เหตุการณ์ในอดีตประจำเดือน พฤษภาคม
รวมเรื่องราวที่เกิดในอดีตทุกเดือนเพื่อเป็นข้อมูลแก่ผู้สนใจศึกษา ค้นคว้า
โดย... พระมหาบุญโฮม ปริปุณฺณสีโล (ไชยฤทธิ์) วัดท่าไทร จ.สุราษฎร์ธานี

เกร็ดน่ารู้ในเดือน พฤษภาคม.-

           - ในปฏิทินปีเดียวกัน ไม่มีเดือนใดที่วันแรกของเดือนมีวันในสัปดาห์ ตรงกับเดือนพฤษภาคม เช่น วันแรกของเดือนพฤษภาคมในปีนี้คือวันจันทร์ จะไม่มีเดือนใดในปีนั้นที่มีวันแรกของเดือนเป็นวันจันทร์
           - ดอกไม้ประจำเดือนพฤษภาคม คือ ดอกฮอธอร์น
           - อัญมณีประจำเดือนเกิดของเดือนพฤษภาคม คือ มรกต
           - วันวิสาขบูชาในวันเพ็ญเดือน ๖ (เดือน ๗ ในปีที่มีอธิกมาส) ตามปฏิทินจันทรคติไทย
           - ขึ้น ๑๕ ค่ำเดือน ๖ : วันพืชมงคล
           - ขึ้น ๑๕ ค่ำเดือน ๖ : วันวิสาขบูชา
           - ขึ้น ๑๕ ค่ำเดือน ๖ : วันต้นไม้แห่งชาติ

วันต้นไม้ประจำปีแห่งชาติ (ตรงกับวันวิสาขบูชา ของทุกปี)

เดิมตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๔๘๑ กรมป่าไม้ได้เชิญชวนข้าราชการ พ่อค้า และประชาชนให้ร่วมกันปลูกต้นไม้ในวันชาติ คือ วันที่ ๒๔ มิถุนายน นับเป็นครั้งแรกที่มีการปลูกต้นไม้ในวันชาติ คือวันที่ ๒๔ มิถุนายน นับเป็นครั้งแรกที่มีการปลูกต้นไม้ตามแบบที่ทำกันในต่างประเทศ ปี พ.ศ. ๒๔๘๔ กรมป่าไม้ได้สั่งการให้เจ้าหน้าที่ป่าไม้ในส่วนภูมิภาคดำเนินการร่วมกับคณะกรรมการจังหวัดและคณะกรรมการอำเภอ จัดให้มีการปลูกต้นไม้ในวันชาติเพื่อให้ประชาชนเห็นความสำคัญของต้นไม้ และเป็นการเพิ่มพูนทรัพยากรธรรมชาติถือว่าเป็นวันต้นไม้ประจำปีอย่างเป็นทางการครั้งแรกของประเทศไทย

กิจกรรม ได้แก่ ปลูกต้นไม้และดูแลรักษาต้นไม้ ทำให้สิ่งแวดล้อมดีขึ้น

๑ พฤษภาคม - วันแรงงานแห่งชาติ, วันกรรมกรโลก

๑ พฤษภาคม ๒๔๒๓

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ ได้เปลี่ยนธรรมเนียมออพฟิศใหม่ใช้ยืนและนั่งเก้าอี้แบบฝรั่ง เป็นการเปลี่ยนธรรมเนียมให้คล้อยตามอารยประเทศ

๑ พฤษภาคม ๒๔๕๔

พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ โปรดเกล้าให้ ฯ ให้ตั้งกองเสือป่าขึ้น เพื่อให้ข้าราชการพลเรือน พ่อค้า ประชาชน มีความรู้ทางวิชาการ

๑ พฤษภาคม ๒๔๙๙

ประเทศไทยประกาศให้มีวันแรงงานแห่งชาติ วันกรรมกรหรือวันแรงงานแห่งชาติ จัดขึ้นตระหนักถึงความรับผิดชอบ และสำนึกถึงรากฐานความมั่นคง ของการประกอบอาชีพเป็นประโยชน์ ทั้งทางส่วนตัวและประเทศชาติ

๒ พฤษภาคม

เป็นวันที่ ๑๒๒ ของปี (วันที่ ๑๒๓ ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก ๒๔๓ วันในปีนั้น

๒ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๓๕๑ (ค.ศ. ๑๘๐๘) –

สงครามคาบสมุทรไอบีเรีย: ประชาชนในกรุงมาดริด ประเทศสเปน รวมตัวกันต่อสู้กับกองทหารฝรั่งเศส

๒ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๗๖ (ค.ศ. ๑๙๓๓) –

มีรายงานการปรากฏตัวของสัตว์ประหลาดลอคเนสส์ ครั้งแรกในยุคใหม่

๒ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๙๗ (ค.ศ. ๑๙๕๔) –

มีการชกมวยสากลชิงแชมป์โลกเป็นครั้งแรกในประเทศไทย ระหว่าง จำเริญ ทรงกิตรัตน์ นักมวยชาวไทย กับแชมป์โลกรุ่นแบนตั้มเวทชาวออสเตรเลีย จิมมี่ คารัทเธอร์ ที่สนามกีฬาจารุเสถียร

๒ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๒๖ (ค.ศ. ๑๙๘๓) –

นายปรีดี พนมยงค์ (ศาสตราจารย์ ดร.ปรีดี พนมยงค์ หรือ หลวงประดิษฐ์มนูญธรรม) อดีตนายกรัฐมนตรีและรัฐบุรุษ ได้ถึงแก่อสัญกรรม ด้วยโรคหัวใจวาย ขณะเขียนหนังสือที่โต๊ะทำงาน ในบ้านพัก ชานกรุงปารีส รวมอายุได้ ๘๓ ปี (ท่านเกิดเมื่อ ๑๑ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๔๓)

๒ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๔๐ (ค.ศ. ๑๙๙๗) –

โทนี แบลร์ แห่งพรรคแรงงาน ได้รับเลือกตั้งเป็นนายกรัฐมนตรีของสหราชอาณาจักร นับเป็นนายกรัฐมนตรีที่อายุน้อยที่สุดในรอบ ๑๘๕ ปี

๓ พฤษภาคม :วันเสรีภาพสื่อมวลชนโลก (เสรีภาพสื่อ คือเสรีภาพประชาชน)

๓ พฤษภาคม วันโรคหืดโลก

วันโรคหืดโลก โรคหืดเป็นโรคของหลอดลมอยู่ในกลุ่มโรคภูมิแพ้ อาการสำคัญ คือ หอบเหนื่อย เป็นสาเหตุสำคัญสาเหตุหนึ่งของการเจ็บป่วย อาจมีอันตรายถึงชีวิตหากไม่ได้รับการรักษา อย่างถูกต้องทันท่วงที กรรมพันธุ์และสิ่งแวดล้อมมีความสัมพันธ์กับโรคนี้

องค์การอนามัยโลกกำหนดให้วันที่ ๓ พฤษภาคม ของทุกปี เป็นวันโรคหืดโลก ( World

Asthma Day) เพื่อปลุกเร้าให้แต่ละประเทศจัดกิจกรรมรณรงค์ให้ความรู้เรื่องโรคหืดแก่

ประชาชนขึ้นพร้อมกันทั่วโลก

๓ พฤษภาคม : วันรัฐธรรมนูญในญี่ปุ่นและโปแลนด์, วันเสรีภาพหนังสือพิมพ์โลก (World Press Freedom Day)

๓ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๐๓๗ (ค.ศ. ๑๔๙๔) –

คริสโตเฟอร์ โคลัมบัส สังเกตพบเกาะจาเมกา

๓ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๓๓๔ (ค.ศ. ๑๗๙๑) –

รัฐธรรมนูญแห่งโปแลนด์ กลายเป็นรัฐธรรมนูญฉบับแรกในยุโรป และฉบับที่สองของโลก

๓ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๐ (ค.ศ. ๑๙๓๗) –

มาร์กาเร็ต มิตเชลล์ ได้รับรางวัลพูลิตเซอร์ จากผลงานวรรณกรรมเรื่อง Gone With the Wind

๓ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๙๐ (ค.ศ. ๑๙๔๗) –

รัฐธรรมนูญแห่งญี่ปุ่น ฉบับใหม่ (ในภาพ) มีผลบังคับใช้

๔ พฤษภาคม วันหัวเราะโลก

วันหัวเราะโลก มีการริเริ่มจัดกิจกรรมวันหัวเราะโลก (World Laughter Day) เป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ ๑๑ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๑ ที่ประเทศอินเดีย โดยความคิดริเริ่ม ดร.มาดาน คาทาเรีย ผู้ก่อตั้ง Laughter Club International หลังจากนั้นมีการเฉลิมฉลองวันหัวเราะโลกในวันอาทิตย์แรกของเดือนพฤษภาคมทุกปี ก่อนหน้านั้นมีการจัดตั้งชมรมหัวเราะในอินเดียตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๓๘

๔ พฤษภาคม ๒๔๔๒

วันเปิดเรียนของนักเรียนนายเรือรุ่นแรก มีนักเรียนนายเรือ ทั้งหมด ๑๒ คน

๕ พฤษภาคม: วันฉัตรมงคล

๕ พฤษภาคม ๒๔๓๐

กำเนิดรถรางไทย ได้เริ่มเดินรถครั้งแรกในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เส้นทางบางคอแหลม (ถนนตก) ถึงพระบรมราชวัง

๕ พฤษภาคม ๒๔๔๔

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จประพาสชวาครั้งที่ ๓ เพื่อทรงนำแบบอย่างของต่างประเทศมาปรับปรุงบ้านเมืองไทย การเสด็จครั้งนี้ ตั้งแต่ ๕ พฤษภาคม ถึง ๒๔ กรกฎาคม ๒๔๔๔ รวม ๘๐ วัน

๕ พฤษภาคม ๒๔๙๓

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงรับบรมราชาภิเษก (ทรงประกอบพระราชพิธีบรมราชาภิเษก) ซึ่งต่อมาทางราชการจึงได้กำหนดในวันที่ ๕ พฤษภาคม ของทุกปีเป็น วันฉัตรมงคล

๕ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๐๙ (ค.ศ. ๑๙๖๖) –

จอมพลถนอม กิตติขจร นายกรัฐมนตรี ทำพิธีเปิดอาคารหอสมุดแห่งชาติ ท่าวาสุกรี กรุงเทพมหานคร

๖ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๔๖ (ค.ศ. ๑๙๐๓) –

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงสถาปนากรมจเรทหารบก มีหน้าที่ตรวจราชการทั่วไป

๖ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๖๖ (ค.ศ. ๑๙๒๓) –

สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ประสูติ ณ กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ

๗ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๑๙ (ค.ศ. ๑๘๗๖) –

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงประกอบพิธีวางศิลาฤกษ์พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท (ในภาพ)

๗ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๕๘ (ค.ศ. ๑๙๑๕) –

สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง: เรือดำน้ำของเยอรมนียิงตอร์ปิโดเข้าใส่เรือเดินสมุทร อาร์เอ็มเอส ลูซิเทเนีย ของอังกฤษจนอับปางลงโดยไม่มีการเตือนล่วงหน้า คร่าชีวิตลูกเรือ ๑,๑๙๘ คน

๗ พฤษภาคม ๒๔๙๖ (ค.ศ. ๑๙๕๓) –

วันสถาปนาโรงเรียนนายเรืออากาศ เปิดรับนักเรียนนายเรืออากาศรุ่นแรกจำนวน ๓๐ นาย

๗ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๐๖ (ค.ศ. ๑๙๖๓)

เกิดเหตุวิกฤติการณ์ชาวพุทธในเวียดนาม: เจ้าเมืองเว้สั่งห้ามประดับธงทางพุทธศาสนาในวันวิสาขบูชา ทำให้ชาวพุทธในเวียดนามออกมาประท้วง

๗ พฤษภาคม ๒๕๐๗

จำนงค์ รังสิกุล หัวหน้าฝ่ายรายการ ไทยทีวีช่อง ๔ บางขุนพรหม จัดรายการเพลงที่มีเนื้อร้องเกี่ยวข้องกับชีวิตในท้องทุ่ง ให้นักร้องยอดนิยมในยุคนั้นแต่งตัวแบบชาวชนบท และฉากประกอบเป็นกระท่อมปลายนามีกองฟางจริง ๆ เป็นหลัก โดยเรียกชื่อรายการว่า “เพลงลูกทุ่ง”

เมื่อรายการได้ออกอากาศเป็นครั้งแรกปรากฏว่าผู้ชมทางบ้านให้ความสนใจเกินความคาดหมาย

และ คำว่า “เพลงลูกทุ่ง” ก็ติดปากผู้คนทั้งประเทศจากวันนั้นมาจนถึงทุกวันนี้

๗ พฤษภาคม ๒๕๒๔ (ค.ศ. ๑๙๘๑)

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ พร้อมด้วยพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าหญิงจุฬาภรณ์วลัยลักษณ์ เสด็จพระราชดำเนิน ทรงเปิดอู่ทหารเรือแห่งใหม่ ของกองทัพเรือที่ป้อมพระจุลจอมเกล้า ซึ่งได้รับพระราชทานนามว่า “อู่ทหารเรือพระจุลจอมเกล้า”

๘ พฤษภาคม วันกาชาดโลก

วันกาชาดโลก ผู้ให้กำเนิดกาชาด คือ นายอังรี ดูนังต์ เขาเกิดเมื่อ ๘ พฤษภาคม ๒๓๗๑ ณ นครเจนีวา สวิตเซอร์แลนด์ ในปี ๒๔๐๑ เขาได้เดินทางไปแสวงหาโชคลาภในทวีปแอฟริกาตอนเหนือ ผ่านไปทางเหนือของอิตาลีที่หมู่บ้านซอลเฟริโน ขณะนั้นมีสงครามระหว่างฝรั่งเศสกับออสเตรีย ทหารประมาณสี่แสนคนสู้รบกัน เขาเห็นคนล้มตายและบาดเจ็บมากมายโดยไม่มีผู้ใดช่วยเหลือ เขาจึงช่วยผู้บาดเจ็บด้วยตนเอง และขอร้องหญิงชาวบ้านในห้องถิ่นนั้นให้ช่วย ขณะช่วยผู้บาดเจ็บ เขาได้กระซิบข้างหูทหารเหล่านั้นว่า “เราเป็นพี่น้องกัน” แม้ว่าจะเป็นชนชาติใดก็ตามและนี่เองเป็นจุดกำเนิดความคิดของกาชาดขึ้น

หลักการกาชาด ๗ ประการ ในการประชุมกาชาดและเสี้ยววงเดือนแดงระหว่างประเทศ ครั้งที่ ๒๐ ณ กรุงเวียนนา ในปี ค.ศ. ๑๙๖๕ ได้มีการประกาศใช้หลักการเหล่านี้อย่างเป็นทางการ ได้แก่

๑. มนุษยธรรม
๒. ความไม่เลือกปฏิบัติ
๓. ความเป็นกลาง
๔. ความเป็นอิสระ
๕. การให้บริการอย่างอาสาสมัคร
๖. เอกภาพ
๗. ความเป็นสากล

๘ พฤษภาคม : วันธาลัสซีเมียโลก

วันธาลัสซีเมียโลก มีการประชุมผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับการตรวจพาหะของโรคธาลัสซีเมีย โดยเฉพาะในกลุ่มหนุ่มสาวก่อนการแต่งงาน ควรมีผลการตรวจเลือดก่อนแต่งงาน ได้มีการกำหนดให้มีวันธาลัสซีเมียโลก (World Thalassemia Day) คือวันที่ ๘ พฤษภาคมเพื่อให้การศึกษาแก่ประชาชนเกี่ยวกับการป้องกันโรคนี้

ธาลัสซีเมียเป็นโรคเลือดจางชนิดหนึ่งที่เกิดจากเม็ดเลือดแดงผิดปกติ พบมากในประเทศไทยและพบได้ทั่วไป เป็นโรคที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรมจากบิดาหรือมารดาไปยังบุตร ผู้ป่วยส่วยใหญ่ยากจนและด้อยการศึกษา อายุเฉลี่ยประมาณ ๑๘ - ๒๐ ปี ภาวะแทรกซ้อนที่สำคัญคือภาวะตับวายคาดว่ามีประชากรถึง ๑๘๐ ล้านคนทั่วโลกมีพันธุกรรมของโรคธาลัสซีเมียอยู่ในตัว การป้องกันการเกิดโรคธาลัสซีเมียจึงมีความสำคัญ โดยเฉพาะในประทศที่มีความชุกของโรคสูง เช่น ประเทศไทย

๘ พฤษภาคม ๒๔๑๗

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้า ฯ ให้ตั้งคณะรัฐมนตรีชุกแรกของไทยขึ้นบริหารประเทศ เรียกการบริหารงานของรัฐมนตรีชุดนี้ว่า สภาที่ปรึกษาราชการแผ่นดิน ต่อมาในเดือนมิถุนายน ก็ได้ทรงแต่ตั้ง สภาที่ปรึกษาในพระองค์ขึ้น มีหน้าที่ให้คำแนะนำพระมหากษัตริย์

๘ พฤษภาคม ๒๕๐๘

เปลี่ยนชื่อ “ถนนสนามม้า” เป็น “ถนนอังรี ดูนัง”

๙ พฤษภาคม ๒๓๕๑

ในหลวง ร. ๑ เสด็จฯ ด้วยพระบาท นำพระพุทธรูปจากท่าช้างไปประดิษฐาน เป็นพระประธาน ณ พระอุโบสถวัดสุทัศน์เทพวราราม เสาชิงช้า กทม.

