๑๔. ประวัติ พระนาลกะ หรือ พระนาลกเถระ
นำเสนอโดย...พระมหาบุญโฮม ปริปุณฺณสีโล (ไชยฤทธิ์) วัดท่าไทร อ.กาญจนดิษฐ์ จ.สุราษฎร์ธานี

 

            พระนาลกะ เป็นหลานของกบิลดาบส (ซึ่งเป็นอาจารย์ของพระเจ้าสุทโธทนะพระชนกของพระพุทธเจ้า) เมื่อพอเจ้าชายสิทธัตถะเมื่อทรงประสูติกาลได้ ๓ วันได้ไปเยี่ยมพระเจ้าสุทโธทนะเพื่อดูพระโอรสพบว่าอีกไม่นานพระโอรสเจ้าตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าแน่นอน ได้กลับมาบอกนาลกะหลานชายว่า เจ้าชายสิทธัตถะจะได้เป็นศาสดาเอกของโลก ให้นาลกะออกบวชเป็นฤๅษีบำเพ็ญฌานรอให้เจ้าชายสิทธัตถะบรรลุธรรม และให้กลับมาขอให้ทรงประทานโมเนยยะปฏิบัติ (การปฏิบัติของมุนี) ซึ่งป็นชื่อเรียกการปฏิบัติให้บรรลุธรรมในยุคที่พระพุทธเจ้ายังไม่ตรัสรู้และแสดงธรรมโปรดเวไนยยะสัตว์ หรือโมเนยยะปฏิบัติก็อริยมรรคมีองค์ ๘ นั้นเอง

            หลังจากนั้น ฤๅษีนาลกะได้บรรลุสมาบัติแปด และได้ยินข่าวว่าเจ้าชายสิทธัตถะเป็นศาสดาเอกแล้ว จึงเหาะมาเข้าเฝ้า และขอโมเนยยะปฏิบัติตามคำของลุง ซึ่งพระพุทธเจ้าได้ทรงประทานเป็นพระคาถาว่า อย่าเที่ยวภิกขาจารในที่เดิมซ้ำ อย่านอนในที่เดิมซ้ำ เพื่อไม่ตัดสินว่าใครดีชั่ว เพื่อไม่พิจารณาว่าที่นี้หยาบปราณีต หรือก็คือการประพฤติธุดงค์ ข้อ ๔ ร่วมกับข้อ ๑๒ เมื่อพระนาลกะได้รู้โมเนยยะปฏิบัติแล้วและขอประทานการอุปสมบท และได้ประพฤติโมเนยยะปฏิบัติ อย่างอุกฤษ ๕ป ระการ คือ

                        ๑.ไม่ยึดติดสนิทสนมต่อญาติโยมทายก
                        ๒.ไม่ยึดติดถิ่นสถานที่อยู่และบุคคลชุมชนที่นั้น
                        ๓.เป็นผู้สันโดษในการเห็นสถานที่และบุคคล
                        ๔.เป็นผู้สันโดษในอันที่จะฟัง
                        ๕.เป็นผู้สันโดษในอันที่จะถาม

            พระนาลกเถระ ประพฤติโมเนยยะปฏิบัติ อเป็นเวลา ๗ เดือนจึงได้บรรลุพระอรหันต์ แต่เนื่องจากพระนาลกะมีอายุมากซ้ำประพฤติโมเนยยะอย่างอุกฤติ สังขารจึงบอบช้ำมาก จึงได้พิจารณาอัตตภาพตนพบว่าถ้าประพฤติโมเนยยะปฏิบัติอย่างอุกฤติต่อไปจะตายอีก ๗ วัน แต่ได้นึกถึงว่าจะรักษาธรรมหรือรักษาชีวิตพิจารณาว่าจะรักษาธรรมจึงประพฤติต่อไปจนรู้ว่าใกล้สิ้นอายุ ได้หันไปทางทิศที่พระพุทธเจ้าอยู่ ทำการถวายอภิวาทและดับขันธ์ในท่ากราบ โมเนยะปฏิบัติประพฤติต่อเนื่องอย่างเบาถือได้ไม่เกิน ๒๗ ปี สังขารจะโทรมจนเสียชีวิต อย่างหนักไม่เกิน ๑๖ อย่างอุกฤติไม่เกิน ๗ ปี แต่โมเนยยะปฏิบัติเป็นธุดงค์ไม่ทรงบังคับ แต่ทรงตรัสสอนว่า มากไปจะเสียชีวิตได้ แต่เป็นข้อวัตรปฏิบัติสำคัญในการขัดเกล้ากิเลส และเป็นการอนุเคราะสัตว์โลก ถึงขนาดว่าในโกลาหล ๕ โมเนยยะปฏิบัติแค่เทวดาได้ข่าวว่าพระพุทธเจ้าจะตรัสในอีก ๗ ปี สวรรค์ถึงกับโกลาหล เพราะโมเนยยะปฏิบัติเป็นหัวข้อธุดงค์ ๒ ใน ๑๓ ข้อที่กำหนดให้พระภิกษุออกเดินทางไปในที่ต่าง ๆ ทำให้คนมีโอกาศทำบุญมากมายจนมาเกิดเป็นเทวดาได้มากมาย

