สงกรานต์สืบสานอย่างสร้างสรรค์
***************
ศาสนากับสารบันเทิง
  ประเพณีเป็นการแสดงออกซึ่งความหมายและคุณค่าของวัฒนธรรมอันดีงามของไทยสมควรที่คนไทย

จะได้รับรู้ เข้าใจในความหมายและคุณค่า เพื่อความภาคภูมิใจและเข้าใจในความเป็นไทยร่วมกัน ดังเช่น ประเพณีสงกรานต์ ซึ่งถือว่าเป็นประเพณีที่สำคัย เพราะเป็นงามบุญปีใหม่ของไทยแต่ดั้งเดิมมา

ความหมายของสงกรานต์

  สงกรานต์ เป็นคำภาษาสันสกฤต แปลว่า ผ่าน หรือ เคลื่อนย้ายเข้าไป หมายถึง พระอาทิตย์ผ่านหรือเคลื่อน
ย้ายเข้าไปในจักรราศีหนึ่ง ก็เรียกว่าสงกรานต์ แต่ละราศีก็มีกลุ่มดาวอยู่ในนั้น เป็นเฉพาะของราศีหนึ่งๆ เหตุนี้ ราศี จะแปลว่ากอง ว่าหมู่ เช่น บุญราศี ก็แปลว่า กองบุญ
  เมื่อดวงอาทิตย์โคจรเข้าไปในราศีใดและกว่าจะผ่รนพ้าราศีนั้นไปสู่อีกราศีหนึ่งจะใช้เวลาประมาณ 1 เดือน
วันเวลาที่ดวงอาทิตย์ยกขึ้นสู่อีกราศีหนึ่ง ท่านเรียกว่าสงกรานต์เดือน แต่ในวันและเวลาที่พระอาทิตย์ยกขึ้นสู่ราศีเมษ
คือ ในเดือนเมษายน เขาเรียกเป็นพิเศษว่า มหาสงกรานต์ เพราะถือว่าเป็นวันและเวลาที่ตั้งต้นเป็นปีใหม่
  โดยเหตุที่ประชาชนสนใจแต่แต่วันขึ้นปีใหม่ เมื่อพูดว่าสงกรานต์ก็นึกถึงวันมหาสงกรานต์ของเดือนอื่น

ไม่เข้าใจและสนใจ ดังนั้น คำว่า สงกรานต์จึงหมายถึงมหาสงกรานต์เฉพาะไป

สงกรานต์ตามประเพณีไทย

  วันสงกรานต์เป็นราพิธีที่มีมาตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัยเป็นราชธานีในเดือนห้า ตามที่ปรากฎในหนังสือ
นางนพมาศ เดิมเป็นประเพณีของอินเดียฝ่ายใต้ ซึ่งพระสงฆ์ไทยได้นำพิธีมาจากลังกา และข้ามาเป็นพระราช
ประเพณี และประเพณีของไทย เพื่อส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่แบบโบราณ
  ตามจารีตปรเพณีโบราณไทยเราเคยถือเอาวันแรม 1 ค่ำ เดือนอ้ายเป็นวันขึ้นปีใหม่ ซึ่งสอดคล้องกับคติ

แห่งพุทธศาสนา ที่ถือฤดูเหม้นต์เป็นการเริ่มต้นปี ต่อมาจารีตนี้ได้เปลี่ยนแปลงไปตามคติพราหมณ์ โดยใช้วันขึ้น 1 ค่ำ เดือน 5 เป็นวันขึ้นปีใหม่ ครั้นเมื่อเราเริ่มปีใหม่ตามเกณฑ์จุลศักราช ปีใหม่ก็ตกราววันที่ 13 เมษายน เป็นประเพณี
วันสงกรานต์มี 3 วันคือ 13 เมษายน เป็นวันมหาสงกรานต์ วันที่ 14 เมษายน เป็นวันเนาและวันที่ 15 เมษายน เป็นวัน
เถลิงศกคือเปลี่ยนจุลศักราชใหม่ ในส่วนของราชพิะมีการตั้งเครื่องบูชาพระพุทธรูปด้วยการถวายข้าวบิณฑ์ การก่อ
พระเจดีย์ทราย การขนทรายเข้าถมลานวัด ซึ่งเดอมถือว่าเป้นการบูชาพระพุทธเจ้า และเป็นการทำนุบำรุงพระพุทธ
ศาสนา ด้วยมีกการพระราชกุศล เช่นมีการสรงน้ำในพระบรมมหาราชวัง เป็นต้น

