ความหมาย
ปีใหม่
เป็นเรื่องของวันเดือนหมุนเวียนมาบรรจบครบรอบ ๓๖๕ วัน หรือ ๑๒ เดือน
ซึ่งสมมติกันว่าปีหนึ่งหมดไป ขึ้นวันเดือนใหม่ของอีก ปีหนึ่ง ก็เรียกกันว่าปีใหม่
แล้วเปลี่ยนนักษัตรประจำปีใหม่ปี ชวด ฉลู ขาล เถาะ เป็นต้น และเปลี่ยนพุทธศักราช
(พ.ศ.) ใหม่
ความเป็นมา
ประเพณีปีใหม่ของไทยสมัยอยุธยาและรัตนโกสินทร์
ตั้งแต่ รัชกาลที่ ๑ ถึงรัชกาลที่ ๕ ตอนต้น ถือวันทางจันทรคติขึ้น
๑ ค่ำ เดือน ๕ เป็นวันขึ้นปีใหม่ ในพระราชพีธีสิบสองเดือนพระราชนิพนธ์
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีความว่าพระราชพิธีขึ้นปีใหม่
วันขึ้น ๑ ค่ำ เดือน ๕ ซึ่งพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่
๔ ทรงพระราชดำริว่าในกฎมนเทียรบาล มีการสมโภชและเลี้ยงลูกขุน ซึ่งตรงกับการเลี้ยงโต๊ะอย่างฝรั่งจึงทรงกำหนดการพระราชพิธีทรงบำเพ็ญพระราชกุศลขึ้นเวลาเช้า
มีการพระราชกุศลสดับปกรณ์ พระบรมอัฐิ ณ พระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัย
เวลาค่ำเชิญพระสยามเทวาธิราชและเชิญเจว็ดรูปพระภูมิเจ้าที่จากหอแก้วออกมาตั้งที่บุษบกมุขเด็จพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาทตั้งเครื่องสังเวยที่พื้นชาลาหน้ามุขเด็จ
ตั้งพระราชอาสน์ที่ประทับ ณ ศาลาคต มีละครหลวงแสดง และตั้งโต๊ะพระราชทานเลี้ยง
ครั้งต่อมาในรัชกาลที่
๕ ได้เปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่เป็นทางสุริยคติ ถือวันที่ ๑ เมษายน เป็นวันขึ้นปีใหม่และโปรดให้ใช้รัตนโกสินทรศก
ในการนับปี ตั้งแต่ ร.ศ. ๑๐๘ เป็นต้นมา สำหรับพระราชพิธีปีใหม่ นั้นทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
ให้พระบรมวงศานุวงศ์ฝ่ายหน้าเสด็จ เข้าไปรับพระราชทางเลี้ยง ณ ท้องพระโรงกลางพระที่นั่งจักรีมหาปราสาทพระราชทานฉลากแก่พระบรมวงศานุวงศ์
และข้าราชการบางคน ครั้นพระราชทานสิ่งของตามฉลากแล้วเสด็จพระราชดำเนินมาที่ชาลาหน้าพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท
ทอดพระเนตรละครหลวงแล้วเสด็จฯ กลับ
ส่วนวันขึ้น
๑ ค่ำ เดือน ๕ ซึ่งเป็นวันพระราชพิธีขึ้นปีใหม่ใน รัชกาลที่ ๔ นั้นกำหนดเป็นพระราชพิธีบวงสรวงพระสยามเทวาธิราชตลอดมาจนทุกวันนี้ถึงแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว(รัชกาลที่
๖) ทรงพระกรุณโปรดเกล้าฯ ให้ใช้พุทธศักราชแทนรัตนโกสินทรศก ตั้งแต่
พ.ศ. ๒๔๕๕ และต่อมาใน พ.ศ. ๒๔๕๖ โปรดให้รวมพระราชพิธีสัมพัจฉรฉินท์เถลิงศกสงกรานต์พระราชพิธีศรีสัจจปานกาลถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยาเข้าด้วยกันเรียกว่าพระราชพิธีตรุษสงกรานต์
เริ่มการพระราชพิธีตั้งแต่วันที่ ๒๘ มีนาคม ถึงวันที่ ๓ เมษายนการพระราชพิธีในวันที่
