ภิกษุณีสงฆ์ - ภุมมชกภิกษุ
ภิกษุณีสงฆ์
หมู่แห่งภิกษุณี, ประดาภิกษุณีทั้งหมดกล่าวโดยส่วนรวมหรือโดยฐานเป็นชุมนุมหนึ่ง,
ภิกษุณีตั้งแต่ ๔
รูปขึ้นไป ประชุมกันเนื่องในกิจพิธี; ภิกษุณีสงฆ์เกิดขึ้นในพรรษาที่ ๕ แห่งกาบำเพ็ญพุทธกิจโดยมีพระมหาปชาบดี
โคตมี พระมาตุจฉาซึ่งเป็นพระมารดาเลี้ยงของเจ้าชายสิทธัตถะ เป็นพระภิกษุณีรูปแรกดังเรื่องปรากฏในภิกษุณีขันธ
กะและในอรรถกถา สรุปได้ความว่า หลังจากพระเจ้าสุทโธทนะปรินิพพานแล้ว วันหนึ่งขณะที่พระพุทธเจ้าประทับ
อยู่ที่นิโครธารามในเมืองกบิลพัสดุ์ พระนางมหาปชาบดีโคตมีเสด็จเข้าไปเฝ้าและทูลขออนุญาตให้สตรีสละเรือน
ออกบวชในพระธรรมวินัย แต่การณ์นั้นมิใช่ง่าย พระพุทธเจ้าตรัสห้ามเสียถึง ๓
ครั้ง ต่อมาพระพุทธเจ้าเสด็จไปยัง
เมืองเวสาลี ประทับที่กูฏาคารศาลาในป่ามหาวัน พระนางมหาปชาบดีโคตมีไม่ละความพยายาม
ถึงกับปลงผมนุงห่ม
ผ้ากาสาวะเอง ออกเดินทางพร้อมด้วยเจ้าหญิงศากยะจำนวนมาก (อรรถกถาว่า ๕๐๐ นาง)
ไปยังเมืองเวสาลีและได้มา
ยืนกันแสงอยู่ที่ซุ้มประตูนอกกูฏาคารศาลา พระบาทบวมพระวรกายเปรอะเปื้อนธุลี
พระอานนท์มาพบเข้า สอบถาม
ทราบความแล้วรีบช่วยไปกราบทูลขออนุญาตให้ แต่เมื่อพระอานนท์กราบทูลต่อพระพุทธเจ้าก็ถูกพระองค์ตรัสห้าม
เสียถึง ๓ ครั้ง ในที่สุดพระอานนท์เปลี่ยนวิธีใหม่ โดยกราบทูลถามว่าสตรีออกบวชในพระธรรมวินัยแล้วจะสามารถ
บรรลุโสดาปัตติผลจนถึงอรหัตตผลได้หรือไม่ พระพุทธเจ้าตรัสตอบว่าได้ พระอานนท์จึงอ้างเหตุผลนั้นพร้อมทั้งการที่
พระนางมหาปชาบดีเป็นพระมาตุจฉาและเป็นพระมารดาเลี้ยงมีอุปการะมากต่อพระองค์
แล้วขอให้ทรงอนุญาตให้สตรี
ออกบวช พระพุทธเจ้าทรงอนุญาตโดยมีเงื่อนไขว่า พระนางจะต้องรับปฏิบัติตามครุธรรม
๘ ประการ พระนางยอมรับ
ตามพุทธานุญาตที่ให้ถือว่า การรับครุธรรมนั้นเป็นการอุปสมบทของพระนาง ส่วนเจ้าหญิงศากยะที่ตามมาทั้งหมด
พระพุทธเจ้าตรัสอนุญาตให้ภิกษุสงฆ์อุปสมบทให้ ในคราวนั้นพระพุทธเจ้าได้ตรัสแก่พระอานนท์ว่าการให้สตรีบวช
