทิฏฐิ ๓)

อกุปปธรรม ผู้มีธรรมที่ไม่กำเริบ คือผู้ที่เมื่อได้สมาบัติแล้ว สมาบัตินั้นจะไม่เสื่อมไปเลย ได้แก่พระอริยบุคคลทั้งหมด
เทียบ กุปปธรรม