๒๘ มีนาคมเรียกว่าตั้งน้ำวงด้ายมีพระสงฆ์เจริญพระพุทธมนต์และสวดภาณวารในพระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัย
วันที่ ๒๙ มีนาคม เลี้ยงพระ อ่านประกาศสังเวยเทวดา สวดอาฎานาฏิยสูตร
ยิงปืนมหาฤกษ์ มหาชัย มหาจักรี มหาปราบยุค วันที่ ๓๐ มีนาคม พระราชทานน้ำพระมหาสังข์ทรงเจิมแก่พระราชวงศ์
วันที่ ๓๑ มีนาคม พระสงฆ์เจริญพระพุทธมนต์วันที่ ๑ เมษายน เสด็จสรงน้ำพระบรมอัฐิและพระอัฐิ
ณ หอพระธาตุมณเฑียร เลี้ยงพระ ในพระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัย สรงมูรธาภิเษกที่ชานหน้าพระที่นั่งจันทรทิพโยภาส
(พระที่นั่งราชฤดีในปัจจุบัน) ถ้ามีพระราชวงศ์จะ โสกันต์ก็กำหนดในงานพระราชพิธีนี้สดับปกรณ์พระบรมอัฐิและ
พระอัฐิ เวลาบ่ายมีงานอุทยานสโมสร กระทรวงวังจัดที่ลงพระนาม และนามถวายพระพร
วันที่ ๒ เมษายน เสกน้ำพระพิพัฒน์สัตยา ณ พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสนาราม
แล้วเสด็จฯ ไปสรงน้ำ พระพุทธรูปที่หอราชพงศานุสร หอราชกรมานุสร พระศรีรัตนเจดีย์พระมณฑป
หอพระคันธารราษฎร์และพระวิหารยอด แล้วสดับ ปกรณ์พระบรมอัฐิสมเด็จพระบวรราชเจ้าและพระอัฐิพระบรมวงศานุวงศ์ที่หอพระนากเวียนเทียนสมโภชพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร
วันที่ ๓ เมษายน พระบรมวงศานุวงศ์และข้าราชการถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยา
ถือน้ำแล้วไปถวายบังคมพระบรมอัฐิ สมเด็จพระบูรพมหากษัตริยาธิราชเจ้า
ที่หน้าพระที่นั่งสนามจันทร์ ในกำแพงแก้วพระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัย
ครั้นต่อมาในรัชกาลที่
๘ คณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ใน พระปรมาภิไธยพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล
ได้ประกาศให้ใช้วันที่ ๑ มกราคม เป็นวันขึ้นปีใหม่ เพราะวันที่ ๑ มกราคม
ใกล้เคียงวันแรม ๑ ค่ำเดือนอ้าย เป็นการใช้ฤดูหนาวเริ่มต้นปี และเป็นการสอดคล้องตามจารีตประเพณีโบราณของไทยต้องตามคติแห่งพระบวรพุทธศาสนาและตรงกับนานาประเทศ
โดยให้เริ่มใช้ตั้งแต่วันที่ ๑ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๔ เป็นต้นไป จึงได้กำหนดการพระราช
พิธีขึ้นปีใหม่ มีรายละเอียดดังนี้
วันที่
๓๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๓ เวลา ๑๖ นาฬิกา ๓๐ นาที คณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์มายัง
พระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัย พระสงฆ์เจริญพระพุทธมนต์ วันที่ ๑ มกราคม
