ข้อมูลเกี่ยวกับอำเภอกาญจนดิษฐ์ จังหวัดสุราษฎร์ธานี

1.ประวัติความเป็นมาของอำเภอ

            อำเภอกาญจนดิษฐ์ เป็นเมืองเก่าแก่มาตั้งแต่โบราณกาล คาดว่ามีมาตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 18 - 19 ดังปรากฏในเมืองนครศรีธรรมราชว่า พระพนมวังและนางสะเดียงทองซึ่งสร้างเมืองนครศรีธรรมราช ให้แก่เจ้าศรีราชบุตรไปปกครองสร้างไร่นาที่เมืองสะอุเลา อันเป็นเมือง 12 นักษัตรของเมืองนครศรีธรรมราช ซึ่งต่อมาเจ้าศรีราชาก็ได้พญาศรีธรรมราชโศกราชครองเมืองนครศรีธรรมราชต่อมา ซึ่งเมืองสะอุเลา(ชื่อเมืองสะอุเลาก็ปรากฏในกฎมณเฑียรบาลด้วย) นี้ ตำนานเมืองนครศรีธรรมราชความหมายว่าเป็นเมือง "ท่าทอง" ซึ่งเป็นชื่อเดิมของอำเภอกาญจนดิษฐ์

            จากหลักฐานทางโบราณคดี เชื่อว่าตัวเมืองกาญจนดิษฐ์ได้มีการย้ายมาหลายครั้งแล้ว แรกตั้งและสร้างเมืองครั้งแรกที่บ้านเขาน้อยก่อน ต่อมาในรัชกาลที่ 2 ประมาณปี พ.ศ.2336 ก็ได้ย้ายเมืองที่ท่าทองไปอยู่ที่ริมฝั่งซ้ายคลองท่าเพชร (ต่อมาเปลี่ยนเป็นคลองท่าทองใหม่) ชาวบ้านนิยมเรียกเมืองอยู่ที่ตำบลท่าทอง (อุแท) เพราะมีวัดเก่าอยู่เป็นจำนวนมมาก เมื่อเสียแก่พม่าคราวพระเจ้าปะดุง กษัตริย์พม่าแต่งกองทัพมาตีหัวเมืองปักษ์ใต้ของไทย เมืองท่าทองคงถูกทำลายและผู้คนหลบลี้หนีไปหมด ผู้ปกครองในขณะนั้นเห็นเหลือที่บูรณะได้ จึงย้ายไปอยู่ที่ริมคลองกะแดะ ซึ่งเป็นที่ตั้งอำเภอกาญจนดิษฐ์ในปัจจุบัน (สมเด็จกรมพระยานริศ ฯ ทรงสันนิษฐานว่าการย้ายเมืองครั้งนี้คงจะไปใหม่ว่า "ท่าทองใหม่") ในสมัยรัชกาลที่ 4 เมื่อเจ้าพระยานคร (น้อย) เจ้าเมืองนครศรีธรรมราชถึงแก่กรรม จึงโปรดเกล้าให้ย้ายเมืองท่าทองไปตั้งที่บ้านดอนและพระราชทานนามใหม่ว่า "เมืองกาญจนดิษฐ์" เพราะมีผู้คนหนาแน่นกว่า พร้อมทั้งยกฐานะเป็นเมืองจัตวาขึ้นตรงต่อกรุงเทพฯ สมัยเมื่อตั้งมณฑลชุมพร และต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็นเมืองไชยา ชื่อเมืองกาญจนดิษฐ์เลยหายไป

            ในรัชกาลที่ 6 เมื่อมีการสร้างทางรถไฟสายใต้ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้า ฯ ทรงพระราชดำริว่า ต่อไปเมืองจะย้ายไปอยู่ที่ท่าข้ามที่รถไฟผ่าน จึงพระราชทานนาม "ท่าข้าม" ว่า สุราษฎร์ธานี ครั้นเมื่อมีการจัดระเบียบการปกครองท้องที่ใหม่เป็นรูปจังหวัด อำเภอ ก็เอานามสุราษฎร์ธานีมาเป็นจังหวัด สมเด็จกรมพระยากรมราชานุภาพเสนาบดีกระทรวงมหาดไทยกลัวว่าชื่อกาญจนดิษฐ์จะหายไป จึงตรัสสั่งให้เรียกเมืองเก่าว่า "อำเภอกาญจนดิษฐ์" และย้ายเมืองกลับไปตั้งที่ริมคลองกะแดะเช่นเดิมและคงอยู่จนปัจจุบันนี้

            คำว่า "กาญจนดิษฐ์" ปัจจุบัน เดิมใช้ว่า "กาญจนดิฐ" ซึ่งแปลว่า "ท่าทอง" อันเป็นชื่อเมืองเดิม แต่เมื่อราชบัณฑิตยสถานได้ออกประกาศว่าด้วยชื่อหมู่บ้าน ตำบล อำเภอ จังหวัด ปี พ.ศ.2440 ก็ได้เปลี่ยนชื่อเป็น "กาญจนดิษฐ์" ซึ่งแปลไปอีกความหมายหนึ่งแต่ก็ได้ใช้เรื่อยมาจนปัจจุบัน

