เหตุการณ์ในอดีตประจำเดือน เมษายน
รวมเรื่องราวที่เกิดในอดีตทุกเดือนเพื่อเป็นข้อมูลแก่ผู้สนใจศึกษา ค้นคว้า
โดย... พระมหาบุญโฮม ปริปุณฺณสีโล (ไชยฤทธิ์) วัดท่าไทร จ.สุราษฎร์ธานี

เกร็ดน่ารู้ในเดือนเมษายน.-

           - แม่แบบ:ปฏิทินเมษายน๒๕๕๒ เมษายน เป็นเดือนที่ ๔ ของปี ตามปฏิทินเกรกอเรียน และเป็นหนึ่งในเดือน ๔ เดือนที่มี ๓๐ วัน (เขียนย่อ เม.ย. ภาษาปากเรียก เมษา หรือเดือนเมษา)
           - ตามหลักโหราศาสตร์ เดือนเมษายนเริ่มต้นขึ้นเมื่อดวงอาทิตย์ยกเข้าสู่ราศีเมษ และสิ้นสุดเมื่อยกเข้าสู่ราศีพฤษภ แต่ในทางดาราศาสตร์ ต้นเดือนเมษายนดวงอาทิตย์อยู่ในกลุ่มดาวปลาและปลายเดือนไปอยู่ในกลุ่มดาวแกะ
           - ชื่อในภาษาอังกฤษ “April” มีรากศัพท์มาจากภาษาละติน “aprilis” และ “aperire” หมายถึง “กางออก” ซึ่งอาจหมายถึงการเริ่มต้นของฤดูใบไม้ผลิ หรืออาจมาจาก Apru ชื่อเทพีแห่งความรักในภาษาของชาวอิทรูเรีย ส่วนในประเทศไทยเริ่มใช้ชื่อเดือนเมษายนใน พ.ศ. ๒๔๓๒ ตรงกับสมัยรัชกาลที่ ๕ โดยสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาเทววงศ์วโรปการ เป็นผู้เสนอให้ใช้ราศีกำหนดชื่อเดือน
           - ตามปฏิทินโรมันดั้งเดิม กำหนดให้เดือนเมษายนเป็นเดือนที่ ๒ ของปี และมี ๒๙ วัน จากนั้นจูเลียส ซีซาร์ได้ปฏิรูประบบปฏิทินใหม่ เมื่อ ๔๕ ปีก่อนคริสตกาล กำหนดให้เดือนมกราคมเป็นเดือนแรก ทำให้เดือนเมษายนขยับไปเป็นเดือนที่ ๔ ของปี และมี ๓๐ วัน
           - วันในสัปดาห์ ของแต่ละวันในเดือนเมษายน ตรงกับวันในสัปดาห์ของเดือนกรกฎาคมเสมอ และจะตรงกับวันในสัปดาห์ของเดือนมกราคมในปีอธิกสุรทิน
           - ดอกไม้ประจำเดือนเมษายน คือ ดอกเดซี
           - อัญมณีประจำเดือนเกิดของเดือนเมษายน คือ เพชร

๑ เมษายน - วันข้าราชการพลเรือน, วันออมสิน

 

๑ เมษายน ๒๔๓๕

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้จัดตั้งกระทรวงขึ้น ๑๒ กระทรวง คือ กระทรวงมหาดไทย กระทรวงยุติธรรม กระทรวงกลาโหม กระทรวงนครบาล กระทรวงวัง กระทรวงเกษตราธิราช กระทรวงต่างประเทศ กระทรวงพระคลัง กระทรวงยุทธนาธิการ กระทรวงธรรมการ กระทรวงโยธาธิการ และกระทรวงมุรธาธร สำหรับกระทรวงกลาโหมนั้น ได้กำหนดหน้าที่เป็นกระทรวงราชการทหาร ให้มีหน้าที่บังคับบัญชาทั้งทหารบก และทหารเรือ ซึ่งก่อนหน้านั้น กระทรวงกลาโหมมีหน้าที่ปกครองหัวเมืองฝ่ายใต้ เหมือนกับกระทรวงมหาดไทยที่มีหน้าที่ปกครองฝ่ายเหนือ ไม่มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับ การบังคับบัญชาทหารแต่อย่างใด ในวันที่ ๑ เมษายน ๒๕๓๕ ส่วนราชการต่าง ๆ ได้จัดเฉลิมฉลองในโอกาศครบรอบ ๑๐๐ ปี ของกระทรวงหลายส่วนราชการได้แก่ กระทรวงมหาดไทย กระทรวงเกษตรและสหกรณ์

๑ เมษายน ๒๔๓๖

วันสถาปนา กรมอัยการ สังกัดกระทรวงยุติธรรม ทำหน้าที่เป็นนักกฎหมายของพระมหากษัตริย์ ต่อมาใน พ.ศ. ๒๔๖๕ สมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว มีประกาศพระบรมราชโองการ ให้โอนกรมนี้ไปขึ้นกระทรวงมหาดไทย

๑ เมษายน ๒๔๔๑

จัดตั้งกรมเสนาธิการทหารบก พระองค์เจ้าจิรประวัติดำรงตำแหน่งเป็น เสนาธิการทหารบกพระองค์แรกในกองทัพไทย

๑ เมษายน ๒๔๔๕

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้า ฯ ให้ตราพระราชบัญญัติโรงรับจำนำขึ้น หลังจากนั้น นายเล็ก โทกวณิก ได้ขอตั้งโรงรับจำนำขึ้น ในนามฮั่วเสง อยู่ที่ถนนพาหุรัด โรงรับจำนำนี้เป็นแห่งแรกของประเทศไทย ที่ตั้งขึ้นอย่างถูกต้องตามกฎหมาย

๑ เมษายน ๒๔๔๘

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ ทรงประกาศเลิกทาส และตราพระราชบัญญัติทาส ร.ศ. ๑๒๔ ห้ามมิให้คนเกิดในรัชกาลของพระองค์เป็นทาสอีก ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป

๑ เมษายน ๒๔๕๕

พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้จัดตั้งกระทรวงคมนาคมขึ้น และในปี ๒๕๓๕ นับเป็นวาระครบรอบ ๘๐ ปี ของกระทรวงคมนาคม

๑ เมษายน ๒๔๕๙

พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ ทรงจัดตั้งกองอาสาสมัครน้ำขึ้นเพื่อเป็นกำลังทางน้ำของไทย ดำเนินการป้องกันประเทศ ร่วมกับกองกำลังทางบกของกองอาสาสมัครเสือป่า

๑ เมษายน ๒๔๕๙

เลิกอากรหวย กข. อย่างเด็ดขาด ในรัชกาลที่ ๖

๑ เมษายน ๒๔๖๓

มีพระราชกฤษฎีกา ให้ใช้อัตราเวลาทั่วราชอาณาจักรไทยเป็น ๗ ชั่วโมง ก่อนเวลาในเมืองกรีนิช แห่งประเทศอังกฤษ

๒ เมษายน - วันคล้ายวันพระราชสมภพสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี, วันสายใจไทย, วันอนุรักษ์มรดกไทย, วันหนังสือแห่งชาติ, วันหนังสือเด็กสากล, วันศูนย์รับบริจาคอวัยวะ

๒ เมษายน ๒๓๙๔

พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓ เสด็จสวรรคต

๒ เมษายน ๒๔๗๕

พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๗ เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิด สะพานปฐมราชานุสรณ์เป็นทางการ สะพานนี้ได้โปรดเกล้า ฯ ให้สร้างขึ้นเพื่อเป็นที่ระลึก และเฉลิมฉลองในโอกาสสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ ครบ ๑๕๐ ปี

๒ เมษายน พ.ศ. ๒๔๙๘ (ค.ศ. ๑๙๕๕)

วันพระราชสมภพสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี

๒ เมษายน พ.ศ. ๒๕๑๘ (ค.ศ. ๑๙๗๕)

วันก่อตั้งมูลนิธิสายใจไทย ในพระบรมราชูปถัมถ์ เป็นมูลนิธิที่ก่อตั้งตามพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ โดยมีสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเป็นองค์ประธาน

 

๒ เมษายน พ.ศ. ๒๕๔๙ (ค.ศ. ๒๐๐๖)

การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในไทย พ.ศ. ๒๕๔๙ ซึ่งภายหลังศาลตัดสินให้การเลือกตั้งเป็นโมฆะ

๒ เมษายน พ.ศ. ๒๓๔๘ (ค.ศ. ๑๘๐๕)

วันเกิดฮันส์ คริสเตียน แอนเดอร์เซน นักประพันธ์ชาวเดนมาร์ก - แต่งเรื่องลูกเป็ดขี้เหร่ ( ถึงแก่กรรม ๔ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๑๘)

๓ เมษายน ๒๓๒๕

วันที่สมเด็จพระยามหากษัตริย์ศึก เสด็จกลับจากเขมร

๓ เมษายน ๒๔๕๔

วันสถาปนา โรงเรียนเสนาธิการทหารบก ซึ่งครบรอบ ๘๔ ปีใน พ.ศ. ๒๕๓๖

๓ เมษายน ๒๔๗๓

ได้มีพระราชพิธีถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยาครั้งสุดท้าย ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว

๓ เมษายน ๒๔๘๙

คณะผู้แทนไทยได้ลงนามในความตกลงเลิกสถานะสงคราม กับ ผู้แทนออสเตรเลีย ที่สิงคโปร์ โดยอนุโลมตามความตกลงที่ไทยทำไว้กับอังกฤษ

๔ เมษายน : วันภาพยนต์แห่งชาติ

๔ เมษายน ๒๓๙๔

พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ ทรงลาผนวช

๔ เมษายน ๒๔๔๓

กรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์ ข้าหลวงต่างพระองค์สำเร็จราชการมณฑลอิสาน อยู่เมืองอุบลราชธานีได้นำกองทหารชาวกรุงเทพ ฯ และทหารชาวพื้นเมืองซึ่งได้รับการฝึกมาแล้ว กับได้รับความร่วมมือของกองทัพเมืองนครราชสีมา และเมืองบุรีรัมย์ สามารถจับพวกกบฎผีบุญผีบ้าที่เกิดขึ้นที่เมืองอุบลราชธานีได้

๔ เมษายน ๒๔๗๕

งานพระราชพิธีสมโภชกรุงเทพมหานคร ครบรอบ ๑๕๐ ปี

๔ เมษายน ๒๕๒๕

สมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ ครบรอบ ๒๐๐ ปี

๕ เมษายน ๒๕๒๕

วันที่พสกนิกรชาวไทย ถวายพระสมัญญารัชกาลที่ ๑ ว่า “มหาราช”

๖ เมษายน : วันที่ระลึกมหาจักรีบรมราชวงศ์ (วันจักรี), วันพระบามสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกฯ

๖ เมษายน ๒๓๒๕

พระเจ้าตากสินมหาราช สวรรคต

๖ เมษายน ๒๓๒๕

พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรี เสด็จขึ้นครองราชสมบัติ ตามคำกราบบังคมทูลอันเชิญของบรรดาราษฎร และข้าราชชั้นผู้ใหญ่ ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้จัดให้มีพระราชพิธีขึ้นเป็นครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. ๒๔๖๑ และประกาศให้เป็นวันที่ระลึกมหาจักรี ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา

๖ เมษายน ๒๔๖๑

เริ่มมีพระราชพิธีถวายบังคมพระบรมรูปทรงม้า ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้า ฯ

๖ เมษายน ๒๔๖๒

วันจักรี (เริ่มมาตั้งแต่รัชกาลที่ ๖)

๖ เมษายน ๒๔๗๕

พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชปรารภที่จะพระราชทานรัฐธรรมนูญให้แก่ ประชาชนชาวไทยในวันนี้ แต่คณะรัฐมนตรีกับพระบรมวงศานุวงศ์คัดค้านเห็นว่ายังไม่ถึงเวลาอันสมควร

๗ เมษายน - วันอนามัยโลก

วันอนามัยโลก องค์การอนามัยโลก (World Health Organization, WHO) เป็นองค์กรของสหประชาชาติซึ่งมีกำเนิดมาจาก ประชากรของโลกได้ถูกภัยคุมคามจากโรคระบาดต่างๆ ทำให้เกิดปัญหาที่ต้องพิจารณากันในระหว่างประชาชาติต่างๆ เพราะจะมีโรคระบาดแพร่จากประเทศหนึ่งไปยังประเทศหนึ่งอยู่เสมอ จึงต้องมีการป้องกันและควบคุมโรคติดต่อระหว่างประเทศต่างๆ จึงมีการประชุมเกี่ยวกับสุขภาพอนามัยระหว่างประเทศเป็นครั้งแรกที่กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส เมื่อพ.ศ.๒๓๔๙ เพื่อวางมาตรการควบคุมและกักกันโรคระบาดระหว่างประเทศ

ต่อมาคณะมนตรีด้านสังคมและเศรษฐกิจแห่งสหประชาชาติ ได้จัดให้มีการประชุมว่าด้วยสุขภาพระหว่างประเทศ เมื่อพ.ศ.๒๔๘๙ ที่เมืองนิวยอร์ก ที่ประชุมได้เล็งเห็นว่าสุขภาพของประชาชนเป็นรากฐานของสันติภาพและความมั่นคงปลอดภัยของประชาชาติทั้งมวล จึงได้จัดตั้งคณะกรรมาธิการเพื่อเตรียมการสถาปนาองค์การอนามัยโลก โดยจัดการร่างธรรมนูญขององค์การอนามัยโลกแล้วเสร็จ ประกาศใช้ธรรมนูญเมื่อวันที่ ๗ เมษายน พ.ศ.๒๔๙๑ สมัชชาองค์การอนามัยโลกจึงกำหนดให้วันที่ ๗ เมษายน ของทุกปีเป็นวันอนามัยโลก (World Health Day) และมีมติให้มีการฉลองพร้อมกันทั่วโลกตั้งแต่ปี ๒๔๙๒ โดยองค์การอนามัยโลก ได้กำหนดข้อปัญหาทางอนามัยขึ้นปีละ ๑ เรื่อง สำหรับตั้งเป็นคำขวัญ เพื่อให้เจ้าหน้าที่สาธารณสุขทั่วโลกใช้เป็นแนวทางในการให้สุขศึกษาแก่ประชาชน คำขวัญดังกล่าวมีครั้งแรกเมื่อปี ๒๔๙๓

