ความหมายของบาลีหรือคำศัพท์ดั้งเดิมว่า
ปาลิ
๑.แปลว่า
ภาษาอันรักษาไว้ซึ่งพุทธพจน์, ภาษาที่ใช้ทรงจำและจารึกรักษาพุทธพจน์แต่เดิมมา
อันเป็นหลักในพระ
พุทธศาสนาฝ่ายเถรวาท ถือกันว่าได้แก่ภาษามคธ
๒.
คัมภีร์พระพุทธศาสนาต้นเดิมที่เป็นพระพุทธวจนะ อันพระสังคีติกาจารย์รวบรวมไว้
คือคัมภีร์พระไตรปิฎกที่พระอรหันต์ ๕๐๐ องค์ประชุมกันรวบรวมจัดสรรให้เป็นหมวดหมู่ในคราวปฐมสังคายนา,
พระพุทธพจน์, ข้อความที่มาในพระไตรปิฎก
ความหมายของ " บาลี " หรือ " ปาลิ " ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน
พ.ศ. ๒๔๗๕ คือ ภาษาที่ใช้เป็นหลักในพระพุทธศาสนานิกายเถรวาท , พระพุทธพจน์
( ป. , ส. , ปาลิ ) และตามปทานุกรม บาลี-อังกฤษ ของสมาคมบาลีปกรณ์ในประเทศอังกฤษแสดงไว้
๒ รูป คือ ปาลิ, ปาฬิ ให้ความหมาย ๒ นัย คือ
๑.
แถว , แนว เช่น ทนฺตปาลิ แปลว่า แถวแห่งฟัน
๒.ปริยัติธรรม
, ตำราธรรมของพระพุทธศาสนาที่เป็นหลักดั้งเดิมและใช้เป็นภาษาที่อธิบายขยายความพระพุทธพจน์
เช่น อรรถกถา ฎีกา อนุฎีกา และโยชนา ตามลำดับ
ประวัติภาษาบาลี
นักปราชญ์ทางภาษาและนักการศาสนาให้ความเห็นว่า
คือ ภาษาท้องถิ่นของชาวมคธ และเป็นภาษาที่รวบรวมพระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหมด
ในปัจจุบันเรียกว่าพระไตรปิฎก
จำนวนตัวอักษรภาษาบาลี
ในภาษาบาลี
มีตัวอักษรทั้งสิ้น ๔๑ ตัว เท่านั้น โดยแบ่งเป็น สระ ๘ ตัว ได้แก่
อ
อา อิ อี อุ อู เอ โอ
สระในภาษาบาลี
มี ๘ ตัว นี้ เมื่อนำไปใช้ก็เขียนแล้ว เฉพาะสระ อะ จะไม่ปรากฏรูปร่าง
(สระ อะ จะไม่มีรูปลักษณะเป็น ะ) ส่วนอีก ๗ ตัว รูปสระจะยังคงตัว และสระทุกตัว
นิยมอ่านออกเสียงเหมือนในภาษาไทย
ส่วนพยัญชนะในภาษาบาลี
มีทั้งสิ้น ๓๓ ตัว ได้แก่
ก
ข ค ฆ ง เรียกว่า ก วรรค
จ ฉ ช ฌ ญ เรียกว่า จ วรรค
ฏ ฐ ฑ ฒ ณ เรียกว่า ฏ วรรค
ต ถ ท ธ น เรียกว่า ต วรรค
ป ผ พ ภ ม เรียกว่า ป วรรค
พยัญชนะเศษวรรค เรียก อวรรค มี 8 ตัว คือ ย ร ล ว ส ห ฬ (เพราะ
มีเสียงเกิดจากฐานต่างกันไป )
หมายเตุ
พยัญชนะทุกตัวสระ "อะ" อยู่ในตัว เวลาอ่านต้อง อ่านว่า กะ ขะ คะ
ฆะ งะ เป็นต้นเหมือนกันทุกวรรค
วิธีอ่าน
และ เขียนภาษาบาลี
วิธีการอ่าน
เขียน และสะกด ในภาษาบาลี มีหลักการกว้าง ๆ ดังต่อไปนี้