๙ พฤษภาคม ๒๔๓๙

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จประพาสชวาครั้งที่ ๒ โดยเรือพระที่นั่งมหาจักรี

๙ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๗๒ (ค.ศ. ๑๙๒๙) –

เกิดสุริยุปราคาเต็มดวง ผ่านมหาสมุทรอินเดีย เกาะสุมาตรา ภาคใต้ของไทย และฟิลิปปินส์ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว พร้อมด้วยสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี เสด็จทอดพระเนตรที่ ต.โคกโพธิ์ อ.โคกโพธิ์ จ.ปัตตานี

๙ พฤษภาคม ๒๔๘๔ (ค.ศ. ๑๙๔๑) –

ไทยกับฝรั่งเศส ลงนามในอนุสัญญาสันติภาพระหว่างไทยกับฝรั่งเศส ที่กรุงโตเกียว หลังจากยุติกรณีพิพาทอินโดจีนฝรั่งเศส ระหว่าง ไทยกับฝรั่งเศส ใน ๖-๒๘ ม.ค. ๒๔๘๔ ประเทศไทยได้รับดินแดนแคว้นหลวงพระบาง จำปาศักดิ์ แคว้นเขมรบางส่วน ซึ่งรวมทั้งจังหวัดศรีโสภณ และพระตะบอง คืนมา รวมเป็นพื้นที่ทั้งหมดประมาณ ๒๔,๐๓๙ ตรางกิโลเมตร

๙ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๑๓ (ค.ศ. ๑๙๗๐) –

สงครามเวียดนาม : ชาวอเมริกัน ๗๕,๐๐๐ - ๑๐๐,๐๐๐ คน ร่วมชุมนุมคัดค้านสงครามหลังทำเนียบขาว ณ กรุงวอชิงตัน ดี.ซี.

๙ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๓๑ (ค.ศ. ๑๙๘๘) –

เขาค้อ แกแล็คซี่สร้างประวัติศาสตร์เป็นแชมป์โลกคู่แฝดคู่แรกของโลกในวันนี้เมื่อชิงแชมป์โลกรุ่นแบนตัมเวท WBA ชนะคะแนน วิลเฟรโด วาสเควซ โดยแฝดน้องคือ เขาทราย แกแล็คซี่ครองแชมป์โลกมาก่อนตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๒๗

๑๐ พฤษภาคม วันปลอดภัยในการทำงานแห่งชาติ

เมื่อวันที่ ๒๐ สิงหาคม ๒๕๔๐ คณะรัฐมนตรีได้มีมติให้วันที่ ๑๐ พฤษภาคม เป็นวันปลอดภัยในการทำงานแห่งชาติ ตามข้อเรียกร้องขององค์กรลูกจ้างกรณีเกิดเหตุเพลิงไหม้บริษัทเคเดอร์อินดัสเตรียล(ไทยแลนด์) จำกัด ซึ่งเป็นโรงงานทำตุ๊กตา จ.นครปฐม ในวันที่ ๑๐ พฤษภาคม ๒๕๓๖ ทำให้มีผู้เสียชีวิตจำนวน ๑๘๘ คน ต่อมาในปี ๒๕๔๑ จึงได้งานสัปดาห์ความปลอดภัยในการทำงานแห่งชาติ ในช่วงที่ครอบคลุมความปลอดภัยในการทำงานแห่งชาติ จนถึงปัจจุบัน โดยมักจัดงานในวันที่ ๑๐ - ๑๒ พฤษภาคม

“ ทุกขั้นตอนของการทำงาน ต้องอยู่บนมาตรฐานของความปลอดภัย “
“ ป้องกันก่อนเกิดเหตุ สังเกตก่อนเกิดภัย ตรวจสอบก่อนจะใช้ มั่นใจลงมือทำ “

๑๐ พฤษภาคม ๒๔๘๕

กองทัพพายัพเริ่มเคลื่อนกำลังเข้าสู่สหรัฐไทยเดิม และได้ปฏิบัติภารกิจตามที่ได้รับมอบหมายสำเร็จลุล่วงไปตามลำดับ จนไปถึงชายแดนพม่า – จีน และได้ถอนตัวกลับหลังจากปฏิบัติการอยู่ได้ ๘ เดือน เศษ

๑๑ พฤษภาคม: วันปรีดี พนมยงค์

๑๑ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๓๕๔ (ค.ศ. ๑๘๑๑) –

ฝาแฝดอิน-จัน ต้นกำเนิดของคำเรียกฝาแฝดตัวติดกันว่า แฝดสยาม เกิดที่ จ.สมุทรสงคราม

๑๑ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๔๓ (ค.ศ. ๑๙๐๐) –

วันเกิด ปรีดี พนมยงค์ (ศาสตราจารย์ ดร.ปรีดี พนมยงค์ ท่านได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์ อำมาตย์ตรี เป็น หลวงประดิษฐ์มนูญธรรม รัฐบุรุษอาวุโส) ผู้นำคณะราษฎรในการปฏิวัติสยาม พ.ศ. ๒๔๗๕ นายกรัฐมนตรี และรัฐบุรุษ ผลงานที่สำคัญชองท่านมีดังนี้

๑.การร่างเค้าโครงเศรษฐกิจแห่งชาติเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจของชาติไทย

๒.ได้ก่อตั้งขบวนการเสรีไทยในประเทศ ติดต่อประสานงานกับขบวนการเสรีไทยในประเทศ ติดต่อประสานงานกับขบวนการเสรีไทยภายนอกประเทศ ภายใต้การนำของหม่อมราชวงศ์ เสนีย์ ปราโมช จนกระทั่ง สงครามสิ้นสุดลง ได้รับแต่งตั้งให้เป็น รัฐบุรุษอาวุโส และร่วมกับรัฐบาลหม่อม ราชวงศ์ เสนีย์ ปราโมช

๓.ดำเนินการประกาศว่า การที่รัฐบาลไทย ประกาศสงครามกับอเมริกาและอังกฤษ เป็นโมฆะ

๔.ได้หาทางผ่อนคลาย สัญญาสมบูรณ์แบบ ที่ผูกมัดไทย เนื่องจากผลของการแพ้สงคราม

๑๒ พฤษภาคม : วันพยาบาลสากล, วันสากลแห่งการระวังกลุ่มอาการปวดเมื่อยอ่อนเพลียเรื้อรัง

วันพยาบาลสากล ด้วยวันที่ ๑๒ พฤษภาคม เป็นวันเกิดของมิสฟลอเรนซ์ ไนติงเกล ซึ่งเป็นผู้ก่อกำเนิดวิชาชีพการพยาบาล ซึ่งสภาการพยาบาลระหว่างประเทศ ได้กำหนดให้วันพยาบาลสากล โดยมีเจตจำนงให้พยาบาลทั่วโลกร่วมมือกันจัดกิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์แก่สาธารณชน

ความเป็นมาของวันพยาบาลสากล

สภาพยาบาลระหว่างประเทศ (International Council of Nurses, ICN) ซึ่งเป็นองค์กรวิชาชีพพยาบาล ได้กำหนดให้วันที่ ๑๒ พฤษภาคม ของทุกปี เป็นวันพยาบาลสากล (International Nurses Day) โดยเริ่มครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ.๒๕๑๔ (ค.ศ.๑๙๗๑) ทั้งนี้ วันที่ ๑๒ พฤษภาคม เป็นวันเกิดของมิสฟลอเรนซ์ ไนติงเกล ผู้ก่อกำเนิดวิชาชีพการพยาบาล และเป็นผู้ที่มีอุดมการณ์ ตั้งใจจะบำเพ็ญสาธารณประโยชน์เพื่อมวลมนุษย์อย่างแท้จริง จนได้รับการยกย่องและเป็นที่รู้จักไปทั่วโลก

จุดประสงค์ของการกำหนดวันพยาบาลสากล

วันพยาบาลสากลถูกกำหนดขึ้น เพื่อสดุดีคุณงามความดีของมิสฟลอเรนซ์ ไนติงเกล ที่ทำประโยชน์อย่างมากมายให้แก่มวลมนุษย์ รวมทั้งเพื่อเป็นการยกย่อง ให้เกียรติ และให้คนยึดถือเอาเป็นแบบอย่าง อีกทั้งยังมีจุดมุ่งหมายให้พยาบาลทั่วโลก ร่วมมือจัดกิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์แก่สาธารณชน และกำหนดแนวทางเพื่อให้พยาบาลทั่วโลกรณรงค์แก้ไขปัญหาสุขภาพในแต่ละปี

ประวัติ มิสฟลอเรนซ์ ไนติงเกล

มิสฟลอเรนซ์ ไนติงเกล เป็นชาวอังกฤษ เกิดเมื่อวันที่ ๑๒ พฤษภาคม ค.ศ.๑๘๒๐ ที่เมืองฟลอเรนซ์ ประเทศอิตาลี ครอบครัวของมิสฟลอเรนซ์ ไนติงเกล จัดว่ามีฐานะ จึงทำให้เธอได้รับการศึกษาอย่างดี มิสฟลอเรนซ์ ไนติงเกล มีความตั้งใจที่จะเป็นพยาบาล ดังนั้นเมื่อเธออายุได้ ๒๐ ปี ได้ขอบิดามารดาเรียนพยาบาล แต่ไม่ได้รับการอนุญาต เนื่องจากในสมัยนั้นงานพยาบาลไม่ได้รับการสนับสนุนเท่าที่ควร แต่เธอก็ยังมุ่งมั่นที่จะทำงานเสียสละเพื่อดูแลผู้เจ็บป่วย จนหาโอกาสได้ไปเยี่ยม และดูงานตามโรงพยาบาลต่าง ๆ ในทวีปยุโรป จนสุดท้ายมิสฟลอเรนซ์ ไนติงเกล ก็ได้เข้าศึกษาอบรมวิชาพยาบาลที่ประเทศเยอรมนี ได้ดังใจฝัน

ต่อมาในปี ค.ศ.๑๘๕๗ เกิดสงครามไครเมียขึ้น มิสฟลอเรนซ์ ไนติงเกล ได้อาสาสมัครไปช่วยดูแลทหารที่ได้รับบาดเจ็บจากสงคราม เธอเสียสละทรัพย์สิน และขอเรี่ยไรจัดหาเครื่องเวชภัณฑ์ต่าง ๆ เพื่อช่วยเหลือทหาร อีกทั้งยังได้ออกตระเวนตรวจเยี่ยม เพื่อรักษาและให้กำลังใจทหารแม้ในเวลาค่ำคืน จนได้รับสมญานามว่า “สุภาพสตรีแห่งดวงประทีป” (The lady of the lamp)

ภายหลังสงครามสิ้นสุด มิสฟลอเรนซ์ ไนติงเกล ได้ริเริ่มพัฒนากิจการพยาบาลให้ก้าวหน้า จนในที่สุดได้มีผู้ร่วมกันก่อตั้งกองทุนการศึกษาสำหรับพยาบาล "ไนติงเกล" เพื่อเป็นเกียรติแก่ท่าน จากนั้นมิสฟลอเรนซ์ ไนติงเกล ก็ได้รับการยอมรับให้เป็นผู้จัดระเบียบด้านสุขภาพในกองทัพประเทศอังกฤษ และวางแผนงานด้านสุขาภิบาลในประเทศอินเดีย จนก่อตั้งโรงเรียนพยาบาลที่เป็นต้นแบบของโรงเรียนพยาบาลทั่วโลก นอกจากนี้มิสฟลอเรนซ์ ไนติงเกล ยังได้รับการยกย่องให้เป็นบุคคลสำคัญของโลก ในฐานะผู้บุกเบิกวิชาชีพการพยาบาลอีกด้วย

วันพยาบาลสากลในประเทศไทย

สำหรับในประเทศไทยนั้น สมาคมพยาบาลแห่งประเทศไทย ได้เข้าเป็นองค์กรสมาชิกของสภาพยาบาลระหว่างประเทศ เมื่อ พ.ศ.๒๕๐๔ (ค.ศ.๑๙๖๑) และได้จัดกิจกรรมวันพยาบาลสากลเป็นครั้งแรก เมื่อ พ.ศ.๒๕๒๙ (ค.ศ.๑๙๘๖) โดยรองศาสตราจารย์ ดร.วิเชียร ทวีลาภ นายกสมาคมพยาบาลแห่งประเทศไทยในขณะนั้น ได้ร่วมกับกระทรวงสาธารณสุข และองค์การยูนิเซฟ จัดกิจกรรมวันพยาบาลสากล และในปีต่อ ๆ มาก็มีการจัดกิจกรรมเนื่องในวันพยาบาลสากลมาโดยตลอด โดยมีจุดประสงค์สำคัญ เพื่อสดุดีมิสฟลอเรนซ์ ไนติงเกล บูรพาจารย์แห่งการพยาบาล รำลึกถึงพระคุณของท่าน และประกาศเกียรติคุณ เพื่อให้ประชาชนได้ทราบ อีกทั้งยังเป็นการเผยแพร่บทบาทของพยาบาลต่อสุขภาพของประชาชนให้ทราบเป็นประจำทุกปี

คำขวัญประจำวันพยาบาลสากล.- ทุก ๆ ปี จะมีการตั้งคำขวัญเนื่องในวันพยาบาลสากล ซึ่งคำขวัญของแต่ละปี ได้แก่

พ.ศ.๒๕๒๘ สุขภาพอนามัยสตรี (Nurses and Women Health)

พ.ศ.๒๕๒๙ เสริมสร้างภูมิคุ้มกันโรคแก่เด็กทุกคน (Universal Child Immunization)

พ.ศ.๒๕๓๐ บทบาทของพยาบาลกับการดูแลของผู้ประกอบวิชาชีพ (Occupational Health)

พ.ศ.๒๕๓๑ ช่วยแม่ลูกสุขสันต์ในวันเกิด (Help Her Have a Happy Birth-Day)

พ.ศ.๒๕๓๒ สุขภาพวัยเรียนต้องเพียรส่งเสริม (School Health)

พ.ศ.๒๕๓๓ พยาบาลและสิ่งแวดล้อม (Nurses and the Environment)

พ.ศ.๒๕๓๔ พยาบาลเชิงรุก – เพื่อสุขภาพจิตของปวงประชา (Mental Health and Nursing)

พ.ศ.๒๕๓๕ สุขกาย สุขใจ ในวัยทอง (Health Ageing)

พ.ศ.๒๕๓๖ คุณภาพการพยาบาล และความคุ้มค่า (Quality, Cost and Nursing)

พ.ศ.๒๕๓๗ ครอบครัวสุขสันต์ – วันพยาบาลสากล (Health Families for Healthy Nation)

พ.ศ.๒๕๓๘ พยาบาลเสริมสร้างวิถี – สู่สุขภาพสตรี (Women’ Health: Nurses Pave the Way)

พ.ศ.๒๕๓๙ เพื่อสุขภาพที่ดีกว่า พยาบาลพัฒนางานวิจัย (Better Health Through Nursing Research)

พ.ศ.๒๕๔๐ อนาคตประเทศจะสดใส เยาวชนไทยต้องสุขภาพดี (Healthy Young People = A Brighter Tomorrow)

พ.ศ.๒๕๔๑ สุขภาพชุมชนไทยดี ทุกคนมีส่วนร่วม (Partnership for Community Health)

พ.ศ.๒๕๔๒ อดีตที่ผ่านมาบอกความก้าวหน้าในอนาคต (Celebrating Nursing Past – Claiming the Future)

พ.ศ.๒๕๔๓ เพื่อท่าน…พยาบาลพร้อมดูแล (Nurses – Always There for You)

พ.ศ.๒๕๔๔ พยาบาลพร้อมช่วยท่าน : ร่วมป้องกันความรุนแรง (Nurses, Always There for You : United Against Violence)

พ.ศ.๒๕๔๕ พยาบาลพร้อมช่วยท่าน : ร่วมกันดูแลครอบครัว (Nurses, Always there for you : Caring For Families)

พ.ศ.๒๕๔๖ พยาบาลพร้อมช่วยท่าน : ร่วมต้านมลทินเอดส์ (Nurses : Fighting AIDS Stigma; Caring For All)

พ.ศ.๒๕๔๗ พยาบาลเคียงข้างผู้ยากไร้ รวมน้ำใจต้านความจน (Nurses : Working With The Poor, Against Poverty)

