เหตุการณ์ในอดีตประจำเดือน ธันวาคม
รวมเรื่องราวที่เกิดในอดีตทุกเดือนเพื่อเป็นข้อมูลแก่ผู้สนใจศึกษา ค้นคว้า
โดย... พระมหาบุญโฮม ปริปุณฺณสีโล (ไชยฤทธิ์) วัดท่าไทร จ.สุราษฎร์ธานี

เกร็ดน่ารู้ในเดือน ธันวาคม.-

           - แม่แบบ:ปฏิทินธันวาคม๒๕๕๒ ธันวาคม เป็นเดือนที่ ๑๒ ของปี ตามปฏิทินเกรกอเรียน และเป็นหนึ่งในเดือน ๗ เดือนที่มี ๓๑ วัน
           - ตามหลักโหราศาสตร์ เดือนธันวาคมเริ่มต้นขึ้นเมื่อดวงอาทิตย์ยกเข้าสู่ราศีธนู และสิ้นสุดเมื่อยกเข้าสู่ราศีมกร แต่ในทางดาราศาสตร์ ต้นเดือนธันวาคมดวงอาทิตย์อยู่ในกลุ่มดาวคนแบกงู และไปอยู่ในกลุ่มดาวคนยิงธนูในปลายเดือน
           - เดือนธันวาคมในภาษาอังกฤษ December มาจากภาษาละติน decem เนื่องจากเป็นเดือนที่ ๑๐ ในปฏิทินโรมันดั้งเดิมที่เริ่มต้นปีในเดือนมีนาคม. ประเทศไทยเริ่มใช้ชื่อเดือนธันวาคมในปี พ.ศ. ๒๔๓๒ ตรงกับสมัยรัชกาลที่ ๕ โดยสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาเทววงศ์วโรปการ เป็นผู้เสนอให้ใช้ราศีกำหนดชื่อเดือน
           - ในปีเดียวกัน วันในสัปดาห์ ของวันแรกในเดือนธันวาคม ตรงกับเดือนกันยายนเสมอ
           - ดอกไม้ประจำเดือนธันวาคม คือ ดอกฮอลลี
           - อัญมณีประจำเดือนเกิดของเดือนธันวาคม คือ พลอยเทอร์คอยส์

๑ ธันวาคม – วันเอดส์โลก, วันดำรงราชานุภาพ

วันเอดส์โลก ที่มาของวันเอดส์โลกเกิดขึ้นในระหว่างการแพร่ระบาดของโรคเอดส์ไปทั่วโลกเริ่มตั้งแต่วันที่ ๑ ธันวาคม ๒๕๓๑ เป็นวันที่จะนำข่าวสารของความเห็นใจ ความหวังความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน และความเข้าใจเกี่ยวกับโรคเอดส์ไปยังทุกประเทศในโลก โดยในการประชุมรัฐมนตรีสาธารณสุขทั่วโลกในโครงการป้องกันโรคเอดส์ เมื่อเดือน มกราคม ๒๕๓๑ มีการแลกเปลี่ยนข้อมูลและประสบการณ์ รวมทั้งความรับผิดชอบต่อสังคมซึ่งได้รับการสนับสนุนจากประเทศต่างๆ ทั่วโลก องค์การอนามัยโลกจึงได้กำหนดให้วันที่ ๑ ธันวาคมของทุกปีเป็นวันเอดส์โลก ( World AIDS Day ) เพื่อกระตุ้นให้ประชากรโลกเกิดความตระหนักถึงปัญหาของโรคเอดส์ร่วมกัน เป็นวันนานาชาติของการร่วมมือกันในการต่อต้านภัยจากโรคเอดส์

กิจกรรม รณรงค์ทางสื่อสารมวลชนทุกช่องทางเพื่อปลุกเร้าความสนใจจากประชาชนทั่วโลกอย่างกว้างขวาง สัญลักษณ์ของการรณรงค์คือริบบิ้นสีแดง การรณรงค์ต้องให้สอดคล้องเหมาะสมกับสถานการณ์ในแต่ละพื้นที่ เผยแพร่สัญลักษณ์กุหลาบเหลือง เพื่อสื่อความหมายแห่งการเห็นใจ ยอมรับผู้ติดเชื้อเอดส์ และเพื่อระดมทุนบริจาคเข้าสู่กองทุนสงเคราะห์ผู้ติดเชื้อและผู้ป่วยเอดส์

๑ ธันวาคม ๒๓๔๗ จักรพรรดินโปเลียน แห่งฝรั่งเศส อภิเษกสมรสกับนางโจเซฟิน แห่งมาร์ตินิก

๑ ธันวาคม ๒๔๒๑ มีการติดตั้งโทรศัพท์ครั้งแรกในทำเนียบขาว สหรัฐฯ

๑ ธันวาคม ๒๔๕๕ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินจังหวัดปราจีนบุรี เทศาภิบาลเมืองปราจีนบุรี ถวายรูปครุฑสัมฤทธิ์หุ้มทอง อันเป็นของโบราณที่ขุดได้ที่ตำบลโคกพระ ในดงพระศรีมหาโพธิ รูปครุฑนี้ต่อมาได้ใช้เป็นยอดธงประจำกองทัพบก คือ ธงมหาไพชยนต์ธวัช

๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๖๒

เลดี แนนซี แอสเตอร์ เป็นสตรีคนแรกที่สาบานตนเข้ารับตำแหน่งสมาชิกรัฐสภาของอังกฤษ

๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๖๔

บอลลูนที่ใช้ก๊าซฮีเลียม ขึ้นบินเป็นครั้งแรกในสหรัฐฯ

๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๖๔

กระทรวงกลาโหม ได้ประกาศเปลี่ยนนามหน่วย กรมอากาศยานทหารบก เป็น กรมอากาศยาน และให้ส่วนราชการในสังกัดหน่วยนี้ตัดคำว่าทหารบกออก ด้วยพิจารณาเห็นว่ากำลังทางอากาศมิใช่มีเฉพาะ กำลังทหารบกเท่านั้น แต่มีเพื่อกิจการอย่างอื่นด้วย เช่น การพานิชยกรรม และการคมนาคม เป็นต้น

๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๒ เอ็ดวิน เอส โลว ประดิษฐ์ “เกมบิงโก”

๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ ออสเตรีย เป็นประเทศแรกที่จัด “วันสแตมป์”

๑ ธันวาคม ๒๔๘๖

สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ ฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพสิ้นพระชนม์ด้วยพระโรคชรา ที่วังวรดิส กรุงเทพ ฯ พระชนมายุ ๘๑ ชันษา

๑ ธันวาคม ๒๔๘๗

ธนาคารกรุงเทพจำกัด เปิดดำเนินการครั้งแรกโดยมีเงินทุนจดทะเบียนสี่ล้านบาท แบ่งออกเป็นสี่หมื่นหุ้น โดยมีเจ้าพระยารามราฆพ (ม.ล.เฟื้อ พึ่งบุญ) เป็นประธานกรรมการ

๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๙๔ สะพานโกลเดน เกต ถูกปิดเนื่องจากกระแสลมรุนแรง

๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๐๒ มีการถ่ายภาพโลกที่เป็นภาพสีครั้งแรกจากบนอวกาศ

๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๑๘ ประธานาธิบดีเจอรัลด์ ฟอร์ด ของสหรัฐฯ เยือนสาธารณรัฐประชาชนจีน

๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๒๔ ให้การรับรองไวรัส “เอดส์” อย่างเป็นทางการ

๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๓๑ นางเบนาซีร์ บุตโต ถูกเสนอชื่อเป็นนายกรัฐมนตรีหญิงคนแรกของปากีสถาน

๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๓๓ อิรักยอมรับข้อเสนอการเจรจาของประธานาธิบดีจอร์จ ดับเบิลยู บุช ของสหรัฐฯ

๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๓๔ สถาปนาวันเอดส์โลก

๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๑

บริษัท “แอกซ์ซอน” ซื้อกิจการ “โมบิล” ในวงเงิน ๗๓,๗๐๐ ล้าน ดอลลาร์สหรัฐฯ จากนั้นเปลี่ยนชื่อเป็น “แอกซ์ซอน-โมบิล” กลายเป็นบริษัทที่ใหญ่ที่สุดในโลก…

๒ ธันวาคม วันสากลเพื่อการเลิกทาส

๒ ธันวาคม ๒๓๘๓

พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย โปรดเกล้า ฯ ให้ลดหย่อนการรับราชการทหาร ให้เลขไพร่หลวงทั้งปวงเข้ารับราชการแต่เดือนหนึ่ง ออกไปทำมาหากินอยู่สามเดือน

๒ ธันวาคม ๒๔๕๓

           พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชทานกำเนิด โรงเรียนมหาดเล็กหลวง ต่อมา พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้า ฯ ให้รวมโรงเรียนมหาดเล็กหลวง และ โรงเรียนราชวิทยาลัย ซึ่งสร้างในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เข้าเป็นโรงเรียนเดียวกัน และพระราชทานว่า วชิราวุธวิทยาลัย

๒ ธันวาคม ๒๔๖๑

พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงกระทำพิธีปฐมกรรมในพระบรมมหาราชวัง และมีการชุมนุมทหารที่สนามหลวง ฉลองชัยชนะสงครามโลกครั้งที่ ๑

          พิธีปฐมกรรม เป็นพิธีที่พระมหากษัตริย์ในครั้งโบราณกระทำแก่ผู้ที่เป็นปรปักษ์ พิธีปฐมกรรมครั้งนี้ ทรงใช้น้ำสังข์สัมฤทธิ์ และน้ำพระเต้าประทุมนิมิตร์ ชำระพระบาทล้างมณฑิล ลงยังไม้ข่มนามให้ตกถึงพสุธา

๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๑ เวลา ๑๒.๐๐-๑๓.๓๒ น. ศาลรัฐธรรมนูญมีคำสั่งให้ยุบพรรคพลังประชาชน พรรคชาติไทย และพรรคมัชฌิมาธิปไตย

คณะตุลาการรัฐธรรมนูญอ่านคำวินิจฉัยกรณีอัยการสูงสุดมีคำร้องให้ยุบพรรคพลังประชาชน พรรคชาติไทย และพรรคมัชฌิมาธิปไตยโดยมีคำสั่งให้ยุบพรรคทั้ง ๓ พรรค รวมทั้งเพิกถอนสิทธิการเลือกตั้งต่อกรรมการบริหารพรรคเป็นจำนวน ๓๗ คน, ๔๓ คน, และ ๒๙ คน ตามลำดับ มีกำหนด ๕ ปี นับตั้งแต่วันที่ศาลรัฐธรรมนูญคำสั่งให้ยุบพรรคสามารถสรุปได้ดังนี้

สำหรับกรณีของพรรคพลังประชาชน นั้น ตุลาการรัฐธรรมนูญ ระบุว่ากรณีที่นายยงยุทธ ติยะไพรัช อดีตรองหัวหน้าพรรคกระทำการฝ่าฝืนและขัดต่อ พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้ง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ. ๒๕๕๐ ที่มีผลทำให้การเลือกตั้งไม่เป็นไปโดยสุจริต และได้มาซึ่งอำนาจในการปกครองที่ไม่เป็นไปตามวิถีทางของรัฐธรรมนูญ ดังนั้นจึงเป็นเรื่องที่พรรคและคณะกรรมการบริหารพรรคคนอื่นๆ ต้องร่วมรับผิดชอบ

ศาลวินิจฉัยแล้วเห็นว่าคำแก้ข้อกล่าวหาของผู้ถูกร้องฟังไม่ขึ้น เนื่องจากนายยงยุทธ เป็นนักการเมืองหลายสมัย มีฐานะเป็นถึงรองหัวหน้าพรรค และอดีตประธานสภาผู้แทนราษฎร ย่อมต้องเพิ่มความเข้มงวดที่จะไม่กระทำการใดๆ อันฝ่าฝืนกฎหมาย แต่นายยงยุทธ ติยะไพรัช กลับกระทำผิดเสียเอง

นอกจากนี้กรณีที่พรรคพลังประชาชนโต้แย้งว่าได้จัดการประชุมชี้แจงเพื่อกำชับไม่ให้ผู้สมัครของพรรคกระทำการฝ่าฝืนกฎหมายเลือกตั้งแล้วก็ตามนั้น ศาลเห็นว่าแม้พรรคจะมีการกระทำดังกล่าวจริง แต่ไม่ได้เป็นข้อยกเว้นความรับผิดในการที่กรรมการบริหารพรรคจะไปกระทำผิดเอง เพราะทำให้เห็นว่ามาตรการดังกล่าวไม่ได้มีผลบังคับใช้

ส่วนที่มีข้อโต้แย้งว่าผลการสืบสวนของคณะกรรมการการเลือกตั้ง(กกต.) ละเมิดสิทธิและไม่เป็นไปตามหลักนิติธรรมนั้น ศาลวินิจฉัยแล้วเห็นว่า กกต.มีหน้าที่ยื่นคำร้องต่อศาล และได้ดำเนินการตามขั้นตอนของกฎหมายมาอย่างถูกต้องแล้ว

สำหรับกรณีของพรรคมัชฌิมาธิปไตย และพรรคชาติไทย ในการกระทำผิดกฎหมายเลือกตั้งของนายสุนทร วิลาวัลย์ รองหัวหน้าพรรค และกรรมการบริหารพรรคมัชฌิมาธิปไตยและนายมณเฑียร สงฆ์ประชา รองเลขาธิการพรรคชาติไทยนั้น ศาลรัฐธรรมนูญได้ตัดสินไปในทิศทางเดียวกันคือวินิจฉัยให้ยุบพรรคและตัดสิทธิเลือกตั้งแก่กรรมการบริหารพรรคคนละ ๕ ปี