2. สภาพทั่วไป
   2.1 ที่ตั้งและอาณาเขต
            อำเภอกาญจนดิษฐ์ ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของจังหวัดสุราษฎร์ธานี ตัวที่ว่าการอำเภอตั้งอยู่ที่หมู่ที่ 1 บ้านกะเเดะ ถนนกาญจนดิษฐ์ ตำบลกะเเดะ อำเภอกาญจนดิษฐ์ ห่างจากตัวจังหวัด ตามเส้นทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 401 เป็นระยะทาง 18 กิโลเมตร จัดตั้งเป็นอำเภอเมื่อปี พ.ศ. 2440 มีพื้นที่ทั้งหมด 875.539 ตารางกิโลเมตร (616,875 ไร่) โดยมีอาณาเขตดังนี้

            ทิศเหนือ จดอ่าวไทย
            ทิศใต้ จดอำเภอบ้านนาสาร จังหวัดสุราษฎร์ธานี อำเภอสิชล และกิ่งอำเภอนบพิตำ จังหวัดนครศรีธรรมราช
            ทิศตะวันออก จดอำเภอดอนสัก จังหวัดสุราษฎร์ธานีและจังหวัดนครศรีธรรมราช
            ทิศตะวันตก จดอำเภอเมืองและอำเภอบ้านนาสาร จังหวัดสุราษฎร์ธานี

 ที่ตั้งที่ว่าการอำเภอ หมู่ที่ 1 ตำบลกะแดะ อำเภอกาญจนดิษฐ์ จังหวัดสุราษฎร์ธานี 84160 หมายเลขโทรศัพท์ 0-7737-9023 หมายเลขโทรสาร 0-7724-4586

   2.2 ลักษณะภูมิประเทศ
            พื้นที่โดยทั่วไปเป็นที่ราบสลับลูกคลื่นลอนลาดเล็กน้อยจนถึงลูกคลื่นลอนชัน มีแนวเทือกเขาอยู่ทางตอนใต้และทิศตะวันออกเฉียงใต้ของอำเภอ ซึ่งเป็นเขตป่าสงวนแห่งชาติ ทางด้านเหนือของอำเภอเป็นพื้นที่แถบชายทะเลที่ติดต่อกับอ่าวบ้านดอน ซึ่งเป็นที่ชายเลนที่มีความเหมาะสมต่อการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำตอนกลางเป็นที่ราบลุ่มเหมาะแก่การทำนาและเพาะปลูก ตอนในสุดเป็นที่ราบสูงและป่าเขาเหมาะแก่การทำสวนยางพาราและสวนผลไม้

2.3 ลักษณะภูมิอากาศ
            ลักษณะภูมิอากาศเป็นมรสุมเขตร้อน
ฤดูร้อนเริ่มตั้งแต่เดือนมกราคม ถึงเดือนมิถุนายน
ฤดูฝนเริ่มตั้งแต่เดือนกรกฎาคม ถึงเดือนธันวาคม

3. การเมืองและการปกครอง
    3.1 หน่วยการปกครอง จำนวนเทศบาล อบต. ตำบล หมูบ้าน
การปกครองท้องที่ แบ่งการปกครองออกเป็น 13 ตำบล 114 หมู่บ้าน เป็นหมู่บ้าน อพป. 34 หมู่บ้าน

การปกครองท้องถิ่น มีหน่วยการปกครองท้องถิ่น 2 รูปแบบ ประกอบด้วย

 1.เทศบาล มีเทศบาล 3 แห่ง ได้แก่


                 1.1 เทศบาลตำบลกาญจนดิษฐ์ มีพื้นที่ 29.4 ตารางกิโลเมตร
                 1.2 เทศบาลตำบลท่าทองใหม่ มีพื้นที่ 3 ตารางกิโลเมตร
                 1.3 เทศบาลตำบลช้างซ้าย

            2.องค์การบริหารส่วนตำบล จำนวน 11 แห่ง คือ

                 1. องค์การบริหารส่วนตำบลปลายวาส
                 2. องค์การบริหารส่วนตำบลตะเคียนทอง
                 3. องค์การบริหารส่วนตำบลท่าทอง
                 4. องค์การบริหารส่วนตำบลท่าอุแท

                 5. องค์การบริหารส่วนตำบลท่าทองใหม่
                 6. องค์การบริหารส่วนตำบลช้างขวา
                 7. องค์การบริหารส่วนตำบลป่าร่อน

                 8. องค์การบริหารส่วนตำบลกรูด
                 9. องค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งกง