กิจกรรม.-รณรงค์ปัญหาสาธารณสุขตามคำขวัญวันอนามัยโลก

 

๗ เมษายน ๒๓๑๐ ไทย เสียกรุงศรีอยุธยา แก่พม่า ครั้งที่ ๒ ในรัชสมัยพระเจ้าเอกทัศน์

วันอังคารเดือน ๕ ขึ้น ๙ ค่ำ ปีกุน (จ.ศ.๑๑๒๙) ตรงกับ วันที่ ๗ เมษายน พ.ศ. ๒๓๑๐

เวลาประมาณบ่ายสามโมง พม่าจุดไฟสุมรากกำแพงเมืองตรงหัวรอที่ริมป้อมมหาชัย และยิงปืนใหญ่ระดมเข้าไปในพระนคร จากบรรดาค่ายที่รายล้อมทุกค่าย พอเพลาพลบค่ำกำแพงเมืองตรงที่เอาไฟสุมทรุดลง เวลา ๒ ทุ่ม แม่ทัพพม่ายิงปืนเป็นสัญญาณให้ทหารเข้าพระนครพร้อมกันทุกด้าน ทหารอยุธยาที่รักษาหน้าที่เหลือกำลังจะต่อสู้ พม่าก็สามารถเข้าพระนครได้ในเวลาค่ำวันนั้นทุกทาง นับเวลาตั้งแต่พม่ายกมาตั้งล้อมพระนครได้ ๑ ปี กับ ๒ เดือน จึงเสียกรุงศรีอยุธยาแก่พม่าข้าศึก

พงศาวดารพม่าระบุว่าทัพพม่าตีเข้าพระนครศรีอยุธยาได้ในเวลาตี ๔ กว่า ของวันพฤหัสบดี ขึ้น ๑๑ ค่ำ เดือนเมษายน พ.ศ.๒๓๑๐ ตรงกับจุลศักราช ๑๑๒๙ โปรดสังเกตว่าวันที่กรุงศรีอยุธยาแตกตามหลักฐานของฝ่ายไทยและพม่าผิดกัน ๓ วัน อาจเป็นเพราะการกำหนดเกณฑ์การตีความหมายว่าพม่าเข้ากำแพงเมืองได้หรือยึดวัง หลวงได้ หรืออาจมีการจดวันคลาดเคลื่อน สาเหตุหนึ่งที่ทำให้เสียกรุงมาจาก “คนทรยศ” ตามคำให้การของชาวกรุงเก่า หน้า ๑๗๔ บอกว่า “...มีคนไทยชื่อ พระยาพลเทพ ข้าราชการในกรุงศรีอยุธยาเอาใจออกห่าง

ลอบส่งศาสตราวุธเสบียงอาหารให้แก่พม่า สัญญาว่าจะเปิดประตูคอยรับเมื่อพม่าเข้าโจมตี และประตูที่พระยาพลเทพ เปิดให้ก็เป็นประตูเมืองทางทิศตะวันออก เข้าใจว่าคงเป็นบริเวณหัวรอ หรือจะห่างจากบริเวณนี้ก็ไม่เท่าใด ซึ่งพม่าก็ได้ระดมเข้าตีปล้นกรุงศรีอยุธยามาทางนี้ ตามที่พระยาพลเทพนัดหมายไว้ โดยเข้าไปได้ในเวลากลางคืน ส่วนวันตามคำบอกของชาวกรุงเก่านั้น ตรงกับวันที่กรุงแตกดังกล่าวมาแล้วข้างต้นเหล่านี้ เป็นเรื่องที่เชลยไทยได้เห็นในขณะนั้น...”

การเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งนี้ เป็นการสูญเสียที่ใหญ่หลวงของชาติไทย ทหารพม่าไล่ฆ่าฟันผู้คนล้มตายเป็นอันมาก ทรัพย์สินสมบัติสูญเสียถูกทำลาย ถูกขุดค้นไปทั่วทุกแห่งหน โดยตั้งใจจะไม่ให้ไทยมีทรัพย์สมบัติอะไรเหลืออยู่ แม้แต่วัดวาอารามอันวิจิตรงดงาม เป็นที่เคารพในพระพุทธศาสนา ซึ่งเป็นศาสนาเดียวกับพม่า พม่าก็เอาไฟเผาและเอาไฟสุมพระพุทธรูปพระศรีสรรเพ็ชรดาญาณ เพื่อให้ทองคำหุ้มองค์ละลาย เก็บเอาทองคำที่หุ้มองค์พระพุทธรูปหนัก ๒๘๖ ชั่ง (๒๓๘.๓๓ กิโลกรัม) ไปใช้ประโยชน์ที่เมืองพม่า อีกทั้งได้กวาดต้อนผู้คนไปเป็นเชลยและทาสยังเมืองพม่า พม่าเอาไฟเผาบ้านเรือนทำลายข้าวของต่าง ๆ อยู่ ๑๕ วัน

 

๗ เมษายน ๒๔๔๐

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จประพาสยุโรปเป็นครั้งแรก โดยเรือพระที่นั่งมหาจักรี มีเรือมกุฎราชกุมาร และเรือ ยงยศอโยชฌิยา เป็นเรือรบตามเสด็จเพียงเมืองสิงคโปร์

๘ เมษายน ๒๓๒๗ : โปรดเกล้าฯให้สร้าง เสาชิงช้า

พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ ๑ โปรดเกล้า ฯ ให้พระครูสิทธิชัย (กระต่าย) สร้างเสาชิงช้า ที่วัดสุทัศน์เทพวราราม เสาชิงช้าทำด้วยไม้สักทาสีแดงชาดสูงประมาณ ๒๑ เมตร เส้นผ่าศูนย์กลางฐานกลมประมาณ ๑๐.๕ เมตร ฐานกลมก่อเป็นฐานปัทม์ทำด้วยหินล้างสีขาว พื้นบนปูกระเบื้องดินเผาสีแดง มีบันได ๒ ขั้น ทั้ง ๒ ด้าน กรมศิลปากรได้ประกาศขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานสำคัญของชาติ เมื่อวันที่ ๒๒ พฤศจิกายน ๒๔๙๒ เสาชิงช้าใช้ใน พิธีโล้ชิงช้า ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของ พิธีตรียัมปวาย เป็นการต้อนรับพระอิศวร หนึ่งในเทพเจ้าของของศาสนาพราหมณ์-ฮินดู ซึ่งจะเสด็จลงมาสู่โลกในวันขึ้น ๗ ค่ำเดือนยี่ วันนั้นจะมีการแห่พระเป็นเจ้าไปถวายพระพรพระเจ้าอยู่หัว พิธีโล้ชิงช้ามีมาตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัยและกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี เดิมจัดในเดือนอ้าย (ธันวาคม) ครั้นเมื่อถึงสมัยรัตนโกสินทร์จึงได้เปลี่ยนมาทำในเดือนยี่ (มกราคม) ต่อมาได้ยกเลิกไปในสมัยรัชกาลที่ ๗ ทั้งนี้ เสาชิงช้าได้ชำรุดและมีการซ่อมแซมอยู่หลายครั้ง ล่าสุดกรุงเทพมหานครได้ตรวจพบร่องรอยเสาชิงช้าที่ชำรุดเมื่อปี ๒๕๔๗ จึงทำการซ่อมแซมและเปลี่ยนเสาชิงช้าใหม่ โดยทำพิธีบวงสรวงเมื่อวันที่ ๒๔ ธันวาคม ๒๕๔๙ โดยนำไม้สักทองจำนวน ๖ ต้นมาจากจังหวัดแพร่ จากนั้น กทม. จะนำเนื้อเยื่อจากไม้สักทองไปเพาะชำเป็นกล้าไม้ ๑ ล้านต้นเพื่อปลูกทดแทนที่จังหวัดแพร่

 

๘ เมษายน ๒๔๓๐

ได้มีประกาศจัดการทหาร ในประเทศนี้ได้รวมบรรดากองทหารบก กองทหารเรือ ทั้งหมด มาขึ้นอยู่ในบังคับบัญชา ของสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช แต่ในระหว่างที่ทรงพระเยาว์อยู่นั้น ได้โปรดเกล้า ฯ ให้ นายพลเอก สมเด็จเจ้าฟ้า ฯ กรมพระยาภาณุพันธุ์วงศ์วรเดช เป็นผู้แทนผู้บัญชาการทั่วไปในกรมทหาร

๘ เมษายน ๒๔๙๕

ตั้งค่ายจิรประวัติ ซึ่งเป็นที่ตั้งของมณฑลทหารบกที่ ๑๓ กองพันทหารช่างที่ ๔ กรมทหารราบที่ ๔ กองพันที่ ๒ กรมทหารราบที่ ๔ อยู่ที่อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์

๙ เมษายน - วันกองทัพอากาศ

๙ เมษายน ๒๔๘๐ ยกฐานะกรมทหารอากาศขึ้นเป็น กองทัพอากาศขึ้นกับกระทรวงกลาโหม

๙ เมษายน พ.ศ. ๒๕๒๘ : ได้มีพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินีในรัชกาลที่ ๗

๙ เมษายน พ.ศ. ๒๕๒๘ พระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี ในรัชกาลที่ ๗ ณ เมรุมาศ ท้องสนามหลวง สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี ทรงมีพระนามเดิมว่า หม่อมเจ้าหญิงรำไพพรรณี สวัสดิวัตน์ ประสูติเมื่อวันที่ ๒๐ ธันวาคม ๒๔๔๗ เป็นพระธิดาใน สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสวัสดิโสภณ กรมพระสวัสดิวัดนวิศิษฎ์ กับ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาภาพรรณี เมื่อทรงเจริญพระชันษาได้ ๒ ปี พระบิดาได้นำเข้าไปถวายตัวแด่ สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ ตามราชประเพณีสมัยก่อน อภิเษกสมรสกับ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๗ ในปี ๒๔๖๘

หลังจากการเปลี่ยนแปลงการปกครองวันที่ ๒๔ มิถุนายน ๒๔๗๕ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี ได้เสด็จพระราชดำเนินไปประเทศอังกฤษ

เมื่อรัชกาลที่ ๗ ได้เสด็จสวรรคต สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี ยังทรงประทับอยู่ในประเทศอังกฤษต่อไป ระหว่างสงครามโลกครั้งที่ ๒ คนไทยในอังกฤษได้รวมตัวกันจัดตั้ง ขบวนการเสรีไทย พระองค์ก็ได้พระราชทานพระกรุณาช่วยเหลือกิจการของเสรีไทยในประเทศอังกฤษมาตลอด

ในปี ๒๔๙๒ รัฐบาลได้กราบบังคมทูล สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี เชิญเสด็จกลับสู่กรุงเทพฯ พร้อมกับพระบรมอัฐิพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว

๒๒ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๒๗ (ค.ศ. ๑๙๘๔) สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี เสด็จสวรรคต ด้วยพระหทัยวาย โดยพระอาการสงบ ณ พระตำหนักวังศุโขทัย รวมพระชนมายุได้ ๗๙ พรรษา ๕ เดือน ๒ วัน

และได้มีพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ ณ พระเมรุมาศ ที่ได้จัดสร้างขึ้น บริเวณท้องสนามหลวง เมื่อวันที่ ๙ เมษายน พ.ศ.๒๕๒๘

 

๑๑ เมษายน - วันพาร์กินสันโลก

วันพาร์กินสันโลก โรคพาร์กินสัน (Parkinson's disease) เป็นโรคที่พบบ่อยในผู้สูงอายุ ผู้ป่วยจะเคลื่อนไหวได้น้อยลง ช้าลง และสั่น ในระยะท้ายของโรคจะมีอาการสมองเสื่อมร่วมด้วย ผู้ที่อธิบายลักษณะโรคนี้เป็นคนแรกคือ นายแพทย์เจมส์ พาร์กินสัน

ได้มีการกำหนดให้วันที่ ๑๑ เมษายน ซึ่งเป็นวันเกิดของนายแพทย์เจมส์ พาร์กินสัน เป็นวันพาร์กินสันโลก (World Parkinson Day) และเริ่มมีการจัดกิจกรรมให้ความรู้ สร้างความตระหนักถึงความสำคัญของโรค รวมทั้งการดูแลรักษาโรคนี้แก่ประชาชนในวันสำคัญนี้ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๔๐

๑๑ เมษายน ๒๔๓๖

วันเกิแฝดสยาม อิน-จัน ในแผ่นดิน รัชกาลที่ ๒ ที่แม่กลอง จันถึงแก่กรรมเดือน มกราคม ๒๔๑๗ แล้วอินก็ตายตามไป

๑๑ เมษายน ๒๔๓๖

เปิดเดินรถไฟสายแรกของไทย ณ สถานีสมุทรปราการ ระยะทาง ๒๑ กม. เลิกกิจการเมื่อ ๑ มกราคม ๒๕๐๓

๑๑ เมษายน ๒๕๒๗

ตั้งค่ายสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช เป็นที่ตั้งของกองพลทหารราบที่ ๖ กองพันทหารช่างที่ ๖ กรมทหารปืนใหญ่ที่ ๖ กองพันทหารม้าที่ ๒๑ กองพันที่ ๑ กรมทหารราบที่ ๑๖ อยู่ที่กิ่งอำเภอศรีสมเด็จ จังหวัดร้อยเอ็ด

๑๒ เมษายน - วันป่าชุมชนชายเลนไทย

๑๒ เมษายน ๑๘๓๙

เป็นวันตั้งเมืองเชียงใหม่ ตามปรากฎในศิลาจารึกวัดเชียงมั่น ตรงกับวันพฤหัสบดี ขึ้น ๘ ค่ำ เดือน ๖