อย่างไรก็ดี ในส่วนข้อโต้แย้งของพรรคมัชฌิมาธิปไตยเกี่ยวกับสถานะภาพการเป็นกรรมการบริหารพรรคนั้น ศาลวินิจฉัยแล้วเห็นว่าแม้นายประชัย เลี่ยวไพรัตน์ จะได้ลาออกจากการเป็นหัวหน้าพรรคไปตั้งแต่วันที่ ๔ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๐ อันจะมีผลให้กรรมการบริหารพรรคต้องพ้นสภาพไปด้วยก็ตาม แต่ยังมีข้อกำหนดที่ให้กรรมการบริหารพรรคต้องทำหน้าที่รักษาการต่อไปจนกว่านายทะเบียนพรรคการเมืองจะตอบรับการเปลี่ยนแปลง

ดังนั้น จึงถือว่านายสุนทร ยังคงทำหน้าที่เป็นกรรมการบริหารพรรคมัชฌิมาธิปไตย อยู่ในขณะเกิดเหตุ แม้จะมีสถานะภาพเป็นเพียงผู้รักษาการณ์ก็ตาม อันเป็นเหตุให้การกระทำใดๆ ของกรรมการบริหารพรรคที่ขัดต่อพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้ง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ. ๒๕๕๐ มีเหตุให้ต้องยุบพรรคและตัดสิทธิกรรมการบริหารพรรคดังกล่าว

๓ ธันวาคม ๒๔๘๓

           กองพันนาวิกโยธิน ๔ กองพัน ในบังคับบัญชาของ นายนาวาตรี ทองหล่อ (ทหาร) ขำหิรัญ เดินทางจากสัตหีบไปจันทบุรี เพื่อจัดตั้งกองพลจันทบุรี

๓ ธันวาคม วันคนพิการสากล

วันคนพิการสากล องค์การสหประชาชาติได้ประกาศให้วันที่ ๓ ธันวาคมของทุกปี เป็นวันคนพิการสากล จากการประชุมใหญ่สมัยประชุมที่ ๔๘ เมื่อเดือนเมษายน ปี ๒๕๓๕ ประเทศไทยได้ขานรับมติดังกล่าว โดยจัดให้มีงานวันพิการตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๓๗

           ปัจจุบันคนพิการส่วนใหญ่ไม่ใช่เป็นภาระต่อสังคมต่อไปอีกแล้ว หลายคนสามารถศึกษาเล่าเรียนจนสำเร็จการศึกษาในชั้นสูงและสามารถประกอบอาชีพทำประโยชน์ต่อสังคมและประเทศชาติเท่าเทียมกับบุคคลที่ร่างกายปกติ สภาสังเคาระห์ฯ ได้จัดงานวันพิการขึ้นเป็นประจำทุกปีในวันเสาร์ของเดือนพฤศจิกายน เพื่อให้คนพิการได้มีโอกาสพบปะสังสรรค์สนุกสนานร่วมกัน และเปิดโอกาสให้คนพิการได้แสดงความสารถในการช่วยตนเอง มีการพัฒนาพลังความสามารถทั้งร่างกายและจิตใจ ในอันที่จะทำมาหาเลี้ยงชีพตนเองและครอบครัวได้โดยไม่เป็นภาระแก่ผู้อื่น เพื่อให้เป็นที่ประจักษ์และยอมรับของสังคมตลอดจนเป็นการเผยแพร่ความรู้และวิทยาการใหม่ๆ นอกจากนี้ยังให้บริการแนะนำปรึกษาแก่คนพิการ และประกาศเกียรติคุณบุคคลพิการตัวอย่างให้ประชาชนตลอดจนคนพิการทั่วไปได้ทราบ และมีกำลังใจต่อสู้เพื่ออยู่ในสังคมได้ตามกำลังความสามารถของตน

กิจกรรม.-จัดนิทรรศการเกี่ยวกับการป้องกัน การรักษา และการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ ตลอดจนบริการสงเคราะห์ของหน่วยงานต่างๆ รวมทั้งกิจกรรมเกี่ยวกับสุขภาพ

๔ ธันวาคม ๒๔๕๔

พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้า ฯ เสด็จเลียบพระนครชลมารค ตามราชประเพณีเนื่องในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก

๔ ธันวาคม วันสิ่งแวดล้อมไทย

วันสิ่งแวดล้อมไทย (๔ ธันวาคม)

วันสิ่งแวดล้อมไทย คณะรัฐมนตรีได้ประชุมปรึกษากันเมื่อวันที่ ๑๒ พฤศจิกายน ๒๕๓๔ มีมติเห็นชอบให้วันที่ ๔ ธันวาคมของทุกปีเป็น "วันสิ่งแวดล้อมไทย" ตามที่กระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อมเสมอ และให้กระทรวงมหาดไทย และกระทรวงศึกษาธิการให้ความร่วมมือในการดำเนินการด้วย

สืบเนื่องจากเมื่อ ๔ ธันวาคม ๒๕๓๒ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงมีพระราชดำรัส พระราชทาน แก่คณะบุคคลต่างๆ ที่เข้าเฝ้าถวายพระพร เนื่องในวโรกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา ณ ศาลา ดุสิดาลัย พระตำหนัก จิตรลดารโหฐาน ใจความเกี่ยวกับสถานการณสิ่งแวดล้อมของประเทศและของโลกที่มีความรุนแรงขึ้น และทรง ห่วงใยต่อปัญหา สิ่งแวดล้อมที่ประชาชนชาวไทยกำลังประสบ อยู่ในปัจจุบันพร้อมทั้งตรัสเตือนพสกนิกร ให้ร่วม มือกันแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมอย่างจริงจังด้วยความสุขุมรอบคอบ โดยให้ถือเป็นหน้าที่ของทุกคนที่จะต้องปฏิบัติ มิใช้เพียงเพื่อประเทศไทยเท่านั้น หากเพื่อความอยู่รอดปลอดภัยของโลกด้วย จากพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวดังกล่าว นับเป็นจุดเริ่มของการเคลื่อนไหวในการ ดำเนินงาน เพื่อสิ่งแวดล้อมของทุกฝ่าย ทั้งหน่วยงานของรัฐบาลและ เอกชนในการสนับสนุนกิจกรรมรณรงค์ เพื่อสร้างความรู้สึกร่วมกัน ของประชาชน ในการรักษาสิ่งแวดล้อม

ดังนั้น คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ โดยกระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม จึงได้นำเสนอความเห็น ขอมติคณะรัฐมนตรีเห็นควรถือเป็นนิมิตหมายอันดียิ่ง ที่จะกำหนดให้ วันที่ ๔ ธันวาคม ของทุกปี เป็นวันสิ่งแวดล้อมไทย เพื่อให้พสกนิกร ชาวไทยสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและตระหนักถึงความสำคัญได้ร่วมกัน ผนึกกำลังในการ อนุรักษ์ทรัพยากร ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ให้คงอยู่ต่อไปและคณะรัฐมนตรีได้มีมติ เมื่อ วันที่ ๑๒ พฤศจิกายน ๒๕๓๔ ประกาศให้ วันที่ ๔ ธันวาคมของทุกปีเป็นวัน สิ่งแวดล้อมไทย

๕ ธันวาคม วันเฉลิมพระชนมพรรษา

- วันเฉลิมพระชนมพรรษา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว,วันชาติไทย และวันพ่อแห่งชาติ,วันพัฒนาแห่งชาติ,วันอาสาสมัครสากล (๕ ธันวาคม ๒๔๗๐ วันพระราชสมภพพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ณ โรงพยาบาลเมาท์ ออเบิร์น (Mount Auburn) เมืองเคมบริดจ์ มลรัฐแมสซาชูเสท สหรัฐอเมริกา)

วันเฉลิมพระชนมพรรษาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ คุณหญิงเนื้อทิพย์ เสมรสุต นายกสมาคมผู้สมัครและช่วยการศึกษาเป็นผู้ริเริ่มให้มีการจัดงานวันพ่อแห่งชาติขึ้นเป็นครั้งแรกในวันที่ ๕ ธันวาคม ๒๕๒๓ เนื่องจากด้วยเหตุที่พ่อเป็นผู้มีพระคุณ มีบทบาทสำคัญต่อครอบครัวและสังคม ลูกควรที่ต้องเคารพเทิดทูนพ่อด้วยความกตัญญู และสมควรที่สังคมจะยกย่องให้เกียรติรำลึกถึง จึงถือเอาวันที่ ๕ ธันวาคมของทุกปีซึ่งเป็นวันเฉลิมพระชนมพรรษาในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเป็น "วันพ่อแห่งชาติ" ด้วยความระลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์ที่ทรงมีต่อพสกนิกรชาวไทยอย่างหาที่เปรียบมิได้ ทรงเปรียบด้วยพระมหากรุณาธิคุณประดุจดัง “พ่อ” ของปวงชนชาวไทย ดอกไม้ที่คณะกรรมการกำหนดให้เป็นสัญลักษณ์วันพ่อคือ “ดอกพุทธรักษา” มีความหมายว่าพ่อมีพระคุณเป็นผู้ปกป้องเรา

กิจกรรม จัดกิจกรรมเกี่ยวกับการส่งเสริมสุขภาพของพ่อละชายทั่วไป ประกวดสุขภาพพ่อ

๕ ธันวาคม วันชาติของไทย คือ วันที่ 5 ธันวาคม ซึ่งเป็นวันเฉลิมพระชนมพรรษาของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดช

ความเป็นมาของวันชาติต่างประเทศ
          
โดยทั่วไป “วันชาติ” มักจะหมายถึง วันเฉลิมฉลองที่ประเทศนั้นๆ ได้รับอิสรภาพ เป็นเอกราช หรือเป็นวันสถาปนาประเทศ รัฐ ราชวงศ์ วันพระราชสมภพของพระมหากษัตริย์ วันเกิดประมุขของรัฐ หรืออาจจะเป็นวันที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์อื่นๆ แต่มักจะถือเป็นวันหยุดประจำของชาติ ซึ่ง           “วันชาติ” ของแต่ละประเทศจะเป็นวันใด ก็ขึ้นอยู่กับการกำหนดของประเทศนั้นๆ เช่น ประเทศโมร็อกโก]] ตรงกับวันที่ 2 มีนาคม สหรัฐอเมริกา ตรงกับวันที่ 4 กรกฎาคม ฝรั่งเศสตรงกับวันที่ 14 กรกฎาคม อินโดนีเซียตรงกับวันที่ 17 สิงหาคมบราซิล]]ตรงกับวันที่ 7 กันยายน และเคนย่าตรงกับวันที่ 12 ธันวาคม เป็นต้น
           “วันชาติ” ของประเทศต่างๆ ส่วนใหญ่จะมีเพียงวันเดียว แต่ก็มีบางประเทศเช่นกันที่มี “วันชาติ” มากกว่าหนึ่งวัน ทั้งนี้เพราะประเทศนั้นๆ อาจจะนับวันที่ได้รับเอกราชหรือวันที่ปลดแอกจากการเป็นอาณานิคม และวันที่มีการสถาปนาการปกครองขึ้นใหม่ ซึ่งอาจจะมิใช่วันเดียวกัน แต่เป็นวันสำคัญเสมือนวันชาติเท่าๆกัน เช่น ประเทศปากีสถาน จะมีวันชาติตรงกับวันที่ 23 มีนาคม ที่เขาเรียกว่า “Republic Day” และวันที่ 14 สิงหาคม เป็น “Independence Day” ส่วนฮังการี ก็มีถึง 3 วันคือ วันที่ 15 มีนาคม 20 สิงหาคม และ 23 ตุลาคม สำหรับจีน นอกจากจะมีวันชาติตรงกับวันที่ 1 ตุลาคม แล้ว ที่ฮ่องกง อันเป็นเขตปกครองพิเศษของจีน ที่มีขึ้นหลังจากอังกฤษ คืนเกาะ ฮ่องกง ให้จีนก็มีการเฉลิมฉลองวันที่ตรงกับวันสถาปนาการปกครองพิเศษนี้ขึ้น ในวันที่ 1 กรกฎาคม อีกด้วย

