อังคุตตราปะ - อัญญวาทกกรรม

อังคุตตราปะ ชื่อแคว้นหนึ่งในชมพูทวีปครั้งพุทธกาล เมืองหลวงเป็นเพียงนิคมชื่อ อาปณะ

อังคุลิมาละ ดู องคุลิมาล

อังสะ ผ้าที่ภิกษุใช้ห้อยเฉวียงบ่า

อัจเจกจีวร จีวรรีบร้อน หรือผ้าด่วน หมายถึง ผ้าจำนำพรรษาที่ทายกผู้มีเหตุรีบร้อน ขอถวายก่อนกำหนดเวลาปกติ
(กำหนดเวลาปกติสำหรับถวายผ้าจำนำพรรษา คือ จีวรกาลนั่นเอง กล่าวคือ ต้องผ่านวันปวารณาไปแล้วเริ่มแต่แรม ๑
ค่ำ เดือน ๑๑ ถึงขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๒ และถ้ากรานกฐินแล้ว นับต่อไปอีกถึงขึ้น ๑๕ ต่ำ เดือน ๔; เหตุรีบร้อนนั้น เช่น
เขาจะไปทัพหรือเจ็บไข้ไม่ไว้ใจชีวิต หรือมีศรัทธาเลื่อมใสเกิดขึ้นใหม่) อัจเจกจีวรเช่นนี้มีพุทธานุญาตให้ภิกษุรับเก็บ
ไว้ได้ แต่ต้องรับก่อนวันปวารณาไม่เกิน ๑๐ วัน (คือตั้งแต่ขึ้น ๖ ค่ำ ถึง ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๑) (สิกขาบทที่ ๘ แห่งปัตตวรรค
นิสสัคคิยปาจิตตีย์)

อัจฉริยะ “เหตุอันควรที่จะดีดนิ้วเปาะ”, อัศจรรย์, แปลกวิเศษ, น่าทึ่งควรยอมรับนับถือ, ดีเลิศล้ำน่าพิศวง, มีความรู้
ความสามารถทรงคุณสมบัติเหนือสามัญหรือเกินกว่าระดับปกติ

อัชฌาจาร ความประพฤติชั่ว, การละเมิดศีล, การล่วงมรรยาท, การละเมิดประเพณี

อัชฌาสัย นิสัยใจคอ, ความนิยม, ความมีน้ำใจ

อัญชนะ กษัตริย์โกลิยวงศ์ผู้ครองเทวทหนคร มีมเหสีพระนามว่า ยโสธรา เป็นพระชนกของพระมหามายาเทวี ผู้เป็น
พระพุทธมารดาและพระนางมหาปชาบดีโคตมี (ตำนานว่ามีโอรสด้วย ๒ องค์ คือ ทัณฑปาณิ และสุปปพุทธะ)

อัญชลีกรรม การประนมมือแสดงความเคารพ

อญฺชลีกรณีโย พระสงฆ์เป็นผู้ควรได้รับอัญชลีกรรม คือการกราบไหว้ ประนมมือไหว้ เพราะมีความดีที่ควรแก่การ
ไหว้ ทำให้ผู้ไหว้ผู้กราบ ไม่ต้องกระดากใจ (ข้อ ๘ ในสังฆคุณ ๙)

อัญญเดียรถีย์ ผู้ถือลัทธินอกพระพุทธศาสนา

อัญญภาคิยสิกขาบท ชื่อสิกขาบทที่ ๙ แห่งสังฆาทิเสส (ภิกษุหาเลสโจทภิกษุอื่นด้วยอาบัติปาราชิก), เรียกอีกชื่อหนึ่ง
ว่า ทุติยทุฏฐโทสสิกขาบท

อัญญวาทกกรรม กรรมที่จะพึงกระทำแก่ภิกษุผู้กล่าวคำอื่น คือภิกษุประพฤติอนาจาร สงฆ์เรียกตัวมาถาม แกล้งยก
เรื่องอื่น ๆ มาพูดกลบเกลื่อนเสียไม่ให้การตามตรง, สงฆ์สวดประกาศความนั้นด้วยญัตติทุติยกรรม เรียกว่ายกอัญญ
วาทกกรรมขึ้น, เมื่อสงฆ์ประกาศเช่นนี้แล้ว ภิกษุนั้นยังขืนทำอย่างเดิมอีก ต้องอาบัติปาจิตตีย์ (สิกขาบทที่ ๒ แห่งภูต
คามวรรค ปาจิตติยกัณฑ์), คู่กับ วิเหสกกรรม