อุปมา ๓ ข้อเกิดขึ้นแก่พระองค์
เมื่อพระองค์ทรงทดลองถึง
๓ วาระแล้ว ต่อมา อุปมา ๓ ข้อก็ปรากฏแก่พระองค์ว่า
๑.สมณหรือพราหมณ์ผู้มีกายและจิตยังไม่อออกจากกาม
ตรัสรู้ไม่ได้ เหมือนไม้สดแช่น้ำ สีไม่ตืดไฟ
๒. สมณหรือพราหมณ์แม้นมีกายหลีกออกจากกามแล้ว
แต่จิตยังไม่ออกจากกาม ตรัสรู้ไม่ได้ เหมือนไม้สดถึงจะตั้งไว้บนบกก็สีไม่ติดไฟ
๓. สมณหรือพราหมณ์ผู้มีกายและจิตยังอออกจากกาม
ละความพอใจรักใคร่แล้ว ก็ควรจะตรัสรู้ได้ เหมือนไม้แห้งตั้งไว้บนบก
อาจสีให้ติดไฟได้
ดังนั้นพระองค์จึงพยายามป้องกันจิตไม่ให้น้อมไปในกามารมณ์
ครั้นเห็นว่าไม่ใช่หนทางตรัสรู้จึงได้ละทุกกรกิริยานั้นเสีย กลับมาเสวยอาหารอีก
เพื่อจะบำเพ็ญเพียบรทางใจต่อไป และในขณะที่พระองค์ทรงบำเพ็ญทุกกรกิริยาอยู่นั้น
ได้มีฤาษี ๕ ตนเรียกว่า ปัญจวัคคีย์ มาเฝ้าคอยรับใข้อยู่ ด้วยหวังว่า
พระองค์ตรัสรู้ธรรมแล้วจะสอนตนให้รู้ธรรมด้วย แต่เมื่อเห็นพระองค์ละทุกกรกิริยาจึงคิดว่า
ทรงคลายความเพียร ไม่มีทางที่ตรัสรู้ได้ จึงพากันละทิ้งพระองค์เสีย
แล้วหนีไปอยู่ที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน แขวงเมืองพาราณสี แคว้นกาสี (ปัจจุบันคือ
ต.สารถนาถ อ.พาราณสี ประเทศอินเดีย)
ภาพต้นโพธิ์ต้นปัจจุบัน
สถานที่พระพุทธเจ้าประทับนั่งตรัสรู้ ด้านขวาเป็นเจดีย์พุทธคยา...ซึ่งสร้างโดยพระเจ้าหุวิชกะ
พระมหาบุญโฮม ปริปุณฺณสีโล (ไชยฤทธิ์) ถ่ายเมื่อ พ.ศ. ๒๕๔๙
ทรงรับข้าวมธุปายาสและหญ้าคา
นับจากวันที่บรรพชามาประมาณ
๖ ปี จนถึงวันเพ็ฯ เดือน ๖ ตอนเช้า พระองค์ได้รับข้าวมธุปายาส (พร้อมถาดทอง)จากนางสุชาดา
ธิดาของกุฎุมพีผู้เป็นนายบ้าน แล้วทรงถือเอาไปยังริมฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา
ทรงเสวยข้าวมธุปายาสหมดแล้ว ทรงอธิษฐานลอยถาดเสียในกระแสน้ำ เวลาเย็นพระองค์เสด็จมาสู่ต้นโพธิ์
ทรงรับหญ้าคา ๘ กำมือจาก โสตถิยพราหมณ์ซึ่งถวายในระหว่างทาง ทรงปูลาดหญ้านั้นที่โคนต้นโพธิ์
แล้วประทับนั่งหันหน้าไปทางทิศตะวันออก หันหลังเข้าหาต้นโพธิ์ ทรงอธิษฐานว่า
ถ้ายังไม่ได้บรรลุพระสัมมาสัมโพธิญาณตราบใด ก็จะไม่เสด็จลุกขึ้นตราบนั้น
ถึงแม้เนื้อและเลือดจะเหือดแห้งไปเหลือแต่หนัง เอ็น และกระดูกก็ตามที
หญ้ากุสะ ของแท้ ซึ่งอยุ่ใกล้สถานที่อธิษฐานลอยถาดและใกล้สถานที่ทรงรับหญ้าจากโสตถิยพราหมณ์
ภาพหญ้าคาที่พระองค์ทรงจากโสตถิยพราหมณ์
ซึ่งถวายในระหว่างทาง แล้วทรงปูลาดที่โคนต้นโพธิ์
หญ้าดังกล่าวภาษาถิ่นเรียก "หญ้ากุสะ" คนละสายพันธ์กับหญ้าคาในประเทศไทย
ภาพ
"พระแท่นวัชรอาสน์" สูง ๑.
สถานที่พระพุทธเจ้าประทับนั่งตรัสรู้ ด้านซ้ายเป็นเจดีย์พุทธคยา ด้านขวาเป็นต้นโพธิ์ต้นปัจจุบัน
(เป็นต้นที่ ๔)
เป็นที่ทรงเสวยวิมุตติสุข สัปดาห์ที่ ๑
พระมหาบุญโฮม ปริปุณฺณสีโล (ไชยฤทธิ์) ถ่ายเมื่อ พ.ศ. ๒๕๔๙
ทรงชนะมารและเสนามาร
พระองค์ทรงชนะมารและเสนามารก่อนที่ตะวันจะตกดินด้วยพระบารมี
๑๐ ทัศ คือ ทาน ศีล เนกขัมมะ ปัญญา วิริยะ ขันติ สัจจะ อธิษฐาน เมตตา
อุเบกขา และเมื่อทรงชนะมารแล้วทรงบรรลุญาณ ๓ ในยามทั้ง ๓ แห่งราตรีตามลำดับ
ดังนี้
๑.ในปฐมยาม ทรงบรรลุ ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ
คือ รู้จักระลึกชาตได้
๒.ในมัชฌิมยาม ทรงบรรลุ
จุตูปปาตญาณ คือ รู้จักการจุติและเกิดของสรรพสัตว์
๓.ในปัจฉิมยาม ทรงบรรลุ
อาสวักขยญาณ คือความรู้อันเป็นเหตุให้สิ้นอาสวะกิเลส
ก็ได้ตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
เมื่อวันพุธ ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๖ ก่อนแต่พุทธศักราช ๔๕ ปี ที่โคนต้นโพธิ์อัสสัตถพฤกษ์
ใกล้ฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา (ปัจจุบันคือ ต.พุทธคยา อ.คยา รัฐพิหาร ประเทศอินเดีย)
พระมหาบุญโฮม
ปริปุณฺณสีโล (ไชยฤทธิ์)
ถ่ายที่ใกล้เจดีย์พุทธคยา
เจดีย์พุทธคยา ซึ่งสูงตระหง่าน ใกล้กับต้นโพธิ์ต้นปัจจุบัน (ต้นที่
๔)
ปัจจุบันสถานที่ตรัสรู้นี้เรียก ตำบลพุทธคยา ขึ้นอยู่กับจังหวัดคยา
(ห่างจากจังหวัดคยา ๑๒ กิโลเมตร)
เจดีย์ทรงสี่เหลี่ยม สูง ๑๗๐ ฟุต, ฐานโดยรอบ ๑๒๐.๒๙ เมตร สร้างเมื่อ
พ.ศ.๖๙๔ โดยกษัตริย์พระนามว่า "หุวิชกะ"
ภายในเจดีย์พุทธคยา มีพระพุทธรูปขนาดใหญ่ ปางมารวิชัย สูง ๑.๖๖ เมตร
หน้าตักกว้าง ๑.๔๗ เมตร แกะสลักด้วยหินตามแบบศิลปะสมัยปาละ
สถานที่ปัจจุบัน : ต.พุทธคยา อ.คยา รัฐพิหาร ประเทศอินเดีย
ถ่ายเมื่อครั้งไปทัศนศึกษา
ประเทศอินเดีย-เนปาล พ.ศ. ๒๕๔๙
ธรรมะที่พระพุทธองค์ทรงตรัสรู้
ที่กล่าวกันว่าพระองค์ทรงตรัสรู้นั้น
คือ ตรัสรู้อริยสัจ (ความจริงเป็นของประเสริฐ) ๔ ประการ ได้แก่
๑.ทุกข์ คือ ความไม่สบายกาย
ไม่สบายใจ
๒.สมุทัย คือ เหตุให้เกิดทุกข์
๓.นิโรธ คือ ความดับทุกข์
๔.มรรค คือ ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์
อริยสัจ ๔ ประการนี้พระองค์ได้ตรัสรู้ในยามที่
๓ หรือปัจฉิมยาม แห่งราตรีวันตรัสรู้นั่นเอง
ได้พระนามพิเศษ
ชื่อเดิมของพระองค์ว่า
สิทธัตถะ นั้น หลังจากที่พระองค์ได้ตรัสรู้แล้วจึงได้พระนามพิเศษ
๒ ประการ คือ
๑.อรหัง เพราะได้พระปัญญาตรัสรู้ธรรมพิเศษอันเป็นเหตุให้ถึงความบริสุทธิ์จากกิเลสอาสวะ
๒.สัมมาสัมพุทโธ
เพราะพระองค์ ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง ไม่มีใครคอยบันดาลให้,
ครูวิศวามิตร, อาฬารดาบส กาลามโคตร และ อุทกดาบส รามบุตร ก็ไม่ได้สอนให้รู้ความจริงอันประเสริฐ(อริยสัจ)ทั้ง
๔ ประการนี้เลย ความจริงนี้พระองค์ได้ตรัสรู้เอง เพราะฉะนั้นพระองค์จึงได้พระนามว่า
สัมมาสัมพุทธเจ้า
ป ฐ ม โ พ
ธิ ก า ล
ปริจเฉทที่ ๖ ปฐมเทศนาและปฐมสาวก
สัตตมหาสถาน
หลังจากตรัสรู้แล้ว
พระองค์ได้ประทับเสวยวิมุตติสุข ๗ สัปดาห์ ๆ ละ ๑ แห่ง คือ
๑.ต้นโพธิ์ (อัสสัตถพฤกษ์)
เป็นสถานที่ตรัสรู้นั่นเอง ทรงพิจารณาปฏิจจสมุปบาทธรรม, ทรงเปล่งอุทาน
๓ ข้อในยามทั้ง ๓ แห่งราตรี (อุทาน คือ คำที่ตรัสออกมาด้วยด้วยความเบิกบานพระหฤทัย)
๒.อนิมิสสเจดีย์
อยู่ที่ทิศอีสานแห่งต้นโพธิ์ ทรงประทับยืนทอดพระเนตรดูต้นโพธิ์โดยมิได้กระพริบพระเนตรตลอด
๗ วัน
๓.รัตนจงกรมเจดีย์
อยู่ระหว่างต้นโพธิ์กับอนิมิสสเจดีย์ พระองค์เนรมิตที่จงกรมขึ้น แล้ว
เสด็จจงกรมกลับไปกลับมาในที่นั้นตลอด ๗ วัน
๔.รัตนฆรเจดีย์
อยู่ทิศปัจจิมหรือพายัพแห่งต้นโพธิ์ พระองค์ทรงนั่งขัดบัลลังก์พิจารณาพระอภิธรรมปิฏกสิ้น
๗ วัน ในเรือนแก้ว ซึ่งเทวดาเนรมิตขึ้นถวาย
๕.ต้นไทร (ต้นอชปาลนิโครธ)
อยู่ทิศตะวันออกของต้นโพธิ์ ซึ่งเป็นที่พักอาศัยของคนเลี้ยงแพะ ในที่นั้นได้มี
