พยัญชนะ - พรหมจรรย์
พยัญชนะ อักษร,
ตัวหนังสือที่ไม่ใช่สระ; กับข้าวนอกจากแกง คู่กับสูปะ; ลักษณะของร่างกาย
พยากรณ์ ทาย, ทำนาย,
คาดการณ์; ทำให้แจ้งชัด, ตอบปัญหา
พยากรณศาสตร์ วิชาหรือตำราว่าด้วยการทำนาย
พยาธิ ความเจ็บไข้
พยาน ผู้รู้เห็นเหตุการณ์,
คน เอกสาร หรือสิ่งของที่อ้างเป็นหลักฐาน
พยาบาท ความขัดเคืองแค้นใจ,
ความเจ็บใจ, ความคิดร้าย, ตรงข้ามกับเมตตา; ในภาษาไทยหมายถึง ผูกใจเจ็บและคิด
แก้แค้น
พยาบาทวิตก ความตริตรึกในทางคิดร้ายต่อผู้อื่น,
ความคิดนึกในทางขัดเคืองชิงชัง ไม่ประกอบด้วยเมตตา (ข้อ ๒ ใน
อกุศลวิตก ๓)
พยุหแสนยากร กองทัพ
พร คำแสดงความปรารถนาดี,
สิ่งที่ขอเลือกเอาตามประสงค์; ดู จตุรพิธพร
พรต ข้อปฏิบัติทางศาสนา,
ธรรมเนียมความประพฤติของผู้ถือศาสนาที่คู่กันกับศีล, วัตร, ข้อปฏิบัติประจำ
พรรณนา เล่าความ,
ขยายความ, กล่าวถ้อยคำให้ผู้ฟังนึกเห็นเป็นภาพ
พรรษกาล ฤดูฝน
(พจนานุกรมเขียนพรรษากาล)
พรรษา ฤดูฝน, ปี,
ปีของระยะเวลาที่บวช
พรรษาธิษฐาน อธิษฐานพรรษา,
กำหนดใจว่าจะจำพรรษา ดู จำพรรษา
พรหม ผู้ประเสริฐ,
เทพในพรหมโลกเป็นผู้ไม่เกี่ยวข้องด้วยกาม มี ๒ พวก คือรูปพรหมมี ๑๖ ชั้น อรูปพรหมมี
๔ ชั้น
ดู พรหมโลก; เทพสูงสุดหรือพระผู้เป็นเจ้าในศาสนาพราหมณ์
พรหมจรรย์ การศึกษาพระเวท,
การบวชซึ่งละเว้นเมถุน, การครองชีวิตที่ปราศจากเมถุน, การประพฤติธรรมอัน
ประเสริฐ, การครองชีวิตประเสริฐ, มรรค, พระศาสนา