สวนต้นไม้ในพระพุทธศาสนา
ผู้จัดการสวน : ลักษณศิริ ศิริวรรณ
***************************************************************

ช่วงตุลาคมที่ผ่านมา หลังออกพรรษาเชื่อแน่ว่า พุทธศาสนิกชนทั้งหลายล้วนมีกิจที่จะต้องไปงานกฐินกันทั่วหน้าไม่ได้ไปเองก็มีซองขาวว่อนมาว่อนไปให้ได้ร่วมทำบุญและอนุโมทนาบุญกันทั่วหน้า ดิฉันเองกำไปงานกฐินเกือบทุกอาทิตย์ที่ผ่านมา ทุกวัดที่ได้ไปไม่แปลกใจเลยที่ได้พบกับบรรยากาศสวนป่าอันร่มรื่น วัดที่เป็นวัดเก่าหน่อยต้นไม่แปลกตาที่ปลูกกันมีให้เห็นมากมาย เลยทำให้นึกย้อนไปในสมัยพุทธกาลว่าสมัยนั้นองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าท่านธุดงค์เข้าสวนป่าแบบไหน มีต้นไม้อะไรกันบ้างเรื่องนี้จากการค้นคว้าในพุทธประวัติปรากฎผลที่น่าแปลกใจว่า มีต้นไม้หลายชนิดทีเดียวที่เกี่ยวข้องกับพระพุทธเจ้า

เริ่มที่ ต้นโพธิ์ (Ficus religiosa L.) เป็นไม้ประจำวันไทยไปเสียแล้ว วัดไหนไม่มีต้นโพธิ์ปลูกดูคล้วยไม่ใช่วัด ตามประวัติ เช้าชายสิทธัตถกุมาร ในระหว่างแสวงหาสัจะธรรม ทรงเลือกประทับโคนต้นโพธิ์โดยตั้งใจหรือไม่ตั้งใจไม่มีใครทราบได้แต่ต้นโพธิ์เป็นพืชดั้งเดิมของอินเดีย ปลูกทั่วๆ ไปทั้งในประเทศลักการและเอเชียโดยเฉพาะอย่างยิ่งในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เพราะเป็นต้นไม้ที่ชาวพุทธและฮินดูให้ความนับถือ การแพร่พันธุ์ส่วนใหญ่ใช้เมล็ดและสัตว์พวกนกสามารถช่วยแพร่พันธุ์ได้ จึงทำให้ต้นโพธิ์กระจายพันธุ์ไปมากมายแทบจะในทุกพื้นที่ชาวลังกาเรียกต้นโพธิ์ ว่า Bohd tree ชาวอินเดียเรียกว่า Pipal การที่ทรงประทับ ณ โคนต้นโพธุ์จนกระทั่งสำเร็จตรัสรู้ พระสัมมาสัมโพธิฐาณ คือ อริยสัจ 4 คือทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค ทำให้ต้นโพธิ์เป็นต้นไม้ที่สำคัญในทางพุทธศาสนาขึ้นมา เล่ากันว่าต้นโพธิ์ที่พระพุทธองค์ประทับบรรลุถึงสัจธรรมนั้นได้ถูก โค่นทำลายไปแล้ว แขนงแตกต้นใหม่ขึ้นมาและมีชีวิตอยู่ครั้งหนึ่งต้นที่เหลืออยู่ในปัจจุบันนับว่าเป็นช่วงที่สาม

ต้นสาละ ( Shorea robusta Roxb.) เริ่มต้นใต้ร่มต้นสาละเขตตำบลลุมพินีสถานเป็นสถานที่ประสูติของพระพุทธองค์สุดท้ายที่เสด็จไปถึงยังเมืองกุสินาราเสด็จดับขันธ์สู่ปรินิพพานภายใต้ต้นสาละ สาละเป็นไม้พื้นเดิมของอินเดียมักขึ้นเป็นกลุ่มๆ ตามบริเวณที่ประเทศไทยได้นำต้นสาละมาปลูกหลายครั้งตามประวัติ หลวงบุเรศบำรุงการนำมาถวายสมเด็จพระมหาวีระวงศ์ วัดพระศรีมหาธาตุ บางเขน โดยทรงปลูกไว้ที่หน้าพระอุโบรถ 2 ต้น ได้ทรงปลูกไว้ในพระตำหนักจิตรลดารโหฐาน 1 ต้น กับทรงมอบให้วิทยาลัยการเผยแพร่พระพุทธศาสนาที่ อ.บางละมุง จ.ชลบุรีอีก 1 ต้น

