วันออกพรรษาเป็นวันที่พุทธบริษัททั้งชาววัดและชาวบ้านได้พร้อมใจกันกระทำบุญกุศลต่าง
ๆ ตามคติประเพณีที่เคยประพฤติปฏิบัติสืบ ๆ กันมาแต่โบราณกาลเช่นมีการตักบาตรเทโวหรือเรียกตักบาตรดาวดึงส์เป็นต้น"วันออกพรรษา"มีสาเหตุเนื่องมาจาก"วันเข้าพรรษา"ที่มีมาแล้วเมื่อวันแรม๑ค่ำเดือน๘อันเป็นวันที่พระภิกษุทั้งหลายอธิษฐานใจเข้าอยู่พรรษาครบไตรมาสคือ๓เดือนตามพระพุทธบัญญัติโดยไม่ไปค้างแรมค้างคืนนอกสถานที่ที่ท่านตั้งใจอยู่ไว้เมื่อมีวันเข้าพรรษาก็จำเป็นต้องมีวันออกพรรษาซึ่งวันออกพรรษาซึ่งวันออกพรรษาตรงกับวันขึ้น๑๕ค่ำเดือน๑๑(เพ็ญเดือน๑๑)ของทุกปีวันออกพรรษาเป็นวันสุดท้ายแห่งการจำพรรษาของพระภิกษุสงฆ์หมายถึงพระภิกษุสงฆ์ได้จำพรรษาครบกำหนดไตรมาสตามพระพุทธบัญญัติแล้วท่านมีสิทธิ์ที่จะจาริกไปพักค้างคืนที่อื่นได้ไม่ผิดพระพุทธบัญญัติและยังได้รับอานิสงส์(ผลดี)คือ
๑.ไปไหนไม่ต้องบอกลา
๒.ไม่ต้องถือผ้าไตรครบชุด
๓.ลาภที่เกิดขึ้นแก่ท่านมีสิทธิ์รับได้
๔.มีโอกาสได้อนุโมทนากฐินและได้รับอานิสงส์คือได้รับการขยายเวลาของ
อานิสงส์นั้นออกไปอีก๔เดือน
อนึ่งมีชื่อเรียกวันออกพรรษาอีกอย่างหนึ่งว่า
"วันปวารณาหรือวันมหาปวารณา" มีความหมายว่าพระภิกษุทั้งหลายทั้งพระผู้ใหญ่และพระผู้น้อยต่างเปิดโอกาสอนุญาตแก่กันและกันให้ว่ากล่าวตักเตือนกันได้มีคำกล่าวปวารณาเป็นภาษาลีว่า"สังฆัมภันเตปะวาเรมิทิฎเฐนะวาสุเตนะวาปะริสังกายะวาวะทันตุมังอายัส์มันโตอะนุกัทปังอุปาทายะปัสสันโตปฎิกะริสสามิ"
แปลว่าข้าแต่พระสงฆ์ผู้เจริญกระผมขอปวารณาต่อสงฆ์ด้วยได้เห็นหรือได้ฟังก็ตามขอท่านทั้งหลายโปรดอนุเคราะห์ว่ากล่าวตักเตือนกระผมด้วยเมื่อกระผมมองเห็นแล้วจักประพฤติตัวเสียเลยใหม่ให้ดี
การที่พระท่านกล่าวปวารณา
(ยอมให้ว่ากล่าวตักเตือน) กันไว้ในเมื่อต่างองค์ต่างต้องจากกันไปองค์ละทิศละทางท่านเกรงว่าอาจมีข้อประพฤติปฏิบัติที่ไม่ดีไม่งามเกิดขึ้นโดยตัวท่านเองรู้เท่าไม่ถึงการณ์หรือมองไม่เห็นเหมือนผงเข้าตาตัวเองแม้ผลจะอยู่ชิดติดกับลูกนัยน์ตาเราก็ไม่สามารถมองเห็นผลนั้นได้จำเป็นต้องไหว้วานขอร้องผู้อื่นให้มาช่วยดูหรือต้องใช้กระจกส่องดูเพราะฉะนั้นพระท่านจึงใช้วิธีการกล่าวปวารณาตัดไว้เพื่อท่านรูปอื่นได้เห็นหรือแม้แต่ได้ยินได้ฟังเรื่องดีไม่ดีไม่งามอะไรก็ตามให้กล่าวแนะนำตักเตือนได้โยไม่ต้องเกรงใจกันทั้งผู้ใหญ่และผู้น้อยด้วยเจตนาดีต่อกันคือพระผู้ใหญ่ก็กล่าวตักเตือนพระผู้น้อยได้และพระผู้มีอาวุโสน้อยก็สามารถกล่าวชี้แนะถึงข้อไม่ดีของพระผู้ใหญ่ได้เช่นกันโดยที่พระผู้ใหญ่คือผู้มีอาวุโสท่านก็มิได้สำคัญตนผิดคิดว่าท่านทำอะไรแล้วถูกไปหมดทุกอย่าง