                 10. องค์การบริหารส่วนตำบลคลองสระ
                 11. องค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งรัง

    การเลือกตั้ง

            พื้นที่อำเภอกาญจนดิษฐ์ ปัจจุบันอยู่ในเขตเลือกตั้งที่ 2 (ประกอบด้วย อำเภอกาญจนดิษฐ์ ดอนสัก เกาะสมุย และเกาะพะงัน ) ยกเว้นตำบลทุ่งรัง ช้างซ้าย และช้างขวา อยู่ในเขตเลือกตั้งที่ 3 (รวมกับอำเภอบ้านนาสารและเวียงสระ)

    3.2 ประชากร
            อำเภอกาญจนดิษฐ์มีประชากรทั้งสิ้น จำนวน 96,620 คน ( สิ้นเดือนเมษายน 2547 ) แยก
จำนวนชาย 48,171 คน หญิง 48,449 คน และแยกเป็นเขตตำบลและเขตเทศบาล ดังนี้

ตำบล

ชาย

หญิง

รวม

ตำบลป่าร่อน
ตำบลตะเคียนทอง
ตำบลช้างขวา
ตำบลท่าอุแท
ตำบลทุ่งรัง
ตำบลคลองสระ
ตำบลท่าทองใหม่ (อบต.)
ตำบลท่าทอง
ตำบลทุ่งกง
ตำบลกรูด
ตำบลช้างซ้าย
ตำบลพลายวาส
เทศบาลตำบลกาญจนดิษฐ์(กะแดะ)
เทศบาลตำบลท่าทองใหม่

3,304
3,166
5,303
4,882
1,971
2,759
1,669
2,885
2,412
4,331
4,822
3,182
4,536
2,949

3,227
3,288
5,437
4,882
1,895
2,586
1,706
2,849
2,460
4,346
4,846
3,250
4,746
2,913

6,53
6,454
10,740
9,764
3,866
5,345
3,375
5,734
4,872
8,677
9,668
6,432
9,300
5,862

    3.3 จำนวนและรายชื่อ ส่วนราชการประจำอำเภอ ทั้งราชการส่วนภูมิภาค ส่วนกลาง ส่วนท้อง
ถิ่น รัฐวิสาหกิจและองค์กรของรัฐ

ส่วนราชการประจำอำเภอ
            1. สำนักงานสรรพากรอำเภอ
            2. สำนักงานพัฒนาการอำเภอ
            3. สำนักงานสัสดีอำเภอ
            4. สำนักงานเกษตรอำเภอ
            5. สาธารณสุขอำเภอ
ราชการส่วนภูมิภาค
            1. สำนักที่ดินอำเภอ
            2. สถานีตำรวจภูธรอำเภอกาญจนดิษฐ์
            3. สำนักงานโครงการชลประทานขนาดกลางที่ 3
            4. สถานีพัฒนาที่ดิน
            5. ศุนย์ขยายพันธ์พืชที่ 22
            6. นิคมสหกรณ์อำเภอกาญจนดิษฐ์
            7. ศูนย์เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่งกาญจนดิษฐ์

รัฐวิสาหกิจ
            1. การประปาส่วนภูมิภาค อ. กาญจนดิษฐ์
            2. การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค อ. กาญจนดิษฐ์
            3. ธนาคารออมสิน สาขา กาญจนดิษฐ์
            4. ไปรษณีย์โทรเลขกาญจนดิษฐ์

4. สภาพเศรษฐกิจ
    4.1 จำนวนธนาคาร แยกเป็นธนาคารของรัฐ ธนาคารพาณิชย์ และจำนวนเงินฝาก/สินเชื่อ
มีธนาคาร จำนวน 3 แห่ง ได้แก่
            1. ธนาคารออมสิน
            2. ธนาคารกรุงศรีอยุธยา
            3. ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร

    4.2 จำนวนสถานประกอบการ
            โรงงานอุตสาหกรรม และจำนวนลูกจ้างแยกเป็น แรงงานไทยและแรงงานต่างด้าว
อำเภอกาญจนดิษฐ์ ไม่มีโรงงานอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ อุตสาหกรรมส่วนใหญ่จะเกี่ยวเนื่องกับการเกษตรและประมง และเป็นอุตสาหกรรมขนาดเล็ก อุตสาหกรรมการแปรรูปไม้ อุตสาหกรรมที่เกี่ยวกับวัสดุก่อสร้าง เช่น โม่หิน ย่อยหิน เสาเข็ม แผ่นคอนกรีต ปูนขาวและไดโลไมต์ จำนวนโรงงานอุตสาหกรรมในเขตอำเภอกาญจนดิษฐ์จำนวนทั้งสิ้น 55 โรง เงินลงทุนกว่า 400 ล้านบาท
    4.3 อาชีพของประชากร อาชีพหลัก อาชีพรอง
            อาชีพของประชากรในเขตอำเภอกาญจนดิษฐ์นั้นแบ่งออกเป็น 2 โซน โซนแถวทะเลมีอาชีพประมง เป็นอาชีพหลัก และมีอาชีพเกษตรกรรม ชาวสวน และค้าขายและอาชีพรับจ้างเป็นอาชีพรอง ส่วนประชากรในโซนพ้นเขตทะเลนั้นมีอาชีพเกษตรกรรม สวนยางพารา สวนปาล์ม สวนผลไม้ เป็นอาชีพหลักและมีอาชีพค้าขาย อาชีพรับจ้างเป็นอาชีพรอง นอกจากนั้นประชากรส่วนหนึ่งซึ่งไม่มากนักในเขตอำเภอกาญจนดิษฐ์มีอาชีพค้าขายเป็นอาชีพหลัก และประกอบอาชีพเกษตรกรรมเป็นอาชีพรอง