พราหมณ์หุหุกชาติ (ซึ่งนิยมตลาดผู้อื่นว่า หึ หึ) มาทูลถามถึงพราหมณ์และธรรมที่ทำให้คนเป็นพราหมณ์
๖.ต้นจิก (ต้นมุจจลินท์)
อยู่ทิศอาคเนย์ของต้นโพธิ์ ในที่แห่งนี้มีลมและฝนตกพรำตลอด ๗ วัน ทรงเปล่งอุทานว่า
ความสงัดเป็นสุขของผู้มีธรรมอันสงบที่ได้สดับแล้ว. เป็นต้น, และได้มีพระยานาคชื่อ
มุจจลินท์ ขึ้นมาจากสระน้ำใกล้ ๆ ต้นจิกนั้น เข้ามาวงขนดเป็น ๗ รอบ
แผ่พังพานปกป้องพระองค์ไว้เพื่อมิให้ฝนและลมถูกต้องพระพุทธองค์ได้
๗.ต้นเกตุ (ต้นราชายตนะ)
อยู่ทิศทักษิณแห่งต้นโพธิ์ ได้มีพานิช ๒ คนพี่น้อง ชื่อ ตปุสสะ และ
ภัลลิกะ ซึ่งเดินทางมาจากอุกกลชนบท ได้มาเห็นพระพุทธองค์เข้าจึงเกิดความเลื่อมใส
จึงถวายข้าวสัตตุผง สัตตุก้อนแก่พระองค์เป็นปฐมบิณฑบาตหลังจากตรัสรู้และแสดงตนเป็นอุบาสกผู้ถึงรัตนะ
๒ ประการ คือ พระพุทธ และ พระธรรม เป็นสรณะก่อนใคร ๆ ในโลก เรียกว่า
เทฺววาจิกอุบาสก แปลว่า อุบาสกผู้ถึงรัตนะ ๒ ประการ
หมายเหตุ.-อันดับที่
๒,๓,๔ เป็นที่ซึ่งพระอรรถกถาจารย์กล่าวแทรกเพิ่มเข้ามา
ภาพโบสถ์
วัดไทยพุทธคยา (สร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๕๐๐) อ.คยา รัฐพิหาร ประเทศอินเดีย
ซึ่งอยู่ไม่ห่างไกลจากสถานที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้
ถ่ายเมื่อครั้งไปทัศนศึกษา ประเทศอินเดีย-เนปาล พ.ศ. ๒๕๔๙
ทรงทราบอุปนิสัยของเวไนยสัตว์
เมื่อประทับอยู่ใต้ต้นเกตุจนครบ
๗ วันแล้ว จึงได้เสด็จกลับไปประทับอยู่ที่ร่มไม้ไทรชื่อ อชปาลนิโครธ
อีก ทรงพิจารณาถึงธรรมที่พระองค์ได้ตรัสรู้แล้วว่า เป็นธรรมที่ลึกซึ้งซึ่งยากที่สัตว์ผู้ติดอยู่ในกามจะรู้ตามได้
จึงทรงท้อพระทัยในการที่จะสั่งสอนสัตว์ ครั้นแล้วพระองค์ทรงอาศัยพระกรุณาในหมู่สัตว์
พระองค์ทรงพิจารณาก็ทรงทราบด้วยพระปัญญาว่า หมู่สัตว์เปรียบได้กับดอกบัว
๔ เหล่า คือ
๑.สัตว์มีกิเลสน้อย เบาบาง
มีอินทรีย์แก่กล้า อาจรู้ธรรมได้ฉับพลัน เหมือนดอกบัวพ้นน้ำที่จักบานในวันนี้
๒.สัตว์ผู้มีอินทรีย์ปานกลาง
ได้อบรมจนมีอัธยาศัยแก่กล้า ก็สามารถจะบรรลุธรรมพิเศษได้ เหมือนดอกบัวที่ตั้วอยู่เสมอน้ำ
จะบานในวันพรุ่งนี้
๓.สัตว์ผู้มีอัธญาศัยยังอ่อน
ก็ยังควรได้รับคำแนะนำในธรรมเบื้องต้นไปก่อน เพื่อบำ รุงอุปนิสัย เหมือนดอกบัวซึ่งตั้งอยู่ภายในน้ำ
(กลางน้ำ) ซึ่งจักบานในวันต่อ ๆ ไป
๔.พวกที่ไม่ใช่เวไนยสัตว์(ไม่รับคำแนะนำ)
ไม่อาจจะรู้ธรรมได้เลย เหมือนดอก บัวใต้น้ำ ซึ่งจักเป็นเหยื่อหรือภักษาของปลาและเต่า
เมื่อทรงพิจารณาเห็นอย่างนี้แล้ว
เพราะทรงอาศัยพระมหากรุณาในหมู่สัตว์ จึงทรงตั้งปณิธาน และทรงตั้งพระทัยในอันที่จะดำรงพระชนม์อยู่เพื่อแสดงธรรมโปรดเวไนยสัตว์
จนกว่าพระธรรมคำสั่งสอนของพระองค์จะตั้งมั่น พุทธบริษัทรู้ทั่วถึงธรรมแล้วจึงจักปรินิพพาน
หรือที่เรียกกันว่า ทรงทำอายุสังขาราธิษฐาน นั่นเอง
พระพุทธองค์ทรงกระทำอายุสังขาราธิษฐานที่ ต้นอชปาลนิโครธ ในสัปดาห์ที่
๘ นับตั้งแต่วันตรัสรู้เป็นต้นมา เพราะทรงปรารภถึงความตั้งมั่นแห่งพระศาสนาและพุทธบริษัทเป็นเหตุ,
เกี่ยวกับเรื่องในตอนนี้
พระอรรถกถาจารย์กล่าวว่า ในเวลาที่พระพุทธองค์ทรงท้อพระทัยอยู่นั้น
ท้าวสหัมบดีพรหมทราบพุทธอัธยาศัย จึงลงมากราบทูลอาราธนาให้พระพุทธองค์ทรงแสดงธรรมโดยอ้างว่า
สัตว์ที่มีกิเลสเบาบางอาจรู้ธรรมที่ทรงแสดงนั้นก็มี พระพุทธองค์ทรงเห็นด้วยจึงทรงรับคำอาราธนาของท้าวสหัมบดีพรหม
ทรงเลือกบุคคลผู้จะรับพระธรรมเทศนา
ในเบื้องต้นทรงพิจารณาถึงอาฬารดาบส
กาลามโคร และ อุทกดาบส รามบุตร และทรงทราบว่าท่านทั้ง ๒ นั้นสิ้นชีพเสียแล้ว
ต่อมาจึงทรงระลึกถึงปัญจวัคคีย์ ซึ่งเคยรับใช้พระองค์มาก่อน จึงตกลงพระทัยว่าจะแสดงธรรมแก่ปัญจวัคคีย์ก่อนใครอื่น
เสด็จโปรดปัญจวัคคีย์
ต่อจากนั้นพระองค์ก็เสด็จออกจากโคนต้นไทรชื่อ
อชปาลนิโครธ แล้วเสด็จไปยังเมืองพาราณสี ได้พบกับอุปกาชีวกในระหว่างทางจากต้นโพธิ์กับแม่น้ำคยาต่อกัน
ท่านอุปกาชีวกทูลถามถึงครูผู้สอน (ศาสดา)ของพระพุทธองค์ พระองค์จึงตรัสตอบว่า
พระองค์เป็นสยัมภูตรัสรู้ได้โดยลำพังพระองค์เอง ไม่มีใครเป็นครูสอน
อุปกาชีวกไม่เชื่อ สั่นศีรษะ แลบลิ้นแล้วหลีกไป พระองค์จึงได้เสด็จไปถึง
ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน แขวงเมืองพาราณสี แคว้นกาสี ในเวลาเย็นวันขึ้น
๑๔ ค่ำ เดือน ๘ หรือเดือน อาสาฬหะ
ปัญจวัคคีย์แสดงอาการไม่เคารพ
ฝ่ายปัญจวัคคีย์ เมื่อเห็นพระองค์เสด็จมาแต่ไกล
จึงปรึกษากันว่าพระสมณโคดม คลายความเพียร เวียนมาเพื่อความมักมากอยู่บัดนี้
ใครไม่พึงลุกขึ้นยืนรับบาตรจีวร แต่ว่าพึงปูอาสนะไว้ ถ้าเธอปรารถนานั่งก็จะนั่งครั้นพระองค์เสด็จมาถึงแล้ว
พวกปัญจวัคคีย์พูดกับพระองค์ ด้วยวาจาไม่เคารพ โดยออกพระนามและใช้คำว่า
อาวุโส ซึ่งพระพุทธองค์ก็ตรัสห้ามเสียโดยตรัสว่า เราได้บรรลุอมฤตธรรมแล้ว
ท่านทั้งหลายจงฟังเถิด เราจักสั่งสอน ไม่ช้าเท่าไรท่านก็จักบรรลุอมฤตธรรมเป็นแน่แท้
ปัญจวัคคีย์ไม่เชื่อและกล่าวคัดค้าน พระองค์ก็ทรงเตือน แต่ปัญจวัคคีย์ก็ยังคัดค้านอยู่นั่นเองสิ้น
๒ - ๓ ครั้ง พระองค์จึงตรัสว่า แต่ไหน ๆ มา ท่านเคยได้ยินเราพูดเช่นนี้กะท่านบ้างหรือ
? พวกปัญจวัคคีย์นึกได้ว่าไม่เคยได้ยินเลย จึงได้ยอมรับฟังพระธรรมของพระพุทธองค์
ทรงแสดงปฐมเทศนา
พระธรรมเศนากัณฑ์แรกที่พระพุทธองค์ทรงแสดงมีชื่อว่า
ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร เนื้อความแห่งพระสูตรนี้ พระพุทธองค์ทรงแสดงตามลำดับอย่างนี้คือ
๑.เบื้องต้น ทรงแสดงที่สุด
๒ อย่าง ที่บรรพชิตไม่ควรเสพ ได้แก่
๑๑
กามสุขัลลิกานุโยค หมายถึง การประกอบตนให้มีความสุขโดยหมกมุ่นอยู่ในกาม(ย่อหย่อนเกินไป)
๑.๒
อัตตกิลมถานุโยค หมายถึง การบำเพ็ญเพียรโดยการทรมานตนให้ลำบากโดยเปล่าประโยชน์
(ทางตึงเกินไป)
๒.ทรงแสดงมัชฌิมาปฏิปทา
คือ ทางสายกลาง ซึ่งได้แก่ มรรคมีองค์ ๘ ที่บรรพชิตควรเสพว่า เป็นทางที่จะทำให้บรรลุธรรมวิเศษได้
๓.ต่อจากนั้นทรงแสดงอริยสัจ
๔ ประการ และตรัสว่า พระองค์ได้ตรัสรู้ความจริงอย่างประเสริฐ ๔ อย่างนี้แล้ว
๔.ในที่สุดทรงแสดงวิมุตติ
ซึ่งเป็นผลแห่งการตรัสรู้นั้น
"ธัมเมกขสถูป"
สูง ๑๔๓ ฟุต (๓๔ เมตร) เส้นผ่าศูนย์กลาง ๔๗๕ ฟุต
สถานที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงธรรมครั้งแรก
ที่ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน ในวันเพ็ญ เดือน ๘ ก่อน พ.ศ.๔๕ ปี
ภาพในปัจจุบัน ต.สารนาถ อ.พาราณสี รัฐพิหาร
ประเทศอินเดีย
ถ่ายเมื่อ
๕ มีนาคม ๒๕๔๙ เวลาประมาณ ๑๐.๐๐ น. ตามเวลาท้องถิ่น
