ธรรมคุณ - ธรรมดา
ธรรมคุณ คุณของพระธรรม
มี ๖ อย่าง คือ ๑. สฺวากฺขาโต ภควตา ธมฺโม พระธรรมอันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสดีแล้ว
๒. สนฺทิฏฺฐิโก อันผู้ปฏิบัติจะพึงเห็นชัดด้วยตนเอง ๓. อกาลิโก ไม่ประกอบด้วยกาล
๔. เอหิปสฺสิโก ควรเรียกให้มาดู
๕. โอปนยิโก ควรน้อมเข้ามา ๖. ปจฺจตฺตํ เวทิตพฺโพ วิญฺญูหิ อันวิญญูชน พึงรู้เฉพาะตน
ธรรมคุ้มครองโลก
ดู โลกบาลธรรม
ธรรมจริยา การประพฤติธรรม,
การประพฤติเป็นธรรม, การประพฤติถูก ตามธรรม เป็นชื่อหนึ่งของ กุศลกรรมบถ
๑๐
ธรรมจักร จักรคือธรรม,
วงล้อธรรมหรืออาณาจักรธรรม หมายถึงเทศนากัณฑ์แรก ที่พระพุทธเจ้าแสดงแก่พระปัญจ
วัคคีย์ (ชื่อของปฐมเทศนา เรียกเต็มว่า ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร)
ธรรมจักษุ ดวงตาเห็นธรรมคือ
ปัญญารู้เห็นความจริงว่า สิ่งใดก็ตามมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งปวง
ล้วนมี
ความดับไปเป็นธรรมดา; ธรรมจักษุโดยทั่วไป เช่น ที่เกิดแก่ท่านโกณฑัญญะเมื่อสดับธรรมจักร
ได้แก่โสดาปัตติ
มรรคหรือโสดาปัตติมัคคญาณ คือญาณที่ทำให้เป็นโสดาบัน
ธรรมจารี ผู้ประพฤติธรรม,
ผู้ประพฤติเป็นธรรม, ผู้ประพฤติถูกธรรม
ธรรมเจดีย์ เจดีย์บรรจุพระธรรมคือ
จารึกพระพุทธพจน์ เช่น อริยสัจ ปฏิจจสมุปบาท เป็นต้น ลงในใบลานแล้วนำไป
บรรจุในเจดีย์ (ข้อ ๓ ในเจดีย์ ๔)
ธรรมเจติยสูตร
สูตรหนึ่งในคัมภีร์มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ แห่งพระสุตตันตปิฎก ว่าด้วยข้อความที่พระเจ้า
ปเสนทิโกศลกราบทูลพระพุทธเจ้า พรรณนาความเลื่อมใสศรัทธาของพระองค์ที่มีต่อพระรัตนตรัย
ธรรมชาติ ของที่เกิดเองตามวิสัยของโลก
เช่น คน สัตว์ ต้นไม้ เป็นต้น
ธรรมฐิติ ความดำรงคงตัวแห่งธรรม,
ความตั้งอยู่แน่นอนแห่งกฎธรรมดา
ธรรมดา อาการหรือความเป็นไปแห่งธรรมชาติ;
สามัญ, ปกติ, พื้น ๆ