ปัตติทานมัย - ปาจิตตีย์
ปัตติทานมัย บุญสำเร็จด้วยการให้ส่วนบุญ, ทำบุญด้วยการเฉลี่ยส่วนแห่งความดีให้แก่ผู้อื่น
(ข้อ ๖ ในบุญกิริยาวัตถุ ๑๐)
ปัปผาสะ ปอด
ปัพพชาจารย์ อาจารย์ผู้ให้บรรพชา
; เขียนเต็มรูปเป็น ปัพพัชชาจารย์ จะเขียน บรรพชาจารย์ ก็ได้
ปัพพชาเปกขะ กุลบุตรผู้เพ่งบรรพชา,
ผู้ตั้งใจจะบวชเป็นสามเณร, ผู้ขอบวชเป็นสามเณร ; เขียนเต็มรูปเป็น ปัพพัชชา
เปกขะ
ปัพพัชชา การถือบวช,
บรรพชาเป็นอุบายฝึกอบรมตนในทางสงบ เว้นจากความชั่วมีการเบียดเบียนกันและกัน
เป็นต้น
(ข้อ ๒ ในสัปปุรสบัญญัติ ๓)
ปัพพาชนียกรรม
กรรมอันสงฆ์พึงทำแก่ภิกษุอันพึงจะไล่เสีย, การขับออกจากหมู่, การไล่ออกจากวัด,
กรรมนี้สงฆ์ทำ
แก่ภิกษุผู้ประทุษร้ายสกุลและประพฤติเลวทรามเป็นข่าวเซ็งแซ่หรือแก่ภิกษุผู้เล่นคะนอง
๑ อนาจาร ๑ ลบล้างพระ
บัญญัติ ๑ มิจฉาชีพ ๑ (ข้อ ๓ ในนิคหกรรม ๖)
ปัสสัทธิ ความสงบกายสงบใจ,
ความสงบใจและอารมณ์, ความสงบเย็น, ความผ่อนคลายกายใจ (ข้อ ๕ ในโพชฌงค์ ๗)
ปัสสาวะ เบา, เยี่ยว,
มูตร
ปัสสาสะ ลมหายใจออก
ปาจิตติยุทเทส
หมวดแห่งปาจิตติยสิกขาบท ที่ยกขึ้นแสดง คือที่สวดในปาฏิโมกข์
ปาจิตตีย์ แปลตามตัวอักษะว่า
การละเมิดอันยังกุศลให้ตก, ชื่ออาบัติจำพวกหนึ่ง จัดไว้ในจำพวกอาบัติเบาเรียก
ลหุกาบัติ พ้นได้ด้วยการแสดง ; เป็นชื่อสิกขาบท ได้แก่ นิสสัคคิบปาจิตตีย์
๓๐ และสุทธิกปาจิตตีย์ ซึ่งเรียกกันสั้นๆ ว่า
ปาจิตตีย์ อีก ๙๒ ภิกษุล่วงละเมิด สิกขาบท ๑๒๒ ข้อเหล่านี้ย่อมต้องอาบัติปาจิตตีย์
เช่น ภิกษุพูดปด ฆ่าสัตว์ ดิรัจฉาน
ว่ายน้ำเล่น เป็นต้น ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ดู อาบัติ