พ.ศ.๒๕๔๘ พยาบาลปกป้องปวงประชา : ห่างไกลยาไร้มาตรฐาน (Nurses for Patient Safety: Targeting Counterfeit and Substandard Medicines)

พ.ศ.๒๕๔๙ พยาบาลปลอดภัย ประชาไทยมีสุข (Safe staffing saves lives)

พ.ศ.๒๕๕๐ สิ่งแวดล้อมปลอดภัย การพยาบาลไทยมีสุข ประชาราษฎร์เป็นสุข (Positive Practice Environments: Quality Workplaces – Quality Patient Care)

พ.ศ.๒๕๕๑ พยาบาลก้าวนำ สร้างสรรค์บริการสุขภาพปฐมภูมิเพิ่มพูนคุณภาพบริการชุมชน (Delivering Quality, Serving Communities: Nurses Leading Primary Health Care)

พ.ศ.๒๕๕๒ พยาบาลก้าวนำ สร้างสรรค์นวัตกรรมการดูแล เพิ่มพูนคุณภาพบริการชุมชน(Delivering Quality, Serving Communities: Nurses Leading Care Innovations)

กิจกรรมในวันพยาบาลสากล.-ในสถานพยาบาล หน่วยงานการแพทย์ที่เกี่ยวข้อง จะร่วมกันจัดกิจกรรมต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการพยาบาล เช่น

๑. จัดกิจกรรมเผยแพร่ความรู้ นิทรรศการเกี่ยวกับสุขภาพ และกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพอื่น ๆ

๒. จัดให้มีการตรวจสุขภาพ และคัดกรองโรค

๓. จัดกิจกรรมรณรงค์ให้มีการดูแลสุขภาพในครอบครัว

๔. จัดประชุมวิชาการเกี่ยวกับการแพทย์ และการพยาบาล

๕. ให้คำปรึกษาด้านการแพทย์พยาบาลแก่ประชาชน

๖. ให้การบริการพยาบาลแก่ประชาชน

๗. จัดกิจกรรมรับบริจาคโลหิต

นอกจากวันพยาบาลสากลจะเป็นวันที่มีความสำคัญต่อผู้ประกอบวิชาชีพพยาบาลทั่วโลกแล้ว สำหรับประชาชนคนทั่วไป ก็ควรต้องรำลึกถึงความสำคัญของวันนี้ และยกย่องมิสฟลอเรนซ์ ไนติงเกล ในฐานะปฐมบูรพาจารย์วิชาการพยาบาลของโลกเช่นกัน

ขอขอบคุณข้อมูลจาก- hiso.or.th

 

วันสากลแห่งการระวังกลุ่มอาการปวดเมื่อยอ่อนเพลียเรื้อรัง ได้มีการกำหนดให้ วันที่ ๑๒ พฤษภาคม ซึ่งเป็นวันเกิดของมิสฟลอเรนซ์ ไนติงเกล เป็นวันสากลแห่งการระหวังกลุ่มอาการปวดเมื่ออ่อนเพลียเรื้อรัง ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๓๔ โดยความริเริ่มของ นายทอม เฮนเนสซี่ ชาวสหรัฐอเมริกา เพื่อให้ผู้ป่วยและผู้ดูแลผู้ป่วยกลุ่มอาการนี้ทั่วโลกได้มีการสื่อสารแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์กันในวันนี้

 

๑๓ พฤษภาคม ๒๔๘๕

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้า ฯ ให้ยกเลิกการใช้ ราชทินนามและบรรดาศักดิ์

๑๔ พฤษภาคม ๒๓๙๔

วันพระบรมราชาภิเษก พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

๑๔ พฤษภาคม ๒๕๐๐

รัฐบาลได้จัดพยุหยาตราทางชลมารค เนื่องในงานฉลอง ๒๕ พุทธศตวรรษ เรียกว่า พุทธพยุหยาตราทางชลมารค นับเป็นการรื้อฟื้นพิธีพยุหยาตราทางชลมารค หลังจากที่ไม่ได้จัดมาเป็นเวลานาน

๑๕ พฤษภาคม ๒๓๙๔ (ค.ศ. ๑๘๕๑)

พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เถลิงถวัลยราชสมบัติ เป็นพระมหากษัตริย์พระองค์ที่ ๔ แห่งราชวงศ์ และแห่งกรุงรัตนโกสินทร์

๑๕ พฤษภาคม วันสากลว่าด้วยครอบครัว / วันครอบครัวสากล

สถาบันครอบครัว

นับวันจะมีปัญหาสลับซับซ้อน และทวีความรุนแรงมากขึ้น ทำให้ความเป็นอันหนึ่งกัน ความรักความสมัครสามานสมัคคี ในอดีตลดน้อยลงอย่างเห็นได้ชัด ปัญหาเศรษกิจ ความแตกแยกขัดแย้ง ปัญหาหย่าร้าง และการใช้ความรุนแรงในครอบครัวทำให้ครอบครัวใหญ่อยู่ร่วมกันอย่างมีสุขตามสถานานุรูป อันเป็นลักษณะของครอบครัวไทยมาแต่โบราณ เสื่อมสลายไป บิดามารดาและบุตรหลานต่างคนต่างอยู่ ต่างฝ่ายต่างดำเนินกิจกรรมเป็นของตนเอง เหตุทั้งปวงนี้ทำให้เกิดปัญหา เด็กเยาวชนและในประเทศไทย ซึ่งหนักหน่วงขึ้นตามลำดับ จนเป็นปัญหาวิกฤตปัญหาหนึ่งของสังคมในปัจจุบัน ซึ่งทุกภาคส่วนของสังคมจะต้องทำความเข้าใจและศึกษาและร่วมกันแก้ไขโดยเร็วที่สุด

เมื่อวันที่ ๒๐ กันยายน พ.ศ. ๒๕๓๖ มัชชาใหญ่องค์การสหประชาชาติประกาศให้ ๑๕ พฤษภาคมของทุกปีเป็นวันครอบครัวสากล เพื่อเรียกร้องให้ทุกภาคส่วนของสังคมตระหนักว่าครอบเป็นหน่วยพื้นฐานของสังคมมีบทบาทสำคัญในการสนับสนุนให้กระบวนการที่พัฒนายั่งยืนประสบความสำเร็จในสังคมทุกระดับ และใช้โอกาสดังกล่าวในระดมความร่วมมือในการสร้างเสริมความอบอุ่นเข้มแข็งและความอยู่ดีมีสุขของสถาบันครอบครัว

สหพันธ์ครอบครัวเพื่อสามัคคีและสันติภาพโลกประเทศไทยซึ่งเป็นองค์พัฒนาเอกชนในเครื่อข่ายของมูลนิธิเพื่อการพัฒนาและสันติ ดำเนินโครงการและกิจการต่าง ๆ เพื่อสร้างเสริมความอบอุ่นเข้มแข็งและความอยู่ดีมีสุขของสถาบันครอบครัว จึงได้ดำเนินโครงการสัมนาวันครอบครัวสากลในเดือนพฤภาคมของทุกปี โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อกระตุ้นให้ทุกภาคส่วนของสังคม อาทิ หน่วยงานภาครัฐ องค์กรพัฒนาเอกชน องค์กรประชาชน และสื่อมวลชนร่วมกันนำเสนอ แลกเปลี่ยนความคิดเห็นประสบการณ์และแสวงหาแนวทางในการประสานและร่วมมือกัน ในการป้องกันแก้ไขปัญหาและพัฒนาสถาบันครอบครัว อันจะนำไปสู่ความสุขความเจริญความยั่งยืนของบุคคล ครอบครัวชุมชน สังคม ประเทศชาติ และต่อโลก

บทความ “ชี้เหตุหย่าร้างทำความสุขลดลง”

วันที่ ๑๔ เมษายนของทุกปี เป็นวันครอบครัวแห่งชาติของไทย แต่ส่วนวันครอบครัวสากล ตรงกับวันที่ ๑๕ พ.ค. ของทุกปี แล้ววันนี้ครอบครัวไทยเป็นอย่างไรบ้าง...

สภาพเศรษฐกิจที่ทำให้ทั้งพ่อแม่ผู้ปกครองตึงเครียด ต้องหาเงินเพื่อเลี้ยงลูก ๆ ให้อยู่สุขสบายที่สุด แต่พ่อแม่กลับต้องหาเงินจนตัวเป็นเกลียว บางครั้งหาเงินจนไม่มีเวลาให้กับลูก และอาจคิดเองว่า เงินคือคำตอบของทุกสิ่ง เงินจะบันดาลความสุขให้กับครอบครัวได้

แท้จริงแล้ว ความหมายที่ว่า เมื่อมีเงินครอบครัวจะมีความสุขนั้น อาจบ่อนทำลายให้สถาบันที่สำคัญที่สุดของสังคมแห่งนี้ ถูกทำลายโดยไม่รู้ตัว เพราะต่างฝ่ายต่างที่จะตั้งหน้าตั้งตาหาเงิน โดยมิได้หวนคิดว่า แม้ไม่มีเงินก็สุขได้เช่นกัน

ความสุขของครอบครัวส่วนหนึ่ง ต้องยอมรับว่าคือการอยู่ด้วยกันพร้อมหน้าพร้อมตา ทำกิจกรรมร่วมกัน จากข้อมูลของกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย พบว่า ในรอบ ๑๐ ปีที่ผ่านมา สังคมไทยมีการหย่าร้างเพิ่มขึ้น ๒ เท่าตัว จากปี ๒๕๓๙ มีการหย่า ๑๓% โดยมีผู้จดทะเบียนสมรส ๔๓๖,๘๓๑ คู่, หย่า ๕๖,๗๑๘ คู่

และจากข้อมูลล่าสุดในปี ๒๕๔๙ มีผู้จดทะเบียนสมรส ๓๔๗,๙๑๓ คู่, หย่า ๙๑,๑๕๕ คู่ คิดเป็น ๒๖% หรือมีการหย่าร้าง ๑ คู่ ทุก ๆ การจดทะเบียน ๕ คู่ โดยเฉลี่ยหย่าร้างกันชั่วโมงละ ๑๐ คู่ ทั้งนี้สภาพครอบครัวไทยจะเป็นครอบครัวเดี่ยวมากขึ้น โดยมีครอบครัวที่พ่อแม่ลูกอยู่ด้วยกันเพียง ๕.๖ ล้านครอบครัว จากครอบครัวไทยที่มีทั้งหมด ๒๐ ล้านครอบครัว

นอกจากนี้ปัญหาเรื่องการหย่าร้างกันแล้ว ยังมีปัจจัยที่ทำให้ความสุขของครอบครัวลดลง คือ คนในบ้านติดยาเสพติด ไม่ว่าจะเป็นเหล้า บุหรี่ การพนัน ทำให้ความสุขในครอบครัวลดลง จนบางคนอยากหนีออกจากบ้าน หรือแม้แต่กระทั่งคิดฆ่าตัวตาย!!!

ในขณะที่ทุกคนในบ้านอยากได้ความรักความอบอุ่นมากที่สุด แต่จากการสำรวจของมูลนิธิเครือข่ายครอบครัวที่สนับสนุนโดยสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ร่วมกับสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ สำรวจ "สุขภาวะครอบครัวปี ๒๕๕๑" พบว่า เพียง ๕% ซึ่งวิธีแสดงความรักกับลูกมากที่สุดคือการกอดหอมแก้ม ส่วนลูกแสดงด้วยการดูแลปรนนิบัติพ่อแม่เมื่อมีเวลา และในวันครอบครัวนี้ ๔๐.๕% จะทำกิจกรรมพิเศษร่วมกัน

จากข้อมูลเพิ่มเติมระบุว่า พฤติกรรมที่ "ไม่" ยอมรับ คือพฤติกรรมชู้สาว นอกใจคู่รัก ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่าความซื่อสัตย์ยังเป็นคุณธรรมหลักสำคัญในสังคมครอบครัวไทย ทั้งนี้มีนักวิชาการเสนอแนะว่า ปัญหาที่เกิดขึ้นภายในบ้าน ๗๐% มาจากพ่อบ้าน ดังนั้นพ่อบ้านจึงควรเปลี่ยนทัศนคติในการใช้ชีวิตอยู่ร่วมกัน ระมัดระวังในด้านอารมณ์และการใช้คำพูด ควรรับฟังเหตุผลซึ่งกันและกัน สำหรับผู้ที่เป็นฝ่ายผิดก็ควรจะกล่าวคำ "ขอโทษ" และสิ่งสำคัญในการแก้ไขทุกปัญหา คือ การให้อภัย

และที่สำคัญควรหากิจกรรมทำร่วมกัน อาจจะทุกวันอาทิตย์ หรือทุกครั้งที่มีโอกาส โดยอาจใช้กิจกรรมทางศาสนา และใช้แนวทางปฏิบัติชีวิตด้วยวัฒนธรรมที่ดีงามและแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงปลูกฝังกล่อมเกลาลูกให้เป็นผู้ใหญ่ที่ดีในอนาคต เพราะการสร้างความอบอุ่นในครอบครัวนั้นไม่จำเป็นต้องใช้เงินตรา แต่ต้องใช้ความสัมพันธ์ ความเข้าใจ รวมถึงการพูดคุยกันภายในครอบครัว ซึ่งจะเป็นสิ่งที่นำไปสู่ความใกล้ชิดผูกพัน ลดความขัดแย้งและความรุนแรงในครอบครัวได้

เรื่องโดย : สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)

ที่มา : หนังสือพิมพ์บ้านเมือง

๑๖ พฤษภาคม ๒๑๔๘ สมเด็จพระนเรศวรมหาราช เสด็จสวรรคต ที่เมืองหาง ซึ่งเป็นเมืองอยู่ชายพระราชอาณาเขต พระชนมายุ ๕๐ พรรษา เสวยราชสมบัติได้ ๑๕ ปี

“จอมคน ยอดนักรบ แห่งแผ่นดิน พระมหากษัตริย์ผู้ทรงทุ่มเทชีวิตเป็นเดิมพัน ในการกอบกู้เอกราชให้แผ่นดิน "สงครามยุทธหัตถี" เดิมพันอันยิ่งใหญ่ หมายถึงชีวิต หมายถึงแผ่นดิน ที่พระองค์ไม่อาจปราชัย พระราชประวัติของพระองค์ สมควรค่ายิ่งแก่การเทิดพระเกียรติ”

พระราชประวัติโดยย่อ

สมเด็จพระนเรศวรมหาราชหรือที่ชาวบ้านทั่วไปในครั้งนั้นเรียกว่า "พระองค์ดำ" สมเด็จพระนเรศวรทรงพระราชสมภพที่พระราชวังจันทน์ เมืองพิษณุโลก เมื่อปีเถาะ พ.ศ. ๒๐๙๘ ในรัชสมัยของสมเด็จพระจักรพรรดิแห่งกรุงศรีอยุธยา ทรงเป็นราชโอรสในสมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราช ราชวงศ์สุโขทัย และสมเด็จพระวิสุทธิกษัตรีย์ พระราชนนี ราชวงศ์สุวรรณภูมิทรงมีพระเชษฐภคินี และสมเด็จพระอนุชา คือ พระสุพรรณกัลยาณี และสมเด็จพระเอกาทศรถ ตามลำดับ

เมื่อสมเด็จพระนเรศวรมีพระชนมายุ ๕๐ พรรษาทรงประชวรเป็นหัวละลอกขึ้นที่แสกพระพักตร์ ขณะเสด็จไปตีกรุงอังวะและประทับแรมอยู่ที่ตำบลทุ่งแก้ว แขวงเมืองหาง และเสด็จสวรรคตเมื่อวันจันทร์ ขึ้น ๘ ค่ำ เดือน ๖ ปี มะเส็ง พ.ศ.๒๑๔๘

พระราชกรณียกิจและเหตุการณ์สำคัญ

พ.ศ.๒๑๐๗ พระชนมายุ ๙ พรรษา สมเด็จพระเจ้าตะเบงชะเวตี้ พม่ายกมาตีกรุงศรีอยุธยา ทรงถูกนำไปเป็นตัวประกัน ณ กรุงหงสาวดี ประทับ ๖ ปี

พ.ศ.๒๑๑๓ พระชนมายุ ๑๕ พรรษา เสด็จฯ กลับจากกรุงหงสาวดี

พ.ศ.๒๑๑๔ พระชนมายุ ๑๖ พรรษา เสด็จขึ้นไปครองเมืองพิษณุโลก มีอำนาจบัญชาการหัวเมืองฝ่ายเหนือทั้งปวง

พ.ศ.๒๑๑๗ พระชนมายุ ๑๙ พรรษา ทรงยกทัพไปพร้อมกับสมเด็จพระราชบิดา เพื่อสมทบกับทัพหลวงตีเมืองเวียงจันทน์

