คำอธิบายคำขวัญ
หอยใหญ่นางรม
เป็นที่รู้จักทั่วไป
หอยใหญ่ที่ว่า คือ หอยนางรมพันธุ์โต หรือหอยตะโกรม ซึ่งเริ่มต้นเลี่ยงกันที่ปากน้ำท่าทอง
เป็นแห่งแรกแล้วเป็นอาชีพได้เป็นอำเภอแรก
หรือจะกล่าวว่าเป็นแห่งแรกของประเทศก็ว่าได้
และมีการพัฒนาจนเป็นแหล่งเลี้ยงหอยนางรมแหล่งใหญ่มาจนทุกวันนี้หอยนางรมพันธุ์นี้มีแหล่งกำเนิดอยู่ในคลองใกล้ปากน้ำมาแต่โบราณแล้วตามปกติชาวบ้านโดยเฉพาะเด็กโตได้ดำน้ำงมเก็บมาขายทราบว่าแม่พันธุ์หอยอยู่ตามชอกหินนายฝั่ง
ออกไข่กลายเป็นตัวอ่อนลอยไปตามกระแสน้ำอยู่ในช่วงระยะหนึ่งตัวไหนเจอวัสดุแข็งก็จับเกาะเลี้ยงตัวไปจนตลอดชีวิตตัวที่หาที่จับเกาะไม่ได้ก็ตายไปเคยแนะนำให้ทำพวงเปลือกหอยล่อให้ลูกหอยจับก็ไม่ค่อยมีผู้สนใจ
ถึง พ.ศ. ๒๕๐๓ นายไสว วิเชียรฉาย ราษฎรหมู่ที่ ๑ ตำบลท่าทอง ชาวประมงยอปีกที่ปากน้ำท่าทอง
ให้ความร่วมมือเป็นคนแรก เพราะเมื่อการปักรั้วทำห้างยอ ได้มีลูกหอยมาพบจับเกาะปรากฏขึ้น
จึงแนะนำให้สังเกตว่าลูกหอยโตเร็วเพียงใดปรากฏว่าหอบอ้วนพีดีมากเพียง๘เดือนก็แกะขายได้นั่นคือทำให้แน่ใจว่าเลี้ยงขายเป็นอาชีพได้ก็ได้ให้นายไสวดำเนินการกั้นคอกและนำลูกหอยจากลำคลองมาปล่อยไว้ไม่นานก็เก็บขายได้เงินดีกว่าทำยอปีกเสียอีก
นายไสวจึงขยายงานทำการเลี้ยงเป็นจำนวนมาก ชาวประมงรายอื่นเห็นตัวอย่างก็ทำตามมากขึ้น
บางคนเลิกทำโป๊ะมาเลี้ยงหอย เหล่านายทุนก็ยื่นมือมาสนับสนุนเพื่อผลประโยชน์
บ้างก็ไปลงมือเอง การเลี้ยงหอยที่ปากน้ำท่าทองทำกันเองตามประสาชาวบ้าน
เมื่อรัฐให้การสนับสนุนให้มีความรู้วิชาการ การเลี้ยงหอยนางรมต่อมาได้พัฒนาทันสมัยและเผยแพร่มากยิ่งขึ้น
โดยคนมีทุนมากๆเป็นผู้ดำเนินการ นายไสว เป็นชาวบ้านธรรมดาย่อมไม่มีแรงสู้จนถูกลบหายไป
เวลานี้ผู้ที่เลี้ยงหอยมีรายได้ร่ำรวยย่อมไม่ทราบ และคงไม่สนใจว่าอาชีพนี้
กำเนิดมาได้อย่างไรใครเป็นผู้เริ่มปลุกให้ตื่นขึ้นมา
ชมวิทยาลัยฝึกลิง
การฝึกลิงเป็นภูมิปัญญาชาวบ้านและเทคโนโลยีท้องถิ่น
อำเภอกาญจนดิษฐ์ จังหวัด สุราษฎร์ธานี มีพืชเศรษฐกิจอยู่ชนิดหนึ่ง
คือ มะพร้าว มะพร้าวมีลำต้นสูงเป็นการยากลำบากที่จะเก็บผล มะพร้าวลงมาจากต้นได้
แต่วิธีที่เก็บผลมะพร้าวได้อย่างง่ายดายและรวดเร็ว วิธีที่ว่าคือ การใช้แรงงานลิงเก็บมะพร้าวแทนคน
ณ หมู่ที่ ๔ บ้านบ่อโฉลกมีวิทยาลัยฝึกลิงเพื่อการเกษตร ซึ่งมีแห่งเดียวในประเทศ
จากการสอบถามความเป็นมา วิธีฝึก ซึ่งรายละเอียด นายสมพร แซ่โค้ว (ปัจจุบันได้เสียชีวิตแล้ว)
ได้เล่าให้ฟัง ดังนี้ การฝึกลิงเพื่อการเกษตร ลิงเป็นสัตว์ประเภทเลี้ยงลูกด้วยนม
อุ้มท้องประมาณ ๕ เดือนเศษ ออกลูกครั้งละ ๑ ตัว เท่าที่พบและทราบว่า
ลิงในประเทศไทยมี ๔ พวก หรือ ๔ ประเภท คือ ๑. ลิงเสน ๒. ลิงกัง ๓.