ต้นไทรนิโครธ (Ficus bengalensisL.) คำว่านิโครธน่าจะแผลงมาจากนิโรธหมายถึงการพ้นจากบ่วงทุกข์ บ่วงกิเลสพระพุทธประวัติกล่าวว่าพระพุทธเจ้าได้ทรงตรั้สรู้แล้ว ประทับอยู่ ณ ภายมต้นโพธิ์ต่อไปอีก 7 วัน จึงย้าย ไปประทับต่อที่ใต้ร่มไทรนิโครธ 7 วัน ต้นไทรนิโครธหรือเรียกตามภาษาสันสกฤตว่า “บันฮัน”และตามภาษาฮินดูว่า “บาร์คาด” ไทรนิโครธ เป็นพันธุ์ไม้กลุ่มเดียวกับโพธิ์ เป็นไม้ต้นขนาดใหญ่ มีกิ่งก้านสาขาไม่แพ้ต้นโพธิ์มีรกอากาศห้อยย้อยลงมามาก รากอากาศเจริญเติบโตเป็นลำต้นต่อไปได้ทำให้เกิดเป็ตนหลืบสลับซับซ้อน ดูเป็นฉากกำบังลม,ฝน

หว้า (Syzgium cumini (L.) Skeels) พุทธประวัติกล่าวไว้สองตอนคือ สมเด็จพระราชบิดาพระเจ้าสุทโธทนะเสด็จไปทรงประกอบพิธีแรกนาขวัญได้นำพระสิทธัตถะ ไปดูด้วยและให้ประทับอยู่ใต้ต้นหว้าใหญ่ พระกุมารจึงทรงนั่งเจริญสมาธิกรรมฐาน แม้ตะวันจะบ่ายคล้อย ร่มเงาของไม้หว้าไม่ขยับเปลี่ยนทิศทาง ให้ความร่มเย็นแก่พระองค์ ประดุจเงาของตะวันตอนเที่ยงตรง ส่วนอีกตอน กล่าวว่าพระพุทธเจ้าไปอาศัยพระฤษี กัสสปชฎิล ได้ทูชลนิมนต์ภัตกิจ พระองค์ตรัสให้ไปก่อนแล้วเสด็จ เหาะไปนำผลหว้าใหญ่ประจำทวีปในป่าหิมพานต์ และไปสู่ที่โรงเพลิงก่อนที่กัสสปชฎิลจะไปจึง

ต้นหว้า ชาวฮินดูเรียกว่า “จามาน” หรือ “จามูน” หว้า เป็นพันธุ์ไม้ ชมพู่ (Syzygium) ในวงศ์ (Family) ไม้หว้า (Myrtaceae) เป็นพันธุ์ไม้ดั้งเดิมของแถบเอเชีย สามารถขึ้นได้ตั้งแต่ป่าดิบใกล้ทะเลขึ้นไปถึงเขาสูงไม่น้อยกว่า 800 เมตร

ต้นเกด (Manikara hexandra (Roxb.) Dubard) พระพุทะประวัติกล่าวว่าเมื่อพระพุทธเจ้าทรงประทับ อยู่ใต้ต้นจิกเป็นเวลาครบ 7 วันแล้ว ก็เสด็จไปประทับต่อที่ใต้ต้นเกดอีกเป็นเวลา 7 วัน สันนิษฐานว่าพระพุทธเจ้า ทรงย้ายจากถิ่นที่มีความชุ่มชื้น เพราะฝนตกหนักไปสู่ที่ดอน เกดชอบขึ้นเป็นกลุ่มทำให้มีเรือนยอด เป็นที่พอกำบังแดดได้ และเป็นช่วงที่ผลเกดสุก พอจะใช้รับประทานบำบัดความหิวได้

ต้นเกด ชาวยฮินดู เรียกว่า “ครินี” หรือ “ไรนี” เกดเป็นพันธุ์ไม้สกุลละมุด (Manikara) ในวงศ์ (Family) ไม้ขนุนนก (Sapotaceae) เป็นไม้ต้นขนาดใหญ่ เกด พบขึ้นทั่วไปตามป่าที่มีพื้นเป็นดินทราย และดินปนหิน สภาพป่าที่ค่อนข้างแห้งแล้งในภูมิภาคเอเชีย ประเทศไทยพบมากตั้งแต่จังหวัดประจวบคีระขันธ์ลงไป และมีมากตามเกาะต่างๆ ในอ่าวไทยชาวประมงนิยมเอาไม้เกดมาทำเรือ โดยใช้เป็นไม้สลักแทนตะปูสำหรับ ติดกระดานกับโครงของเรือ เพราะถ้าใช้ตะปูจะเป็นสนิมง่ายไม่ทนทาน