๑๒ เมษายน ๒๓๙๙

ตั้งกระทรวงการต่างประเทศขึ้นเป็นครั้งแรก โดยแยกจากกระทรวงพระคลัง ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

๑๓-๑๕ เมษายน - วันสงกรานต์ในประเทศไทย

๑๓ เมษายน วันสงกรานต์,วันขึ้นปีใหม่ไทย, วันผู้สูงอายุแห่งชาติ, วันประมงแห่งชาติ

วันสูงอายุแห่งชาติ ผู้สูงอายุหมายถึง ผู้ที่มีอายุตั้งแต่ ๖๐ ปีขึ้นไปทั่วโลกกำลังประสบปัญหาการเพิ่มขึ้นของผู้สูงอายุ องค์การสหประชาชาติได้ตระหนักถึงปัญหานี้จึงมีมติให้มีการประชุมสมัชชาโลกว่าด้วยผู้สูงอายุ เมื่อ พ.ศ.๒๕๒๕ ที่กรุงเวียนนา ประเทศออสเตรียและกำหนดให้ปี ๒๕๒๕ เป็นปีรณรงค์เพื่อส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ ในการประชุมสมัชชาโลกดังกล่าว พลเอกสิทธิ จิรโรจน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ได้เข้าร่วมประชุม และนำเรื่องกลับมานำเสนอคณะรัฐมนตรีให้มีการกำหนด วันผู้สูงอายุแห่งชาติ

เมื่อวันที่ ๗ มิถุนายน ๒๕๒๕ ได้มีการวางแผนระดับชาติเกี่ยวกับผู้สูงอายุเรียกว่าแผนระยะยาวสำหรับผู้สูงอายุแห่งชาติ พ.ศ.๒๕๒๕-๒๕๔๔ ประกอบด้วยนโยบายและมาตรการ ๕ ด้าน คือ สุขภาพอนามัย การศึกษา การสังคมวัฒนธรรม ความมั่นคงทางรายได้ และการทำงานและสวัสดิการสังคม คณะรัฐมนตรีได้ลงมติเมื่อวันที่ ๑๔ ธันวาคม ๒๕๒๕ อนุมัติให้วันที่ ๑๓ เมษายนของทุกปีเป็นวันผู้สูงอายุแห่งชาติ เนื่องจากเป็นวันปีใหม่ของไทยประชาชนนิยมไปเยี่ยมบ้านเกิดของตน พบปะพ่อแม่ ปู่ย่า ตายาย และญาติพี่น้อง ทำให้ผู้สูงอายุรู้สึกอบอุ่น ไม่ถูกทอดทิ้ง

กิจกรรม.- การประกวดผู้สูงอายุดีเด่น สุขภาพดี การยกย่อง เชิดชูเกียรติผู้สูงอายุที่ทำคุณประโยชน์ การรดน้ำขอพร มอบของขวัญแก่ผู้สูงอายุ

วันประมงแห่งชาติ(๑๓ เมษายน)

จากการที่สหกรณ์ประมงสมุทรสาครได้ทำหนังสือ ลงวันที่ ๑๗ พฤษภาคม ๒๕๒๕ ถึงนายกรัฐมนตรีพล.เอกเปรม ติณสูลานนท์ เสนอให้รัฐบาลกำหนดวันประมงแห่งชาติขึ้น์ เพื่อให้เป็นกำลังใจในการประกอบอาชีพและอาสาปกป้องประเทศทางด้านทะเล นายกรัฐมนตรีได้มีบัญชาให้สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีมอบให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เป็นผู้พิจารณา ซึ่งได้มอบให้กรมประมงเป็นผู้รับเรื่อง เนื่องจากเกี่ยวข้องโดยตรง นอกจากนี้สำนักเลขาธิการฯ ได้ขอให้กระทรวงศึกษาธิการสั่งการให้ราชบัณฑิตยสถานและกรมศิลปากรร่วมกันพิจารณาความเหมาะสมอีกด้วย กรมประมงพิจารณาเห็นว่าอาชีพการประมงทะเลเป็นอาชีพที่ต้องเสี่ยงภัยจากอันตรายในน่านน้ำ และทำรายได้ให้แก่ประเทศชาติปีละหลายพันล้านบาท นอกจากนี้ยังช่วยทำหน้าที่แจ้งข่าวความเคลื่อนไหว ที่อาจเป็นภัยอันตรายแก่ประเทศให้ทางราชการทราบทันแก่เหตุการณ์ สมควรที่จะจัดให้มีวันสำคัญเพื่อเป็นที่ระลึกและเป็นขวัญกำลังใจในการประกอบอาชีพ อีกทั้งยังเป็นการสนับสนุนอาชีพประมง กรมประมงจึงได้ประสานงานกับกองทัพเรือ และมีความเห็นร่วมกันให้ วันสงกรานต์ ซึ่งประชาชนชาวไทยยึดถือเสมือนเป็นวันขึ้นปีใหม่มาตั้งแต่อดีต เป็นวันที่หยุดปฏิบัติภารกิจประจำวันในวันดังกล่าวเพื่อไปทำบุญตักบาตร ปล่อยนก ปล่อยปลา เพื่อความเป็นสิริมงคล และในวันนี้ทางราชการได้ถือว่าเป็น วันขยายพันธุ์ปลาแห่งชาติโดยสนับสนุนให้ประชาชนนำพันธุ์ปลา ไปปล่อยตามแหล่งน้ำต่างๆ ในโอกาสที่วันนี้เป็นวันสำคัญวันหนึ่งโดยมีศาสนาเข้ามาเกี่ยวข้อง

จึงสมควรกำหนดให้ วันที่ ๑๓ เมษายน ของทุกปีเป็น " วันประมงแห่งชาติ " และเห็นสมควรให้หยุดทำการประมง มีการปล่อยปลาในแหล่งน้ำต่างๆ รวมทั้งในทะเลด้วย เพื่อเป็นการชดเชยสำหรับการที่ได้ทำการประมงมาตลอดป

๑๔ เมษายน – วันครอบครัว,

วันครอบครัว สังคมไทยมีการเปลี่ยนแปลงไปมากมายตามนโยบายการพัฒนาประเทศ มีการเปลี่ยนจากระบบเกษตรกรรมไปสู่อุตสาหกรรม ระบบสังคม และครอบครัวมีการเปลี่ยนแปลงอย่างเห็นได้ชัดเจน ครอบครัวใหญ่เปลี่ยนเป็นครอบครัวเดี่ยวมากขึ้น แรงงานวัยหนุ่มสาวชนบทมีการอพยพเข้ามาทำงานในเมืองมากขึ้น ทิ้งให้ผู้สูงอายุและเด็กอยู่กับบ้านตามลำพัง เกิดเป็นปัญหาสังคมตามมาอย่างมากมาย ไม่ว่าจะเป็นปัญหาเด็กเร่ร่อน ยาเสพติด โสเภณี เป็นต้น

จึงได้พิจารณาเห็นพ้องกันว่า "ครอบครัว" เท่านั้นที่จะเป็นสิ่งยึดเหนี่ยวจิตใจสำหรับสมาชิกในสังคมโลกจากหน่วยเล็กที่สุดไปสู่สังคมใหญ่ จะช่วยสลายการแบ่งแยกเชื้อชาติและทางการเมือง อันอาจทำให้เป็นปัญหาสังคมน้อยลงและส่งเสริมความมั่งคงของชาติ ครอบครัวจะเป็นที่ส่งเสริมสร้างความราบรื่น ทำให้เกิดความเจริญ ความผลสุก ความอบอุ่นและความปลอดภัย จึงเห็นสมควรให้จัดมี "วันครอบครัว" ขึ้นเพื่อให้ทุกคนได้ตระหนักถึงความสำคัญของครอบครัว

ขณะเดียวกัน หน่วยงานจากภาครัฐ และเอกชน ได้ทำการวิจัยพบว่าปัญหาของเด็กและเยาวชนที่เกิดขึ้นส่วนใหญ่ เกิดจากการขาดความอบอุ่น คณะกรรมาธิการกิจการสตรีและเยาวชน จึงได้เสนอให้มี "วันแห่งครอบครัว" ขึ้น เพื่อให้ทุกคนตระหนักถึงความสำคัญของครอบครัว และช่วยกันสร้างครอบครัวให้เกิดความอบอุ่น เพื่อแก้ไขปัญหาในระดับหนึ่ง

ดังนั้น คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ ๓๑ ตุลาคม ๒๕๓๒ อนุมัติในหลักการตามข้อเสนอของคณะกรรมการรัฐมนตรีฝ่ายสังคมที่จะกำหนดให้มี "วันครอบครัว" ขึ้น รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (คุณหญิงสุพัตรา มาศดิตถ์ ) ในขณะนั้นได้ ได้เสนอให้คณะรัฐมนตรี ซึ่งมี ฯพณฯ พลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ เป็นนายกรัฐมนตรี และมีมติกำหนดวันที่ ๑๔ เมษายนของทุกปี เป็นวันครอบครัว (Family Day)

คำขวัญและตราสัญลักษณ์

"ความรัก ความเข้าใจ คือสายใยของครอบครัว" ผู้เขียน ได้แก่ นายขนาน ทิมเทศ

สัญลักษณ์ดังกล่าวหมายถึงคนในครอบครัว ประกอบด้วย พ่อ แม่ ลูก และปู่ ย่า ตา ยาย หรือญาติผู้ใหญ่ ที่อยู่ร่วมกันด้วยความอบอุ่นภายใต้หลังคาบ้านซึ่งมีลักษณะเป็นวัฒนธรรมดั้งเดิมของไทยที่มีบรรพบุรุษคอยดูแลอบรมสมาชิกรุ่นใหม่ของครอบครัวจนเติบโตและสามารถดำรงชีวิตในสังคมได้

ผู้ออกแบบ ได้แก่ นายชัชวาลย์ บุนทยะพันธ์

๑๖ เมษายน - วันนักกีฬายอดเยี่ยม

๑๖ เมษายน ๒๕๒๒

ตั้งค่ายกฤษณ์สีวะรา ซึ่งเป็นที่ตั้งของกรมทหารราบที่ ๓ กองพันที่ ๑,๒,๓, และ ๔ กรมทหารราบที่ ๓ จังหวัดทหารบกสกลนคร อยู่ที่อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร

 

๑๖ เมษายน ๒๕๕๒ เวลาประมาณ ๑๖.๐๐ น. แสนศักดิ์ ได้เสียชีวิต

แสนศักดิ์ เมืองสุรินทร์ วัย ๕๘ ปี อดีตแชมป์โลกรุ่นไลท์เวลเตอร์เวท สภามวยโลก มีชื่อจริงว่า บุญส่ง มั่นศรี เกิดวันที่ ๑๓ สิงหาคม ๒๔๙๔ เป็นชาวบ้านสะเดียง อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบูรณ์ เป็นแชมป์โลกชาวไทยคนที่ ๕ และเป็นแชมป์โลกรุ่นใหญ่ที่สุดเท่าที่เมืองไทยเคยมีมา นอกจากนี้ยังเป็นเจ้าของสถิติ ชกมวยสากลเพียง ๓ ครั้งก็ได้แชมป์โลก ด้วยหมัดซ้ายที่หนักหน่วง มีภรรยาชื่อ นางศศวรรณ มั่นศรี

แสนศักดิ์ เมืองสุรินทร์ ป่วยเป็นโรคตับ และลำไส้อุดตัน โดยเข้ารักษาตัวที่โรงพยาบาลราชวิถี ตั้งแต่คืนวันที่ ๑๒ เมษายน ๒๕๕๒ ซึ่งแพทย์ได้รับตัวเข้ารักษาที่ห้องไอซียู และเฝ้าดูอาการอย่างใกล้ชิด แต่แล้วเมื่อวันที่ ๑๖ เมษายน ๒๕๕๒ เวลาประมาณ ๑๖.๐๐ น. แสนศักดิ์ ได้เสียชีวิตลง จากการติดเชื้อในกระแสโลหิต โดยจะมีพิธีรดน้ำศพ ที่ศาลา ๓ วัดตรีทศเทพ ในวันที่ ๑๗ เมษายน ๒๕๕๒เวลา ๑๗.๐๐ น.

