2.1.2 ผลงานทางวิชาการ
เจ้าคุณพระราชพิพัฒนาภรณ์
(ชูชาติ กันตวัณณเถระ) เป็นพระเถระนักพัฒนา ท่านมีความเห็นว่า ประเทศชาติบ้านเมืองหรือสงคมชุมชน
จะเจริญก้าวหน้าและมีความสุสงบได้อยู่ที่ตัวคน การพัฒนาทุกอย่างต้องเริ่มต้นที่ตัวคน
หรือต้องพัฒนาคนเสียก่อน ตลอดชีวิตในสมณเพศองท่าน โดยเฉพาะมื่อดำรงตำแหน่งบริหารการปกครองคณะสงฆ์ตั้งแต่ระดับเจ้าอาวาสจนถึงตำแหน่งเจ้าคณะจังหวัด
ท่านจึงมุ่งมั่นทุ่มเทด้วยความมานะพยายามกับการพัฒนาคน ท่านเชื่อมั่นว่ามนุษย์ทุกคนถ้ามีโอกาสในการศึกษาเล่าเรียน
ก็จะพัฒนาตนเองได้ ท่านจึงดำเนินโครงการต่าง ๆ เพื่อจัดการศึกษาให้แก่ผู้ด้อยโอกาส
เริ่มต้นตั้งแต่การจัดหาทุน การให้โอกาสเยาวชนที่ฐานะทางบ้านยากจนมาบวชเรียนและการให้ทุนนักเรียนในโรงเรียนที่เรียนดีแต่ขาดแคลนทุน
ได้เรียนในระดับที่สูงขึ้น
ผลงานทางวิชาการของท่านปรากฏอยู่ในโอวาท
ธรรมกถาและธรรมเทศนา ที่ท่านแสดงเพื่ออบรมเยาวชนและประชาชนทั่วไปในโอกาสต่าง
ๆ ซึ่งมีสาระเกี่ยวข้องกับการพัฒนาจิตใจคนให้มีศีลธรรม มีความเสียสละไม่เห็นแก่ตัว
อันเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ชุมชนสังคมพัฒนาเจริญก้าวหน้าและประสบสันติสุขซึ่งจะนำมาเสนอเพียง
2 เรื่อง สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้
- เรื่องการทำความดี
ความดีในทางพระพุทธศาสนาได้แก่บุญกุศลเป็นนามธรรมไม่สามารถที่จะมองเห็นได้เหมือนสิ่งี่เป็นรูปธรรมแต่มีคุณค่าต่อคนต่อชุมชนและสังคมมนุษย์มาก
คามดีก็ขั้นต้น ขั้นกลาง และขั้นสูง ความดั้นต้นคือการรักษาศีล 5
ได้ไม่เบียดเบียนผู้อื่นให้เจ็บปวดหรือถึงตาย ไม่ลักทรัพย์ ไม่ละเมิดเสียหายทางเพศ
ไม่พูดเท็จ และไม่เป็นนักเลงสุรายาเสพติดความดีขึ้นกลาง คือ การมีธรรม
5 ได้แก่ การมีเมตตากรุณาต่อสรรพสัตว์ การมีสัมมาอาชีพ การซื่อสัตย์ต่อคู่ครอง
การพูดจริยทำจริงและการเป็นคนมีเหตุมีผลมีสติสัมปชัญญะไม่หลงงมงายต่อสิ่งชั่วร้ายทั้งหลาย
ส่วนความดีขึ้นสูง คือ การพยายามศึกษาและปฏิบัติธรรมจนสามารถบรรลุขึ้นสูงจนถึงพระนิพพาน
ความดีทุกระดับเป็นนามธรรมดังกล่าว
จะปรากฏให้เห็นเป็นที่ทราบได้ต้องอาศัยรูปธรรม เช่นการแสดงออกทางความกตัญญูกตเวที
เป็นต้น แม้พระนิพพานซึ่งเป็นความดีขั้นสูงสุด จะทราบได้ก็ด้วยการแสดงออกองผู้มีความดี
คือ พระอริยเจ้าทั้งหลาย ซึ่งเป็นผู้ตัดกิเลสได้ ไม่หวั่นไหวต่อโลภะโทสะและโมหะ
หรือเป็นผู้ตัดตัณหาราคะได้อย่างสิ้นเชิงจึงถึงพระนิพพาน
ความดีจึงต้องสังเกตจากอาการ
ปรากฏทางกายและวาจา จะรู้ว่ามีความดีชั้นนั้น ๆ จริงหรือไม่ ก็ต้องอาศัยการใคร่ครวญพิจารณาอย่างละเอียดและยาวนาน
มิฉะนั้นจะพบแต่ผู้ที่มีความดีปลอมหรือเสแสร้งว่ามีความดี
ดังนั้นบุคคลผู้ต้องการให้ตนเป็นคนดีก็ต้องทำความดี
และความดีนั้นต้องรีบทำ อย่ามัวหลงคิดว่ายังเด็กยังหนุ่มยังสาว จะทำความดีเมื่อไรก็ได้
ถ้ามัวผัดวันประกันพรุ่ง ในโลกปัจจุบันมีสิ่งยั่วยุให้หลงผิดมากมาย
ถ้าไม่รีบทำความดี จิตใจอาจหวั่นไหวหันไปทำทางผิดทางชั่วได้ ในเรื่องนี้พระพุทธเจ้าตรัสสอนไว้ว่า
อภิตถเรถ
กลยาเณ ปาปาจิตต นิวาระเย
ทนธ หิ กรโต ปุญญ ปาปสสมึรมตี มโน
แปลความว่า บุคคลพึงรีบขวนขวายทำความดี พึงห้ามจิตจากความชั่ว เมื่อทำความดีช้าอยู่
จิตใจจะยินดีในความชั่ว เมื่อคนเรามุ่งมั่นรีบมุ่งมั่นรีบทำความดี
ความชั่วร้ายทั้งหลายก็จะไม่ปรากฏเราก็จะมีความสุข คนรอบข้างเช่น
พ่อ แม่พี่น้องก็พลอยมีความสุข ไม่ต้องคอยห่วงคอยกังวล ท่านจะได้ตั้งหน้าสร้างฐานะ
สร้างครอบครัวให้มั่งคั่ง เป็นหลักเป็นฐาน ถ้าในชุมชนนั้นก็สุขสงบและพัฒนาเจริญก้าวหน้า
ประเทศชาติ ซึ่งประกอบด้วยชุมชนหมู่บ้านทั้งหลายก็จะมีแต่สันติสุขและเจริญก้าวหน้าพัฒนา