ในภาพ
พระมหาบุญโฮม ปริปุณฺณสีโล (ไชยฤทธิ์)
ภาพในปัจจุบัน ธัมเมกขสถูป
สถานที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงธรรมครั้งแรก
ประเทศอินเดีย
ปัจจุบันเรียก สารนาถ ห่างจากเมืองประมาณ ๘ กิโลเมตร
ซึ่งเมืองพาราณสีนี้อยู่ห่างจากเมืองพุทธคยา สถานที่พระพุทธองค์ตรัสรู้
เดินทางโดยรถไฟ ๒๓๕ ก.ม., เดินทางโดยรถยนต์ ๒๗๐ ก.ม. เดินทางโดยรถยนต์
๘-๙ ชั่วโมง
ถ่ายภาพเมื่อครั้งพระมหาบุญโฮม ปริปุณฺณสีโล (ไชยฤทธิ์)
ไปทัศนศึกษา ประเทศอินเดีย-เนปาล พ.ศ. ๒๕๔๙
(โดยผู้รวบรวมตั้งใจหวังว่าจะไปทัศนศึกษาให้ครบทุกสถานที่ และไปหลาย
ๆ ครั้ง เพื่อเพิ่มศรัทธา บุญกุศล และบารมีธรรม)
ภาพอีกมุมหนึ่งของ
ธัมเมกขสถูป สถานที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงธรรมครั้งแรก
ประเทศอินเดีย
เมื่อครั้งไปนมัสการสังเวชนียสถาน ประเทศอินเดีย-เนปาล
พ.ศ. ๒๕๕๕
ถ่ายเมื่อ ๑๐ กรกฎาคม ๒๕๕๕
ได้ปฐมสาวก
ในขณะที่พระองค์ทรงแสดงพระธรรมเทศนาอยู่นั้นปรากฏว่า
ธรรมจักษุ คือ ดวงตาเห็นธรรม อยู่ในชั้นได้โสดาปัตติผล (โสดาบันน์)
ได้เกิดขึ้นแก่ ท่านโกณฑัญญะ ว่า สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา
สิ่งนั้นทั้งหมดมีความดับไปเป็นธรรมดา คือทุกสิ่งทุกอย่างที่เกิดขึ้นมาแล้วย่อมแตกสลายไปไปทั้งหมด
เป็นเหตุให้ท่านโกณฑัญญะบรรลุโสดาปัตติผล พระพุทธ องค์ทรงทราบจึงเปล่งอุทานว่า
โกณฑัญญะได้รู้แล้วหนอ โกณฑัญญะได้รู้แล้วหนอ เพราะอาศัยพระอุทานที่ว่า
อัญญา ซึ่งแปลว่า ได้รู้แล้ว ที่พระพุทธเจ้าตรัสนั้น ฉะนั้นคำว่า
อัญญา จึงได้เป็นคำนำหน้าชื่อของท่านโกณฑัญญะตลอดมาว่า พระอัญญาโกณฑัญญะ
พอจบพระธรรมเทศนา ท่านโกณฑัญญะจึงทูลขออุปสมบทในพระธรรมวินัย
พระพุทธ เจ้าทรงประทานอุปสมบทให้ท่านด้วยพระดำรัสว่าเธอจงเป็นภิกษุมาเถิด
ธรรมอันเรากล่าวดีแล้ว เธอจงประพฤติพรหมจรรย์เพื่อทำที่สุดแห่งทุกข์โดยชอบเถิด
การอุปสมบทแบบนี้เรียกว่า เอหิภิกขุอุปสัมปทา
เป็นอันว่าท่าน พระอัญญาโกณฑัญญะ
ได้เป็นปฐมสาวกคือสาวกองค์แรกในพระพุทธศาสนา ในวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน
๘ หรือเดือนอาสาฬหะ นั่นเอง, พระสังฆรัตนะก็ได้เกิดขึ้นเป็นครั้งแรกในโลก
เป็นเหตุให้ครบ ๓ รัตนะ ที่พวกเราชาวพุทธเรียกกันว่า พระรัตนตรัยนั่นเอง
ต่อมาพระพุทธเจ้าก็ทรงสั่งสอนท่านทีเหลืออีก
๔ ท่านคือ วัปปะ ภัททิยะ มหานามะ และ อัสสชิ ด้วยพระธรรมเทศนาชื่อว่า
ปกิณณกเทศนา จนท่านเหล่านั้นได้ดวงตาเห็นธรรมแล้วทูลขออุปสมบทในพระพุทธศาสนา
ซึ่งพระพุทธเจ้าก็ทรงอนุญาตให้เป็นภิกษุในพระพุทธศาสนา ทั้งสิ้นเหมือนกับท่าน
พระอัญญาโกณฑัญญะ
ทรงแสดงอนัตตลักขณสูตร
ครั้นท่านทั้ง ๕ ซึ่งเรียกว่า
พระปัญจวัคคีย์ มีอินทรีย์แก่กล้าสมควรที่จะเจริญวิปัสสนาเพื่อบรรลุ
วิมุตติ คือ ความหลุดพ้น ได้แล้ว ครั้นถึงวันแรม ๕ ค่ำ เดือน ๘ พระพุทธเจ้าก็ทรงแสดงพระธรรมเทศนาชื่อ
อนัตตลักขณสูตร ซึ่งมีใจความว่า ขันธ์ ๕ คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร
วิญญาณ เป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา ไม่ใช่ตัว ไม่ใช่ตน
ไม่ใช่ของตน ไม่เป็นไปตามปรารถนา เป็นไปเพื่อความป่วยไข้ ไม่ควรจะยึดมั่นถือมั่น
เมื่อพระปัญจวัคคีย์พิจารณาตามภูมิธรรมเทศนานั้นแล้ว
จิตก็หลุดพ้นจากอาสวะ ไม่ยึดมั่นถือมั่นด้วยอุปาทาน หรือที่ท่านเรียกว่า
บรรลุพระอรหัตตผลหรือพระอรหันต์ นั่นเอง ครั้งนั้นมีพระอรหันต์เกิดขึ้นในโลก
๖ องค์ รวมทั้งพระศาสดา
ซากปรักหักพัง
"ธัมมราชิกสถูป" สถานที่ทรงแสดงอนัตตลักขณสูตรแก่พระปัญจวัคคีย์
เมื่อ วันแรม ๕ ค่ำ เดือน ๘
ภาพถ่าย
พระมหาบุญโฮม ปริปุณฺณสีโล (ไชยฤทธิ์)
กับบรรยากาศของแม่น้ำคงคา เมืองพาราณสี รัฐพิหาร ประเทศอินเดีย ในตอนเช้า
ๆ
เมื่อครั้งไปนมัสการสังเวชนียสถาน ประเทศอินเดีย-เนปาล พ.ศ. ๒๕๕๓
ปริจเฉทที่ ๗
ส่งสาวกไปประกาศพระศาสนา
ยสกุลบุตรบรรพชา
สมัยนั้นมีกุลบุตรผู้หนึ่งชื่อ
ยสะ เป็นบุตรของเศรษฐีในเมืองพาราณสี มีปราสาท ๓ หลังสำหรับเป็นที่อยู่ใน
๓ ฤดู สมัยนั้นเป็นฤดูฝน ยสกุลบุตรอยู่ในปราสาทประจำฤดู บำเรอด้วยดนตรีมีสตรีประโคม
ไม่มีบุรุษเจือปน
คืนวันหนึ่ง ยสกุลบุตรตื่นขึ้นมาในยามดึก
ได้เห็นอากัปกิริยาของหญิงบริวารในคราวนอนหลับซึ่งมีอาหารดุจซากศพในป่าช้า
จึงเปล่งอุทานว่า ที่นี่วุ่นวายหนอ ที่นี่ขัดข้องหนอ จึงสวมรองเท้าเดินออกจากบ้านไปตามทางที่จะไปสู่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน
เดินไปพลาง บ่นไปพลางว่า ที่นี่วุ่นวายหนอ ที่นี่ขัดข้องหนอ
ขณะนั้นเป็นเวลาใกล้รุ่ง
พระบรมศาสดาเสด็จเดินจงกรมอยู่ได้สดับเข้า จึงตรัสตอบไปว่า ที่นี่ไม่วุ่นวาย
ที่นี่ไม่ขัดข้อง ท่านจงมาที่นี่เถิด นั่งลงเถิด เราจักแสดงธรรมแก่ท่าน
พอยสกุลบุตรได้ยินเช่นนั้นแล้วก็คิดว่า ที่นี่ไม่วุ่นวาย ที่นี่ไม่ขัดข้อง"
จึงถอดรองเท้า แล้วเข้าไปเฝ้า ไหว้แล้วนั่งลงในที่สมควรแห่งหนึ่ง
พระพุทธเจ้าทรงแสดง อนุปุพพิกถา
คือ ถ้อยคำที่แสดงหรือกล่าวไปตามลำดับ, มี ๕ ประการ คือ
๑.ทานกถา กล่าวถึงทาน
การให้
๒.ศีลกถา กล่าวถึงศีล
คือการรักษากาย วาจา ให้เรียบร้อย
๓.สัคคกถา กล่าวถึงสวรรค์
๔.กามาทีนวกถา กล่าวถึงโทษของกาม
๕.เนกขัมมานิสังสกถา กล่าวถึงอานิสงส์แห่งการออกบวชหรือการออกจากกาม
และทรงแสดง อริยสัจ
๔ ประการ คือ
๑.ทุกข์ คือ ความไม่สบายกาย
ไม่สบายใจ
๒.สมุทัย คือ เหตุให้เกิดทุกข์
๓.นิโรธ คือ ความดับทุกข์
๔.มรรค คือ ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์
พอจบพระธรรมเทศนา ยสกุลบุตรก็ได้ดวงตาเห็นธรรม
(ธรรมจักษุ) ภายหลังท่านพิจารณาภูมิธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงแก่เศรษฐีผู้เป็นบิดาของท่านเองอีกวาระหนึ่ง
จิตของท่านยสกุลบุตรก็หลุดพ้นจากอาสวะ ไม่ยึดมั่นถือมั่นด้วยอุปาทาน
(หมายถึง บรรลุพระอรหัตตผล หรือเป็นพระอรหันต์)
ฝ่ายมารดาของยสกุลบุตรตื่นขึ้นมาตอนเช้าไม่เห็นลูกชาย
จึงบอกแก่สามีและจัดแจงให้คนใช้ไปตามหาทั้ง ๔ ทิศ ส่วนเศรษฐีบิดาของยสะ
เดินไปตามลูกชายที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน (โดยบังเอิญ) เห็นรองเท้าเข้าก็จำได้
จึงเข้าไปเฝ้าพระบรมศาสดา พระองค์ทรงเทศนา อนุปุพพีกถาและอริยสัจ ๔
ให้เศรษฐีได้ดวงตาเห็นธรรม (ธรรมจักษุ) แล้ว เศรษฐีจึงสรรเสริญพระธรรมเทศนา
แล้วแสดงตนเป็นอุบาสกถึงรตนะ ๓ เป็นสรณะตลอดชีวิต จึงนับว่า เป็นอุบาสกคนแรกในโลกที่ถึงพระรัตนตรัยเป็นสรณะ