            พระพุทธเจ้า ทรงพาพระสาวกเหาะมาทำการเผาสรีระและทำเจดีย์ให้ และพระนาลกะได้รับเอกทัคคะว่า เป็นผู้เลิศกว่าภิกษุทั้งหลาย ผู้ประพฤติโมเนยยะปฏิบัติ ในพระศาสนาของพระพุทธเจ้าพระองค์หนึ่ง จะมีผู้ประพฤติโมเนยยะปฏิบัติอย่างอุกฤติ และบรรลุพระอรหันต์ จากประพฤติโมเนยยะปฏิบัติอย่างเดียว โดยไม่อาศัยการเจริญสมถะและวิปัสสนา แต่บรรลุด้วยประพฤติโมเนยยะปฏิบัติจนทำอินทรีย์ทั้ง ๕ ให้เต็มจนบริบูรณ์ แล้วสำเร็จเป็นพระอรหันต์ มีเพียงผู้เดียวในศาสนาพระพุทธเจ้าพระองค์หนึ่ง

 


อ้างอิง.-
          ๑.กรมพระยาวชิรญาณวโรรส. สมเด็จพระมหาสมณเจ้า. (2525). ธรรมวิภาคปริเฉทที่ 2. พิมพ์ครั้งที่ 23. กรุงเทพฯ: คณะกรรมการแผนกตำรา มหามกุฏราชวิทยาลัย.
          ๒.ชีวประวัติพุทธสาวก ประวัติพระอัจฉริยะมหาเถระเมื่อครั้งพุทธกาล เล่ม 1 จำเนียร ทรงฤกษ์ , 2542 , พิมพ์โดยสำนักปฏิบัติธรรมสวนแก้ว (สาขาวัดปากน้ำ), พิมพ์โดย สำนักพิมพ์ธรรมสภา
          ๓.ธรรมสภา,อสีติมหาสาวก๘๐พระอรหันต์,ฉบับจัดพิมพ์เป็นธรรมทานในมงคลวาระคล้ายวันเกิด คุณอำพัน-คุณสุมารัตน์ วิประกาษิต,กรุงเทพฯ, ๒๕๔๘,
          ๔.บุญโฮม ปริปุณฺณสีโล(ไชยฤทธิ์),พระมหา,คู่มือเรียนนักธรรมและธรรมศึกษาชั้นโท, ฉบับพิมพ์โรเนียวเย็บเล่ม, สำนักศาสนศึกษาวัดท่าไทร จ.สุราษฎร์ธานี, ๒๕๓๕
          ๕.บุญโฮม ปริปุณฺณสีโล(ไชยฤทธิ์),พระมหา,ปัญหาและเฉลยสำหรับนักธรรมและธรรมศึกษาชั้นโท, ฉบับพิมพ์โรเนียวเย็บเล่ม, สำนักศาสนศึกษาวัดท่าไทร จ.สุราษฎร์ธานี, ๒๕๓๕
          ๖.แม่กองธรรมสนามหลวง. ธรรมศึกษาชั้นโท ฉบับปรับปรุงใหม่ที่ประกาศใช้ในปัจจุบัน. กรุงเทพ. สำนักพิมพ์สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ (สำนักพิมพ์กรมการศาสนา), พ.ศ. ๒๕๕๐
          ๗.ศูนย์พระสงฆ์นักเผยแผ่ธรรมะเพื่อพัฒนาสังคม,คู่มือธรรมศึกษาชั้นโท, ฉบับพิมพ์ครั้งที่ ๓ พ.ศ.๒๕๔๗,โรงพิมพ์เอกพิมพ์ไท จำกัด,กรุงเทพฯ,๒๕๔๗
          ๘.เว็บไซต์ 84000
          ๙.เว็บไชต ธรรมะ เกตเวย์
          ๑๐.พระอสีติมหาสาวก, จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี