พหุลกรรม - พาวรี
พหุลกรรม กรรมทำมาก
หรือกรรมชินได้แก่ กรรมทั้งที่เป็นกุศลและอกุศลที่ทำบ่อยๆ จนเคยชิน ย่อมให้ผลก่อน
กรรมอื่นเว้นครุกรรม เรียกอีกอย่างว่าอาจิณณกรรม (ข้อ ๑๐ ในกรรม ๑๒)
พหุวจนะ ดู พหุพจน์
พหุสูต, พหูสูตร
ผู้ได้ยินได้ฟังมามาก คือทรงจำธรรมและรู้ศิลปวิทยามาก, ผู้เล่าเรียนมาก, ผู้ศึกษามาก,
ผู้คงแก่เรียน;
ดู พาหุสัจจะ ด้วย
พหูชน คนจำนวนมาก
พักมานัต ดู เก็บวัตร
พัทธสีมา แดนผูก
ได้แก่ เขตที่สงฆ์กำหนดขึ้นเอง โดยจัดตั้งนิมิตคือสิ่งที่เป็นเครื่องหมายกำหนดเอาไว้
ดู สีมา
พันธุ์ เหล่ากอ,
พวกพ้อง
พัสดุ สิ่งของ,
ที่ดิน
พากุละ พระมหาสาวกองค์หนึ่ง
เป็นบุตรเศรษฐีเมืองโกสัมพี มีเรื่องเล่าว่าเมื่อยังเป็นทารกขณะที่พี่เลี้ยงนำไปอาบน้ำ
เล่นที่แม่น้ำ ท่านถูกปลาใหญ่กลืนลงไปอยู่ในท้อง ต่อมาปลานั้นถูกจับได้ที่เมืองพาราณสี
และถูกขายให้แก่ภรรยา
เศรษฐีเมืองพาราณสี ภรรยาเศรษฐีผ่าท้องปลาพบเด็กแล้วเลี้ยงไว้เป็นบุตร ฝ่ายมารดาเดิมทราบข่าวจึงขอบุตรคืน
ตก
ลงกันไม่ได้ จนพระราชาทรงตัดสินให้เด็กเป็นทายาทของทั้งสองตระกูล ท่านจึงได้ชื่อว่า
พากุละ แปลว่า คนสอง
ตระกูล หรือผู้ที่สองตระกูลเลี้ยง ท่านอยู่ครองเรือนมาจนอายุ ๘๐ ปี จึงได้ฟังพระศาสดาทรงแสดงพระธรรมเทศนา
มีความเลื่อมใสขอบวชแล้วบำเพ็ญเพียรอยู่ ๗ วัน ได้บรรลุพระอรหัตได้รับยกย่องว่าเป็นเอตทัคคะในทางเป็นผู้มี
อาพาธน้อย คือสุขภาพดี; พักกุละ ก็เรียก
พาณิช พ่อค้า
พาณิชย์ การค้าขาย
พาราณสี ชื่อเมืองหลวงของแคว้นกาสีอยู่ริมแม้น้ำคงคา
ปัจจุบันเรียกพานาราสหรือเบนาเรส (Banaras, Benares) ป่า
อิสิปตนมฤคทายวัน ที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงปฐมเทศนาซึ่งปัจจุบันเรียกว่า สารนาถ
อยู่ห่างจากตัวเมืองพาราณสี
ปัจจุบันประมาณ ๖ ไมล์
พาวรี พราหมณ์ผู้เป็นอาจารย์ใหญ่ตั้งอาศรมสอนไตรเพทแก่ศิษย์อยู่ที่ฝั่งแม่น้ำโคธาวรี
ณ สุดเขตแดนแคว้นอัสสกะ
ได้ส่งศิษย์ ๑๖ คนไปถามปัญหาพระศาสดา เพื่อจะทดสอบว่าพระองค์เป็นพระสัมมาสัมพุทธะจริงหรือไม่
ภายหลัง
ได้รับคำตอบแล้วศิษย์ชื่อปิงคิยะ ซึ่งเป็นหลานของท่านได้กลับมาเล่าเรื่องและแสดงคำตอบปัญหาของพระศาสดา
ทำ
ให้ท่านได้บรรลุธรรมเป็นพระอนาคามี