ทุกขเวทนา - ทุพภาสิต
ทุกขเวทนา
ความรู้สึกลำบาก, ความรู้สึกเจ็บปวด, ความรู้สึกเป็นทุกข์, การเสวยอารมณ์ที่ไม่สบาย
ทุกขสมุทัย เหตุให้เกิดทุกข์
หมายถึงตัณหาสาม คือ กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา เรียกสั้น ๆ ว่า สมุทัย
ทุกขสัญญา
ความหมายรู้ว่าเป็นทุกข์, การกำหนดหมายให้มองเห็นสังขารว่าเป็นทุกข์
ทุกรกิริยา กิริยาที่ทำได้โดยยาก,
การทำความเพียรอันยากที่ใคร ๆ จะทำได้ ได้แก่ การบำเพ็ญเพียรเพื่อบรรลุธรรม
วิเศษ ด้วยวิธีการทรมานตนต่าง ๆ เช่น กลั้นลมอัสสาสะปัสสาสะและอดอาหาร เป็นต้น
ซึ่งพระพุทธเจ้าได้ทรง
ปฏิบัติก่อนตรัสรู้ อันเป็นฝ่ายอัตตกิลมถานุโยค และได้ทรงเลิกละเสียเพราะไม่สำเร็จประโยชน์ได้จริง;
เขียนเต็ม
เป็น ทุกกรกิริยา
ทุคติ คติชั่ว,
ภูมิชั่ว, ทางดำเนินที่มีความเดือดร้อน, สถานที่ไปเกิดอันชั่ว, ที่เกิดที่ไม่ดีมากไปด้วยความทุกข์ได้แก่
นรก ดิรัจฉาน เปรต (บางทีรวมอสุรกาย ด้วย) ดู คติ, อบาย
ทุจริต ความประพฤติชั่ว,
ความประพฤติไม่ดี มี ๓ คือ ๑. กายทุจริต ประพฤติชั่วด้วยกาย ๒.
วจีทุจริต ประพฤติชั่ว
ด้วยวาจา ๓. มโนทุจริต ประพฤติชั่วด้วยใจ
ทุฏฐุลลวาจา วาจาชั่วหยาบ
เป็นชื่ออาบัติสังฆาทิเสสข้อที่ ๓ ที่ว่าภิกษุผู้มีความกำหนัด พูดเคาะมาตุคามด้วยวาจาชั่ว
หยาบ คือ พูดเกี้ยวหญิง กล่าววาจาหยาบโลนพาดพิงเมถุน
ทุฏฐุลลาบัติ อาบัติชั่วหยาบ
ได้แก่อาบัติปาราชิก และสังฆาทิเสส แต่ในบางกรณีท่านหมายเอาเฉพาะอาบัติสังฆาทิเสส
ทุติยฌาน ฌานที่
๒ มีองค์ ๓ ละวิตกวิจารได้ คงมีแต่ ปีติ สุข อันเกิดแต่สมาธิกับเอกัคคตา
ทุติยสังคายนา
การร้อยกรองพระธรรมวินัยครั้งที่ ๒ ราว ๑๐๐ ปี แต่พุทธปรินิพพาน ดู สังคายนา
ครั้งที่ ๒
ทุติยสังคีติ การสังคายนาร้อยกรองพระธรรมวินัยครั้งที่
๒
ทุพภาสิต พูดไม่ดี
คำชั่ว คำเสียหาย ชื่ออาบัติเบาที่สุดที่เกี่ยวกับคำพูด เป็นความผิดในลำดับถัดรองจากทุกกฎ
เช่น ภิกษุพูดกับภิกษุที่มีกำเนิดเป็นจัณฑาลว่า เป็นคนชาติจัณฑาล ถ้ามุ่งว่ากระทบให้อัปยศ
ต้องอาบัติทุกกฎ แต่ถ้า
มุ่งเพียงล้อเล่น ต้องอาบัติทุพภาสิต ดู อาบัติ