ลิงลง ๔. ลิงหางยาว แต่ที่ฝึกสอนลิงกัง ในจังหวัดภาคใต้ของไทย มีลิงเก็บมะพร้าวทั่วไปไม่ปรากฏหลักฐานว่าเริ่มขึ้นที่ไหน
เท่าที่ทราบ อินโดนีเซียมาเลเซียและไทยที่มีลิงเก็บมะพร้าวโดยเฉพาะไทยมีมาแล้วประมาณ
๘๐ ปี จากป่ามาเป็นนักเรียนและอัตราค่าการเล่าเรียนฝึกจนจบหลักสูตร
นักเรียนถูกจับมาจากป่า อายุประมาณ ๑-๒ ปี ค่าฝึกสอน ๓,๐๐๐ - ๓,๕๐๐๐
บาท หลักสูตรไม่เกิน ๓ -๔ เดือน ลิงออกจากป่าราคาขายกัน ๘๐๐ ๒,๐๐๐
บาท ลิงอายุ ๔ ปี ถึง๑๐ ปี ราคาสูง หากทำงานเก่งราคาตัวละ ๑๕,๐๐๐ บาท
ตัวเมียไม่ค่อยนิยม กำลังน้อย ราคาฝึกเท่ากับตัวผู้ ราคาซื้อขายถูกมาก
ส่วนมากผู้ดักแล้วปล่อยตัวไป การฝึก เมื่อรับนักเรียนไว้แล้ว ต้องตรวจสุขภาพ
ถ่ายพยาธิ จากนั้นเลี้ยงให้เชื่อง หัดให้เล่นลูกมะพร้าว ลูกสีคล้ำ
ลูกแก่จัด ฝึกให้รู้จักวิธีการจับมะพร้าวหมุน ฝึกวันละประมาณ ๓๐ นาที
หรือ ๑ ชั่วโมง ใช้หลักสูตรให้สอดคล้องตามอัธยาศัย
มากยิ่งกุ้งกุลาดำ
กุ้งกุลาดำ เลี้ยงมากบริเวณชายทะเลแถบตำบลตะเคียนทอง
ตำบลกะแดะ ตำบลพลายวาส ตำบลท่าทอง และตำบลท่าทองใหม่ กุ้งกุลาดำ เป็นสินค้า
ที่สำคัญของชาวอำเภอกาญจนดิษฐ์ ในขณะนี้การเลี้ยงก็ซบเซาลงเนื่องจากภาวะเศรษฐกิจของประเทศ
งามล้ำพระไสยาสน์
ในท้องที่อำเภอกาญจนดิษฐ์มีพระพุทธไสยาสน์
พระพุทธรูปที่งดงามเป็นจำนวนมากและจะเป็นหลักฐานให้ทราบว่าดินแดนในท้องที่อำเภอกาญจนดิษฐ์
จังหวัดสุราษฎร์ธานีนั้น ได้มีผู้คนตั้งหลักแหล่งอาศัยอยู่เป็นกลุ่มๆมานาน
บริเวณลุ่มน้ำท่าทองเป็นกลุ่มหนึ่งที่มีโบราณสถาน โบราณวัตถุ และมีชื่อสถานที่สอดคล้องกับตำนานและพงศาวดารอยู่หลายแห่ง
ซึ่งก็เป็นเครื่องชี้บอกว่า บริเวณนี้ได้มีการพัฒนาเป็นชุมชนระดับเมืองมาตั้งแต่สมัยศรีวิชัยเป็นอย่างน้อย
เมืองนั้น คือ เมืองท่าทอง เมืองท่าทอง นับเป็นเมืองใหญ่ สามารถติดต่อกับเมืองคีรีรัฐนิคม
เป็นเมืองที่ตั้งอยู่บริเวณที่ราบลุ่ม ที่ใกล้ชิดกับเมืองนครศรีธรรมราช
ซึ่งต่อมาก็ได้เป็นเมืองในเมืองสิบสองนักษัตรด้วย เชื่อว่าเป็นเมืองสะอุเลา
เพราะตั้งอยู่ตลอดลุ่มน้ำท่าทองอุแท (ท่าทองอุทัย) หรือเมือง สะอุเลาเดิม