- เรื่องการทำตนให้เป็นที่พึ่ง
คนเราเกิดมาใช่ว่าจะเป็นคนดีมาตั้งแต่เกิด
คนเราจะดีได้ ต้องอาศัยการได้รับการศึกษาอบรมสั่งสอน การที่มนุษย์เจริญก้าวหน้ากว่าสัตว์เดรัจฉานได้ก็อยู่ที่มนุษย์มีการอบรมสั่งสอนกันได้นั่นเอง
ใครเรียนมากก็รู้มาก ใครฝึกฝนตนมากก็จะเป็นตนดีมาก พุทธภาษิตที่ว่า
ตนเป็นที่พึ่งของตน ก็มุ่งสอนให้คนเรารีบเร่งทำตนให้เป็นที่พึ่ง รีบเร่งอย่างไร
? ก็อย่างเยาวชนทั้งหลายเมื่อยังเยาว์ เช่นนี้ยังต้องพึ่งพาพ่อแม่อยู่
และต่อไปไม่ช้าก็เร็วพ่อแม่ต้องจากเราไป แล้วเราจะพึ่งใคร? ดังนั้น
เมื่อยังเยาว์ยังมีโอกาสต้องรีบเร่งสร้างตนทำตนให้เป็นที่พึ่งของตนได้
วิธีสร้างตนให้เป็นที่พึ่งของตนได้ ก็คือรีบเร่งมุ่งมั่นศึกษาเล่าเรียน
ต้องฝึกตนเองให้เป็นคนเอาการเอางานขยันไม่เกียจคร้าน ฝึกตนให้เป็นคนมีความอดทน
ความอดทนต่อความเหนื่อยยากทางกายในการศึกษาเล่าเรียนหรือการทำงานมีคุณค่าต่อตนมากแล้ว
แต่ก็ยังไม่เท่ากับการที่เราสามารถอดทนต่อสิ่งยั่วยุให้หลงผิดทั้งหลาย
ซึ่งในโลกปัจจุบันสิ่งยั่วยุให้เยาวชนหลงเดินทางผิดมีมาก เป็นเรื่องของ
รูป เสียง กลิ่น รส และสัมผัส ต้องระวังให้มาก เมื่อเผชิญสิ่งยั่วยุต้องเป็นคนมีสติ
รู้จักข่มใจอดทนเข้าใจ แล้วใช้ปัญญาพิจารณาถึงข้อดีข้อเสียของสิ่งเหล่านั้น
เยาวชนที่เอาใจใส่มุ่งมั่นศึกษาเล่าเรียน
เชื่อฟังพ่อแม่ ครูบาอาจารย์ รู้จักฝึกฝนตนเองให้มีความอดทน อดกลั้นต่อสิ่งไม่ดีงาม
หรืออบายมุทั้งหลายด้าน จึงจะได้ชื่อว่าเป็นผู้ทำตนให้เป็นที่พึ่งแห่งตนได้
ในทางพระพุทธศาสนา ได้ให้แนวทางสร้างที่พึ่งสำหรับบุคคลไว้ รียกตามภาษาพระว่า
นาถกรณธรรม แปลว่า ธรรมทำที่พึ่งมี 10 อย่าง คือ
- ศีล คือการรักษากายวาจาให้เรียบร้อย
เป็นการที่บุคคลฝึกฝนตนเองให้เป็นผู้สำรวมระวังพฤติกรรมทางกายและวาจาให้สุภาพเรียบร้อยเป็นปกติชน
หรือเป็นผู้จรรยามารยาทที่ดี ไม่ประพฤติผิดศีลผิดธรรมไม่เป็นพิษเป็นภัยต่อผู้อื่น
ๆ ได้ชื่อว่าเป็นสุภาพชนใครพบเห็นก็รักใคร่นับถือ ยินดีจะให้ความช่วยเหลือ
ผู้มีศีลจึงได้ชื่อว่าทำตนให้เป็นที่พึ่งแห่งตนได้ประการหนึ่ง
- พาหุสัจจะ คือ ความเป็นผู้สดับตรับฟังมาก
เป็นลักษณะองคนที่ใฝ่รู้ใฝ่เรียน ขณะยังเป็นผู้เยาว์ก็มุ่งมั่นขยันศึกษาเล่าเรียนไม่เป็นคนเหยียบขี้ไก่ไม่อ
รักในการอ่าน มุ่งศึกษาค้นคว้าจนเป็นพหูสูต คือ เป็นผู้เรียนมากรู้มาก
จนสามารถใช้วิชาที่เล่าเรียนสูง ๆ ไปประกอบอาชีพที่ดีได้ พ่อแม่ก็หวังให้ลูกมีการมีงานทำดี
ๆ มีรายได้เลี้ยงตนได้ต่อไป ผู้เป็นพหูสูตจึงได้ชื่อว่าทำตนให้เป็นที่พึ่งแก่งตนได้ประการหนึ่ง
- กัลยาณมิตตา คือ ความเป็นผู้มีเพื่อนดีงาม
คนเราเกิดมาอยู่คนเดียวไม่ได้ ต้องคบค้าสมาคมกับคนทั้งหลาย เพื่อพึ่งพาอาศัยกัน
แต่คนในทุกหนทุกแห่งหรือในทุกสังคมชุมชน ย่อมมีทั้งคนดีและคนไม่ดี
ถ้าเราคบคนดีเราก็จะมีแต่ความสุขความเจริญแต่ถ้าเราคบคนชั่วเป็นมิตร
เพื่อชั่วก็จะนำแต่คนเดือดร้อนทุกข์ยากมาสู่เรา ในทางพุทธศาสนาได้ให้คำแนะนำถึงลักษณะองมิตรหรือเพื่อที่ดี
และไม่ดีไว้ให้เราเลือกคบค้าสมาคม คำสอนเรื่องนี้ปรากฏอยู่ในหนังสือนวโกวาทมีสาระดังต่อไปนี้
- เพื่อหรือมิตรที่ดีเรียกว่ามิตรแท้
มี 4 ประเภทคือ
- มิตรมีอุปการะมาก มีลักษณะ
4 ประการ ได้แก่
- ป้องกันเพื่อนผู้ประมาทแล้ว
- ป้องกันทรัพย์สมบัติของเพื่อนผู้ประมาทแล้ว
- เมื่อมีภัย เป็นที่พึ่งพาได้
- เมื่อมีธุระ ช่วยออกทรัพย์ให้เกินกว่าที่ออกปาก
- มิตรร่วมสุขร่วมทุกข์
มีลักษณะ 4 ประการ ได้แก่
- ขยายความลับของตนแก่เพื่อน
- ปิดความลับของเพื่อนไม่ให้แพร่งพราย
- ไม่ละทิ้งเพื่อนในยามวิบัติ
- แม้ชีวิตก็อาจสละแทนได้
