ประเพณีการไหว้ครูผู้มีพระคุณ
***************
     

ประเพณีการไหว้ครูเป็นการแสดงความคารวะผู้มีพระคุณด้วยการบวงสรวงบูชา ซึ่งนับถือว่าเป็นประเพณี
ที่สำคัญยิ่งของบรรดาศิลปินทั่วไป โดยเฉพาะศิลปินทางนาฏดุริยางค์นั้นเชื่อและนับถือกันว่าวิชาการทางด้านนาฏ-
ดุริยางค์มีกำเนิดมาจากเทพเจ้า และได้ถ่ายทอดมาสู่มนุษย์โลก สืบต่อผ่านครูอาจารย์มาตามลำดับจนถึงปัจจุบัน
พิธีการไหว้ครูทางด้านนาฏดุริยางค์ในปัจจุบัน ส่วนใหญ่ดำเนินตามแบบแผนที่สืบทอดมาแต่โบราณ และ
บางครั้งอาจแก้ไขเพิ่มเติมเพื่อจุดประสงค์ในการสร้างศรัทธาให้เกิดมีมากยิ่งขึ้น ลักษณะการไหว้ครูของเหล่าศิลปิน
นั้น ย่อมมีพิธีเป็นพิเศษมากกว่าการไหว้ครูตามปกติเรียกว่า "พิธีครอบ" พิธีครอบนั้นเป็นส่วนหนึ่งของการไหว้ครูศิลปะ
ซึ่งดำเนินต่อท้ายจากพิธีไหว้ครู ส่วนมากมักจะดำเนินพิธีติดต่อกันจนเป็นที่เข้าใจว่า ถ้ากล่าวถึงพิธีไหว้ครู ก็จะมี
ความหมายถึง การทำพิธีครอบ
พิธีไหว้ครูและพิธีครอบ เป็นพิธีที่ท่านโบราณจารย์ได้กำหนดระเบียบและบัญญัติแบบแผนไว้ให้ปฏิบัติด้วย
หลักเกณฑ์อันดีสืบเนื่องกันมาแต่โบราณ โดยกำหนดว่าถ้าเป็นศิษย์ที่หัดโขน-ละคร ครูผู้ใหญ่จะทำพิธีไหว้ครูและ
ครอบให้ต่อเมื่อศิษย์ได้หัดรำ เพลงช้า-เพลงเร็วได้ หรือกล่าวง่าย ๆ ก็คือสามารถที่จะออกแสดงเป็นตัวเสนา หรือนาง
กำนัลได้ ถ้าเป็นศิษย์ที่หัดดนตรีปี่พาทย์ก็ต้องสามารถร่วมบรรเลงเพลงโหมโรงได้จบ ซึ่งนับว่าตีเป็นพอที่จะออก
บรรเลงในงานสวดมนต์เย็น และฉันเช้าได้
นอกจากพิธีไหว้ครูและครอบแล้ว เมื่อศิษย์ผู้ใดฝึกหัดจนเกิดความชำนาญมีชื่อเสียงมีความสามารถพอที่
จะถ่ายทอดวิชาความรู้ที่ตนฝึกฝนมาให้กับผู้อื่นได้ ครูจะประกอบพิธีอย่างหนึ่งให้กับศิษย์ผู้นั้นซึ่งเรียกว่า "พิธีรับมอบ"
โดยครูผู้ทำพิธีจะมอบอาวุธต่าง ๆ และบอกอนุญาตให้ไปเป็นครูถ่ายทอดแก่ผู้อื่นได้ ถ้าเรียนปี่พาทย์การรับมอบ ครู
ผู้ใหญ่จะมอบอุปกรณ์การบรรเลงหรือเครื่องดนตรีแต่ละชนิดให้พร้อมทั้งประสิทธิประสาทพรมงคล และบอกอนุญาต
ให้ไปเป็นครูได้
ท่านโบราณจารย์ได้กำหนดการกระทำพิธีไหว้ครูและครอบไว้อย่างรอบคอบ เพื่อให้ศิษย์ได้รับครอบจากครู

มีประสิทธิภาพอันดีและมีภาวะเป็นศิลปินผู้ควรแก่การยกย่อง เช่นเดียวกับบทบัญญัติในพิธีบรรพชาอุปสมบทของ
พระภิกษุสงฆ์ในพระพุทธศาสนาดังนั้นผู้ที่รับครอบนับว่าเป็นศิลปินของทางแขนงนั้นอย่างเต็มตัวและควรรักษา
เกียรติอันนี้ไว้

