เอกัคคตา - โอกกันติกาปีติ

เอกัคคตา ความมีอารมณ์เป็นอันเดียว คือ ความมีจิตแน่วแน่อยู่ในอารมณ์อันเดียว ได้แก่สมาธิ (พจนานุกรม เขียน
เอกัคตา) ดู ฌาน

เอกันตโลมิ เครื่องลาดที่มีขนตกไปข้างเดียวกัน

เอกายนมรรค ทางอันเอก คือ ข้อปฏิบัติอันประเสริฐที่จะนำผู้ปฏิบัติไปสู่ความบริสุทธิ์หมดจด หมดความทุกข์ และ
บรรลุนิพพาน ได้แก่ สติปัฏฐาน ๔; อย่างกว้าง เช่น ในมหานิทเทส หมายถึง โพธิปักขิยธรรม ด้วย

เอกาสนิกังคะ องค์แห่งผู้ถือนั่งฉันที่อาสนะเดียวเป็นวัตร คือ ฉันวันละมื้อเดียว ลุกจากที่แล้วไม่ฉันอีกในวันนั้น (ข้อ
๕ ในธุดงค์ ๑๓)

เอตทัคคะ พระสาวกที่ได้รับยกย่องจากพระพุทธเจ้าว่าเป็นผู้ยอดเยี่ยมในทางใดทางหนึ่ง เช่น เป็นเอตทัคคะ ในทาง
ธรรมกถึก หมายความว่าเป็นผู้ยอดเยี่ยมในทางแสดงธรรม เป็นต้น; ดู อสีติมหาสาวก

เอตทัคคฐาน ตำแหน่งเอตทัคคะ, ตำแหน่งที่ได้รับยกย่องจากพระพุทธเจ้าว่าเป็นเลิศในคุณนั้นๆ

เอหิปสฺสิโก พระธรรมควรเรียกให้มาดู คือ เชิญชวนให้มาชมเหมือนของวิเศษที่ควรป่าวร้องให้มาดู หรือท้าทายต่อ
การพิสูจน์ เพราะเป็นของจริงและดีจริง (ข้อ ๔ ในธรรมคุณ ๖)

เอหิภิกขุ เป็นคำเรียกภิกษุที่ได้รับอุปสมบทจากพระพุทธเจ้าโดยตรงด้วยวิธีบวชที่เรียกว่า เอหิภิกขุอุปสัมปทา; พระ
อัญญาโกณฑัญญะ เป็นเอหิภิกขุองค์แรก

เอหิภิกขุอุปสัมปทา วิธีอุปสมบทที่พระพุทธเจ้าประทานด้วยพระองค์เองด้วยการเปล่งพระวาจาว่า “ท่านจงเป็นภิกษุ
มาเถิด ธรรมอันเรากล่าวดีแล้ว ท่านจงประพฤติพรหมจรรย์เพื่อทำที่สุดทุกข์โดยชอบเถิด” วิธีนี้ ทรงประทานแก่พระ
อัญญาโกณฑัญญะเป็นบุคคลแรก ดู อุปสัมปทา

เอหิภิกษุ ดู เอหิภิกขุ

โอกกันติกาปีติ ปีติเป็นระลอก, ความอิ่มใจเป็นพักๆ เมื่อเกิดขึ้นทำให้รู้สึกซู่ซ่าเหมือนคลื่นกระทบฝั่ง (ข้อ ๓ ในปีติ ๕)