- มิตรแนะประโยชน์ มีลักษณะ
4 ประการ ได้แก่
- ห้ามไม่ให้ทำความชั่ว
- แนะนำให้ตั้งอยู่ในความดี
- ให้ฟังสิ่งทียังไม่เคยฟัง
- บอกทางสวรรค์ให้
- มิตรมีความรักใคร่ มีลักษณะ
4 ประการ ได้แก่
- ทุกข์ ๆ ด้วย
- สุข ๆ ด้วย
- โต้เถียงคนที่พูดติเตียนเพื่อน
- รับรองคนที่พูดสรรเสริญเพื่อน
- เพื่อนหรือมิตรที่ไม่ดีเรียกว่ามิตรเทียม
มี 4 ประเภท คือ
- คนปอกลอก มีลักษณะ 4 ประการ
ได้แก่
- คิดเอาแต่ได้ฝ่ายเดียว
- เสียให้น้อย คิดเอาให้ได้มาก
- เมื่อมีภัย แก่ตัว จึงรับทำกิจของเพื่อน
- คบเพื่อเพราะเห็นแก่ประโยชน์ของตัว
- คนดีแต่พูด มีลักษณะ 4
ประการ ได้แก่
- เก็บเอาของล่วงแล้วมาปราศรัย
- อ้างเอาของที่ยังไม่มีมาปราศรัย
- สงเคราะห์ด้วยสิ่งที่หาประโยชน์มิได้
- ออกปากพึ่งมิได้
- คนหัวประจบ มีลักษณะ 4
ประการ ได้แก่
- จะทำชั่วก็คล้อยตาม
- จะทำดีก็คล้อยตาม
- ต่อหน้าว่าสรรเสริญ
- ลับหลังตั้งนินทา
- คนชักชวนในทางฉิบหาย มีลักษณะ
4 ประการ ได้แก่
- ชักชวนดื่มน้ำเมา
- ชักชวนเที่ยวกลางคืน
- ชักชวนให้มัวเมาในการเล่น
- ชักชวนเล่นการพนัน
ลักษณะของเพื่อนดีและเพื่อไม่ดีข้างต้น
ขอให้นำไปพิจารณา แล้วเลือกคบคนให้ถูกต้อง เพื่อนไม่ดีคือคนพาลจะนำความทุกข์ความเดือดร้อนมาสู่เรา
ส่วนเพื่อดีคือคนที่เป็นบัณฑิต เป็นผู้รู้ดีรู้ชั่ว เราอยู่ใกล้หรือคบหาสมาคมด้วยก็จะทำให้เราเจริญก้าวหน้า
มีแต่ความสุขใจ ดังภาษิตว่า คบคนพาล พาลพาไปหาผิด คบบัณฑิต บัณฑิตจะพาไปหาผล
ผู้ที่เลือกคบมิตรได้ถูกต้องได้ชื่อว่า ทำตนให้เป็นที่พึ่งแห่งตนได้ประการหนึ่ง
4.
โสวจัสสตา คือ ความเป็นผู้ว่าง่าย อันวิชาความรู้ไม่ใช่ว่าเราจะได้มาพร้อมกับการเกิด
แต่เป็นสิ่งที่เราแสวงหาได้ภายหลังเกิดทั้งสิ้น การจะได้มาซึ่งความรู้ก็ต้องอาศัยผู้รู้มาแนะนำสั่งสอน
ความเป็นผู้รู้หรือเป็นบัณฑิต ใช่ว่าจะเกิดเองเป็นเอง ต้องอาศัยครูบาอาจารย์
หรือผู้รู้ทั้งหลายมาสั่งสอน ความเป็นผู้ว่าง่ายสอนง่ายจึงเป็นคุณลักษณะสำคัญทำให้ได้รับความรักความเมตตาจากผู้รู้ทั้งหลายทำให้ท่านยินดีและเต็มใจจะแนะนำวิชาความรู้หรือสั่งสอนเรา
การน้อมรับคำตักเตือน ไม่ยโสโอหังถือความเห็นตนเป็นใหญ่ก็ย่อมได้รับคามเมตตาช่วยเหลือจากผู้ใหญ่
ยามเมื่อเราทำอะไรผิดพลาดใครมาแนะนำตักเตือนอย่าไปโกรธต้องขอบคุณเขา
พระพุทธเจ้าตรัสว่า คนที่มาชี้โทษหรือความผิดพลาดของเรา ต้องถือเสมือนว่าเขามาบอกขุมทรัพย์ให้เรา
หากเราทำตนเป็นน้ำชาล้นถ้วยใครว่าอะไรก็ไม่ฟัง นานไปก็จะเอาตัวเองไม่รอดแต่ความอ่อนน้อมถ่อมตน
ทำตนเป็นคนว่านอนสอนง่าย อันตรายทั้งหลายหากพึงมีก็จะมีผู้คอยแนะนำแก้เราก็จะปลอดภัย
ผู้มีคุณลักษณะตามข้อนี้ได้ชื่อว่า ทำตนให้เป็นที่พึ่งแห่งตนได้ประการหนึ่ง
5.กิงกรณีเยสุ
ทักขตา คือ ความขยันเอาใจใส่ช่วยกิจธุระของผู้อื่นตามโอกาส
คนเราบางครั้งมีภารกิจที่ไม่สามารถทำคนเดียวได้ ต้องอาศัยญาติมิตร
หรือผู้อื่นมาช่วยเหลือ ทำนองน้ำพึ่งเรือเสือพึ่งป่า ไม่ใช่ว่าเมื่อเรามีงานอยากไหว้วานให้เพื่อนช่วย
แต่ถึงคราวเพื่อนมีงานมาไหว้วานก็ไม่สนใจ คนอย่างนี้เป็นคนใจแคบเห็นแก่ตัว
พอนานไปก็จะไม่มีใครคบหาสมาคมด้วย ทำอะไรก็จะไม่สำเร็จเพราะไม่มีใครเห็นอกเห็นใจคอยช่วยเหลือ
ความมุ่งมั่นขยันเอาใจใส่ช่วยกิจธุระของผู้อื่น ๆ จึงได้ชื่อว่า เป็นการทำตนให้เป็นที่พึ่งแห่งตนได้ประการหนึ่ง
6.ธัมมกามตา
คือ ความใคร่ในธรรมที่ชอบ ท่านอาจารย์พุทธทาส เคยกล่าวไว้ว่า ธรรมะคือหน้าที่
คนเราเกิดมาย่อมมีภาระหน้าที่ที่ต้องกระทำ เช่น หน้าที่ของลูกต้องช่วยเหลือทำตามคำสั่งสอนของพ่อแม่
หน้าที่ของนักเรียนนักศึกษาก็ต้องศึกษาเล่าเรียน คำว่า ธรรมที่ชอบ
