สัตวนิกาย - สัทธิวิหาริก, สัทธิงวิหาริก

สัตวนิกาย หมู่สัตว์

สัตวโลก โลกคือหมู่สัตว์

สัทธรรม ธรรมที่ดี, ธรรมที่แท้, ธรรมของคนดี, ธรรมของสัตบุรุษมี ๓ อย่าง คือ ๑. ปริยัติสัทธรรม สัทธรรมคือสิ่งที่
พึงเล่าเรียน ได้แก่ พุทธพจน์ ๒. ปฏิบัติสัทธรรม สัทธรรมคือสิ่งที่ถึงปฏิบัติได้แก่ไตรสิกขา ๓. ปฏิเวธสัทธรรม
สัทธรรมคือผลที่ถึงบรรลุ ได้แก่ มรรค ผล และนิพพาน, สัทธรรม ๗ คือ ๑. ศรัทธา ๒. หิริ ๓. โอตตัปปะ ๔. พาหุ-
สัจจะ ๕. วิริยารัมภะ ๖. สติ ๗. ปัญญา

สัทธรรมปฏิรูป สัทธรรมปลอม, สัทธรรมเทียม

สัทธรรมมัสสวนะ ฟังสัทธรรม, ฟังคำสั่งสอนของสัตบุรุษ, ฟังคำสั่งสอนของท่านที่ประพฤติชอบด้วยกายวาจาใจ,
สดับเล่าเรียนอ่านคำสอนเรื่องราวที่แสดงหลักความจริงความดีงาม (ข้อ ๒ ในวุฑฒิ ๔)

สัทธัมมปกาสินี ชื่อคัมภีร์อรรถกถาอธิบายความในปฏิสัมภิทามรรค แห่งพระสุตตันตปิฎก พระมหานามรจนาใน
เกาะลังกา ประมาณ พ.ศ. ๑๐๖๐

สัทธา ความเชื่อ; ในทางธรรม หมายถึงเชื่อสิ่งที่ควรเชื่อ, ความเชื่อที่ประกอบด้วยเหตุผล, ความมั่นใจในความจริง
ความดี สิ่งดีงาม และในการทำความดีไม่ลู่ไหลตื่นตูมไปตามลักษณะอาการภายนอก ท่านแสดง สืบ ๆ กันมาว่ามี ๔
อย่างคือ ๑. กัมมสัทธา เชื่อกรรม ๒. วิปากสัทธา เชื่อผลของกรรม ๓. กัมมัสสกตาสัทธา เชื่อว่าสัตว์มีกรรมเป็นของ
ตัว ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว ๔. ตถาคตโพธิสัทธา เชื่อปัญญาตรัสรู้ของพระตถาคต; เขียนอย่างสันสกฤตเป็น ศรัทธา

สัทธาจริต พื้นนิสัยหนักในสัทธา เชื่อง่าย พึงแก้ด้วยปสาทนียกถา คือ ถ้อยคำที่นำให้เกิดความเลื่อมใสในทางที่ถูกที่
ควร และด้วยความเชื่อที่มีเหตุผล (ข้อ ๔ ในจริต ๖)

สัทธานุสารี “ผู้เล่นไปตามศรัทธา”, “ผู้เล่นตามไปด้วยศรัทธา”, พระอริยบุคคลผู้ตั้งอยู่ในโสดาปัตติมรรค ที่มีสัทธิน-
ทรีย์แรงกล้า (ถ้าบรรลุผล กลายเป็น สัทธาวิมุต) ดู อริยบุคคล ๗

สัทธาวิมุต “ผู้หลุดพ้นด้วยศรัทธา”, พระอริยบุคคล ตั้งแต่โสดาบันขึ้นไปจนถึงผู้ตั้งอยู่ในอรหัตตมรรคที่มีสัทธิน-
ทรีย์แรงกล้า (ถ้าบรรลุอรหัตตผลกลายเป็น ปัญญาวิมุต) ดู อริยบุคคล ๗

สัทธาสัมปทา ถึงพร้อมด้วยศรัทธาคือเชื่อสิ่งที่ควรเชื่อ เช่นเชื่อว่า ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว เป็นต้น (ข้อ ๑ ในสัมปรายิ-
กัตถฯ ๔)

สัทธิวิหาริก, สัทธิงวิหาริก ศิษย์, ผู้อยู่ด้วย เป็นคำเรียกผู้ที่ได้รับอุปสมบท ถ้าอุปสมบทต่อพระอุปัชฌายะองค์ใด ก็
เป็นสัทธิวิหาริกของพระอุปัชฌายะองค์นั้น