ความเป็นมาของวันชาติไทย
          สำหรับประเทศไทย เราเคยได้มีการกำหนดให้วันที่ 24 มิถุนายนเป็น “วันชาติ”ของไทย ด้วยถือว่าวันที่ 24 มิถุนายน 2475 เป็นวันเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ มาเป็นการปกครองในระบอบรัฐธรรมนูญที่เป็นประชาธิปไตย โดยได้มี ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง “วันชาติ” ลงวันที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2481 โดย พ.อ.พหลพลพยุหเสนา เป็นนายกรัฐมนตรีสมัยนั้น และได้มีการเฉลิมฉลองวันชาติ 24 มิถุนายน ครั้งแรกในปีพ.ศ. 2482 ในสมัยจอมพลป. พิบูลสงครามเป็นนายกรัฐมนตรี
           วันที่ 24 มิถุนายน เป็น “วันชาติ” ของไทยอยู่นานถึง 21 ปี ครั้น วันที่ 21 พฤษภาคม 2503 สมัยจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ เป็นนายกรัฐมนตรี ก็ได้มี ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี ขึ้นใหม่อีกฉบับหนึ่ง เรื่อง ให้ถือวันพระราชสมภพเป็นวันเฉลิมฉลองของชาติไทย โดยให้เหตุผลว่า           ด้วยคณะรัฐมนตรีได้พิจารณาเห็นว่า ตามที่ได้กำหนดให้มีการเฉลิมฉลองวันชาติไทยในวันที่ 24 มิถุนายน นั้น ได้ปรากฏในภายหลังว่า มีข้อที่ไม่เหมาะสมหลายประการ ในด้านประชาชนและหนังสือพิมพ์ก็ได้เสนอแนะให้พิจารณาในเรื่องนี้หลายครั้งหลายคราว คณะรัฐมนตรีจึงได้แต่งตั้งคณะกรรมการขึ้นพิจารณา โดยมีพลตรีพระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์ รองนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน คณะกรรมการนี้ได้พิจารณาแล้ว เสนอความเห็นว่า ประเทศต่างๆได้เลือกถือวันใดวันหนึ่งที่มีความสำคัญเกี่ยวเนื่องกับชนในชาติต่างๆกัน โดยถือเอาวันประกาศเอกราช วันอิสรภาพ วันตั้งถิ่นฐาน วันสาธารณรัฐ วันสถาปนาพระราชวงศ์บ้าง ซึ่งไม่เหมือนกัน แต่ประเทศที่มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขของชาติ โดยทั่วไปนั้น ได้ถือเอาวันพระราชสมภพของพระมหากษัตริย์เป็นวันเฉลิมฉลองของชาติ เช่น ประเทศอังกฤษ เนเธอร์แลนด์ เดนมาร์ก สวีเดน ญี่ปุ่น ฯลฯ เป็นต้น           แม้ประเทศไทยเราเองก็ได้ถือเอาวัน[[พระราชสมภพเป็นวันเฉลิมฉลองของชาติไทยมาแล้ว เพิ่งจะมากำหนดเอาวันที่ 24 มิถุนายน เป็นวันชาติ เพิ่มขึ้นอีกวันหนึ่งในระยะหลังนี้เองคณะกรรมการจึงมีความเห็นว่า เพื่อให้เป็นไปตามขนบประเพณีของประเทศที่มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข และเป็นหลักการสมัครสมานสามัคคีรวมจิตใจของบุคคลในชาติโดยทั่วกัน จึงสมควรจะถือเอาวันพระราชสมภพของพระมหากษัตริย์เป็นวันเฉลิมฉลองของชาติไทยต่อไป โดยยกเลิกวันชาติ ในวันที่ 24 มิถุนายนเสีย
           ดังนั้น นับแต่ปี พ.ศ. 2503 ประเทศไทยจึงได้ถือเอาวันพระราชสมภพของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ซึ่งตรงกับวันที่ 5 ธันวาคม ของทุกปี เป็น “วันชาติ” ของไทย ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา

กิจกรรมวันชาติ
          ตามปกติ การจัดงาน “วันชาติ” ของประเทศต่างๆก็จะมีกิจกรรมและรูปแบบแตกต่างกันออกไป ส่วนใหญ่ก็มักจะมีการกล่าวสุนทรพจน์ การจัดขบวนพาเหรดเฉลิมฉลอง การจุดพลุดอกไม้ไฟอย่างเอิกเกริก รวมไปถึงการแสดงมหรสพต่างๆ เป็นต้น แต่ในประเทศไทย เนื่องจากวันชาติ เป็นวันเฉลิมพระชนมพรรษา และวันพ่อแห่งชาติ ซึ่งมีกิจกรรมเฉลิมฉลองอยู่แล้ว กอปรกับประเทศไทยยังไม่เคยเป็นเมืองขึ้นของใครมาก่อน และคนรุ่นใหม่ส่วนใหญ่ก็คุ้นชินกับการปกครองระบอบประชาธิปไตยอย่างที่เห็นกันอยู่ปัจจุบัน ดังนั้น “วันชาติ” ของเราจึงดูเหมือนไม่ค่อยมีความสำคัญเท่าใดนัก เพราะชาวไทยทุกหมู่เหล่าล้วนตัองการจัดกิจกรรมเพื่อถวายความจงรักภักดีต่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว “พ่อหลวงของแผ่นดิน” มากกว่าประเด็นอื่น อย่างไรก็ดี หากเราจะระลึกว่าวันนี้ ก็เป็น “วันชาติ”ของไทยด้วย แล้วจัดกิจกรรมต่างๆที่จะแสดงให้เห็นว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้ทรงบำเพ็ญพระราชกรณียกิจเพื่อ “ประเทศชาติ” ด้วยพระวิริยะอุตสาหะ และความเสียสละมาอย่างยาวนานเช่นไร ก็อาจจะทำให้ วันนี้ มีความหมายครบถ้วนสมบูรณ์ยิ่งขึ้น

ขอขอบคุณข้อมูลจาก
- คุณอมรรัตน์ เทพกำปนาท กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ
- คอลัมน์รู้ไปโม้ด หนังสือพิมพ์ข่าวสด
- วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

๕ ธันวาคม ๒๓๙๗ ฉลองคลองผดุงกรุงเกษม ซึ่งขุดเสร็จเมื่อ ปี พ.ศ. ๒๔๙๕ ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้า ฯ

๕ ธันวาคม ๒๔๘๓ตราพระราชบัญญัติคุ้มครองความลับในราชการ พ.ศ. ๒๔๘๓

๕ ธันวาคม ๒๔๘๘พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล เสด็จนิวัติพระนคร หลังสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ ๒
๕ ธันวาคม ๒๕๒๐

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงประกอบพระราชพิธี เฉลิมพระนามาภิไธย สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา เจ้าฟ้ามหาจักรีสิรินธร รัฐสีมาคุณากรปิยชาติ สยามบรมราชกุมารี ณ พระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัย

๗ ธันวาคม วันการบินพลเรือนสากล

๗ ธันวาคม ๒๔๘๓

ออกคำชี้แจงทหาร เรื่องการเรียกชื่อชนเชื้อชาติไทยในอินโดจีน ให้เรียก ญวน เขมร ลาว ว่าพี่น้องไทยในประเทศญวน พี่น้องไทยในประเทศลาว และพี่น้องไทยในแคว้นกัมพูชา

๗ ธันวาคม ๒๔๘๔

กองพลรักษาพระองค์ของกองทัพญี่ปุ่นยกกำลังเข้าสู่ประเทศไทยทางบกทางด้านอรัญประเทศ และทางเรือได้ยกพลขึ้นบกที่บางปู จังหวัดสมุทรปราการ เพื่อเข้ายึดกรุงเทพ ฯ

๗ ธันวาคม ๒๕๐๘

รัฐบาลได้จัดตั้งกองบัญชาการปราบปรามคอมมิวนิสต์ขึ้น ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็นกองอำนวยการป้องกันและปราบปรามคอมมิวนิสต์(กอ.ปค.)เมื่อปี พ.ศ.๒๕๑๒ และได้เปลี่ยนเป็นกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน (กอ.รมน.) เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๑๗ ประกอบด้วย พลเรือน ตำรวจ ทหาร (พตท.)

๘ ธันวาคม ๒๔๘๔

ญี่ปุ่นบุกรุกไทยในสงครามโลกครั้งที่ ๒ โดยยกพลขึ้นบกทางภาคใต้ ตั้งแต่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช สงขลาและปัตตานี โดยมีอีกส่วนหนึ่งขึ้นบกที่ทางจังหวัดสมุทรปราการ

๘ ธันวาคม ๒๔๘๔

กองทหารญี่ปุ่นบุกเข้าสู่ประเทศไทยทางด้านอรัญประเทศ จังหวัดปราจีนบุรี และยกพลขึ้นบกในเขตจังหวัดชายทะเลของไทย ด้านอ่าวไทยรวม ๗ จังหวัด คือ สมุทรปราการ ประจวบคีรีขันธ์ สุราษฎร์ธานี ชุมพร นครศรีธรรมราช สงขลา และปัตตานี ทหาร ตำรวจ ยุวชนทหาร และประชาชนได้ร่วมกันต่อสู้ต้านทานอย่างแข็งขัน แต่ในที่สุดรัฐบาลไทยต้องยอมให้กองทัพญี่ปุ่นเดินทัพผ่านประเทศไทยได้

๘ ธันวาคม ๒๔๘๔

คณะรัฐมนตรี มีมติให้นำข้อตกลงระหว่างผู้แทนฝ่ายไทยและญี่ปุ่น ให้ทหารญี่ปุ่นผ่านดินแดนของประเทศไทยไปได้

๘ ธันวาคม ๒๔๘๔ : ขบวนการเสรีไทยกำเนิดขึ้น

ขบวนการเสรีไทย (Free Thai Movement) เป็นขบวนการใต้ดิน ที่ดำเนินการระหว่างสงครามมหาเอเชียบูรพาซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของสงครามโลกครั้งที่สอง ในช่วง พ.ศ. ๒๔๘๔ - ๒๔๘๘ มีวัตถุประสงค์เพื่อต่อต้านการรุกรานของกองทัพจักรวรรดิญี่ปุ่น รักษาเอกราชและอธิปไตยของชาติไทย

ขบวนการเสรีไทยกำเนิดขึ้นในวันที่ ๘ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๔ เมื่อกองทัพญี่ปุ่นยกทัพเข้ามาทางด้านทิศตะวันออกและยกพลขึ้นบกจากอ่าวไทย เดิมเรียกขบวนการนี้ว่า "องค์การต่อต้านญี่ปุ่น" ภายหลังจึงเปลี่ยนไป "เสรีไทย" มีบทบาทเป็นแหล่งข่าวสำคัญของฝ่ายสัมพันธมิตร

การที่รัฐบาลไทยนำโดยนายกรัฐมนตรี จอมพล ป.พิบูลสงคราม ยินยอมตกลงเข้าร่วมกับญี่ปุ่นและประกาศสงครามต่อสหรัฐอเมริกาและอังกฤษ ทำให้บุคคลสำคัญทางการเมืองการปกครอง ข้าราชการ และชาวไทยทั้งในและนอกประเทศไม่เห็นด้วยกับนโยบายประกาศสงคราม มีการรวมตัวกันเคลื่อนไหวต่อต้านญี่ปุ่น แบ่งเป็น ๓ กลุ่ม กลุ่มในประเทศ นำโดยนายปรีดี พนมยงค์ ขณะนั้นดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีคลัง กลุ่มที่สองเป็นกลุ่มคนไทยในสหรัฐอเมริกา นำโดย หม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช อัครราชทูตไทยประจำกรุงวอชิงตัน ดี.ซี. ซึ่งมีบทบาทสำคัญในการไม่ยอมส่งคำประกาศสงครามต่อสหรัฐอเมริกา และถือว่าการประกาศสงครามนั้นมิใช่เจตนาของคนไทย กลุ่มที่สามเป็นกลุ่มคนไทยในอังกฤษ นำโดยนักเรียนไทย ณ มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์

ช่วงที่จอมพล ป. พิบูลสงครามเป็นนายกรัฐมนตรี การดำเนินงานของกลุ่มทั้งสามไม่ค่อยประสบผลสำเร็จมากนักเพราะขาดการประสานงานร่วมกัน แต่เมื่อเปลี่ยนรัฐบาล โดยมีนายควง อภัยวงศ์ เป็นนายกรัฐมนตรี ความร่วมมือระหว่างกันก็มีประสิทธิภาพมากขึ้น แม้ว่านายควง อภัยวงศ์จะแถลงนโยบาย ร่วมมือกับญี่ปุ่นโดยใกล้ชิด ตามสัญญาพันธกรณีที่ได้มีต่อกันไว้ด้วยดี และให้ความร่วมมือกับญี่ปุ่นตามข้อเรียกร้องของญี่ปุ่นทุกประการ แต่ขณะเดียวกันคณะรัฐบาลก็มีรัฐมนตรีหลายคนที่เป็นบุคคลระดับหัวหน้าในองค์การต่อต้านญี่ปุ่น และคอยให้ความช่วยเหลือองค์การอย่างลับ ๆ

เสรีไทยมีเครือข่ายความร่วมมือในจังหวัดต่าง ๆ ทั่วประเทศ โดยได้รับความช่วยเหลือจากฝ่ายสัมพันธมิตร สหรัฐอเมริกาและอังกฤษได้ส่งหน่วยปฏิบัติการมาประจำในกรุงเทพฯ ด้านฝ่ายไทย นายปรีดี พนมยงค์ ได้ส่งทหารไปประจำที่กองบัญชาการของฝ่ายสัมพันธมิตร ณ เมืองแคนดี ลังกา พร้อมกับส่งทหาร ตำรวจ และพลเรือนไปรับการฝึกกับ หน่วย โอ.เอส.เอส. (O.S.S : Office of Strategic Services) ของสหรัฐอเมริกา และกองกำลัง ๑๓๖ ของอังกฤษ ในอินเดียและลังกา

นอกจากนี้ยังมีการจัดตั้งโรงเรียนนายทหารสารวัตร และโรงเรียนนายสิบสารวัตรทหาร โดยรับสมัครนิสิตจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นักเรียนเตรียมปริญญาจากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และการเมือง นักเรียนโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา และนักเรียนโรงเรียนเตรียมนายเรือ มาฝึกให้เป็นผู้บังคับบัญชาของกองกำลังใต้ดินเพื่อเตรียมสู้รบกับกองทัพญี่ปุ่นในวันที่ฝ่ายสัมพันธมิตรกำหนด มีการประชาสัมพันธ์ให้คนไทยในประเทศร่วมกันต่อต้านญี่ปุ่น ส่งข่าวด้านยุทธศาสตร์ทางทหารตลอดจนรายงานสภาพดินฟ้าอากาศให้ฝ่ายสัมพันธมิตรทราบ ซึ่งทำให้ฝ่ายสัมพันธมิตรสามารถปฏิบัติการทางทหารได้อย่างมีประสิทธิภาพ