ก็คือหน้าที่ที่ถูกต้องเหมาะสมส่วนกิจการอื่นอาจไม่ถึงเวลาที่จะทำถ้าเราไปทำอาจไม่ถูกต้อง
เช่นเราอยู่ในวัยเรียน แต่ชิงสุกก่อนห่าม หรือไปได้เสียกันก่อนอย่างนี้ถือเป็นการกระทำที่ที่ไม่ชอบไม่ถูกต้อง
อีกนัยหนึ่งคำว่าธรรมอาจหมายถึงคำสั่งสอนหรือความคิดเห็นต่าง ๆ ซึ่งมีทั้งผิดทั้งถูก
เราต้องเลือกศึกษาปฏิบัติเฉพาะคำสอนและความคิดเห็นที่ถูกต้องชอบธรรมเท่านั้น
ถ้ามีข้อสงสัยควรไปปรึกษาพ่อแม่ครูอาจารย์ก็จะเลือกทางปฏิบัติที่ถูกต้องได้
เมื่อเราทำได้ดังนี้ก็ได้ชื่อว่า ทำตนให้เป็นที่พึ่งแห่งตนได้ประการหนึ่ง
7.วิริยะ
คือ เพียรพยายามละความชั่ว ประพฤติความดี ขึ้นชื่อว่าความผิดความชั่ว
ย่อมนำความทุกข์ความเดือดร้อนมาสู่ผู้กระทำ ส่วนความดีความถูกต้องดีงาม
ย่อมนำความสุขความเจริญรุ่งเรืองมาสู่ผู้กระทำ ดังนั้นผู้หวังความสุขต้องการจะพ้นจากความทุกข์ก็ต้องมีความเพียรพยายามหรือมีความกล้าหาญที่จะทำความดี
การทำความดีกว่าจะเป็นผลอาจจะล่าช้า หรือกล่าวได้ว่าความดีอาจทำได้ยากไม่เหมือนความชั่วที่กระทำได้ง่าย
เพียงแต่ปล่อยใจไปตามอารมณ์รักอารมณ์ชังหรือกิเลสตัณหา บุคคลก็จะทำความผิดความชั่วได้แล้ว
แต่การทำความดีได้จะต้องอดทนอดกลั้นรู้จักหักห้ามใจไม่ให้ทำอะไรไปตามอารมณ์
และการทำความดีอาจทำให้ทีละเล็กละน้อยค่อยสะสมความดีไปเรื่อย ๆ จนบารมีแก่กล้าก็จะทำความดีที่ยิ่งใหญ่ได้และก็จะนำมาซึ่งความสุความเจริญได้
ดังพุทธภาษิตว่า สุโข ปุญญสส อุจจโย แปลว่า การสะสมบุญคือความดีย่อมนำสุขมาให้
บุคคลที่มีความเพียรพยายามกล้าหาญในการทำความดีจึงได้ชื่อว่า ทำตนให้เป็นที่พึ่งแห่งตนได้ประการหนึ่ง
8.สันโดษ
คือ ความพอใจยินดีตามมีตามได้ ได้แก่พอใจยินดี ทำงานตามกำลังความสามารถไม่ทำอะไรเกินตัวรัยว่ายถาพลสันโดษ
ความพอใจยินดีในลาภผลที่ตนพึงได้ไม่ละโมบโลภมากอยากได้สิ่งของ ๆ ผู้อื่น
เรียกว่า ยถาผลสันโดษและความพอใจในภรรยาหรือคู่ครองของตนไม่นอกใจคู่ครองของตนไม่นอกใจคู่ครอง
เรียกว่า สทารสันโดษ ความยินดีพอใจในสิ่งดังกล่าวนี้ทำให้ตนมีความสุขไม่เดือดร้อนกระวนกระวายใจ
เพราะแรงอิจฉาริษยา หรือความน้อยเนื้อต่ำใจ และป้องกันความผิดพลาดในการกระทำกิจการต่าง
ๆ ได้ อนึ่งความสันโดษ ไม่ได้มีความหมายถึงการเกียจคร้านไม่ทำงาน แต่ต้องการให้บุคคลรู้จักพอดีพอใจในการทำงาน
และรู้จักยอมรับผลงานที่ตนกระทำและไม่ประพฤติผิดทางเพศ คนที่มีสันโดษ
จึงได้ชื่อว่าทำตนเป็นที่พึ่งแห่งตนได้ประการหนึ่ง
9.สติ
คือ ความระลึกได้รู้ตัวอยู่เสมอ จดจำได้แม้สิ่งที่เคยทำคำเคยพูดแม้นานแล้วได้
เกิดเป็นคนต้องพยายามฝึกฝนให้เป็นคนมีสติจะทำจะพูดอะไรออกไปต้องคิดต้องพิจารณาข้อผิดถูกเสียก่อน
เพราะทุกสิ่งที่เรากระทำ และทุกคำที่เราพูดออกไป ย่อมบังเกิดผลย้อนกลับมาสู่เราเสมอ
ดังคำว่า สิ่งที่เรากระทำ คำที่เราพูดออกไปจะเป็นนายเรา การพูดดีทำดีก็จะได้ผลดีตอบสนอง
แต่หากทำชั่วพูดชั่ว ผลร้ายก็จะตามมา ดังนั้นคนที่มีสติ มีความระลึกได้รู้ตัวอยู่เสมอจึงได้ชื่อว่า
ทำตนให้เป็นที่พึ่งแห่งตนได้ประการหนึ่ง
10.ปัญญา
คือ ความรอบรู้ตามความเป็นจริงในสิ่งทั้งหลายปัญญาจะบังเกิดมีได้ก็ได้การตั้งใจฟังตั้งใจอ่านแล้วก็จดจำ
นำไปคิดพิจารณาใคร่ครวญ รู้จักคิดแยกแยะวิเคราะห์สิ่งที่เราพบเห็นไม่เชื่ออะไรง่าย
ๆ ใช้เวลาก่อนนอนทำใจให้สงบใคร่ครวญสิ่งที่เราได้กระทำในแต่ละวัน ปัญญาก็จะเกิดทำให้เรารู้ว่าอะไรผิดอะไรถูก
คนมีปัญญาจะรักษาตนได้ จึงได้ชื่อว่ากระทำตนให้เป็นที่พึ่งแห่งตนได้ประการหนึ่ง
คนที่ปฏิบัติได้ตามธรรมะ
ทั้ง 10 ประการนี้ได้ชื่อว่ารู้จักพัฒนาตน เป็นผู้รู้จักทำตนให้เป็นที่พึ่งแห่งตนได้สมดังพระพุทธภาษิตว่า
อตตาหิ
อตตโน นาโถ โกหิ นาโถ ปโรสิยา
