ทัพพมัลลบุตร - ทาน
ทัพพมัลลบุตร
พระเถระมหาสาวกองค์หนึ่งในอสีติมหาสาวก เป็นพระราชโอรสของพระเจ้ามัลลราช เมื่อพระชนม์
๗ พรรษา มีความเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา ได้บรรพชาเป็นสามเณร เวลาปลงผม พอมีดโกนตัดกลุ่มผมครั้งที่
๑
ได้บรรลุโสดาปัตติผลครั้งที่ ๒ ได้บรรลุสกทาคามิผล ครั้งที่ ๓ ได้บรรลุอนาคามิผล
พอปลงผมเสร็จก็ได้บรรลุพระ
อรหัต ท่านรับภาระเป็นเจ้าหน้าที่ทำการสงฆ์ในตำแหน่งเสนาสนปัญญาปกะ (ผู้ดูแลจัดสถานที่พักอาศัยของพระ)
และภัตตุเทศก์ ได้รับยกยองว่าเป็นเอตทัคคะในบรรดาเสนาสนปัญญาปกะ
ทัพสัมภาระ เครื่องเคราและส่วนประกอบทั้งหลาย,
สิ่งและเครื่องอันเป็นส่วนประกอบที่จะคุมกันเข้าเป็นเรือน เรือ
รถหรือเกวียน เป็นต้น; เขียน เต็มว่า ทัพพสัมภาระ
ทัศนีย์ งาม, น่าดู
ทัสสนะ การเห็น,
การเห็นด้วยปัญญา, ความเห็น, สิ่งที่เห็น
ทัสสนานุตตริยะ
การเห็นที่ยอดเยี่ยม (ข้อ ๑ ในอนุตตริยะ ๓ หมายถึงปัญญาอันเห็นธรรม ตลอดถึงเห็นนิพพาน;
ข้อ
๑ ในอนุตตริยะ ๖ หมายถึง เห็นพระตถาคต ตถาคตสาวก และสิ่งอันบำรุงจิตใจให้เจริญ)
ทัฬหีกรรม การทำให้มั่น
เช่น การให้อุปสมบทซ้ำ
ทาฐธาตุ, ทาฒธาตุ
พระธาตุคือเขี้ยว, พระเขี้ยวแก้วของพระพุทธเจ้ามีทั้งหมด ๔ องค์ ตำนานว่า
พระเขี้ยวแก้วบนขวา
ประดิษฐานอยู่ในพระจุฬามณีเจดีย์ในดาวดึงสเทวโลก, องค์ล่างขวาไปอยู่ ณ แคว้นกาลิงคะ
แล้วต่อไปยังลังกาทวีป,
องค์บนซ้ายไปอยู่ ณ แคว้นคันธาระ, องค์ล่างซ้ายไปอยู่ในนาคพิภพ
ทาน การให้, สิ่งที่ให้,
ให้ของที่ควรให้แก่คนที่ควรให้เพื่อประโยชน์แก่เขา, สละให้ปันสิ่งของของตนเพื่อประโยชน์
แก่ผู้อื่น; ทาน ๒ คือ ๑. อามิสทาน ให้สิ่งของ ๒. ธรรมทาน ให้ธรรม;
ทาน ๒ อีกหมาดหนึ่งคือ ๑. สังฆทาน ให้แก่
สงฆ์ หรือให้เพื่อส่วนรวม ๒. ปาฏิบุคลิกทาน ให้เจาะจงแก่บุคคลผู้ใดผู้หนึ่งโดยเฉพาะ