การไหว้ครูและครอบ โขน-ละคร

เป็นการไหว้ครูที่มีขั้นตอน การประกอบพิธีหลายอย่างเช่นกัน ซึ่งสามารถสรุปขั้นตอนได้ดังนี้คือ
  ขั้นที่ ๑. ไหว้ครูเมื่อเริ่มเรียน ซึ่งเรียกว่า "คำนับครู" ในชั้นนี้ ครูผู้ใหญ่จะเป็นผู้กำหนดวันโดยจะใช้วัน
พฤหัสบดีเป็นวันประกอบพิธี จะอัญเชิญศีรษะครูที่สำคัญ เป็นต้นว่า พระภรตฤษีและพระครูพิราพจัดตั้งในที่สมควร
มีดอกไม้ ธูป เทียน ตั้งบูชาด้วย ครูผู้ใหญ่จะกล่าวนำให้ผู้ที่จะเข้ามาเป็นศิษย์ถวายดอกไม้ ธูปเทียน และกล่าวโองการ
คำนับครู ต่อจากนั้นจะคัดเลือกศิษย์ใหม่ ออกเป็นพวกตามประเภทของตัวละคร (พระนาง-ยักษ์-ลิง) และจะจับมือให้
รำเป็นปฐมฤกษ์
  ขั้นที่ ๒. เมื่อศิษย์ฝึกหัดไปได้พอสมควร สามารถออกแสดงเป็นตัวประกอบได้บ้างก็จะทำพิธีไหว้ครูใน
ชั้นที่ ๒ เพื่อต่อเพลงหน้าพาทย์ ซึ่งเป็นเพลงที่นับว่ามีความสำคัญและศักดิ์สิทธิ์ ในชั้นนี้อาจจะประกอบพิธีร่วมในการ
ไหว้ครูประจำปีก็ได้ โดยจะต้องจัดเตรียมสถานที่เครื่องสังเวยบูชาและเชิญครูผู้ใหญ่ ซึ่งได้รับกรรมสิทธิ์ให้เป็นผู้
ประกอบพิธีมาดำเนินพิธี ซึ่งมีขั้นตอนต่าง ๆ มากมาย และในตอนท้ายครูผู้ใหญ่จะเป็นผู้ครองศีรษะครูที่สำคัญให้กับ
ศิษย์ทีละคน พร้อมทั้งประสาทพรมงคลในขั้นนี้เรียกว่า "พิธีครอบ"
  ขั้นที่ ๓ ไหว้ครูเมื่อศิษย์มีความสามารถที่จะเป็นครูถ่ายทอดความรู้ให้กับศิษย์รุ่นหลังต่อไปได้ พิธีไหว้ครู
ครั้งนี้เป็นพิธีสำคัญ เช่นเดียวกับการครอบในชั้นที่ ๒ ที่กล่าวมาแล้ว ครูผู้ใหญ่ที่ได้รับการประสิทธิประสาทให้เป็น
ผู้ประกอบพิธีเท่านั้น จึงจะเป็นผู้ในการาไหว้ครูครั้งนี้ได้ พิธีกรรมในขั้นนี้ดำเนินพิธีต่อจากพิธีครอบ เมื่อครูผู้ประกอบ
พิธีซึ่งสมมติเป็น พระภรตฤษี จะทำพิธีครอบศีรษะครู พร้อมมอบอาวุธศิลป์ ศร พระขรรค์ และอุปกรณ์การแสดง ให้กับ
ศิษย์ ศิษย์รับอาวุธต่าง ๆ ไว้ ครูประสาทพรมงคล และบอกอนุญาตให้ไปเป็นครู ในขั้นนี้ เรียกว่า พิธีครอบและรับมอบ
  ขั้นที่ ๔ ไหว้ครูเมื่อเริ่มเรียนหน้าพาทย์สูงสุด (หน้าพาทย์องค์พระพิราพ) หน้าพาทย์องค์พระพิราพ เป็น
หน้าพาทย์สูงสุดทั้งทางดนตรีและนาฏศิลป์ ผู้ที่จะเรียนจะต้องมีความรู้ความสามารถอยู่ในขั้นสูง มีคุณวุฒิ วัยวุฒิ สมควร
แล้ว ครูผู้ใหญ่จึงจะทำการสอนให้ ก่อนทำการสอนจะต้องประกอบพิธี มีเครื่องสังเวยบูชาครบถ้วน ประกอบพิธีไหว้ครู
เต็มตามตำราเสียก่อน จากนั้นจึงต่อท่ารำหน้าพาทย์องค์พระพิราพ ในขั้นนี้ เรียกว่า พิธีครอบเพื่อต่อหน้าพาทย์องค์
พระพิราพ
  ขั้นที่ ๕ ไหว้ครูเมื่อรับมอบให้เป็นผู้ประกอบพิธีต่อไป ในขั้นนี้นิยมประกอบพิธีภายหลังการไหว้ครูครั้งใหญ่
ประจำปี เมื่อเสร็จสิ้นพิธีครอบและรับมอบแล้ว ครูผู้ใหญ่จะเรียกศิษย์ที่มีความสามารถมีคุณสมบัติครบถ้วนตามบท
บัญญัติให้เข้ามาแล้วมอบพระตำราไม้เท้าและศีรษะครูที่สำคัญ พร้อมทั้งประสิทธิประสาทกรรมสิทธิ์และพรมงคลให้
ในท่ามกลางครูผู้ใหญ่หลาย ๆ ท่าน ศิษย์เมื่อได้รับการประสิทธิประสาทแล้วจะต้องปฏิบัติตนให้ตั้งอยู่ในพรหมวิหาร
อย่างครบถ้วน และจะนับถือเสมอว่าถ้าครูผู้มอบให้ยังคงมีชีวิตสามารถประกอบพิธีได้ ตนเองจะไม่ประกอบพิธีเป็น
อันขาด นอกจากว่าครูจะอนุญาตเช่นเดียวกับขนบบัญญัติทางด้านดนตรี ในขั้นนี้เรียกว่า พิธีครอบและรับมอบให้เป็น
ผู้ประกอบพิธี
  ขั้นตอนการไหว้ครูทางนาฏศิลป์ โขน-ละครนี้ ศิลปินบางท่านอาจจะได้รับการประกอบพิธีไม่ครบทั้ง ๕ ขั้น
ตอนก็ได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมของแต่ละท่านและตามความเห็ฯของครูผู้ใหญ่ซึ่งพิธีกรรมเหล่านี้ศิษย์รุ่นต่อ ๆ
ไป สมควรอย่างยิ่งที่จะจรรโลงรักษาไว้ต่อ ๆ ไป
 
     
 

 

 
******************************

 

กลับไปหน้าแรก
กลับไปหน้า Web วัดท่าไทร