พ.ศ.๒๑๒๑ พระชนมายุ ๒๓ พรรษา ทรงเรือพระที่นั่งไล่กวดจับพระยาจีนจันตุที่ลงเรือหนีไปปากแม่น้ำเจ้าพระยา ในการสู้รบครั้งนั้น พระองค์ทรงแสดงความกล้าหาญอย่างยอดเยี่ยม

พ.ศ.๒๑๒๒ พระชนมายุ ๒๔ พรรษา ทรงเป็นแม่ทัพต่อสู้กับพระทศราชาซึ่งคุมกองทัพเขมรเข้ามาตีโคราชและหัวเมืองชั้นใน และทรงได้รับชัยชนะทั้งที่ทรงมีกำลังทหารน้อยกว่า

พ.ศ.๒๑๒๔ พระชนมายุ ๒๖ พรรษา พระเจ้ากรุงหงสาวดีสวรรคตได้เสด็จฯ ไปกรุงหงสาวดีในพิธีบรมราชาภิเษกกษัตริย์ องค์ใหม่แทนพระราชบิดา

พ.ศ.๒๑๒๖ พระชนมายุ ๒๘ พรรษา ได้เป็นแม่ทัพยกไปช่วยเมืองหงสาวดีไปตีเมืองลุม เมืองคัง ในรัฐไทยใหญ่ ตามคำสั่งของพม่า

พ.ศ.๒๑๒๗ พระชนมายุ ๒๙ พรรษา ทรงประกาศอิสรภาพของไทย ณ เมืองแครง พระเจ้ากรุงหงสาวดีให้สุระกำมายกกองทัพตามมาไล่จับสมเด็จพระนเรศวร พระองค์ทรงยิงปืนข้ามแม่น้ำสะโตงถูกสุระกำมา แม่ทัพพม่าตายและทรงได้รับมอบอำนาจให้บัญชาการบ้านเมืองสิทธิ์ขาดแต่ผู้เดียว

สงครามไทยกับพม่า พระยาพะสิมยกกำลัง ๑๓๐,๐๐๐ คนมาทางเมืองสุพรรณบุรี พระเจ้าเชียงใหม่มาทางเหนือตีพม่าแตกกลับไป

พ.ศ.๒๑๒๘ สงครามไทยกับพม่า ทรงสู้รบกับพระเจ้าเชียงใหม่ที่บ้านสระเกศ พม่า ๑๕๐,๐๐๐ คน ไทย ๘๐,๐๐๐ คน ไทยตีทัพพม่าแตกกลับไป

พ.ศ.๒๑๒๙ สงครามไทยกับพม่า พระเจ้าหงสาวดียกกำลังทหาร ๒๕๐,๐๐๐ คน มาล้อมกรุงอยู่ ๖ เดือน ไทยมีกำลัง ๘๐,๐๐๐ คน ตีขับไล่พม่าจนต้องถอยทัพกลับไป ไม่สามารถเข้าถึงกำแพงพระนครได้

พ.ศ.๒๑๓๓ พระชนมายุ ๓๕ พรรษา -สมเด็จพระมหาธรรมราชาพระราชบิดาสวรรคต พระองค์เสด็จเถลิงถวัลย์ราชสมบัติเมื่อวันที่ ๒๙ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๑๓๓ ทรงสถาปนาพระเอกาทศรถ เป็นพระมหาอุปราชา และมีพระเกียรติยศสูงเสมอพระเจ้าแผ่นดินอีกพระองค์หนึ่ง

-สงครามไทยกับพม่า พระมหาอุปราชายกมาครั้งแรกที่สุพรรณบุรี พม่า ๓๐๐,๐๐๐ คน ไทยมีกำลัง ๘๐,๐๐๐ คน ตีพม่าแตกพ่ายไป จับพระยาพะสิมแม่ทับพม่าที่จระเข้สามพันธุ์

พ.ศ.๒๑๓๕ พระชนมายุ ๓๗ พรรษา สงครามยุทธหัตถี พม่า ๒๔๐,๐๐๐ คน ไทย ๑๐๐,๐๐๐ คน รบกันที่เมืองสุพรรณบุรี ทรงมีชัยชนะฟันพระมหาอุปราชามังกะยอชวาแห่งกรุงหงสาวดี ด้วยพระแสงของ้าวสิ้นพระชนม์ เมื่อวันจันทร์ที่ ๒๕ มกราคม พ.ศ. ๒๑๓๕

สงครามเมืองทะวาย ตะนาวศรี ไทย ๑๐๐,๐๐๐ คน ตีได้เมือง

พ.ศ.๒๑๓๖ สงครามเมืองเขมร ไทย ๑๓๐,๐๐๐ คน เขมร ๗๕,๐๐๐ คน ไทยตีได้เมืองเขมร

พ.ศ.๒๑๓๗ สมครามไทยกับพม่า ไทยตีได้หัวเมืองมอญ

พ.ศ.๒๑๓๘ สงครามไทยกับพม่า ยกทัพไปตีเมืองหงสาวดีครั้งที่ ๑ ไม่สำเร็จ ไทยมีกำลัง ๑๒๐,๐๐๐ คน

พ.ศ.๒๑๔๒ สงครามไทยกับพม่า ยกทัพไปตีเมืองหงสาวดีได้สำเร็จ ไทย ๑๐๐,๐๐๐ คน แล้วไปล้อมเมืองตองอูอยู่ ๒ เดือน เสบียงอาหารหมดต้องยกทัพกลับ

พ.ศ.๒๑๔๖ สงครามเมืองเขมร ได้เมือง

พ.ศ.๒๑๔๗ สงครามครั้งสุดท้ายของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ยกทัพไปตีกรุงอังวะ ไทย จำนวน ๒๐๐,๐๐ คน แต่ทรงประชวร และเสด็จสวรรคตเสียก่อน

สงครามยุทธหัตถี

สมเด็จพระนเรศวรทรงก้าวขึ้นครองราชบัลลังค์ได้เพียงไม่นาน ๔ เดือนเท่านั้น ก็เผชิญศึกใหญ่ พม่ายกเข้ามารุกรานอีก ในช่วงที่ผลัดแผ่นดินใหม่ ด้วยความเข้าใจว่าอาจเกิดความยุ่งยากขึ้นมาตามธรรมเนียมของบ้านเมือง พม่าได้ยกไพร่พลมาครั้งนี้เป็นทัพใหญ่มีไพร่พลถึง ๓ แสน จัดเป็น ๒ ทัพ มุ่งเข้ามาทางด่านพระเจดีย์ สามองค์ เพื่อเข้าตีกรุงศรีอยุธยาอย่างเร็วพลันไม่ให้ตั้งตัวได้

สมเด็จพระนเรศวรทรงปรับกระบวนวิธีการรบใหม่ทันที โดยทรงใช้วิธียาตราทัพไปซุ่มรับอยู่ที่สุพรรณบุรี แล้วส่งกองทัพน้อยไปเมืองกาญจนบุรีทำทีเหมือนจะไปรักษาเมือง พม่าหลงกลรุกไล่กองทัพน้อยของไทย ซึ่งถอยหนีหลอกล่อมาทางที่ทัพหลวงซุ่มอยู่ พอได้จังหวะ ก็พร้อมกันออกตะลุมบอน ตีพม่าแตกยับถูกทหารไทยฆ่าฟันล้มตายนับไม่ถ้วน ส่วนแม่ทัพคือ พระมหาอุปราชาทรงหนีรอดเงื้อมือไปได้

นับเป็นชัยชนะศึกใหญ่ต้อนรับการขึ้นสู่ราชบังลังค์ของสมเด็จพระนเรศวรซึ่งเป็นพระมหากษัตริย์องค์ใหม่ของชาวไทย ที่ทำให้ขวัญของชาวไทยในเวลานั้นพลันฮึกเหิมขึ้นมาอย่างน่าประหลาด ซึ่งทำให้พระเกียรติคุณของสมเด็จพระนเรศวรเกริกไกรกึกก้องขจรขจาย ไปทั่วทุกทิศานุทิศ ทำให้ไทยก้าวขึ้นสู่ความเป็นมหาอำนาจที่ยิ่งใหญ่ที่สุด ในย่านคาบสมุทรอินโดจีนแหลมทองของไทยนับ แต่บัดนั้นเป็นต้นมา

โดยการทำสงครามยุทธหัตถีในครั้งนั้น เกิดขึ้นเมื่อ วันจันทร์ แรม ๒ ค่ำ เดือนยี่ จุลศักราช ๙๔๕ ( พ.ศ. ๒๑๓๕) ก่อนที่จะได้ทำสงครามยุทธหัตถี สมเด็จพระนเรศวรทรงพระสุบินว่าได้ต่อสู้กับจระเข้ใหญ่

๑๖ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ (ค.ศ. ๑๙๓๘)

โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา เปิดอย่างเป็นทางการ นักเรียนเริ่มเรียนวันแรกในวันที่ ๑๙ พฤษภาคม ๒๔๘๑

๑๗ พฤษภาคม วันโทรคมนาคมโลก, วันรำลึกวีรชนพฤษภา ๓๕ พฤษภาประชาธรรม

วันโทรคมนาคมโลก

เมื่อวันที่ ๑๗ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๐๘ ได้มีการลงนาม ในธรรมนูญโทรเลขระหว่างประเทศและเป็น วันที่ “ก่อกำเนิด” สหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ หรือ ภาษาอังกฤษเรียกว่า International Telecommunication Union หรือ ITU ซึ่งปัจจุบันมีสมาชิกทั่วโลกจำนวน ๑๙๑ ประเทศ ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๕๑๖ ได้มีการประกาศให้วันที่ ๑๗ พฤษภาคม ของทุกปีเป็นวันโทรคมนาคมโลก (World Telecommunication and Day)

“ในการประชุม World Summit ที่กรุงตูนิส ประเทศตูนีเซีย เมื่อเดือนเมษายน พ.ศ. ๒๕๔๘ ได้ประกาศให้วัน ที่ ๑๗ พฤษภาคม เป็นวันสังคมสารสนเทศโลก “World Information Society Day” และในเดือนมีนาคม พ.ศ. ๒๕๔๙ ที่ประชุมใหญ่องค์การสหประชาชาติได้มีมติให้ความเห็นชอบ

ในการประชุมใหญ่ผู้มีอำนาจเต็มของสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ (ITU Plenipotentiary Conference) ที่เมือง Antalya ประเทศตุรกีเมื่อเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๙ ที่ประชุมให้ความเห็นชอบในการประกาศ ให้วันที่ ๑๗ พฤษภาคม เป็นวันโทรคมนาคมและสังคมสารสนเทศโลก (World Telecommunication and Information Society Day)”

ในฐานะที่ ITU เป็นองค์กรผู้นำด้าน ICT ขององค์การสหประชาชาติ ITUได้เน้นให้ประเทศ สมาชิกกระตุ้นให้เห็นบทบาทของ ICT ในการขจัดความยากจนและสร้างโอกาสในการพัฒนาอย่างยั่งยืน ในปี พ.ศ. ๒๕๕๑ นี้ สภาบริหารของ ITU ได้ประกาศหัวข้อของงานวันโทรคมนาคมและสังคมสารสนเทศโลกว่า “Connecting Persons with Disabilities: ICT Opportunities for All” หรือ การติดต่อสื่อสารกับคนพิการ : โอกาสของ ICT สำหรับ ทุกคน

ทั้งนี้ เพื่อเน้นให้เห็นถึงความต้องการพิเศษของคนพิการในการเข้าถึง ICT โดยในปีนี้ ITU ได้จัดงานเฉลิม ฉลองวันโทรคมนาคมและสังคมสารสนเทศโลก ขึ้น ณ. กรุงไคโร ประเทศอียิปต์ ในวันที่ ๑๕ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๑ ระหว่างงาน ITU TELECOM AFRICA (๑๒-๑๕ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๑)

ในส่วนขององค์การโทรคมนาคมแห่งเอเซียและแปซิฟิก (APT) ได้มีบทบาทในงานวัน โทรคมนาคมและสังคมสารสนเทศโลก โดยกระตุ้นให้สมาชิกของ APT จำนวน ๓๔ ประเทศ ดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อเฉลิมฉลองวันดังกล่าว เท่าที่ทราบข้อมูลมามีคือ

ในประเทศอินเดีย สมาคมผู้ผลิตอุปกรณ์โทรคมนาคมของอินเดีย (Telecom Equipment Manufacturers Association of India หรือ TEMA) ได้จัดงานเฉลิมฉลองวันโทรคมนาคมและสังคมสารสนเทศโลกขึ้นในวันที่ ๑๖ พฤษภาคม ๒๕๕๑ โดยจะมีการแจกรางวัลแบ่งเป็น ๓ ประเภท ดังนี้

บริษัทโทรคมนาคมแห่งปี ที่ได้อุทิศการพัฒนาตลอดจนสร้างสิ่งอำนวยความสะดวกและเป็นประโยชน์แก่ คนพิการ, รางวัล “ผู้อุทิศยอดเยี่ยมแก่คนพิการ” ในสาขาการให้บริการด้านโทรคมนาคมแก่บริษัทโทรคมนาคม BSNL, MTNL ซึ่งรางวัลนี้จะมีเงินรางวัล ๑๑,๐๐๐ รูปี ถ้วยเกียรติยศและประกาศนียบัตรชมเชย และรางวัล“ผู้อุทิศยอด เยี่ยมแก่คนพิการ” ในสาขาผู้ผลิตอุปกรณ์ทางโทรคมนาคม ซึ่งรางวัลนี้จะมีเงินรางวัล ๑๑,๐๐๐ รูปี ถ้วยเกียรติยศและ ประกาศนียบัตรชมเชย โดย TEMA ได้เชิญ Mr. A. Raja รัฐมนตรีว่าการกระทรวง ICT มาเป็นผู้แจกรางวัลดังกล่าว

และแล้ว วันที่ ๑ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๑ ประเทศไทยโดยบริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด มหาชน ได้ประกาศหยุดการรับส่งบริการโทรเลขหลังจากที่ได้เปิดให้บริการมาเป็นเวลา ๑๓๓ ปี (เริ่มตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๔๑๘)เรื่องราวเกี่ยวกับกิจการโทรเลขนี้

สดุดีวีรชนเดือนพฤษภา : รำลึก ราชดำเนินเลือด!

พฤษภาทมิฬ:

ทหารและประชาชนผู้ชุมนุมเรียกร้องประชาธิปไตย เริ่มปะทะกันอย่างรุนแรงบริเวณสะพานผ่านฟ้าฯ และรัฐบาลได้ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน เมื่อเข้าสู่วันที่ ๑๘ พฤษภาคม ๒๕๓๕ และ พลตรี จำลอง ศรีเมือง ผู้นำการประท้วง ถูกจับกุม ฝ่ายทหารเริ่มแผนไพรีพินาศ ใช้อาวุธกราดยิงประชาชนเพื่อสลายผู้ชุมนุมทั่วถนนราชดำเนิน

จนกระทั่งถึง วันที่ ๒๐ พฤษภาคม ๒๕๓๕ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ พลเอกสุจินดา คราประยูร และพลตรีจำลอง ศรีเมือง เข้าเฝ้าฯ รับพระราชดำรัส ซึ่งนำไปสู่การลาออกจากตำแหน่งของ พลเอกสุจินดา คราประยูร ในวันที่ ๒๔ พ.ค.๒๕๓๕

พระบรมราโชวาท พ.ค.๓๕

เมื่อปี ๒๕๓๕ เกิดเหตุการณ์ "พฤษภาทมิฬ" พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชดำรัสพระราชทานแก่ พล.อ.สุจินดา คราประยูร และ พล.ต.จำลอง ศรีเมือง เมื่อวันที่ ๒๐ พฤษภาคม ๒๕๓๕ ตอนหนึ่งว่า

"ประเทศของเรา ไม่ใช่ประเทศของหนึ่งคน สองคน เป็นประเทศของทุกคน ต้องเข้าหากัน ไม่เผชิญหน้ากัน แก้ปัญหา เพราะว่าอันตรายมีอยู่ เวลาคนเราเกิดความบ้าเลือด ปฏิบัติการรุนแรงต่อกัน มันลืมตัว ลงท้ายก็ไม่รู้ว่าตีกัน เพราะอะไร แล้วก็จะแก้ปัญหาอะไร เพียงแต่ว่า จะต้องเอาชนะ แล้วก็ใครจะชนะ ไม่มีทางชนะ อันตรายทั้งนั้น มีแต่แพ้ คือ ต่างคนต่างแพ้ ผู้ที่เผชิญหน้าก็แพ้ แล้วก็ที่แพ้ที่สุดก็คือ ประเทศชาติ ประชาชน จะเป็นประชาชนทั้งประเทศ ไม่ใช่ประชาชนเฉพาะในกรุงเทพมหานคร ถ้าสมมุติว่า กรุงเทพมหานครเสียหาย ประเทศก็เสียหายไปทั้งหมด แล้วก็จะมีประโยชน์อะไร ที่จะทนงตัวว่าชนะเวลาอยู่บนกองสิ่งปรักหักพัง"

