ทานกถา - ทิฏฐธัมมเวทนียกรรม
ทานกถา เรื่องทาน,
พรรณนาทาน คือการให้ว่าคืออะไร มีคุณอย่างไร เป็นต้น (ข้อ ๑ ในอนุบุพพิกถา)
ทานบน ถ้อยคำหรือสัญญาว่าจะไม่ทำผิดตามเงื่อนไขที่ได้ให้ไว้
ทานบารมี จรรยาอย่างเลิศคือทาน
(ข้อ ๑ ในบารมี ๑๐)
ท่านผู้มีอายุ
เป็นคำสำหรับพระผู้ใหญ่ใช้เรียกพระผู้น้อย คือ พระที่มีพรรษาอ่อนกว่า (บาลีว่า
อาวุโส)
ทานมัย บุญที่สำเร็จด้วยการบริจาคทาน
(ข้อ ๑ ในบุญกิริยาวัตถุ ๓ และ ๑๐)
ทายก ผู้ให้ (ชาย)
ทายาท ผู้สืบสกุล,
ผู้ควรรับมรดก
ทายิกา ผู้ให้
(หญิง)
ทารก เด็กที่ยังไม่เดียงสา
ทารุณ หยาบช้า,
ร้ายกาจ, รุนแรง, ดุร้าย, โหดร้าย
ทารุณกรรม การทำโดยความโหดร้าย
ทาส บ่าวทั่วไป,
คนรับใช้
ทำกรรมเป็นวรรค สงฆ์ทำสังฆกรรมโดยแยกเป็นพวก
ๆ ไม่สามัคคีกัน
ทำกัปปะ ทำเครื่องหมายด้วยของ
๓ อย่าง คือ คราม ตม และดำคล้ำ อย่างใดอย่างหนึ่งในเอกเทศ คือส่วนหนึ่งแห่ง
จีวร เรียกสามัญว่า พินทุ
ทำการเมือง งานของแว่นแคว้น,
งานของหลวง
ทำการวัด งานของวัด,
งานของพระในอาราม
ทำกาละ ตาย
ทำคืน แก้ไข
ทำบุญ ทำความดี,
ทำสิ่งที่ดีงาม, ประ กอบกรรมดี ดังที่ท่านแสดงใน บุญกิริยาวัตถุ ๓
หรือบุญกิริยาวัตถุ ๑๐ แต่ที่พูด
กันทั่วไป มักเพ่งที่การเลี้ยงพระตักบาตร ถวายจตุปัจจัยแก่พระสงฆ์ บริจาคบำรุงวัดและการก่อสร้างในวัดเป็นสำคัญ
ทำร้ายด้วยวิชา
ได้แก่ ร่ายมนต์อาคมต่าง ๆ ใช้ภูตใช้ผีเพื่อทำผู้อื่นให้เจ็บตายจัดเป็นดิรัจฉานวิชา
เทียบตัวอย่างที่จะ
เห็นในบัดนี้ เช่น ฆ่าด้วยกำลังไฟฟ้าซึ่งประกอบขึ้นด้วยอำนาจความรู้
ทำโอกาส ให้โอกาส
ดู โอกาส
ทิฆัมพร ท้องฟ้า
ทิฏฐธัมมเวทนียกรรม
กรรมอันให้ผลในปัจจุบัน, กรรมทั้งที่เป็นกุศลและอกุศล ซึ่งให้ผลทันตาเห็น
(ข้อ ๑ ในกรรม ๑๒)