เปิดตำนานสงกรานต์ไทย

  มีเรื่องเล่าว่า ท้าวลิลพรหมได้ลงมาทายปัญหา แก่ธรรมบาลกุมารว่า เวลาเช้า เที่ยง เย็น ราศีของมนุษย์

อยู่ที่ใด โดยได้พนันเอาศีรษะของแต่ละฝ่ายเป็นเดิมพัน ธรรมบาลกุมาร สามารถตอบปัญหาได้ ท้าวกบิลพรหมจึง
ต้องตัดศีรษะตนเองตามสัญญา แต่ศีรษะของท้าวกบิลพรหม มีฤทธิ์มาก หากตั้งไว้บนแผ่นดินจะเกิดไฟไหม้ โยนขึ้น
บนอากาศฝนจะแล้งทิ้งลงในมหาสมุทรน้ำจะแห้ง จึงให้เทพธิดาทั้ง ๗ เป็นผู้ดูแลรักษาเมื่อครบปีก็ทรงเทพพาหนะ
ต่าง ๆ ผลัดกันเชิญพระเศียรท้าวกบิลพรหม ออกแห่รอบเข้าพระสุเมาเรียกนางเทพธิดาที่ทำหน้าที่นี้ว่านางสงกรานต์
ซึ่งปีนี้วันสงกรานต์ตรงกับวันศุกร์ นางสงการนต์ชื่อ กิทิมา ทัดดอกจงกลณีเครื่องประดับบุษราคัมภักษาหารกล้วย น้ำ
มือขวาทรงพระขรรค์ มือซ้ายทรงพิณ เสด็จมาบนพาหนะมหิงส์ (ควาย)

บุญกิริยาในวันสงกรานต์

  ในวันสงกรานต์ มีประเพณีที่นิยมถือปฏิบัติกัน ดังนี้
  ก่อนวันสงกรานต์ เป็นวันทำความสะอาดบ้านเรือน ชำระล้างสถานที่ สิ่งของเครื่องใช้ ทุกอย่างให้สะอาด

หมดจด เพื่อจะได้ต้อนรับด้วยควาาแจ่มใสเบิกบาน และตระเตรียมข้าวของไว้สำหรับทำบุญวันสงกรานต์ มีพิธีทำบุญ
ตักบาตร ขนทรายเข้าวัดเพื่อก่อเจดีย์ทราย (การขนทรายเข้าวัดนี้เป็นการชดเชยที่นำทรายของวัดติดเท้าออกมาใน
ช่วงเวลาที่ผ่านมา ทรายเหล่านี้ทางวัดจะได้นำไปใช้ประโยชน์ในการก่อสร้างซ่อมแซมวัดต่อไป) ปล่อยนก ปล่อยปลา
บังสกุลอัฐิ สรงน้ำพระพุทธรูป สรงน้ำพระสงฆ์ รดน้ำผู้ใหญ่ การสาดน้ำการเล่นรื่นเริง