อตตาหิ
สุทนเตน นาถ ลภติ ทุลลภ
แปลความได้ว่า
ตนเป็นที่พึ่งแห่งตน คนอื่นใครเล่าจะเป็นที่พึ่งได้ ถ้าบุคคลฝึกฝนตนดีแล้ว
ย่อมได้ที่พึ่งที่ได้โดยยากจึงเป็นหน้าที่องทุกคนต้องฝึกฝนตนเองหรือพัฒนาตนเองให้พึ่งตนเองได้
เราจึงจะได้ที่พึ่งอันมั่นคงถาวร ในชุมชนหมู่บ้านหรือประเทศชาติถ้าคนส่วนใหญ่พึ่งตนเองได้
สังคมชุมชนประเทศชาติก็จะเข้มแข็งและพัฒนาได้อย่างยั่งยืน
- เป็นผู้ทำคุณประโยชน์ต่อสังคมส่วนรวมจนเป็นที่ยอมรับอย่างกว้างขวาง
เจ้าคุณพระราชพิพัฒนาภรณ์
(ชูชาติ กันตวัณณเถระ) มีผลงานดีเด่นในงานพัฒนาชุมชนอันเป็นคุณประโยชน์ต่อสังคมส่วนรวม
โดยเฉพาะในเตพื้นที่จังหวัดสุราษฎร์ธานีหลายประการด้วยกัน อาทิ
- ด้านการฝึกอบรมพัฒนาจิตใจและคุณธรรม
- จัดให้มีการบรรพชาและอบรมสามเณรภาคฤดูร้อนเพื่อพัฒนาเยาวชนให้มีคุณธรรมและจริยธรรมในระหว่างวันที่
10 เมษายน ของทุกปี สถิติเยาวชนที่มาบวช (ย้อนหลัง 11 ปี) ดังนี้
พ.ศ. 2537 จำนวน 72 รูป
พ.ศ. 2538 จำนวน 115 รูป
พ.ศ. 2539 จำนวน 63 รูป
พ.ศ. 2540 จำนวน 37 รูป
พ.ศ. 2541 จำนวน 56 รูป
พ.ศ. 2542 จำนวน 36 รูป
พ.ศ. 2543 จำนวน 58 รูป
พ.ศ. 2544 จำนวน 52 รูป
พ.ศ. 2545 จำนวน 59 รูป
พ.ศ. 2546 จำนวน 34 รูป
พ.ศ. 2547 จำนวน 56 รูป
- จัดกิจกรรมพัฒนาจิตใจโดยการจัดให้มีการประพฤตวัตรปฏิบัติธรรมเข้าปริวาส
และบวชชีพราหมณ์ในวันที่ 15 25 มีนาคม ของทุกปี มีพระภิกษุสามเณรจากทั่วประเทศจำนวน
100-240 รูป ลีประชาชนมีจิตศรัทธาร่วมบวชชีพราหมณ์ปฏิบัติธรรม
ประมาณปีละ 80-140 คน และมีผู้สนใจมาร่วมทำบุญและปฏิบัติธรรมวันละประมาณ
500 คน
- จัดให้มีการบวชศีลจาริณี
(หญิงผู้ประพฤติธรรม) ปีละ 50 คน ในเดือนสิงหาคมของทุกปี
- จัดตั้งห้องสมุดในวัด และจัดหาหนังสือธรรมะ
และสารคดีต่าง ๆ มาไว้ให้พระภิกษุสามเณรและประชาชนทั่วไปยืมอ่าน
- จัดพระธรรมทูต ออกอบรมศีลธรรมในโรงเรียน
ตามโครงการส่งเสริมศีลธรรมแก่เยาวชน ของสำนักงานศึกษาธิการจังหวัด
- ร่วมกิจกรรมกับทางราชการในการออกเยี่ยมประชาชนในถิ่นกันดาร
- จัดให้มีการสอนอบรมเด็กก่อนเกณฑ์ในวัด
(ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กวัดท่าไทร) เพื่อเป็นการช่วยแบ่งเบาภาระค่าครองชีพของพ่อแม่ผู้ปกครองเด็ก
และเป็นการฝึกหัดจริยา และค่านิยมที่ดีงามและถูกต้องแต่เยาว์วัย
- ด้านฝึกอบรมบริการวิชาชีพ
- จัดฝึกอบรมพิมพ์ดีดภาษาไทย-อังกฤษ
แก่พระภิกษุสามเณร ข้าราชการประชาชน และเยาวชนทั่วไปทุกวัน โดยผู้เข้ารับการอบรมไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย
- จัดอบรมคอมพิวเตอร์โปรแกรมธุรกิจ
เช่น Dos,CW, RW, Rama, Word, Windows, Windows 95, Windows
98, Windows Me, Excel เป็นต้น แก่พระภิกษุสามเณร ข้าราชการประชาชน
และเยาวชนทั่วไปทุกวัน โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย
- จัดฝึกอบรมหลักสูตรช่างเทคนิคคอมพิวเตอร์
ประกอบด้วยเทคนิคการประกอบ ซ่อม อัพเกรด และบำรุงรักษาเครื่องคอมพิวเตอร์
เป็นต้น แก่พระภิกษุสามเณร นักเรียน นักศึกษา ข้าราชการ และประชนทั่วไป
โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย
- ให้บริการโดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย
ในการประกอบ ซ่อม อัพเกรดคอมพิวเตอร์ทุกรุ่นทุกยี่ห้อ ให้กับวัด
หน่วยงานราชการ หน่วยงานเอกชน ห้างร้าน และประชาชนทั่วไปทุกวัน
โดยมีสถิติในการให้บริการซ่อมและอัพเกรดคอมพิวเตอร์ประมาณเดือนละ
90 เครื่อง และบริการประกอบเครื่องใหม่ประมาณเดือนละ 15 เครื่อง
- โครงการสงเคราะห์และพัฒนาชุมชนที่กำลังเร่งดำเนินการในปัจจุบัน
- โครงการ บ้านช่วยวัด-วัดช่วยบ้าน