    4.4 พืชเศรษฐกิจแยกเป็น
            - พืชเศรษฐกิจหลัก เนื้อที่ประมาณ 2 แสนไร่ หรือ 1/3 ของพื้นที่ทั้งอำเภอ เป็นการปลูกพืชและพืชเศรษฐกิจที่สำคัญของอำเภอกาญจนดิษฐ์ ได้แก่ ยางพารา มีพื้นที่รวมประมาณ 125,321 ไร่ ปาล์มน้ำมันพื้นที่รวมประมาณ 47,000 ไร่
            - พืชเศรษฐกิจรอง ได้แก่ มะพร้าวพื้นที่รวมประมาณ 5,500 ไร่ เงาะพื้นที่รวมประมาณ 5681 ไร่ ทุเรียนพื้นที่รวมประมาณ 2400 ไร่ กาแฟพื้นที่รวมประมาณ 1500 ไร่

    4.5 ปศุสัตว์
            อ.กาญจนดิษฐ์มีการเลี้ยงสัตว์ทั้งเพื่อการค้าและการบริโภคในครัวเรือน สัตว์เลี้ยงที่สำคัญ
ได้แก่ ไก่ โค สุกร กระบือ โดยเฉพาะไก่และสุกรมีฟาร์มเลี้ยงขนาดใหญ่หลายแห่ง

    4.6 ประมง
            - ประมงชายฝั่ง การเฉพาะเลี้ยงชายฝั่ง และธุรกิจต่อเนื่อง นับว่าเป็นอาชีพที่สำคัญของประชาชนและมูลค่ามากที่สุดของอ.กาญจนดิษฐ์ เป็นอาชีพที่สร้างรายได้และชื่อเสียงให้ อ.กาญจนดิษฐ์ และ จ. สุราษฎร์ธานี ด้วยทั้งยังสร้างงานให้แก่ราษฎรจำนวนมาก โดยเฉพาะการเลี้ยงกุ้งกุลาดำ หอยนางรม และหอยแครง ซึ่งมีพื้นที่เลี้ยงมากที่สุดของจังหวัดสุราษฎร์ธานี เนื่องจากอำเภอกาญจนดิษฐ์มีพื้นที่ถึง 5 ตำบล ที่ติดต่อกับทะเลอ่าวไทย คือ ตำบล ท่าทองใหม่ ตะเคียงทอง กะแดะ พลายวาส และตำบลท่าทอง โดยมีความยาวถึง 26 กิโลเมตร นอกจากนี้ ยังได้ก่อให้เกิดธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องกับการประมงและการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่งอีกมากมาย ได้แก่ แพปลา กิจการอนุบาลลูกกุ้ง การค้าอาการสัตว์น้ำ ยาและสารเคมีกิจการค้าสัตว์ โรงงานแปรรูปสัตว์น้ำ โรงน้ำแข็ง รวมแล้วมีมูลค่าไม่น้อยกว่า 1 หมื่นล้าน การทำประมงชายฝั่งของ อ.กาญจนดิษฐ์เป็นการทำการประมงด้วยเครื่องมือขนาดเล็ก เช่น อวนลากคานถ่าน และอวนรุน ทำการประมงสัตว์น้ำจำพวกกุ้ง ปลา ตามแนวชายฝั่ง ซึ่งมีราดับลึกประมาณ 3 - เมตร โดยมีเรืออวนลาก 62 ลำ เรืออวนรุน 67 ลำ และอวนลอยปู 50 ลำ การเลี้ยงหอยนางรมและหอยแครง หอยนางรมที่เลี้ยงในเขต อ.กาญจนดิษฐ์ เป็นหอยนางรมพันธ์ใหญ่และเป็นหอยที่มีคุณภาพที่ดีที่สุดของประเทศไทย ได้เริ่มทดลองเลี้ยงเป็นครั้งแรกที่บริเวณปากน้ำท่าทอง อำเภอกาญจนดิษฐ์ ในปี พ.ศ. 2503 ปัจจุบันมีผู้เลี้ยงหอย 535 ราย เนื้อที่ประมาณ 14,775 ไร่ ผลผลิตมูลค่าประมาณ 500 ล้านบาท
            - การเลี้ยงปลาในกระชัง นั้นมีอยู่บ้างไม่มากนัก ไม่ได้เป็นอาชีพหลักแต่เลี้ยงกันเป็นอาชีพเสริมซึ่งมีด้วยกัน 2 ตำบลที่ทำการเลี้ยงปลาในกระชัง ได้แก่ ตำบลท่าทอง และตำบลท่าทองใหม่ การเลี้ยงปลาในกระชังมีอยู่ประมาณ 100 กระชัง ผลผลิตนั้นไม่อาจประเมินได้เพราะการเลี้ยงนั้นไม่สม่ำเสมอ ไม่ได้ทำเป็นอาชีพอย่างจริงจัง