อย่างไรก็ดี การปะทะกันระหว่างขบวนการเสรีไทยกับกองทัพญี่ปุ่นไม่มีโอกาสเกิดขึ้น เพราะญี่ปุ่นประกาศยอมจำนนอย่างไม่มีเงื่อนไข เมื่อวันที่ ๑๔ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๘๘ หลังจากสหรัฐอเมริกาทิ้งระเบิดปรมาณูถล่มเมืองฮิโรชิมาและนางาซากิเมื่อวันที่ ๖ และ ๙ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๘๘ แม้ว่าไทยจะร่วมกับญี่ปุ่นในการประกาศสงคราม แต่ความร่วมมืออย่างลับ ๆ ของไทยกับฝ่ายสัมพันธมิตรทำให้ไทยมีอำนาจต่อรองในการเจรจากับฝ่ายสัมพันธมิตรหลังสงครามยุติ โดยสหรัฐอเมริกาถือว่าไทยไม่เคยประกาศสงครามต่อประเทศของตน ขณะที่อังกฤษดำเนินนโยบายต่อไทยแตกต่างไปจากสหรัฐอเมริกา

สมาชิกขบวนการเสรีไทย

ศาสตราจารย์ ดร.ปรีดี พนมยงค์ - หัวหน้าขบวนการเสรีไทย ใช้รหัสว่า "รู้ธ"

พันตรี จำกัด พลางกูร - เลขาธิการคณะเสรีไทยสายภายในประเทศและผู้แทนคณะเสรีไทยที่เดินทางไปติดต่อกับสัมพันธมิตรในจีน

ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช - เอกอัครราชทูตไทยประจำสหรัฐอเมริกา ผู้นำขบวนการเสรีไทยในสหรัฐอเมริกา

ม.จ.ศุภสวัสดิ์วงศ์สนิท สวัสดิวัตน์ - ผู้นำขบวนการเสรีไทยในอังกฤษ

ม.จ.การวิก จักรพันธุ์ - ผู้นำขบวนการเสรีไทยในอังกฤษ

สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี - พระบรมราชินีในรัชกาลที่ ๗ เสรีไทยในอังกฤษ

ศาสตราจารย์ ดร. ป๋วย อึ๊งภากรณ - ผู้มีส่วนช่วยให้ไทยส่งข่าวสารถึงฝ่ายพันธมิตรได้เป็นผลสำเร็จ

พล อ.อ. สิทธิ เศวตศิลา (เสรีไทยสายสหรัฐอเมริกา)

พลอากาศโท เฉลิม จิตตินันทน์ (เสรีไทยสายสหรัฐอเมริกา)

หลวงดิฐการภักดี - เลขานุการเอกสถานเอกอัครราชทูตไทยประจำสหรัฐอเมริกา

อนันต์ จินตกานนท์ - เลขานุการโทสถานเอกอัครราชทูตไทยประจำสหรัฐอเมริกา

ม.ล.ขาบ กุญชร (เสรีไทยสายสหรัฐอเมริกา)

พ.ต. โผน อินทรทัต-อดีตรองผู้อำนวยการโรงงานยาสูบ กระทรวงการคลัง (เสรีไทยสายสหรัฐอเมริกา)

พลตรีนิรัตน์ สมัถพันธุ์ (เสรีไทยสายสหรัฐอเมริกา)

ศาสตราจารย์ ดร.เจริญ เจริญรัชตภาคย์ (เสรีไทยสายสหรัฐอเมริกา)

ศาสตราจารย์ ดร.บุญรอด บิณฑสันต์ (เสรีไทยสายสหรัฐอเมริกา)

คุณกรองทอง ชุติมา (เสรีไทยสายสหรัฐอเมริกา)

คุณหญิงจินตนา ยศสุนทร

ศาสตราจารย์ ดิเรก ชัยนาม

ศาสตราจารย์ ดร.มาลัย - ศาสตราจารย์ คุณหญิง อุบล หุวะนันทน์ (เสรีไทยสายสหรัฐอเมริกา)

๙ ธันวาคม วันมรดกโลกห้วยขาแข้ง, วันต่อต้านคอรัปชั่นโลก

๙ ธันวาคม ๒๓๙๖

วันสิ้นพระชนม์ สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส พระนามเดิมคือพระองค์เจ้าชายวาสุกรี ทรงเป็นพระราชโอรสองค์ที่ ๒๘ ในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ทรงประสูติในวันที่ ๑๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๓๓๓ เมื่อพระชนมายุ ๑๒ พรรษา ได้ผนวชเป็นสามเณร ประทับ ณ พระตำหนักท่าวาสุกรี วัดพระเชตุพนฯ ในสมัยรัชกาลที่ ๖ ได้รับการโปรดเกล้าฯ สถาปนาเป็นสมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาปรมานุชิตชิโนรส ได้ทรงนิพนธ์วรรณคดีที่สำคัญ ได้แก่ สรรพสิทธ์คำฉันท์ กฤษณา สอนน้องคำฉันท์ ตำราฉันท์มาตราพฤติและวรรณพฤติ ลิลิตตะเลงพ่าย สมุทรโฆษคำฉันท์ ฯลฯ

๙ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๖

พระราชชายา เจ้าดารารัศมี ในรัชกาลที่ ๕ สิ้นพระชนม์ เจ้าดารารัศมีทรงเป็นพระธิดาองค์สุดท้ายของพระเจ้าอินทวิชยานนท์ เจ้าหลวงเชียงใหม่องค์ที่ ๗ ทรงเป็นเจ้านายพระองค์หนึ่งของอาณาจักรล้านนาที่ได้รับการกล่าวถึงมากที่สุด มีส่วนสำคัญในการประสานอาณาจักรล้านนาและอาณาจักรทางใต้ให้เป็นหนึ่งเดียว และทรงเป็นตัวอย่างในการรักษาประเพณีอันดีงามของล้านนาไว้อย่างเคร่งครัด

๙ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๑๔

วันประสูติ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศรีรัศมิ์ พระวรชายาในสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฏราชกุมาร สกุลเดิม “อัครพงศ์ปรีชา” ทรงเป็นธิดาคนที่ ๓ ของ นายอภิรุจ-นางวันทนีย์ อัครพงศ์ปรีชา พื้นเพเดิมอยู่ที่จังหวัดสมุทรสาคร ทรงสำเร็จการศึกษาในสาขาวิชาวิทยาการจัดการ วิชาเอกการจัดการทั่วไป มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช และได้รับพระราชทานปริญญาบัตรจากสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร เมื่อปี ๒๕๔๕ เข้ามาถวายการรับใช้ในสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร ตั้งแต่ปี ๒๕๓๖ โดยรับผิดชอบหน้าที่การงานในฐานะข้าราชการพลเรือนในพระองค์ นอกจากนี้ ยังได้ถวายงานสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินินาถ ในด้านศิลปาชีพ ทรงจดทะเบียนสมรสตามกฎหมาย และเข้ารับพระราชทานน้ำพระมหาสังข์จากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เมื่อวันที่ ๑๐ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๔ และในวันที่ ๒๙ เมษายน พ.ศ. ๒๕๔๘ ได้มีพระประสูติการพระโอรส คือพระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าทีปังกรรัศมีโชติ และเมื่อวันที่ ๑๖ มิถุนายน ๒๕๔๘ ได้รับโปรดเกล้าฯ สถาปนาขึ้นเป็น พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศรีรัศมิ์ พระวรชายาฯ

๙ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๓๓

เลค วาเลซา (Lech Walesa) ผู้นำแรงงานเสรีแห่งโปแลนด์ ได้รับเลือกตั้งให้เป็นประธานาธิบดีเป็นคนแรก หลังจากเปลี่ยนแปลงจากระบบสังคมนิยม โดยจัดให้ประชาชนมีสิทธิเลือกตั้งประธานาธิบดีเป็นครั้งแรก ก่อนหน้านั้นในปี ๒๕๒๖ เขาเคยได้รับรางวัลโนเบล สาขาสันติภาพ

๑๐ ธันวาคม - วันรัฐธรรมนูญ,วันธรรมศาสตร์, วันสิทธิมนุษยชน, วันต่อต้านโรคมะเร็งแห่งชาติ

๑๐ ธันวาคม พ.ศ.๒๔๗๕ วันรัฐธรรมนูญ

หลังจากที่คณะราษฎร์ได้ราษฎรทำการอภิวัฒน์เปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ เป็นระบอบประชาธิปไตย โดยมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข อยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญอันเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศ ในวันที่ ๒๔ มิถุนายน ๒๔๗๕ แล้วนั้น พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๗ ได้พระราชทานรัฐธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามฉบับชั่วคราว และทรงสนพระราชหฤทัยติดตามการดำเนินการร่างรัฐธรรมนูญ

จนกระทั่งวันที่ ๑๐ ธันวาคม พ.ศ.๒๔๗๕ พระองค์ได้เสด็จพระราชดำเนินประกอบพระราชพิธีพระราชทาน รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม (พ.ศ. ๒๔๗๕) ณ พระที่นั่ง อนันตสมาคม ซึ่งนับเป็นรัฐธรรมนูญของไทยฉบับถาวรฉบับแรกของไทย ให้แก่ปวงชนชาวไทย หลังจากที่ประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราวเมื่อวันที่ ๒๗ มิถุนายน ปีเดียวกัน ดังนั้น จึงถือเอาวันที่ ๑๐ ธันวาคม ของทุกปี เป็นวันรัฐธรรมนูญ

ปัจจุบันประเทศไทยได้ยึดถือรัฐธรรมนูญฉบับปีพ.ศ.๒๕๕๐ ซึ่งถือเป็นฉบับที่ ๑๘ เพื่อใช้เป็นหลักในการปกครองประเทศ เรามักเรียกว่าเป็นรัฐธรรมนูญฉบับประชาชน เพราะประชาชนมีส่วนร่วมในการร่างฯ ที่สำคัญคือเน้นสิทธิและเสรีภาพของประชาชนชาวไทย เป็นสำคัญ "ประเทศไทยมีการปกครองระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข"

วันธรรมศาสตร์

วันสถาปนามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

ฉันรักธรรมศาสตร์..เพราะ..ธรรมศาสตร์สอนฉันให้รักประชาชน...

วันสิทธิมนุษยชน

วันที่ ๑๐ ธันวาคม นอกจากเป็นวันรัฐธรรมนูญของไทยแล้ว สหประชาชาติได้กำหนดให้วันที่ ๑๐ ธันวาคมของทุกปีเป็นวันสิทธิมนุษยชนของโลกด้วย ซึ่งประชาชนไทยส่วนใหญ่ไม่ค่อยทราบว่าวันที่ ๑๐ ธันวาคมเป็นวันสิทธิมนุษยชน ยกเว้นกลุ่มสิทธิมนุษยชนในไทย ซึ่งคงมีการจัดงานภายในของตนเองรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันได้เน้นเรื่องสิทธิและเสรีภาพค่อนข้างมาก และย้ำว่าศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ สิทธิและเสรีภาพของบุคคลย่อมได้รับความคุ้มครอง โดยไม่คำนึงถึงแหล่งกำเนิด เพศ ศาสนา และมีบทในหมวด ๓ ว่าด้วย สิทธิและเสรีภาพของประชาชนไทยถึง ๔๐ มาตรา แสดงให้เห็นว่ารัฐธรรมนูญของไทยฉบับปัจจุบันได้คำนึงถึงสิทธิมนุษยชนยิ่งกว่าครั้งใด ๆ นอกจากจะมีกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ดูแลอยู่แล้ว ยังมีองค์กรพัฒนาภาคเอกชนด้านสิทธิมนุษยชนอีกหลายองค์กรทำงานควบคู่กันไป สอดคล้องกับการทำงานของคณะกรรมการว่าด้วย สิทธิมนุษยชนของสหประชาชาติ และองค์กรพัฒนาเอกชนสององค์กรหลักคือ องค์กรนิรโทษกรรมสากลของอังกฤษและ Human Right Watch ของอเมริกา

สิทธิมนุษยชน(Human Right)นั้น หมายถึง สิทธิในความเป็นมนุษย์ทั่วๆไป อย่างถ้าเกิดมาเป็นมนุษย์แล้ว ก็ย่อมถือว่ามี สิทธิอันติดตัวมาพร้อมกับการที่ได้ชื่อว่าเป็นมนุษย์อยู่แล้ว อันถือเป็นที่ยอมรักในสากลนานาชาติ เช่น กฎบัตรสหประชาชาติ หรือ ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน (The Universal Declaration of Human Rights) ก็ได้เขียนไว้ในเรื่อง สิทธิมนุษยชนอย่างชัดเจน ในกฎหมายสูงสุดที่ใช้ในการปกครองประเทศ นั่นคือ กฎหมายรัฐธรรมนูญของไทย ก็ยังได้บัญญัติถึง หลักสิทธิมนุษยชน ว่าด้วยเรื่องสิทธิและ เสรีภาพของชนชาวไทย ซึ่งบัญญัติถึง สิทธิพื้นฐานของพลเมืองไทย

ความเป็นมาของวันสิทธิมนุษยชน

ภายหลังสงครามโลกครั้งที่ ๒ สิ้นสุดลง ผู้นำประเทศต่างๆ ได้ตระหนักว่า การคุ้มครองสิทธิมนุษยชนอย่างมีประสิทธิภาพเป็นสิ่งสำคัญที่จะก่อให้เกิดสันติภาพแลความเจริญก้าวหน้าขึ้นในโลก ดังนั้น จึงได้ร่วมมือกันจัดตั้งองค์การสหประชาชาติขึ้น เพื่อเป็นองค์การโลกที่จะคุ้มครองมนุษยชาติให้ได้รับความเป็นธรรมอย่างเสมอภาคเท่าเทียมกัน สมัชชาสหประชาชาติได้มีมติรับปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน (The Universal Declaration of Human Rights) เมื่อวันที่ ๑๐ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๙๑ และมีมติประกาศให้วันที่ ๑๐ ธันวาคมของทุกปี เป็นวันสิทธิมนุษยชน (Human Rights Day)