มะม่วง (Mangifera indica L.) พุทธประวัติพระพุทธเจ้าเสด็จประทับในสวนอัมพวนารามของหมอชีวกโกมารภัจจ์ เป็นป่ามะม่วง และอีกตอนหนึ่งพระพุทธเจ้าได้พำนักอยู่กับกัสสปชฎิลดาบส พระฤษีกราบทูลนิมนต์ภัตกิจพระองค์ตรัสให้พระฤษีไปก่อน ส่วนพระองค์ได้เสด็จเหาะไปเก็บผลมะม่วง หว้า ฯลฯ แล้วเสด็จไปสู่ดาวดึงสเทวโลก นำเอาปาริฉัตรพฤกษาชาติกลับมาพระองค์เสด็จมาถึงก่อนพระฤษี

มะม่วงหรือที่ชาวฮินดูเรียกว่า “อะมะ” หรือ “อะมะริ” มะม่วงเป็นพันธุ์ไม้สกุล Mangifera ในวงศ์ไม้มะม่วง (ANACARDIACEAE) พันธุ์ไม้ดั้งเดิมแถบเอเชียเขตร้อนทั่วไปมีการผสมพันธุ์ และปรับปรุงพันธุ์ให้มะม่วงมีรสชาติต่าง ๆ มากมาย

ส้ม (Citrus sp.) พุทธประวัติ ในคราวที่พระองค์เสด็จไปเก็บมะม่วงได้ทรงเก็บผลส้มด้วย ส้มเป็นพันธุ์ไม้ในกลุ่มพวกส้มมะนาว ส้มเขียวหวาน ส้นโอสกุล Citrus และ อยู่ในวงศ์ Rutaceaeวงศ์ เด็ดใบมาขยี้ดมดูจะมีกลิ่นส้มออกหรือถ้าเอาใบส่องดู จะมีรูขาว ๆ เป็นต่อมน้ำมันอยู่ทั่วผิว

ตะเคียนทอง (Hopea odorata Roxb.) พระพุทธประวัติ เมื่อพระพุทธเจ้าจะทำยมกปาฎิหาริย์ ณ เมืองสาวัตถีฝ่ายเดียรถึย์ทำแข่งบ้าง เตรียมทำมณฑลม่เสาทำด้วยไม้ตะเคียน หลังคามุงด้วยดอกนิลอุบล และอีกตอนหนึ่งกล่าวไว้ว่าสิริคุตต์หลอกให้พวกนิครนถ์ อาจารย์ของครหทินน์ตกลงในหลุมอุจจาระ ครหทินน์จึงคิดที่จะแก้แค้นเอากับพระพุทธเจ้าซึ่งเป็นอาจารย์ของสิริคุตต์ โดยทำหลุมไฟ ซึ่งใช้ไม่ตะเคียนเป็นเชื้อเพลิง นำกระดานกลปิดปากหลุม พระพุทธเจ้าตกลงไปจริงกลับกลายดิกบัว มารองรับประบาท มิเป็นอันตราย

ตะเคียน เป็นพันธุ์ไม้สกุล Hopea รวมอยู่ในวงศ์ไม้ยาง (Dipterocarpaceae) เป็นไม้ต้นขนาดใหญ่ไม่แพ้ไม้ยางหรือไม้ยูง เป็นไม้ใหญ่มีอายุยืนนาน และชอบอยู่ในที่ชุ่ม

ต้นจิก (Barringtonia acutangula (L.) Gaertn.) พุทธประวัติกล่าวว่า พระพุทธเจ้าได้ทรงประทับอยู่ใต้ต้นโพธิ์และต้นไทร แห่งละ 7 วัน แล้วจึงเสด็จไปประทับใต้ต้นจิก 7 วัน ขณะประทับใต้ต้นจิกมีฝนตกหนักติดต่อกันหลายวัน ปี พญานาคชื่อมุจลินท์มาขดเป็นวง 7 รอบ ล้อมพระองค์ พร้อมกับแผ่พังพานปรกพระองค์ไว้ ต่อมามีผู้คิดประดิษญ์พระพุทธรูป “ปางนาคปรก” เรียกต้นจิกตามชื่อของพญานาคคือ มุจลินท์