การกล่าวปวารณา เท่ากับเป็นการช่วยระมัดระวังข้อประพฤติปฏิบัติที่ไม่ดีของพระรูปหนึ่ง
ซึ่งเป็นจุดน้อย ๆ นี้ที่จะลุกลามก่อความเสื่อมเสียไปถึงพระหมู่มากและลุกลามไปถึงพระพุทธศาสนาอันเป็นจุดศูนย์ที่ใหญ่ได้ท่านจึงใช้วิธีป้องกันไว้ก่อนดีกว่าการแก้ไขในภายหลัง
ตัวอย่างวันออกพรรษา หรือวันมหาปวารณาที่พระภิกษุทั้งหลายกระทำเช่นนี้
เป็นเครื่องมือชี้ให้เห็นวิธีการคอยสังวรคือตามระวังไม่ประมาทไม่ยอมให้ความเลวร้ายเกิดขึ้นได้เหมือล้อมรั้วไว้ก่อนที่วัวจะหายไม่ว่าจะอยู่ในเทศกาลเข้าพรรษาหรือออกพรรษาพระท่านจะประพฤติดีปฏิบัติชอบตามระบอบของพระธรรมวินัยอยู่ตลอดเวลา
ส่วนพิธีของฆราวาสนั้น
ควรจะนำเอาพิธีปวารณาของพระท่านมาใช้ดูบ้าง ซึ่งจะมีผลดีที่เกิดขึ้นแก่กลุ่มชนที่อยู่รวมกันไม่ว่าครอบครัวและสังคมต่าง
ๆ และมีพิธีกรรมของฆราวาสที่เกี่ยวเนื่องกันในวันออกพรรษานี้ก็ได้แก่การบำเพ็ญบุญกุศลต่าง
ๆ เช่นการทำบุญตักบาตรรักษาศีลฟังธรรมณวัดที่อยู่ใกล้เคียง
วันออกพรรษา เป็นวันที่พุทธบริษัททั้งชาววัดและชาวบ้านได้พร้อมใจกันกระทำบุญกุศลต่าง
ๆ ตามคติประเพณีที่เคยประพฤติปฏิบัติสืบ ๆ กันมาแต่โบราณกาลเช่นมีการตักบาตรเทโวหรือเรียกตักบาตรดาวดึงส์เป็นต้น"วันออกพรรษา"มีสาเหตุเนื่องมาจาก"วันเข้าพรรษา"ที่มีมาแล้วเมื่อวันแรม๑ค่ำเดือน๘อันเป็นวันที่พระภิกษุทั้งหลายอธิษฐานใจเข้าอยู่พรรษาครบไตรมาสคือ๓เดือนตามพระพุทธบัญญัติโดยไม่ไปค้างแรมค้างคืนนอกสถานที่ที่ท่านตั้งใจอยู่ไว้เมื่อมีวันเข้าพรรษาก็จำเป็นต้องมีวันออกพรรษาซึ่งวันออกพรรษาซึ่งวันออกพรรษาตรงกับวันขึ้น๑๕ค่ำเดือน๑๑(เพ็ญเดือน๑๑)ของทุกปีวันออกพรรษาเป็นวันสุดท้ายแห่งการจำพรรษาของพระภิกษุสงฆ์หมายถึงพระภิกษุสงฆ์ได้จำพรรษาครบกำหนดไตรมาสตามพระพุทธบัญญัติแล้วท่านมีสิทธิ์ที่จะจาริกไปพักค้างคืนที่อื่นได้ไม่ผิดพระพุทธบัญญัติและยังได้รับอานิสงส์(ผลดี)คือ
๑.ไปไหนไม่ต้องบอกลา
๒.ไม่ต้องถือผ้าไตรครบชุด
๓.ลาภที่เกิดขึ้นแก่ท่านมีสิทธิ์รับได้
๔.มีโอกาสได้อนุโมทนากฐินและได้รับอานิสงส์คือได้รับการขยายเวลาของ
อานิสงส์นั้นออกไปอีก๔เดือน
อนึ่งมีชื่อเรียกวันออกพรรษาอีกอย่างหนึ่งว่า