หลังจากนั้นสมัชชาสหประชาชาติได้มีมติเมื่อ พ.ศ. ๒๔๙๕ ให้ร่างตราสารสิทธิมนุษยชนขึ้น ๒ ฉบับ โดยให้ใช้ชื่อว่า กติกา (convenant) ซึ่งมีเนื้อหาว่าด้วยสิทธิทางแพ่งและทางการเมืองฉบับหนึ่ง และอีกฉบับหนึ่งว่าด้วยสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม โดยผ่านการรับรองเมื่อวันที่ ๑๖ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๐๙ และวันที่ ๓ มกราคม พ.ศ. ๒๕๑๙ ตามลำดับ และต่อมาได้มีมติประกาศให้ปี ค.ศ. ๑๙๙๕-๒๐๐๔ เป็นทศวรรษแห่งสิทธิมนุษยชนศึกษาของสหประชาชาติ

ในส่วนของประเทศไทยนั้น รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยที่ใช้กันมาในอดีต ได้กล่าวถึงสิทธิมนุษชนไว้เป็นบางส่วน จนกระทั่งได้มีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. ๒๕๔๐ ซึ่งเป็นฉบับปัจจุบัน ได้เน้นเรื่องสิทธิมนุษยชนไว้ค่อนข้างจะสมบูรณ์ เช่น "มาตราที่ ๔ ศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ สิทธิและเสรีภาพของบุคคล ย่อมได้รับความคุ้มครอง" ซึ่งสอดคล้องกับปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ข้อ ๑ ที่กล่าวไว้ว่า "มนุษย์ทั้งหลายเกิดมามีอิสรเสรีและเท่าเทียมกันทั้งศักดิ์ศรีและสิทธิ ทุกคนได้รับการประสิทธิ์ประสาทเหตุผลและมโนธรรม และควรปฏิบัติต่อกันฉันพี่น้อง" นับได้ว่า "ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์" เพิ่งได้รับการบัญญัตืในรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันเป็นครั้งแรก ดังนั้น การละเมิดศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิและเสรีภาพย่อมขัดต่อรัฐธรรมนูญและปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน

นอกจากนี้ รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันยังได้บัญญัติองค์กรอิสระ เรียกว่า "คณะกรรมการสิทธิมนุษยชน" เข้าไว้ด้วยในมาตรา ๑๙๙ และ ๒๐๐ คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนมีจำนวน ๑๑ คน มาจากการสรรหา อยู่ในวาระ ๖ ปี มีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้

๑. ตรวจสอบและรายงานการกระทำอันเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชน หรือการที่ไม่เป็นไปตามพันธกรณีระหว่างประเทศเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนที่ประเทศไทยเป็นภาคี

๒. เสนอมาตราการแก้ไขที่เหมาะสมต่อบุคคล หรือหน่วยงานที่กระทำหรือละเลยการกระทำดังกล่าวเพื่อดำเนินการ ในกรณีที่ปรากฏว่าไม่มีการดำเนินการตามที่เสนอ ให้รายงาน ต่อรัฐสภาเพื่อดำเนินการต่อไป

๓. เสนอแนะนโยบายและข้อเสนอในการปรับปรุงกฏหมาย กฏหรือข้อบังคับต่อรัฐสภา และคณะรัฐมนตรี เพื่อส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน

สหประชาชาติได้แสดงความห่วงใยต่อการละเมิดสิทธิมนุษยชนในหลายพื้นที่ของโลก โดยเฉพาะต่อผู้อพยพและผู้ลี้ภัย ผู้ไร้ที่อยู่ในประเทศ ชนกลุ่มน้อยและกลุ่มศาสนา ผู้เคลื่อนไหวทางการเมือง และสื่อมวลชน ต่อการกระทำทารุณเด็ก การใช้แรงงานเด็ก การเกณฑ์เด็กเป็นทหาร เด็กกำพร้าเด็กเร่ร่อน เด็กข้างถนน โสเภณีเด็ก เด็กที่ติดเชื้อเอชไอวีจากมารดา การลักลอบค้าอาวุธสงครามขนาดเล็ก กับระเบิด การทำทารุณต่อนักโทษ ความแออัดในเรือนจำ การขาดแคลนสิ่งอำนวยความสะดวกให้นักโทษ

คำประกาศ ๑๐ ธันวา วัน “สิทธิมนุษยชนสากล”

ในโอกาสที่วันที่ ๑๐ ธันวาคม เป็นวันสิทธิมนุษยชนสากลได้เวียนมาบรรจบอีกวาระหนึ่งในปีนี้เป็นปีที่ ๕๘ นับแต่สหประชาชาติได้ประกาศรับรองปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ซึ่งได้ประกาศว่า “ปณิธานสูงสุดของสามัญชนได้แก่ความต้องการให้มนุษย์มีชีวิตอยู่ในโลกด้วยอิสรภาพในการพูด และความเชื่อถือ และ อิสรภาพพ้นจากความหวาดกลัวและความขาดแคลน”

ท่ามกลางความผันผวนทางการเมืองและประชาธิปไตยในรอบปีที่ผ่านมา ส่งผลให้เกิดการละเมิดสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมืองอย่างกว้างขวาง ได้แก่ ความรุนแรงที่เกิดจาก การรัฐประหาร ล้มล้างรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งตามวิถีทางประชาธิปไตย และ การฉีกรัฐธรรมนูญฉบับประชาชน ความรุนแรงที่เกิดจากการฆ่า เผา ทำลายชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน ตำรวจ ทหารและ การสูญหายของบุคคลโดยไม่สมัครใจในภาคใต้ ความรุนแรงในครอบครัว การค้ามนุษย์ทั้งหญิงชายและเด็ก ตลอดจนการละเมิดสิทธิทางเศรษฐกิจสังคมและวัฒนธรรม ทั้งการละเมิดสิทธิในการกำหนดวิถีชีวิตตนเองในทางเศรษฐกิจสังคม และวัฒนธรรม ต่อกลุ่มชนด้อยโอกาสทางสังคม เช่น การแย่งชิงสิทธิในที่ดินภายหลังภัยสึนามิ การอพยพชาวเขาออกจากพื้นที่ป่า การเลือกปฏิบัติทางด้านแรงงาน เชื้อชาติ สุขภาพ การตัดสินใจเจรจาทางการค้าระบบทวิภาคีโดยไม่ฟังเสียงประชาชน และกรณีอื่นๆอีกมากมาย

 

เพื่อให้สังคมไทยมีพัฒนาการที่ชัดเจนต่อการเคารพและเสริมสร้างวัฒนธรรมแห่งสิทธิมนุษยชน องค์กรประชาชน นักกฎหมาย นักปกป้องสิทธิมนุษยชนและองค์กรพัฒนาเอกชนด้านสิทธิมนุษยชนและประชาธิปไตย จึงขอประกาศเรียกร้องให้ทุกภาคส่วนในสังคมไทย ได้ตระหนักว่า

ในฐานะของพลเมือง

(๑) คนทุกคนมีหน้าที่ต่อประชาคม ในอันที่จะพัฒนาบุคลิกภาพของตนโดยอิสระเต็มที่

(๒) ในการใช้สิทธิและเสรีภาพของตน ทุกคนตกอยู่ในบังคับของข้อจำกัดโดยกฎหมายเท่านั้น เพื่อประโยชน์ที่จะได้มาซึ่งการรับนับถือและการเคารพสิทธิและเสรีภาพของผู้อื่นตามสมควร และที่จะเผชิญกับความเรียกร้องต้องการอันเที่ยงธรรมของศีลธรรม ความสงบเรียบร้อยของประชาชน และสวัสดิการทั่วไปในสังคมประชาธิปไตย

ในฐานะของรัฐบาล

รัฐบาลทุกรัฐบาลที่จะปกครองประเทศไทยต้องสร้างหลักประกันว่าจะเคารพ ปกป้องและทำให้สิทธิมนุษยชนได้รับการปฏิบัติให้เป็นจริงในสังคมไทย รวมทั้ง ดำเนินการอย่างมีขั้นตอน ให้ปรากฏในแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ ในการจัดทำรัฐธรรมนูญ และในการบัญญัติไว้ในกฎหมาย ถึงหลักการสำคัญของสิทธิมนุษยชน อันประกอบด้วย

๑. ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ (Human Dignity)

๒. สิทธิมนุษยชนเป็นสากลและไม่สามารถถ่ายโอนกันได้ (Universality&inalienability) หมายความว่า สิทธิมนุษยชนนั้นเป็นของคนทุกคน ไม่มีพรมแดน คนทุกคนมีสิทธิมนุษยชนต่างๆทั้งสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมืองและสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม เพราะ โดยหลักการแล้วถือว่า คนทุกคนย่อมถือว่าป็นคน ไม่ว่าอยู่ที่ไหนในโลก ไม่ว่าจะมีเชื้อชาติ สัญชาติ เหล่ากำเนิดใดก็ตาม ย่อมมีสิทธิมนุษยชนประจำตัวทุกคนไป จึงเรียกได้ว่าสิทธิมนุษยชนเป็นของคนทุกคนไม่ว่าคนๆนั้นจะยากจนหรือร่ำรวย เป็นคนพิการ เป็นเด็ก ผู้หญิง

๓. สิทธิมนุษยชนไม่สามารถแยกเป็นส่วนๆ ว่าสิทธิใดมีความสำคัญกว่าอีกสิทธิหนึ่ง (Indivisibility) กล่าวคือ สิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง ไม่สามารถแบ่งแยกว่ามีความสำคัญกว่าสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม สิทธิทั้งสองประการนี้ต่างมีความสำคัญเท่าเทียมกัน ดังนั้นรัฐบาลใดจะมาอ้างว่าต้องพัฒนาประเทศให้ประชาชนมีความเป็นอยู่ทางเศรษฐกิจ หรือต้องแก้ปัญหาปากท้องก่อน แล้วจึงค่อยให้ประชาชนมีส่วนร่วมทางการเมือง ย่อมขัดต่อหลักการนี้

๔. ความเสมอภาคและห้ามการเลือกปฏิบัติ (equality and non-discrimination) หลักการเรื่องความเสมอภาคและห้ามการเลือกปฎิบัติ ในสังคมไทยนั้น ปรากฏอยู่ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. ๒๕๔๐ มาตรา ๓๐ ที่ว่า การเลือกปฏิบัติเพราะเหตุแห่งความแตกต่างในเรื่อง ถิ่นกำเนิด เชื้อชาติ ภาษา เพศ อายุ สภาพทางกายหรือสุขภาพ สถานะของบุคคล ฐานะทางเศรษฐกิจหรือสังคม ความเชื่อทางศาสนา การศึกษาอบรม หรือความคิดเห็นทางการเมืองอันไม่ขัดต่อบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ จะกระทำมิได้

๕. การมีส่วนร่วมและการเป็นส่วนหนึ่งของสิทธินั้น (participation& inclusion) หมายความว่าประชาชนแต่ละคนและกลุ่มของประชาชน หรือประชาสังคมย่อมมีส่วนร่วมอย่างแข็งขัน ในการเข้าถึงและได้รับประโยชน์จากสิทธิพลเมืองและการเมือง และสิทธิทางเศรษฐกืจ สังคมและวัฒนธรรม

๖. หลักการตรวจสอบได้และหลักนิติธรรม(Accountibility&the Rule of Law) หมายถึง รัฐและองค์กรที่มีหน้าที่ในการก่อให้เกิดสิทธิมนุษยชน ต้องมีหน้าที่ตอบคำถามให้ได้ว่าสิทธิมนุษยชนได้รับการปฏิบัติให้เกิดผลจริงในประเทศของตน ส่วนสิทธิใดยังไม่ได้ดำเนินการให้เป็นไปตามหลักการสากล ก็ต้องอธิบายต่อสังคมได้ว่าจะมีขั้นตอนดำเนินการอย่างไร โดยเฉพาะรัฐต้องมีมาตรการปกครองประเทศโดยใช้หลักนิติธรรม หรือปกครองโดยอาศัยหลักการที่ใช้กฎหมายอย่างเที่ยงธรรม ประชาชนเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมได้โดยง่าย มีกระบวนการไม่ซับซ้อนเป็นไปตามหลักกฎหมายและมีความเท่าเทียมกันเมื่ออยู่ต่อหน้ากฎหมาย ไม่มีใครอยู่เหนือกฎหมายได้

ด้วยความเชื่อมั่นว่า หลักการสิทธิมนุษยชนนี้ เป็นมาตรฐานร่วมกันแห่งความสำเร็จสำหรับบรรดาประชากรและประชาชาติทั้งหลาย เพื่อจุดหมายปลายทางที่ว่า เอกชนทุกคนและองค์การของสังคมทุกองค์การ รัฐทุกรัฐ และรัฐบาลทุกรัฐบาล หากมีการรำลึกถึงหลักการอยู่ร่วมกันบนพื้นฐานของการเคารพสิทธิมนุษยชนนี้เป็นเนืองนิจ และพยายามด้วยการสอนและศึกษา ในอันที่จะส่งเสริมการเคารพสิทธิและเสรีภาพเหล่านี้ ด้วยมาตรการที่ก้าวหน้าทั้งในประเทศและระหว่างประเทศในอันที่จะให้มีการยอมรับนับถือ และการปฏิบัติตามโดยสากลและอย่างเป็นผลจริงจัง จะส่งผลให้เกิดสันติสุขในประเทศและเกิดสันติภาพในโลกอย่างแน่นอน

วันต่อต้านโรคมะเร็งแห่งชาติ

สถาบันมะเร็งแห่งชาติ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯลฯ พระราชทานพระบรมราชานุญาต ให้วันที่ ๑๐ ธันวาคมของทุกปีเป็น "วันต่อต้านโรคมะเร็งแห่งชาติ"

“โรคมะเร็ง” เป็นปัญหาสาธารณสุขของประเทศไทย เนื่องจากมีแนวโน้มอัตราการเกิดของโรคเพิ่มขึ้น โดยมะเร็งที่พบบ่อยในชายคือมะเร็งตับและปอด ที่พบบ่อยในหญิงคือมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านม เนื่องจากโรคมะเร็งส่วนใหญ่เกิดจากพฤติกรรมส่วนตัวของแต่ละบุคคล การเสนอข้อมูลข่าวสารที่ให้ความรู้แก่ประชาชนเกี่ยวกับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เพื่อป้องกันและหลีกเหลี่ยงปัจจัยเสี่ยวต่างๆ ที่ทำให้เกิดโรคมะเร็งสามารถลดอัตราการเกิดโรคมะเร็ง ความพิการและอัตราการตายจากโรคมะเร็ง และโดยทั่วไปโรคมะเร็งสามารถรักษาให้หายขาดได้หากตรวจพบในระยะเริ่มแรก

๑๐ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๕

นวนิยายเรื่อง “ผู้ชนะสิบทิศ” ของ ยาขอบ (โชติ แพร่พันธุ์) เริ่มลงพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ ประชาชาติ ของกุหลาบ สายประดิษฐ์ (ศรีบูรพา) ผู้เขียนเรียกว่านวนิยายปลอมพงศาวดาร โดยอาศัยเค้าเรื่องจากพงศาวดารพม่าเพียง ๘ บรรทัด ใช้เวลาเขียนถึง ๘ ปี เริ่มลงตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ สุริยา เมื่อหนังสือปิดตัวลง นวนิยายเรื่องนี้จึงย้ายไปลงที่ประชาชาติแทน โดยมาลัย ชูพินิจเปลี่ยนชื่อจาก”ยอดขุนพล” เป็นผู้ชนะสิบทิศ ซึ่งหมายถึงพระเจ้าบุเรงนองกษัตริย์นักรบของพม่า และกุหลาบ สายประดิษฐ์ ก็ตั้งชื่อยาขอบให้ โดยเลียนแบบจากนักเขียนชาวอังกฤษชื่อ เจ. ดับบลิว. ยาค็อบ (J. W. Jacob) แม้นวนิยายเรื่องนี้จะเขียนไม่จบเพราะยาขอบเสียชีวิตไปก่อน แต่ก็ถือว่าเป็นนวนิยายเรื่องยิ่งใหญ่ของเขา และได้รับความนิยมจากผู้อ่านมาทุกยุคทุกสมัย และสร้างชื่อเสียงให้ยาขอบมากที่สุด ถูกนำมาสร้างเป็นละครเวที ละครทีวี และภาพยนตร์หลายครั้ง

๑๐ ธันวาคม ๒๔๘๒

รัฐบาลไทย ได้ประกาศใช้ เพลงชาติไทย ฉบับปัจจุบัน โดยใช้ทำนองเพลงชาติไทยฉบับ พ.ศ. ๒๔๗๕ มาเปลี่ยนคำร้องใหม่ เนื่องจากเปลี่ยนชื่อประเทศจาก “สยาม” เป็น “ไทย” โดยพันเอกหลวงสารานุประพันธ์ (นวล ปานิณพยัคฆ์) เป็นผู้ประพันธ์คำร้องใหม่ และใชัทำนองเดิมของพระเจนดุริยางค์ (ปิติ วาทยะกร)

๑๐ ธันวาคม ๒๔๘๔

เปิดธนาคารแห่งประเทศไทย ณ อาคารที่ทำการของธนาคารฮ่องกงและเซี่ยงไฮ้ จำกัด ถนนสี่พระยา โดยการเช่าสถานที่จากธนาคารดังกล่าว ต่อมาจึงย้ายเข้าสู่วังบางขุนพรหม เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๘๘

๑๐ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๕

นาคารแห่งประเทศไทย เปิดดำเนินการในฐานะธนาคารกลางของประเทศไทย โดยมี ม.จ. วิวัฒนไชย ไชยยันต์ เป็นผู้ว่าการองค์แรก โดยมีทุนเริ่มแรก ๒๐ ล้านบาทจากรัฐบาล โดยในขณะแรกนั้นใช้อาคารของธนาคารฮ่องกงเซียงไฮ้ จำกัด ถ. สีพระยาเป็นที่ทำการ ต่อมาจึงย้ายเข้าสู่วังบางขุนพรหรม เมื่อ พ.ศ. ๒๔๘๘

 

๑๑ ธันวาคม - วันสมเด็จกรมพระปรมานุชิตชิโนรส , วันภูเขาสากล

"วันสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส" วันที่ ๑๑ ธันวาคม เป็นวันคล้ายวันประสูติสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส (พระองค์เจ้าพระวาสุกรี)
สมเด็จพระมหาสมณเจ้าพระองค์แรกแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ผู้ทรงเป็นรัตนกวีของชาติและเป็นบุคคลดีเด่นทางด้านวัฒนธรรมของโลก ตามที่องค์การวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESSCO) ได้ประกาศยกย่องพระเกียรติคุณไว้เมื่อปี ๒๕๓๓ งานพระราชนิพนธ์ในสมเด็จฯ โดยตรง เช่น ปฐมสมโพธิกถา มหาเวสสันดรชาดก และลิลิตกระบวนพยุหยาตราฯ เป็นต้น จึงถือว่า วันที่ ๑๑ ธันวาคม ของทุกปี เป็น "วันสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส"

๑๑ ธันวาคม ๒๔๕๔

ยุบกรมยุทธนาธิการ ให้เสนาบดีกระทรวงกลาโหม เป็นผู้บังคับบัญชาทหารบกทั่วไป และยกฐานะกรมทหารเรือขึ้นเป็น กระทรวงการทหารเรือ

๑๒ ธันวาคม ๒๑๗๑

พระเจ้าทรงธรรมสวรรคต เมื่อพระชนม์พรรษาได้ ๓๘ มีพระราชโอรส ๓ องค์ คือ พระเชษฐาธิราชกุมาร พระพันปีศรีศิลป์ และพระอาทิตยวงศ์ แต่จดหมายเหตุ วันวสิตว่ามีราชโอรส ๙ พระราชธิดา ๘

๑๒ ธันวาคม ๒๔๘๔

ได้ประกาศขบวนการเสรีไทยขึ้นที่สหรัฐอเมริกา (นำโดย ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช เอกอัครราชทูตไทยประจำสหรัฐอเมริกา ) พร้อม ๆ กับขบวนการเสรีไทยในที่อื่น ๆ ก็ได้เกิดขึ้น เพราะไม่อาจยอมรับการประกาศเป็นพันธมิตรกับญี่ปุ่นของรัฐบาลไทย และเสถียรภาพความมั่นคงของรัฐบาลไทยก็ได้สั่นคลอน เมื่อคณะราษฎรฝ่ายพลเรือนหลายคน เช่น ปรีดี พนมยงค์ ทวี บุณยเกตุ ควง อภัยวงศ์ ได้แยกตัวออกมา เนื่องจากไม่อาจรับกับการกระทำของรัฐบาลเช่นเดียวกัน และกลายมาเป็นขบวนการเสรีไทยในประเทศ

๑๔ ธันวาคม วันโทรทัศน์และวิทยุเพื่อเด็กโลก

วันโทรทัศน์และวิทยุเพื่อเด็กโลก (International Children’s Day of Broadcasting–ICDB) ได้ริเริ่มใน พ.ศ. ๒๕๓๔ โดยองค์การยูนิเซฟ และคณะกรรมการระหว่างประเทศของวิทยาลัยโทรทัศน์และศาสตร์แห่งชาติ (International Academy of Television Arts and Science) โดยจัดขึ้นทุกปี เป็นวันเฉลิมฉลองประจำปีที่มีจุดหมาย เพื่อกระตุ้น ส่งเสริม และสนับสนุนให้เด็กทั่วทุกมุมโลก จากประเทศต่างๆ มาเป็นผู้สื่อข่าวด้วยตัวเอง ทั้งการผลิต การถ่ายทำ การบันทึกเทป รวมถึง การรายงานข่าว หรือข้อมูลที่พวกเขาต้องการด้วยตัวของเขาเอง ให้ทั่วทั้งโลกได้ยิน ได้ฟัง และได้รับรู้ โดยเฉพาะผู้ใหญ่และผู้บริหารของประเทศ ซึ่งในปัจจุบันมีสื่อมวลชน ทั้งวิทยุและโทรทัศน์ เข้าร่วมวันทีวีและวิทยุเพื่อเด็กมากกว่า ๒๐๐ รายทั่วโลก ทำให้วันทีวีและวิทยุเพื่อเด็ก มีความเป็นสากลอย่างแท้จริง

ในแต่ละปี องค์การยูนิเซฟจะกำหนดหัวข้อ (Theme) ของวัน ICDB ซึ่งจะเปลี่ยนไปทุกๆ ปี โดยหัวข้อของปี ๒๕๕๒ คือ “รวมพลังเพื่อเด็ก : มาฟังเสียงพวกเขากันเถอะ!” (Unite for Children : Tune in to Kids!) เนื่องจากเด็กและเยาวชนมักเป็นกลุ่มที่ถูกมองข้ามจากสื่อกระแสหลัก โดยเด็กๆ มักขาดพื้นที่หรือเวทีในการแสดงความเห็น ซึ่งอาจมีสาเหตุมาจากการที่สื่อกระแสหลัก มักมองว่าเสียงของเด็กๆ ไม่สำคัญ หรือรายการที่ผลิตโดยเด็ก ยังไม่เป็นมืออาชีพเท่ากับของผู้ใหญ่ นอกจากนี้ ในปัจจุบันมักขาดรายการที่มีเนื้อหาสาระที่มุ่งเน้นกลุ่มผู้ฟังที่เป็นเด็กและเยาวชน ในขณะที่ยังมีเรื่องราวมากมายในโลกที่เด็กและเยาวชนควรต้องศึกษาและเรียนรู้ ตั้งแต่เรื่องการเมือง ประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม ไปจนถึงจริยธรรม ดังนั้น การบอกเล่าเรื่องราวเหล่านี้แก่เด็กในทางที่สร้างสรรค์และสนุก จึงเป็นสิ่งที่สำคัญมาก เพื่อกระตุ้นให้เด็กๆ เกิดความสนใจและเข้ามามีส่วนร่วมในเรื่องต่างๆเหล่านี้ ตระเตรียมไว้สำหรับสังคมอนาคต

สำหรับประเทศไทย การมีส่วนร่วมในวันโทรทัศน์และวิทยุเพื่อเด็ก ยังอยู่ในลำดับขั้นของการเริ่มต้น แต่นับเป็นโอกาสอันดีที่ขณะนี้ ได้มีเครือข่ายกลุ่มเด็กและเยาวชนในพื้นที่จังหวัดต่างๆ ได้เข้ามามีส่วนร่วมในการจัดรายการวิทยุกระจายเสียงด้วยตัวของเด็กเอง ถ่ายทอดข่าวสารข้อมูลออกอากาศตามสถานีต่างๆ ภายในจังหวัดของตน

ทางศูนย์ประสานงานเด็กและเยาวชนสร้างสรรค์ เพื่อชีวิตและสิ่งแวดล้อม (YPLE) จึงได้ร่วมกับ สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย (สวท.) สำนักข่าวเด็กและเยาวชน “ขบวนการตาสับปะรด” คณะทำงานสื่อเพื่อเด็ก และเครือข่ายวิทยุเด็กและเยาวชน ๕ ภาค ร่วมกันจัดกิจกรรม “เวทีเครือข่ายวิทยุเด็ก ในวันโทรทัศน์และวิทยุเพื่อเด็ก ประจำปี ๒๕๕๒” ขึ้น เพื่อร่วมฉลองในวันทีวีและวิทยุเพื่อเด็กสากล โดยเชิญผู้แทนเด็กที่จัดรายการวิทยุในแต่ละภาคของประเทศ เข้ามามีส่วนร่วมจัดรายการวิทยุส่งเสียงเล็กๆ ให้ผู้ใหญ่ทั้งประเทศได้ฟัง โดยจัด“รายการวิทยุเสียงเด็ก พลังเด็ก” ในหัวข้อ “รวมพลังเพื่อเด็ก : มาฟังเสียงพวกเขากันเถอะ! (Unite for Children : Tune in to Kids!)” ทางสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย ออกอากาศกระจายเสียงทั่วประเทศ พร้อมแลกเปลี่ยนประสบการณ์การทำงานที่ผ่านมา ร่วมหาแนวทางในการประสานความร่วมมือระหว่างกัน สร้างความเข้มแข็งสำหรับเด็กและเยาวชนในอนาคตต่อไป

ที่มา : มูลนิธิเพื่อการพัฒนาเด็ก

๑๔ ธันวาคม ๒๔๘๔

ได้มีการลงนามตามหลักการยุทธร่วมระหว่างไทยกับญี่ปุ่น ในสงครามมหาอาเชียบูรพา กำหนดให้ต่างฝ่ายต่างทำการยุทธในด้านของตน ถ้ามีความจำเป็นกองทัพอากาศยี่ปุ่นจะปฏิบัติการร่วมรบกับกองทัพอากาศไทยด้วย

๑๕ ธันวาคม ๒๓๖๓

พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย โปรดเกล้า ฯ ให้ยกทัพจากกรุงเทพ ฯ เป็น ๒ กองทัพ ไปขัดตาทัพพม่าที่เมืองราชบุรี และเมืองกาญจนบุรี เนื่องจากได้ข่าวว่าพระเจ้าอังวะจักกายแมง เตรียมยกทัพมาตีไทย แต่ไม่ได้ยกเข้ามา

๑๕ ธันวาคม ๒๔๔๔

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชทานธงชัยเฉลิมพล แก่ กรมทหารมหาดเล็กรักษาพระองค์ กรมทหารราบที่ ๑ รักษาพระองค์ กรมทหารราบที่ ๒ รักษาวัง กรมทหารราบที่ ๓ ฝีพาย และกรมทหารราบที่ ๔ ทหารหน้า