สงกรานต์ 4 ภาค

  สำหรับการจัดกิจกรรมประเพณีสงกรานต์ตามภาคต่าง ๆ ของประเทศ นั้นมีความคล้ายคลึง และแตกต่าง
กันไปในแต่ละภาคซึ่งขึ้นอยู่กับขนบธรรมเนียมประเพณี ความเชื่อ วิถีชีวิตของแต่ละท้องถิ่นตลอดจนภูมิปัญญาท้อง
ถิ่นของพื้นที่นั้น ๆ
  ภาคเหนือ ถือว่าวันสงกรานต์เป็นประเพณีที่ยิ่งใหญ่ จะแบ่งพิธีออกเป็น 3 วัน คือวันที่ 13 เมษายน เรียกว่า
วันสังขารล่อง หมายถึงวันที่ปีเก่าผ่านพ้นไป จะมีการจุดประทัดยิงปืนเพื่อขับไล่เสนียดจัญไร และทำความสะอาดบ้าน
เรือนพร้อมชำระร่างกายให้สะอาด แต่งตัวด้วยเสื้อผ้าใหม่เพื่อต้องรับปีใหม่ วันที่ 14 เมษายน เรีกว่า วันเนา หรือ
วันดา หมายถึงวันที่เตรียมงานต่าง ๆ ถือเป็นวันมงคลที่ต้องทำจิตใจให้แจ่มใส ไม่พูดสิ่งที่เป็นอัปมงคล และจะมีการ
เตรียมเครื่องสังฆทานเพื่อนำไปทำบุญในวันรุ่งขึ้น และในตอนบ่ายก็จะมีการขนทรายเข้าวัด วันที่15 เมษายน เรียก
ว่า วันพญาวัน หมายถึงวันสำคัญยิ่งของปีใหม่ในวันสงกรานต์ ถือเป็นประเพณี่ต้องประกอบการบุญการกุล เลี้ยงพระ
ฟังธรรมอุทิศส่วนกุศลให้ญาติที่ล่วงลับไปแล้ว การไปแสดงความเคารพขออโหสิกรรที่อาจได้ล่วงเกินในเวลาที่ผ่านมา
สรงน้ำพระพุทธรูปและสรงน้ำพระสงฆ์นำไม้ไปค้ำต้นศรีมหาโพธิ์รดน้ำดำหัวขอพรผู้ใหญ่ ส่วนบรรดาหนุ่มสาวและเด็ก
ก็จะมีการเล่นน้ำสงกรานต์ตลอดจนมีการละเล่นรื่นเริงต่าง ๆเช่น การประกวดกลองมองเชิง กลองสะบัดชัยกลอง
ตึ่งโป่ง กลองปู่เจ่ กีฬาพื้นเมือง การละเล่นพื้นเมือง กาดหมั้ว (ตลาด) ประกวดแม่หญิงขี่รถถีบกางจ้อง ประกวด
หมากสุ่ม หมากเป็ง เป็นต้น
  ภาคอีสาน จะมีการจัดกิจกรรม 3 วัน 5 วัน หรือ 7 วัน แล้วแต่จะกำหนด วันแรกตรงกับวันที่ 13 เมษายน
เป็นต้นไป มีกิจกรรมหลัก ๆ คือสรงน้ำพระพุทธรูป ซึ่งจะทำในวันเดียว โดยทั้งจังหวัดจะจัดขบวนแห่สงกรานต์ขึ้น
ประกอบด้วย พระพุทธรูปและบริวารอื่น ๆแห่งเสร็จก็มีการสรงน้ำพระพุทธรูปและพระสงฆ์ตามลำดับ ทำบุญอัฐิบรรพ
บุรุษ หรือที่เรียกว่า สักอนิจจานอกจากนั้นมีการปล่อยสัตว์ ปล่อยนก ปล่อยปลา คนอีสานจะถือเอาวันสงกรานต์ เป็นวัน
ที่เอาพันธุ์ปลามาเป็นล้าน ๆ ตัว แล้วก็จะปล่อยลงในแม่น้ำโขง แม่น้ำมูล แม่น้ำชี การรดน้ำขอพรผู้ใหญ่ การละเล่น
ต่าง ๆ ตามประเพณีของท้องถิ่น ส่วนหนุ่มสาวและเด็กก็จะเล่นสาดน้ำกันเพื่อความสนุกสนานเชื่อมความสัมพันธ์ซึ่ง
กันและกัน โดยก่อนถึงวันสงกรานต์ตามประเพณีเดิมจะมีการทำความสะอาดบ้านเตรียมอาหารและทุกสิ่งทุกอย่าง
ไว้ให้พร้อม ซึ่งทุกบ้านจะงดภารกิจการงานทั้งปวงในช่วงสงกรานต์
  ภาคใต้ เรียก วันสงกรานต์ว่า ประเพณีวันว่าง ในวันนี้ทุกบ้านเรือนและผู้คนจะต้องละวางทั้งทางกายและใจ
ต่อภารกิจที่เคยทำมาเป็นปกติตามประเพณีจะจัดกิจกรรม ๓ วัน คือ วันที่ 13, 14 และ 15 เมษายน ของทุกปี โดยช่วง
ก่อนที่จะถึงวันว่างจะเริ่มทำความสะอาดบ้านเรือนเตรียมข้าวของ เสื้อผ้าชุดใหม่ ชาวใต้จะจัดพิธีทำบุญถวายภัตตาหาร
ทั้ง 3 วัน ตอนบ่ายสรงน้ำพระพุทธรูปที่บ้านและที่วัด การทำบุญเลี้ยงพระและบังสุกุล การรดน้ำผุ้สุงอายุเพื่อขอพร
การก่อเจดีย์ทราย หนุ่มสาวและเด็กก็จะเล่นสาดน้ำกัน
  ภาคกลาง มีกิจกรรมหลักๆ เช่น มีการทำความสะอาดบ้านเรือน ทำบุญตักบาตรข้าวสารอาหารแห้ง การ