    4.7 สหกรณ์ การรวมกลุ่ม และแหล่งเงินทุน
สหกรณ์ในอำเภอกาญจนดิษฐ์ มี 10 แห่ง ได้แก่
            1. สหกรณ์ผู้เลี้ยงสัตว์น้ำสุราษฎร์ธานี จำกัด
            2. สหกรณ์การเกษตรเมืองกาญจนดิษฐ์ จำกัด
            3. สหกรณ์ผู้เลี้ยงโคเนื้อสุราษฎร์ธานี จำกัด
            4. สหกรณ์ประมงน้ำจืดสุราษฎร์ธานี จำกัด
            5. สหกรณ์กองทุนสวนยางบ้านท่าเฟือง
            6. สหกรณ์กองทุนสวนยางบ้านคลองสระ
            7. สหกรณ์กองทุนสวนยางบ้านทุ่งคา
            8. สหกรณ์กองทุนสวนยางช้างคู่พัฒนา
            9. สหกรณ์ กรบ. กลางผู้เลี้ยงหอยนางรมกาญจนดิษฐ์
            10. สหกรณ์กลุ่มสงเคราะห์การทำสวนยางบ้านพุฒพัฒนา

    4.8 ผลิตภัณฑ์ OTOP แยกเป็นประเภทผลิตภัณฑ์ และผลิตภัณฑ์ดีเด่น
            ผลิตภัณฑ์ OTOP ในอำเภอกาญจนดิษฐ์นั้น มีด้วยกันหลายประเภทซึ่งอยู่ในขั้นการสนับสนุนส่งเสริม ให้ได้พัฒนาไปสู่เป้าหมายที่มีคุณภาพเป็นที่ยอมรับ และมีการจำหน่ายที่สูงสุด แต่ปัจจุบันนี้ผลิตภัณฑ์ OTOP ในอำเภอกาญจนดิษฐ์ มีดังรายการต่อไปนี้

ชื่อผลิตภัณฑ์

ผู้ผลิต

มูลค่าการจำหน่าย
บาท / ปี

น้ำพริกหอยนางรม ตำบลกะแดะ ม.9 480,000
หอยนางรมส้ม ตำบลกะแดะ ม.7 360,000
กะปิ ตำบลตะเคียนทอง ม. 4 392,400
กะปิ ตำบลท่าทอง ม. 2 360,000
ขนมจีนเส้นสด ตำบลพลายวาส ม. 4 360,000
กังหันไม้ไผ่ ตำบลทุ่งรัง ม. 3 150,000
เครื่องแกงสมุนไพร ตำบลช้างซ้าย ม. 1 150,000
น้ำผึ้ง ตำบลช้างขวา ม.10 130,000
ข้าวสาร ตำบลท่าอุแท ม. 5 450,000
ปุ๋ยหมัก ตำบลท่าอุแท ม. 8 900,000
ปุ๋ยเคมีอัดเม็ด ตำบลคลองสระ ม. 7 900,000
เครื่องแกง ตำบลคลองสระ ม. 7 250,000

    4.9 รายชื่อร้านค้า ร้านอาหาร ได้แก่

            1. ร้านเคียงเล ที่ตั้ง หมู่ที่ 7 ตำบลกะแดะ โทรศัพท์ 0-7725-5243
            2. ร้านในอ่าวซีฟู๊ด ที่ตั้ง หมู่ที่ 7 ตำบลกะแดะ โทรศัพท์ 0-7724-4360
            3. ร้านชายทุ่ง ที่ตั้ง หมู่ที่ 5 ตำบลกะแดะ โทรศัพท์ 0-7724-4788

    4.10 การคมนาคม

    การคมนาคมติดต่อระหว่างอำเภอและจังหวัด รวมทั้งการคมนาคมภายในอำเภอ มีเส้นทางคมนาคม ดังนี้

ทางหลวง
หมายเลข

ชื่อสายทาง

ระยะทาง

ผ่านพื้นที่

401

ติดต่อเทศบาลเมืองสุราษฎร์ธานี - ต่อเขตอำเภอดอนสัก

32.36 กม.