งานรำลึก "พฤษภาประชาธรรม"

เพื่อรำลึกและเชิดชูคุณงามความดีของวีรชนผู้เสียสละในเหตุการณ์พฤษภาคม ๒๕๓๕ ทั้งนี้ การจัดงานในปีนี้ถือเป็นปีครบรอบปี เหตุการณ์พฤษภาคม ๒๕๓๕ มีการวางพวงมาลาแด่วีรชนพฤษภา รู้สึกภาคภูมิใจและเชื่อมั่นว่าแผ่นดินไทยยังคงมีผู้กล้าและพร้อมเสียสละร่างกายและจิตใจเพื่อปกป้องประชาธิปไตยของประเทศ ที่มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข แม้ว่าเหตุการณ์พฤษภาทมิฬที่เกิดขึ้น คนส่วนใหญ่จะคิดว่าน่าจะเป็นเหตุการณ์นองเลือดครั้งสุดท้ายของประเทศ แม้จะผ่านมาหลายปีแล้วก็ตาม แต่บ้านเมืองก็ยังคงถูกกระทำให้ต้องตกอยู่ใต้คมหอกคำดาบและปลายกระบอกปืนอีกครั้ง ดังนั้น จึงขออภัยต่อดวงวิญญาณผู้เสียชีวิตในเหตุการณ์พฤษภาทมิฬและทุกเหตุการณ์ในประวัติศาสตร์

เหตุการณ์เดือนพฤษภาคม ๒๕๓๕ ถือเป็นเหตุการณ์สำคัญที่ทำให้เราได้เห็นความกล้าหาญ ความเสียสละของคนไทยที่ออกมาต่อสู้เรียกร้องประชาธิปไตย และความเสมอภาค หากจะย้อนกลับไปจะเห็นว่ารัฐบาลในปี ๒๕๓๕ เป็นรัฐบาลที่ชอบธรรมโดยรัฐธรรมนูญ แต่มีความชอบธรรมบางอย่างที่อยู่เหนือรัฐธรรมนูญ ที่จะต้องค้นหาตามระบบประชาธิปไตย

ดังนั้น ความสามัคคีจะต้องอยู่บนความถูกต้อง และถ้าทุกฝ่ายยึดถือความถูกต้องไม่เพียงแต่ความชอบด้วยกฎหมาย แต่จะต้องชอบธรรมและถูกต้อง ก็จะเป็นการสานต่ออุดมการณ์ในการต่อสู้ เพื่อประชาธิปไตยของวีรชนเดือนพฤษภาคม ๒๕๓๕ ถ้าทุกฝ่ายยึดความชอบธรรมและความถูกต้อง เหตุการณ์อันน่าเศร้าและเจ็บปวดเช่นนี้ก็คงไม่เกิดขึ้นอีก อย่างไรก็ตาม ขอให้นำความชอบธรรมนำหน้าประชาธิปไตย จะเป็นวิธีสานต่ออุดมการณ์ของผู้เสียชีวิตจากเหตุการณ์พฤษภาคม ๒๕๓๕ ได้ดีที่สุด

รัฐบาลได้มีมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๓๐ ธันวาคม ๒๕๔๖ ในเรื่องการช่วยเหลือผู้ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ โดยการสนับสนุนให้มีการสร้าง “อนุสรณ์สถานพฤษภาประชาธรรม ๒๕๓๕” โดยจัดสร้างเป็นจุดหมายตา ออกแบบให้เป็นที่ตั้งของเจดีย์สันติพร ที่เป็นสัญลักษณ์เพื่อการสดุดี แก่เหล่าวีรชนผู้เสียชีวิตในเหตุการณ์พฤษภาคม ๒๕๓๕ เพื่อให้ประชาชนผู้รักประชาธิปไตยทั้งหลายร่วมกันรำลึกและสืบทอดเจตนารมณ์ของการต่อสู้เดือนพฤษภาคม ๒๕๓๕ โดยการพิทักษ์รักษาระบอบประชาธิปไตยที่ได้มาด้วยเลือดเนื้อของวีรชนในอดีตที่ผ่านมา

ต่อมามีการจัดงาน “พฤษภาประชาธรรม” จัดพิธีไว้อาลัย สดุดีวีรชนเดือนพฤษภาคม ๒๕๓๕ และสร้างอนุสรณ์สถานพฤษภาประชาธรรม เพื่อเป็นการร่วมรำลึกเชิดชูคุณงามความดีของวีรชนผู้เสียสละ ที่มีส่วนทำให้ประชาธิปไตยเมืองไทยได้พัฒนาไป และเป็นที่ยอมรับของประชาคมโลกสืบไป

เหตุการณ์ลักษณะนี้ไม่ว่าจะเป็น ๑๔ ตุลา, ๙ ตุลา, ๑๖ ตุลา, พฤษภาทมิฬ และ ๗ ตุลาคม ๒๕๕๑ ซึ่งทุก ๆ ครั้ง มันล้วนแล้วแต่มีความเศร้า เจ็บปวด และเสียใจ บาดแผลเป็นที่เคยถูกยิง เชือดเฉือน ทิ่มตำ กระทืบ และทารุณกรรม ถึงแม้ว่าบาดแผลนั้นจะหายไปนานแล้ว แต่ทุกครั้งที่เรามองมัน เราก็ยังจำความรู้สึกเจ็บปวดครั้งนั้นได้อย่างชัดเจน จึงอยากให้ชาวไทยเรา ร่วมกันป้องกันไม่ให้เหตุการณ์เช่นนั้นเกิดขึ้นมาอีกครั้งเลย

ด้วยจิตคารวะดวงวิญญาณวีรชนประชาธิปไตย

บทกวีชื่อ "ท้องฟ้าสีทอง"

ไม่มีอำนาจใดในโลกหล้า ผู้ปกครองต่างมาแล้วสาบสูญ

ไม่มีใครล้ำเลิศน่าเทิดทูน ประชาชนสมบูรณ์นิรันดร์ไป

เมื่อยืนหยัดต่อสู้ผู้กดขี่ ประชาชนย่อมมีชีวิตใหม่

เมื่อท้องฟ้าสีทองผ่องอำไพ ประชาชนย่อมเป็นใหญ่ในแผ่นดิน.

บทกวีนี้ชื่อ "ท้องฟ้าสีทอง" ประพันธ์โดย วิสา คันทัพ พ.ศ. ๒๕๑๗

 

เพลงราชดำเนิน*

โอ้ราชดำเนิน ถนนแห่งวีรชน สวรรค์เบื้องบน รู้ดีเราสู้เพื่อใคร

เพื่อประชาชน เพื่อชาติประชาธิปไตย แผ่นดินอยู่รอดปลอดภัย เพราะเราคนไทยไม่เห็นแก่ตัว

โอ้ราชดำเนิน ทอดยาวเรื่องราวต่อสู้ ทุกคนได้รู้ ยามสู้คนไทยไม่กลัว

ไตรรงค์สบัด โบกพัดในคืนสลัว แม้ปืนเจ้ายิงถี่รัว ระงมไปทั่วท้องราชดำเนิน

ดำเนิน ก้าวเดินต่อไปข้างหน้า แด่มวลประชา ผู้กล้าท้าเผด็จการ

ราชเป็นชาติพลี ชีพนี้ชั่วกาลนาน อยู่กับลูกกับหลาน อยู่กลางใจพานประชาธิปไตย

ดำเนิน ก้าวเดินต่อไปข้างหน้า แด่มวลประชาผู้กล้าท้าเผด็จการ

ราชเป็นชาติพลี ชีพนี้ชั่วกาลนาน อยู่กับลูกกับหลานอยู่กลางใจพาน ณ ราชดำเนิน...

*คำร้อง : แอ๊ด ยืนยง โอภากุล ศิลปินวงคาราบาว

๑๗ พฤษภาคม ๒๔๑๙ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จก่อพระฤกษ์พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท

พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท

คือหนึ่งในพระที่นั่งที่สำคัญในพระบรมมหาราชวัง เป็นพระที่นั่งที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นเพื่อเป็นท้องพระโรง ใน พ.ศ. ๒๔๑๘ ภายหลังเสด็จประพาสสิงคโปร์และชวา โปรดเกล้าฯ ให้จ้างนายยอน คลูนิช ชาวอังกฤษ สถาปนิกจากสิงคโปร์ เป็นนายช่างหลวงออกแบบพระที่นั่ง นายเฮนรี คลูนิช โรส เป็นนายช่างผู้ช่วย โดยมีเจ้าพระยาภาณุวงศ์มหาโกษาธิบดี (ท้วม บุนนาค) เป็นแม่กอง พระยาเวียงในนฤบาลเป็นผู้กำกับดูแลการทุกอย่าง และพระประดิษฐการภักดีเป็นผู้ตรวจกำกับบัญชีและของทั้งปวง พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงประกอบพิธีวางศิลาฤกษ์เมื่อวันที่ ๗ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๑๙

เดิมมีพระที่นั่งต่าง ๆ เรียงต่อเนื่องกันรวม ๑๑ องค์ ปัจจุบันเหลืออยู่เพียง ๓ องค์ คือ พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท และ พระที่นั่งมูลสถานบรมอาสน์ กับ พระที่นั่งสมมติเทวราชอุปบัติ ซึ่งพระที่นั่งทั้ง ๒ องค์ที่กล่าวถึงนั้นได้รื้อลงแล้วสร้างใหม่ในรัชกาลปัจจุบัน ทั้งนี้ ในพ.ศ. ๒๕๔๒ ได้มีโครงการสร้างพระที่นั่งจักรีมหาปราสาทส่วนต่อเติมในพื้นด้านหลัง เพื่อใช้ในการพระราชทานเลี้ยงต้อนรับพระราชอาคันตุกะ แล้วเสร็จในเดือนมิถุนายน ๒๕๔๙

เริ่มแรกนั้นพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระที่นั่งองค์ใหม่เป็นแบบตะวันตก แต่สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) กราบบังคมทูลขอให้ทำเป็นปราสาท จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เปลี่ยนทรงหลังคาเป็นหลังคายอดปราสาท ๓ ยอดเรียงกันตามสถาปัตยกรรมไทย และเสด็จยกยอดปราสาทใน พ.ศ.๒๔๒๑ มีการเฉลิมพระราชมนเฑียรใน พ.ศ. ๒๕๒๕ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามว่า พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท

พระที่นั่งองค์นี้ชั้นบนสุด เป็นที่ประดิษฐานพระบรมอัฐิของพระมหากษัตริย์และพระมเหสีตั้งแต่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นต้นมา เป็นที่เสด็จฯออกให้คณะทูตานุทูต ข้าราชการชั้นสูงเข้าเฝ้า หรือรับรองแขกผู้มีเกียรติ ภายในพระที่นั่งเป็นที่ประดิษฐาน พระที่นั่งพุดตานถม ซึ่งเป็นพระราชอาสน์ราชบัลลังก์ประจำพระที่นั่งจักรีมหาปราสาท องค์พระที่นั่งทำด้วยไม้หุ้มเงินถมลงยาทาทองซึ่งเรียกว่า ถมตะทอง นับได้ว่าเป็นเครื่องถมทองชิ้นใหญ่ที่สุดในประเทศไทย

โคมไฟแชนเดอเลียร์ขนาดใหญ่ภายในพระที่นั่งนั้น ที่จริงแล้วมิใช่สั่งมาโดยตรง สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) ได้สั่งมาที่บ้านของตนเอง แต่ปรากฏว่าโคมนั้นมีขนาดใหญ่เกินไป ท่านจึงนำมาถวายแด่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

พระที่นั่งจักรีมหาปราสาทยังเป็นสถานที่แห่งแรกในประเทศไทยที่มีการใช้ไฟฟ้าเป็นครั้งแรกอีกด้วย ด้วยเหตุที่ว่ากรมพระยาเทวะวงศ์วโรปการ ได้ทอดพระเนตรเห็นแสงไฟฟ้านั้นที่ประเทศทางตะวันตก และมีพระราชประสงค์ที่จะมาใช้ในประเทศไทย

พระราชมณเฑียรสถานหมู่พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท

สมัยเมื่อกรุงเทพฯ ยังเป็นจังหวัดพระนครอยู่นั้น กรมศิลปากรได้กำหนดให้ใช้รูปพระที่นั่งจักรีมหาปราสาท เป็นตราประจำจังหวัดพระราชมณเฑียรสถานหมู่พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท เป็นพระราชมณเฑียรหมู่ใหญ่ อยู่ตรงกลางระหว่างพระที่นั่งในหมู่พระมหามณเฑียร และพระที่นั่งในหมู่พระมหาปราสาท สร้างขึ้นในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เดิมมี ๑๑ องค์ คือ

๑.พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท

๒.พระที่นั่งมูลสถานบรมอาสน์ เป็นพระที่นั่งที่สร้างต่อเนื่องกับท้องพระโรงกลางพระที่นั่งจักรีมหาปราสาท ด้านตะวันออก ใช้เป็นห้องสำหรับพระราชทานเลี้ยง

๓.พระที่นั่งสมมติเทวราชอุปบัติ เป็นพระที่นั่งที่สร้างต่อเนื่องกับท้องพระโรงกลางพระที่นั่งจักรีมหาปราสาท ด้านตะวันออก เดิมใช้เป็นที่เสด็จออกขุนนาง และประชุมร่วมกับคณะที่ปรึกษาราชการแผ่นดิน และเป็นสถานที่ทรงประกาศพระบรมราชโองการการเลิกทาส พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำริให้สร้างพระที่นั่งนี้ ตรงบริเวณที่เป็นพระตำหนักชั้นเดียวที่ทรงเสด็จพระราชสมภพ

๔.พระที่นั่งดำรงสวัสดิ์อนัญวงศ์ เป็นพระที่นั่งที่สร้างต่อเนื่องกับพระที่นั่งสมมติเทวราชอุปบัติ ด้านตะวันตก ใช้เป็นห้องเครื่องลายคราม มีชื่อเรียกขานว่า "ห้องผักกาด"

๕.พระที่นั่งนิพัทธพงศ์ถาวรวิจิตร เป็นพระที่นั่งที่สร้างต่อเนื่องกับพระที่นั่งมูลสถานบรมอาสน์ ด้านตะวันออกเป็นห้องพระภูษา

๖.พระที่นั่งบรมราชสถิตยมโหฬาร เป็นพระราชมณเฑียรที่ประทับของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว อยู่ทางทิศใต้ของพระที่นั่งมูลสถานบรมอาสน์ และพระที่นั่งสมมติเทวราชอุปบัติ บางครั้งใช้เป็นสถานที่รับรองแขก (ปัจจุบันได้มีการก่อสร้างใหม่ในสถานที่เดิม)

๗.พระที่นั่งอมรพิมานมณี เป็นพระวิมานที่บรรทมของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ต่อจากพระเฉลียงด้านหลังพระที่นั่งบรมราชสถิตยมโหฬาร

๘.พระที่นั่งสุทธาศรีอภิรมย์ เป็นห้องประทับสมเด็จพระอัครมเหสี อยู่ด้านตะวันออกของพระที่นั่งอมรพิมานมณี

๙.พระที่นั่งบรรณาคมสรนี เป็นห้องทรงพระอักษร อยู่ด้านตะวันตกของพระที่นั่งอมรพิมานมณี

๑๐.พระที่นั่งปรีดีราชวโรทัย เป็นห้องพักผ่อนพระราชอิริยาบถ ต่อจากพระที่นั่งบรมราชสถิตยมโหฬาร

๑๑.พระที่นั่งเทพดนัยนันทยากร เป็นห้องสมเด็จพระราชโอรสและสมเด็จพระราชธิดา ทางด้านเหนือของพระที่นั่งบรมราชสถิตยมโหฬาร

๑๗ พฤษภาคม ๒๔๔๖

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งโอสถสภาของรัฐบาลขึ้น ซึ่งเป็นสถานที่ประกอบและผลิตยาสามัญประจำบ้าน เพื่อผลิตยาจำหน่ายให้แก่ประชาชนในราคาย่อมเยา ในครั้งนั้นเรียกกันว่า ยาโอสถสภา ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็นยาตำราหลวง

๑๗ พฤษภาคม ๒๔๗๗

วันเปิดโรงเรียนนาฏศิลป กรมศิลปากร โดยครั้งแรกชื่อว่า โรงเรียนนาฏดุริยางคศาสตร์

ต่อมาในปี ๒๔๘๘ ได้เปลี่ยนชื่อเป็น โรงเรียนนาฏศิลป จนถึงปัจจุบันนี้ โดยมี พล.ต.หลวงวิจิตรวาทการ อธิบดีคนแรกของกรมศิลปากร เป็นผู้ก่อตั้งขึ้น สถานที่ตั้งอยู่บริเวณท่าช้าง วังหน้า ติดกับโรงละครแห่งชาติ