เพื่อให้การสงเคราะห์ชาวบ้านและวัดวาศาสนาที่ได้รับความเดือดร้อน
เช่น ได้รับอุทกภัย วาตภัย อัคคีภัยตกงาน เป็นต้น โดยนำเงินทุนในการดำเนินการจากผลิตผลทางการเกษตร
(ผลไม้) จำนวน 120 ไร้ ที่สำนักสงฆ์ถ้ำสันติธารา (สาขาวัดท่าไทร)
ตำบลคลองสระ อำเภอกาญจนดิษฐ์ จังหวัดสุราษฎร์ธานี และเงินจากผู้มีจิตศรัทธาร่วมบริจาคตั้งเป็นกองทุน
- โครงการ สมภารเลี้ยงเณร
เพื่อให้การสงเคราะห์พระภิกษุ สามเณรในวัดท่าไทร และในจังหวัดสุราษฎร์ธานี
โดยนำรายได้จากผลิตผลทางการเกษตรคือขายยางแผ่นจากสวนยาง จำนวน
40 ไร่ (จากเนื้อที่ทั้งหมด 62 ไร่) ที่บ้านตะปาน ตำบลกรูด อำเภอพุนพิน
จังหวัดสุราษฏร์ธานี
- โครงการ พ่อแม่เลี้ยงลูก
เพื่อให้การสงเคราะห์ทุนประกอบอาชีพแก่ศิษยานุศิษย์องวัดท่าไทรโดยนำรายได้จากผลิตผลทางการเกษตร
เช่น การขายลองกอง ที่นมพร่า ตำบลป่าร่อน อำเภอกาญจนดิษฐ์ จังหวัดสุราษฎร์ธานี
- โครงการ สวนป่าสมุนไพรในวัด
ตามนโยบายและโครงการสวนสมุนไพรในวัดของกรมการศาสนา กระทรวงศึกษาธิการ
ขณะนี้กำลังอยู่ในระหว่างการเตรียมการเพื่อดำเนินการ
- โครงการ ทุนการศึกษาพระภิกษุสามเณร
เพื่อให้การสนับสนุนการศึกษาแก่พระภิกษุสามเณรในการศึกษาเล่าเรียนนักธรรม
บาลี และระดับอุดมศึกษา โดยได้รับเงินจากผู้มีจิตศรัทธา ร่วมบริจาคตั้งเป็นกองทุนเพื่อการนี้
- โครงการ จักรยานคนจน
โดยให้การสงเคราะห์จักรยานและนักเรียนที่เรียนดีแต่ยากจน อาทิ
เช่น จัดซื้อจักรยานมอบให้แก่นักเรียนโรงเรียนกาญจนดิษฐ์ เป็นเงิน
6,000 บาท
- โครงการ สนับสนุนการแข่งขันกีฬา
เพื่อให้การสงเคราะห์งบประมาณสนับสนุนการจัดการแข่งขันกีฬาประเภทต่าง
ๆ ดังเช่น ให้การสนับสนุนการแข่งขันกีฬาของอำเภอกาญจนดิษฐ์ ปีละ
5,000.00 บาท
- โครงการ สงเคราะห์ด้านสาธารณสุข
โดยการให้การสงเคราะห์กิจการโรงพยาบาลต่าง ๆ ดังเช่น สนับสนุนการจัดซื้อเตียงคนไข้มอบให้โรงพยาบาลกาญจนดิษฐ์
จำนวน 30 ชุด เป็นเงิน 36,000.00 บาท
- โครงการให้ทุนดำเนินการ
โครงการอาหารกลางวันนักเรียน ในโรงเรียนต่าง ๆ ดังเช่น โรงเรียนบ้านม่วงลีบ
อำเภอกาญจนดิษฐ์ เป็นเงิน 5,000.00 บาท
- โครงการ สร้างสวนป่าพระมหาชนกเฉลิมพระเกียรติ
จำนวน 40 ไร่ ตำบลหนองไทร อำเภอพุนพิน จังหวัดสุราษฏร์ธานี (ขณะนี้กำลังอยู่ในระหว่างการจัดหาทุนเพื่อจัดซื้อที่ดินดังกล่าว)
และเมื่อจัดซื้อเรียบร้อยจะดำเนินการปลูกป่าไม้ยืนต้น เช่น ไม้ยางนา
มะม่วง เป็นต้น
- โครงการ มอบพระพุทธรูปสักการะบูชาแก่สถานศึกษา
เช่น มอบพระพุทธรูปบูชาหน้าตักกว้าง 29 นิ้ว แก่โรงเรียนบ้านคลองสระ
ตำบลคลองสระ อำเภอกาญจนดิษฐ์ เป็นต้น
- โครงการ ทุนการศึกษาสงเคราะห์เด็กนักเรียนที่เรียนดีแต่ยากจน
ซึ่งขณะนี้ได้ให้ทุนการศึกษาแก่นักเรียนในโรงเรียนต่าง ๆ ดังเช่น
- โรงเรียนท่าอุแทวิทยาคม
ต.ท่าอุแท อ.กาญจนดิษฐ์ เป็นเงิน 15,000.00 บาท
- โรงเรียนกาญจนดิษฐ์ อ.กาญจนดิษฐ์ เป็นเงิน 15,000.00 บาท
- โรงเรียนวัดท่าไทร (ดิตถานุเคราะห์) อ.กาญจนดิษฐ์ เป็นเงิน 134,046.00 บาท
- โรงเรียนบ้านควนนิมิต ต.ทุ่งรัง อ.กาญจนดิษฐ์ เป็นเงิน 2,000.00 บาท
- โครงการ ให้ทุนดำเนินกิจการร้านสหกรณ์ของสถานศึกษา
เพื่อให้สถานศึกษาต่าง ๆ ได้มีการดำเนินการกิจการสหกรณ์องนักเรียน
โดยนักเรียน และเพื่อนักเรียน ดังเช่น ให้ทุนจัดตั้งกิจกรรมสหกรณ์โรงเรียนวัดท่าไทร
(ดิตถานุเคราะห์) เป็นเงิน 4,000.00 บาท
- โครงการ ให้การสงเคราะห์อุปกรณ์ในการจัดงานพิธีต่าง
ๆ ดังเช่น ให้การสนับสนุนอุปกรณ์ แสง เสียง โต๊ะ เก้าอี้ เสื่อ
สาด หมอน และเครื่องครัว เช่น ช้อน จานชาม เป็นต้น แก่หน่วยงานราชการ
เอกชน วัด และประชาชนในท้องถิ่นเป็นประจำ
- งานสาธารณูปการ
- การสร้างสาธารณูปการ
พ.ศ.