๑๖ ธันวาคม - วันกีฬาแห่งชาติ

วันกีฬาแห่งชาติ การกีฬาแห่งประเทศไทยและทางราชการได้ถือเอาวันที่ ๑๖ ธันวาคม ของทุกปี เป็น “วันกีฬาแห่งชาติ” ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๓๒ เพราะเมื่อวันที่ ๑๖ ธันวาคม ๒๕๑๐ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าอุบลรัตนราชกัญญาเสด็จขึ้นประทับบนแท่นรับเหรียญรางวัล ณ สนามศุภชลาศัย เนื่องในวโรกาสที่ทั้งสองพระองค์ทรงเป็นนักกีฬาผู้ครองความชนะเลิศได้เหรียญทองในการแข่งขันกีฬาเรือใบประเภทโอเค ของกีฬาแหลมทองครั้งที่ ๔ ซึ่งประเทศไทยได้รับเกียรติให้เป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขัน

กิจกรรม จัดกิจกรรมแข่งขันกีฬาและออกกำลังกาย

๑๖ ธันวาคม ๒๔๖๓

ได้มีการแก้ไขสนธิสัญญาที่ผูกมัดไทย ที่กรุงวอชิงตัน ให้ไทยมีสิทธิที่จะตั้งพิกัดอัตราภาษีของสหรัฐได้ตามที่ต้องการ โดยมีเงื่อนไขว่าต้องได้รับความยินยอมจากประเทศอื่น ๆ ที่มีสนธิสัญญากับไทย นอกจากนั้นยังยกเลิกสิทธิสภาพนอกอาณาเขตของชาวอเมริกัน ในประเทศไทยโดยเด็ดขาด

๑๖ ธันวาคม ๒๔๘๙ ประเทศไทยเข้าเป็นสมาชิกองค์การสหประชาชาติ อันดับที่ ๕๕

๑๖ ธันวาคม ๒๕๑๐

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงได้รับการทูลเกล้า ฯ ว่ายเหรียญทองจากการแข่งขันเรือใบประเภทโอเค ในการแข่งขันกีฬาแหลมทองครั้งที่ ๔ ณ สนามศุภชลาศัย ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๕๓๒ ทางราชการได้กำหนดให้ วันที่ ๑๖ ธันวาคม ของทุกปี เป็นวันกีฬาแห่งชาติ

๑๗ ธันวาคม ๒๔๕๘

กระทรวงทหารเรือออกข้อบังคับว่าด้วยระเบียบการใช้คำนามรวมทั่วไปของทหารเรือเรียกว่า ราชนาวี เขียนเป็นอักษรย่อ ว่า ร.น. ตรงกับภาษาอังกฤษว่า Royal Navy เขียนเป็นอักษรย่อว่า R.N.

๑๗ ธันวาคม ๒๔๘๓

รัฐบาลไทยโดยมี จอมพล ป.พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี ออกประกาศกำหนดให้ใช้วันที่ ๑ มกราคม เป็นวันขึ้นปีใหม่ ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๘๔ เป็นต้นไป เพื่อให้เหมือนสากลนิยม ดังนั้นปี พ.ศ. ๒๔๘๓ จึงมีเพียง ๙ เดือน (เดิมใช้วันที่ ๑ เมษายน เป็นวันขึ้นปีใหม่)

๑๘ ธันวาคม วันผู้อพยพสากล

๑๘ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๑๕

ประธานาธิบดี ริชาร์ด นิกสัน ได้สั่งให้ส่งเครื่องบินทิ้งระเบิดแบบ บี-๕๒ ไปทิ้งระเบิดโจมตีเวียดนามเหนือในวันนี้ ที่ กรุงฮานอย (Hanoi) เมืองหลวงของเวียดนาม และให้วางทุ่นระเบิดปิดอ่าวเมืองท่าไฮฟอง (Haiphong) หลังจากการเจรจาสันติภาพที่กรุงปารีสในช่วงเดือนธันวาคม ๒๕๑๕ เพื่อยุติสงครามเวียดนาม ไม่ประสบความสำเร็จ เนื่องจากไม่สามารถตกลงกันได้ถึงสถานะของเวียดนามเหนือหลังการหยุดยิง เวียดนามใต้ไม่ยอมรับเงื่อนไขของเวียดนามเหนือ เมื่อการเจรจาชะงักลง ปฏิบัติการครั้งนี้ถูกเรียกว่า Operation Linebacker II การโจมตีครั้งนี้ของสหรัฐนับว่ารุนแรงที่สุดในสงครามเวียดนาม โดยเครื่องบินทิ้งระเบิดบี-๕๒ กว่า ๕๐๐ ลำ ผลัดเปลี่ยนไปทิ้งระเบิดในช่วงวันที่ ๑๘-๓๐ ธันวาคม ระเบิดที่ทิ้งในเวียดนามมีน้ำหนักรวมมากกว่า ๑๕,๐๐๐ ตันต่อมาเรียกปฏิบัติการครั้งนี้ว่า “การทิ้งระเบิดปูพรมวันคริสต์มาส” (Christmas Bombing)

๑๘ ธันวาคม ๒๕๒๒

ตั้งค่ายวชิรปราการ ซึ่งเป็นที่ตั้งของกองพันที่ ๔ และกองพันที่ ๕ กรมทหารราบที่ ๔ จังหวัดทหารบกพิษณุโลก (ส่วนแยกจังหวัดตาก) อยู่ที่อำเภอเมือง จังหวัดตาก

๑๘ ธันวาคม ๒๕๓๖

ดาวเทียมไทยคม (THAICOM) ดาวเทียมดวงแรกของไทย ถูกส่งขึ้นวงโคจร จากฐานส่งของบริษัท แอเรียนสเปซ (Arianespace) แห่งฝรั่งเศส ที่เมืองคูรู (Kourou) ประเทศเฟรนช์ เกียนา (French Guiana) ทวีปอเมริกาใต้ โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้รับพระราชทานชื่อ “ไทยคม” เมื่อวันที่ ๑๗ ธันวาคม ๒๕๓๔ โดยมาจากคำว่า ไทยคม (นาคม) สร้างโดยบริษัท ฮิวจ์ แอร์คราฟท์ (Hughes Aircraff) สหรัฐอเมริกา สามารถถ่ายทอดได้ทั้งสัญญาณโทรทัศน์ วิทยุกระจายเสียง โทรศัพท์ และการสื่อสารข้อมูล

ต่อมาได้ชื่อใหม่เป็น “ดาวเทียมไทยคม ๑A” ปัจจุบันได้มีดาวเทียมไทยคมทั้งหมด ๓ ดวงคือมี ดาวเทียมไทยคม ๒ และไทยคม ๓ เจ้าของคือกลุ่มชินคอร์ป ซึ่งต่อมาได้ขายหุ้นให้กลุ่มเทมาเสก ของสิงค์โปร์ ดังนั้นเจ้าของเครือข่ายดาวเทียมไทยคมก็คือนายทุนจากสิงคโปร์

๑๙ ธันวาคม ๒๔๖๖

วันสถาปนา กองเรือยุทธการมีหน่วยขึ้นตรงคือ กองเรือตรวจอ่าว กองเรือปราบเรือดำน้ำ กองเรือทุ่นระเบิด กองเรือยกพลขึ้นบกและบริการ กองเรือลำน้ำ และกองบินทหารเรือ

๑๙ ธันวาคม ๒๕๒๓

ตั้งค่ายขุนผาเมือง ซึ่งเป็นที่ตั้งของกรมทหารม้าที่ ๓ จังหวัดทหารบกเพชรบูรณ์ และกองพันทหารช่างที่ ๘ อยู่ที่อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบูรณ์

๒๐ ธันวาคม ๒๔๔๗ วันพระราชสมภพ สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินีในรัชกาลที่ ๗

พระราชประวัติโดยย่อ

สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี ทรงพระราชสมภพเมื่อวันอังคารที่ ๒๐ ธันวาคม ๒๔๔๗ เป็นธิดาองค์เดียวในสมเด็จพระบรมวงศ์เธอกรมพระสวัสดิรัตนวิศิษฐ์ กับพระเจ้าวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าอาภาพรรณี พระองค์มีพระนามเดิมว่า หม่อมเจ้ารำไพพรรณี สวัสดิวัตน์ หรือเรียกกันในหมู่ผู้ใกล้ชิดว่า “ท่านหญิงนา” ทรงมีพระเชษฐา พระเชษฐภคินี พระอนุชา และพระขนิษฐาร่วมพระบิดารวม ๔๖ พระองค์ และร่วมพระมารดาจำนวน ๕ พระองค์ คือ

๑. หม่อมเจ้าชายโสภณภราไดย สวัสดิวัตน์

๒. สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี ในรัชกาลที่ ๗

๓. หม่อมเจ้าชายนนทิยาวัด สวัสดิวัตน์

๔. หม่อมเจ้าชายอรชุนชิษณุ สวัสดิวัตน์

๕. หม่อมเจ้าชายยุธิษเฐียร สวัสดิวัตน์

เมื่อเจริญพระชันษาได้ ๒ ปี พระบิดาได้ทรงนำเข้าไปถวายตัวในบรมราชินูปถัมภ์ ของสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ ซึ่งหม่อมเจ้ารำไพพรรณี ทรงเป็นพระราชนัดดาพระองค์หนึ่งที่สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระราชทานความเอ็นดู ห่วงใยอยู่เสมอ ทรงเอาพระทัยใส่อบรมอย่างใกล้ชิด เมื่อหม่อมเจ้ารำไพพรรณีมีพระชันษา ๖ ปี ก็ได้เสด็จเข้าทรงศึกษาที่โรงเรียนราชินี ขณะเดียวกันก็ได้ทรงศึกษาภาษอังกฤษและภาษาฝรั่งเศสกับพระอาจารย์ชาวต่างประเทศ

เมื่อวันที่ ๒๖ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๖๑ ทรงเข้าพิธีอภิเษกสมรสกับสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าประชาธิปกศักดิ์เดชน์กรมขุนสุโขทัยธรรมราชา ณ พระที่นั่งวโรภาษพิมาน พระราชวังบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ซึ่งขณะนั้น “ท่านหญิงนา” มีพระชนมายุได้ ๑๔ พรรษา

สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าประชาธิปกศักดิ์เดชน์กรมขุนสุโขทัยธรรมราชา เสด็จขึ้นเถลิงถวัลยราชสมบัติเป็นพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๗ แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์ หลังจากพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จสวรรคต ทรงรับพระบรมราชาภิเษก เมื่อวันที่ ๒๕ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๖๙ และในการพระราชพิธีบรมราชาภิเษก ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สถาปนาหม่อมเจ้ารำไพพรรณีพระวรราชชายา ขึ้นเป็นสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี และสถาปนาพระอิสริยยศ เป็นพระอัครมเหสีโดยสมบูรณ์ ตามพระราชกำหนดกฎหมายและพระราชประเพณี และทรงเป็นพระมเหสีเพียงพระองค์เดียวใน พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว

หลังจากนั้นได้ทรงตามเสด็จ พระเจ้าอยู่หัวไปผ่าตัดโรคตาต้อที่สหรัฐอเมริกาด้วย เมื่อวันที่ ๒๔ มิถุนายน พ.ศ.๒๔๗๕ คณะราษฎร์ทำการเปลี่ยนแปลงการปกครอง จากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราช มาเป็นการปกครอง แบบประชาธิปไตย มีพระมหากษัตริย์อยู่ภายใต้อำนาจรัฐธรรมนูญ ขณะนั้นพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว และ สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี เสด็จประทับอยู่ ณ พระราชวังไกลกังวล อ.หัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์ เมื่อวันที่ ๑๐ ธันวาคม พ.ศ.๒๔๗๕ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๗ พระราชทานรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม (พ.ศ.๒๔๗๕) รัฐธรรมนูญฉบับแรกของไทย ให้แก่ปวงชนชาวไทย ต่อมาจึงได้ถือเอาวันที่ ๑๐ ธันวาคม ของทุกปีเป็นรัฐธรรมนูญ จนกระทั่งทุกวันนี้

พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จไปรักษาพระเนตรด้วยโรคตาต้อที่ประเทศอังกฤษ พร้อมด้วย สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี และด้วยทรงมีความคิดเห็นที่ขัดแย้งกับรัฐบาลในสมัยนั้น เกี่ยวกับหลักการประชาธิปไตย วันที่ ๒ มีนาคม พ.ศ.๒๔๗๗ จึงทรงตัดสินพระราชหฤทัยสละราชสมบัติและ เสด็จไปประทับที่เวอร์จิเนียร์ วอเตอร์ ประเทศอังกฤษ

พ.ศ.๒๔๘๐ ทั้งสองพระองค์ได้ย้ายไปประทับอยู่ที่เมืองเคนส์ ห่างจากกรุงลอนดอน ๒๐๐ ไมล์ และต่อมาได้ทรงย้ายที่ประทับไปหลายแห่งจนกระทั่งได้ นอร์ทเวลส์ ซึ่งห่างจากลอนดอน ๓๐๐ ไมล์ เป็นที่ประทับสุดท้าย

วันที่ ๓๐ พฤษภาคม พ.ศ.๒๔๘๔ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จสวรรคต โดยเฉียบพลันด้วยโรคพระหทัยวาย

๔ มิถุนายน พ.ศ.๒๔๘๔ มีการจัดพิธีถวายพระเพลิง พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๗ ณ สุสาน Colders Green ประเทศอังกฤษ