เรียกว่า เตวาจิกอุบาสก (อุบาสกผู้ถึงรัตนะ ๓ เป็นที่พึ่งที่ระลึก)
ในพระพุทธศาสนา เศรษฐียังไม่รู้ว่า ยสกุลบุตรหมดสิ้นกิเลสอาสวะแล้ว
จึงบอกให้กลับบ้าน ฝ่ายยสกุลบุตรได้ยินเช่นนั้น จึงแลดูพระศาสดา พระองค์จึงตรัสบอกเศรษฐีว่า
ยสกุลบุตรได้บรรลุพระอรหันต์แล้ว ( หมดสิ้นกิเลสอาสวะ ) ไม่ใช่ผู้จะกลับไปครองฆราวาสวิสัยอีก
เศรษฐีได้ฟังเช่นนั้นจึงสรรเสริญว่า เป็นลาภของยสกุลบุตรแล้ว
จึงทูลเชิญเสด็จสมเด็จพระบรมศาสดา พร้อมทั้งภิกษุสงฆ์ ไปฉันภัตตาหารในเรือนของตนในวันรุ่งขึ้น
โดยมียสกุลบุตรเป็นผู้ตามเสด็จ ครั้นทราบว่าพระพุทธองค์ทรงรับด้วยดุษณียภาพแล้ว
จึงถวายอภิวาท ทำปทักษิณแล้วกลับไป
ซากปรักหักพัง
"ยสเจดีย์" สถานที่แสดงธรรมแก่ยสกุลบุตร และบิดาของยสกุลบุตร
ปัจจุบันตั้งอยู่ที่ ต.สารนาถ
เมื่อเศรษฐีกลับไปแล้ว
ยสกุลบุตรก็ทูลขออุปสมบท พระพุทธองค์ประทานด้วยพระดำรัสว่า เธอจงเป็นภิกษุมาเถิด
ธรรมอันเรากล่าวดีแล้ว เธอจงประพฤติพรหมจรรย์เถิด ในที่นี้ไม่มีคำว่า
เพื่อทำที่สุดแห่งทุกข์โดยชอบเถิด เพราะพระยสะเป็นพระอรหันต์ ถึงที่สุดแห่งทุกข์แล้ว
(บรรลุพระอรหันต์) ตั้งแต่ยังไม่ได้อุปสมบท จึงไม่ต้องกล่าวพระวาจาเช่นนั้นอีก,
ในเช้าของวันนั้น พระพุทธองค์พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์มีพระยสะเป็นผู้ตามเสด็จ
ได้ไปยังบ้านของเศรษฐี มารดาและภรรยาเก่าของพระยสะเข้าเฝ้า ซึ่งพระพุทธองค์ก็ทรงแสดงอนุปุพพีกถา
และอริยสัจ ๔ โปรด เมื่อจบพระธรรมเทศนาหญิงทั้ง ๒ ได้ดวงตาเห็นธรรม
(บรรลุโสดาปัตติผล) แล้ว จึงแสดงตนเป็นอุบาสิกา โดยถึงพระรัตนตรัยเป็นสรณะตลอดชีวิต
นับเป็นอุบาสิกาคนแรกในโลกที่ถึงพระรัตนตรัยเป็นสรณะ เรียกว่า เตวาจิกอุบาสิกา
พอเสวยพระกระยาหารเสร็จ
ทรงแสดงธรรมโปรดคนทั้ง ๓ ให้เกิดความอาจหาญร่าเริงแล้วก็เสด็จกลับไปยัง
ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน แขวงเมืองพาราณสี แคว้นกาสี
ซากปรักหักพัง
"เสาหินพระเจ้าอโศก์" ซึ่งปักไว้เพื่อแสดงให้รู้ว่าพระพุทธเจ้าทรงแสดงปฐมเทศนาที่ตรงนี้
ปัจจุบันตั้งอยู่ที่ ต.สารนาถ
สหายของพระยสบรรพชา
ฝ่ายสหายของพระยสะอีก ๕๔
คน (ที่ปรากฏชื่อ ๔ คน คือ วิมละ, สุพาหุ, ปุณณชิ, ควัมปติ, นอกจากนี้ไม่ปรากฏชื่ออีก
๕๐ คน) ได้ทราบข่าวว่ายสกุลบุตรบวชแล้ว จึงคิดว่า ธรรมวินัยที่ยสกุลบุตรประพฤติคงไม่เป็นของเลวทราม
จึงพร้อมใจกันไปสู่สำนักของพระยสะ ๆ จึงพาไปเฝ้าพระบรมศาสดา พระพุทธเจ้าก็ทรงสั่งสอนจนท่านเหล่านั้นได้ดวงตาเห็นธรรม
แล้วทรงประทานเอหิภิกขุอุปสัมปทาและสั่งสอนให้สำเร็จเป็นพระอรหันต์ทั้งสิ้น
ครั้งนั้นได้มีพระอรหันต์เกิดขึ้นในโลกแล้ว ๖๑ องค์รวมทั้งพระบรมศาสดาด้วย
หมายเหตุ- สหายของพระยสะออกบวชตามพระยสะครั้งแรก
๔ คน และออกบวชภายหลังอีก ๕๐ คน รวมทั้งสิ้น ๕๔ คน
ส่งสาวกไปประกาศพระศาสนา
เมื่อพระสาวกมีมากพอที่จะส่งไปประกาศพระศาสนาได้แล้ว
พระพุทธองค์จึงตรัสเรียกสาวกทั้ง ๖๐ องค์มาแล้วตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย
เราได้พ้นแล้วจากบ่วงทั้งปวง ทั้งที่เป็นของทิพย์และเป็นของมนุษย์
แม้เธอทั้งหลายก็เหมือนกัน เธอทั้งหลายจงเที่ยวจากริกไปตามชนบท เพื่อประโยชน์และความสุขแก่ชนเป็นอันมาก
แต่อย่าไปทางเดียวกัน ๒ องค์ จงแสดงธรรมที่มีคุณในเบื้องต้น ท่ามกลาง
และที่สุด จงประกาศพรหมจรรย์พร้อมทั้งอรรถและพยัญชนะ อันบริสุทธิ์
บริบูรณ์โดยสิ้นเชิง สัตว์ทั้งหลายที่มีกิเลสบังปัญญาดุจธุลีในจักษุน้อยมีอยู่
เพราะโทษทีไม่ได้ธรรมย่อมเสื่อมจากคุณที่จะพึงได้ พึงถึง ผู้รู้ทั่วถึงธรรมจักมีอยู่
แม้เราก็จะไปสู่ตำบลอุรุเวลาเสนานิคมเพื่อแสดงธรรม พระสาวกทั้ง ๖๐
องค์นั้นรับคำสั่งแล้วก็เที่ยวจาริกไปในชนบทต่าง ๆ แสดงธรรม ประกาศพระศาสนา
ทรงประทานอุปสมบทด้วยไตรสรณคมน์
เมื่อสาวกเหล่านั้นได้จาริกไปประกาศระศาสนาตามบ้าน
นิคมชนบท ได้มีกุลบุตรเลื่อม ใสใคร่จะอุปสมบทในพระพุทธศาสนา ก็ไม่สามารถจะให้อุปสมบทได้
จึงพามาเฝ้าพระพุทธเจ้าเพื่อให้ทรงอุปสมบทให้ พระองค์ทรงเห็นความลำบากนั้น
จึงประทานอนุญาตให้พระสาวกอุปสมบทให้กุลุบตรด้วยวิธี ติสรณคมนูปสัมปทา
คือ ถึงไตรสรณคมน์ มีวิธีทำดังนี้คือ ในเบื้องต้นให้กุลบุตรปลงผมและหนวดเสียก่อน
แล้วให้นุ่งผ้าที่ย้อมด้วยน้ำฝาด แล้วนั่งกระโหย่ง ประนมมือไหว้เท้าภิกษุทั้งหลาย
แล้วสอนให้ว่ากล่าวคำถงไตรสรณคมน์ว่า ข้าพเจ้าถึงพระพุทธเจ้าเป็นสรณะ
ฯลฯ ดังนี้เป็นต้น การบวชนี้เป็นการอนุญาตให้สาวกเป็นพระอุปัชฌาย์บวชเป็นครั้งแรกในพระพุทธศาสนา
งแต่นั้นมาจึงมีวิธีอุปสบมบทเป็น ๒ อย่าง คือ
๑.เอหิภิกจุอุปสัมปทา ที่พระพุทธเจ้าทรงประทานเอง
๒.ติสรณคมนูปสัมปทา ที่พระพุทธเจ้าทรงอนุญาตให้สาวกให้การอุปสมบท
ทรงโปรดภัททวัคคีย์
(สหาย ๓๐ คน)
พระพุทธองค์ประทับอยู่ที่เมืองพาราณสีพอสมควรแก่พุทธประสงค์แล้ว
จึงได้เสด็จไปยัง ตำบลอุรุเวลาเสนานิคม ในระหว่างทางเสด็จแวะพักที่โคนต้นไม้ต้นหนึ่ง
ในไร่ฝ้ายแห่งหนึ่ง ในขณะนั้นเอง กุลุบตรผู้เป็นสหายกัน ๓๐ คน ซึ่งได้ชื่อว่า
ภัททวัคคีย์ พร้อมทั้งภรรยาพากันเล่นน้ำอยู่ในที่แห่งหนึ่ง อีกคนหนึ่งยังไม่มีภรรยาจึงเอาหญิงแพศยามาเป็นภรรยา
เมื่อชนเหล่านั้นเผลอไม่ได้รักษา หญิงนั้นก็ลักเอาห่อเครื่องประดับแล้วหนีไป
สหายเหล่านั้นออกติดตามหา จึงไปพบพระพุทธองค์และทูลถามหาหญิงนั้น ซึ่งพระพุทธเจ้าตรัสถามถึงสาเหตุ
กุลบุตรเหล่านั้นก็กราบทูลเรื่องราวทั้งหมดให้ทรงทราบ พระองค์จึงตรัสว่า
ท่านจะแสวงหาหญิงนั้นหรือ ? หรือว่าแสวงหาตนเองดีกว่า ? กุลบุตรเหล่านั้นทูลว่า
แสวงหาตนเองดีกว่า พระองค์จึงตรัสแสดงอนุปุพพิกถาและอริยสัจ ๔ โปรดจนให้เกิดดวงตาเห็นธรรม
แล้วประทานอุปสมบท แล้วส่งไปในทิศต่าง ๆ เพื่อประกาศพระสาสนาต่อไป
โปรดชฎิล ๓ พี่น้องพร้อมทั้งบริวาร
ส่วนพระพุทธองค์เสด็จไปโดยลำดับถึงตำบลอุรุเวลาเสนานิคม
ซึ่งเป็นที่อาศัยอยู่ของชฎิล ๓ พี่น้องกับหมู่ศิษย์ ซึ่งแยกกันสร้างอาศรมอยู่กับบริวารของตน
ใกล้ฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา ตามลำดับดังนี้
๑.พี่ใหญ่ชื่อ อุรุเวลกัสสปะ
มีศิษย์ ๕๐๐ ตั้งอาศรมอยู่ที่ ต.อุรุเวลาเสนานิคม
๒.คนกลางชื่อ นทีกัสสปะ
มีศิษย์ ๓๐๐ ตั้งอาศรมอยู่ที่ตอนล่างของตำบลอุรุเวลาเสนานินิคม
๓.น้องเล็กชื่อ คยากัสสปะ
มีศิษย์ ๒๐๐ ตั้งอาศรมอยู่ที่คุ้งน้ำคยาสีสะ ตอนใต้ของแม่น้ำเนรัญชรา
พระพุทธเจ้าทรงแสดงธรรมโปรดอุรุเวลกัสสปะด้วยวิธีต่าง
ๆ แสดงให้เห็นว่าลัทธิที่ท่านอุรุเวลกัสสปะถือนั้นไม่มีแก่นสาร จนท่านอุรุเวลกัสสปะเกิดความสลดใจ