ท่าทองใหม่, ตะเคียนทอง , กะแดะ, พลายวาส , ท่าอุแท

4010

แยกทางหลวงหมายเลข 401 - บ้านกรูด บรรจบทางหลวงหมายเลข 401

23.77 กม.

กะแดะ , กรูด , ป่าร่อน , และท่าอุแท

4143

บ้านกงตาก - บ้านกรูด

25 กม.

ช้างซ้าย , ป่าร่อน ,กรูด

4177

แยกทางหลวงหมายเลข 401 - ปากน้ำท่าทอง - พระพุทธบาท

27.1 กม.

กะแดะ, พลายวาส, ท่าทอง, ท่าอุแท

4177

กาญจนดิษฐ์ - ปากน้ำกะแดะ

2.75

กะแดะ

นอกจากนี้ มี
            - ถนนลูกรัง ระยะทางประมาณไม่ต่ำกว่า 300 ก.ม.
            - ถนนคอนกรีต ระยะทางประมาณ 100 ก.ม.
            - ถนนลาดยาง ระยะทางประมาณ 150 ก.ม.

    4.11 ประเภทแหล่งน้ำ
            อำเภอกาญจนดิษฐ์ มีแม่น้ำลำคลองหลายสาย ค่อนข้างสมบูรณ์ แต่ไม่มีเขื่อนเก็บกักน้ำ
มีทำนบกั้นน้ำ 3 แห่ง ที่ตำบลท่าอุแทบ้านเขาต่อ ตำบลช้างซ้ายบ้านคลองฮาย มีฝ่ายน้ำล้น 14 แห่ง มีสระน้ำ 9 แห่ง ระบบประปา 23 แห่ง มีบ่อน้ำบาดาล 18 แห่ง บ่อน้ำตื้น 13 แห่ง
            แต่ถึงยังไงก็ตาม ยังมีประชากรในบางพื้นที่ของอำเภอกาญจนดิษฐ์ที่ไม่มีบริการแหล่งน้ำดังกล่าว และยังได้รับความเดือดร้อนเรื่องน้ำอยู่มากพอสมควร ทั้งในเรื่องของน้ำอุปโภค/บริโภค น้ำเพื่อการเกษตร แต่พอมีน้ำในฤดูฝนก็มีน้ำมากเกินความจำเป็น น้ำท่วมได้รับความเดือดร้อนเช่นกันในหลายท้องที่ตำบลในเขตอำเภอกาญจนดิษฐ์ถูกน้ำท่วมได้รับความเสียหาย

    4.12 ไฟฟ้า
            - จำนวนครัวเรือนที่มีไฟฟ้าใช้ 16013 ครัวเรือน
            - จำนวนครัวเรือนที่ไม่มีไฟฟ้าใช้ 2131 ครัวเรือน

    4.13 แหล่งท่องเที่ยว
            อำเภอกาญจนดิษฐ์ มีแหล่งท่องเที่ยวที่น่าสนใจหลายแห่ง ทั้งที่เป็นแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติและแหล่งท่องเที่ยวทางโบราณสถาน โบราณวัตถุ ซึ่งมีศักยภาพที่ดึงดูดความสนใจของนักท่องเที่ยวให้เข้ามาเที่ยวชมได้หลายแห่ง

            แหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญ ได้แก่ ฟาร์มหอยนางรม ถ้ำเพชรพนมวัง น้ำตกภูริน วัดถ้ำคูหา ถ้ำบ่อน้ำทิพย์ โรงเรียนฝึกลิง รอยพระพุทธบาทวัดเขาต่อ น้ำตกเพชรพนมวัฒน์ ฯลฯ
            -วัดถ้ำคูหา ที่ตั้ง หมู่ที่ 1 ตำบลช้างขวา
            -ถ้ำบ่อน้ำทิพย์ ที่ตั้ง หมู่ที่ 7 ตำบลท่าอุแท
            -รอยพระพุทธบาท ที่ตั้ง หมู่ที่ 7 ตำบลท่าอุแท
            -ถ้ำเพชรพนมวัง ที่ตั้ง หมู่ที่ 6 ตำบลป่ารอน

            แหล่งท่องเที่ยวที่น่าสนใจอีกแห่งหนึ่ง ได้แก่ วัดท่าไทร วัดเจ้าคณะจังหวัด ซึ่งเป็นวัดเก่าแก่มีอายุกว่า 349 ปี (เริ่มตั้ง พ.ศ. 2200) เป็นศูนย์รวมการบริหารและการปกครองคณะสงฆ์จังหวัดสุราษฎร์ธานี มีปูชนียวัตถุที่สำคัญก็คือ
            -มณฑปประดิษฐ์รูปเหมือนอดีตเจ้าอาวาส ซึ่งก็คือ หลวงพ่อชม หรือ พระครูดิตถารามคณาศัย ซึ่งเป็นที่เคารพ สักการะ มีคุณานุภาพมากมาย มีคนไปมาหาสู่ สักการะบูชา ขอพร และแก้บนกันอยู่อย่างไม่ขาดสาย
            -พระ เดชพระคุณ พระเทพพิพัฒนาภรณ์ (ชูชาติ กันตวัณโณ) เจ้าอาวาสวัดท่าไทรรูปปัจจุบัน และท่านยังดำรงตำแหน่งเป็น เจ้าคณะจังหวัดสุราษฎร์ธานี อีกด้วย