๘ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๔ สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินีในรัชกาลที่ ๗ ถึงแม้ว่ารัชกาลที่ ๗ จะทรงสละราชสมบติ และสด็จสวรรคตแล้ว แต่สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี ซึ่งทรงมีพระทัยที่เปี่ยมล้นด้วยความรักชาติ จึงได้ร่วมกับ ม.จ.ศุภสวัสดิ์วงศ์สนิท สวัสดิวัตน์ ผู้นำขบวนการเสรีไทยในอังกฤษ และ ม.จ.การวิก จักรพันธุ์ ผู้นำขบวนการเสรีไทยในอังกฤษ พร้อมด้วยคนไทยในอังกฤษตั้งขบวนการเสรีไทยขึ้นในอังกฤษด้วย

วันที่ ๑ พฤษภาคม พ.ศ.๒๔๙๒ สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี ได้ทรงอัญเชิญพระบรมอัฐิพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว กลับสู่ประเทศไทยโดยทางเรือตามคำกราบทูลเชิญของรัฐบาลไทย และได้ประดิษฐานไว้ร่วมกันกับ สมเด็จพระบูรพมหากษัตริยาธิราชเจ้า ส่วนสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณีทรงเสด็จกลับประเทศไทยด้วยและได้ประทับอยู่ในประเทศไทย

สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระราชทานวังสวนบ้านแก้ว ให้เป็นที่ตั้งสถานศึกษาระดับอุดมศึกษาในท้องถิ่น ตั้งแต่ปี ๒๕๑๕ ในครั้งแรกใช้ชื่อว่า “วิทยาลัยครูจันทบุรี” ต่อมาได้รับพระราชทานนามาภิไธยในสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี เป็นชื่อสถาบันว่า “วิทยาลัยรำไพพรรณี” ซึ่งปัจจุบันก็คือ “มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี”

จนกระทั่งเมื่อวันที่ ๒๒ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๒๗ (ค.ศ. ๑๙๘๔) สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี เสด็จสวรรคตด้วยพระหทัยวายโดยพระอาการสงบ ณ พระตำหนักวังศุโขทัย กรุงเทพฯ รวมพระชนมายุได้ ๗๙ พรรษา ๕ เดือน ๒ วัน และได้มีพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ ณ พระเมรุมาศ ที่ได้จัดสร้างขึ้น บริเวณท้องสนามหลวง เมื่อวันที่ ๙ เมษายน พ.ศ.๒๕๒๘

๒๐ ธันวาคม ๒๔๕๖ การไฟฟ้านครหลวงสามเสน เริ่มเปิดใช้งานเป็นปฐมฤกษ์

๒๐ ธันวาคม ๒๔๘๔

ไทยและญี่ปุ่นได้ลงนามเป็นพันธมิตรในกติกาสัญญาพันธไมตรีระหว่างประเทศไทย และประเทศญี่ปุ่นได้กระทำพิธี ณ พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม โดย จอมพล ป. พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรี ลงนามแทนในนามรัฐบาลไทย และนายทสุโบกามิ เอกอัครราชทูตญี่ปุ่นประจำประเทศไทย ลงนามแทนในนามรัฐบาลญี่ปุ่น

๒๑ ธันวาคม ๒๔๑๓

เรือรบอิตาลีประเภทเรือคอร์เวตได้เดินทางมาเยือนประเทศไทย พร้อมด้วยราชทูตอิตาลี เพื่อมาเจรจา ทำสัญญาทางพระราชไมตรี ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

๒๑ ธันวาคม ๒๔๘๔

ไทยและญี่ปุ่นได้ลงนามในกติกาสัญญาพันธไมตรีระหว่างประเทศไทย และประเทศญี่ปุ่นได้กระทำพิธี ณ พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม โดย จอมพล ป. พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรี ลงนามแทนในนามรัฐบาลไทย และนายทสุโยกามิ เอกอัครราชทูตญี่ปุ่นประจำประเทศไทย ลงนามแทนในนามรัฐบาลญี่ปุ่น

๒๑ ธันวาคม ๒๔๘๔

กองบัญชาการทหารสูงสุด ได้จัดตั้งกองทัพพายัพขึ้นมี พลโท หลวงจรูญ เริงฤทธิ์ (จรูญ รัตนกุล เสรีเริงฤทธิ์) เป็นแม่ทัพ ประกอบด้วยกองพลทหารราบ ๓ กองพล (กองพลที่ ๒,๓ และ ๔) และกองพลทหารม้า ๑ กองพล มอบหน้าที่ให้เข้าไปปฏิบัติการในดินแดนสหรัฐไทยเดิม ซึ่งอยู่ทางทิศเหนือของประเทศไทย โดยสนธิกำลังจากหน่วยต่าง ๆ ทั่วประเทศ ตามคำร้องขอของกองทัพญี่ปุ่น ที่ต้องการให้ไทยส่งทหารไปร่วมรบกับญี่ปุ่นในพม่า โดยแบ่งมอบพื้นที่รับผิดชอบดังกล่าว เพื่อป้องกันปีกขวาของกองทัพญี่ปุ่นเข้าสู่พม่า

๒๒ ธันวาคม ๒๒๒๘

ราชทูตไทย ชุดที่ ๓ มีออกพระวิสูตรสุนทร คือโกษาปานเป็นราชทูต ออกเดินทางไปฝรั่งเศสได้เฝ้าพระเจ้าหลุยส์ที่ ๑๔ ที่พระราชวังแวร์ซายส์ เมื่อ ๑ กันยายน ๒๒๒๙ เดินทางกลับถึงปากน้ำเจ้าพระยาเมื่อ พ.ศ. ๒๒๓๐

๒๒ ธันวาคม ๒๔๓๑ ไทยเสียแคว้นสิบสองจุไทย พื้นที่ ๘๗,๐๐๐ ตารางกิโลเมตร ให้แก่ฝรั่งเศส โดยฝรั่งเศสส่งกำลังทหารเข้ายึดไว้อ้างว่าไว้คอยปราบฮ่อ

๒๒ ธันวาคม ๒๕๐๖

เปิดสำนักงานใหญ่ องค์การพุทธศาสนิกชนสัมพันธ์แห่งประเทศโลก (พ.ส.ล.) ในประเทศไทย ตั้งอยู่ในบริเวณพุทธสมาคมแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ ถนนพระอาทิตย์ กรุงเทพ ฯ

๒๓ ธันวาคม ๒๓๓๑ ราชทูตไทยชุดที่ ๔ ได้เข้าเฝ้า สันตะปาปา อินโดเนเซนต์ที่ ๑๑ ณ กรุงโรม

๒๓ ธันวาคม ๒๔๓๑ กองทัพไทยกับฝรั่งเศส ได้ทำสนธิสัญญาว่าต่างจะไม่ล่วงเข้าไปในเขตแดนของกันละกัน และจะช่วยกันปราบฮ่อที่เป็นโจร

๒๓ ธันวาคม ๒๔๓๗

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระบรมราชโองการให้ประกาศปันหน้าที่ กระทรวงกลาโหม มหาดไทย โดยแยกข้าราชการพลเรือน คือการบังคับบัญชาหัวเมืองภาคใต้ไปขึ้นอยู่กับมหาดไทย และจัดระเบียบการบริหาร ตลอดจนจัดหน่วยงานในกระทรวงกลาโหมใหม่ โดยรวมการบังคับบัญชาทางการทหารไว้ที่กระทรวงกลาโหม เพื่อให้กระทรวงกลาโหมรับผิดชอบด้านการป้องกันประเทศ ด้วยกำลังทหารทั้งทางบกและทางเรือ

๒๓ ธันวาคม ๒๔๘๔ ประกาศสนธิสัญญาระหว่าง ไทย-ญี่ปุ่น เรื่องสัมพันธไมตรี และบูรณภาพอาณาเขตแห่งกันและกัน

๒๓ ธันวาคม ๒๕๒๘ ตั้งค่ายบดินทร์เดชา ซึ่งเป็นที่ตั้งของกรมทหารราบที่ ๑๖ อยู่ที่อำเภอเมือง จังหวัดยโสธร

๒๔ ธันวาคม ๒๒๒๓

ราชทูตไทยคณะแรก ที่ออกไปยังประเทศฝรั่งเศส และสันตปาปา ณ กรุงโรม คือ ออกญาพิพัฒน์ราชไมตรี กับผู้ช่วยอีก ๒ คน คือ หลวงศรีวิสารสุนทร กับ ขุนนางวิชัย และคณะอีกกว่า ๒๐ คน โดยมีบาดหลวงเกยเมอเป็นล่าม และเป็นผู้นำทางการเดินทางครั้งนี้ ออกเดินทางจากกรุงศรีอยุธยา และได้สูญหายไปเนื่องจากเรือถูกพายุอัปปางบริเวณเกาะมาดากัสต์

๒๔ ธันวาคม ๒๔๘๔

กองบัญชาการทหารสูงสุด ได้จัดตั้งกองทัพพายัพขึ้น มีนายพลโท จรูญ รัตนกุลเสรีเริงฤทธิ์ เป็นแม่ทัพ ประกอบด้วยกองพลทหารราบ ๓ กองพล (กองพลที่ ๒,๓ และ ๔) และกองพลทหารม้า ๑ กองพล เพื่อเข้าปฏิบัติการในดินแดนสหรัฐไทยเดิม ตามคำร้องขอของกองทัพญี่ปุ่น ที่ต้องการให้ไทยส่งทหารไปร่วมรบกับญี่ปุ่นในพม่า

๒๕ ธันวาคม วันคริสต์มาส

๒๖ ธันวาคม - วันแกะกล่องของขวัญ, วันคุ้มครองสัตว์ป่าแห่งชาติ

วันแกะกล่องของขวัญ

วันคุ้มครองสัตว์ป่า

ในอดีต ประเทศไทยได้ชื่อว่า มีทรัพยากรที่สมบูรณ์มากที่สุด พื้นที่อุดมไปด้วย ความหลากหลายทางชีวภาพทั้งพืชและสัตว์ ปัจจุบันเหลือพื้นที่ป่าเพียง ๑๗% ของ พื้นที่ประเทศ ส่งผลให้สัตว์ป่าขาดแหล่งที่อยู่อาศัย แหล่งอาหารทำให้สัตว์ป่าลดลง บางชนิดสูญพันธ์ และอีกหลายชนิดตกอยู่ในสภาวะใกล้สูญพันธ์

ในที่สุดรัฐบาลไทยได้ประกาศใช้พระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่าขึ้นในปี ๒๕๐๓ สมัยจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัตน์ เป็นนายก รัฐมนตรี เพื่อเป็นเครื่องมือ สำคัญในการปกป้องทรัพยากรสัตว์ป่าของประเทศ จึงได้ถือเอาวันที่ ๒๖ ธันวาคมของทุกปีเป็นวันคุ้มครองสัตว์ป่า

๒๖ ธันวาคม ๒๔๕๒ เปิดโรงเรียนนายร้อยทหารบกที่ถนนราชดำเนินนอก

๒๖ ธันวาคม ๒๔๕๓

รถยนต์แก้วจักพรรดิ์ เป็นรถพระที่นั่งคันแรก และต่อมามีผู้นำมาวิ่งในถนนมากขึ้น เห็นว่าจะเกิดอันตราย พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดให้ตรา พ.ร.บ.รถยนต์ขึ้นครั้งแรก

๒๖ ธันวาคม ๒๕๑๑

-ตั้งค่ายเพชรบุรีราชศิรินธร ซึ่งเป็นที่ตั้งกองพันที่ ๓ กรมทหารราบที่ ๑๑ รักษาพระองค์ ที่อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบุรี

-ตั้งค่ายกาญจนบุรี ซึ่งเป็นที่ตั้งกองพลทหารราบที่ ๙ จังหวัดทหารบกราชบุรี (ส่วนแยกกาญจนบุรี) ที่ตำบลลาดหญ้า อำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี

-ตั้งค่ายศรีโสธร ซึ่งเป็นที่ตั้งกองพันทหารช่างที่ ๒ รักษาพระองค์ ที่อำเภอเมือง จังหวัดฉะเชิงเทรา

๒๘ ธันวาคม - วันสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช

๒๘ ธันวาคม ๒๕๑๕

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จออกประทับเหนือพระที่นั่งพุดตาน กาญจนสิงหาสน์ ณ ท้องพระโรงพระที่นั่งอนันตสมาคม ในงานพระราชพิธีเฉลิมพระนามาภิไธย สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ์ สยามมกุฎราชกุมาร

๒๘ ธันวาคม ๒๓๑๑

สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช เสด็จขึ้นเถลิงถวัลยราชสมบัติ ณ กรุงธนบุรี และทางราชการได้กำหนด ให้วันที่ ๒๘ ธันวาคม ของทุกปี เป็นวันสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช

๒๙ ธันวาคม วันอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพระหว่างประเทศ

๒๙ ธันวาคม ๒๔๕๖

ได้มีการบินทดลองเป็นครั้งแรก ที่ราชกรีฑาสโมสร ซึ่งเป็นสนามบินแห่งแรกของไทย ต่อมาเมื่อ ๑๕ มี.ค. ๒๔๕๗ จึงย้ายไปอยู่ที่ดอนเมือง

๓๑ ธันวาคม - วันสิ้นปี, วันเริ่มเทศกาลปีใหม่

 

โปรดเลือก "คลิ๊ก" เพื่ออ่านเหตุการณ์ใน ๑๒ เดือน

มกราคม กุมภาพันธ์ มีนาคม เมษายน
พฤษภาคม มิถุนายน กรกฎาคม สิงหาคม
กันยายน ตุลาคม พฤศจิกายน ธันวาคม

 

นำเสนอโดย
วัดท่าไทร ต.ท่าทองใหม่
อ.กาญจนดิษฐ์ จ.สุราษฎร์ธานี 84290