ที่ลับตา - ทุกขลักษณะ
ที่ลับตา ที่มีวัตถุกำบัง
แลเห็นไม่ได้ พอจะทำความชั่วได้
ที่ลับหู ที่แจ้งไม่มีอะไรบัง
แต่อยู่ห่างคนอื่นไม่ได้ยิน พอจะพูดเกี้ยวกันได้
ที่สุด ๒ อย่าง
ข้อปฏิบัติที่ผิดพลาดไม่อาจนำไปสู่ความพ้นทุกข์ได้ ๒ อย่าง คือ ๑. การประกอบตนให้พัวพันด้วย
ความสุขในกามทั้งหลาย เรียกว่ากามสุขัลลิกานุโยค ๒. การประกอบความเหน็ดเหนื่อยแก่ตนเปล่า
หรือการทรมาน
ตนให้ลำบากเปล่า เรียกว่า อัตตกิลมถานุโยค
ทุกะ หมวด
๒
ทุกกฎ ทำไม่ดี
ชื่ออาบัติเบาอย่างหนึ่ง เป็นความผิดถัดรองลงมาจากปาฏิเทสนียะ เช่น ภิกษุสวมเสื้อ
สวมหมวก ใช้
ผ้าโพกศีรษะต้องอาบัติทุกกฎ ดู อาบัติ
ทุกข์ 1. สภาพที่ทนอยู่ได้ยาก,
สภาพที่คงทนอยู่ไม่ได้ เพราะถูกบีบคั้นด้วยความเกิดขึ้นและความดับสลาย เนื่องจาก
ต้องเป็นไปตามเหตุปัจจัยที่ไม่ขึ้นต่อตัวมันเอง 2. สภาพที่ทนได้ยาก,
ความรู้สึกไม่สบาย ได้แก่ ทุกขเวทนา, ถ้ามาคู่
กับโทมนัส (ในเวทนา ๕) ทุกข์ หมายถึงความไม่สบายกายคือทุกข์กาย (โทมนัสคือไม่สบายใจ)
แต่ถ้ามาลำพัง (ใน
เวทนา ๓) ทุกข์หมายถึงความไม่สบายกายไม่สบายใจ คือทั้งทุกข์กายและทุกข์ใจ
ทุกขขันธ์ กองทุกข์
ทุกขขัย สิ้นทุกข์,
หมดทุกข์
ทุกขตา ความเป็นทุกข์,
ภาวะที่คงทนอยู่ไม่ได้ ดู ทุกขลักษณะ
ทุกขนิโรธ
ความดับทุกข์ หมายถึงพระนิพพาน เรียกสั้น ๆ ว่า นิโรธ
ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา
ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์ หมายถึงมรรคมีองค์แปด เรียกสั้น ๆ ว่า มรรค
ทุกขลักษณะ
เครื่องกำหนดว่าเป็นทุกข์, ลักษณะที่จัดว่าเป็นทุกข์, ลักษณะที่แสดงให้เห็นว่าเป็นทุกข์คือ
๑. ถูกการ
เกิดขึ้นและการดับสลายบีบคั้นอยู่ตลอดเวลา ๒. ทนได้ยากหรือคงอยู่ในสภาพเดิมไม่ได้
๓. เป็นที่ตั้งแห่งความทุกข์
๔. แย้งต่อสุขหรือเป็นสภาวะที่ปฏิเสธความสุข