อมิตา - อรรคสาวก
อมิตา เจ้าหญิงศากยวงศ์
เป็นพระราชบุตรีของพระเจ้าสีหหนุ เป็นพระกนิฏฐภคินีของพระเจ้าสุทโธทนะ เป็นพระเจ้าอา
ของพระพุทธเจ้า
อมิโตทนะ กษัตริย์ศากยวงศ์
เป็นพระราชบุตรองค์ที่ ๓ ของพระเจ้าสีหหนุ เป็นพระอนุชาองค์ที่ ๒ ของพระเจ้าสุท-
โธทนะ เป็นพระเจ้าอาของพระพุทธเจ้า มีโอรสชื่อมหานามะ และอนุรุทธะ
อมูฬหวินัย ระเบียบที่ให้แก่ภิกษุผู้หายเป็นบ้าแล้ว,
วิธีระงับอธิกรณ์สำหรับภิกษุผู้หายจากเป็นบ้า ได้แก่กิริยาที่สงฆ์
สวดประกาศให้สมมติแก่ภิกษุผู้หายเป็นบ้าแล้ว เพื่อระงับอนุวาทาธิกรณ์ อธิบายว่า
จำเลยเป็นบ้า ทำการล่วงละเมิด
อาบัติ แม้จะเป็นจริงก็เป็นอาบัติ เมื่อเธอหายบ้าแล้วมีผู้โจทด้วยอาบัติระหว่างเป็นบ้านั้นไม่รู้จบ
ท่านให้สงฆ์สวด
กรรมวาจาประกาศความข้อนี้ไว้ เรียกว่า อมูฬหวินัย ยกฟ้องของโจทเสีย ภายหลังมีผู้โจทด้วยอาบัตินั้น
หรืออาบัติ
เช่นนั้น ในคราวที่เป็นบ้า ก็ให้อธิกรณ์เป็นอันระงับด้วยอมูฬหวินัย (ข้อ ๓
ในอธิกรณสมถะ ๗)
อโมหะ ความไม่หลง,
ธรรมที่เป็นปฏิปักษ์ต่อโมหะ คือ ความรู้จริง ได้แก่ปัญญา (ข้อ ๓ ในกุศลมูล
๓)
อยู่กรรม ดู ปริวาส
อยู่ปริวาส
ดู ปริวาส
อยู่ร่วม ในประโยคว่า
“ภิกษุใดรู้อยู่ กินร่วมก็ดี อยู่ร่วมก็ดี สำเร็จการนอนด้วยกันก็ดี” ร่วมอุโบสถสังฆกรรม
อโยนิโสมนสิการ
การทำในใจโดยไม่แยบคาย, การไม่ใช้ปัญญาพิจารณา, ความไม่รู้จักคิด, การปล่อยให้อวิชชา
ตัณหาครอบงำ; เทียบ โยนิโสมนสิการ
อรดี ธิดามารคนหนึ่งใน
๓ คน อาสาพระยามารผู้เป็นบิดา เข้าไปประโลมพระพุทธเจ้าด้วยอาการต่างๆ ในสมัยที่พระ
องค์เสด็จอยู่ที่ไม้อชปาลนิโครธ ภายหลังตรัสรู้ใหม่ๆ (อีก ๒ คน คือตัณหา กับ
ราคา)
อรติ ความขึ้งเคียด,
ความไม่ยินดีด้วย, ความริษยา
อรรค ดู อัคร
อรรคสาวก สาวกผู้เลิศ,
สาวกผู้ยอดเยี่ยม, ศิษย์ผู้เลิศกว่าศิษย์อื่นของพระพุทธเจ้า หมายถึงพระสารีบุตร
และพระมหา
โมคคัลลานะ ดู อัครสาวก