พร้อมทั้งบริวารลอยผมที่เกล้าเป็นชฎาและเครื่องบริขารบำเพ็ญพรตและบูชาไฟทิ้งเสียในแม่น้ำ
แล้วทูลขออุปสมบท พระพุทธเจ้าทรงประทานอุปสมบทให้ด้วยวิธีเอหิภิกขุอุปสัมปทาทั้งสิ้น
ฝ่ายนทีกัสสปะผู้เป็นน้องชายกลางเห็นเครื่องบริขารของพี่ชายลอยน้ำไป
จึงคิดว่าเกิด อันตรายแก่พี่ชายจึงพาบริวาร ๓๐๐ ตนมาสู่สำนักของพี่ชาย
ก็ได้เห็นพี่ชายและบริวารถือเพศเป็น พระภิกษุเสียแล้ว ถามดูได้ความว่าพรหมจรรย์เป็นสิ่งประเสริฐ
จึงพร้อมกับบริวารลอยบริขารทิ้งเสียแล้วทูลขออุปสมบท พระพุทธเจ้าก็ทรงอนุญาตให้เป็นพระภิกษุด้วยวิธีเอหิภิกขุอุปสัมปทาเช่นกัน
ฝ่ายคยากัสสปะ ผู้เป็นน้องชายเล็กเห็นบริขารของพี่ชายลอยไปตามกระแสน้ำ
จึงคิดว่าเกิดอันตรายแก่พี่ชาย จึงพาบริวาร ๒๐๐ ตน ไปสู่สำนักของพี่ชขาย
เห็นพี่ชายทั้ง ๒ และบริวารได้ถือเพศเป็นพระภิกษุเสียแล้ว ถามดูก็ได้ความว่าพรหมจรรย์เป็นสิ่งประเสริฐ
จึงได้พร้อมกับบริวารลอยบริขารทั้งเสีย แล้วทูลขออุปสมบท ซึ่งพระพุทธเจ้าก็ได้ทรงประทานด้วยวิธีเอหิภิกขุอุปสัมปทา
ทรงแสดงอาทิตตปริยายสูตรแก่พระปุราณชฎิล
เมื่อพระพุทธองค์ประทับอยู่ที่ตำบลอุรุเวลาสนานิคมพอสมควรแล้วจึงพาภิกษุเหล่านั้นไปสู่ตำบลคยาสีสะ
ใกล้แม่น้ำคยา แล้วประทับอยู่ในที่นั้น ตรัสเรียกพระภิกษุเหล่านั้นมาแล้วทรงแสดงอาทิตตปริยายสูตร
เพื่อจะให้เหมาะแก่พระปุราณชฎิลเหล่านั้น ผู้เคยบูชาไฟอันเป็นของร้อนมาก่อน
เพื่อเปลื้องความเห็นในลัทธิบูชาไฟของพระปุราณชฎิลเหล่านั้นเสีย ใจความแห่งพระสูตรนั้นว่า
อายตนะภายในและอาตยนะภายนอกเป็นของร้อน ท่านกล่าวว่าร้อนเพราะไปคือ
ราคะ โทสะ โมหะ และร้อนเพราะความเกิด แก่ เจ็บ ตาย ความเศ้ราโศก ร่ำไร
รำพัน เสียใจ คับใจ ไฟกิเลสเหล่านี้มาเผาให้ร้อนดังนี้เป็นต้น เมื่อพระองค์ทรงแสดงพระธรรมเทศนาจบลง
พระปุราณชฎิลทั้ง ๑,๐๐๓ รูป ก็ได้สำเร็จเป็นพระอรหันต์ทั้งสิ้น
ปริจเฉทที่ ๘
เสด็จกรุงราชคฤห์ แคว้นมคธ และได้อัครสาวก
ทรงโปรดพระเจ้าพิมพิสาร
พระพุทธองค์ครั้นประทับอยู่ที่ตำบลคยาสีสะ
พอสมควรแก่พระอัธยาศัยแล้ว พร้อมด้วยพระสาวกก็เสด็จออกจากที่นั้น ถึงกรุงราชคฤห์โดยลำดับ
ประทับอยู่ที่ ลัฏฐิวันสวนตาลหนุ่ม ขณะนั้นพระเจ้าพิมพิสาร พระเจ้าแผ่นดินแคว้นมคธ
ได้สดับกิตติศัพท์นั้นแล้วพร้อมด้วยราชบริพาร และประชาชนก็เสด็จไปเฝ้าพระพุทธเจ้า
ทรงนมัสการพระพุทธเจ้าแล้วประทับนั่งในที่อันสมควรแห่งหนึ่ง ส่วนราชบริพารและประชาชนนั้นต่างแสดงอาการต่าง
ๆ กัน เช่น บางพวกถวายบังคม บางพวกเพียงแต่กล่าววาจาปราศรัย บางพวกเพียงแต่ประนมมือ
บางพวกเพียงแต่ประกาศชื่อและโคตรของตน บางพวกก็นั่งนิ่งเฉยอยู่
พระพุทธเจ้าทรงเห็นอาการของบริพารและประชาชนเหล่านั้นยังไม่สมควรจะรับพระธรรมเทศนาได้
มีพระประสงค์จะให้พระอุรุเวลกัสสปะซึ่งเป็นที่นับถือของคนเหล่านั้นประกาศความไม่มีแก่นสารของลัทธิเก่าให้ทราบ
จึงได้ตรัสเรียกพระอุรุเวลกัสสปะมา เมื่อท่านพระอุรุเวลกัสสปะทราบแล้วจึงลุกขึ้นทำผ้าเฉวียงบ่ากราบลงที่พระบาทของพระพุทธเจ้า
แล้วทูลประกาศว่า พระองค์เป็นพระศาสดาของข้าพระพุทธเจ้า, ข้าพระพุทธเจ้าเป็นสาวกของพระองค์
พวกบริวารเหล่านั้นจึงได้น้อมจิตใจคอยรับพระธรรมเทศนา, พระพุทธเจ้าจึงทรงแสดง
อนุปุพพิกถาและอริยสัจ ๔ เมื่อจบพระธรรมเทศนา พระเจ้าพิมพิสารและบริวาร
๑๑ ส่วนได้ดวงตาเห็นธรรม, อีกส่วนหนึ่งตั้งอยู่ในไตรสรณคมน์ (บริวารของพระเจ้าพิมพิสารแบ่งเป็น
๑๒ ส่วนหรือ ๑๒ นหุต)
ความปรารถนาของพระเจ้าพิมพิสาร
ครั้งนี้พระประสงค์หรือความปรารถนาของพระเจ้าพิมพิสารได้สำเร็จบริบูรณ์
พระองค์จึงกราบทูลแก่พระพุทธองค์ว่าครั้งเมื่อยังเป็นพระราชกุมาร
พระองค์ได้ตั้งความปรารถนาไว้ ๕ ประการ/อย่าง คือ
๑.ขอให้ข้าพเจ้าได้รับอภิเษกเป็นพระเจ้าแผ่นดิน
แคว้นมคธนี้เถิด
๒.ขอให้ท่านผู้เป็นพระอรหันต์
ผู้รู้เองโดยชอบ พึงมายังแคว้นของข้าพเจ้าผู้ได้รับอภิเษกแล้ว
๓.ขอให้ข้าพเจ้าพึงได้เข้าไปนั่งใกล้พระอรหันต์นั้น
๔.ขอให้พระอรหันต์นั้นพึงแสดงธรรมแก่ข้าพเจ้า
๕.ขอให้ข้าพเจ้าพึงรู้ทั่วถึงธรรมของพระอรหันต์นั้น
บัดนี้ ความปรารถนาของข้าพระองค์ได้สำเร็จแล้วทั้ง ๕ ประการ
ถ่ายที่ทางขึ้นยอดภูเขาคิชฌกูฏ
เพื่อไปนมัสการ เจริญสมาธิภาวนา ที่ พระคันธกุฎี ของพระพุทธเจ้า
โปรดสังเกตุด้านบนของภาพ จะปรากฏ พระคันธกุฎี
ของพระพุทธเจ้า
ถ่ายเมื่อ วันที่ ๒ มีนาคม ๒๕๔๙
พักผ่อนอิริยาบถ
ที่ทางขึ้นยอดภูเขาคิชฌกูฏ เพื่อไปนมัสการ เจริญสมาธิภาวนา ที่ พระคันธกุฎี
ของพระพุทธเจ้า
ถ่ายเมื่อวันที่
๘ กรกฎาคม ๒๕๕๕
ถวายสวนเวฬุวัน
พระเจ้าพิมพิสารเมื่อได้กราบทูลดังนั้นแล้ว
จึงได้แสดงตนเป็นอุบาสกและกราบทูลเชิญพระพุทธเจ้าพร้อมด้วยพระภิกษุสงฆ์เพื่อเสวยที่พระราชนิเวศน์ในวันรุ่งขึ้น
เสด็จจากที่ประทับแล้วถวายอภิวาท ทำประทักษิณแล้วเสด็จกลับ ในตอนเช้าวันรุ่งขึ้นพระองค์ทรงอังคาสพระพุทธเจ้าพร้อมพระภิกษุสงฆ์ด้วยอาหารอันประณีตด้วยพระหัตถ์พระองค์เอง
เสร็จแล้วทรงจับพระเต้าทอง หลังน้ำทักษิโณทกถวายพระราชอุทยานเวฬุวัน
(สวนไม้ไผ่) เพื่อให้เป็นที่อยู่อาศัยของพระภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข
พระพุทธเจ้าทรงรับและทรงแสดงธรรมีกถาให้พระเจ้าพิมพิสารรื่นเริงในทาน
แล้วเสด็จไปประทับอยู่ที่เวฬุวันนั้น วัดเวฬุวัน หรือบางครั้งเรียกว่า
วัดเวฬุวนาราม นี้ เป็นวัดแห่งแรกในพระพุทธศาสนา และนับตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา
พระพุทธเจ้าก็ทรงอนุญาตให้พระภิกษุสงฆ์รับวัดที่ทายกถวายได้ตามปรารถนาจนกระทั่งปัจจุบันนี้
ได้อัครสาวก ๒
องค์
ครั้งนั้น มีมาณพสกุลพราหมณ์ในกรุงราชคฤห์
เป็นสหายกัน ๒ คนได้แก่
๑.อุปติสสะ หรือ สารีบุตร
มีบิดาชื่อ วังคันตะ มารดาชื่อ นางสารีพราหมณี มีบ้านอยู่ที่ ตำบลนาลกะ
หรือ นาลันทา
๒.โกลิตะ หรือ โมคคัลลานะ
มีบิดาชื่อ โกลิตะ มารดาชื่อ โมคคัลลีพราหมณี มีบ้านอยู่ที่ บ้านโกลิตคาม
ท่านทั้ง ๒ พร้อมด้วยบริวารไปบวชอยู่ที่สำนักสัญชัยปริพพาชก
ที่กรุงราชคฤห์ เรียนจบลัทธิของอาจารย์สัญชัยปริพพาชกแล้วแต่ยังไม่ได้บรรลุธรมมวิเศษอันเป็นที่พอใจ
จึงนัดหมายกันหรือให้สัญญากันว่า ผู้ใดได้บรรลุธรรมวิเศษก่อน ผู้นั้นจงบอกแก่อีกผู้หนึ่ง
วันหนึ่ง อุปติสสะเดินไปพบพระอัสสชิกำลังเดินบิณฑบาตอยู่มีอาการน่าเลื่อมใส
จึงติดตามไปข้างหลัง เมื่อถึงเวลาอันสมควรจึงเข้าไปถามว่าท่านผู้มีอายุ
อินทรีย์ของท่านผ่องใสยิ่งนัก ผิวของท่านหมดจดดีนัก ท่านบวชเฉพาะใคร
? ใครเป็นศาสดาของท่าน ? ท่านชอบใจธรรมของใคร ?