สรงน้ำพระการฟังธรรมการละเล่นพื้นบ้าน การจัดนิทรรศการเกี่ยวกับวันสงกรานต์ การขนทรายเข้าวัด การก่อเจดีย์
ทราย เจดีย์ข้าวเปลือก ฯลฯ แต่ที่ยิ่งใหญ่ก็คือ เทศกาลมหาสงกรานต์ พระประแดง จ.สมุทรปราการ เดิมเรียกว่า
สงกรานต์ปากลัด มีขบวนแห่ที่อลังการของชาวไทยเชื้อสายมอญหรือชาวรามัญมีการแห่ปลา แห่นกไปปล่อย เพื่อเป็น
การสะเดาะเคราะห์ และถือเป็นสิริมงคลแก่ตนเอง

คุณค่าทางวัฒนธรรม

  กิจกรรมในวันสงกรานต์ถือเป็นการแสดงออกทางวัฒนธรรมที่งดงามและทรงคุณค่าสืบทอดต่อมาจากคน
รุ่นหนึ่งไปยังอีกรุ่นหนึ่ง เป็นวันที่อาจกล่าวได้ว่าเป็นวันแห่งความเอื้ออาทรต่อกันอย่างแท้จริง ซึ่งมิใช่เป็นการเอื้อ
อาทรระหว่างบุคคลต่อบุคคลเท่านั้น ยังเป็นการเอื้ออาทรต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมอีกด้วย ถือเป็นประเพณีที่มีคุณค่า
ต่อครอบครัว ชุมชน สังคมและศาสนา อีกทั้งยังสร้างความสมัครสมานสามัคคีให้แก่คนในชาติอีกด้วย กิจกรรมที่ว่านี้
ได้แก่ การทำบุญตักบาตร เลื้ยงพระสรงน้ำพระ ขนทรายเข้าวัด ก่อนพระเจดีย์ทรายซึ่งถือได้ว่าเป็นการทำนุบำรุง
สึบต่อพระพุทธศาสนา
  ขณะเดียวกันก็เป็นโอกาสอันดีที่จะได้พบปะสังสรรค์ระหว่างคนในท้องถิ่นที่จะทำให้เกิดความรัก ความ

สามัคคีกันยิ่งขึ้นการปล่อยนกปล่อยปลา นอกจากจะเป็นการทำบุญแล้ว ยังเป็นการสอนให้รักธรรมชาติและเป็นการ
ช่วยอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมทางอ้อม การรดน้ำขอพรหรือขอขมาต่อผู้ใหญ่ หรือผู้อาวุโส ที่เราอาจจะล่วงเกินท่านโดยไม่
รู้ตัว ก็จะเป็นการแสดงไมตรีจิตและความรักความผูกพันของคนรุ่นหนึ่งต่ออีกรุ่นหนึ่ง ก่อให้เกิดความรู้สึกที่ดีงามต่อ
กันการอุทิศส่วนกุศลแก่บรรพชนผู้ล่วงลับไปแล้ว ก็เป็นการแสดงความกัตญญูกตเวทีและน้ำใจต่อบรรพบุรุษของเรา
ทางหนึ่งนอกจากนี้ การทำความสะอาดบ้านเรือนวัดวาอาราม หรือหน่วยงาน ก่อนวันสงกรานต์ก็เป็นอีกกิจกรรมหนึ่ง
ที่ก่อให้เกิดความสามัคคีในหมู่เหล่า และทำให้สภาพแวดล้อมน่าอยู่ ทำให้จิตใจผู้อยู่อาศัยสดชื่นตามไปด้วย กิจกรรม
ที่กล่าวมานี้เป็นเพียงส่วนหนึ่งของประเพณีสงกรานต์ซึ่งจะเห็นได้ว่ามีคุณค่าและสาระแฝงอยู่ทั้งสิ้น

ฤาแก่นแท้ของสงกรานต์จะหายไปในสังคมปัจจุบัน

  ความงดงามของประเพณีสงกรานต์ อันประกอบด้วยคุณค่าทางวัฒนธรรมซึ่งเปรียบเสมือนสายใยความ