5. ด้านสังคม
    5.1 ยาเสพติด
            - จำนวนผู้ติดยาไม่น้อยกว่า 853 ราย
            - ผู้รับการบำบัด 853 ราย
            - ผู้ผลิต 0 ราย
            - ผู้ค้า 289 ราย
    5.2 การศึกษา
            - จำนวนสถานศึกษา

สถานศึกษา
สังกัด

จำนวน
โรงเรียน

จำนวน
ห้องเรียน

จำนวนครู

จำนวน
นักเรียน

สพท. 58 584 751 14,023
พระพุทธศาสนา 1 3 5 47

    5.3 ศาสนา
            จำนวนวัด 32 แห่ง
            จำนวนสำนักสงฆ์ 12 แห่ง
            จำนวนมัสยิด 5 แห่ง
            จำนวนศาลเจ้า 3 แห่ง
            จำนวนโบสถ์คริสต์ 2 แห่ง

    5.4 วัดชื่อดังประจำอำเภอ ได้แก่
            วัดท่าไทร ตำบลท่าทองใหม่ อำเภอกาญจนดิษฐ์ จังหวัดสุราษฎร์ธานี 84290 http://www.watthasai.com เป็นวัดเก่าแก่มีอายุกว่า 349 ปี, เป็นวัดของเกจิอาจารย์ชื่อดังของถาคใต้ คือ หลวงพ่อชม คุณาราโม (พระครูดิตถารามคณาศัย) เป็นศูนย์กลางการบริหารกิจการคณะสงฆ์จังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นแหล่งวิทยาการทั้งทางโลกและทางธรรม เป็นที่ตั้งของศูนย์พัฒนาคุณธรรมภาคใต้, เป็นที่ตั้งของสำนักงานเจ้าคณะจังหวัดสุราษฎร์ธานี, เป็นที่ตั้งของสำนักงานเลขานุการเจ้าคณะภาค 16, เป็นที่ตั้งของสำนักงานศูนย์ครูพระปริยัตินิเทศก์จังหวัดสุราษฎร์ธานี, เป็นที่พำนักของ พระเทพพิพัฒนาภรณ์ เจ้าคณะจังหวัดสุราษฎร์ธานี

    5.5 ขนบธรรมเนียม ประเพณี วัฒนธรรม ได้แก่ ประเพณีชักพระ ประเพณีห่อข้าวต้มลูกโยน ตักบาตรเทโว ประเพณีเดือนสิบส่งตายาย
         ประเพณีชักพระ จัด 2 แห่ง ได้แก่
            1. ประเพณีชักพระวัดท่าไทร (จัดทำเป็นแห่งแรกในอำเภอกาญจนดิษฐ์ ตรงกับวันแรม 8 ค่ำ เดือน 11 ของทุกปี)
            2.ประเพณีชักพระอำเภอกาญจนดิษฐ์ (จัดที่ สนามหน้าที่ว่าการอำเภอกาญจนดิษฐ)์
         ประเพณีห่อข้าวต้มลูกโยน
            จัดที่ วัดท่าไทร ในระหว่างวันขึ้น 14-15 ค่ำ เดือน 11 ของทุกปี มีประชาชนเข้าร่วมกิจกรรมมากมายทั้งจังหวัดสุราษฎร์ธานี และจังหวัดใกล้เคียง มีสื่อมวลชนไปทำข่าวกันเกือบทุกแขนง

    5.6 สาธารณสุข
         - สถานพยาบาล แยกเป็น
         โรงพยาบาลศูนย์ขนาด 60 เตียง 1 แห่ง
         สถานีอนามัย 17 แห่ง
         คลินิก 3 แห่ง
         ร้านขายยา 3 แห่ง

6. อื่น ๆ
    6.1 ปัญหาสำคัญในพื้นที่ แนวทางแก้ไข
         1. ปัญหาน้ำท่วม ไม่มีเขื่อนเก็บกักน้ำ
         พื้นที่ในอำเภอกาญจนดิษฐ์ส่วนหนึ่งติดทะเล ส่วนหนึ่งเป็นที่ราบสูงและภูเขา เมื่อมีฝนตกไม่ต้องมากเป็นเวลา 2 วัน ติดต่อกันก็จะทำให้พื้นที่ในส่วนที่เป็นที่ราบติดทะเลส่วนหนึ่งน้ำท่วมเนื่องจากระบายน้ำไม่ทัน และไม่มีพื้นที่เก็บกักน้ำ
แนวทางแก้ไข : สร้างเขื่อนเก็บกักน้ำรองรับน้ำจากที่สูง สร้างคูระบายน้ำ ท่อระบายน้ำที่ถาวร