พระอัสสชิตอบว่า ผู้มีอายุ
เราบวชเฉพาะพระมหาสมณะ ผู้เป็นโอรสของศากยะ พระองค์เป็นศาสดาของเรา
เราชอบใจธรรมะของพระองค์
อุปติสสะถามต่อไปว่า พระศาสดาของท่านสอนอย่างไร
?
พระอัสสชิตอบว่า ผู้มีอายุ
เราเป็นคนใหม่ บวชยังไม่นาน เพิ่งมาสู่พระธรรมวินัยนี้ ไม่อาจแสดงธรรมโดยพิศดารได้
จักกล่าวแต่โดยย่อ จึงกล่าวว่า ธรรมเหล่าใดเกิดแต่เหตุ พระศาสดาทรงแสดงเหตุแห่งธรรมนั้นและความดับแห่งธรรมนั้น
พระองค์ทรงสั่งสอนอย่างนี้.
อุปติสสะพอได้ฟังดังนั้นก็ได้ดวงตาเห็นธรรมว่า
สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งหมดมีความดับไปเป็นธรรมดา
จึงถามพระเถระว่า เดี๋ยวนี้พระศาสดาประทับอยู่ที่ไหน ? เมื่อท่านพระอัสสชิตอบว่า
อยู่ที่พระเวฬุวัน จึงกล่าวว่า ถ้าเช่นนั้น ขอให้ท่านอาจารย์จงกลับไปก่อน
ผมจะกลับไปบอกสหายและจะพากันไปเฝ้าพระบรมศาสดา
เมื่อพระอัสสชิกลับไปแล้ว
ท่านอุปติสสะจึงกลับไปสู่อารามของปริพพาชกอันเป็นที่อยู่ แล้วบอกข่าวที่ตนเองได้ไปพบพระอัสสชิและพระอัสสชิได้แสดงธรรมให้ฟัง
แล้วได้แสดงธรรมให้โกลิตะผู้เป็นสหายฟัง และพอจบลงท่านโกลิตะก็ได้ดวงตาเห็นธรรม
(บรรลุโสดาบัน) แล้วทั้ง ๒ จึงพากันไปลาสัญชัยปริพพาชกและชวนไปเฝ้าพระพุทธเจ้า
สัญชัยปริพพาชกห้ามไว้อ้อนวอนให้อยู่ด้วยกันหลายครั้งก็ไม่ฟัง แล้วได้พาบริวารไปเวฬุวันเฝ้าพระพุทธเจ้า
ทูลขออุปสมบท ซึ่งพระพุทธเจ้าก็ทรรงอนุญาตให้เป็นภิกษุด้วยวิธีเอหิภิกขุอุสัมปทา
เมื่อบวชแล้วพระภิกษุส่วนมากนิยมเรียกท่าน
พระอุปติสสะ ว่าพระสารีบุตร เพราะเป็นบุตรของนางสารีพราหมณี
และเรียกท่านโกลิตะ ว่า พระโมคคัลลานะ เพราะเป็นบุตรของนางโมคคัลลีพราหมณี
ภิกษุผู้เป็นบริวารของท่านเหล่านั้น
เมื่อบวชแล้วไม่นานได้ฟังธรรมเทศนาแล้วบำเพ็ญเพียรก็ได้สำเร็จเป็นพระอรหันต์ก่อนท่านพระสารีบุตรและพระโมคคัลลานะ
ฯ
พระโมคคัลลานะนับแต่วันอุปสมบทได้
๗ วัน ไปบำเพ็ญเพียรอยู่ที่บ้านกัลลวาลมุตตคาม แคว้นมคธ อ่อนใจนั่งโงกง่วงอยู่
พระพุทธเจ้าเสด็จไปที่นั่น และทรงแสดงอุบายระงับความง่วง ๘ ประการให้ฟัง
ท่านพระโมคคัลลานะได้ฟังอุบายแก้ง่วง และปฏิบัติตามพระโอวาทที่ทรงสั่งสอน
ไม่นานก็ได้สำเร็จพระอรหันต์ในวันนั้นเอง ภายหลังท่านได้รับยกย่องเป็นพระอัครสาวกฝ่ายซ้าย
ผู้เลิศในทางมีฤทธิ์มาก
ส่วนพระสารีบุตร (อุปติสสะ)
หลังจากอุปสมบทแล้วได้ ๑๕ วัน ท่านนั่งถวายงานพัด อยู่เบื้องหลังพระพุทธเจ้า
ที่ ถ้ำสุกรขาตา เชิงภูเขาคิชฌกูฏ กรุงราชคฤห์ ได้ฟังธรรมอันเป็นอุบายแห่งการละทิฏฐิ
๓ ประการ และเวทนาปริคคหสูตร ที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงแก่ปริพพาชกคนหนึ่งซึ่งมีชื่อว่า
ที่ฆนขะ อัคคิเวสนโคตร ก็ใช้ปัญญาพิจารณาไปตามกระแสพระธรรมเทศนาก็ได้บรรลุเป็นพระอรหันต์
ส่วนปริพพาชกทีฆนขะ อัคคิเวสนโคตรนั้น ได้ดวงตาเห็นธรรม หมดความสงสัยในพระพุทธศาสนา
ทูลสรรเสริญพระธรรมเทศนาและแสดงตนเป็นอุบาสกแล้วหลีกไป ส่วนพระสารีบุตร
นั้นต่อมาภายหลังได้รับยกย่องจากพระพุทธเจ้าว่า เป็นอัครสาวกฝ่ายขวา
เป็นผู้เสิศในทางมีปัญ ญามาก
มัชฌิมโพธิกาล
ปริจเฉทที่ ๙
ทรงบำเพ็ญพุทธกิจในมคธชนบท
ในพุทธกาล มคธชนบทตั้งอยู่ในมัธยมประเทศ
มีกรุงราชคฤห์เป็นเมืองหลวง มีพระเจ้าพิมพิสาร ทรงอำนาจสิทธิขาดในการปกครอง
หลังจากที่พระพุทธเจ้าทรงโปรดชฎิล ๓ พี่น้องและบริวารให้ได้บรรลุอรหัตตผล
(พระอรหันต์) แล้ว ก็ได้เสด็จพุทธจาริกไปประดิษฐานพระพุทธศาสนาในแคว้นมคธ
ประทานอุปสมบทแก่มหากัสสปะ
ในสมัยนั้นยังมีมาณพผู้หนึ่งมีชื่อว่า
ปิปผลิมาณพ (มหากัสสปะ) เป็นบุตรของกบิลพราหมณ์ กัสสปโคตร เมื่ออายุได้
๒๐ ปี ได้ทำอาวาหมงคลกับนางภัททกาปิลานี อายุ ๑๖ ปี บุตรีของพราหมณ์โกสิยโคตร
ชาวแคว้นมคธเช่นกัน ทั้ง ๒ สกุลนี้เป็นตระกูลที่ร่ำรวย ครั้นอยู่ด้วยกันมาไม่มีบุตรเลย
ภายหลัง ๒ สามีภรรยาก็เกิดความเบื่อหน่าย ด้วยเห็นว่าคอยแต่จะนั่งรับบาปกรรม
จากการงานที่บริวารกระทำมา จึงชวนกันสละสมบัติแล้วออกบวช โดย ปิปผลิมาณพมุ่งหมายใจบวชอุทิศพระอรหันต์ในโลก
ท่านปิปผลิมาณพได้พบพระพุทธเจ้าที่ใต้ร่มไม้ไทรชื่อ
พหุปุตตกนิโครธ ในระหว่างกรุงราชคฤห์และเมืองนาลันทาต่อกัน และพระพุทธเจ้าทรงอนุญาตให้เป็นภิกษุในพระพุทธศาสนาด้วยประทานโอวาท
๓ ข้อ (เรียกว่า เอหิภิกขุอุปสัมปทา) คือ
๑. กัสสปะ เธอพึงศึกษาว่า
เราจักเข้าไปตั้งความละอายและความยำเกรงไว้ในภิกษุทั้งที่เป็นผู้เฒ่า
ผู้ปานกลาง และผู้ใหม่อย่างแรงกล้า.
๒.เราจักฟังธรรมอย่างใดอย่างหนึ่งซึ่งประกอบด้วยกุศล
เราจักเงี่ยหูฟังธรรมนั้นและพิจารณาเนื้อความ.
๓. เราาจักไม่ละสติที่ไปในกาย
คือพิจารณาร่างกายเป็นอารมณ์.
