ทิฏฐิสามัญญตา - ทิศพายัพ
ทิฏฐิสามัญญตา ความเป็นผู้มีความเสมอกันโดยทิฐิ,
มีความเห็นร่วมกัน, มีความคิดเห็นลงกันได้ (ข้อ ๖ ในสารณีย
ธรรม ๖)
ทิฏฐุชุกัมม์ การทำความเห็นให้ตรง,การแก้ไขปรับปรุงความคิดเห็นให้ถูกต้อง
(ข้อ ๑๐ ในบุญกิริยาวัตถุ ๑๐)
ทิฏฐุปาทาน ความถือมั่นในทิฏฐิ,
ความยึดติดฝังใจในลัทธิ ทฤษฎี และหลักความเชื่อต่างๆ (ข้อ ๒ ในอุปาทาน ๔)
ทิพพจักขุ จักษุทิพย์,
ตาทิพย์, ญาณพิเศษของพระพุทธเจ้า และท่านผู้ได้อภิญญาทั้งหลาย ทำให้สามารถเล็งเห็นหมู่
สัตว์ที่เป็นไปต่าง ๆ กันเพราะอำนาจกรรม เรียกอีกอย่างว่า จุตูปปาตญาณ
ดู อภิญญา
ทิพพจักขุญาณ ญาณ
คือทิพพจักขุ, ความรู้ดุจดวงตาทิพย์
ทิพพโสต หูทิพย์,
ญาณพิเศษที่ทำให้ฟังอะไรได้ยินหมดตามปรารถนา ดู อภิญญา
ทิพย์ เป็นของเทวดา,
วิเศษ, เลิศกว่าของมนุษย์
ทิพยจักษุ ตาทิพย์,
ญาณพิเศษที่ทำให้ดูอะไรเห็นได้หมดตามปรารถนา ดู ทิพพจักขุ
ทิวงคต ไปสู่สวรรค์,
ตาย
ทิวาวิหาร การพักผ่อนในเวลากลางวัน
ทิศ ด้าน, ข้าง,
ทาง, แถบ; ทิศแปด คือ อุดร อีสาน บูรพา อาคเนย์ ทักษิณ หรดี ประจิม
(หรือ ปัจจิม) พายัพ; ทิศสิบ
คือ ทิศแปดนั้น และทิศเบื้องบน (อุปริมทิศ) ทิศเบื้องล่าง (เหฏฐิมทิศ)
ทิศทักษิณ ทิศใต้,
ทิศเบื้องขวา
ทิศบูร ทิศตะวันออก,
ทิศเบื้องหน้า
ทิศบูรพา ทิศตะวันออก
ทิศปัจจิม ทิศตะวันตก,
ทิศเบื้องหลัง
ทิศพายัพ ทิศตะวันตกเฉียงเหนือ