2537 ดำเนินการก่อสร้าง กุฏิสงฆ์ จำนวน 1 หลัง ลักษณะทรงไทยบังกะโลเป็นอาคารคอนกรีต
เสริมเหล็ก 2 ชั้น หลังคามุงด้วย กระเบื้องลอนคู่ ทาสีทั้งหลัง
ขนาดกว้าง 6 เมตร ยาว 8 เมตร แล้วเสร็จบริบูรณ์ ราคาค่าก่อสร้าง
เป็นจำนวนเงิน 168,955 บาท (เงินหนึ่งแสนหกหมื่นแปดพันเก้าร้อยห้าสิบห้าบาทถ้วน)
พ.ศ.
2538 ดำเนินการก่อสร้าง โรงเรียนปริยัติธรรม 1 หลัง ขนาด
8 เมตร ยาว 12 เมตร เป็นอาคารไม้ ครึ่งและคอนกรีตเสริมเหล็กครึ่ง
2 ชั้น หลังคามุงด้วยกระเบื้องลอนคู่ ทาสีทั้งหลัง แล้วเสร็จบริบูรณ์ราคาค่าก่อสร้าง
เป็นจำนวนเงิน 342,350 บาท (เงินแปดแสนสี่หมื่นสองพันสามร้อยห้าสิบบาทถ้วน)
รวมผลงานค่าก่อสร้างทุกรายการ
เป็นจำนวนเงิน 4,511,305 บาท (เงินสี่ล้านห้าแสนหนึ่งหมื่นหนึ่งพันสามร้อยห้าบาทถ้วน)
- งานบูรณปฏิสังขรณ์ถาวรวัตถุภายในวัด
พ.ศ. 2537 ดำเนินการบูรณะศาลาการเปรียญ
1 หลัง เป็นอาคารไม้ ชั้นเดียวพื้นปูนขัดมันขนาดกว้าง 14 เมตร
ยาว 30 เมตร ด้วยการเปลี่ยนกระเบื้องหลังคา และปรับพื้นบางส่วนต่อเติมอาคารและทำห้องน้ำห้องสาทาสี
หลังแล้วเสร็จบริบูรณ์ ให้การได้สมบูรณ์ในปัจจุบันราคาค่าก่อสร้าง
เป็นจำนวนเงิน 282,750 บาท (เงินสองแสนแปดหมื่นสองพันเจ็ดร้อยห้าสิบบาทถ้วน)
พ.ศ. 2537-2540 ดำเนินการบูรณะอุโบสถวัดท่าไทร
จำนวน 1 หลังลักษณะทรงไทยของกรมศิลปากร ขนาดกว้าง 9 เมตร ยาว
22 เมตร ด้วยการเปลี่ยนโครงสร้างหลังคา มุงด้วยกระเบื้องเคลือบ
ติดช่อฟ้า ใบระกา ฯลฯ วาดภาพพุทธประวัติ ภายในทั้งหมด และทาสีทั้งหลับ
เสร็จเรียบร้อยราคาค่าบูรณะ เป็นจำนวนเงิน 3,192,750 บาท (เงินสามล้านหนึ่งแสนเก้าหมื่นสองพันเจ็ดร้อยห้าสิบบาทถ้วน)
งานด้านสาธารณูปการ
ทั้งด้านการก่อสร้างและการบูรณปฏิสังขรณ์ถาวรวัตถุภายในวัดได้ดำเนินการอย่างมีระเบียบลั่นคงถาวร
ประกอบกับการดูแลปรับปรุงและรักษาความสะอาดบริเวณวัดอยู่เสมอ รวมทั้งการปลูกต้นไม้หลายชนิดทั้งไม้ผลและไม้ที่ให้ร่มเงา
บริเวณวัดมีกำแพงล้อมรอบ เป็นที่ปรากฏแก่ประชาชนทั่วไปว่าวัดท่าไทรได้รับการพัฒนาบริเวณวัดร่มเงา
บริเวณวัดมีกำแพงล้อมรอบ เป็นที่ปรากฏแก่ประชาชนทั่วไปว่าวัดท่าไทรได้รับการพัฒนาบริเวรัดร่มรื่นเรียบร้อยสวยงามและได้รับการยกย่องจากกรมการศาสนาในเป็นวัดพัฒนาตัวอย่าง
2.5 ผลงานที่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี
เจ้าคุณ
พระราชพิพัฒนาภรณ์ (ชูชาติ กันตวัณณเถระ) เป็นพระเถระผู้ใหญ่เพียบพร้อมด้วยศีลาจารวัตร
และโดยฐานะเจ้าคระจังหวัด จึงเป็นที่เคารพนับถือของข้าราชการและประชาชนชาวสุราษฎร์ธานี
ท่านได้ให้ความร่วมมือและสนับสนุนภารกิจของมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี
ในหลายด้านตลอดมา ซึ่งปรากฏผลงาน ดังนี้
2.5.1
การศึกษาระดับปริญญาตรีของพระสังฆาธิการ โดยท่านได้ให้คำปรึกษาและสนับสนุนให้มหาวิทยาลัยจัดการศึกษาระดับปริญญาตรีแก่พระสังฆาธิการในท้องถิ่น
ซึ่งปัจจุบันก็กำลังดำเนินการอยู่
2.5.2
การจัดสร้างสถานศึกษาของมหาวิทยาลัยที่อำเภอเกาะสมุย ท่านได้ให้ความร่วมมือประสานงานจัดหาสถานี่จัดสร้างสถานศึกษาของมหาวิทยาลัยในท้องที่อำเภอเกาะสมุย
โดยติดต่อประสานงานกับวัดและเจ้าคณะอำเภอเกาะสมุยเพื่อให้การสนับสนุนสถานที่วัดที่เหมาะสมกับการสร้างสถานศึกษาของมหาวิทยาลัย
ซึ่งมีอยู่ 2 วัด ที่พร้อมจะให้ความร่วมมือ ซึ่งปัจจุบันอยู่ในช่วงติดต่อประสานงาน
2.5.3 การเป็นที่พึ่งทางใจ
ท่านเป็นพระเถระผู้ใหญ่ที่เป็นที่ศรัทธาเลื่อมใสของผู้บริหารและลุคลากรของมหาวิทยาลัย
ท่านได้ให้ความร่วมมือรับอาราธนามาเป็นประธานสงฆ์ในงานพิธีต่าง ๆ ของมหาวิทยาลัยตลอดมา
เช่น ได้เป็นประธานที่พึ่งทางใจ และเป็นมงคลแก่การดำเนินชีวิตของผู้เลื่อมใสศรัทธาเสมอ
- เป็นผู้ดำรงตนอยู่ในคุณธรรม
ศีลธรรม จารีต ประเพณีและวัฒนธรรมอันดีงาม
เจ้าคุณพระราชพิพัฒนาภรณ์
(ชูชาติ กันตวัณณเถระ) ได้อุปสมบทตั้งแต่อายุ 22 ปี และมั่นคงอยู่ในสมณเพศมาโดยตลอด
ในระหว่างอุปสมบทท่านสนใจในการศึกษาพระปฏิยัติธรรม จนสอบไล่ได้เปรียญธรรม