 

๑๗ เมษายน - วันฮีโมฟิเลีย

วันฮีโมฟิเลีย หน่วยงานทั่วโลกที่ทำงานเกี่ยวกับโรคฮีโมฟิเลียได้เฉลิมฉลองวันฮีโมฟิเลียโลก และกระตุ้นเตือนให้ชาวโลกเห็นความสำคัญของโรคนี้ โดยเฉพาะสหพันธ์ฮีโมฟิเลียโลก ซึ่งจัดตั้งเมื่อ พ.ศ.๒๕๐๖ ได้กำหนดให้วันที่ ๑๗ เมษายนของทุกปีเป็นวันฮีโมฟิเลียโลก

ฮีโมฟิเลีย (Hemophilia) เป็นโรคเลือดออกง่ายผิดปกติที่ถ่ายทอดทางกรรมพันธุ์แบบ x-linked จะมีความผิดปกติที่โครโมโซม x ( จึงพบในชาย แต่หญิงอาจมีความผิดปกติทางกรรมพันธุ์ซึ่งไม่แสดงออกแต่สามารถถ่ายทอดสู่ลูกหลานได้ ) ทำให้ขาดปัจจัยที่ช่วยการแข็งตัวของเลือดบางตัวซึ่งเป็นสารโปรตีน ทำให้เมื่อมีเลือดออกจะหยุดยาก ถ้าขาดสารที่ช่วยการแข็งตัวของเลือดที่เรียกว่าแฟคเตอร์ ๘ ทำให้เกิดฮีโมฟิเลีย เอ ถ้าขาดแฟคเตอร์ ๙ ทำให้เกิดอีโมฟิเลียบี ถ้าขาดแฟคเตอร์ ๑๑ ทำให้เกิดฮีโมฟิเลีย ซี ทั้งฮีโมฟิเลียบีและซีมีอาการคล้ายกัน ส่วนอีโมฟิเลีย ซีพบน้อยมาก โรคนี้พบในประชากรประมาณ ๑ ใน ๒ หมื่นคน ผู้ป่วยจะมีอาการเลือดออกง่ายตั้งแต่เด็ก มักเริ่มมีอาการเมื่อเด็กเริ่มเคลื่อนไหวด้วยตนเอง อาการสำคัญคือ เวลามีบาดแผล เลือดจะไหลซึมและหยุดยาก เลือดออกใต้ผิวหนัง ทำให้มีอาการจ้ำเขียว เลือดออกในข้อ ทำให้ข้อบวม ปวดข้อ เหยียดข้อไม่ออก เลือดออกในกล้ามเนื้อจะทำให้เป็นก้อนแข็ง ถ้าเลือดออกในกล้ามเนื้อของคอหรือกล่องเสียงทำให้กดหลอดลม หรือเลือดออกในสมอง อาจทำให้ตายได้

 

๑๗ เมษายน ๒๒๗๗

วันพระราชสมภพ สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช เปิดอนุสาวรีย์ที่วงเวียนใหญ่ ๒๔๙๗

๑๗ เมษายน ๒๔๙๗

พระบาทสทเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเปิดพระบรมราชานุสาวรีย์ สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ที่บริเวณวงเวียนใหญ่ฝั่งธนบุรี

๑๘ เมษายน ๒๓๙๘

ไทยทำสัญญากับอังกฤษเรื่องอำนาจของกงสุลอังกฤษในไทย

๑๘ เมษายน พ.ศ.๒๔๖๘ /คศ.๑๙๒๕ เป็นวันนักวิทยุสมัครเล่นโลก... The International Amateur Radio Union (IARU) และประเทศสมาชิกมากกว่า 150 ประเทศทั่วโลก ร่วมกันเฉลิมฉลองวันนักวิทยุสมัครเล่นโลก ( Amateur Radio to the world ) ในวันที่ 18 เมษายน ของทุกปี สำหรับหัวข้อในการเฉลิมฉลองในปีนี้ คือ “ โลกของการสื่อสารไร้สาย ; Expanding the World of Wireless Communications.” นักวิทยุสมัครเล่น ซึ่งในบางครั้งเราเรียกว่า " แฮม ; hams " นั้น ถือได้ว่าป็นผู้นำในการพัฒนาความรู้ทางด้าน
อิเลกโทรนิกส์และการสื่อสารสมัยใหม่ ได้อย่างน่าอัศจรรย์ ทุกวันนี้ ประชากรโลก ได้รู้จัก " ระบบไร้สาย ; wireless ” ในลักษณะของระบบเครือข่ายหรือ โทรศัพท์เคลื่อนที่ ซึ่งเป็นผลของการบุกเบิกค้นคว้าในงานของวิทยุและเทคโนโลยีซึ่งค้นพบครั้งแรก โดยนักวิทยุสมัครเล่น
วิศวกรอิเลกโทรนิกส์ชั้นนำหลายคน ได้ใช้ประสบการณ์จากการเป็นนัก วิทยุสมัครเล่น พัฒนาระบบเครื่องรับ-ส่งวิทยุและโทรทัศน์ให้ทันสมัยมากขึ้น ประกอบด้วย ระบบวิทยุสื่อสาร 2 ทาง ( two-way radios ), การปรับปรุงสายอากาศ ( adaptive antennas ) และสิ่งประดิษฐ์อีกหลายอย่างที่สำคัญๆ ทุกวันนี้ นักวิทยุสมัครเล่น ได้ค้นพบความรู้ใหม่ๆ โดยการพยายามนำความถี่บริเวณขอบของความถี่ (fringes of the radio spectrum ) ซึ่งสามารถเชื่อมันระหว่างวิทยุกับอินเตอร์เนท และ การทดลองการสื่อสารแบบ ultra-high speed digital
นักวิทยุสมัครเล่นเป็นงานอดิเรก หรือ สมัครเล่นเพราะเป็นการอุทิศตน โดยไม่มีเรื่องเงินหรือการค้าเข้ามาเกี่ยวข้อง ซึ่งทักษะต่างไหล่านี้สามารถพัฒนาให้โลกเจริญทันสมัยได้
ตั้งแต่ ค.ศ. 1925 IARU ได้กำหนดให้วันที่ 18 เมษายน ของทุกปี เป็นวันนักวิทยุสมัครเล่นโลก นอกเหนือไปจากว
ันก่อตั้งของ IARU

๑๙ เมษายน ๒๔๒๑

เริ่มปักเสาโทรเลขต้นแรก ในจำนวน ๗๒๑ ต้น ระยะทาง ๔๕ กม. เป็นการสร้างสายโทรเลขจากกรุงเทพ ฯ ถึงสมุทรปราการเป็นสายแรก

๑๙ เมษายน ๒๔๖๙

พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้จัดตั้งราชบัณฑิตยสภา ขึ้นเป็นครั้งแรก ซึ่งเดิมคือ กรรมการหอสมุดสำหรับพระนคร

๒๐ เมษายน ๒๓๘๐

พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้แพทย์เริ่มปลูกฝีป้องกันไข้ทรพิษเป็นครั้งแรก

๒๐ เมษายน – วันคึกฤทธิ์

ศาสตราจารย์ (พิเศษ) พลตรี หม่อมราชวงศ์ คึกฤทธิ์ ปราโมช นักปราชญ์ นักเขียน นักการเมือง และศิลปินแห่งชาติ นับเป็นปูชนียบุคคลท่านหนึ่งของไทย เป็นน้องชายแท้ ๆ ของ ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช อดีตนายกรัฐมนตรี ๔ สมัย สื่อมวลชนจึงนิยมเรียกทั้งคู่ว่า "หม่อมพี่ หม่อมน้อง" นอกจากนี้ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ และ ม.ร.ว.เสนีย์ ยังมีพี่สาวคือ ม.ร.ว.บุญรับ พินิจชนคดี (สมรสกับ พล.ต.อ.พระพินิจชนคดี หรือ พินิจ อินทรทูต)

ปลายปี พ.ศ. ๒๕๕๑ กระทรวงวัฒนธรรมของไทย เตรียมเสนอชื่อคึกฤทธิ์เป็นบุคคลสำคัญของโลก โดยมีทั้งเสียงสนับสนุนและคัดค้าน

ประวัติ

หม่อมราชวงศ์ คึกฤทธิ์ ปราโมช เกิดวันที่ ๒๐ เมษายน พ.ศ. ๒๔๕๔ ในเรือกลางแม่น้ำเจ้าพระยา ณ ตำบลบ้านม้า อำเภออินทร์บุรี จังหวัดสิงห์บุรี เป็นโอรสคนสุดท้อง ในบรรดาโอรส-ธิดา ทั้ง ๖ คน ของพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าคำรบ กับหม่อมแดง (บุนนาค) (ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช เป็นคนที่ ๔) โดยชื่อ "คึกฤทธิ์" นั้น มาจากการที่ ชอบร้องไห้เสียงดังในวัยทารก จึงได้รับพระราชทานนามนี้จาก สมเด็จพระศรีพัชรินทรา บรมราชินีนาถ

ชีวิตส่วนตัวสมรสกับ หม่อมราชวงศ์หญิงพักตร์พริ้ง ทองใหญ่ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๗๙ มีบุตรธิดา ๒ คน คือ หม่อมหลวงรองฤทธิ์ ปราโมช และ หม่อมหลวงหญิง วิสุมิตรา ปราโมช ต่อมาได้แยกกันอยู่กับหม่อมราชวงศ์พักตร์พริ้ง

ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช พักอยู่ที่บ้านในซอยพระพินิจ ซึ่งเป็นซอยย่อยอยู่ในซอยสวนพลู ถนนสาทรใต้ เขตสาทร บ้านหลังนี้เป็นที่รู้จักกันในชื่อว่า "บ้านซอยสวนพลู"

ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ นับเป็นบุคคลที่มีบุคลิกและบทบาทที่หลากหลาย มีชื่อเสียงในหลายๆ ด้าน โดยเฉพาะการประพันธ์ การแสดง และยังเป็นนักการเมือง ท่านเป็นผู้ก่อตั้งพรรคก้าวหน้า เมื่อ พ.ศ. ๒๔๘๘ ต่อมาได้ยุบรวมกับพรรคประชาธิปัตย์ในปีถัดมา ต่อมาก่อตั้งหนังสือพิมพ์สยามรัฐ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๙๓ และก่อตั้งพรรคกิจสังคม เมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๗ และได้ดำรงตำแหน่งเป็น นายกรัฐมนตรี คนที่ ๑๓ ของประเทศไทยเมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๘ โดยสามารถเป็นแกนนำตั้งรัฐบาลทั้งที่มีจำนวน ส.ส.ในมือเพียง ๑๘ คน รัฐบาลคึกฤทธิ์ในครั้งนั้นมี นายบุญชู โรจนเสถียร ผู้ร่วมก่อตั้งพรรคกิจสังคม เป็น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง มีนโยบาย "เงินผัน" เป็นที่รู้จักเลื่องลือทั่วไปในสมัยนั้น

ก่อนดำรงตำแหน่ง นายกรัฐมนตรี ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช เคยรับบทเป็น นายกรัฐมนตรี ของประเทศแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ประเทศหนึ่ง ชื่อว่าประเทศ สารขัณฑ์ ในภาพยนตร์เรื่อง The Ugly American (๑๙๖๓) คู่กับมาร์ลอน แบรนโด เมื่อ ปี พ.ศ. ๒๕๐๖ และหลังพ้นตำแหน่งนายกรัฐมนตรี เคยรับบทเป็นนักแสดงรับเชิญในภาพยนตร์ ผู้แทนนอกสภา กำกับโดย สุรสีห์ ผาธรรม นำแสดงโดย สรพงศ์ ชาตรี เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๒๖

ระหว่างการเล่นการเมือง ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ มีบุคลิกที่โดดเด่นเป็นตัวของตัวเองที่ทุกคนรู้จักดี คือ วาทะศิลป์ และบทบาทเป็นที่ชวนให้จดจำ เช่น การผวนพูดเล่นชื่อของตัวเองเมื่อมีผู้ถามว่า หมายถึงอะไร โดยตอบว่า "คึกฤทธิ์ ก็คือ คิดลึก" เป็นต้น

ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ได้รับฉายาจากนักการเมือง และสื่อมวลชนมากมาย เช่น "เฒ่าสารพัดพิษ" "ซือแป๋ซอยสวนพลู" ภายหลังเมื่อมีอาวุโสสูงวัย จนสามารถแสดงความเห็นทางการเมือง ได้อย่างตรงไปตรงมา โดยไม่ต้องเกรงกลัวอิทธิพลใดๆ จึงได้รับฉายาว่า "เสาหลักประชาธิปไตย" นอกจากนี้อีกฉายาหนึ่งที่ใช้เรียก ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ในบางแห่งคือ "หม่อมป้า"

ในด้านวรรณศิลป์ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ มีผลงานหนังสือที่มีชื่อเสียงระดับประเทศมากมาย ที่ได้รับการตีพิมพ์ซ้ำแล้วซ้ำอีก เช่น สี่แผ่นดิน, ไผ่แดง, กาเหว่าที่บางเพลง, หลายชีวิต, ซูสีไทเฮา, สามก๊กฉบับนายทุน และเรื่องสั้น "มอม" ซึ่งได้ใช้เป็นบทความประกอบแบบเรียนภาษาไทยในปัจจุบัน บางชิ้นมีผู้นำไปทำเป็นละครโทรทัศน์ เช่น สี่แผ่นดิน, หลายชีวิต และทำเป็นภาพยนตร์ เช่น กาเหว่าที่บางเพลง

หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช ถึงแก่อสัญกรรม เมื่อวันที่ ๙ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๓๘ สิริรวมอายุ ๘๔ ปี ๕ เดือน ๒๐ วัน ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๕๕๐ กระทรวงวัฒนธรรมได้เสนอชื่อให้ท่านเป็น บุคคลสำคัญของโลก กับทาง ยูเนสโก

การศึกษา

ในเบื้องต้น ท่านได้เข้าศึกษาในโรงเรียนวัฒนาวิทยาลัย (วังหลัง) จากนั้นได้เข้าศึกษาต่อที่โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย และเดินทางไปศึกษาต่อในประเทศอังกฤษ ที่โรงเรียน Trent College จากนั้น ได้สอบเข้า 'วิทยาลัยควีนส์' (The Queen's College) มหาวิทยาลัยอ๊อกซฟอร์ด เพื่อศึกษาวิชาปรัชญา,เศรษฐศาสตร์ และการเมือง (Philosophy, Politics and Economics - PPE) โดยสำเร็จปริญญาตรีเกียรตินิยม (และ ๓ ปีต่อมา ก็ได้รับปริญญาโทจากมหาวิทยาลัยดังกล่าว ตามธรรมเนียมสำหรับผู้สำเร็จปริญญาเกียรตินิยม และได้ผ่านการใช้ความรู้ความสามารถในวิชาที่ร่ำเรียนมาจนมีประสบการณ์ช่ำชองมาระยะหนึ่ง)

ประวัติการทำงาน.-

-รับราชการที่กรมสรรพากร

-เลขานุการที่ปรึกษากระทรวงการคลัง

-ผู้จัดการธนาคารพาณิชย์ สาขาลำปาง

-รับราชการทหาร (เมื่อเกิดสงครามอินโดจีนและสงครามมหาเอเชียบูรพา ได้รับยศ สิบตรี)

-หัวหน้าฝ่ายสำนักผู้ว่าการและหัวหน้าฝ่ายออกบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย

-ประธานกรรมการ ธนาคารกรุงเทพฯ พาณิชย์การจำกัด

-เขียนบทความลงในคอลัมน์ "ซอยสวนพลู"

-อาจารย์พิเศษของคณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

-ศิลปินแห่งชาติสาขาวรรณศิลป์ ประจำ พ.ศ. ๒๕๒๘

พ.ศ. ๒๕๓๑ ได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เลื่อนยศจากสิบตรี เป็นพลตรี (ทหารราชองครักษ์พิเศษ)