๑๗ พฤษภาคม ๒๕๐๙

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนิน พร้อมด้วยสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ ทรงเปิดเขื่อนภูมิพล อำเภอสามเงา จังหวัดตาก ซึ่งเป็นเขื่อนเก็บน้ำที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย สร้างกั้นแม่น้ำปิง

๑๘ พฤษภาคม: วันพิพิธภัณฑ์สากล

๑๘ พฤษภาคม ๒๔๑๑ ไทยโดย พระสยาม ฯ ลงนามในสัญญาทางพระราชไมตรี ระหว่างไทย กับ สวีเดน นอร์เวย์

๑๘ พฤษภาคม ๒๔๖๕ วันเกิด “อิศรา อมันตกุล นักเขียนนักหนังสือพิมพ์คนสำคัญของไทย”

วันเกิด อิศรา อมันตกุล นักเขียนนักหนังสือพิมพ์คนสำคัญของไทย เกิดในครอบครัวชาวมุสลิมที่บางลำพู กรุงเทพฯ เดิมชื่อว่า อับราฮิม อะมัน เรียนหนังสือที่โรงเรียนกรุงเทพคริสเตียน โดยสอบวิชาภาษาอังกฤษได้คะแนนสูงสุดของประเทศ และสอบได้คะแนนเป็นอันดับที่ ๑ ของนักเรียนทั่วประเทศในรุ่นนั้น ต่อมาไปเป็นครูภาษาอังกฤษที่ จ. นครศรีธรรมราช ไม่นานที่บ้านก็เรียกตัวกลับกรุงเทพฯ เริ่มเขียนเรื่องอ่านเล่นส่งไปลงหนังสือพิมพ์ อบ ไชวสุ หรือ ฮิวเมอริสต์ จึงชักชวนเข้ามาในวงการหนังสือพิมพ์ จากนั้นก็ได้ทำงานที่หนังสือพิมพ์ สุภาพบุรุษ-ประชามิติร ของ กุหลาบ สายประดิษฐ์ โดยอยู่ฝ่ายข่าวต่างประเทศ และย้ายไปทำหนังสือพิมพ์ สุวัณณภูมิ ระหว่างนั้นได้เขียนนวนิยาย เรื่อง "นักบุญ คนบาป"

เมื่อหนังสือพิมพ์ปิดตัวลงเขาจึงย้ายไปทำงานที่หนังสือพิมพ์เล่มอื่นอีกหลายฉบับ เช่น นิกรวันอาทิตย์ สยามนิกร พิมพ์ไทยเบื้องหลังข่าว เอกราช กิตติศัพท์ ไทยใหม่รายวัน บางกอกเดลิเมล์ อิศราเป็นนักหนังสือพิมพ์ที่เป็นนักต่อสู้เพื่อความเป็นธรรมในสังคม ยึดมั่นจรรยาบรรณของนักหนังสือพิมพ์โดยไม่ยอมผ่อนตามแรงกดดันจากภายนอก ทั้งจากธุรกิจและการเมือง เมื่อถึงยุค แท่นพิมพ์ถูกล่ามโซ่ หลังจากที่ จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ ทำรัฐประหารในปี ๒๕๐๑ แล้วจับกุมนักหนังสือพิมพ์และสั่งปิดหนังสือพิมพ์จำนวนมาก อิศราและนักหนังสือพิมพ์หัวก้าวหน้าหลายคนในยุคนั้นถูกจับกุม ด้วยข้อหามีการกระทำอันเป็นคอมมิวนิสต์ ติดคุกอยู่ ๕ ปี ๑๐ เดือน ถูกปล่อยตัวเมื่อเดือนกันยายน ๒๕๐๗ และกลับมาทำงานหนังสือพิมพ์ เดลินิวส์ ต่อจนกระทั่งเสียชีวิต เมื่อวันที่ ๑๔ มีนาคม ๒๕๑๒

อิศราเขียนหนังสือได้ทุกรูปแบบและเขียนได้ดีด้วย มีผลงานจำนวนมากทั้งเรื่องสั้น นวนิยาย สารคดี บทความและเรื่องแปล เช่น นวนิยาย หยาดเหงื่อและความทระนง, ข้าจะไม่แพ้ รวมเรื่องสั้น เราคือลูกของพระแม่ธรณี, ยุคทมิฬ และ เขาตะโกนหานายกรัฐมนตรี ใช้นามปากกาหลายชื่อ เช่น นายอิสระ, มะงุมมะงาหรา, เริง อภิรมย์, เจดีย์ กลางแดด, แฟรงค์ ฟรีแมน ฯลฯ

อิศราได้รับเลือกให้เป็นนายกสมาคมนักข่าวแห่งประเทศไทย คนแรก ดำรงตำแหน่งในปี ๒๔๙๙-๒๕๐๑ ต่อมา ๓ สถาบันหนังสือพิมพ์ คือ สมาคมหนังสื่อพิมพ์แห่งประเทศไทย, สมาคมนักข่าวแห่งประเทศไทย และสมาคมหนังข่าวแห่งประเทศไทย ก็นัดประชุมกันจัดตั้ง "มูลนิธิอิศรา อมันตกุล" ขึ้นเพื่อเป็นอนุสรณ์แก่เขา จดทะเบียนในปี ๒๕๑๔ มีภารกิจสำคัญคือจัดให้มีการประกาศรางวัลผลงานข่าวหนังสือพิมพ์ และภาพข่าวหนังสือพิมพ์ดีเด่น มีพิธีมอบรางวัลครั้งแรกเมื่อวันที่ ๑๔ มิถุนายน ๒๕๑๖

อิศรา อมันตกุลได้รับการยกย่องว่า เป็นตัวอย่างของนักหนังสือพิมพ์ที่ดี มีจรรยามารยาท ไม่เคยดูหมิ่นใคร และเป็นแบบฉบับแห่งจริยธรรมของนักหนังสือพิมพ์ที่แท้จริง

๑๘ พฤษภาคม ๒๕๒๓ ภูเขาเซนต์เฮเลนส์ ในรัฐวอชิงตัน สหรัฐอเมริกา เกิดระเบิดอย่างรุนแรง

๑๘ พฤษภาคม ๒๕๒๓ ภูเขาเซนต์เฮเลนส์ ซึ่งเป็นภูเขาไฟขนาดใหญ่อายุ ๔๐,๐๐๐ ปี ในรัฐวอชิงตัน สหรัฐอเมริกา เกิดระเบิดอย่างรุนแรง ธุลีภูเขาไฟลอยสูงขึ้นไปในอากาศถึง ๒๔ กม. สร้างความเสียหายแก่สิ่งมีชีวิตและสิ่งก่อสร้างในรัศมี ๖๕๐ ตร.กม. มีผู้เสียชีวิตหรือสูญหายราว ๕๗ คน ภูเขาไฟแห่งนี้เป็นที่รู้จักกันในอีกชื่อว่า "ฟูจิแห่งอเมริกา" เพราะมีลักษณะคล้ายภูเขาไฟฟูจิในญี่ปุ่น การระเบิดครั้งก่อนหน้านี้เกิดขึ้นในปี ๒๔๐๐

 

๑๙ พฤษภาคม : วันอาภากร

วันอาภากร ...วันบิดาของทหารเรือไทย

กองทัพเรือได้กำหนดให้วันที่ ๑๙ พฤษภาคม ของทุกปี เป็นวันอาภากร เนื่องจากวันนี้เมื่อปี พ.ศ.๒๔๖๖ เป็นวันสิ้นพระชนม์ของ พลเรือเอก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาภากรเกียรติวงศ์ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ “องค์บิดาของทหารเรือไทย” และเพื่อเป็นการน้อมรำลึกพระกรุณาธิคุณของ พระองค์ท่านที่ได้ทรงพัฒนากิจการทหารเรือให้มีความเข้มแข็ง มั่นคง มีความเจริญก้าวหน้าเป็นที่ประจักษ์ มาตราบเท่าทุกวันนี้

นายพลเรือเอก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาภากรเกียรติวงศ์ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ (ต้นราชสกุลอาภากร) เป็นพระเจ้าลูกยาเธอ ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ นับลำดับราชสกุลวงศ์เป็นองค์ที่ ๒๘ กับทรงเป็นพระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์ที่ ๑ ใน เจ้าจอมมารดาโหมด ธิดาเจ้าพระยาสุรวงศ์ไวยวัฒน์ (วร บุนนาค) ผู้บัญชาการทหารเรือวังหลวง มีพระนามเดิมว่า พระองค์เจ้าอาภากรเกียรติวงศ์ ประสูติในพระบรมมหาราชวัง เมื่อวันที่ ๑๙ ธันวาคม พ.ศ.๒๔๒๓ ตรงกับวันอาทิตย์ แรม ๓ ค่ำ เดือนอ้าย ปีมะโรง จุลศักราช ๑๒๔๒ เวลา ๑๕.๕๗ น. มีพระกนิษฐาและพระอนุชาร่วมพระมารดา ๒ พระองค์ คือ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าหญิงอรองค์อรรคยุพา (สิ้นพระชนม์ขณะทรงพระเยาว์) และ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสุริยงประยูรพันธุ์ กรมหมื่นไชยาศรีสุริโยภาส ในปี พ.ศ.๒๔๓๖

ขณะที่พระองค์มีพระชนมายุได้ ๑๓ พรรษา พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าให้ เสด็จในกรมฯ เสด็จไปทรงศึกษาต่อ ณ ประเทศอังกฤษ พร้อมกับพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งขณะนั้นทรงดำรงพระอิสริยศักดิ์เป็น สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ กรมขุนเทพทวาราวดี ซึ่งการศึกษาของเสด็จในกรมฯ ณ ประเทศอังกฤษนั้น ในขั้นแรก พระองค์ได้ประทับร่วมกับ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวที่ไบรตันและแอสคอต เพื่อทรงศึกษาภาษาและวิชาเบื้องต้น ต่อมาได้เสด็จไปทรงศึกษาวิชาขั้นต้นสำหรับเตรียมเข้าศึกษาต่อในโรงเรียนนายเรืออังกฤษ ที่โรงเรียนกวดวิชา The Linnes และศึกษาต่อที่โรงเรียนนายเรืออังกฤษ ตามลำดับ

และเมื่อทรงสำเร็จการศึกษาในปี ๒๔๔๓ พระองค์ได้ทรงเข้ารับราชการในกรมทหารเรือโดยได้รับพระราชทานยศเป็น นายเรือโท (เทียบเท่า นาวาตรี ในปัจจุบัน) พระกรุณาธิคุณที่ทรงมีต่อกองทัพเรือกำหนดแบบสัญญาณธงสองมือและโคมไฟ ทรงริเริ่มกำหนดแบบสัญญาณธงสองมือและโคมไฟ ตลอดจนเริ่มฝึก พลอาณัติสัญญาณ (ทัศนสัญญาณ) ขึ้นเป็นครั้งแรก ทหารเหล่าทัศนสัญญาณ จึงได้ถือกำเนิดขึ้นในปีนี้ เมื่อวันที่ ๘ กรกฎาคม พ.ศ.๒๔๔๓ การจัดตั้งหน่วยฝึกพลทหารที่บางพระในช่วงเวลาประมาณ ๒ ปี ที่เสด็จในกรมฯ ทรงรับราชการ ในกรมทหารเรือ พระองค์คงจะทรงสังเกตว่านายทหารและพลทหารในเวลานั้นขาดทั้งความรู้ ความสามารถ และความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน เพราะระบบการเรียกเข้ารับราชการและการฝึกไม่เอื้ออำนวยให้ ประกอบกับขาดแคลนผู้ฝึกที่มีความสนใจและตั้งใจจริง ในเดือนกรกฎาคม พ.ศ.๒๔๔๕ พระองค์จึงได้กราบบังคมทูลขอพระบรมราชานุญาตจัดตั้งหน่วยฝึกขึ้นที่บางพระ เพื่อเรียกพลทหารจากจังหวัดชายทะเลในภาคตะวันออกมารับการฝึกการจัดระเบียบการบริหารราชการกรมทหารเรือขึ้นใหม่

ในปี พ.ศ.๒๔๔๕ เสด็จในกรมฯ ได้ทรงจัดระเบียบราชการกรมทหารเรือขึ้นใหม่ เพื่อให้สอดคล้องกับ พระราชบัญญัติศักดินาทหารเรือ ร.ศ.๑๑๒ เรียกว่า “ข้อบังคับการปกครอง” แบ่งออกเป็น ๓ ตอน คือ ตอนที่ ๑ ว่าด้วยการแบ่งส่วนราชการ ตอนที่ ๒ ว่าด้วยการเร่งคนรับคนเป็นทหาร ตอนที่ ๓ ว่าด้วยยศทหารเรือ โครงสร้างกำลังทางเรือ และการปรับปรุงด้านการศึกษา ในช่วงที่ทรงทำการในตำแหน่งเจ้ากรมยุทธศึกษาทหารเรือ

ในปี พ.ศ.๒๔๔๘ เสด็จใน กรมฯ ทรงจัดทำโครงการป้องกันประเทศทางด้านทะเลขึ้น ตามคำขอของสมเด็จเจ้าฟ้ากรมขุน นครสวรรค์วรพินิต โดยทรงทำเสร็จในเดือนตุลาคม และให้ชื่อว่า “ระเบียบจัดการป้องกันฝ่ายทะเลโดยย่อ” มีความยาวประมาณ ๕ - ๖ หน้า

และด้วยความพยายามของสมเด็จเจ้าฟ้า กรมขุนนครสวรรค์วรพินิต ผู้บัญชาการทหารเรือ ซึ่งทรงพระดำริเห็นชอบกับโครงการสร้างกำลังทางเรือของเสด็จในกรม ฯ ดังนั้น ในปี พ.ศ.๒๔๔๙ กรมทหารเรือจึงได้รับงบประมาณ ให้สั่งต่อเรือ ล. หรือ Torpedoboat Destroyer ๑ ลำ ซึ่งต่อมาได้รับพระบรมราชโองการให้เรียกว่า “เรือพิฆาฎตอรปิโด” และพระราชทานชื่อว่า “เสือทยานชล” พระองค์ได้ทรงแก้ไขปรับปรุงระเบียบการในโรงเรียนนายเรือ ทรงเป็นครูสอนนักเรียน นายเรือ และทรงริเริ่มการใช้ระบบปกครองบังคับบัญชาตามระเบียบการปกครองในเรือรบ คือ การแบ่งให้นักเรียนชั้นสูงบังคับบัญชาชั้นรองลงมา นอกจากนี้ ทรงจัดเพิ่มวิชาสำคัญสำหรับ ชาวเรือขึ้น เพื่อให้สำเร็จการศึกษา สามารถเดินเรือทางไกล ในทะเลน้ำลึกได้ คือ วิชาดาราศาสตร์ ตรีโกณมิติ อุทกศาสตร์ การเดินเรือ เรขาคณิต พีชคณิต ฯลฯ รวมทั้งโปรดให้สร้าง โรงเรียนช่างกลขึ้นอีกโรงเรียนหนึ่ง นอกจากนั้นแล้วยังโปรดให้นักเรียนนายเรือฝึดหัดภาคปฏิบัติ นอกเหนือจากการเรียนภาคทฤษฎีขอพระราชทานพระราชวังเดิมเป็นโรงเรียนนายเรือ เสด็จในกรมฯ ทรงเป็นหัวเรี่ยวหัวแรงที่สำคัญที่ทำให้ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเห็นความสำคัญและโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระราชวังเดิมให้เป็นที่ตั้งของ โรงเรียนนายเรือ เมื่อวันที่ ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๔๔๙ ทำให้กิจการทหารเรือมีรากฐานมั่งคงนับ แต่นั้น และกองทัพเรือได้ยึดถือเอาวันดังกล่าวของทุกปีเป็นวัน “กองทัพเรือ” ต่อมาเมื่อโรงเรียน นายเรือได้ย้ายไปอยู่ที่ปากน้ำ กองทัพเรือก็ได้ใช้พระราชวังเดิมเป็นที่ตั้งของหน่วยราชการต่าง ๆ ในส่วนบัญชาการกองทัพเรือ จวบจนกระทั่งทุกวันนี้