๑.พยัญชนะที่เขียนไว้โดด ๆ โดยไม่มีสระ ให้อ้านออกเสียง "สระ
อะ" เสมอ เช่น
ตป
อ่านว่า ตะ-ปะ
สติ อ่านว่า สะ-ติ
นโม อ่านว่า นะ-โม
ภควา อ่านว่า ภะ-คะ-วา
อาจริย อ่านว่า อา-จะ-ริ-ยะ
อรหโต อ่านว่า อะ-ระ-หะ-โต
๒.การสะกดในภาษาบาลี
ท่านใช้ "พินทุ ( ฺ )" เขียนไว้ใต้ตัวพยัญชนะ
มีหลักในการเขียนและอ่านดังนี้
๒.๑
พยัญชนะที่ใช้พินทุ หรือจุด ( ฺ )ไว้ใต้ จะใช้เป็นตัวสะกด
เสมอ เช่น
ภิกฺขุ
อ่านว่า ภิก-ขุ
อนิจฺจตา อ่านว่า อะ-นิด-จะ-ตา
อภิญฺญา อ่านว่า อะ-ภิน-ยา
เวสฺโส อ่านว่า เวด-โส
๒.๒
ถ้าพยัญชนะตัวหน้า ไม่มีสระอยู่ด้วย ท่านใช้พินทุหรือจุด (
ฺ ) ที่อยู่ใต้พยัญชนะตัวหลัง เป็นไม้หันอากาศ เสมอ
เช่น
ขนฺติ
อ่านว่า ขัน-ติ
ตสฺส อ่านว่า ตัด-สะ
ปจฺจตฺตํ อ่านว่า ปัด-จัด-ตัง
สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส อ่านว่า สำ-มา-สำ-พุด-ธัด-สะ
๒.๓
บางครั้ง ใช้พินทุ หรือจุดไว้ใต้พยัญชนะเพื่อให้เป็นตัวควบกล้ำ
ในกรณีนี้ นิยมอ่านออกเสียกึ่งมาตรา เช่น
ตสฺมา
อ่านว่า ตัด-สมา (เสียง สะ หน้า มา อ่านออกกึ่งมาตรา หรือ อ่านอย่างเร็ว)
พฺรูถะ อ่านว่า พรู-ถะ (เสียง พะ หน้า รู อ่านออกเสียงกึ่งมาตรา
คล้ายตัวควบกล้ำ)
ยาตฺรา อ่านว่า ยาด-ตรา (เสียง ตะ หน้า รา ออกเสียงกึ่งมาตรา)
ภวตฺวนฺตราโย อ่านว่า ภะ-วัด-ตวัน-ตะ-รา-โย (เสียง ตะ หน้า รา
ออกเสียงกึ่งมาตรา)
กตฺวา
อ่านว่า กัต - ตวา ( เสียง ตะ หน้า วา ออก กึ่งมาตรา )
พฺยาธิ อ่านว่า พยา - ธิ ( เสียง พะ หน้า ยา ออกกึ่งมาตรา )
พฺราหฺมณ อ่านว่า พราม - มะ - ณะ ( เสียง พะ หน้า รา ออกเสียงกึ่งมาตรา
)
๓.ภาษาบาลีใช้
"นิคคหิต" ซึ่งมีลักษณะเป็นตัววงกลมเล็ก ๆ อยู่บนตัวอักษร)
เมื่อประกอบเข้ากับตัวอักษรแล้ว นิยมอ่านออกเสียงดังนี้
๓.๑
ถ้าอักษรตัวที่มีนิคคหิตอยู่ด้วยนั้น มีสระผสมอยู่ นิยมอ่านออกเสียงตัวนิคคหิตเป็นตัว
ง สะกด (แม่กง) เช่น
สุคตึ
อ่านว่า สุ-คะ-ติง
วิสุํ อ่านว่า วิ-สุง
เสตุํ อ่านว่า เส-ตุง
กาตุํ อ่านว่า กา-ตุง
๓.๒
ถ้าอักษรตัวที่มีนิคคหิตอยู่ด้วยนั้น ไม่มีสระผสมอยู่ นิยมอ่านออกเสียงตัวนิคคหิตเป็นสระ
อัง เสมอ เช่น
มยํ
อ่านว่า มะ-ยัง
อรหํ อ่านว่า อะ-ระ-หัง
พุทฺธํ อ่านว่า พุด-ทัง
ธมฺมํ อ่านว่า ทำ-มัง
สงฺฆํ อ่านว่า สัง-คัง
|