         2. ปัญหาภัยแล้ง
         เมื่อเดือนเมษายน พฤษภาคม พื้นที่ส่วนหนึ่งในอำเภอกาญจนดิษฐ์ประสบภัยแล้ง ไม่มีน้ำกิน น้ำใช้ น้ำเพื่อการเกษตรทำให้ผลผลิตเสียหาย
แนวทางแก้ไข : สร้างเขื่อน สร้างพื้นที่กักเก็บน้ำไว้ใช้ในฤดูแล้ง สร้างเครื่อข่ายประปาให้ครอบคลุมทั่วถึง สร้างชลประทานท่อ

         3. ปัญหาความเจริญไม่ทั่วถึงขาดบริการสาธารณะขั้นพื้นฐาน
         พื้นที่ส่วนหนึ่งในอำเภอกาญจนดิษฐ์ ยังขาดบริการสาธารณะขั้นพื้นฐานทั้งทางด้านถนน ประปา ไฟฟ้า โทรศัพท์ ไม่ทั่วถึงไม่เพียงพอกับความต้องของประชาชนในพื้นที่

         4. ปัญหาความขัดแย้งระหว่างผู้ประกอบอาชีพประมงและการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่งด้วยกันเอง          และกับอาชีพฟาร์มหมู ฟาร์มไก่ โรงเหล้าและผู้ประกอบการที่ก่อให้เกิดน้ำเสีย
ปัญหาระหว่างผู้ประกอบอาชีพประมงด้วยกันเอง คือ ความขัดแย้งระหว่างผู้เลี้ยงหอยนางรม หอยแครง หอยกระพง กับประมงชายฝั่งซึ่งใช้เครื่องมืออวนลอย อวนลาก อวนรุน เนื่องจากบริเวณแปลงเลี้ยงหอยเป็นแหล่งที่มีสัตว์น้ำชุกชุม จึงทำให้ผู้ประกอบอาชีพประมงขนาดเล็กเข้ามาจับสัตว์น้ำบริเวณแปลงหอย สร้างความเสียหายให้แก่หอยที่เลี้ยงไว้ ปัญหาระหว่างอาชีพฟาร์มหมู ฟาร์มไก่
โรงเหล้า และผู้ประกอบการที่ก่อให้เกิดน้ำเสียที่อาศัยแหล่งน้ำธรรมชาติที่มีอยู่เป็นที่ระบายน้ำลงสู่ทะเล และบางครั้งก็อาศัยสถานการณ์น้ำท่วมเป็นช่องทางระบายน้ำที่ไม่ได้บำบัดลงสู่ทะเล สร้างความเสียหายให้กับผู้ประกอบอาชีพเลี้ยงหอยแครง หอยนางรม หอยกระพง ดังกล่าวมาแล้ว
แนวทางแก้ไข : ให้ทางหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้ามาดูและแก้ไขโดยเข้มงวด

         5. ปัญหาด้านการตลาด
         ปัญหาไม่มีตลาดกลางในอำเภอ เพื่อระบายผลผลิตในอำเภอ เกษตรกรไม่สามารถนำผลผลิตที่ได้มาจำหน่ายได้ในราคาที่เหมาะสม ถูกพ่อค้าคนกลางกดราคา ไม่มีตลาดเพื่อการค้าในพื้นที่ที่เกษตรกรสามารถเข้าไปขายได้

แนวทางแก้ไข : ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการสร้างตลาดให้ในพื้นที่ที่เหมาะสม

คำขวัญอำเภอกาญจนดิษฐ์

         หอยใหญ่นางรม ชมวิทยาลัยฝึกลิง มากยิ่งกุ้งกุลาดำ งามล้ำพระไสยาสน์ พระพุทธบาทควรผดุง รุ่งเรืองเมืองท่าทอง (อ่านรายละเอียดคำขวัญ)

ที่มาของข้อมูล : -การบรรยายสรุปของอำเภอกาญจนดิษฐ์
ขอขอบคุณ : www.amphoe.com ผู้เอื้อเฟื้อข้อมูลางส่วนประกอบในการเขียน

ศูนย์ประสานงานสมาคมป้องกันภัยจังหวัดสุราษฎร์ธานี
วัดท่าไทร
สำนักงานเจ้าคณะภาค ๑๖
สำนักงานเจ้าคณะจังหวัดสุราษฎร์ธานี
ศูนย์พัฒนาคุณธรรมภาคใต้(สุราษฎร์ธานี)
สำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัดสุราษฎร์ธานี