การจัดตั้งกำลังอากาศนาวี ความคิดในการจัดตั้งกำลังทาง อากาศนาวี (Naval Air Arm) นั้น ได้มีมาตั้งแต่ พ.ศ.๒๔๖๔ เมื่อเสด็จในกรมฯ ครั้งทรงดำรงตำแหน่งเสนาธิการกระทรวงทหารเรือ ทรงเสนอความเห็นต่อที่ประชุมสภาบัญชาการกระทรวงทหารเรือ ว่า “สมควรเริ่มตั้งกองบินทะเลขึ้น ในปี พ.ศ.๒๔๖๕ โดยใช้สัตหีบเป็นถาน (ฐานทัพ)” ซึ่ง สภาบัญชาการฯ มีมติอนุมัติข้อเสนอเมื่อวันที่ ๗ ธันวาคม พ.ศ.๒๔๖๔ ดังนั้น กองการบินทหารเรือ จึงได้ถือเอาวันที่ ๗ ธันวาคมของทุกปี เป็นวันสถาปนาหน่วย และชาวบินนาวี ได้ยึดถือว่า พระองค์ทรงเป็นองค์บิดาแห่งการบินนาวี ด้วย ฐานทัพเรือสัตหีบ จากการที่พระองค์ทรงเป็นนักยุทธศาสตร์ที่เล็งเห็นการณ์ที่ไกล พระองค์ได้ทูลเกล้า ขอพระราชทานที่เดินบริเวณอำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี เพื่อสร้างเป็นฐานทัพเรือเนื่องจากทรง พิจารณาแล้วเห็นว่า อ่าวสัตหีบเป็นอ่าวที่มีขนาดใหญ่น้ำลึกเหมาะแก่การฝึกซ้อมยิงตอร์ปิโดได้ และเกาะใหญ่น้อยที่รายรอบสามารถใช้บังคลื่นลมได้เป็นอย่างดี อีกทั้งเรือภายนอกเมื่อแล่นผ่าน พื้นที่ดังกล่าวจะไม่สามารถมองเห็นฐานทัพเรือได้เลย ซึ่งพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้า อยู่หัว ได้ทรงพระราชทานที่ดินที่สัตหีบให้แก่กองทัพเรือเพื่อจัดตั้งเป็นฐานทัพเรือ เมื่อวันที่ ๒๑ กันยายน พ.ศ.๒๔๖๕ ดังพระราชกระแสดังนี้”การที่จะเอาสัตหีบเปนฐานทัพเรือนั้น ตรงตามความปราถนาของเราอยู่แล้ว เพราะที่เราได้สั่งหวงห้ามที่ดินไว้ ก็ด้วยความตั้งใจจะให้เปนเช่นนั้น แต่เมื่อเห็นว่ายังไม่ ถึงเวลาที่จะใช้เป็นฐานทัพเรือและไม่อยากให้โจทย์กันวุ่น จึงได้กล่าวไว้ว่าจะต้องการที่ไว้ทำวังสำหรับเผื่อจะมีผู้ขอจับจองฝ่ายเทศาภิบาล จะได้ตอบไม่อนุญาตได้โดยอ้างเหตุ ว่าพระเจ้าอยู่หัวต้องพระราชประสงค์ เมื่อบัดนี้ ทหารเรือจะต้องการที่นั้นก็ยินดีอนุญาติได้”นอกจากพระกรุณาธิคุณของ นายพลเรือเอก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาภากร เกียรติวงศ์ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ ดังที่ได้ได้กล่าวมาแล้ว พระองค์ยังทรงมีพระปรีชาสามารถ และมีคุณูปการอเนกอนันต์แก่กองทัพเรือ อาทิ พระองค์ทรงเป็นผู้บังคับการเรือ นำ เรือหลวงพระร่วงจากประเทศอังกฤษ เข้ามายังกรุงเทพมหานคร นับเป็นครั้งแรกที่นายทหารเรือไทยเดินเรือได้ไกลข้ามทวีป และเมื่อครั้งที่พระองค์ทรงเป็นผู้บังคับการเรือหลวงมกุฏราชกุมาร (ลำที่ ๑) นำนักเรียนนายเรือและนักเรียนนายช่างกลไปอวดธงที่ชวา ได้ทรงนำเรือแวะที่สิงคโปร์ และเปลี่ยนสีเรือมกุฏราชกุมารจากสีขาวเป็นสีหมอกให้เหมือนกับเรือรบต่างประเทศ เพื่อให้เกิดความกลมกลืนกับลักษณะของสีน้ำทะเลและภูมิประเทศ ซึ่งกองทัพเรือได้นำสีดังกล่าวมาใช้เป็นสีเรือทุกลำของกองทัพเรือตราบจนปัจจุบัน

ในด้านการดนตรีพระองค์ก็มีความเชี่ยวชาญเป็นอย่างยิ่ง เพลงพระนิพนธ์ของกรมหลวงชุมพรฯ ทุกเพลง จะมีเนื้อหาปลุกใจ ให้มีความรักชาติ กล้าหาญ ยอมสละชีวิตเพื่อชาติ อาทิ เพลงดอกประดู่ เพลงเดินหน้า เพลงดาบของชาติ เป็นต้น ซึ่งเพลงพระราชนิพนธ์ของพรองค์ท่านนับว่าเป็นเพลงปลุกใจที่มีอายุยืนยาวที่สุดในประวัติศาสตร์ของชาติไทย เพราะทหารเรือทุกนายได้ขับร้องเพลงเหล่านี้สืบต่อกันมาตราบจนปัจจุบันนับเป็นเวลาไม่น้อยกว่า ๘๐ ปี

ดังนั้นจึงนับได้ว่าเพลงปลุกใจของพระองค์ จึงเป็นเพลงอมตะของทหารเรือ เช่นเดียวกับที่พระองค์ทรงเป็นอมตะอยู่ในจิตใจของทหารเรือ ตลอดเวลา ในด้านการแพทย์นอกจากพระองค์จะทรงเป็นนักยุทธศาสตร์แล้ว ด้านการแพทย์แผนโบราณ พระองค์ก็ทรงศึกษาค้นคว้าอย่างจริงจัง โดยในขณะที่เสด็จในกรมฯ ได้ทรงออกจากประจำการชั่วคราว ระหว่างปี พ.ศ.๒๔๕๔ - พ.ศ.๒๔๕๙ พระองค์ได้ทรงศึกษาวิชาแพทย์แผนโบราณ ทรงเขียนตำรา ยาแผนโบราณลงในสมุดข่อยด้วยฝีพระหัตถ์ของพระองค์เอง โดยทรงตั้งชื่อตำรายาเล่มนี้ว่า “พระคัมภีร์อติสาระวรรคโบราณะกรรมและปัจจุบันนะกรรม” ซึ่งสมุดเล่มดังกล่าวปัจจุบันได้ถูก เก็บรักษาไว้เป็นอย่างดีที่พิพิธภัณฑ์ทหารเรือสมุทรปราการ ในด้านการรักษาพยาบาล พระองค์ได้ทรงรักษาโรคภัยไข้เจ็บแก่คนทั่วไป โดยไม่เลือกคนจนหรือคนมี และมิได้คิดค่ารักษาหรือค่ายาแต่อย่างใด ทุกคนที่มีความเดือนร้อนจะต้องได้รับ ความเมตตาจากพระองค์ จนเป็นที่นับถือของบุคคลทั่วไปในนามพระองค์ว่า “หมอพร”

นายพลเรือเอก พระเจ้าบรมวงค์เธอ พระองค์เจ้าอาภากรเกียรติวงศ์ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักด์ ได้กราบบังคมทูลออกจากราชการ เพื่อพักผ่อนรักษาพระองค์ เมื่อวันที่ ๑๗ เมษายน พ.ศ.๒๔๖๖ เนื่องจากพระองค์ทรงมีสุขภาพไม่สมบูรณ์ และประชวรพระโรคภายในอยู่ด้วย ทางกระทรวงทหารเรือ ได้สั่งการให้จัดเรือหลวงเจนทะเลถวายเป็นพาหนะ และกรมแพทย์ทหารเรือ ได้จัดนายแพทย์ประจำพระองค์ ๑ นาย พร้อมด้วยพยาบาลตามเสด็จไปด้วย เสด็จในกรมฯ ได้เสด็จออกจากกรุงเทพมหานคร เมื่อวันที่ ๒๑ เมษายน พ.ศ.๒๔๖๖ ไปประทับอยู่ด้านใต้ปากน้ำชุมพรซึ่งเป็นที่ที่จองไว้จะทำสวน

ขณะที่พระองค์ประทับอยู่นี้ก็เกิดพระโรคหวัดใหญ่เนื่องจาก ถูกฝน หลังประชวรอยู่เพียง ๓ วัน พลเรือเอก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงชุมพล เขตอุดมศักดิ์ เสนาบดีกระทรวงทหารเรือ ก็สิ้นพระชนม์ที่ตำบลหาดทรายรี ในวันที่ ๑๙ พฤษภาคม พ.ศ.๒๔๖๖ สิริพระชนมายุได้ ๔๔ พรรษา

ในวันที่ ๒๐ พฤษภาคม พ.ศ.๒๔๖๖ เรือหลวงเจนทะเลได้เชิญพระศพจากจังหวัดชุมพรมายังกรุงเทพมหานคร และมาพักถ่ายพระศพลงสู่เรือหลวง พระร่วงที่บางนา ต่อจากนั้นเรือหลวงพระร่วง ได้นำพระศพเข้ามายังกรุงเทพมหานคร และนำประดิษฐานไว้ที่วังของพระองค์ท่าน พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงบำเพ็ญพระราชกุศลพระราชทาน จนถึงวันที่ ๒๔ ธันวาคม พ.ศ.๒๔๖๖ ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้อัญเชิญพระศพไปพระราชทานเพลิง ณ พระเมรุท้องสนามหลวง

ถึงแม้ว่า นายพลเรือเอก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์บรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาภากร เกียรติวงศ์ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ จะสิ้นพระชนม์มาเป็นระยะเวลานานถึง ๗๙ ปี แล้วก็ตาม แต่พระกรณียกิจของพระองค์ที่ทรงทำคุณประโยชน์ให้แก่กองทัพเรืออย่างมหาศาลนั้น ทำให้กิจการของกองทัพเรือเจริญก้าวหน้ามาจนทุกวันนี้ พระองค์ทรงริเริ่มวางรากฐานกิจการ ทหาเรือไทยให้มีความเข้มแข็ง มั่นคงมีสมรรถภาพ สามารถทำหน้าที่เป็นรั้วของชาติทางทะเลได้ เป็นอย่างดีตลอดมา จนทหารเรือตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันต่างก็ซาบซึ้งในพระมหากรุณาธิคุณ ของพระองค์อย่างมิรู้ลืม จึงพร้อมใจกันถวายสมัญญานาม พระองค์ท่านว่า “องค์บิดาของ ทหารเรือไทย” และถือเอาวันที่ ๑๙ พฤษภาคมของทุกปี เป็น “วันอาภากร”

๑๙ พฤษภาคม.-

๑๙ พฤษภาคม ๒๔๕๙ เปลี่ยนมาใช้คำว่า “จังหวัด” แทนคำว่า “เมือง” ทั่วแผ่นดินสยาม

๑๙ พฤษภาคม ๒๔๗๙ เปลี่ยนสีเครื่องแบบของทหารอากาศเป็น “สีเทา”

๑๙ พฤษภาคม ๒๕๒๘ เปิดรับนักศึกษาวิชาทหาร (รด.) ที่เป็น “ผู้หญิง” รุ่นแรก

๑๙ พฤษภาคม ๒๔๙๑ วันสถาปนา กรมการรักษาดินแดน (รด.) เป็นหน่วยขึ้นตรงต่อกระทรวงกลาโหม โดยให้ยุบกรมการทหารสารวัตร และแปรสภาพเป็น กรมการรักษาดินแดน

๑๙ พฤษภาคม ๒๕๓๔ พิธีวางศิลาฤกษ์ อนุสรณ์สถานทหารเรือที่เกาะช้าง และเททองหล่อพระรูปเหมือน พลเรือเอก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงชุมพล เขตอุดมศักดิ์ ที่กองทัพเรือและจังหวัดตราด ได้ร่วมกันดำเนินการก่อสร้างขึ้น ที่อำเภอแหลมงอบ จังหวัดตราด โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อเทิดพระเกียรติองค์พระบิดาแห่งราชนาวีไทย และรำลึกถึงเกียรติประวัติ วีรกรรมของทหารเรือไทย ในยุทธนาวีที่เกาะช้าง เมื่อ พ.ศ. ๒๔๘๔

๒๐ พฤษภาคม ๒๔๒๓ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้ใช้ธนบัตรสยามเป็นครั้งแรก เรียกว่า อัฐกระดาษ

๒๐ พฤษภาคม ๒๔๓๖ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้า ฯ ให้ตั้งสภาอนุโลมแดง งานสำคัญของสภาอนุโลมแดงคือ จัดส่งเครื่องยา อาหาร เสื้อผ้า และเครื่องใช้ต่าง ๆ ไปช่วยบำรุงทหารในสนามรบ เมื่อครั้งเหตุการณ์ ร.ศ. ๑๑๒ ต่อมาจึงได้มีพระราชบัญญัติว่าด้วยสภากาชาดไทย พ.ศ.๒๔๖๑ จึงตั้งสภาการกุศลอาสาสงเคราะห์ เพื่อช่วยรักษาพยาบาลผู้ป่วยไข้และบาดเจ็บในเวลาสงคราม และในยามสงบ กับทั้งบรรเทาทุกข์ในเหตุการณ์สาธารณภัยพินาศ โดยไม่เลือชนชั้น ลัทธิศาสนา หรืออุดมคติทางการเมืองของผู้ประสบภัย โดยยึดหลักมนุษยธรรมเป็นที่ตั้ง

๒๐ พฤษภาคม ๒๔๓๖ ได้มีการประชุมสภากาชาดของไทยเป็นครั้งแรกโดยมี พระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรีพระวรราชเทวีเป็นสภานายิกา

สภากาชาดไทย

สภากาชาดไทยก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ ๒๖ เมษายน ร.ศ. ๑๑๒ (พ.ศ. ๒๔๓๖) เดิมเรียก "สภาอุณาโลมแดงแห่งชาติสยาม" ริเริ่มก่อตั้งโดยท่านผู้หญิงเปลี่ยน ภาสกรวงษ์ ซึ่งมี สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ทรงเป็น"สภานายิกา" พระองค์แรก

ประวัติ

พ.ศ. ๒๔๓๖ เกิดกรณีพิพาทระหว่าง ประเทศสยาม กับ ประเทศฝรั่งเศส เรื่องดินแดนฝั่งซ้ายแม่น้ำโขง ซึ่งส่งผลให้ทหารบาดเจ็บล้มตายมาก แต่ไม่มีองค์การกุศลหลักที่ทำหน้าที่ช่วยเหลือพยาบาลและบรรเทาทุกข์ ดังนั้น ท่านผู้หญิงเปลี่ยน ภาสกรวงษ์ จึงได้ชักชวนสตรีอาสาสมัครขึ้น และได้กราบบังคมทูล สมเด็จพระนางเจ้าสว่างวัฒนา พระบรมราชเทวีขอพระราชทานพระบรมราชานุญาต ตั้ง "สภาอุณาโลมแดงแห่งชาติสยาม" เมื่อความทราบฝ่าละอองธุลีพระบาท พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระราชกระแสว่า เป็นความคิดอันดีตามแบบอย่างประเทศที่เจริญแล้ว จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้จัดตั้ง "สภาอุณาโลมแดง" ขึ้น เมื่อวันที่ ๒๖ เมษายน พ.ศ. ๒๔๓๖ ซึ่งถือเป็น "วันสถาปนาสภากาชาดไทย" นอกจากนี้ ยังทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระนางเจ้าสว่างวัฒนา พระบรมราชเทวี ทรงเป็น"สภาชนนี" สมเด็จพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี พระวรราชเทวี ทรงเป็น"สภานายิกา" และท่านผู้หญิงเปลี่ยน ภาสกรวงษ์ เป็นเลขานุการิณีสภาอุณาโลมแดง [๑]

พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว รั๙กาลที่ ๖ ทรงพระดำริว่า ถ้าได้จัดโรงพยาบาลของกาชาด ก็จะเป็นประโยชน์แก่บ้านเมือง พระองค์จึงได้ร่วมกับพระราชภราดาภคินี ทรงบริจาคทรัพย์รวมกับทุนของสภาอุณาโลมแดง สร้างโรงพยาบาลขึ้นในที่ดินส่วนพระองค์ แล้วโปรดเกล้าฯ ขนานนามตามพระปรมาภิไธย พระบาทสมเด็จพระรามาธิบดีศรีสินทร มหาจุฬาลงกรณ์ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ว่า "โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์" เพื่อเป็นอนุสรณ์ในพระราชบิดา และให้โรงพยาบาลนี้เป็นของสภากาชาดสยาม

พ.ศ. ๒๔๖๓ สภากาชาดไทย ได้รับการรับรองจาก "ส่วนการรับรองระหว่างประเทศ คณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศ"

พ.ศ. ๒๔๖๔ สภากาชาดไทยเข้าเป็นสมาชิกของ "สหพันธ์สภากาชาดและสภาเสี้ยววงเดือนแดงระหว่างประเทศ"

 

สภาอุณาโลมแดง / ทานมยูปถัมภก์

ผู้บำรุงการอย่างสูงสุด : พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

ผู้บำรุงการ : สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าละม่อม กรมพระยาสุดารัตนราชประยูร

