งดเหล้าเข้าพรรษา

 

                เข้าพรรษาปีนี้ กระทรวงสาธารณสุข สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ(สสส.) กลุ่มองค์กรทางด้านศาสนา ตลอดจนหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนหลายแห่ง ได้ร่วมกันจัดโครงการรณรงค์งดเหล้าช่วงเข้าพรรษาขึ้น โดยมีมูลนิธิเพื่อนช่วยเพื่อนทำหน้าที่เป็นศูนย์ประสานงานโครงการ การรณรงค์ที่จัดขึ้นครั้งนี้ นับเป็นจุดเริ่มต้นสำคัญในการปลุกกระแสความตื่นตัวด้านจริยธรรมของสังคมไทย โดยอาศัยเรื่องการ “งดเหล้าช่วงเข้าพรรษา” เป็นหัวหอกขับเคลื่อนกระบวนการปลุกกระแสจริยธรรมดังกล่าว ซึ่งคาดหวังว่าจะสามารถก่อให้เกิดผลกระทบต่อเนื่องอย่างน้อย 3 ประการจากโครงการรณรงค์ครั้งนี้ คือ

ก่อให้เกิดเครือข่ายความร่วมมือของกลุ่ม/องค์กรทางด้านศาสนาที่จะร่วมกันทำงานปลุกกระแสจริยธรรมของสังคมไทย
                ในขณะที่เหล้าเป็นอบายมุขสิ่งเสพติดซึ่งเป็นข้อห้ามของศาสนาสำคัญ ๆ ทุกศาสนาในโลก รวมทั้งเป็นสาเหตุของปัญหาอุบัติเหตุ ปัญหาสุขภาพ ตลอดจนปัญหาทางสังคมหลายต่อเรื่อง อันเป็นประเด็นที่สามารถจะใช้ยึดโยงให้กลุ่ม/องค์กรศาสนา รวมทั้งหน่วยงานต่าง ๆ มาจับมือร่วมกันทำงานได้อย่างเป็นเอกภาพในท่ามกลางความแตกต่างหลากหลาย ทั้งนี้เมื่อเกิดความรู้จักคุ้นเคยกันจากการทำงานร่วมกันในเรื่องหนึ่งแล้วเครือข่ายกลุ่ม/องค์กรทางด้านศาสนาที่ก่อตัวขึ้นนี้ก็จะสามารถร่วมกัน จับมือทำงานเพื่อสร้างกระแสจริยธรรมในประเด็นเรื่องอื่น ๆ ของสังคมได้สืบต่อไปในระยะยาว ปัญหาสำคัญประการหนึ่งที่เป็นอุปสรรคขัดขวางร่วมมือของกลุ่ม/องค์กรทางศาสนาต่าง ๆ ก็คือ การมีแบบชีวิตทางศาสนาที่แตกต่างกัน แบบ ชีวิตทางศาสนา (religion form of file) จะเป็นแหล่งสร้างพลังทางจริยธรรม เพื่อให้ศาสนิกชนของศาสนานั้น ๆ มีกำลังที่จะเอาชนะความชั่ว ความทุจริตในตนเองได้ เช่น คนที่นับถือศาสนาแบบเทวนิยม และมีความเชื่อมั่นว่า หากตนได้ละวางความชั่วความทุจริตตามคำสอนของศาสนานั้น ๆ แล้ว พระเจ้าที่ตนศรัทธาจะช่วยดลบันดาลให้ตนประสบความสุขความเจริญ ตายไปแล้วก็จะได้ไปสวรรค์ ไม่ต้องตกนรกหมกไหม้ หรือเผชิญกับวันพิพากษาครั้งสุดท้าย จนเกิดความกลัวและไม่กล้ากระทำความชั่วความดังกล่าว เป็นต้น ขณะที่คนซึ่งนับถือศาสนาแบบกรรมนิยม ก็เชื่อว่าถ้าตนไม่กระทำกรรมชั่วต่าง ๆ และกระทำแต่กรรมดีแล้ว กุศลกรรมนั้นจะส่งผลให้ตนไม่ประสบความทุกข์ยากลำบาก เกิดมาชาติหน้าจะมีชีวิตที่สุขสบายกว่าชาตินี้ ฯลฯ จึงทำให้เกิดพลังความมุ่งมั่นที่จะละชั่ว ประพฤติดี ตามคำสอนของศาสนานั้นๆ ในกรณีเช่นนี้จะเห็นได้ว่า ถึงแม้ความเชื่อทางศาสนา ภาษาศาสนา พิธีกรรมทางศาสนา ฯลฯ ที่เรียกโดยรวมว่าแบบชีวิตทางศาสนาที่แตกต่างกันดังกล่าว จะสามารถสร้างพลังทางจริยธรรมที่จะทำให้บุคคลผู้นั้นเลิกละการกระทำความชั่วบางอย่างได้เหมือนกัน อาทิ ไม่ไปลักทรัพย์คนอื่น ทำร้ายคนอื่น เป็นชู้กับลูกเมียคนอื่น ฯลฯ
                 แต่ขณะเดียวกันแบบชีวิตทางศาสนาที่แตกต่างกันนั้น ก็อาจจะกลายเป็นอุปสรรคขัดขวางที่ทำให้กลุ่ม/องค์กรทางศาสนา ซึ่งอันที่จริงมีเป้าหมายส่วนใหญ่ตรงกันในการสร้างจริยธรรมของสังคมหลายต่อหลายเรื่อง แต่กลับมีความขัดแย้งเข้าใจกันไม่ได้ อาทิ คนที่มีแบบชีวิตทางศาสนาที่เชื่อในเรื่อง “กรรมนิยม” ก็จะมองคนที่เชื่อในแบบชีวิตทางศาสนาซึ่งศรัทธาพระเจ้าแบบเทวนิยมว่าเป็น “มิจฉาทิฐิ” ส่วนคนที่ศรัทธาในพระเจ้า ก็จะมองคนที่มีแบบชีวิตทางศาสนาซึ่งไม่เชื่อในพระเจ้านั้นว่าเป็นพวก “นอกรีต” เป็นต้น
                 ด้วยเหตุนี้การหาประเด็นที่ทุกกลุ่ม/องค์กรทางศาสนาสามารถยึดกุมเป็นเป้าหมายร่วมเพื่อสร้างเครือข่ายการทำงานร่วมกันดังเช่น เรื่องการรณรงค์เลิก ละ การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เป็นต้น จึงเป็นจุดเริ่มต้นที่จะนำไปสู่การเรียนรู้และทำความเข้าใจเกี่ยวกับแบบชีวิตทางศาสนาของกันและกันที่มีแก่นสารและเป้าหมายสำคัญหลายอย่างตรงกันดังกล่าว อันจะนำไปสู่การประสานความร่วมมือในการทำงานเพื่อแก้ไขปัญหาความเสื่อมจริยธรรมของสังคมต่อไป เสริมสร้างให้วัฒนาธรรมเข้าพรรษาซึ่งเป็นทุนทางสังคมไทยอยู่แล้วมีประโยชน์ต่อการพัฒนาสังคม
                 ในอดีตช่วงเข้าพรรษาจะมีชาวพุทธจำนวนมาก ตั้งใจเลิกละอบายมุขสิ่งเสพติดต่างๆ อาทิ เหล้า บุหรี่ การพนัน เป็นต้น แต่วัฒนธรรมนี้กำลังค่อยๆ หมดไปจากสังคมไทย
                 หากสามารถรณรงค์ให้ช่วงเข้าพรรษา 3 เดือนในแต่ละปี เป็นช่วงเวลาแห่งการตั้งใจประพฤติปฏิบัติสิ่งที่ดีงาม ที่จะเป็นประโยชน์ต่อชีวิตตนเอง ต่อครอบครัว และสังคมส่วนรวม เช่น การเลิกกินเหล้า สูบบุหรี่ ฯลฯ ถ้ากระทำได้สำเร็จ ต่อไปก็อาจเกิดเป็นวัฒนธรรมใหม่ของสังคมไทยที่จะทำให้ช่วงเข้าพรรษา 3 เดือน เป็นช่วงเวลาแห่งการทำความดีเป็นพิเศษในรอบปี เหมือนเดือนแห่งการอดของพี่น้องชาวมุสลิมเป็นต้น ทำให้ผู้คนในสังคมมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหันมาดละเลิกอบายมุขสิ่งเสพติดต่างๆ กันมากขึ้น