บทบาททางการเมือง

พ.ศ. ๒๔๘๘-๒๔๘๙ เป็นผู้ริเริ่มจัดตั้งพรรคการเมืองพรรคแรกในเมืองไทย ชื่อ "พรรคก้าวหน้า" ได้ร่วมในคณะผู้ก่อตั้งพรรคประชาธิปัตย์ ดำรงตำแหน่งเลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์คนแรก ได้ริเริ่มจัดตั้งพรรคกิจสังคม

พ.ศ. ๒๕๑๘ ได้จัดตั้งรัฐบาลผสมขึ้น และได้เข้ารับตำแหน่งนายกรัฐมนตรี

พ.ศ. ๒๕๑๙ ได้ตัดสินใจยุบสภาผู้แทนราษฎร บริหารประเทศประมาณ ๙ เดือนเศษ

ผลงานที่สำคัญ

หลังเหตุการณ์ ๑๔ ตุลา ขณะที่เป็นนายกรัฐมนตรีได้ดำเนินการเปิดสัมพันธ์ทางการทูตกับสาธารณรัฐประชาชนจีน โดยเดินทางไปเยือนกรุงปักกิ่งเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๑๘ หลังจากที่ตัดขาดความสัมพันธ์ระดับรัฐบาลมาเป็นเวลานาน

การวิพากษ์วิจารณ์

สุลักษณ์ ศิวรักษ์ ได้วิพากษ์วิจารณ์ผลงานของ ม.ร.ว. คึกฤทธิ์ โดยเฉพาะ สี่แผ่นดินว่า "ใช้เล่ห์เพทุบาย ในการมอมเมาผู้คนยิ่งกว่าให้ข้อเท็จจริงอย่างสุจริตใจ" ส่วน ไผ่แดง กาเหว่าที่บางเพลง ฮวนนั้ง และซูสีไทเฮา สุลักษณ์ กล่าวว่าเป็นบทประพันธ์ที่ลอกเลียนมาจากภาษาต่างประเทศระดับ "โขมยหรือปล้นสดมภ์มาเลยทีเดียว" คำวิพากษ์วิจารณ์นี้อยู่บนพื้นฐานของการวิจัยปัญญาชนไทย ๑๐ คน [๖] ซึ่งมีอิทธิพลกับการสร้างจิตสำนึกให้คนไทยร่วมสมัย ซึ่ง ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ และ หลวงวิจิตรวาทการ ก็อยู่ในรายชื่อปัญญาชนของการวิจัยดังกล่าวด้วย

๒๑ เมษายน วันศาลยุติธรรม (วันสถาปนาศาลยุติธรรม)

ศาลยุติธรรมเป็นองค์กรของอำนาจตุลาการมีอำนาจสูงสุดหนึ่งในสามของอำนาจ อธิปไตยที่ใช้ในาการปกครองประเทศโดยมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นผู้ใช้อำนาจ เพื่อความยุติธรรมของประชาชน

วันที่ ๒๑ เมษายน เป็นวันก่อตั้งศาลยุติธรรม ทนายคลายทุกข์จึงขอนำเอกสารเผยแพร่ของศาลยุติธรรมมานำเสนอเกี่ยวกับ ความเป็นมา ระบบศาลยุติธรรม การเตรียมตัวไปศาล นโยบายประธานศาลฎีกา และแผนภูมิโครงสร้างศาลยุติธรรม

๒๑ เมษายน ๒๓๒๕

พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้ตั้งพิธียกเสาหลักเมืองพระนครขึ้น และได้พระราชทานนามพระนครใหม่ว่า กรุงรัตนโกสินทร์อินท์อโยธยา ซึ่งเรียกกันต่อมาในปัจจุบันว่า กรุงเทพมหานคร

๒๑ เมษายน ๒๔๙๙

นาย ทาวเซนต์ แฮรีส กงสุลอเมริกันประจำญี่ปุ่น เข้ามาเจริญทางไมตรีกับไทยที่กรุงเทพ ฯ เดินทางมาถึง

๒๒ เมษายน - วันคุ้มครองโลก

วันคุ้มครองโลก (๒๒ เมษายน)

วันคุ้มครองโลก เมื่อ พ.ศ.๒๕๑๓ ได้มีกลุ่มนักการเมืองของสหรัฐอเมริกาที่เล็งเห็นถึงความสำคัญของการรักษาสิ่งแวดล้อม ได้กำหนด "วันคุ้มครองโลก"( EARTH DAY) ขึ้น คือวันที่ ๒๒ เมษายนของทุกปี ทั้งนี้เพื่อให้ทุกคนในโลกได้มีเวลาอย่างน้อย ๑ วัน ที่จะนึกถึงสิ่งแวดล้อมและรักษาสิ่งแวดล้อมให้คงอยู่ตลอดไป

ในวันที่ ๒๒ เมษายน ๒๕๓๑ ประชาชนอเมริกันที่ตะนักถึงความสำคัญของปัญหาสิ่งแวดล้อมกว่า ๒๐ ล้านคน จึงได้พร้อมใจกันมาชุมนุมเพื่อประท้วงการเพิ่มขึ้นของมลภาวะ และการทำลายทรัพยากรธรรมชาติบนพื้นโลก ผลจากการชุมนุมก่อให้เกิดการออกพระราชบัญญัติแก้ไขมลพิษในอากาศของสหรัฐอเมริกา และมีการจัดตั้งสำนักงานป้องกันสิ่งแวดล้อมแห่งชาติขึ้น และกำหนดให้ วันที่ ๒๒เมษายน ของทุกปี เป็นวันคุ้มครองโลก หรือ Earth Day โดยมีเป้าหมายดังต่อไปนี้คือ

๑) เพื่อลดอัตราการเกิดคาร์บอนไดออกไซด์ที่มีอยู่อย่างหนาแน่นในบรรยากาศ

๒) เพื่อกำจัดคลอโรฟลูออโรคาร์บอน ซึ่งเป็นตัวทำลายสภาพโอโซนและก่อให้เกิดการสะสมความร้อนให้หมดสิ้นไป

๓) เพื่ออนุรักษ์สภาพป่าที่เหลืออยู่ ทั้งที่เป็นป่าเบญจพรรณและป่าดงดิบ

๔) เพื่อห้ามการซื้อ-ขายสิ่งมีชีวิตที่อาจทำให้ภาวะการเจริญพันธุ์ลดลงหรือหมดสิ้นไป ๕) เพื่อคงสภาพระดับประชากรไว้ให้อยู่ในสภาพที่สมดุลกับทรัพยากรธรรมชาติที่มี ในวันที่ ๒๒ เมษายนของทุกปี ประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกจึงได้ร่วมกันจัดกิจกรรมต่าง ๆ ขึ้น เพื่อเรียกร้องให้ทุกคนได้ตระหนักถึงความสำคัญของสิ่งแวดล้อม เพื่อเป็นการอนุรักษ์โลกใบนี้ไว้

กิจกรรม จัดนิทรรศการเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม รณรงค์เรื่องสิ่งแวดล้อมเพื่อสุขภาพ

๒๒ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๒๗ (ค.ศ.๑๙๘๔) สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินีในรัชกาลที่ ๗ เสด็จสวรรคต ด้วยพระหทัยวาย โดยพระอาการสงบ ณ พระตำหนักวังศุโขทัย รวมพระชนมายุได้ ๗๙ พรรษา ๕ เดือน ๒ วัน

และได้มีพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ ณ พระเมรุมาศ ที่ได้จัดสร้างขึ้น บริเวณท้องสนามหลวง กรุงเทพมหานคร เมื่อวันที่ ๙ เมษายน พ.ศ.๒๕๒๘

พระราชประวัติโดยย่อ สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี

สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี ทรงพระราชสมภพเมื่อวันอังคารที่ ๒๐ ธันวาคม ๒๔๔๗ เป็นธิดาองค์เดียวในสมเด็จพระบรมวงศ์เธอกรมพระสวัสดิรัตนวิศิษฐ์ กับพระเจ้าวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าอาภาพรรณี พระองค์มีพระนามเดิมว่า หม่อมเจ้ารำไพพรรณี สวัสดิวัตน์ หรือเรียกกันในหมู่ผู้ใกล้ชิดว่า “ท่านหญิงนา” ทรงมีพระเชษฐา พระเชษฐภคินี พระอนุชา และพระขนิษฐาร่วมพระบิดารวม ๔๖ พระองค์ และร่วมพระมารดาจำนวน ๕ พระองค์ คือ

๑. หม่อมเจ้าชายโสภณภราไดย สวัสดิวัตน์

๒. สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี ในรัชกาลที่ ๗

๓. หม่อมเจ้าชายนนทิยาวัด สวัสดิวัตน์

๔. หม่อมเจ้าชายอรชุนชิษณุ สวัสดิวัตน์

๕. หม่อมเจ้าชายยุธิษเฐียร สวัสดิวัตน์

เมื่อเจริญพระชันษาได้ ๒ ปี พระบิดาได้ทรงนำเข้าไปถวายตัวในบรมราชินูปถัมภ์ ของสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ ซึ่งหม่อมเจ้ารำไพพรรณี ทรงเป็นพระราชนัดดาพระองค์หนึ่งที่สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระราชทานความเอ็นดู ห่วงใยอยู่เสมอ ทรงเอาพระทัยใส่อบรมอย่างใกล้ชิด เมื่อหม่อมเจ้ารำไพพรรณีมีพระชันษา ๖ ปี ก็ได้เสด็จเข้าทรงศึกษาที่โรงเรียนราชินี ขณะเดียวกันก็ได้ทรงศึกษาภาษอังกฤษและภาษาฝรั่งเศสกับพระอาจารย์ชาวต่างประเทศ

เมื่อวันที่ ๒๖ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๖๑ ทรงเข้าพิธีอภิเษกสมรสกับสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าประชาธิปกศักดิ์เดชน์กรมขุนสุโขทัยธรรมราชา ณ พระที่นั่งวโรภาษพิมาน พระราชวังบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ซึ่งขณะนั้น “ท่านหญิงนา” มีพระชนมายุได้ ๑๔ พรรษา

สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าประชาธิปกศักดิ์เดชน์กรมขุนสุโขทัยธรรมราชา เสด็จขึ้นเถลิงถวัลยราชสมบัติเป็นพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๗ แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์ หลังจากพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จสวรรคต ทรงรับพระบรมราชาภิเษก เมื่อวันที่ ๒๕ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๖๙ และในการพระราชพิธีบรมราชาภิเษก ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สถาปนาหม่อมเจ้ารำไพพรรณีพระวรราชชายา ขึ้นเป็นสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี และสถาปนาพระอิสริยยศ เป็นพระอัครมเหสีโดยสมบูรณ์ ตามพระราชกำหนดกฎหมายและพระราชประเพณี และทรงเป็นพระมเหสีเพียงพระองค์เดียวใน พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว

หลังจากนั้นได้ทรงตามเสด็จ พระเจ้าอยู่หัวไปผ่าตัดโรคตาต้อที่สหรัฐอเมริกาด้วย เมื่อวันที่ ๒๔ มิถุนายน พ.ศ.๒๔๗๕ คณะราษฎร์ทำการเปลี่ยนแปลงการปกครอง จากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราช มาเป็นการปกครอง แบบประชาธิปไตย มีพระมหากษัตริย์อยู่ภายใต้อำนาจรัฐธรรมนูญ ขณะนั้นพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว และ สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี เสด็จประทับอยู่ ณ พระราชวังไกลกังวล อ.หัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์ เมื่อวันที่ ๑๐ ธันวาคม พ.ศ.๒๔๗๕ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๗ พระราชทานรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม (พ.ศ.๒๔๗๕) รัฐธรรมนูญฉบับแรกของไทย ให้แก่ปวงชนชาวไทย ต่อมาจึงได้ถือเอาวันที่ ๑๐ ธันวาคม ของทุกปีเป็นรัฐธรรมนูญ จนกระทั่งทุกวันนี้

พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จไปรักษาพระเนตรด้วยโรคตาต้อที่ประเทศอังกฤษ พร้อมด้วย สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี และด้วยทรงมีความคิดเห็นที่ขัดแย้งกับรัฐบาลในสมัยนั้น เกี่ยวกับหลักการประชาธิปไตย วันที่ ๒ มีนาคม พ.ศ.๒๔๗๗ จึงทรงตัดสินพระราชหฤทัยสละราชสมบัติและ เสด็จไปประทับที่เวอร์จิเนียร์ วอเตอร์ ประเทศอังกฤษ

พ.ศ.๒๔๘๐ ทั้งสองพระองค์ได้ย้ายไปประทับอยู่ที่เมืองเคนส์ ห่างจากกรุงลอนดอน ๒๐๐ ไมล์ และต่อมาได้ทรงย้ายที่ประทับไปหลายแห่งจนกระทั่งได้ นอร์ทเวลส์ ซึ่งห่างจากลอนดอน ๓๐๐ ไมล์ เป็นที่ประทับสุดท้าย

วันที่ ๓๐ พฤษภาคม พ.ศ.๒๔๘๔ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จสวรรคต โดยเฉียบพลันด้วยโรคพระหทัยวาย

วันที่ ๔ มิถุนายน พ.ศ.๒๔๘๔ มีการจัดพิธีถวายพระเพลิง ณ สุสาน Colders Green

วันที่ ๑ พฤษภาคม พ.ศ.๒๔๙๒ สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี ได้ทรงอัญเชิญพระบรมอัฐิพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว กลับสู่ประเทศไทยโดยทางเรือตามคำกราบทูลเชิญของรัฐบาลไทย และได้ประดิษฐานไว้ร่วมกันกับ สมเด็จพระบูรพมหากษัตริยาธิราชเจ้า ส่วนสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณีทรงเสด็จกลับประเทศไทยด้วยและได้ประทับอยู่ในประเทศไทย

สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระราชทานวังสวนบ้านแก้ว ให้เป็นที่ตั้งสถานศึกษาระดับอุดมศึกษาในท้องถิ่น ตั้งแต่ปี ๒๕๑๕ ในครั้งแรกใช้ชื่อว่า “วิทยาลัยครูจันทบุรี” ต่อมาได้รับพระราชทานนามาภิไธยในสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี เป็นชื่อสถาบันว่า “วิทยาลัยรำไพพรรณี” ซึ่งปัจจุบันก็คือ “มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี”

จนกระทั่งเมื่อวันที่ ๒๒ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๒๗ (ค.ศ. ๑๙๘๔) สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี เสด็จสวรรคตด้วยพระหทัยวายโดยพระอาการสงบ ณ พระตำหนักวังศุโขทัย กรุงเทพฯ รวมพระชนมายุได้ ๗๙ พรรษา ๕ เดือน ๒ วัน และได้มีพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ ณ พระเมรุมาศ ที่ได้จัดสร้างขึ้น บริเวณท้องสนามหลวง เมื่อวันที่ ๙ เมษายน พ.ศ.๒๕๒๘

 

๒๓ เมษายน – วันหนังสือและลิขสิทธิ์สากล, วันหนังสือโลก

 

๒๓ เมษายน ๒๕๑๐

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินพร้อมด้วย สมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ ประพาสประเทศอิหร่าน เป็นเวลา ๗ วัน จนถึงวันที่ ๓๐ เมษายน ๒๕๑๐

๒๔ เมษายน – วันเทศบาล

๒๕ เมษายน วันมาลาเรีย(แห่งแอฟริกา)

วันมาลาเรีย(แห่งแอฟริกา) มาลาเรียเป็นปัญหาสุขภาพที่สำคัญของประชากรโลกในหลายพื้นที่ ทำให้เกิดการเจ็บป่วยและเสียชีวิตจำนวนมากในแต่ละปี โดยเฉพาะในทวีปแอฟริกาและเอเชีย สำหรับทวีปแอฟริกาได้กำหนดให้วันที่ ๒๕ เมษายนของทุกปีเป็นวันมาลาเรียแห่งแอฟริกา สำหรับประเทศไทยมาลาเรียยังเป็นปัญหาสำคัญ โดยเฉพาะคนที่ปฏิบัติงานในภูมิประเทศที่มีเชื้อมาลาเรียแพร่ระบาดสูง เช่น ทหารที่ปฏิบัติงานบริเวณชายแดน

๒๔ เมษายน ๒๓๕๕

พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้จัดขบวนไปรับพระพุทธรูปแก้วผลึกองค์สำคัญคือ พระพุทธบุษยรัตน์ จักรพรรดิพิมลมณีมัย ซึ่งอัญเชิญมาจากนครจำปาศักดิ์ มาพักรออยู่ที่สระบุรี แล้วนำมาประดิษฐานไว้ในพระบรมมหารราชวัง

๒๔ เมษายน ๒๓๗๒

อัญเชิญพระพุทธชินสีห์ วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ พิษณุโลกมาประดิษฐาน ณ วัดบวรนิเวศ

๒๕ เมษายน พ.ศ. ๒๑๔๘ วันสมเด็จพระนเรศวรมหาราช (วันคล้ายวันสวรรคตสมเด็จพระนเรศวรมหาราช)

ตามมติคณะรัฐมนตรีซึ่งกำหนดให้วันที่ ๒ ๕ เมษายน ของทุกปี เป็นวันสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
          สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ทรงเป็นกษัตริย์องค์ที่ ๒ แห่งราชวงศ์สุโขทัย พระนามเดิมว่า "พระองค์ดำ" พระราชสมภพเมื่อปีเถาะ พ.ศ. ๒๐๙๘ ณ พระราชวังจันทน์ เมืองพิษณุโลก ทรงเป็นพระราชโอรสในสมเด็จพระมหาธรรมราชา (สมเด็จพระศรีสรรเพชญ์)และพระวิสุทธิกษัตริย์ (พระธิดาในพระมหาจักรพรรดิกับสมเด็จพระสุริโยทัย) ทรงมีพระพี่นางทรงพระนามว่า พระสุพรรณเทวี (พระสุพรรณกัลยา) และพระอนุชาทรงพระนามว่า พระเอกาทศรถ (พระองค์ขาว)

          ต่อมา พระเจ้ากรุงหงสาวดีบุเรงนองยกทัพมาตีกรุงศรีอยุธยา ได้รับชัยชนะ และก่อนจะเลิกทัพออกจากกรุงศรีอยุธยา ได้ทรงขอ "พระองค์ดำ" เป็นราชบุตรบุญธรรม ขณะที่ทรงมีพระชนมายุได้ ๙ พรรษาให้ตามเสด็จไปอยู่ ณ กรุงหงสาวดี ประเทศพม่า เพื่อเป็นองค์ประกัน พ.ศ.๒๑๑๔ เมื่อทรงพระชนมายุได้ ๑๖ พรรษา ฝ่ายพระได้สถาปนาพระมหาธรรมราชา ขึ้นเป็นกษัตริย์กรุงศรีอยุธยาในฐานะเมืองประเทศราช สมเด็จพระมหาธรรมราชาจึงทรงขอ "พระองค์ดำ" พระราชโอรสกลับมาช่วยงานภารกิจบ้านเมือง ในฐานะอุปราช โดยให้ครองเมืองพิษณุโลก และได้ถวาย "พระสุพรรณกัลยา" พระราชธิดาพระองค์ใหญ่เป็นองค์ประกันแทน

           ปี พ.ศ. ๒๑๑๗ หลังจากสมเด็จพระนเรศวรมหาราชเสด็จขึ้นครองเมืองพิษณุโลกได้ไม่นาน พระเจ้าหงสาวดีมีรับสั่งให้เกณฑ์ทัพกรุงศรีอยุธยาให้ยกไปช่วยปราบปรามเมืองศรีสัตนาคนหุต (เวียงจันทน์) โดยสมเด็จพระนเรศวรได้ตามเสด็จพระราชบิดาในราชการทัพครั้งนั้นด้วย และโปรดให้สร้างวังหน้าหรือ "วังจันทน์เกษม" ในปัจจุบันเพื่อใช้เป็นที่ประทับและอำนวยการทำศึกสงคราม ในปี พ.ศ. ๒๑๒๐

          ปี พ.ศ. ๒๑๒๓ สมเด็จพระนเรศวรพร้อมด้วยพระเอกาทศรถ นำไพล่พล ๓,๐๐๐ ไปสมทบกับทัพเมืองชัยบาดาลและเมืองศรีเทพ เพื่อนำทัพเข้าโอบล้อมโจมตีกองทัพเขมรจนแตกพ่าย ครั้นถึง ปี พ.ศ. ๒๑๒๔ พระเจ้าหงสาวดีเสด็จสวรรคต พระมหาอุปราชนันทบุเรง เสด็จขึ้นครองราชย์แทนในครั้งนั้นมีเหตุเจ้าฟ้าไทยใหญ่แห่งเมืองคัง คิดตั้งตนเป็นอิสระ ไม่ยอมขึ้นต่อกรุงหงสาวดี พระเจ้านันทบุเรง จึงมีรับสั่งให้สมเด็จพระนเรศวรคุมกองทัพไทย พระมหาอุปราชคุมกองทัพพม่า และพระสังกทัตคุมกองทัพมอญไปปราบปราม ครั้นถึงกำหนดวันที่สมเด็จพระนเรศวรนำกองทัพกรุงศรีอยุธยาเข้าตีเมืองคัง ทหารฝ่ายไทยก็สามารถจับกุมเจ้าฟ้าเมืองคังได้ทันท่วงที ทำให้พระมหาอุปราชและพระสังกทัตได้รับความละอาย ต้องยอมรับความปราชัยในการประชันพระปรีชาสามารถทางการศึกสงครามไม่รู้ลืม

          ปี พ.ศ. ๒๑๒๖ สมเด็จพระมหาธรรมราชา โปรดเกล้าฯให้สมเด็จพระนเรศวรคุมทัพไปช่วยทัพของพระเจ้าหงสาวดีนันทบุเรง ซึ่งยกทัพไปตีเมืองอังวะ แต่ทัพไทยยกไปไม่ทันตามกำหนด เป็นเหตุให้พระเจ้านันทบุเรงเกิดความระแวง จึงรับสั่งให้พระมหาอุปราชาหาทางกำจัดสมเด็จพระนเรศวร เมื่อสมเด็จพระนเรศวรเสด็จถึงเมืองแครง พระองค์ได้ทรงทราบแผนของพระมหาอุปราชา ที่ให้พระยาเกียรติ พระยาราม หาทางกำจัดพระองค์จากพระมหาเถรคันฉ่อง พระองค์จึงโปรดฯ ให้แม่ทัพนายกองมาประชุมและนิมนต์พระมหาเถรคันฉ่องพร้อมด้วยคณะสงฆ์มาเป็นสักขีพยาน ทรงหลั่งน้ำลงเหนือแผ่นดินประกาศอิสระภาพ ไม่ยอมขึ้นต่อกรุงหงสาวดี ณ เมืองแครง ในวันอังคารที่ ๑๔ เมษายน พ.ศ. ๒๑๒๗ เวลาประมาณ ๑๙.๐๐ น.
และได้เสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติเป็นพระมหากษัตริย์แห่งกรุงศรีอยุธยา เมื่อ พ.ศ. ๒๑๓๓ ซึ่งขณะนั้นทรงมีพระชนมายุได้ ๓๕ พรรษา พร้อมกับทรงสถาปนา พระเอกาทศรถ เป็น "พระมหาอุปราช" และให้ถือพระเกียรติสูงเสมอพระเจ้าแผ่นดิน

          พ.ศ. ๒๑๓๘ ตีกรุงหงสาวดีครั้งที่ ๑ ปราบกบฏเมืองตะนาวศรี เกลี้ยกล่อม พระยาพะโร แห่งเมาะลำเลิงให้แข็งเมือง เพื่อตีเมาะตะมะให้สำเร็จพม่าหนีไปอยู่หงสาวดี มอญและไทยร่วมมือกันตีกองทัพพระเจ้าตองอูพ่ายไป หัวเมืองมอญสวามิภักดิ์ต่อไทย ล้อมกรุงหงสาวดีอยู่ ๓ เดือน ทราบข่าวว่ามีกองทัพตองอู อังวะ และแปรมาช่วยจึงถอยทัพ แต่การศึกครั้งนี้ทำให้ความเป็นราชาธิราชของพม่าล่มสลาย ทำให้สมเด็จพระนเรศวรฯ สามารถแผ่อาณาจักรได้ถึงประเทศจีน

          เมื่อ พ.ศ. ๒๑๔๒ ตีกรุงหงสาวดีครั้งที่ ๒ โปรดให้เจ้าพระยาจักรียึดเมาะลำเลิง และเกณฑ์คนให้ทำนาเพื่อสะสมเสบียง เกณฑ์ทวายให้ต่อเรือรบ เกลี้ยกล่อมมอญให้เข้าร่วมด้วย เมืองยะไข่และเมืองตองอูยินยอมจะยกทัพมาสมทบ

          แต่พระมหาเถรเสียมเพรียมยุยงพระเจ้าตองอูและยะไข่ให้ทรยศต่อไทย ยุมอญให้กระด้างกระเดื่องต่อกรุงศรีอยุธยา สมเด็จพระนเรศวรฯ และพระเอกาทศรถต้องเสียเวลาปราบปรามมอญ ทำให้กองทัพตองอูและยะไข่ยกไปถึงหงสาวดี เมื่อพระเจ้าหงสาวดีนันทะบุเรงทราบว่ากองทัพอยุธยาสามารถปราบมอญได้ราบคาบ และยกทัพถึงเมืองเมาะตะมะแล้วจึงรีบเปิดประตูเมืองรับพระเจ้าตองอู รีบเก็บทรัพย์สมบัติแล้วเผาพระราชวังหลบหนีไปเมืองตองอู สมเด็จพระนเรศวรฯ และพระเอกาทศรถเสียเวลาในการเดินทางไปเมืองตองอู ซึ่งการเดินทางเต็มไปด้วยความลำบาก พื้นที่เป็นภูเขาสูงและต้องระมัดระวังการลอบโจมตีของกองทัพตองอูและยะไข่ เมื่อถึงตองอูซึ่งเป็นเมืองป้อมปราการแข็งแกร่ง มีคูเมืองกว้างและลึกมาก ในระหว่างล้อมเมืองต้องให้ขุดคูไขน้ำลงแม่น้ำสะโตง ทุกวันนี้ยังเรียกว่า เมืองอโยธยา จนถึงฤดูฝนและเสบียงอาหารที่เตรียมมาเพื่อตีกรุงหงสาวดีก็ร่อยหรอลง จึงต้องเลิกทัพกลับกรุงศรีอยุธยา กรุงหงสาวดีที่เคยแข็งแกร่งต้องเหลือเพียงเถ้าถ่าน

          พระสังกทัต (นัดจิงหน่อง) พระราชบุตรพระเจ้าตองอูดำริว่าพระเจ้าหงสาวดีนันทบุเรง เป็นตัวสาเหตุทำให้ตองอูเป็นเป้าหมายใหญ่ที่สมเด็จพระนเรศวรฯ จะต้องยกทัพมาย่ำยีตองอูอย่างแน่นอน อีกทั้งเมืองทั้งหลายได้แตกแยกกัน เนื่องจากพระเจ้าหงสาวดีเป็นต้นเหตุ พระสังกทัตจึงลอบปลงพระชนม์ด้วยยาพิษเสีย เมื่อเดือน ๑๑ แรม ๑๐ ค่ำ พ.ศ. ๒๑๔๓ พระเจ้าหงสาวดีนันทบุเรงก็สิ้นพระชนม์ขณะที่ประทับอยู่ที่เมืองตองอูได้เพียง ๘ เดือนเท่านั้น

