ธัมมาธิปเตยยะ - ธิติ
ธัมมาธิปเตยยะ
ถือธรรมเป็นใหญ่คือ นึกถึงความจริง ความถูกต้องสมควรก่อนแล้วจึงทำ บัดนี้นิยมเขียน
ธรรมาธิปไตย ดู อธิปเตยยะ
ธัมมานุธัมมปฏิบัติปัตติ
ดู ธรรมานุธรรมปฏิบัติ
ธัมมานุปัสสนา
การตั้งสติกำหนดพิจารณาธรรม, สติพิจารณาธรรมที่ เป็นกุศลหรืออกุศลที่บังเกิดกับใจเป็นอารมณ์
ว่า ธรรมนี้ก็สักว่าธรรมไม่ใช่สัตว์บุคคลตัวตนเราเขา (ข้อ ๔ ในสติปัฏฐาน ๔)
ธัมมานุสติ ระลึกถึงคุณของพระธรรม
(ข้อ ๒ ในอนุสติ ๑๐)
ธัมมานุสารี ผู้แล่นไปตามธรรม,
ผู้แล่นตามไปด้วยธรรม, พระอริยบุคคลผู้ตั้งอยู่ในโสดาปัตติมรรค ที่มีปัญญิน-
ทรีย์แรงกล้า (ถ้าบรรลุผลกลายเป็นทิฏฐิปปัตตะ) ดู อริยบุคคล ๗
ธัมมีกถา ดู
ธรรมีกถา
ธาตุ๑
สิ่งที่ทรงสภาวะของมันอยู่เองตามธรรมดาของเหตุปัจจัย, ธาตุ ๔ คือ ๑.
ปฐวีธาตุ สภาวะที่แผ่ไปหรือกินเนื้อที่
เรียกสามัญว่าธาตุแข้งแข็งหรือธาตุดิน ๒. อาโปธาตุ สภาวะที่เอิบอาบดูดซึม
เรียกสามัญว่า ธาตุเหลวหรือธาตุน้ำ ๓.
เตโชธาตุ สภาวะที่ทำให้ร้อน เรียกสามัญว่าธาตุไฟ ๔. วาโยธาตุ สภาวะที่ทำให้เคลื่อนไหว
เรียกสามัญว่า ธาตุลม
ธาตุ ๖ คือ เพิ่ม ๕. อากาสธาตุสภาวะที่ว่าง ๖. วิญญาณธาตุ
สภาวะที่รู้แจ้งอารมณ์ หรือ ธาตุรู้
ธาตุ๒
กระดูกของพระพุทธเจ้าและพระอรหันต์ทั้งหลาย เรียกรวม ๆ ว่าพระธาตุ (ถ้ากล่าวถึงกระดูกของพระพุทธเจ้า
โดยเฉพาะเรียกว่า พระบรมธาตุ พระบรมสารีริกธาตุ พระสารีริกธาตุ หรือระบุชื่อกระดูกส่วนนั้น
ๆ เช่น พระทาฐธาตุ)
ธาตุกถา ชื่อคัมภีร์ที่สามแห่งพระอภิธรรมปิฎก
ว่าด้วยการสงเคราะห์ธรรมทั้งหลายเข้ากับ ขันธ์ อายตนะและธาตุ
(พระไตรปิฎกเล่ม ๓๖)
ธาตุกัมมัฏฐาน
กรรมฐานที่พิจารณาธาตุเป็นอารมณ์, กำหนดพิจารณาร่างกายแยกเป็นส่วน ๆ ให้เห็นว่าเป็นแต่เพียง
ธาตุ ๔ คือ ดิน น้ำ ไฟ ลมประชุมกันอยู่ ไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่ตัวตนของเรา
ธาตุเจดีย์ เจดีย์บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ
(ข้อ ๑ ในเจดีย์ ๔)
ธิติ 1.
ความเพียร, ความเข้มแข็งมั่นคง, ความหนักแน่น, ความอดทน 2. ปัญญา