                ถ้าเกิดกระแสความตื่นตัวที่ผู้คนจำนวนมากในสังคม หันมาลดละเลิกอบายมุขสิ่งเสพติดต่างๆ จำนวนมากพอ อาทิ การลดกินเหล้าช่วงเข้าพรรษา เป็นต้น จนทำให้ปัญหาของสังคมลดน้อยลงอย่างมีนัยสำคัญที่เห็นความแตกต่างจากเดิมได้ชัด เช่น สถิติอุบัติเหตุที่ลดลงคดีอาชญากรรมที่ลดลง ปัญหาการทะเลาะวิวาทกันในวงเหล้าที่ลดลง ฯลฯ
                ผู้คนในสังคมก็จะได้ประจักษ์ถึงคุณค่าของพลังทางจริยธรรมที่มีต่อการสร้างความสงบ สันติ ร่มเย็นในสังคม และร่วมกันผลักดันขยายกระแสการสร้างความตื่นตัวทางจริยธรรมของสังคมให้แผ่กว้างไป
                 จากจุดเริ่มต้นเล็กๆ ในการร่วมกันรณรงค์โครงการ “งดเหล้าเข้าพรรษา” ของกลุ่ม/องค์กรทางด้านศาสนาต่างๆ อาทิ สายสำนักสวนโมกข์ ธรรมกายและสันติอโศก ซึ่งมีโอกาสจับมือร่วมกันทำงานเป็นครั้งแรกนี้ น่าจะเป็นนิมิตหมายที่ดีของการสร้างกระแสความตื่นตัวด้านจริยธธรรมในสังคมไทย
                 พรรษานี้ใครยังไม่ได้ตั้งใจ “ละชั่ว ทำดี ทำจิตให้บริสุทธิ์” ในเรื่องใดเลย ก็ขอให้มาร่วมกันประพฤติปฏิบัติเพื่อทำให้ช่วงเวลา 3 เดือนแห่งการเข้าพรรษาของชาวพุทธ เป็นเหมือนช่วงเวลาแห่งเดือนถือศีลอดของพี่น้องชาวมุสลิม อย่างน้อยก็มีการถือศีล 5 ละอบายมุขสิ่งเสพติดต่างๆ เป็นพิเศษในช่วงเข้าพรรษานี้
                 แนวทางการสร้างพลังจิต สิ่งที่เข้าใจผิด วันนี้ถ้าพูดถึงการสร้างพลังจิตเรามักจะคิดการใหญ่ไปเสียทุกที ถ้ามองถูกหวยก็จะต้องรางวัลที่ ๑ ถ้าเป็นหนังสือก็ต้องจบมหาวิทยาลัยกันเลย
                 เหมือนในวงการนักศาสนาที่ถ้าพูดถึงพระโสดาบัน เขามักจะคิดกันว่า เหาะมาดูให้เห็นกับตาจึงจะเชื่อถือ ความคิดทำนองนี้จึงบั่นทอนกำลังใจ บั่นทอนให้ชีวิตหมดหวังที่จะพากเพียรไขว่คว้าสิ่งดีๆ มาใส่ตัว
                 มโนปุพพัง คมา ธัมมา ทฤษฎีชีวิตนั้นพระพุทธองค์ท่านตรัสถึงความยิ่งใหญ่ของจิตใจไว้ว่า “จิตเป็นตัวเกิด จิตเป็นตัวพา จิตเป็นใหญ่ จิตเป็นประธาน” สุข-ทุกข์ ใช่ไหมครับ จิตเป็นผู้กำหนด จะเป็นจะตายก็เพราะจิตใจของเรา หากเข้าใจจุดนี้ก็นับว่า เราเริ่มมีสัมมาทิฏฐิแล้วครับ
                 เมื่อเร็วๆ นี้ที่ประเทศอังกฤษ มีงานวิจัยทางการแพทย์ชิ้นหนึ่ง เขาค้นพบว่า ผู้มีอาชีพขับรถแท็กซี่ จะมีรอยหยักในสมองด้านที่ใช้จดจำทิศทางมากกว่าคนธรรมดา

ทฤษฎีนี้เป็นเครื่องชี้บอกได้นะครับว่า “เราทำได้” หลายๆอย่างทำทันที่ได้ในชาตินี้
