ธงแห่งคฤหัสถ์ - ธรรม ๒

ธงแห่งคฤหัสถ์ เครื่องนุ่งห่มของคฤหัสถ์, การนุ่งห่มอย่างนิยมกันของชาวบ้าน

ธงแห่งเดียรถีย์ เครื่องนุ่งห่มของเดียรถีย์ เช่น หนังสือ ผ้าคากรอง เป็นต้น, การนุ่งห่มอย่างที่ชื่นชมกันของนักบวช
นอกพระศาสนา

ธนสมบัติ สมบัติ คือ ทรัพย์สินเงินทอง

ธนิต พยัญชนะออกเสียงแข็ง ได้แก่ พยัญชนะที่ ๒ ที่ ๔ ในวรรคทั้ง ๕ คือ ข ฆ, ฉ ฌ, ฐ ฒ, ถ ธ, ผ ภ

ธนิยะ ชื่อพระที่เอาไม้หลวงไปทำกุฎีเป็นต้นบัญญัติทุติยปาราชิกสิกขาบท

ธนู มาตราวัดระยะทางเท่ากับ ๑ วา คือ ๔ ศอก

ธมกรก กระบอกกรองน้ำของพระสงฆ์, เครื่องกรองน้ำด้วยลมเป่า, กระบอกก้นผูกผ้า

ธรรม สภาพที่ทรงไว้, ธรรมดา, ธรรมชาติ, สภาวธรรม, สัจจธรรม, ความจริง; เหตุ, ต้นเหตุ; สิ่ง, ปรากฏการณ์, ธรรมา-
รมณ์, สิ่งที่ใจคิด; คุณธรรม, ความดี, ความถูกต้อง, ความประพฤติชอบ; หลักการ, แบบแผน, ธรรมเนียม, หน้าที่; ความ
ชอบ, ความยุติธรรม; พระธรรม, คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ซึ่งแสดงธรรมให้เปิดเผยปรากฏขึ้น

ธรรม ในประโยคว่า “ให้กล่าวธรรมโดยบท” บาลีแสดงคำสอนในพระพุทธศาสนา ที่ท่านเรียงไว้ จะเป็นพุทธภาษิต
ก็ตาม สาวกภาษิตก็ตาม ฤษีภาษิตก็ตาม เทวดาภาษิตก็ตาม เรียกว่าธรรมในประโยคนี้

ธรรม (ในคำว่า “การกรานกฐินเป็นธรรม”) ชอบแล้ว, ถูกระเบียบแล้ว

ธรรม ๒ หมวดหนึ่ง คือ ๑. รูปธรรม ได้แก่รูปขันธ์ทั้งหมด ๒. อรูปธรรม ได้แก่นามขันธ์ ๔ และนิพพาน; อีกหมวด
หนึ่ง
คือ ๑. โลกียธรรม ธรรมอันเป็นวิสัยของโลก ๒. โลกุตตรธรรม ธรรมอันมิใช่วิสัยของโลกได้แก่ มรรค ๔ ผล ๔
นิพพาน ๑; อีกหมวดหนึ่ง คือ ๑. สังขตธรรม ธรรมที่ปัจจัยปรุงแต่งได้แก่ขันธ์ ๕ ทั้งหมด ๒. อสังขตธรรม ธรรมที่
ปัจจัยไม่ปรุงแต่ง ได้แก่ นิพพาน