อุฏฐานสัญญามนสิการ - อุทก

อุฏฐานสัญญามนสิการ ทำในพระทัยถึงความสำคัญในอันที่จะลุกขึ้น, ตั้งใจว่าจะลุกขึ้นอีก

อุฏฐานสัมปทา ถึงพร้อมด้วยความหมั่น คือ ขยันหมั่นเพียรในการประกอบอาชีพที่สุจริต ในการศึกษาเล่าเรียน และ
ในการทำธุระหน้าที่การงาน รู้จักใช้ปัญญาสอดส่อง หาวิธีจัดการดำเนินการให้ได้ผลดี (ข้อ ๑ ในทิฏฐธัมมิกัตถฯ)

อุณหะ ร้อน, อุ่น

อุณหิส กรอบหน้า, มงกุฎ

อุดรทวาร ประตูด้านเหนือ

อุดรทิศทิศเบื้องซ้าย, ทิศเหนือ ดู อุตตรทิส

อุตกฤษฎ์ อย่างสูง, สูงสุด (พจนานุกรม เขียน อุกฤษฏ์)

อุตตระ ดูที่ โสณะ

อุตตรทิส ทิศเบื้องซ้าย หมายถึงมิตร; ดู ทิศหก

อุตตรนิกาย ดู อุตรนิกาย

อุตตรนิคม ชื่อนิคมหนึ่งในโกลิยชนบท

อุตตราวัฏฏ์ เวียนซ้าย, เวียนรอบโดยหันข้างซ้ายให้ คือ เวียนเลี้ยวทางซ้ายย้อนเข็มนาฬิกา (พจนานุกรม เขียน
อุตราวัฏฏ์)

อุตตราสงค์ ผ้าห่ม, เป็นผ้าผืนหนึ่งในจำนวน ๓ ผืน ของไตรจีวร ได้แก่ ผืนที่เรียกกันสามัญว่า จีวร (พจนานุกรม
เขียน อุตราสงค์)

อุตตริมนุสสธรรม ธรรมยวดยิ่งของมนุษย์, ธรรมของมนุษย์ผู้ยอดยิ่ง, ธรรมล้ำมนุษย์ ได้แก่ ฌาน วิโมกข์ สมาธิ
สมาบัติ มรรคผล, บางทีเรียกให้ง่ายว่า ธรรมวิเศษ บ้าง คุณวิเศษ หรือ คุณพิเศษ บ้าง (พจนานุกรม เขียน อุตริมนุส-
ธรรม)

อุตรนิกาย นิกายฝ่ายเหนือ หมายถึงพระพุทธศาสนาอย่างที่นับถือกันแพร่หลายในประเทศฝ่ายเหนือ มี จีน เกาหลี
ญี่ปุ่น เป็นต้น ที่เรียกตัวเองว่า มหายานใช้ภาษาสันสกฤต

อุตสาหะ ความบากบั่น, ความพยายาม, ความขยัน, ความอดทน

อุตุกาล ชั่วฤดูกาล, ชั่วคราว

อุตุปริณามชา อาพาธา ความเจ็บไข้เกิดแต่ฤดูแปรปรวน, เจ็บป่วยเพราะดินฟ้าอากาศผันแปร

อุทก น้ำ