"วันปวารณาหรือวันมหาปวารณา" มีความหมายว่าพระภิกษุทั้งหลายทั้งพระผู้ใหญ่และพระผู้น้อยต่างเปิดโอกาสอนุญาตแก่กันและกันให้ว่ากล่าวตักเตือนกันได้มีคำกล่าวปวารณาเป็นภาษาลีว่า"สังฆัมภันเตปะวาเรมิทิฎเฐนะวาสุเตนะวาปะริสังกายะวาวะทันตุมังอายัส์มันโตอะนุกัทปังอุปาทายะปัสสันโตปฎิกะริสสามิ"
แปลว่าข้าแต่พระสงฆ์ผู้เจริญกระผมขอปวารณาต่อสงฆ์ด้วยได้เห็นหรือได้ฟังก็ตามขอท่านทั้งหลายโปรดอนุเคราะห์ว่ากล่าวตักเตือนกระผมด้วยเมื่อกระผมมองเห็นแล้วจักประพฤติตัวเสียเลยใหม่ให้ดี
การที่พระท่านกล่าวปวารณา(ยอมให้ว่ากล่าวตักเตือน)กันไว้ในเมื่อต่างองค์ต่างต้องจากกันไปองค์ละทิศละทางท่านเกรงว่าอาจมีข้อประพฤติปฏิบัติที่ไม่ดีไม่งามเกิดขึ้นโดยตัวท่านเองรู้เท่าไม่ถึงการณ์หรือมองไม่เห็นเหมือนผงเข้าตาตัวเองแม้ผลจะอยู่ชิดติดกับลูกนัยน์ตาเราก็ไม่สามารถมองเห็นผลนั้นได้จำเป็นต้องไหว้วานขอร้องผู้อื่นให้มาช่วยดูหรือต้องใช้กระจกส่องดูเพราะฉะนั้นพระท่านจึงใช้วิธีการกล่าวปวารณาตัดไว้เพื่อท่านรูปอื่นได้เห็นหรือแม้แต่ได้ยินได้ฟังเรื่องดีไม่ดีไม่งามอะไรก็ตามให้กล่าวแนะนำตักเตือนได้โยไม่ต้องเกรงใจกันทั้งผู้ใหญ่และผู้น้อยด้วยเจตนาดีต่อกันคือพระผู้ใหญ่ก็กล่าวตักเตือนพระผู้น้อยได้และพระผู้มีอาวุโสน้อยก็สามารถกล่าวชี้แนะถึงข้อไม่ดีของพระผู้ใหญ่ได้เช่นกันโดยที่พระผู้ใหญ่คือผู้มีอาวุโสท่านก็มิได้สำคัญตนผิดคิดว่าท่านทำอะไรแล้วถูกไปหมดทุกอย่าง
การกล่าวปวารณา เท่ากับเป็นการช่วยระมัดระวังข้อประพฤติปฏิบัติที่ไม่ดีของพระรูปหนึ่งซึ่งเป็นจุดน้อย
ๆ นี้ที่จะลุกลามก่อความเสื่อมเสียไปถึงพระหมู่มากและลุกลามไปถึงพระพุทธศาสนาอันเป็นจุดศูนย์ที่ใหญ่ได้ท่านจึงใช้วิธีป้องกันไว้ก่อนดีกว่าการแก้ไขในภายหลัง
ตัวอย่างวันออกพรรษาหรือวันมหาปวารณาที่พระภิกษุทั้งหลายกระทำเช่นนี้
เป็นเครื่องมือชี้ให้เห็นวิธีการคอยสังวรคือตามระวังไม่ประมาทไม่ยอมให้ความเลวร้ายเกิดขึ้นได้เหมือล้อมรั้วไว้ก่อนที่วัวจะหายไม่ว่าจะอยู่ในเทศกาลเข้าพรรษาหรือออกพรรษาพระท่านจะประพฤติดีปฏิบัติชอบตามระบอบของพระธรรมวินัยอยู่ตลอดเวลา
ส่วนพิธีของฆราวาสนั้นควรจะนำเอาพิธีปวารณาของพระท่านมาใช้ดูบ้างซึ่งจะมีผลดีที่เกิดขึ้นแก่กลุ่มชนที่อยู่รวมกันไม่ว่าครอบครัวและสังคมต่าง
ๆ และมีพิธีกรรมของฆราวาสที่เกี่ยวเนื่องกันในวันออกพรรษานี้ก็ได้แก่การบำเพ็ญบุญกุศลต่าง