5 ประโยค และยังเป็นผู้ใฝ่เรียนศึกษาหาความรู้ต่าง ๆ จนเชี่ยวชาญในวิชาภาษาขอม
วิชาโหราศาสตร์ และการใช้ยาสมุนไพร รวมทั้ง ผ่านการอบรมหลักสูตรต่าง
ๆ เช่น พระสงฆ์ผู้นำการพัฒนาสังคมไทยที่ยั่งยืน จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์,
ผ่านการฝึกอบรมวิชาการบัญชีและเลขานุการสำหรับพระสังฆาธิการระดับวัด,
สำเร็จการฝึกอบรมตามหลักสูตรพระสังฆานุรักษ์สิ่งแวดล้อม จากสำนักงานคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ
การทรวงวิยาศาสตร์เทคโนโลยีและการพลังงาน ซึ่งถือเป็นตัวอย่างที่ดีในการพัฒนาตนเอง
นอกจากนี้ ท่านยังเป็นผู้ดำรงตนอยู่ในคุณธรรมสมบูรณ์ด้วยศีลาจารวัตร
เป็นพระเถระที่มีเมตตาธรรม มีกรุณาต่อชนทั่วไป อัธยาศัยละมุนละไม ไม่ถือตัว
ใคร ๆ สามารถเข้าพบปะได้ง่าย ปฏิบัติศาสนกิจและสังฆกรรมต่าง ๆ อย่างสม่ำเสมอ
และปกครองดูแลพระสงฆ์และสามเณรให้ปฏิบัติชอบด้วยธรรมวินัย ขนบธรรมเนียมประเพณีและกฎหมายบ้านเมือง
เจ้าคุณพระราชพิพัฒนาภรณ์
(ชูชาติ กันตวัณณเถระ) ยึดหลักการในการทำงานว่า จะทำงานเพื่อทดแทนคุณชาติ
พระศาสนา และพระมหากษัตริย์ ด้วยความอดทนเสียสละ เห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวมเป็นที่ตั้ง
ตามวิถีแห่งพุทธธรรม โดยมุ่งสร้างคนมากกว่าสร้างวัตถุ
สรุป
เจ้าคุณพระราชพิพัฒนาภรณ์
(ชูชาติ กันตวัณณเถระ) ได้สร้างคุณประโยชน์ แก่ประเทศชาติและพระศาสนาเป็นอเนกประการ
โดยเฉพาะแก่ชาวจังหวัดสุราษฎร์ธานี ในฐานะเจ้าคณะจังหวัดซึ่งเป็นพระสังฆาธิการตำแหน่งสูงสุดของจังหวัดก้ได้ทำหน้าที่กิจการคระสงฆ์
ให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อยในทุกด้าน ไม่ว่าด้านการปกครอง การศึกษา
การเผยแผ่และการสาธารณูปการ ท่านทำงานอย่างมีอุดมการณ์ที่จะสร้างคน
พัฒนาคนให้เจริญก้าวหน้า ตลอดระยะเวลาอันยาวนานที่ท่านดำรงสมณเพศและรับตำแหน่งปกครองสงฆ์ตั้งแต่ระดับเจ้าอาวาสจนถึงตำแหน่งเจ้าคณะจังหวัด
ท่านได้ดำเนินกิจกรรมโครงการอันเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาคนโดยเฉพาะแก่เยาวชนมากมาย
เช่น โครงการศึกษาสงเคราะห์เด็กนักเรียนที่เรียนดีแต่ยากจน โครงการให้ทุนดำเนินการกิจการร้านค้าสหกรณ์ในสถานศึกษา
และโครงการสร้างสวนป่าพระมหาชนกเฉลิมพระเกียรติ เป็นต้น จะเห็นได้ว่าแต่ละโครงการท่านจัดทำขึ้นมาก็เพื่อพัฒนาคน
หรือให้โอกาสแก่คนได้พัฒนาตนและพัฒนาชุมชนทั้งสิ้น
ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี
ท่านได้ร่วมโครงการให้พระภิกษุสามเณรโดยเฉพาะพระสังฆาธิการในปกครองของท่านได้มาศึกษาเล่าเรีนในระดับปริญญาตรีในมหาวิทยาลัยและโครงการต่อไปคือท่านได้ให้คำปรึกษาและสนับสนุนให้มหาวิทยาลัยไปจัดการศึกษาและส่งเสริมศาสนาศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่นที่เกาะสมุย
ซึ่งกำลังอยู่ในระยะเริ่มต้นดำเนินการ จึงนับได้ว่าท่านเป็นผู้มีวิสัยทัศน์
และเห็นความสำคัญของการพัฒนาคนโดยอาศัยวิธีการทางการศึกษา นอกจากนั้นธรรมกถาซึ่งเป็นผลงานทางวิชาการของท่านก็มีสาระให้ข้อคิดและแนวปฏิบัติให้บุคคลทำความดี
ทำตนเป็นที่พึ่งแห่งตน ให้บุคคลรู้จักพัฒนาตนและชุมชนสังคมของตนต่อไป
สมกับราชทินนามของสมณศักดิ์ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระราชทานแก่ท่านว่า
พระราชพิพัฒนาภรณ์ ซึ่งมีความหมายตรงกับอุดมคติและกรณียกิจที่ท่านได้กระทำตลอดมาเป็นอย่างยิ่งว่า
พระเถระผู้ทรงคุณอันประดับด้วยการสร้างสรรค์พัฒนาความเจริญก้าวหน้าแก่มวลมนุษย์อย่างพิเศษยิ่ง
สมควรเป็นพระสงฆ์ตัวอย่างที่เปี่ยมไปด้วยเมตตาคุณและพรหมวิหารธรรมเป้นอย่างยิ่ง
คระกรรมการสรรหาผู้สมควรได้รับปริญญากิตติมศักดิ์ โปรแกรมการพัฒนาชุมชน
คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มีความเห็นเป็นเอกฉันท์ว่า เจ้าคุณพระราชพิพัฒนาภรณ์
(ชูชาติ กันตวัณณเถระ) สมควรได้รับยกย่องให้เป็นผู้ทรงคุณวุฒิทางการศึกษา
ให้ได้รับปริญญากิตติมศักดิ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการพัฒนาชุมชน
เพื่อเป็นตัวอย่างให้ปรากฏแก่บุคคลทั้งปวงสืบไป
|