ครั้นทรงตรัสสอนอย่างนี้แล้วก็เสด็จหลีกไป
ส่วนท่านพระปิปผลิก็บำเพ็ญเพียรและในวันที่ ๘ นับแต่วันอุปสมบท ก็ได้สำเร็จเป็นพระอรหันต์
เมื่อท่านเข้ามาสู่พระธรรมวินัยนี้พระภิกษุทั้งหลายนิยมเรียกท่านว่า
พระมหากัสสปะ ต่อมาท่านพระมหากัสสปะได้รับยกย่องจากพระพุทธเจ้าว่า
เป็นผู้เลิศทางฝ่ายทรงธุดงค์คุณ และหลังจากพระพุทธเจ้าปรินิพพานแล้ว
ท่านพระมหากัสสปะก็ได้เป็นประธานสงฆ์ในการทำปฐมสังคายนา (ทำสังคายนาครั้งที่
๑) หลังจากวันพระพุทธเจ้าปรินิพพานได้ ๓ เดือน
มหาสันนิบาตแห่งพระสาวก
ครั้งหนึ่ง เมื่อพระพุทธเจ้าประทับอยู่ที่
วัดเวฬุวัน กรุงราชคฤห์ เมืองหลวงแห่งแคว้นมคธ ได้มีการประชุมพระสาวกครั้งใหญ่
(มหาสันนิบาต) คราวหนึ่งเรียกว่า จาตุรงคสันนิบาต แปลว่า การประชุมที่ประกอบด้วยองค์
๔ ประการ ได้แก่
๑. พระ ๑,๒๕๐ องค์ ที่มาประชุมเป็นพระอรหันต์ทั้งสิ้น.
๒. พระเหล่านั้นล้วนเป็นเอหิภิกขุอุปสัมปทาได้รับอุปสมบทมาจากพระพุทธเจ้าทั้งสิ้น
๓. พระเหล่านั้นมากันเองโดยมิได้นัดหมายกัน
ซึ่งใจความแห่งระโอวาทปาฏิโมกข์นั้นมี ๓ อย่าง คือ
๑.การไม่ทำบาปทั้งปวง
๒.การทำกุศลให้ถึงพร้อม
๓.การทำจิตของตนให้ผ่องใส
ทั้ง ๓ อย่างนี้จัดเป็นหัวใจของพระพุทธศาสนา
(และวันจาตุรงคสันนิบาตนี่เองแหละครับเป็นมูลเหตุให้เราชาวพุทธได้ประกอบพิธี
วันมาฆขูชา (วันเพ็ญ เดือน ๓ ) มาจนกระทั่งปัจจุบันนี้
/)
ทรงอนุญาตเสนาสนะ
ในตอนต้นพุทธกาลภิกษุสงฆ์สาวกไม่มีที่อยู่เป็นหลักแหล่งเมื่อพระเจ้าพิมพิสาร
ถวายเวฬุวันให้เป็นที่ประทับพร้อมด้วยภิกษุสงฆ์ ต่อมาเศรษฐีชาวเมืองราชคฤห์
หรือ ราชหกเศรษฐี เลื่อมใสจึงเข้าไปถามพระสงฆ์ เมื่อทราบว่าพระพุทธเจ้ายังไม่ทรงบอนุญาต
จึงขอให้ภิกษุสงฆ์เหล่านั้นไปทูลขออนุญาตและให้บอกแก่เขาด้วย พระภิกษุเหล่านั้นจึงเข้าไปทูลพระพุทธเจ้า
ซึ่งพระองค์ทรงปรารภเรื่องนี้จึบงทรงแสดงธรรมโปรดภิกษุเหล่านั้น แล้วทรงอนุญาตเสนาสนะไว้
๕ ชนิด คือ.-
๑.วิหาร : กุฏีมีหลังคา
มีปีก ๒ ข้างอย่างปกติ
๒.อัฑฒโยค: กุฏี โรงเรือน
หรือร้านที่มุงชีกเดียว
๓.ปราสาท : กุฏีหลายชั้น
หรือเอนที่ปลูกเป็นชั้น ๆ หลายชั้น
๔.หัมมิยะ : กุฏีหลังคาตัด
หรือ เรือนหลั้งคาตัด
๕.คูหา : ถ้ำแห่งภูเขา
เมื่อพระพุทธเจ้าทรงอนุญาตเสนาสนะอย่างนั้นแล้ว
หภหิกกษุเหล่านั้นจึงได้แจ้งข่าวให้เศรษฐีได้ทราบ และครั้นเศรษฐีได้ทราบเช่นนั้นแล้วจึงได้ให้คนปลูกวิหารขึ้นถวายภิกษุ
๖๐ หลัง สำหรับพระสงฆ์ผู้มาจากทิศทั้ง ๔ และทูลนิมนต์พระพุทธเจ้าพร้อมภิกกษุสงฆ์ไปรับภัตตาหารที่เรือนของเศรษฐี
และพระพุทธเจ้าทรงรับนิมนต์และไปเสวยในวันรุ่งขึ้น หลังจากเสวยพระกระยาหารแล้วทรงแนะวิธีปฏิบัติในวิหารทานและทรงอนุโมทนาในการถวายวิการทาน
(การถวายวิหารให้เป็นทาน) โดยมีใจความว่า.-การสร้างวิหารถวายแด่พระสงฆ์ผู้มาจากทิศทั้ง
๔ ย่อมมีประโยชน์ คือ.-
๑.วิหารนั้นย่อมกำจัดความเย็น
ร้อน ป้องกันสัตว์ร้าย และลม แดดเสียได้
๒.วิหารนั้นย่อมเหมาะแก่การอยู่สำราญ
เพื่อบำเพ็ญสมถวิปัสสนา
๓.ภิกษุผู้คงแก่เรียนซึ่งอาศัยอยู่ในวิหารที่มีเรื่องใช้บริบูรณ์
ย่อมจะแสดงธรรมอันเป็นเครื่องบรรเทาทุกข์ แก่ผู้ที่ถวายวิหารเป็นต้นนั้น
ซึ่งเขารู้ธรรมแล้วจักเป็นผู้สิ้นอาสวะแล้วปรินิพพานในโลกนี้
ทรงแสดงวิธีทำปุพพเปตพลี
การทำบุญอุทิศส่วนนบุญให้แก่ผู้ล่วงลับไปแล้ว
เรียกว่า ปุพพเปตพลี ในทางพระพุทธศาสนามีเรื่องเล่าว่า พระเจ้าพิมพิสารได้ทรงเป็นผู้กระทำเป็นครั้งแรก
คือเมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จประทับอยู่ที่วัดเวฬุวันนั้น พระเจ้าพิมพิสาร
ได้ทูลอาราธนาพระพุทธเจ้าพร้อมด้วยภิกษุสงฆ์ ไปฉันภัตตาหารที่พระราชวัง
เมื่อพระสงฆ์ฉันภัตตาหารเสร็จแล้ว พระองค์ทรงบริจาคไทยธรรมต่าง ๆ รวมทั้งผ้าจีวรแก่พระภิกษุสงฆ์
แล้วทรงอุทิศส่วนบุญแก่พระญาติผู้ล่วงลับไปแล้ว พระพุทธองค์ทรงอนุโมทนาว่า.-
ญาติก็ดี มิตรก็ดี เมื่อระลึกถึงอุปการะที่ท่านกระทำแลัวในกาลก่อนว่า
ท่านได้ให้แล้วแก่เราท่านได้ทำแก่เรา ท่านเปํนญาติ เป็นมิตร เป็นเพื่อนของเรา
พึงให้ทักษิณาเพื่อชนผู้ล่วงลับไปแล้ว,ไม่พึงทำการร้องให้เศร้าโศกรำพันถึง
เพราะการทำอย่างนั้น (ร้องให้ เศร้าโศก รำพันถึง)ไม่เป็นประโยนชน์แก่ชนผู้ล่วงลับไปแล้ว
ญาติทั้งหลายย่อมตั้งอยู่อย่างนั้นเอง. ส่วนทักษิณาที่ท่านทั้งหลายบิจาก
ทำให้ตั้งไว้ดีในพระสงฆ์นี้ ย่อมสำเร็จประโยชน์แก่ชนผู้ล่วงลับไปนั้น
โดยฐานะสิ้นกาลนาน.ท่านทั้งหลายได้แสดงญาติธรรม ได้ทำบูชาชนผู้ล่วงลับไป(เปตชน)/ได้เพิ่มกำลังให้แก่ภิกษุทั้งหลาย
เป็นอันได้บุญไม่น้อยเลย ๆ
ส่วนบุญที่อุทิศให้แก่ผู้ที่ล่วงลับไปแล้วนั้น
จะเกิดผลแก่ผู้ที่ล่วงลับไปหรือไม่ประการใดนั้น ทางพระพุทธศาสนาสอนว่า
เปตชน(ผู้ล่วงลับไปแล้ว)ไปเกิดในกำเนิดอื่น ทั้งที่เปป็นทุคติและสุคติ
ย่อมเป็นอยู่ด้วยอาหารในคติที่เขาเกิด. ย่อมไม่ได่รับผลแห่งทานที่ทายกอุทิศถึงนั้น
นี้พอแสดงให้เห็นว่าเนื่องมาจากการทำศราทธะอุทิศถึงบุรพบิดร เปตชน
(ผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว)ชนิดนนี้จำพวกเดียวที่เขาทำทานแล้วอุทิศจึงถึง
จำพวกอื่นอย่างเลวก็เป็นสัตว์นรก อย่างดีก็เป็นเทวดา นั้นก็อุทิศไม่ถึง
เทวดาได้รับแต่เรื่องสงเวย พึงมีมาในพระพุทธศาสนาดังที่แนะให้ทำทักษิณาแล้วอุทิศให้เทวดานั่นเอง
ในอรรถกถาท่านแก้แถมว่า ถึงแม้เปตชน (ผู้ที่ล่วงบับไปแล้ว) ผู้เกิดในปิตติวิสยะจะได้รับผลทานนั้น
ก็ต้องพร้อมด้วยสมบัติ ๓ ประการ ได้แก่
๑.ทายกบริจาคไทยธรรม (ทาน)
แล้วต้องอุทิศส่วนบุญไปให้
๒.ปฏิคคาหกผู้สรับทานเป็นทักขิเณยยะ
สคือผู้ควรที่จะรับทานหรือไทยธรรม.
๓.เปตชนนั้นได้อนุโมทนา.
แต่ถึงจะอย่างไรก็ตาม ทานที่คนเราบริจาคหรือกระทำแล้วก็ย่อมจะไม่ไร้ผลประโยชน์แน่นอน
และผู้ที่ทำทักษิณา(ผู้ทำบุญอทิศ)นั้น นับว่าได้แสดงออก ๓ ประการ คือ.-
๑ได้แสดงญาติธรรมให้ปรากฏ
๒.ได้กระทำการบูชา คือ
ยกย่องเปตชน (ผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว)
๓.ได้เพิ่มกำลังให้แก่ภิกษุทั้งหลาย
ซี่งนับว่าเป็นการกระทำที่ได้บุญไม่น้อยเลยทีเดียว.
การทำปุพพเปตพลี ย่อมบำรุงความรักความนับถือในบุรพบิดรของตนให้เจริญรุ่งเรืองกุศลส่วนความกตัญญูกตเวทิตา
เป็นทางมาแห่งความเจริญรุ่งเรืองแห่งสกุลวงศ์ พระพุทธเจ้าจึงได้ทรงอนุมัติให้เราชาวพุทธได้กระทำด้วยประการฉะนี้.