ๆ เช่นการทำบุญตักบาตรรักษาศีลฟังธรรมณวัดที่อยู่ใกล้เคียง
มีการทำบุญอันเป็นประเพณีที่นิยมกระทำกันมานานแล้วในวันออกพรรษาซึ่งเรียกว่า"ตักบาตรเทโว"หรือเรียกชื่อเต็มตามคำพระว่า"เทโวโรหนะ"แปลว่าการหยั่งลงจากเทวโลกหรือการตักบาตรนี้เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า"ตักบาตรดาวดึงส์"และการตักบาตรเทโวนี้จะกระทำในวันขึ้น๑๕เดือน๑๑หรือวันแรม๑ค่ำเดือน๑๑ก็ได้สุดแท้แต่จะเห็นพร้อมกัน
การทำบุญตักบาตรเทโวนี้ท่านจัดเป็นกาลนานคือหนึ่งปีมีหนึ่งครั้งและการกระบุญเช่นนี้โดยยึดถือว่าเป็นวันคล้ายกับวันที่พระพุทธเจ้าเสด็จลงจากเทวโลกตามตำนานกล่าวว่า
เมื่อก่อนพุทธศักดิ์ราช
๘๐ ปี พระพุทธเจ้าเสด็จขึ้นไปจำพรรษาณบัณฑุกัมพลศิลาอาสน์ในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์เพื่อทรงเทศนา"พระสัตตปรณาภิธรรม"คือพระอภิธรรม๗คัมภีร์โปรดพระพุทธมารดา(ซึ่งทรงบังเกิดอยู่ในสวรรคชั้นดุสิต)
ครั้นครบกำหนดการทรงจำพรรษาครบ๓เดือนพระพุทธเจ้าทรงปวารณาพระวัสสาแล้วเสด็จลงจากดาวดึงส์เทวโลกมาสู่มนุษย์โลกในวันขึ้น๑๕ค่ำเดือน๑๑โดยเสด็จลงทางบันไดแก้วทิพย์ซึ่งตั้งระหว่างกลางของนับไดทองทิพย์อยู่เบื้องขวาบันไดเงินทิพย์อยู่เบื้องซ้ายและหัวบันไดทิพย์ที่เทวดาเนรมิตขึ้นทั้ง๓พาดบนยอดเขาพระสิเนรุราชอันเป็นที่ตั้งแห่งสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ส่วนเชิงบันไดตั้งอยู่บนแผ่นศิลาใหญ่ใกล้ประตูเมืองสังกัสสนครและสถานที่นั้นประชาชนถือว่าเป็นศุภนิมิตรสร้างพระเจดีย์ขึ้นเป็น"พุทธบูชานุสาวรีย์"เรียกว่า"อจลเจดีย์"
อนึ่ง ในวันที่พระพุทธเจ้าเสด็จลงมาสู่มนุษย์โลกนั้น
ประชาชนพร้อมกันไปทำบุญตักบาตรเป็นจำนวนมากสุดจะประมาณ พิธีที่กระทำกันในการตักบาตรเทโวซึ่งถือตามประวัตินี้ก็เท่ากับทำบุญตักบาตรรับเสด็จพระพุทธเจ้า
ในคราวเสด็จลงมาจากเทวโลกนั่นเอง บางวัดจึงเตรียมการในคฤหัสถ์แต่งตัวเป็นเทวดาบ้าง
เป็นพรหมบ้าง แล้วอัญเชิญพระพุทธรูปขึ้นประดิษฐานบนบุษบกที่มีล้อเคลื่อน
และมีบาตรตั้งอยู่ข้างหน้าพระพุทธรูป ใช้คนลากนำหน้าพระสงฆ์ พวกทายกทายิกาตั้งแถวเรียงรายคอยใส่บาตร
เป็นการกระทำให้ใกล้กับความจริง เพื่อเป็นการระลึกถึงพระพุทธเจ้า ส่วนอาหารที่นำมาทำบุญตักบาตรในวันนั้น
มีข้าวกับข้าวต้มมัดใต้ข้าวต้มลูกโยนที่ห่อด้วยใบมะพร้าวหรือใบลำเจียกไว้หางยาว
