สัมปยุต - สัมผัส

สัมปยุต ประกอบด้วย; สัมปยุตต์ ก็เขียน

สัมปโยค การประกอบกัน

สัมประหาร การสู้รบกัน, การต่อสู้กัน

สัมปรายภพ ภพหน้า

สัมปรายิกัตถะ ประโยชน์ภายหน้า, ประโยชน์ขั้นสูงขึ้นไป อันได้แก่ความมีจิตใจเจริญงอกงามด้วยคุณธรรมความดี
ทำให้ชีวิตนี้มีค่าและเป็นหลักประกันชีวิตในภพหน้า ซึ่งจะสำเร็จได้ด้วยธรรม ๔ ประการ คือ ๑. สัทธาสัมปทา ถึง
พร้อมด้วยศรัทธา ๒. สีลสัมปทา ถึงพร้อมด้วยศีล ๓. จาคสัมปทา ถึงพร้อมด้วยการบริจาค ๔. ปัญญาสัมปทา ถึงพร้อม
ด้วยปัญญา ธรรม ๔ อย่างนี้เรียกเต็มว่า สัมปรายิกัตถสังวัตตนิกธรรม

สัมปหังสนา การทำให้ร่าเริง หรือปลุกให้ร่าเริง คือ ทำบรรยากาศให้สนุกสดชื่นแจ่มใส เบิกบานใจ ให้ผู้ฟังแช่มชื่นมี
ความหวัง มองเห็นผลดีและทางสำเร็จ, เป็นลักษณะอย่างหนึ่งของการสอนที่ดีตามแนวพุทธจริย (ข้อก่อนคือสมุตเตชนา)

สัมปัตตวิรัติ ความเว้นจากวัตถุอันถึงเข้า, การเว้นเมื่อประสบซึ่งหน้าคือไม่ได้สมาทานศีล หรือตั้งใจละเว้นมาก่อน
แต่เมื่อประสบเหตุอันจะทำให้ทำความชั่วหรือละเมิดศีลเข้าเฉพาะหน้า ก็ละเว้นได้ในขณะนั้นเอง ไม่ล่วงละเมิดศีล
(ข้อ ๑ ในวิรัติ ๓)

สัมผัปปลาปะ พูดเพ้อเจ้อ, พูดเหลวไหล, พูดไม่เป็นประโยชน์, ไม่มีเหตุผล,ไร้สาระ ไม่ถูกกาลถูกเวลา (ข้อ ๗ ใน
อกุศลกรรมบถ ๑๐)

สัมผัปปลาปา เวรมณี เว้นจากพูดเพ้อเจ้อ, เว้นจากพูดเหลวไหลไม่เป็นประโยชน์, พูดคำจริง มีเหตุผล มีประโยชน์
ถูกกาละเทศะ (ข้อ ๗ ในกุศลกรรมบถ ๑๐)

สัมผัส ความกระทบ,การถูกต้องที่ให้เกิดความรู้สึก,ความประจวบกันแห่งอายตนะภายใน อายตนะภายนอกและ
วิญญาณ มี ๖ เริ่มแต่จักขุสัมผัส สัมผัสทางตา เป็นต้น จนถึง มโนสัมผัส สัมผัสทางใจ (เรียงตามอายตนะภายใน ๖);
ผัสสะ ก็เรียก