ผูกพันแห่งอดีตกับปัจจุบัน เป็นสิ่งซึ่งแสดงถึงความเป็นไทยอย่างแท้จริงนั้น กำลังจะถูกลบเลือนไปในสภาพปัจจุบัน
กิจกรรมหลายอย่างได้ถูกยกเลิกไป พิธีกรรมอันเคยสง่างามถูกบีบรัดด้วยความรับร้อนให้เสร็จสิ้นโดยเร็ว ความเอื้อ
อาทร ความห่วงใย และความปรารถนาดีที่จะให้ผู้อื่น มีความสุขโดยการประพรมน้ำ ถูกแทนที่ด้วยการเล่นสาดน้ำ
ซึ่งปัจจุบันกิจกรรมดังกล่าว ได้กลายมาเป็นกิจกรรมหลัก ในประเพณีสงกรานต์ไปแล้วในเกือบทุกภูมิภาค รวมทั้งมี
การเล่นพนันอย่างผิดเพี้ยน จนทำให้คุณค่าที่แท้จริงของประเพณีสงกรานต์ได้บิดเบือนไปอย่างน่าเสียดาย จากเดิม
ที่เคยเล่นกันอย่างสุภาพนุ่มนวล ใช้น้ำหอม น้ำอบ หรือน้ำลอย ดอกไม่รดใส่กัน กลับกลายเป็นการใช้น้ำสกปรก น้ำสี
สาดใส่ทั้งคนรู้จักและไม่รู้จักหรือใช้น้ำแข็งขว้างปา รถเมล์หรือมอเตอร์ไซด์ ที่แล่นผ่าน ทำให้เกิดอุบัติเหตุ การถือ
โอกาสประแป้งล่วงเกินสตรี เหล่านี้ล้วนแล้วแต่ก่อให้เกิดความเสียหายและผิดประเพณีทั้งสิ้นหรือแม้แต่การประกวด
นางสงกรานต์หรือเทพีสงกรานต์ในหลายภูมิภาค ที่เน้นเป็นจุดเด่นของงาน ก็มีส่วนทำลายประเพณีที่ดี ทำให้คน
หลงติดกับความงามภายนอกหรือความสนุกสนาน จนลืมนึกถึงแก่นแท้ที่แฝงอยู่ในประเพณีดังกล่าว

สืบสานอย่างสร้างสรรค์

  คงจะเป็นไปไม่ได้ที่เราจะเรียกร้องให้ทุกสิ่งทุกอย่างในอดีตกลับคืนมาสู่ยุคปัจจุบันเพราะสังคมและ
วัฒนธรรมย่อมมีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ และคงยากที่จะต้านกระแสจากภายนอก แต่การรู้จักเลือก เป็นสิ่งที่
เหมาะสม ขึ้นอยู่กับตัวเราเป็นสำคัญหากเพียงแต่เราจะเริ่มต้นพิเคราะห์ดูความงามของประเพณีสงกรานต์ที่
แท้จริงและเลือกสรรนำมาปฏิบัติให้เหมาะกับบุคสมัย เพื่อช่วยสืบสานประเพณีอันเป็นแก่นแท้ของเรา ไปสู่อนุชน
รุ่นหลัง โดยให้เป็นวันแห่งการเอื้ออาทรต่อสิ่งต่าง ๆ ตามสาระและคุณค่าที่บรรพบุรุษเราได้สืบทอดต่อมาด้วยความ
ภูมิใจ ด้วยการแบ่งปันความเอื้ออาทรให้กันและกันเท่ากับว่าเราเป็นผู้หนึ่งที่จรรโลงประเพณีสงกรานต์ ด้วยความ
หมายที่แท้จริงให้อยู่คู่กับสังคมไทยสืบต่อไป
   
******************************
ผู้จัดทำเว็บ จำแหล่งที่มาและชื่อผู้เขียนไม่ได้ แต่ก็ขออนุญาตนำมาลงไว้ให้ผู้สนใจได้อ่านกัน ส่วนดีที่เกิดขึ้นทั้งหมด ผู้จัดทำขอมอบให้แก่เจ้าของบทความดังกล่าวนั้นทุกประการ

 

กลับไปหน้าแรก
กลับไปหน้า Web วัดท่าไทร