                 แล้วท่านผู้อ่านจะไม่สงสัยว่าทำไมคนตาบอด หูจึงไวกว่าคนธรรมดา นั้นคือการขวนขวายในชาติปัจจุบัน
                                you are what you think สุภาษิตฝรั่งครับ “เธอจะเป็นในสิ่งที่เธอคิด”
                                 คิดอย่างท้อแท้ ชีวิตก็จะท้อแท้
                                 คิดอย่างสิ้นหวัง ชีวิตก็จะสิ้นหวัง
                 คิดว่าป่วย เราก็จะป่วยจริงๆ ตามนั้น จิตมีพลังครับ เราเชื่อว่าตัวเราเป็นอย่าไรเราก็จะเป็นตามนั้น พ่อแม่จึงต้องระวังปากให้มากนะคับ ด่าลูก ดูถูกลูก แกมันโง่ แกมันเลว สักวันปากพ่อแม่ก็จะเป็นปากพระร่วง วาจาศักดิ์สิทธิ์ได้จริง พลังจิตเพ้อฝัน เรามักจะมองคนมีพลังจิตว่าเป็นผู้มีพลังพิเศษที่จะบิดช้อนงอ หรือส่งกระแสจิตให้คนอื่นรับรู้ได้ แต่จะมีซักกี่คน ณ วันนี้ทำได้ และถึงแม้ทำได้ อย่างมากก็แค่พาไปออกเกมโชว์ เล่นจำอวด ปาหี่
                 ผมอยากจะเปรียบเทียบบุคคลพิเศษเหล่านี้เป็นข้อยกเว้นจากมนุษย์ทั่วไป หลายล้านคนจึงจะมีสักคน และถึงจะมีก็ไม่ได้มีประโยชน์ต่อโลกมนุษย์ เจ้าตัวเองก็ยังต้องกินยาแก้เครียด
                 พลังจิตในชีวิตประจำวัน พลังจิตไฮโซเลิกพูดเลยนะครับ มาพูดถึงพลังจิตที่ต้องใช้ในชีวิตประจำวัน น่าจะเกิดประโญชน์มากกว่า พลังจิตเป็นไฉน ?

                                การมองโลกอย่างมีความหวัง
                                การมองโลกอย่างมีกำลังใจ

                คนขี้โกรธก็โรคนี้ละครับ เป็นคนมองโลกในแง่ร้าย เหตุการณ์แต่ละเหตุการณ์ เราจะรู้ใจคนทำได้อย่างไรว่าแกล้งหรือไม่แกล้ง เจตนาหรือไม่เจตนา กระเป๋ารถเมล์ไม่ทอนตังค์ เพื่อนรวมงานเอารัดเราเปรียบ เจ้านายไม่ดีกับเรา ฯลฯ ทุกเรื่องมี 2 ด้าน คือมุมดีกับร้าย เจตนากับไม่เจตนา กรุณาอย่ามองโลกด้านเดียว ระวังนะครับเจาอารมณ์เสมอๆ เขาเรียกว่า “มนุษย์ตาเดียว” เป็นคนพิการทางใจ เริ่มสร้างพลังวันนี้ เราฝึกซ้อมได้ครับอย่าคิดอะไรมุมเดียว หัดมองหลายๆมุม เฮอร์แมน เฮสสะ เจ้าของนวนิยายปรัชญา “สิทธารถะ” บอกว่า มนุษย์เรามักตัดสินตัวเองที่ เจตนา แต่มักตัดสินคนอื่น ที่การกระทำ เป็นเสียอย่างนี้ จะมีความสุขในชีวิตได้อย่างไรครับ พลังเสริม – ตัวช่วยยิ่งใหญ่ ไม่พูดถึงตัวช่วยก็เหมือนหุงข้าวโดยไม่ใช้ไฟ จะสำเร็จได้อย่างไร “การไม่เอาแต่ใจ” ไม่เจ้าอารมณ์จะทำให้เราคุมเกมชีวิตได้ดีเยี่ยม เราจะมีพลังชีวิตที่เต็มแน่น “การมีศีลธรรม” มีคุณธรรม นับเป็นเรื่องสำคัญจะให้ตัวเองดี ปลอดภัย สบายใจ ก็ควรทำสิ่งนี้กับคนอื่นก่อนนะครับ ผู้ใหญ่ย่อมมีสิทธิ์ได้ ถ้าเราไม่มีศีล ชีวิตก็มีแต่จะทำให้ผู้อื่นฝันร้าย เพราะตัวเองก็ไม่มีสิทธิ์ฝันดีหรอกครับ แนวทางการสร้างพลังจิตในหลายๆผู้รู้ที่สอนกันในหลายสถาบัน ท่านผู้รู้จะย้ำเตือนเสมอว่า “ตัวเราต้องมีความดีนะ” ต้องทำความดีนะ” จินตบำบัด วันนี้การรักษาด้วยพลังจินตนาการ เข้ามามีบทบาทสูงมาก ซึ่งความจริงแล้วคนไทยเราใช้วิธีการนี้มาตั้งแต่โบร่ำโบราณแล้วน่ะครับ ตั้งแต่การรดน้ำมนต์ สะเดาะเคราะห์ เชื่อในคุณไสยต่างๆ ความวิตกกังวลก็นับเป็นพลังจินตนาการที่เข็มแข็ง แต่เป็นไปในเชิงลบครับ การนั่งสมาธิกำหนดลมหายใจ สร้างจินตนาการให้สิ่งดีๆทั้งหลาย อาทิเช่น พลังบริสุทธิ์ ความสุขสดชื่น พลังความแข็งแกร่ง ธาตุกายสิทธิ์ ฯลฯ หลั่งไหลเข้ามาขณะหายใจเข้า และความเหน็ดเหนื่อยเมื่อยล้า โรคภัยไข้เจ็บสารพัดจงไหลออกจากตัวเรา…ไปซะ นึกคิดบ่อยๆ พลังจินตนาการจะแข็งแรง เมื่อรู้ศักยภาพด้านนี้ จึงขึ้นอยู่ว่าเราจะนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ หรือจะใช้บ่อยเพียงใด นิมิตเป็นไฉน วันนี้ถ้าเราเห็นภาพปรากฏในจิตใจ นั้นแหละครับพลังจินตนาการ ภาพนี้ปรากฏหรือกำหนดขึ้น ศัพท์เทคนิคเรียกว่า “นิมิต” นั่งสมาธิก็เกิดได้ หรือคิดเองโดยไม่ต้องนั่งก็เกิดได้ เรื่องของนิมิตเป็นวิธีคิดที่จะไปสู่ความสำเร็จใครจะเชื่ออย่างไรก็สุดแต่เจ้าของทฤษฎี จะคิดว่ามีพลังอยู่กลางกระหม่อม หรือกลางท้องน้อย หรือมีเส้นหลักว่างตลอดทั้งร่างกายก็ไม่ขัดแย้งไม่ผิดหรอกครับ สมัยหนึ่งเข่าว่าแสงเป็นเส้น คือทฤษฎีโฟตอนต่อมาก็มีคนหักล้างบอกว่าแสงเป็น “ควอนตั้ม” เป็นเม็ดๆต่อๆกัน ก็สุดแต่มุมของใครก็ของเขา ไม่แปลกประหลาด พลังจินตนาการยิ่งมีสัมผัสจับต้องนวดเฟ้นก็ยิ่งเกิดผลสัมฤทธิ์ ผู้รับการักษาจะยิ่งเกิดพลังคล้อยตามได้ง่าย เพราะฉะนั้นไม่ต้องสงสัยนะครับ ทำไม่หมอนวดจึงขายดี แตะเพื่อเตือน แตะเพื่อปลอบ นวดเพื่อผ่อนคลาย กระตุ้นเพื่อตื่นตัว… ฯลฯ นี่แหละครับ “พลังสัมผัส” ทำทันที ท่านจะพบว่า ชีวิตประจำวันในแต่ละเหตุการณ์ เราบั่นทอนตัวเองให้ย่ำแย่จนน่าตกใจ คิดไม่ดี คิดลบ (Negative) ร่างกายจะผลิตสารพิษพ่นใส่ตัวเอง พ่นมากๆเข้า พิษเหลือเฟือก็จะเริ่มพ่นใส่คนอื่น วันนี้เรากินอาหารมีสารพิษตกค้างมากมายจากพ่อค้า จากเกษตรกร อะไรก็ไม่ซ้ำใจเท่า “ตัวเอง” เข้ามาผสมโรง เติมสารพิษใส่จิตใจตัวเอง โกรธ-เกลียด-เบื่อหน่ายคนอื่นได้อย่างไรครับตัวเองนี่แหละผู้ร้ายหมายเลข ๑ คติก่อนจาก

รักชีวิตโปรดผลิตสารดีๆ หล่อเลี้ยงตัวเอง