พ.ศ. ๒๔๘๔ เวลา ๑๐ นาฬิกา ๓๐ นาที คณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ไปสรงน้ำพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากรที่ในพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดารามแล้วมายัง
พระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัย พระสงฆ์รับพระราชทานฉันแล้วสดับปกรณ์ ผ้าคู่พระบรมอัฐิสมเด็จพระบูรพมหากษัตริยาธิราช
พระอัฐิสมเด็จพระบรมวงศ์วันนี้มีการลงชื่อถวายพระพรที่ในพระบรมมหาราชวัง
ตั้งแต่ เวลา ๑๐ นาฬิกาถึง ๑๖ นาฬิกาวันที่ ๒ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๔ เวลา
๙ นาฬิกา คณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ไปสรงปูชนียวัตถุ คือ พระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากรและพระพุทธรูปสำคัญ
แล้วสดับปกรณ์ผ้าคู่พระบรมอัฐิสมเด็จพระบวรราชเจ้า กรมพระราชวังบวรและพระอัฐิพระราชวงศ์ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
เมื่อ พ.ศ.๒๔๙๐ คณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์โปรดให้ยกการพระราชกุศลสดับปกรณ์ผ้าคู่ในวันขึ้นปีใหม่ไปใช้ในพระราชพิธีสงกรานต์
ซึ่งฟื้นฟูขึ้นใหม่ตามโบราณราชประเพณีซึ่งเป็นเทศกาล สงกรานต์ในวันที่
๑๓ - ๑๔ - ๑๕ เมษายน
ต่อมา
พ.ศ. ๒๕๐๐ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้งดการ พระราชกุศลสวดมนต์เลี้ยงพระในวันขึ้นปีใหม่
เปลี่ยนเป็นเสด็จออก ทรงบำเพ็ญพระราชกุศลทรงบาตรวันขึ้นปีใหม่ พุทธศักราช
๒๕๐๑ มีรายละเอียดดังนี้วันที่ ๑ มกราคม พ.ศ. ๒๕๐๑ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
และสมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถเสด็จพระราชดำเนินโดย รถยนต์พระที่นั่งจากพระตำหนักจิตรลดารโหฐานพระราชวังดุสิตไปพระบรมมหาราชวังทรงจุดธูปเทียนถวายนมัสการพระพุทธปฏิมาที่พระแท่นนพปฎลมหาเศวตฉัตรภายในท้องพระโรงเวลา
๗ นาฬิกา เสด็จฯลงยังสนามหน้าพระที่นั่งจักรีมหาปราสาท ทรงจุดธูปเทียนเครื่องทองน้อยแล้วทรงบาตรพร้อมด้วย
พระบรมวงศานุวงศ์ องคมนตรี คณะรัฐมนตรี ข้าราชการ ทุกกระทรวง ทบวง
กรมโดยจัดเป็นสาย ๆ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและพระบรมวงศานุวงศานุวงศ์
๕๐ รูปนอกนั้นสายละ ๒๕ รูป รวมพระสงฆ์ ๓๐๐ รูป เสร็จแล้วเสด็จฯ ขึ้น
งานนี้แต่งเครื่องแบบปรกติขาว งานนี้มีสังข์ แตร ปี่พาทย์ ประโคม บรรเลงตั้งแต่เสด็จทรงจุดเทียนจนเสด็จขึ้นวันนี้
เวลา ๙ นาฬิกา จนถึงเวลา ๑๗ นาฬิกา สำนักพระราชวัง จะได้จัดที่สำหรับลงพระนามและนามถวายพระพรไว้ที่พระบรมมหาราชวัง
ครั้ง
พ.ศ. ๒๕๐๑ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เปลี่ยนการ พระราชพิธีบำเพ็ญพระราชกุศลทรงบาตรขึ้นปีใหม่
ในวันที่ ๑ มกราคมเป็นวันที่ ๓๑ ธันวาคม ซึ่งเป็นวันสิ้นปีต่อมาในปี
พ.ศ. ๒๕๑๘ พระราชพิธีทรงบำเพ็ญพระราชกุศล ทรงบาตรขึ้นปีใหม่ ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
ให้จัดเป็นงาน ส่วนพระองค์ ณ พระราชฐานที่ประทับพิธีของราชการและประชาชนสำหรับงานของทางราชการและประชาชนในวันขึ้นปีใหม่ก็จะมีตั้งแต่คืนวันที่
๓๑ ธันวาคม จนถึง วันที่ ๑ มกราคมเช่นเคยยึดถือมาเดิมคือในวันสิ้นปี
หรือวันที่ ๓๑ ธันวาคม ทางราชการหรือประชาชนในท้องถิ่นต่างๆ จัดให้มีการรื่นเริง
และมหรสพมีพระราชดำรัสในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานพรปีใหม่
แก่ประชาชน สมเด็จพระสังฆราชประทานพรปีใหม่แก่พุทธศาสนิกชนและบุคคลสำคัญของบ้านเมือง
เช่น ประธานรัฐสภา นายกรัฐมนตรี ประธาน ศาลฎีกากล่าวคำปราศรัย พอถึงเวลา
๒๔.๐๐ น. วัดวาอารามต่างๆ จะจัด พระสงฆ์เจริญชัยมงคลคาถา ย่ำฆ้อง กลอง
ระฆัง เพื่อแสดงความยินดีต้อนรับรุ่งอรุณแห่งชีวิตของประชาชนในปีใหม่โดยทั่วกัน
ตอนเช้าวันที่ ๑ มกราคมก็จะมีการทำบุญตักบาตรสุดแท้แต่การจัด บางปีมีการจัดร่วมกัน
บางปีบางท้องที่ก็ไปทำบุญตักบาตรกันที่วัด หรือที่ใดๆ บางท่านบางครอบครัวก็มีการทำบุญตักบาตร
หรือการทำบุญเลี้ยงพระที่บ้านที่สำนักงานของตน
วัดท่าไทร
จัดให้มีพิธีเค้าท์ดาวน์นับถอยหลัง ส่งท้ายปีเก่า-ต้อนรับปีใหม่ เป็นประจำทุกปี
วัดท่าไทร
ร่วมกับประชาชนพุทธบริษัท จัดให้มีพิธีเค้าท์ดาวน์นับถอยหลัง ส่งท้ายปีเก่า-ต้อนรับปีใหม่
เป็นประจำทุกปี ในวันที่ 31 ธันวาคม ของทุกปี โดยเริ่มพิธีตั้งแต่เวลา
๒๓.๐๐ น. เป็นต้นไป จนกระทั่งเสร็จพิธี(ประมาณ ๐๐.๓๐ น. ของวันที่
๑ มกราคม) เพื่อเป็นการอนุรักษ์ประเพณี วัฒนธรรมอันดีงามวิถีพุทธของไทย
ร่วมเจริญจิตภาวนาฝึกอบรมจิตใจ เสริมสร้างบารมีธรรม เพิ่มสิริมงคล
เสริมดวงชะตาให้แก่ชีวิต รับพร รับสิริมงคล และรับน้ำพระพุทธมนต์จากพระสงฆ์
โดยมี พระเดชพระคุณ พระเทพพิพัฒนาภรณ์ (พระมหาชูชาติ) เจ้าอาวาสวัดท่าไทร
และเจ้าคณะจังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นประธานสงฆ์ ณ ศาลาการเปรียญวัดท่าไทร
ต.ท่าทองใหม่ อ.กาญจนดิษฐ์ จ.สุราษฎร์ธานี
วันที่
๑ มกราคม ของทุกปี ตั้งแต่เวลา ๐๗.๐๐ น.เป็นต้นไป เริ่มประกอบพิธีทำบุญตักบาตรต้อนรับปีใหม่
(ตักบาตรข้าวสาร อาหารแห้ง) ณ บริเวณวัดท่าไทร เพื่อเสริมสร้างบารมีธรรม
เพิ่มสิริมงคล และเสริมดวงชะตาให้แก่ชีวิต เนื่องในวันปีใหม่ เริ่มปีใหม่ด้วยบุญกุศลหนุนนำส่งให้ชีวิตมีความสุข
สดชื่น สมหวัง ประสบแต่สิ่งอันพึงปรารถนา และเจริญรุ่งเรืองตลอดปี
และตลอดไป โดยมีประชาชนพุทธบริษัทเข้าร่วมกิจกรรมดังกล่าวมากมายทุกปี
ข้อมูลที่ควรอ่านเพิ่มเติม.-
วันขึ้นปีใหม่
ต้อนรับปีใหม่ด้วยวิถีพุทธ
สวดมนต์ปีใหม่
|