มะขามป้อม (Phyllanthus emblica L.) พุทธประวัติก็กล่าวไว้เช่นเดียวกับมะม่วง คือ ในคราวที่พระองค์เสด็จไปเก็บมะม่วงนั้น ก็ได้ทรงเก็บมะขามป้อมมาด้วย

มะขามป้อม หรือที่ชาวฮินดูเรียกว่า “อะมะลา” หรือ “อะมะลิกา” นี้ มะขามป้อม เป็นพันธุ์ไม้อยู่ในกลุ่มพวกมะยมและผักหวาน คือสกุล (Genus) Phyllanthus และอยู่ในวงศ์ (Family) เดียวกับไม้ยางพารา คือ วงศ์ Euphorbiaceae มะจามป้อมเป็นพันธุ์ไม้ที่ขึ้นอยู่ตามป่าเบญจพรรณแล้งทั่วไปในย่านเอเชียเขตร้อน การแพร่พันธุ์ใช้เมล็ด พวกสัตว์ต่าง ๆ เช่น เก้ง กวาง ชอบกิน และเป็นตัวช่วยในการแพร่พันธุ์ได้อย่างดี

ต้นจิก (Barringtonia acutangula(L.) Gaertn.)

สีเสียด (Acacia catechu Willd.) พุทธประวัติกล่าวว่าเมื่อพระองค์สำเร็จพระสัมมาสัมโพธิฐาณได้ 8 พรรษา ได้เสด็จจำปประทับภูสกภวันคือป่าไม้สีเสียด ใกล้สูงสุมารคีรีในภัคคัฎฐี

สีเสียด ชาวฮินดูเรียก “แคร” ทางการค้าเรียกว่า Catechu tree เป็นพันธุ์ไม้พวกเดียวกันกับชะอม กระถินพิมานและกระถินณรงค์ คือ สกุล Cassia ในวงศ์พวกไม้แดง (Leguminosae-Mimosaceae) เป็นพันธุ์ไม้ที่ทนต่อความแห้งแล้งและทนไฟได้ดี ขึ้นทั่วไปจากอินเดียผ่านมาทางแถบตะวันออกของเอเชีย ชาวบ้านใช้เปลือกไม้เคี้ยวแทนหมากธรรมชาติสีเสียดขึ้นเป็นกลุ่ม แต่ละต้นต่างแก่งแย่งกันพยายามเจริญทางสูงแข่งกันหนามที่จะทำอันตรายต่อผู้ที่ผ่านตามลำต้นจะหลุดเหลือแต่พุ่มยอดที่สูงขึ้นไปทำให้ข้างล่างเตียนไม่มีกิ่งหนาม และปกติสีเสียดมีใบเป็นฝอยแน่น บังแสงและรับน้ำค้างไว้ ไม่เหลือลอดให้พืชอื่น ๆ ทำให้พืชอื่นๆ ค่อย ๆหดหายไป โคนต้นสีเสียดจึงมักโล่งเตียน

สะเดาอินเดีย (Azadirachta indica A. Juss.) พุทธประวัติพรรษาที่ 11 พระพุทธเจ้า ได้จำพรรษาภายใต้จิมมันทพฤกษ์ คือไม้สะเดา ใกล้นครเนรัญชาสะเดาอินเดียหรือที่ชาวฮินดูเรียกว่า “นิมะ”สะเดาอินเดียหรือที่ชาวฮินดูเรียกว่า “นิมะ”คติอินเดียถือว่า ผู้ใดนอนใต้ต้นสะเดาแล้วโรคภัยไข้เจ็บจะหายไป เพราะสะเดาเวลาคายน้ำออกจะมีสารระเหยบางชนิดเข้าใจว่ามีคุณสมบัติทางยาใช้รักษาโรค ส่วนสะเดาของไทยใบจะโตกว่าสะเดาอินเดียเล็กน้อย ถือเป็นสายพันธุ์หนึ่งของสะเดาอินเดีย มีชื่อทางพฤกษศาสตร์ว่า Azadirachta indeca A. Juss. Var. siamensis Valeton

ประดู่ลาย ประดู่แขก (Dalbergia sissoo Roxb.) พุทธประวัติ พระพุทธเจ้ากลับจากเทศนาโปรดพระเจ้าสุทโธทนะพระราชบิดาแล้วเสด็จพาพระอานนท์ พระราหุล พระสงฆ์บริวารสู่กรุงราชคฆ์ประทับ ณ สีสปาวัน หรือป่าประดู่แขก หรือประดู่ลาย