          พ.ศ. ๒๑๔๗ สงครามครั้งสุดท้าย สมเด็จพระนเรศวรฯ โปรดให้สะสมเสบียงอาหารและปรับปรุงกองทัพให้เข้มแข็ง ด้วยหมายจะปราบพม่าให้ราบคาบ จึงใช้เวลาถึง ๓ ปีเศษ รับสั่งให้เดินทัพไปเมืองเชียงใหม่และให้แยกเป็นสองทัพ โดยทัพพระเอกาทศรถให้ยกออกไปทางเมืองฝาง ส่วนทัพสมเด็จพระนเรศวรยกไปทางเมืองหางหรือห้างหลวง ที่ตำบลทุ่งแก้ว ริมแม่น้ำสาละวิน และได้เกิดประชวรเป็นหัวระลอก (บ้างว่าถูกแมลงพิษต่อย) ที่พระพักตร์ แล้วเลยเป็นบาดทะยัก จนพระอาการหนักจึงตรัสสั่งให้พระเอกาทศรถเข้าเฝ้า ทรงได้พยาบาลพระเชษฐาธิราชได้ ๓ วัน

          สมเด็จพระนเรศวร ก็เสด็จสวรรคต ณ เมืองหลวง บางตำราว่า เมืองหาง) ตำบลทุ่งดอนแก้ว ตรงกับวันจันทร์ขึ้น ๘ ค่ำ เดือน ๖ ปีมะเส็ง ซึ่งตรงกับวันจันทร์ที่ ๒๕ เมษายน ๒๑๔๘ พระชนมายุ ๕๐ พรรษา ครองราชย์สมบัติได้ ๑๕ ปี

๒๕ เมษายน พ.ศ. ๒๕๑๗ การปฏิวัติคาร์เนชั่น (Carnation Revolution) ที่เมืองลิสบอล ประเทศโปรตุเกส

๒๕ เมษายน พ.ศ. ๒๔๔๙ วันเกิด มาลัย ชูพินิจ นักหนังสือพิมพ์คนสำคัญของไทย

๒๕ เมษายน พ.ศ. ๒๔๐๒ เริ่มขุด คลองสุเอซ ในประเทศอียิปต์

๒๕ เมษายน พ.ศ. ๒๔๙๖ เจมส์ วัตสัน และ ฟรานซิส คริก ประกาศค้นพบ โครงสร้างดีเอ็นเอ

๒๕ เมษายน พ.ศ. ๒๔๑๗ วันเกิด กูลิเอลโม มาร์โกนี ผู้คิดค้นวิทยุโทรเลข

๒๕ เมษายน พ.ศ. ๒๒๖๒ โรบินสัน ครูโซ นิยายของ เดเนียล ดีโฟ ได้รับการตีพิมพ์เป็นครั้งแรก

๒๖ เมษายน ๒๔๓๑

วันเปิดโรงพยาบาลศิริราช (๒๖ เมษายนของทุกปี จึงถือเป็นวันคล้ายวันพระราชทานกำเนิดโรงพยาบาลศิริราช โรงพยาบาลหลวงแห่งแรกของประเทศไทยที่มีอายุยาวนานที่สุด)

๒๖ เมษายน พ.ศ. ๒๔๓๑

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ เสด็จพระราชดำเนิน ทรงประกอบพิธีเปิด โรงพยาบาลศิริราช นับเป็นโรงพยาบาลแห่งแรกของสยาม ก่อนหน้านี้เมื่อปี ๒๔๒๔ เกิดการระบาดของอหิวาตกอย่างหนัก รัชกาลที่ ๕ จึงโปรดเกล้าฯ ให้จัดตั้งโรงพยาบาลชั่วคราวขึ้นในชุมชนต่าง ๆ แม้เมื่อโรคระบาดเริ่มลดลงก็ยังคงให้โรงพยาบาลเหล่านี้ดำเนินการต่อไป ด้วยทรงตระหนักว่ากิจการโรงพยาบาลเป็นสิ่งจำเป็น ต่อมาปี ๒๔๒๙ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ก่อสร้างโรงบยาบาลถาวรแห่งแรกขึ้น ณ บริเวณที่ดินของกรมพระราชวังบวรสถานภิมุข (วังหลัง) ที่ฝั่งธนบุรี ในระหว่างเตรียมการก่อสร้าง สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าศิริราชกกุธภัณฑ์ พระราชโอรส ได้ประชวรด้วยโรคบิด สิ้นพระชนม์เมื่อวันที่ ๓๑ พฤษภาคม ๒๔๓๐ รัชกาลที่ ๕ ทรงเศร้าโศกเป็นอย่างมาก ถึงกับทรงมีพระราชปณิธานอย่างแรงกล้าที่จะสร้างโรงพยาบาลขึ้นให้สำเร็จ เมื่อเสร็จงานพระเมรุแล้ว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้รื้อโรงเรือนและเครื่องใช้ต่าง ๆ ไปสร้างโรงพยาบาล อีกทั้งยังพระราชทานทรัพย์ของเจ้าฟ้าสิริราชกกุธภัณฑ์ แก่โรงพยาบาลอีกด้วย ต่อมาได้พระราชทานนามว่า โรงศิริราชพยาบาล ตามพระนามของเจ้าฟ้าศิริราชกกุธภัณฑ์ แต่ชาวบ้านนิยมเรียกว่า โรงพยาบาลวังหลัง ต่อมาได้เปลี่ยนเชื่อเป็น โรงพยาบาลศิริราช มาจนทุกวันนี้

๒๖ เมษายน พ.ศ. ๒๔๓๖

วันสถาปนา สภากาชาดไทย ซึ่งพัฒนามาจาก สภาอุณาโลมแดง ซึ่ง พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้จัดตั้งขึ้นในวันนี้ ทั้งนี้ในปี ๒๔๓๖ (ร.ศ. ๑๑๒) ได้เกิด กรณีพิพาท ร.ศ. ๑๑๒ ระหว่างสยามกับฝรั่งเศสเรื่องดินแดนฝั่งซ้ายแม่น้ำโขง มีการสู้รบเป็นเหตุให้ทหารได้รับบาดเจ็บล้มตายจำนวนมาก แต่ปรากฎว่าไม่มีองค์กรใดเข้าไปช่วยเหลือพยาบาล ท่านผู้หญิงเปลี่ยน ภาสกรวงษ์ จึงได้รวบรวมสตรีอาสาสมัครขึ้น แล้วนำความกราบบังคมทูล สมเด็จพระนางเจ้าสว่างวัฒนา พระบรมราชเทวี ขอให้นำความขึ้นกราบบังคมทูล พระกรุณาขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตตั้ง สภาอุณาโลมแดงแห่งชาติสยาม ขึ้นเพื่อช่วยเหลือด้านการพยาบาลแก่ทหารที่ได้รับบาดเจ็บ รัชกาลที่ ๕ ทรงมีพระราชกระแสว่า เป็นความคิดอันดีตามแบบอย่างประเทศที่เจริญแล้ว จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้จัดตั้งสภาอุณาโลมแดงขึ้น ต่อมา รัชกาลที่ ๕ ทรงทรงบริจาคทรัพย์รวมกับทุนของสภาอุณาโลมแดง สร้างโรงพยาบาลของสภากาชาดสยามขึ้นเมื่อปี ๒๔๕๗ ชื่อว่า “โรงพยาบาล จุฬาลงกรณ์” เพื่อเป็นอนุสรณ์ ในพระราชบิดา ต่อมาก็ได้เปลี่ยนชื่อ “สภาอุณาโลมแดง” เป็น “สภากาชาดไทย” เพื่อมิให้เรียกชื่อสับสน เมื่อปี ๒๔๖๓ คณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศ ได้รับรองสภากาชาดไทย ปีต่อมาสหพันธ์สภากาชาดและสภาเสี้ยววงเดือนแดงระหว่างประเทศ (เดิมคือ สันนิบาตสภากาชาด) ได้รับสภากาชาดไทยเข้าเป็นสมาชิก

๒๖ เมษายน พ.ศ. ๒๔๕๖

พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิด ปาสตุรสภา (Pasteur Institute) ก่อนหน้านี้ ปี ๒๔๕๕ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงพระดำริที่จะจัดตั้งสถานที่ป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า เนื่องจาก หม่อมเจ้าหญิงบันลุศิริสาร ดิศกุล พระธิดาได้สิ้นชีพิตักษัยด้วยโรคพิษสุนัขบ้า จากนั้นก็ได้นำความกราบบังคมทูลรัชกาลที่ ๖ และได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาต ให้อาศัยตึกหลวงที่ถนนบำรุงเมือง เป็นที่ทำการผลิต และฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า เมื่อสร้างเสร็จให้เรียกชื่อว่า “ปาสตุรสภา” ตามชื่อ หลุยส์ ปาสเตอร์ (Louis pasteur) นักเคมีชาวฝรั่งเศสผู้พบวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า ต่อมาปี ๒๔๖๐ รัชกาลที่ ๖ โปรดเกล้าฯ ให้โอนจากกระทรวงมหาดไทยไปสังกัดสภากาชาดไทย และเปลี่ยนชื่อเป็น “สถานปาสเตอร์” ต่อมาในปี ๒๔๖๓ ได้ทรงบริจาคทรัพย์ส่วนพระองค์ให้แก่สภากาชาดไทย เพื่อจัดสร้างที่ทำการของสถานปาสเตอร์แห่งใหม่ขึ้นที่ถนนพระราม ๔ และได้พระราชทานนาม “สถานเสาวภา” เพื่อเป็นพระบรมราชานุสรณ์ เทิดพระเกียรติ สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพระพันปีหลวง และได้เสด็จพระราชดำเนินมาทรงประกอบพิธีเปิดเมื่อวันที่ ๗ ธันวาคม ๒๔๖๕ จัดตั้งเป็นที่ทำการของสถานเสาวภา สภากาชาดไทยสืบมาจนถึงทุกวันนี้

๒๖ เมษายน พ.ศ. ๒๕๒๙

โรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์เชอร์โนบิล (Chernobyl Nuclear Power Plant) ที่เมืองเชอร์โนบิล ประเทศยูเครน (สมัยนั้นยังเป็นส่วนหนึ่งของสหภาพโซเวียต) เกิดการระเบิด หลังจากที่ทีมวิศวกรตรวจสอบการทำงานของระบบทำความเย็น โดยปิดระบบรักษาความปลอดภัย เมื่อแรงดันไอน้ำภายในสูงขึ้นอย่างฉับพลันแต่ระบบตัดการทำงานอัตโนมัติกลับไม่ทำงาน ส่งผลให้ให้เตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์หมายเลข ๔ ระเบิด สารกัมมันตรังสีเกือบทั้งหมด แพร่กระจายสู่บรรยากาศ ในรัศมี ๓๐ กิโลเมตรมีการเปรอะเปื้อนรังสีสูง ถูกประกาศเป็นเขตอันตราย (Zone of alienation) สารกัมมันตภาพรังสีลอยออกไปปนเปื้อนทั้งในอากาศ แม่น้ำ ผืนดิน ทั่วทวีปยุโรปกว่า ๓.๙ ล้านตารางกิโลเมตร ต้องอพยพประชาชนประมาณ ๓๓๖,๐๐๐ คน หลังอุบัติเหตุ รัฐบาลยูเครนพยายามปิดข่าว แจ้งเพียงแค่ว่า มีเจ้าหน้าที่โรงไฟฟ้า และเจ้าหน้าที่ดับเพลิงเสียชีวิตจำนวน ๓๑ คน มีผู้บาดเจ็บจากกัมมันตรังสี ๒๐๓ คน แต่ด้วยความต้องการไฟฟ้าจำนวนมาก รัฐบาลยูเครนก็สั่งเดินเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ที่เหลือในปี ๒๕๓๔ ก่อนที่โรงงานแห่งนี้จะปิดตัวเมื่อวันที่ ๑๕ ธันวาคม ๒๕๔๓ ในปี ๒๕๔๕ องค์กรอนามัยโลก (WHO) ได้สรุปผลความเสียหายว่า มีผู้เสียชีวิตจากแรงระเบิดโดยตรง ๔๗ ราย และคาดการณ์ว่าจะมีผู้เสียชีวิตเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ อีก ๙,๐๐๐ คน จากจำนวนผู้ที่ได้รับผลกระทบทั้งหมดประมาณ ๖.๖ ล้านคน ซึ่ง ๔,๐๐๐ คนมีสาเหตุจากโรคมะเร็งที่ต่อมไทรอยด์ ที่เหลือจากโรคมะเร็งชนิดอื่น ๆ และโรคอื่น ๆ นอกจากนี้ยังมีผู้ที่ได้รับผลกระทบทางจิตใจอีกจำนวนมาก นับว่าเป็นหายนะภัยจากโรงงานไฟฟ้านิวเคลียร์ที่รุนแรงที่สุดในโลก นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่า หายนะภัยเชอร์โนเบลทำให้สารกัมมันตภาพรังสีรั่วไหลมากกว่าระเบิดนิวเคลียร์ที่ถล่มฮิโรชิมาและนางาซากิถึง ๒๐๐ เท่า

๒๗ เมษายน เป็นวันที่ ๑๑๗ ของปี (วันที่ ๑๑๘ ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก ๒๔๘ วันในปีนั้น

๒๗ เมษายน พ.ศ. ๒๐๖๔ (ค.ศ. ๑๕๒๑)

เฟอร์ดินันด์ มาเจลลัน นักสำรวจชาวโปรตุเกส ถูกสังหารในยุทธภูมิมัคแทน โดยชาวฟิลิปปินส์ (เกิด พ.ศ. ๒๐๒๓)

๒๗ เมษายน พ.ศ. ๒๒๑๐ (ค.ศ. ๑๖๖๗)

จอห์น มิลตัน กวีชาวอังกฤษ ขายลิขสิทธิ์บทกวี พาราไดซ์ลอสต์ ด้วยมูลค่าเพียง ๑๐ ปอนด์

