พระครูดิตถารามคณาศัย
(1) วัดท่าไทร เมืองสุราษฎร์ธานี
วัดท่าไทร อำเภอกาญจนดิษฐ์
จังหวัดสุราษฎร์ธานี มีพระเกจิอาจารย์ชื่อดังในอดีต คือ พระครูดิตถารามคณาศัย
(ชม คุณาราโม) ซึ่งเป็นอดีตเจ้าอาวาสวัดแห่งนี้
เป็นวัดที่มีประเพณีการทอดผ้าป่าอัน
น่าสนใจเป็นอย่างยิ่ง มีความเป็นมาอย่างน่าติด ตาม กล่าวคือ การทอดผ้าป่าแด่พระภิกษุสงฆ์ที่จำ
พรรษาในวัดต่างๆ ในวันออกพรรษาของจังหวัดสุราษฎร์ธานี คือ วันแรม 1
ค่ำ เดือน 11 นิยมจัดผ้าป่าอันเป็นบังสุกุลจีวร พร้อมด้วยเครื่องบริวารต่างๆ
ที่จะขาดเสียมิได้คือ ผ้าหนึ่งผืนเพื่อให้พระสงฆ์พิจารณา และอาหารปิ่นโต
1 เถา เพื่อถวายให้พระท่านได้ฉัน ส่วนสิ่งของนอกจากที่กล่าวมานั้นก็
มีการจัดถวายพระสงฆ์ตามกำลังศรัทธา โดยนิยม จัดพุ่มผ้าป่าไว้บริเวณหน้าบ้าน
มีเลขหมายประจำพุ่มไว้ บางบ้านก็จัดทำพุ่มผ้าป่าอย่างงดงามและมีการประกวดกัน
มีกรรมการซึ่งทางเทศบาลได้จัดตั้งขึ้นพิจารณาให้ได้รับรางวัล เป็นเกียรติ
เป็นที่ระลึกในการบำเพ็ญกุศล ผู้จัดคือ เทศบาลและอำเภอร่วมกัน ได้นำสลากนั้นๆ
ถวายแด่พระภิกษุสงฆ์ โดยไม่จำเพาะเจาะจงแล้วแต่ท่านจะจับสลากได้ ก็นิมนต์ไปชักผ้า
ป่าตามสถานที่นั้นๆ ในเวลาเช้าตั้งแต่ 06.00 น. เป็น ต้นไป อันนับว่าเป็นกุศลสังฆทานในพระพุทธศาสนาประการหนึ่ง
พระมหาบุญโฮม ปริปุณฺณสีโล ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดท่าไทร ได้กล่าวถึงประเพณีการทอดผ้าป่าของจังหวัดสุราษฎร์ธานีไว้ในหนังสือพิมพ์
"กระแสข่าว" ฉบับประจำเดือนพฤศจิกายน พ.ศ.2547 ว่า
"ประเพณีการทอดผ้าป่าในเทศกาลวันออกพรรษา
ซึ่งตรงกับวันแรม 1 ค่ำ เดือน 11 ของจังหวัดสุราษฎร์ธานีตามที่ได้กระทำกันอยู่
ณ บัดนี้ ได้มีนาง พยอม นามสกุลเดิมคือ เริ่มก่อสกุล (ธิดาของนายเอม
นางขำ เริ่มก่อสกุล) ซึ่งมีภูมิลำเนาอยู่ที่ตลาดท่าทองใหม่ อำเภอกาญจนดิษฐ์
จังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็น ผู้ริเริ่มจัดให้มีประเพณีทอดผ้าป่าออกพรรษาขึ้น
ณ วัดท่าไทร ตำบลท่าทองใหม่ อำเภอกาญจนดิษฐ์ จังหวัดสุราษฎร์ธานี ทุกวันแรม
1 ค่ำ เดือน 11 (หลังออกพรรษา 1 วัน) ขณะเดียวกันได้จัดให้มีการชักพระ
(ชักลากพระ) โดยใช้เรือทางน้ำ เรือทางบกเพื่อ ให้ประชาชนทั่วไปได้สักการบูชาให้เกิดสิริมงคลในโอกาสออกพรรษา
เทียบเคียงการจัดฉลองวัดเทโวโรหณะในอดีตกาลครั้งพระพุทธเจ้ายัง ทรงมีพระชนม์อยู่
และมีการละเล่นกีฬาทั้งทางบกและทางน้ำอย่างสนุกสนาน ซึ่งประเพณีดังกล่าวยังได้รับการอนุรักษ์ให้มีอยู่จวบจนกระทั่งปัจจุบัน
ต่อมานางพยอม เริ่มก่อสกุล ภายหลังสมรสกับนายฉาย สารสิน จึงได้เปลี่ยนนามสกุลเป็น
สารสิน ตามสามี ได้ย้ายไปอยู่กับสามีที่ตรอกไม้ไผ่งาช้าง ข้างวัดกลางในตลาดบ้านดอน
และได้จัดให้มีประเพณีดังกล่าวขึ้นอีกที่บ้านดอน (อำเภอเมืองสุราษฎร์ธานีในปัจจุบัน)
เมื่อ พ.ศ.2471 โดยเริ่มแรกได้นิมนต์พระภิกษุสงฆ์จากวัดท่าไทรเป็นหลักในการไปพิจารณาผ้าบังสุกุล
ซึ่งภายหลังเจ้าอาวาสวัดท่าไทรในขณะนั้นก็ได้แนะนำให้นิมนต์พระภิกษุซึ่งจำพรรษาอยู่ในวัดที่อยู่ในบ้านดอนซึ่งใกล้บ้านไปพิจารณาชักผ้าบังสุกุล
(ผ้าป่า) ด้วย จึงถือเป็นประเพณีปฏิบัติซึ่งได้กระทำกันสืบมาจนกระทั่งปัจจุบันนี้
ที่มา1.- นสพ.ข่าวสด
ที่มา2.- http://www.tumsrivichai.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=534549334&Ntype=40
(เว็บไซต์ พระเครื่องตั้มศรีวิชัย พระเครื่อง จตุคาม รามเทพ เครื่องรางของขลัง
99/1 ต.นาบอน อ.นาบอน จ.นครศรีธรรมราช 80220 Tel: 081-9565997)
|