พระวัปปะ หรือ
พระวัปปะเถระ เป็นพระภิกษุสาวกของพระพุทธเจ้า เป็นหนึ่งในปัญจวัคคีย์
และพระอสีติมหาสาวก
พระวัปปะ เมื่อได้บรรลุเป็นพระอรหันต์แล้ว
มีบทบาทสำคัญในการช่วยเผยแพร่พระพุทธศาสนาในช่วงต้นพุทธกาล ท่านดำรงอายุพอสมควรแก่กาล
ก็ดับขันธปรินิพพาน
ชาติกำเนิด
พระวัปปะ เกิดในตระกูลพราหมณ์ในกรุงกบิลพัสดุ์ เดิมชื่อ "วัปปะ"
การศึกษา
เมื่อเจริญเติบโตขึ้น ท่านได้ศึกษาศิลปะวิทยาจนจบไตรเพทในสำนักพราหมณ์แห่งเมืองกบิลพัสดุ์
สาเหตุที่ออกบวช
เนื่องด้วยพราหมณ์ผู้เป็นบิดาของท่าน เคยเป็นพราหมณ์ 1 ใน 8 คนที่ได้รับเชิญเข้ารับภัตตาหารในพระราชวัง
กรุงกบิลพัสดุ์ ในวันขนานพระนามเจ้าชายสิทธัตถะ และได้ทำนายว่าเจ้าชายสิทธัตถะหากออกผนวชจะได้บรรลุธรรมเป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
บิดาของท่านจึงตั้งใจว่า หากเจ้าชายออกผนวชตนจะออกบวชตาม แต่ด้วยบิดาของท่านมีอายุมากแล้ว
และเกรงว่า ตนอาจจะอยู่ไม่ถึงวันที่เจ้าชายบรรลุเป็นพระอรหันต์ ท่านจึงสั่งเสียให้ลูกชาย
ซึ่งก็คือวัปปะพราหมณ์ออกบวชหากเจ้าชายออกผนวชตามคำทำนาย โดยเมื่อเจ้าชายออกบวช
ท่านวัปปะได้ตามโกณฑัญญะพราหมณ์และบุตรพราหมณ์ 108 จำนวน 3 คนออกบวชด้วย
ประวัติของท่านหลังจากนี้คล้ายคลึงกับประวัติท่านพระอัญญาโกณฑัญญะ
ดูเพิ่มได้ที่ พระอัญญาโกณฑัญญะ
บุพกรรมในอดีตชาติ
ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยวิกิพีเดียไทยได้โดยการเพิ่มเติมข้อมูลในส่วนนี้
ความสำคัญในพระพุทธศาสนา
พระวัปปะแม้จะเป็นหนึ่งใน 5 ของกลุ่มพระปัญจวัคคีย์ แต่หลังจากตรัสรู้ธรรมแล้ว
ท่านไม่ปรากฎบทบาทสำคัญในทางพระพุทธศาสนา ในคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนา
แต่อย่างไรก็ด ีท่านก็ถือว่าเป็นผู้มีส่วนสำคัญในการช่วยพระพุทธเจ้าเผยแพร่พระพุทธศาสนาในช่วงต้นพุทธกาล
บั้นปลายชีวิต
ในคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนาไม่ระบุว่าท่านนิพพานเมื่อใด และนิพพานที่ใด
แต่ท่านคงดำรงขันธ์อยู่พอสมควรแก่กาลแล้ว จึงนิพพาน
อ้างอิง.-
๑.กรมพระยาวชิรญาณวโรรส.
สมเด็จพระมหาสมณเจ้า. (2525). ธรรมวิภาคปริเฉทที่ 2. พิมพ์ครั้งที่
23. กรุงเทพฯ: คณะกรรมการแผนกตำรา มหามกุฏราชวิทยาลัย.
๒.ชีวประวัติพุทธสาวก
ประวัติพระอัจฉริยะมหาเถระเมื่อครั้งพุทธกาล เล่ม 1 จำเนียร ทรงฤกษ์
, 2542 , พิมพ์โดยสำนักปฏิบัติธรรมสวนแก้ว (สาขาวัดปากน้ำ), พิมพ์โดย
สำนักพิมพ์ธรรมสภา
๓.ธรรมสภา,อสีติมหาสาวก๘๐พระอรหันต์,ฉบับจัดพิมพ์เป็นธรรมทานในมงคลวาระคล้ายวันเกิด
คุณอำพัน-คุณสุมารัตน์ วิประกาษิต,กรุงเทพฯ, ๒๕๔๘,
๔.บุญโฮม
ปริปุณฺณสีโล(ไชยฤทธิ์),พระมหา,คู่มือเรียนนักธรรมและธรรมศึกษาชั้นโท,
ฉบับพิมพ์โรเนียวเย็บเล่ม, สำนักศาสนศึกษาวัดท่าไทร จ.สุราษฎร์ธานี,
๒๕๓๕
๕.บุญโฮม
ปริปุณฺณสีโล(ไชยฤทธิ์),พระมหา,ปัญหาและเฉลยสำหรับนักธรรมและธรรมศึกษาชั้นโท,
ฉบับพิมพ์โรเนียวเย็บเล่ม, สำนักศาสนศึกษาวัดท่าไทร จ.สุราษฎร์ธานี,
๒๕๓๕
๖.แม่กองธรรมสนามหลวง.
ธรรมศึกษาชั้นโท ฉบับปรับปรุงใหม่ที่ประกาศใช้ในปัจจุบัน. กรุงเทพ.
สำนักพิมพ์สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ (สำนักพิมพ์กรมการศาสนา),
พ.ศ. ๒๕๕๐
๗.ศูนย์พระสงฆ์นักเผยแผ่ธรรมะเพื่อพัฒนาสังคม,คู่มือธรรมศึกษาชั้นโท,
ฉบับพิมพ์ครั้งที่ ๓ พ.ศ.๒๕๔๗,โรงพิมพ์เอกพิมพ์ไท จำกัด,กรุงเทพฯ,๒๕๔๗
๘.เว็บไซต์
84000
๙.เว็บไชต
ธรรมะ เกตเวย์
๑๐.พระอสีติมหาสาวก,
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
|