และข้าวต้มลูกโยนนี้มีประวัติมาตั้งแต่ครั้งพระพุทธเจ้าเสด็จลงจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์
เพราะตั้งใจอธิษฐานแล้วโยนไปให้ลงบาตรของพระพุทธเจ้าเนื่องจากมีคนมากเข้าไปใส่บาตรไม่ได้
ประโยชน์ของพิธีออกพรรษา
๑.เมื่อวันออกพรรษามาถึง
เป็นการเตือนใจชาวพุทธว่า เวลาที่ผ่านไปชีวิตก็ใกล้ตายเข้าไปทุกขณะแล้วควรเร่งทำกุศลและยังได้ถึงความปีติที่ได้บำเพ็ญกิจมาตลอดพรรษาและเป็นการเตือนสติอย่าให้จิตของตนมัวเมาในการทำอกุศล
ไม่ให้ตกไปสู่ทางอบายมากเกินไป
๒.ประโยชน์ที่โดดเด่น
คือประโยชน์ของการปวารณาที่สงฆ์การกระทำกันในวันออกพรรษา เพื่อให้สงฆ์ดำรงค์ความเป็นปึกแผ่นแน่นเหนียวยากแก่การทำลายถ้าคนในชาติเราทุกฝ่ายหันมาปวารณากันคือเปิดใจกันเปิดเผยซึ่งกันและกันหันหน้ามารวมพลังกันพัฒนาประเทศความทุกข์ก็จะบรรเทาเบาบางลง
จากพิธีออกพรรษา
๑.เตือนสติว่าเวลาที่ผ่านพ้นไปอีกพรรษาหนึ่งแล้วได้คร่าชีวิตมนุษย์ให้ผู้คนนั้นดำรงค์อยู่ในความไม่ประมาทและหันมาสร้างกุศล
๒.การทำบุญออกพรรษาเปิดโอกาสให้ผู้อื่นชำระความผิดของตนได้คือหลักปวารณาปกติคนเราคบกันนาน
ๆ ก็จะเผย"สันดาน"ที่แท้ออกมาอาจจะไม่ดีนักแต่ตนเองไม่รู้ตัวแล้วมองไม่เห็นแต่ผู้อยู่ข้าง
ๆ มองเห็นแต่ไม่กล้าเตือนดังนั้นตนเองต้องปวารณาตัวให้ผู้อื่นชี้แนะได้ความสัมพันธ์ก็จะดีขึ้นและยั่งยืน
๓.ได้ข้อคิดที่ว่าคนเราส่วนใหญ่มักจะลำเอียงเข้าข้างตนเองเป็นฝ่ายถูกความผิดของคนอื่นเห็นง่ายส่วนตนเองนั้นความผิดนั้นเห็นยากนี่แหละสัญชาตญาณของคนเรา
๔.เป็นการให้รู้ถึงการมีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดีในการเปิดใจซึ่งกันและกันโดยไม่มีเล่ห์เหลี่ยมลับลมคมในใด
ๆ ต่อในการคบหาหรืออยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข
ข้อมูลที่ควรดูเพิ่มเติม.-
วันเข้าพรรษา
หนังสืออ้างอิง.-
-บุญโฮม
ปริปุณฺณสีโล(ไชยฤทธิ์),พระมหา,คู่มือเรียนนักธรรมและธรรมศึกษาชั้นโท,
ฉบับพิมพ์โรเนียวเย็บเล่ม, สำนักศาสนศึกษาวัดท่าไทร จ.สุราษฎร์ธานี,
๒๕๓๕
-บุญโฮม
ปริปุณฺณสีโล(ไชยฤทธิ์),พระมหา,ปัญหาและเฉลยสำหรับนักธรรมและธรรมศึกษาชั้นโท,
ฉบับพิมพ์โรเนียวเย็บเล่ม, สำนักศาสนศึกษาวัดท่าไทร จ.สุราษฎร์ธานี,
๒๕๓๕
-ศูนย์พระสงฆ์นักเผยแผ่ธรรมะเพื่อพัฒนาสังคม,คู่มือธรรมศึกษาชั้นโท,
ฉบับพิมพ์ครั้งที่ ๓ พ.ศ.๒๕๔๗,โรงพิมพ์เอกพิมพ์ไท จำกัด,กรุงเทพฯ,๒๕๔๗
|