ประดู่ลาย ประดู่แขก ชาวอินเดีย เรียก”ลิสโซ” และที่ชาวฮินดูเรียกว่า “สิสสู” พันธุ์ไม้อยู่ในกลุ่มไม้พยุงชิงชันของไทย คือสกุลชิงชัน (Dalbergia) อยู่ในวงศ์ (Family)ไม่ถั่ว (Keguminosae-Papilionoiceae)

ต้นปาริฉัตร ( Erythrina VariegataK.) พุทธประวัติกล่าวว่า พระองค์ได้เสด็จเหาะไปสู่ดาวดึงสเทวโลก นำเอาปาริฉัตรพฤกษชาติกลับมา อีกตอนหนึ่งเป็นตอนที่พระพุทธ เจ้าชนะมาร และตอนปรินิพพานที่เทวดาทั้งหลายได้ถวายดอกปาริฉัตรเป็นพุทธบูชา กล่าวว่าดอกปาริฉัตรจะหล่นมาจากฟากฟ้าเกลื่อนพื้นไปหมด

ปาริฉัตร หรือทองหลางลาย หรือชาวฮินดูเรียกว่า “มังการา” ปาริฉัตรหรือที่เพี้ยนมาเป็นปาริชาด และไทยเรารู้จักในชื่อทองหลางลายหรือทองหลางด่างนี้ เป็น Erythrina ในวงศ์ถั่ว ( Leguminosaw Papilionoiceae)

ตาล ( Borassus flabbellifer L.) พุทธประวัติพรรษาที่สองหลังจากที่พระองค์สำเร็จสัมมาสัมโพธิญาณ ได้เสด็จไปประทับ ณ ป่าตาล ลัฏฐิวนุทยาน ( ลัฏฐตาล)เพื่อโปรดให้พระเจ้าพิมพิสารราชา แห่งแคว้น มคธรวมทั้งบริวารเข้าเฝ้าพระเจ้าพิมพิสารได้ทูลอาราธนาให้เข้าประทับในเมืองพร้อมกับถวายพระกระยาหาร เสร็จแล้วได้ถวายเวฬุวนารามแด่พระพุทธเจ้าและพระสงฆ์สาวก ทั้งนี้ พระเจ้าพิมพิสารคงจะทรงเห็นว่า ป่าไม้ไผ่นั้นร่มเย็นดีกว่าป่าตาล

ตาบ หรือที่ชาวฮินดูเรียกว่า “ตาละ” ตาล เป็นพันธุ์ไม้พวกปาล์มขนาดใหญ่ สกุล Borassus ในวงศ์ ( Family ) Palmae ตาล เป็นพืชดั้งเดิมของทวีปแอฟริกา และขยายแพร่พันธุ์ไปเรื่อยๆ จนมีทั่วไปในเอเชียเขตร้อนรวมทั้งประเทศไทยด้วยชอบ( ขึ้นในที่มีน้ำท่วมถึง

ฝ้าย Gossypium barbadense L.) พุทธประวัติพระพุทธเจ้าได้ทรงส่งสาวกซึ่งเป็นพระอรหันต์ชุดแรก จำนวน 60 องค์ ไปโปรดเวไนยสัตว์แล้ว พระองค์ก็เสด็จสู่อุรุเวลาประเทศ ครั้นถึงไร่ฝ้ายจึงหยุดยังรุกขมูลใต้ต้นฝ้ายต้นหนึ่ง

ฝ้าย เป็นพันธุ์ไม้สกุล (Genus) Gossypium ในวงศ์ (Family) ชบา (Malvaceae) เป็นฟไม้ขนาดเล็กหรือไม้พุ่มถิ่นเดิมอยู่ในแถบทวีปอเมริกาใต้ มีการนำไปปลูกในแอฟริกา เอเชีย และที่อื่นๆ ที่อยฦู่ในโซนร้อนทั่วๆ ไป

ไผ่ (Bamboo) ในพระพุทธศาสนาเป็นพระอารามแห่งแรก “เวฬุวนาราม” พระเจ้าพิมพิสารเป็นผู้ถวาย พระอรหันต์ จำนวน 1,250 รูป ได้มาเฝ้าพระพุทธเจ้าที่พระอารามนี้ เมื่อวันเพ็ญเดือนสาม “วันมาฆบูชา” พระองค์ได้ถือวันนี้เป็นวันประกาศหลักสามฟประการของพระพุทธศาสนา ที่เรียกว่า “โอวาทปาฎฆิโมกข์ “