จะเป็นเหตุให้พรหมจรรย์ คือพระศาสนาหรือสัทธรรมตั้งอยู่ได้ไม่ยั่งยืน จะมีอายุสั้นเข้า
เปรียบเหมือนตระกูลที่มี
บุรุษน้อยมีสตรีมาก ถูกผู้ร้ายทำลายได้ง่าย หรือเหมือนนาข้าวที่มีหนอนขยอกลง
หรือเหมือนไร่อ้อยที่มีเพลี้ยลง ยอม
อยู่ได้ไม่ยืนนาน พระองค์ทรงบัญญัติครุธรรม ๘ ประการกำกับไว้ก็เพื่อเป็นหลักคุ้มกันพระศาสนา
เหมือนสร้างคันกั้น
สระใหญ่ไว้ก่อนเพื่อกันไม่ให้น้ำไหลท้นออกไป (พระศาสนาจักอยู่ได้ยั่งยืนเช่นเดิม)
และได้ทรงแสดงเหตุผลที่ไม่ให้
ภิกษุไหว้ภิกษุณี ให้ภิกษุณีไหว้ภิกษุได้ฝ่ายเดียว เพราะนักบวชในลัทธิศาสนาอื่นทั้งหลายไม่มีใครไหว้สตรีกันเลย
กล่าว
โดยสรุปว่า หากถือเหตุผลทางด้านสภาพสังคมศาสนาแล้ว จะไม่ทรงอนุญาตให้สตรีบวชเลย
แต่ด้วยเหตุผลในด้านความ
สามารถโดยธรรมชาติจึงทรงยอมให้สตรีบวชได้ เมื่อภิกษุณีสงฆ์เกิดขึ้นแล้ว สตรีที่จะบวชต่อมาต้องเป็น
สิกขมานารักษา
สิกขาบท ๖ (คือ ๖ ข้อแรกในศีล ๑๐) ไม่ให้ขาดเลยตลอด ๒ ปีก่อน จึงขออุปสมบทได้
และต้องรับการอุปสมบทโดยสงฆ์
สองฝ่าย คือบวชโดยภิกษุณีสงฆ์แล้ว ต้องบวชโดยภิกษุสงฆ์อีกชั้นหนึ่ง เมื่อเป็นภิกษุณีแล้วต้องรักษาสิกขาบท
๓๑๑ ข้อ
(ศีล ๓๑๑) ภิกษุณีสงฆ์เจริญแพร่หลายในชมพูทวีปอยู่ช้านาน เป็นแหล่งให้การศึกษาแหล่งใหญ่แก่สตรีทั้งหลาย
ภิกษุณีสงฆ์ประดิษฐานในลังกาทวีปในรัชกาลของพระเจ้าเทวานิมปิยติสสะ โดยพระสังฆมิตตาเถรี
พระราช
ธิดาของพระเจ้าอโศกมหาราชเดินทางจากชมพูทวีปมาประกอบอุปสมบทกรรมแก่พระนางอนุฬาเทวี
ชายาของเจ้า
มหานาค อนุชาของพระเจ้าเทวานัมปิยติสสะ พร้อมด้วยสตรีอื่นอีก ๑ พันคน ภิกษุณีสงฆ์เจริญรุ่งเรืองในลังกาทวีป
ยาวนานไม่น้อยกว่า ๑,๐๐๐ ปี แต่ในที่สุดได้สูญสิ้นไป ด้วยเหตุใดและกาลใดไม่ปรากฏชัด
ส่วนในประเทศไทยไม่
ปรากฏหลักฐานว่าได้เคยมีการประดิษฐานภิกษุณีสงฆ์
ภิกษุบริษัท ชุมนุมภิกษุ,
ชุมชนชาวพุทธฝ่ายภิกษุ (ข้อ ๑ ในบริษัท ๔)
ภิกษุผู้ควรชักเข้าหาอาบัติเดิม
ดู มูลายปฏิกัสสนารหภิกษุ
ภิกษุสงฆ์
หมู่ภิกษุ, หมู่พระ ดู สงฆ์
ภุมมชกภิกษุ
ชื่อภิกษุผู้โจทพระทัพพมัลลบุตร คู่กับพระเมตติยะ