ภงฺคํ - ภัตตุทเทสกะ
ภงฺคํ ดู ภังคะ
ภังคานุปัสสนาญาณ
ญาณตามเห็นความสลาย, ปรีชาหยั่งเห็นเฉพาะความดับของสังขารเด่นชัดขึ้นมาว่าสังขารทั้ง
ปวงล้วนจะต้องแตกสลายไปทั้งหมด (ข้อ ๒ ในวิปัสสนาญาณ ๙)
ภัณฑไทย ของที่จะต้องให้
(คืน) แก่เขา, สินใช้, การที่จะต้องชดใช้ทรัพย์ที่เขาเสียไป
ภัณฑาคาริก ภิกษุผู้ได้รับสมมติคือแต่งตั้งจากสงฆ์ให้เป็นผู้มีหน้าที่รักษาเรือนคลังเก็บพัสดุของสงฆ์,
ผู้รักษาคลังสิ่งของ
ภัณฑูกรรม ดู ภัณฑูกัมม์
ภัณฑูกัมม์ การปลงผม,
การบอกขออนุญาตกะสงฆ์เพื่อปลงผมคนผู้จะบวชในกรณีที่ภิกษุจะปลงให้เอง เป็นอป-
โลกนกรรมอย่างหนึ่ง
ภัต,ภัตร อาหาร,
ของกิน, ของฉัน, อาหารที่รับประทาน (หรือฉัน) เป็นมื้อๆ
ภัตกาล เวลาฉันอาหาร,
เวลารับประทานอาหาร เดิมเขียน ภัตตกาล
ภัตกิจ การบริโภคอาหาร
เดิมเขียนภัตตกิจ
ภัตตัคควัตร ข้อควรปฏิบัติในหอฉัน,
ธรรมเนียมในโรงอาหาร ท่านจัดเข้าเป็นกิจวัตรประเภทหนึ่ง กล่าวย่อ มี ๑๑ ข้อ
คือ นุ่งห่มให้เรียบร้อย, รู้จักอาสนะอันสมควรแก่ตน, ไม่นั่งทับผ้าสังฆาฏิในบ้าน,
รับน้ำและโภชนะของถวายจากทายก
โดยเอื้อเฟื้อ และคอยระวังให้ได้รับทั่วถึงกัน, ถ้าพอจะแลเห็นทั่วกัน พระสังฆเถระพึงลงมือฉันเมื่อภิกษุทั้งหมดได้รับ
โภชนะทั่วกันแล้ว, ฉันด้วยอาการเรียบร้อยตามหลักเสขิยวัตร, อิ่มพร้อมกัน (หัวหน้ารอยังไม่บ้วนปากและล้างมือ),
บ้วนปากและล้างมือระวังไม่ให้น้ำกระเซ็น, ฉันในที่มีทายกจัดถวาย เสร็จแล้วอนุโมทนา,
เมื่อกลับอย่าเบียดเสียดกัน
ออกมา, ไม่เทน้ำล้างบาตรมีเมล็ดข้าวหรือของเป็นเดนในบ้านเขา
ภัตตาหาร อาหารคือข้าวของฉัน,
อาหารที่สำหรับฉันเป็นมื้อๆ
ภัตตุทเทสกะ ผู้แจกภัต,
ภิกษุที่สงฆ์สมมติคือแต่งตั้งให้เป็นเจ้าหน้าที่จัดแจกภัต นิยมเขียน ภัตตุเทศก์