ทรงมอบให้สงฆ์เป็นใหญ่ในสังฆกรรม
วันหนึ่งพระพุทธเจ้าทอดพระเนตรเห็นราธพราหมณ์
ซึ่งมีร่างกายซูบผอม มีผิวพรรณเศร้าหมองจึงตรัสถามได้ความว่า อยากจะบวช
แต่ไม่มีใครบวชให้ จึงตรัสสั่งให้พระสารีบุตรเป็นพระอุปัชฌาย์ทำการบวชให้ราธพราหมณ์
ครั้นตรัสอย่างนี้แล้ว ก็ตรัสสั่งให้เลิกการอุปสมบทด้วยวิธีติสรณคมนูปสัมปทา
แล้วทรงอนุญาตให้อุปสมปทด้วยวิธีประชุมสงฆ์ ตั้งญัตติ ๑ ครั้ง และสวดอนุสาวนา
(สวดประกาศ) ๓ ครั้ง วิธีนี้เรียกว่า ญัตติจตุตถกรรมวาจา แปลว่า
อุปสมบทด้วยการสงฆ์ มีวาจาประการเป็นที่ ๔ แม้ในสังฆกรรมอื่น ๆ
พระพุทธเจ้าก็ทรงมอบอำนาจให้แก่สงฆ์ โดยแบ่งสงฆ์เป็น ๔ ประเภท ได้แก่
๑.จตุวรรค หมายถึง พระภิกษุ
4 รูป สำหรับสังฆกรรมทั่วไป เว้นการให้อุปสมบท,ปวารณา, กรานกฐิน, อัพภาน
๒.ปัญจวรรค หมายถึง พระภิกษุ
๕ รูป สำหรับสังฆกรรมทั่วไป เว้นการให้อุปสมบทในมัชฌิมประเทศ , อัพภาน
๓.ทสวรรค หมายถึง พระภิกษุ
๑๐ รูป สำหรับสังฆกรรมทั่วไป เว้นการให้อัพภาน
๔.วีสติวรรค หมายถึง พระภิกษุ
๒๐ รูป สำหรับสังฆกรรมทั่วไป
สังฆกรรมทุกประเภท
พระภิกษุทุกรูปที่เข้าประชุม ต้องเห็นชอบ อนุมัติจึงจะใช้ได้ ถ้ามีผู้แย้งแม้เพียงรูปเดียว
สังฆกรรมนั้นก็เป็นอันใช้ไม่ได้
โดยสรุปแล้วการบวชในพระพุทธศาสนามี
๓ วิธี คือ
๑.เอหิภิกขุอุปสัมปทา พระพุทธเจ้าทรงอนุญาตให้พระสงฆ์สาวกเป็นผู้ให้การบวชเป็นคนแรกคือ
พระอัญญาโกณฑัญญะ (ปฐมสาวก)
๒.ติสรณคมนูปสัมปทา พระพุทธเจ้าทรงอนุญาตให้พระสงฆ์สาวกเป็นผู้ให้การบวชหรือเป็นผู้กระทำ
ไมมม่ปรากฏชื่อผู้ที่ได้รับการบวชเป็นคนแรก และต่อมาใช้สำหรับบวชสามเณร
มาจนกระทั่งปัจจุบันนี้ (สามเณรรูปแรกสคือ สามเณรราหุล)
๓.ญัตติจตุตถกรรมวาจา พระพุทธเจ้าทรงอนุญาตให้พระสงฆ์สาวกเป็นผู้ให้การบวช
และใช้กันมาจนกระทั่งปัจจุบันนี้ ผู้ที่ได้รับการบวชเป็นคนแรก คือ
พระราธะ และพระอุปัชฌาย์ คือ พระสารีบุตร.
ทรงสอนพระศาสนาผ่อนลงมาถึงคดีโลก
ครั้งหนึ่ง พระพุทธเจ้าประทับอยู่ที่ในกรุงราชคฤห์
ได้ทรงแสดงวิธีนมัสการ(ไหว้)ทิศทั้ง ๖ ในศาสนของพระอริยเจ้าแก่ สิงคาลมาณพ
ผู้มีผ้านุ่ง ผ้าห่ม และผมอันเปียก ไหว้ทิศทั้ง ๖ อยู่ตามคำสอนของบิดา
พระองค์ตรัสว่า ในศาสนาของพระอริยเจ้าเขาไหว้ทิศทั้ง ๖ กันอย่างนี้..
ได้แก่
ก่อนไหว้ ผู้ที่จะไหว้ทิศทั้ง
๖ นี้ ควรเว้นจากสิ่งต่อไปนี้ ได้แก่
๑.กรรมกิเลส
คือ การงานอันเศร้าหมอง ๔ อย่าง <อ่านรายละเอียด>
๒.อคติ คือ ความลำเอียง
๔ อย่าง <อ่านรายละเอียด>
๓.อบายมุข คือทางฉิบหาย
หรือทางหายนะ ๖ อย่าง <อ่านรายละเอียด>
เมื่อเว้นจากสิ่งที่ควรเว้นแล้ว
จึงไหว้ทิศตามหลักพระพุทธศาสนาต่อไปนี้ คือ.-
๑.ทิศบูรพา-ทิศเบื้องหน้า
ได้แก่ มารดาบิดา ที่กุลบุตรควรบำรุงด้วยสถาน ๕ (ไหว้ด้วยอาการ ๕)
๒.ทิศทักษิณ-ทิศเบื้องขวา
ได้แก่ ครูอาจารย์ ที่กุลบุตรควรบำรุงด้วยสถาน ๕( ไหว้ด้วยอาการ ๕
)
๓.ทิศปัจจิม-ทิศเบื้องหลัง
ได้แก่ บุตรภรรยา ที่กุลบุตรควรบำรุงด้วยสถาน ๕(ไหว้ด้วยอาการ ๕ )
๔.อิศอุดร - ทิศเบื้องซ้าย
ได้แก่ มิตรสหาย ที่กุลบุตรควรบำรุงด้วยสถาน ๕(ไหว้ด้วยอาการ ๕)
๕.เหฏฐิมทิศ-ทิศเบื้องล่างได้แก่
ลูกจ้าง คนใช้ที่กุลบุตรควรบำรุงด้วยสถาน ๕ (ไหว้ด้วยอาการ ๕)
๖.อุปริมทิศ- ทิศเบื้องบน
ได้แก่ สมณพราหมณ์ ที่กุลบุตรควรบำรุงด้วยสถาน๕ (ไหว้ด้วยอาการ ๕)
พระพุทธเจ้าตรัสว่าเมื่อกุลบุตรไหว้ทิศทั้ง
๖ ด้วยวิธีอย่างนี้ ย่อมสามารถสกัดกั้นอันตรายที่จะมาจากทิศนั้น ๆ
ได้.
ทรงแสดงวิธีทำเทวตาพลี
เทวตาพลีนี้ ตามลัทธินอกพระพุทธศาสนาสอนให้ให้มีการสังเวยเทวดาด้วยวิธีการต่าง
ๆ ต่อมา พระพุทธเจ้าทรงเห็นว่าการสังเวยเช่นนั้นไม่ใช่วิธีการที่ถูกต้อง
จึงทรงอสนวิธีใหม่โดยให้ทำปัตติทานมัยคือการทำบุญแล้วอุทิศให้ส่วนนบุญแก่เทวดา
โดยมมีเรื่องเล่าว่า.-
ครั้งหนึ่ง พระพุทธเจ้าเสด็จถึงบ้าบปาฏลีคาม(ปาฏลีบุตร)
แคว้นมคธ ได้รับอาราธนาเพื่อเสวยภัตตาหารที่เมืองใหม่พร้อมภิกษุสงฆ์
จาก สุนิธพราหมณ์ และ วัสสการพราหมณ์ (อำมาตย์ของพระเจ้าอชาตศํตรู)
ซึ้งกำลังคุมการก่อสร้างพระนครเพื่องป้องกันชาววัชชี เมื่อพระองค์และพระภิกษุสงฆ์ฉันภัตตาหารเสร็จแล้ว
ทรงอนุโมทนด้วยพระคาถาว่า.-
กุลบุตรผู้ฉลาด
อยู่ในที่ใด พึงนิมนต์ผู้ประพฤติพรหมจรรย์ มีศีลอันหมดจด ผู้สำรวมดีแล้ว
มาฉันในที่นั้น แล้วอุทิสส่วนนบุญกุศลให้แก่เทวดาผู้สิ่งสถิตอยู่ในที่นั้น
เทวดา ทั้งหลายกผู้ที่กุลบุตรนั้นบูชาแล้ว ย่อมบุชาตอบแทน เทวดาผู้ที่กุลบุตรนั้นนับถือแล้ว
ย่อมนับถือตอบแทน จากนั้นย่อมอนุเคราะห์กุลบุตรนั้นด้วยเมตตา ประดุจมารดาอนุเคราะห์บุตร
กุลบุตรผู้ที่เทวดาอนุเคราะห์แล้ว ย่อมเห็นผลอันเจริญทุกเมื่อ
ตามความหมายของพระคาถานี้
เป็นการแสดงให้ทราบว่า พระพุทธองค์ทรงแนตะนำวิธีทำเทวตาพลี ด้วยการบริจาคทางแล้วอุทิศส่วนบุญกุศลไปถึง
ไม่ทรงอำรวยด้วยการสังเวย การแสดงวิธีทำเทวตาพลี อย่างนี้ พึงเห็นว่ามิได้ทรงเปลี่ยนแปลงความเห็นเกี่ยวกับเทวดาของเดิม
เป็นแต่ทรงเปลี่ยนวิธีทำให้สำเร็จประโยชน์ดีขี้นกว่า การที่ทรงแสดงวิธีทำเทวตาพลี
จะเห์นได้ว่าทรงผ่อนผันอนุโลมตามกาละเทศะอย่างนี้เอง
พระพุทธเจ้า ครั้นทรงอนุโมทนาแล้วก็เสด็จไปจากที่นั้นโดยมี
๒ อำมาตยก์นั้นตามเสด็จและทรงเสก็จข้ามแม่น้ำคงคา จาริกวต่อไป และ
๒ อำมาตย์ได้ตั้งชื่อประตูที่ทรงเสด็จออกไปว่า โคตมทวารตั้งชื่อท่าที่เสด็จข้ามขึ้นว่า
โคตมติฏฐะ และพระพุทธเจ้าตรัสชมเมืองปาฏลีบุตรว่า ปลูกสร้างดีได้จังหวะ
มีระเบียบเรียบร้อย ทรงพยากรณ์ว่า จักเป็นยอดนคร เป็นที่ประชุมสินค้า
แต่จักมีอันตราย ๓ ประการ คือ.-
๑.เพลิงไหม้
๒,น้ำท่วม
๓.แตกกันเอง (แตกสามัคคี)
<<ติดตามอ่านตอนที่
๓/๔>>
ตอนที่ ๑ | ตอนที่
๒ | ตอนที่ ๓ | ตอนที่
๔
**************************
|