อัตตาธิปเตยยะ - อันตคาหิกทิฏฐิ

อัตตาธิปเตยยะ ดู อัตตาธิปไตย

อัตตาธิปไตย ความถือตนเป็นใหญ่ จะทำอะไรก็นึกถึงตน คำนึงถึงฐานะเกียรติศักดิ์ศรี หรือผลประโยชน์ของตนเป็น
สำคัญ, พึงใช้แต่ในขอบเขตที่เป็นความดี คือ เว้นชั่วทำดีด้วยเคารพตน (ข้อ ๑ ในอธิปไตย ๓)

อัตตานุทิฏฐิ ความตามเห็นว่าเป็นตัวตน

อัตถะ ประโยชน์, ผลที่มุ่งหมาย มี ๓ คือ ๑. ทิฏฐธัมมิกัตถะ ประโยชน์ปัจจุบัน, ประโยชน์ในภพนี้ ๒. สัมปรายิกัต
ถะ
ประโยชน์เบื้องหน้า, ประโยชน์ในภพหน้า ๓. ปรมัตถะ ประโยชน์อย่างยิ่ง, ประโยชน์สูงสุดคือ พระนิพพาน;
อัตถะ ๓ อีกหมวดหนึ่ง คือ ๑. อัตตัตถะ ประโยชน์ตน ๒. ปรัตถะ ประโยชน์ผู้อื่น ๓. อุภยัตถะ ประโยชน์ทั้งสองฝ่าย

อัตถจริยา ประพฤติสิ่งที่เป็นประโยชน์แก่ผู้อื่น, การบำเพ็ญประโยชน์ (ข้อ ๓ ในสังคหวัตถุ ๔)

อัตถปฏิสัมภิทา ปัญญาแตกฉานในอรรถ, ความแตกฉานสามารถอธิบายเนื้อความย่อของภาษิตโดยพิสดาร และความ
เข้าใจที่สามารถคาดหมายผลข้างหน้าอันจะเกิดสืบเนื่องไปจากเหตุ (ข้อ ๑ ในปฏิสัมภิทา ๔)

อัตถสาธกะ ยังอรรถให้สำเร็จ, ทำเนื้อความให้สำเร็จ

อัตถัญญุตา ความเป็นผู้รู้จักผล เช่นรู้จักว่า สุขเป็นผลแห่งเหตุอันนี้ ทุกข์เป็นผลแห่งเหตุอันนี้, รู้ความมุ่งหมายและรู้
จักผล; ตามบาลีว่า รู้ความหมายเช่นว่า ธรรมข้อนี้ ๆ มีความหมายอย่างนี้ ๆ หลักข้อนี้ ๆ มีเนื้อความอย่างนี้ ๆ (ข้อ ๒
ในสัปปุริสธรรม ๗)

อัตถุปปัตติ เหตุที่ให้มีเรื่องขึ้น, เหตุให้เกิดเรื่อง

อัธยาจาร ดู อัชฌาจาร

อัธยาศัย นิสัยใจคอ, ความนิยมในใจ

อันต ไส้ใหญ่

อันตคาหิกทิฏฐิ ความเห็นที่ยึดเอาที่สุด คือ แล่นไปถึงที่สุดในเรื่องหนึ่งๆ มี ๑๐ อย่างคือ ๑. โลกเที่ยง ๒. โลกไม่เที่ยง
๓. โลกมีที่สุด ๔. โลกไม่มีที่สุด ๕. ชีพอันนั้น สรีระก็อันนั้น ๖. ชีพก็อย่าง สรีระก็อย่าง ๗. สัตว์ตายแล้วยังมีอยู่ ๘. สัตว์
ตายแล้ว ย่อมไม่มี ๙. สัตว์ตายแล้วทั้งมีอยู่ ทั้งไม่มี ๑๐. สัตว์ตายแล้วจะมีอยู่ ก็ไม่ใช่ ไม่มีอยู่ ก็ไม่ใช่