อรรถ - อรหัตตผล

อรรถ เนื้อความ, ใจความ, ความหมาย, ความมุ่งหมาย, ผล, ประโยชน์

อรรถ ๓ ดู อัตถะ

อรรถกถา ปกรณ์ที่พระอาจารย์ทั้งหลายในภายหลังแต่งแก้อรรถแห่งบาลี คัมภีร์ อธิบายความในพระไตรปิฎก

อรรถกถาจารย์ อาจารย์ผู้แต่งอรรถกถา

อรรถกถานัย เค้าความในอรรถกถา, แนวคำอธิบายในอรรถกถา, แง่แห่งความหมายที่แสดงไว้ในอรรถกถา

อรรถคดี เรื่องที่ฟ้องร้องกันในโรงศาล, ข้อที่กล่าวหากัน

อรรถรส “รสแห่งเนื้อความ”, รสแห่งความหมาย” สาระที่ต้องการของเนื้อความ, เนื้อแท้ของความหมาย, ความหมาย
แท้ที่ต้องการ, ความมุ่งหมายที่แทรกซึมอยู่ในเนื้อความ คล้ายกับที่มักพูดกันในบัดนี้ว่า เจตนารมณ์ (พจนานุกรมว่า
ถ้อยคำที่ทำให้เกิดความซาบซึ้ง)

อรรถศาสน์ คำสอนว่าด้วยเรื่องประโยชน์ ๓ อย่าง คือ ๑. ทิฏฐธัมมิกัตถะ ประโยชน์ในปัจจุบัน ๒. สัมปรายิกัตถะ
ประโยชน์ที่จะได้ในภายหน้า ๓. ปรมัตถะ ประโยชน์อย่างยิ่ง คือพระนิพพาน

อรหํ เป็นพระอรหันต์ คือ เป็นผู้ไกลจากกิเลสและบาปธรรม ทรงความบริสุทธิ์, หรือเป็นผู้กำจัดข้าศึกคือกิเลสสิ้น
แล้ว, หรือเป็นผู้หักกรรมแห่งสังสารจักร อันได้แก่ อวิชชา ตัณหา อุปาทาน กรรม, หรือเป็นผู้ควรแนะนำสั่งสอน เป็น
ผู้ควรรับความเคารพควรแก่ทักษิณา และการบูชาพิเศษ, หรือเป็นผู้ไม่มีข้อลับ คือไม่มีข้อเสียหายอันควรปกปิด (ข้อ
๑ ในพุทธคุณ ๙)

อรหัต ความเป็นพระอรหันต์, ชื่อมรรคผลชั้นสูงสุดในพระพุทธศาสนา ซึ่งตัดกิเลสในสันดานได้เด็ดขาด; เขียนอย่าง
คำเดิมเป็น อรหัตต์

อรหัตตผล ผลคือการสำเร็จเป็นพระอรหันต์, ผลคือความเป็นพระอรหันต์, ผลที่ได้รับจากการละสังโยชน์ทั้งหมด
อันสืบเนื่องมาจากอรหัตตมรรค ทำให้เป็นพระอรหันต์