พินัยกรรม - พุทธกิจประจำวัน ๕
พินัยกรรม
หนังสือสำคัญที่เจ้าทรัพย์ทำไว้ก่อนตาย แสดงความประสงค์ว่าเมื่อตายแล้วขอมอบมรดกที่ระบุไว้ใน
หนังสือสำคัญนั้น ให้แก่คนนั้นๆ, ตามพระวินัย ถ้าภิกษุทำเช่นนี้ไม่มีผล ต้องปลงบริขารจึงใช้ได้
พิพากษา ตัดสินอรรถคดี
พิมพา บางแห่งเรียก
ยโสธรา เป็นพระราชบุตรีของพระเจ้าสุปปพุทธะกรุงเทวทหะ เป็นพระชายาของพระสิทธัตถะ
เป็นพระมารดาของพระราหุล ภายหลังออกบวชมีนามว่า พระภัททกัจจานา หรือ ภัททา
กัจจานา
พิมพิสาร พระเจ้าแผ่นดินมคธครองราชสมบัติอยู่ที่พระนครราชคฤห์
เป็นผู้ถวายพระราชอุทยานเวฬุวันเป็นสังฆาราม
นับเป็นวัดแรกในพระพุทธศาสนา ต่อมา ถูกพระราชโอรสนามว่าอชาตศัตรู ปลงพระชนม์
พิรุธ ไม่ปรกติ,
มีลักษณะน่าสงสัย
พิโรธ โกรธ, เคือง
พีชคาม พืชพันธุ์อันถูกพรากจากที่แล้วแต่ยังจะเป็นได้อีก
พุทธะ ท่านผู้ตรัสรู้แล้ว,
ผู้รู้อริยสัจจ์ ๔ อย่างถ่องแท้ ตามอรรถกถาท่านแบ่งเป็น ๓ คือ ๑.
พระพุทธเจ้า ท่านผู้ตรัสรู้เอง
และสอนผู้อื่นให้รู้ตาม (บางทีเรียกพระสัมมาสัมพุทธะ) ๒. พระปัจเจกพุทธะ
ท่านผู้ตรัสรู้เองจำเพาะผู้เดียว ๓. พระ
อนุพุทธะ ท่านผู้ตรัสรู้ตามพระพุทธเจ้า (เรียกอีกอย่างว่าสาวกพุทธะ);
บางแห่งจัดเป็น ๔ คือ สัพพัญญูพุทธะ ปัจเจกพุทธะ
จตุสัจจพุทธะ (= พระอรหันต์) และสุตพุทธะ (= ผู้เป็นพหูสูต)
พุทธการกธรรม ธรรมที่ทำให้เป็นพระพุทธเจ้า
ตามปกติหมายถึง บารมี ๑๐ นั่นเอง (ในคาถาบางทีเรียกสั้นๆ ว่า พุทธธรรม)
พุทธกาล ครั้งพระพุทธเจ้ายังดำรงพระชนม์อยู่
พุทธกิจ กิจที่พระพุทธเจ้าทรงบำเพ็ญ,
การงานที่พระพุทธเจ้าทรงกระทำ
พุทธกิจประจำวัน ๕
พุทธกิจที่พระพุทธเจ้าทรงบำเพ็ญเป็นประจำในแต่ละวันมี ๕ อย่าง คือ ๑. ปุพฺพณฺเห
ปิณฺฑปาต
ญฺจ เวลาเช้าเสด็จบิณฑบาต ๒. สายณฺเห ธมฺมเทสนํ เวลาเย็นทรงแสดงธรรม
๓. ปโทเส ภิกฺขุโอวาทํ เวลาค่ำประทาน
โอวาทแก่เหล่าภิกษุ ๔. อฑฺฒรตฺเต เทวปญฺหนํ เที่ยงคืนทรงตอบปัญหาเทวดา
๕. ปจฺจุสฺเสว คเต กาเล ภพฺพาภพฺเพ
วิโลกนํ จวนสว่างทรงตรวจพิจารณาสัตว์ที่สามารถและที่ยังไม่สามารถบรรลุธรรมอันควรจะเสด็จไปโปรดหรือไม่
(สรุปท้ายว่า เอเต ปญฺจวิเธ กิจฺเจ วิโสเธติ มุนิปุงฺคโว พระพุทธเจ้าองค์พระมุนีเป็นผู้ประเสริฐทรงยังกิจ
๕ ประการนี้ให้
หมดจด)