๒๗ เมษายน พ.ศ. ๒๓๐๒ วันเกิด แมรี วอลสโตนคราฟท์ นักปรัชญาสายเฟมินิสม์

๒๗ เมษายน พ.ศ. ๒๓๓๔ (ค.ศ. ๑๗๙๑) –

วันเกิด ซามูเอล เอฟ. บี. มอร์ส นักประดิษฐ์ชาวอเมริกัน (ถึงแก่กรรม ๒ เมษายน พ.ศ. ๒๔๑๕)

๒๗ เมษายน ๒๓๕๔ (ค.ศ. ๑๘๑๑)

วันถวายพระเพลิงพระบรมศพ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ณ ท้องพระเมรุ

๒๗ เมษายน ๒๓๘๒

พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ ๓ ทรงพระกรุณาโปรดเก้ลา ฯ ให้จ้างโรงพิมท์หมอบรัดเลย์ มัชชันนารี ชาวอเมริกันพิมพ์หมายประกาศห้ามสูบฝิ่น และทำฝิ่นจำนวน ๙๐,๐๐๐ ฉบับ นับเป็นหมายประกาศฉบับแรก ที่ทางราชการให้จัดพิมพ์ขึ้น

๒๗ เมษายน พ.ศ. ๒๔๐๘ (ค.ศ. ๑๘๖๕)

เรือกลไฟ ซุลตานา ที่ล่องอยู่ในแม่น้ำมิสซิสซิปปีเกิดระเบิด ทำให้ผู้โดยสารเสียชีวิต ๑,๗๐๐ คน

๒๗ เมษายน พ.ศ. ๒๔๑๖ (ค.ศ. ๑๘๗๓) –

วันเกิด พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอรพินทุ์เพ็ญภาค พระราชธิดาในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (สิ้นพระชนม์ ๒๖ มกราคม พ.ศ. ๒๔๗๘)

๒๗ เมษายน พ.ศ. ๒๔๒๕ (ค.ศ. ๑๘๘๒)

วันถึงแก่กรรม ราล์ฟ วอลโด เอเมอร์สัน กวีและนักเขียนชาวอเมริกัน (เกิด ๒๕ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๓๔๖)

๒๗ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๔ (ค.ศ. ๑๙๔๑)

บีบีซีภาคภาษาไทย ออกอากาศเป็นครั้งแรก

๒๗ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๕ (ค.ศ. ๑๙๔๒)

วันถึงแก่กรรม ชิต บุรทัต กวีสมัยรัชกาลที่ ๖ ผู้แต่งสามัคคีเภทคำฉันท์ (เกิด ๖ กันยายน พ.ศ. ๒๔๓๕)

๒๗ เมษายน พ.ศ. ๒๔๙๑ (ค.ศ. ๑๙๔๘)

กบฏดุซงญอ: กำลังตำรวจยกเข้าหมู่บ้านเป็นครั้งที่ ๒ ยิงโต้ตอบกัน ๓ ชั่วโมงก่อนจะถอยออกมา

๒๗ เมษายน พ.ศ. ๒๔๙๓ (ค.ศ. ๑๙๕๐)

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จฯ ทรงเปิดพระราชานุสาวรีย์สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก ณ โรงพยาบาลศิริราช กรุงเทพมหานคร

๒๗ เมษายน พ.ศ. ๒๕๑๕ (ค.ศ. ๑๙๗๒)

วันถึงแก่กรรม กวาเม อึนกรูมา ผู้ก่อตั้งและประธานาธิบดีคนแรกของประเทศกานา (เกิด ๒๑ กันยายน [[พ.ศ. ๒๔๕๒)

๒๗ เมษายน พ.ศ. ๒๕๒๓ (ค.ศ. ๑๙๘๐)

เครื่องบินการบินไทย บินจาก จ.ขอนแก่น มายังกรุงเทพฯ ตกที่ระยะประมาณ ๑๓ กม. จากท่าอากาศยานกรุงเทพ พนักงานทั้งหมดและผู้โดยสาร ๔๐ จาก ๔๙ เสียชีวิต สาเหตุเกิดจากการสูญเสียการควบคุมเนื่องจากพายุฝน

๒๗ เมษายน พ.ศ. ๒๕๓๐ (ค.ศ. ๑๙๘๗) –

วันเกิด วิลเลียม โมสลีย์ นักแสดงชาวอังกฤษ

๒๗ เมษายน พ.ศ. ๒๕๔๘ (ค.ศ. ๒๐๐๕)

เครื่องบินแอร์บัส เอ ๓๘๐ ซึ่งเป็นเครื่องบินที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก ขึ้นบินได้สำเร็จในการบินเปิดตัวครั้งแรก ทางตอนใต้ของประเทศฝรั่งเศส

 

๒๘ เมษายน วันราชาภิเษกสมรส, วันสมเด็จกรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์(วันนริศ)

๒๘ เมษายน ๒๔๙๓ พระราชพิธีอภิเษกสมรส พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช กับ ม.ร.ว. สิริกิติ์ กิติยากร ณ พระตำหนักสมเด็จพระศรีวสรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า วังสระปทุม

๒๘ เมษายน ๒๕๐๗

ตั้งค่ายภานุรังษี ซึ่งเป็นที่ตั้งของกรมทหารช่าง จังหวัดทหารบกราชบุรี อยู่ที่อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี ค่ายเสนาณรงค์ ซึ่งเป็นที่ตั้งของมณฑลทหารบกที่ ๔๒ กรมทหารราบที่ ๕ กองพันที่ ๑ กรมทหารราบที่ ๕ อยู่ที่อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา

๒๘ เมษายน : วันมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

๒๘ เมษายน ๒๔๙๒ เป็นวันที่กระทรวงศึกษาธิการ ประกาศตั้งโรงเรียนฝึกหัดครูชั้นสูง ที่ถนนประสานมิตร อำเภอพระโขนง จังหวัดพระนคร วันที่ ๒๘ เมษายน จึงเป็นวันมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ และชาวศรีนครินทรวิโรฒ ควรจะรำลึกถึงปูชนียบุคคลที่ สำคัญ ๒ ท่าน ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการก่อตั้งสถาน ศึกษาแห่งนี้ คือ ศาสตราจารย์ หม่อมหลวงปิ่น มาลากุล ผู้ดำเนินการซื้อที่ดิน วางผัง บุกเบิกงาน และอีกท่านหนึ่ง ที่ได้ดำเนินการบริหารการศึกษาได้ ดำเนินการบริหารการศึกษาแห่งนี้คู่กันตลอดมาก็คือ หลวงสวัสดิสารศาสตรพุทธิ ผู้อำนวยการคนแรกของ โรงเรียนฝึกหัดครูชั้นสูง

๒๙ เมษายน - วันเต้นรำสากล, วันพฤกษชาติในญี่ปุ่น

วันเต้นรำสากล ใน พ.ศ.๒๕๒๕ คณะกรรมการเต้นรำสากลของสถาบันโรงมหรสพนานาชาติซึ่งสังกัด UNESCO ได้กำหนดให้วันที่ ๒๙ เมษายนของทุกปี เป็นวันเต้นรำสากล (Inter national Dance Day) เพื่อเป็นการรำลึกถึงวันเกิดของ Jean- George Noverre ซึ่งเป็นผู้สร้างสรรค์การเต้นบัลเลต์สมัยใหม่

ในวันสำคัญนี้อาจจัดกิจกรรมการแสดงที่หลากหลายอาจมีการสาธิตการเต้นรำและการแสดงต่างๆทั้งแบบไทย เช่น การแสดงโขน การรำโปงลาง และแบบนานาชาติ เช่น ลีลาศ บอลรูม ยิมนาสติก บัลเลต์ คอนเท็มโพรารี่แด๊นซ์ พีลาทัสสตรีทแด๊นซ์ ฮิปฮอป แจ๊สด๊านซ์ และโมเดิร์นแจ๊ส

๒๘ เมษายน วันรถไฟโลก / วันแรงงานรถไฟโลก

วันแรงงานรถไฟโลก ตรงกับวันที่ ๒๘ เม.ย.ของทุกปี สหพันธ์แรงงานขนส่งระหว่างประเทศ (ITF) อันเป็นองค์กรด้านแรงงานระดับโลกที่ก่อตั้งเมื่อ ๑๑๒ ปีมาแล้ว ปัจจุบันมีสมาชิกมากกว่า ๕ ล้านคน จากสหภาพแรงงานทั่วโลกกว่า ๗๐๐ แห่งใน ๑๔๘ ประเทศ

สำหรับการรณรงค์ในส่วนของสาขาแรงงานรถไฟ หรือที่เรียกว่า “วันรถไฟโลก” เกิดจากมติในที่ประชุมใหญ่ที่กรุงเดลลี ประเทศอินเดียเมื่อปี ๒๕๔๑ ภายใต้สโลแกน “ความปลอดภัยต้องมาก่อนผลกำไร” และการรณรงค์ในช่วง ๑๐ ปีที่ผ่านมาได้รณรงค์ร่วมกับ “การคัดค้านแปรรูปรถไฟ” ที่จะนำไปสู่การทุ่งหวังผลกำไรเพียงอย่างเดียว โดยไม่คำนึงถึงความปลอดภัยของผู้โดยสารและพนักงาน

สำหรับการพัฒนาและยกระดับบริการรถไฟในต่างประเทศ ทั่วโลกได้มีการเตรียมพัฒนาสู่การให้บริการด้วยความเร็วสูงในอนาคต เฉพาะทวีปเอเชีย เช่น ประเทศญี่ปุ่นซึ่งมีรถไฟความเร็วสูงทดลองขับรุ่น JR-Maglev MLA๐๑ ในสายยามานาชิ ได้ถูกบันทึกความเร็วไว้ที่ ๕๘๑ ก.ม./ชม. ทำให้กลายเป็นรถไฟที่มีความเร็วสูงที่สุดในโลก ซึ่งรถไฟความเร็วสูงระบบ Maglev (แม่เหล็ก) รุ่นใหม่นี้ถูกวางแผนนำไปใช้ในเส้นทางใหม่ระหว่างโตเกียว-โอซาก้า เรียกว่า “สายชูโอะ ชินกันเซ็น” และภายใน พ.ศ.๒๕๖๘ รถไฟความเร็วสูงระบบ Maglev นี้จะเปิดให้บริการเส้นทางนาโกย่า-โตเกียว

ประเทศจีนวางแผนที่จะสร้างเส้นทางรถไฟสำหรับรถไฟความเร็วสูงระยะทาง ๑๐,๐๐๐ กิโลเมตรให้ได้ภายใน พ.ศ.๒๕๖๓ โดยเส้นทางรถไฟความเร็วสูงสายแรกของจีนเปิดให้บริการเมื่อ พ.ศ. ๒๕๔๖ และความเร็วสูงมากคือเส้นทางปักกิ่ง-เทียนจิน ซึ่งเปิดเดินรถต้อนรับการแข่งกีฬาโอลิมปิคฤดูร้อนเมื่อวันที่ ๑ สิงหาคม ๒๕๕๑ ที่ผ่านมา

ส่วนประเทศอินเดียได้รับความร่วมมือจากรัฐบาลญี่ปุ่น วางแผนก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงเชื่อต่อระหว่างกรุงนิวเดลีเมืองหลวงและเมือง มุมใบอันเป็นเมืองท่าที่สำคัญ และยังมีโครงการเชื่อต่อเมืองสำคัญอีกหลายจุดทั่วประเทศในอนาคตอีกด้วย

๒๙ เมษายน ๒๕๔๘

พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศรีรัศมิ์ พระวรชายาในสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฏราชกุมาร ได้มีพระประสูติการ พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าทีปังกรรัศมีโชติ

๓๐ เมษายน ๑๘๕๗ วันพระราชสมภพ สมเด็จพระเจ้าอู่ทองวันจันทร์ขึ้น ๘ ค่ำ เดือน ๕ สวรรคต พ.ศ. ๑๙๑๒

๓๐ เมษายน – วันคุ้มครองผู้บริโภค

วันคุ้มครองผู้บริโภค แต่เดิมนั้นผู้บริโภคถือว่าเป็นผู้กำหนดตลาดชนิดและราคาของสินค้าและบริการต่างๆ โดยมีรัฐเป็นผู้ใช้อำนาจกำหนดรูปแบบหรือพฤติกรรมของผู้ผลิตควบคู่กันไป แต่ในปัจจุบันได้มีการดำเนินการของผู้ประกอบการธุรกิจขนาดใหญ่ในลักษณะรวมกลุ่มจึงก่อให้เกิดพลังทั้งทางเศรษฐกิจและทางการเมืองรวมทั้งการนำเอาศิลปะในการโฆษณาและการตลาดมาใช้อย่างกว้างขวาง สินค้าที่ผลิตก็เพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก ผู้บริโภคไม่อาจทราบถึงคุณภาพ ราคา และแหล่งผลิตได้ทั่วถึง เมื่อมีปัญหาเกิดขึ้นผู้บริโภคจึงตกอยู่ในภาวะจำยอมและเสียเปรียบผู้ประกอบธุรกิจตลอดมา

กิจกรรม

- การดำเนินการในส่วนกลาง ประธานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคอ่านสารเนื่องในวันคุ้มครองผู้บริโภค อ่านสารเนื่องในวันคุ้มครองผู้บริโภคทางสถานีวิทยุโทรทัศน์
- จัดรายการอภิปรายในหัวเรื่องที่เกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภค
- จัดนิทรรศการแสดงผลงานการคุ้มครองผู้บริโภค เผยแพร่เอกสารเกี่ยวกับเรื่องอาหารและยา รวมทั้งผลิตภัณฑ์สุขภาพ

 

โปรดเลือก "คลิ๊ก" เพื่ออ่านเหตุการณ์ใน ๑๒ เดือน

มกราคม กุมภาพันธ์ มีนาคม เมษายน
พฤษภาคม มิถุนายน กรกฎาคม สิงหาคม
กันยายน ตุลาคม พฤศจิกายน ธันวาคม

 

นำเสนอโดย
วัดท่าไทร ต.ท่าทองใหม่
อ.กาญจนดิษฐ์ จ.สุราษฎร์ธานี 84290