อายุเมืองท่าทองคงจะอยู่ในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๑๘ - ๑๙ เท่านั้น แต่ก็มีบางแห่งอาจจะเก่ากว่านั้นอีก
เพราะชุนเหกล่านี้ได้กระจายอยู่หลายแห่ง ซึ่งอาจจะมีอายุไม่เท่ากันก็ได้
เช่น ในท้องที่อำเภอกาญจนดิษฐ์ได้พบโบราณวัตถุมากมายหลายยุคหลายสมัย
นับตั้งแต่สมัยทวารวดีเป็นต้นมาตามภูเขาและในถ้ำในเขตอำเภอกาญจนดิษฐ์ได้พบพระพิมพ์แบบทวารวดีและศรีวิชัยอยู่เป็นจำนวนมาก
ซึ่งสามารถที่จะยืนยันได้ว่าเมืองท่าทองนี้เป็นเมืองเก่าที่อาจจะมีอายุอยู่ในระหว่างพุทธศตวรรษที่
๑๑- ๑๘ ก็เป็นได้ นักโบราณคดีได้ทำการสำรวจในบริเวณตำบลช้างขวา และตำบลในเขตใกล้เคียงซึ่งเป็นชุมชนเก่าแก่
เช่น ที่ วัดถ้ำคูหา พบว่ามีโบราณวัตถุศิลปสมัยทวารวดีอยู่เป็นจำนวนมาก
และมีความสำคัญยิ่งแต่ละชิ้นมีลักษณะเป็นฝีมือช่างชั้นสูง
พุทธบาทควรผดุง
หมายถึง
รอยพระพุทธบาท วัดพระพุทธบาทศรีสุราษฎร์ ตั้งอยู่ที่ หมู่ ที่ ๖ ตำบลท่าอุแท
อำเภอกาญจนดิษฐ์ ซึ่งตั้งวัดเมื่อ พ.ศ. ๒๕๒๖ เดิมเรียกว่า พระพุทธบาทวัดเขาต่อ
รุ่งเรืองเมืองท่าทอง หมายถึง เมืองท่าทอง เป็นเมืองใหญ่ที่มีความเจริญรุ่งเรือง
มาตั้งแต่สมัยศรีวิชัย อายุของเมืองท่าทองอยู่ในช่วงศตวรรษที่ ๑๘ ๑๙
เพราะชุมชนเหล่านี้ได้กระจายอยู่หลายแห่ง เช่น ในท้องที่อำเภอกาญจนดิษฐ์
ได้พบโบราณวัตถุมากมาย หลายยุคหลายสมัย นับตั้งแต่สมัยทวารวดี เป็นต้นมา
ที่สามารถยืนยันได้ว่า เมืองท่าทองนี้เป็นเมืองเก่าแก่ นักโบราณดคีได้ทำการสำรวจในบริเวณตำบลช้างขวา
และตำบลใกล้เคียง ซึ่งเป็นชุมชนเก่าแก่ เช่น ถ้ำวัดคูหา พบว่า มีโบราณวัตถุศิลปสมัยทวาราวดีอยู่เป็นจำนวนมาก
และมีความสำคัญยิ่ง เป็นลักษณะฝีมือช่างชั้นสูง นับว่าเป็นเมืองรุ่งเรืองมาแต่อดีต
หมายเหตุ.-
คณะผู้จัดทำพิจารณาเห็นว่า
บทความนี้มีเนื้อหาสาระที่เป็นประโยน์ต่อสังคม ท้องถิ่น และประเทศชาติ
ควรค่าแก่การศึกษา จึงขออนุญาตนำมาลงให้ได้อ่านกัน และขอขอบคุณแหล่งข้อมูล.-http://www.geocities.com/suratculture/kam/gandid.htm
และขอบคุณเจ้าของบทความไว้ ณ ที่นี้ด้วย
|