ประทีป - ประมุข

ประทีป
ตะเกียง, โคม, ไฟที่มีเปลวสว่าง

ประทุม บัวหลวง

ประทุษร้ายสกุล ดู กุลทูสก

ประเทศบัญญัติ บัญญัติจำเพาะถิ่น, สิกขาบทที่พระพุทธเจ้าทรงตั้งไว้เฉพาะสำหรับมัธยมประเทศ คือ จังหวัดกลาง
แห่งชมพูทวีป เช่น สิกขาบทที่ ๗ แห่งสุราปานวรรค ในปาจิตติยกัณฑ์ ไม่ให้ภิกษุอาบน้ำในเวลาห่างกันหย่อนกว่ากึ่ง
เดือน เว้นแต่สมัย

ประเทศราช เมืองอิสระที่สังกัดประเทศอื่น

ประธาน หัวหน้า, ผู้เป็นใหญ่ในหมู่บ้าน

ประธานาธิบดี หัวหน้าผู้ปกครองบ้านเมืองแบบสาธารณรัฐ

ประนม ยกกระพุ่มมือ

ประนีประนอม ปรองดองกัน,ยอมกัน,ตกลงกันด้วยความไกล่เกลี่ย

ประพฤติ ความเป็นไปที่เกี่ยวด้วยการกระทำหรือปฏิบัติตน; กระทำ, ทำตาม, ปฏิบัติตน; กระทำ, ทำตาม, ปฏิบัติ,
ปฏิบัติตน, ดำเนินชีวิต

ประพฤติในคณะอันพร่อง เป็นประการหนึ่งในรัตติเฉท คือเหตุขาดราตรีแห่งมานัต ๔ ประการ หมายถึงประพฤติ
มานัตในถิ่นเช่นอาวาสที่มีปกตัตตภิกษุไม่ครบจำนวนสงฆ์ คือหย่อน ๔

ประพาส ไปเที่ยว, เที่ยวเล่น, อยู่แรม

ประเพณี ขนบธรรมเนียม, แบบแผน, เชื้อสาย

ประมาณ การวัด, การกะ, เครื่องวัด, เกณฑ์, การถือเกณฑ์; บุคคลในโลกแบ่งตามประมาณคือหลักเกณฑ์ในใจที่ใช้วัด
ในการที่จะเกิดความเชื่อถือหรือความนิยมเลื่อมสน ท่านแสดงไว้ ๔ จำพวก คือ ๑. รูปประมาณ หรือ รูปัปปมาณิกา ผู้
ถือรูปร่าง ๒. โฆษประมาณ หรือ โฆสัปปมาณิกา ผู้ถือเสียงหรือชื่อเสียงเป็นประมาณ ๓. ลูขประมาณ หรือ ลูขัปปมา
ณิกา
ผู้ถือความคร่ำหรือปอนๆ เป็นประมาณ ๔. ธรรมประมาณ หรือ ธัมมัปปมาณิกา ผู้ถือธรรมคือเอาเนื้อหาสาระเหตุ
ผลหลักการและความถูกต้องเป็นประมาณ

ประมาท ดู ปมาทะ

ประมุข ผู้เป็นหัวหน้า