สภาชนนี : สมเด็จพระนางเจ้าสว่างวัฒนา พระบรมบรมราชเทวี

กรรมการิณี

สภานายิกา : พระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี พระวรราชเทวี

อุปนายิกา : พระนางเจ้าสุขุมาลมารศรี พระราชเทวี

สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสุทธาทิพยรัตน์ สุขุมขัตติยกัลยาวดี

สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจันทราสรัทวาร

สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าเยาวมาลย์นฤมล

พระเจ้าลูกเธอ พระองค์เจ้าศรีวิไลยลักษณ์

พระอรรคชายาเธอ พระองค์เจ้าอุบลรัตนนารีนาค

พระอรรคชายาเธอ พระองค์เจ้าสายสวลีภิรมย์

เจ้าจอมมารดาเกษร

เลขานุการิณี : ท่านผู้หญิงเปลี่ยน ภาสกรวงษ์

สภากาชาดสยาม-สภากาชาดไทย

สภานายิกา :

พ.ศ. ๒๔๓๖ - พ.ศ. ๒๔๖๒ สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง

พ.ศ. ๒๔๖๓ - พ.ศ. ๒๔๙๘ สมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า

พ.ศ. ๒๔๙๙ - ปัจจุบัน สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ

อุปนายก-อุปนายิกา

๓ เม.ย. ๒๔๕๗ - ๑๓ มิ.ย. ๒๔๖๓ จอมพล สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถ กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ

๑๒ ก.ค. ๒๔๖๓ - ๓๐ มิ.ย. ๒๔๗๕ จอมพลเรือ จอมพล สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต

๓๐ มิ.ย. ๒๔๗๕ - ๑๗ ก.พ. ๒๔๘๒ มหาอำมาตย์เอก เจ้าพระยาพิชัยญาติ (ดั่น บุนนาค)

๒๗ ก.พ. ๒๔๘๒ - ๑๖ ส.ค. ๒๔๘๒ พลเอกมังกร พรหมโยธี (มังกร ผลโยธิน)

๒๘ ต.ค. ๒๔๘๖ - ๓๑ ม.ค. ๒๔๙๑ พันเอกช่วง เชวงศักดิ์สงคราม (ช่วง ขวัญเชิด)

๑๓ ม.ค. ๒๔๙๑ - ๑๕ ก.ย. ๒๕๐๒ พลตรี พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจุมภฏพงษ์บริพัตร กรมหมื่นนครสวรรค์ศักดิพินิต

๑๘ มี.ค. ๒๕๐๓ - ๓๐ มิ.ย. ๒๕๐๗ มหาอำมาตย์เอก เจ้าพระยาศรีธรรมาธิเบศ (จิตร ณ สงขลา)

๑ ก.ค. ๒๕๐๗ - ๑๓ ก.พ. ๒๕๑๒ พระตีรณสารวิศวกรรม (ตรี ตีรณสาร)

๒๖ ก.พ. ๒๕๑๒ - ๒๑ พ.ย. ๒๕๑๖ พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสุขุมาภินันท์

๒๒ พ.ย. ๒๕๑๖-๑๒ ธ.ย. ๒๕๒๐ ศาสตราจารย์ นายแพทย์ หม่อมหลวงเกษตร สนิทวงศ์ (รักษาการแทน)

๑๓ ธ.ค. ๒๕๒๐ - ปัจจุบัน สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี

๒๐ พฤษภาคม ๒๔๔๐ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ โปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติปกครองท้องถิ่น ร.ศ. ๑๑๖ เป็นฉบับแรก

๒๐ พฤษภาคม ๒๔๔๘ (ค.ศ. ๑๙๐๕) ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช อดีตหัวหน้าขบวนการเสรีไทย และ อดีตนายกรัฐมนตรีคนที่ ๖ ของไทย ได้ถือกำเนิดขึ้นที่บ้านพักในกรมทหาร จังหวัดนครสวรรค์ เป็นบุตรของพระวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าคำรบ และหม่อมแดง สมรสกับท่านผู้หญิงอุศนา ปราโมช

๒๐ พฤษภาคม ๒๔๕๔ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้า ฯ ได้มีประกาศพระบรมราชโองการ เริ่มการเสือป่าขึ้น

๒๑ พฤษภาคม .- วันโลกเพื่อการพัฒนาวัฒนธรรม

๒๑ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๒๔ (ค.ศ. ๑๘๘๑) คลารา บาร์ตัน ก่อตั้ง สภากาชาดอเมริกัน

๒๑ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๗๐ (ค.ศ. ๑๙๒๗) ชาลส์ ลินด์เบิร์ก (ในภาพ) ประสบความสำเร็จในเดินทางคนเดียวโดยไม่หยุดพัก ด้วยเครื่องบิน สปิริตออฟเซนต์หลุยส์ ในการบินข้ามมหาสมุทรแอตแลนติก จากนครนิวยอร์กไปยังปารีส

๒๑ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๓๔ (ค.ศ. ๑๙๙๑) ราจีฟ คานธี อดีตนายกรัฐมนตรีอินเดีย ถูกลอบสังหารด้วยการระเบิดพลีชีพ ขณะออกหาเสียงที่เมือง Sriperumbudur ห่างจากกรุงมาดราส เมืองหลวงของรัฐทมิฬนาดู ประมาณ ๕๐ กิโลเมตร

๒๑ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๔๑ (ค.ศ. ๑๙๙๘) ผลพวงจากวิกฤติเศรษฐกิจ ทำให้เกิดความวุ่นวายในอินโดนีเซีย ซูฮาร์โตประกาศลาออก หลังดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีมานานถึง ๓๒ ปี โดยให้นายยูซุฟ ฮาบีบี รองประธานาธิบดี ขึ้นเป็นประธานาธิบดีคนที่ ๓

๒๒ พฤษภาคม : วันสากลว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ / วันความหลากหลายทางชีวภาพ

วันสากลแห่งความหลากหลายทางชีวภาพ องค์การสหประชาชาติได้ประกาศให้วันที่ ๒๒ พฤษภาคม ของทุกปี เป็นวันสากลแห่งความหลากหลายทางชีวภาพ (International Day of Biological Diversity) เพื่อรำลึกถึงวันที่อนุสัญญาว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพเริ่มมีผลบังคับใช้

ความหลากหลายทางชีวภาพ หมายถึงสิ่งมีชีวิตนานาชนิด เช่น พืชและสัตว์รวมทั้งสิ่งมีชีวิตต่าง ๆ ที่มีความแตกต่างกันตามหน่วยของพันธุกรรมและสภาพถิ่นที่อยู่อาศัย สิ่งมีชีวิตเหล่านี้มีความหลากหลายทางพันธุกรรมเป็นสายพันธุ์ ยิ่งถิ่นที่อยู่อาศัยมีความแตกต่างกันมากเพียงใด ก็ยิ่งมีสิ่งชีวิตหลากหลายมากยิ่งขึ้นเพียงนั้น

๒๒ พฤษภาคม.-

๒๒ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๕๑ (ค.ศ. ๑๙๐๘) พี่น้องตระกูลไรต์ จดสิทธิบัตรอากาศยานที่พวกเขาสร้างขึ้น

๒๒ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๐๓ (ค.ศ. ๑๙๖๐) เกิดแผ่นดินไหวขนาด ๙.๕ ริกเตอร์ ซึ่งรุนแรงที่สุดเท่าที่มีการบันทึกมา ในเมืองวาลดีเวีย ประเทศชิลี จนทำให้เกิดคลื่นสึนามิเดินทางไปถึงเมือง ฮิโล มลรัฐฮาวาย ในวันต่อมา

๒๒ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๑๒ (ค.ศ. ๑๙๖๙) โครงการอะพอลโล: นักบินอวกาศ ๒ คน ในส่วนลงดวงจันทร์ ของยานอะพอลโล ๑๐ (ในภาพ) โคจรผ่านใกล้พื้นผิวดวงจันทร์ด้วยระยะห่าง ๑๕.๖ กิโลเมตร

๒๒ พฤษภาคม ๒๕๑๔ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงพระราชทานพระพุทธนวราชบพิตร แก่จังหวัดบุรีรัมย์ พระพุทธนวราชบพิตร เป็นพระพุทธรูปสำคัญประจำองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระองค์ทรงมีพระราชดำริให้สร้างขึ้นเพื่อประดิษฐานไว้ ณ จังหวัดต่าง ๆ ทั่งพระราชอาณาจักร พระพุทธรูปองค์นี้นอกจากจะเป็นนิมิตหมายแห่งคุณพระรัตนตรัย อันเป็นที่เคารพบูชาสูงสุดของพุทธศาสนิกชนทั้งหลายแล้ว ยังเป็นเครื่องหมายแห่งความผูกพันเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ระหว่างองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว กับบรรดาพสกนิกรทั้งมวลของพระองค์

๒๒ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๒๗ (ค.ศ. ๑๙๘๔) สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี เสด็จสวรรคต ด้วยพระหทัยวาย โดยพระอาการสงบ ณ พระตำหนักวังศุโขทัย รวมพระชนมายุได้ ๗๙ พรรษา ๕ เดือน ๒ วัน

๒๒ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๓๓ (ค.ศ. ๑๙๙๐) สาธารณรัฐอาหรับเยเมนและสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนเยเมน ผนวกเข้าด้วยกันเป็น สาธารณรัฐเยเมน

๒๓ พฤษภาคม วันเต่าโลก

เต่า เป็นทรัพยากรสัตว์น้ำที่มีคูณค่าและประโยชน์มากมายหลายด้านทั้งการอุปโภค บริโภค ส่วนต่าง ๆ นำมาใช้ประโยชน์ได้มากมาย เช่นทำเครื่องประดับ เครื่องหนัง และด้วยเหตุนี้เองทำให้เต่าถูกจับนำมาใช้ประโยชน์ จนทำให้เต่าทะเลลดลง และอาจจะสูญพันธุ์ในไม่ช้า

เต่าที่อาศัยอยู่ในน่านน้ำไทยมีประมาณ 5 ชนิด คือ เต่ากระ เต่าตนุ หรือเต่าจาระเม็ด เต่าตาแดง เต่าหญ้า และเต่ามะเฟือง

และเต่าทะเลที่พบในประเทศไทยมี 5 ชนิด ได้แก่ เต่ามะเฟือง เต่าตนุ เต่ากระ เต่าหญ้า และเต่าหัวค้อน แต่เต่านี้พบว่าปริมาณการวางไข่ของเต่าทะเลทุกชนิดทั้งในฝั่งอ่าวไทยและทะเลอันดามัน มีจำนวนลดลงอย่างเห็นได้ชัด

สาเหตุการลดลงของเต่าทะเลนั้น เกิดจากหลายสาเหตุ เช่น การล่า เพื่อเป็นอาหาร เครื่องประดับ การบาดเจ็บหรือเสียชีวิตจากเครื่องมือประมง สภาพแวดล้อมเกิดการเปลี่ยนแปลง หรือสูญเสียพื้นที่สำหรับวางไข่จากการคุกคามของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว เป็นต้น

จากการที่มีคนนิยมรับประทานไข่เต่ากันมาก จึงมีผู้ที่ไปขุดหาไข่เต่าเพื่อนำมาจำหน่าย ธรรมดาเต่าจะวางไข่ในระหว่างเดือนตุลาคมถึงเดือนกุมภาพันธ์ และเต่าจะขึ้นมาวางไข่ในที่ที่เคยมาวางเป็นประจำทุกปี ในช่วงนี้จึงมีนักท่องเที่ยวเดินทางไปเฝ้าดูการวางไข่ของเต่าเป็นจำนวนมาก จึงเกิดเป็นประเพณีเดินเต่าขึ้นเต่าแต่ละตัววางไข่ในจำนวนที่ไม่เท่ากัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับขนาดของเต่าและความสมบูรณ์แต่ส่วนมากอยู่ในระหว่าง 70 – 120 ฟอง หรืออาจจะมากกว่านั้น ในปีหนึ่ง ๆ เต่าจะวางไข่ 3 ครั้ง คือขึ้นมาวางไข่ครั้งแรก หลังจากนั้นประมาณ 15 วัน จะกลับมาวางไข่ในที่เดิมเป็นครั้งที่ 2 และหลังจากครั้งที่ 2 ประมาณ 15 วัน เต่าก็จะขึ้นมาวางไข่เป็นครั้งที่ 3 เต่าจะเริ่มวางไข่ได้เมื่อมีอายุประมาณ 3 ปีขึ้นไป

จากที่กล่าวมาข้างต้นว่าคนนิยมรับประทานไข่เต่ามากขึ้น ทำให้ปริมาณเต่าลดลง นอกจากนั้นยังมีคนฆ่าเต่าเพื่อนำเนื้อไปประกอบอาหารรับประทาน เหตุการณ์เหล่านี้อาจทำให้เต่าสูญพันธุ์ไปในที่สุด ทางกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ตระหนักถึงปัญหาข้อนี้ จึงห้ามมิให้มีการทำประมงเต่าทะเลและเต่ากระทะเลทุกชนิด แต่ก็ยังไม่สามารถรักษาพันธุ์ไว้ได้ ดังนั้นศูนย์ชีววิทยาทางทะเลภูเก็ตจึงตั้งโครงการอนุรักษ์เต่าทะเลขึ้น โดยได้รับความร่วมมือและสนับสนุนจาก สำนักงานประมงจังหวัดและผู้ประมูลหาดเก็บไข่เต่าทั้งในจังหวัดภูเก็ต พังงา และจังหวัดใกล้เคียง ทั้งนี้เพื่อเพิ่มจำนวนเต่าทะเลให้มากขึ้น โดยการรับเลี้ยงและอนุบาลลูกเต่า จนถึงวันที่จะปล่อยลงทะเล นอกจากนั้นยังเป็นการทดลองเลี้ยงเต่าและหาอัตราการเจริญเติบโตของเต่าทะเลชนิดต่าง ๆ เพื่อส่งเสริมอาชีพประมงในการทำฟาร์มเลี้ยงเต่าต่อไป รวมทั้งเป็นการศึกษาการแพร่กระจายและแหล่งหากินของเต่าทะเลชนิดต่าง ๆ โดยติดเครื่องหมายที่เต่าแล้วปล่อยลงทะเล ซึ่งเป็นประโยชน์ในการอนุรักษ์ต่อไปด้วยเหตุนี้ จึงจัดให้มีประเพณีปล่อยเต่าลงทะเลขึ้น และปฏิบัติสืบต่อมาเป็นประจำทุกปี

 

๒๓ พฤษภาคม พ.ศ. ๑๙๗๓ (ค.ศ. ๑๔๓๐) –

สงครามร้อยปี : โยนออฟอาร์ค (อนุสาวรีย์ในภาพ) ถูกจับกุมโดยชาวเบอร์กันดี ซึ่งเป็นพันธมิตรกับอังกฤษ

๒๓ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๐๗๖ (ค.ศ. ๑๕๓๓) –

มีการประกาศให้การอภิเษกสมรสระหว่างเจ้าหญิงแคเทอรีนแห่งอารากอนกับพระเจ้าเฮนรีที่ ๘ แห่งอังกฤษ เป็นโมฆะ

๒๓ พฤษภาคม ๒๔๔๒

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้อัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุ โดยกระบวนแห่จากพระบรมมหาราชวัง มาบรรจุไว้ ณ พระเจดีย์องค์ใหญ่บนยอดภูเขาทอง วัดสระเกศ กรุงเทพฯ และโปรดเกล้าฯ ให้เรียกชื่อภูเขาทองให้ถูกต้องว่า บรมบรรพต

คำว่า "ภูเขาทอง" ก็เป็นชื่อที่เลียนแบบมาจากกรุงศรีอยุธยา เป็นเจดีย์ที่สร้างอยู่บนภูเขา และภูเขาเองก็เป็นภูเขาที่สร้างขึ้น ในสมัยรัชกาลที่ ๓ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ฐานโดยรอบวัดได้ ๘ เส้น ๕ วา สูง ๑ เส้น ๑๙ วา ๒ ศอก มีบันไดเวียนเป็นทางขึ้นไปถึงองค์เจดีย์อยู่ ๒ ทาง

มีบันไดตรงทางด้านทิศใต้อยู่บันไดหนึ่งมีขั้นบันไดประมาณ ๗๐ ขั้น แต่เมื่อคราวบูรณปฏิสังขรณ์ครั้งใหญ่ระหว่าง พ.ศ. ๒๔๙๓ - ๒๔๙๗ ได้ทำลายบันไดนี้ทิ้งเพราะค่อนข้างชัน เด็กวิ่งขึ้น ๆ ลง ๆ บางทีก็อาจพลาดตกลงมา คอหักตายได้

ในการสร้างภูเขาทองนี้ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้โปรดให้สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาพิชัยญาติ (ทัด บุนนาค) ครั้งยังเป็นพระยาศรีพิพัฒน์รัตนโกษาเป็นแม่กองสร้างพระราชทานนามว่า "พระเจดีย์ภูเขาทอง" แต่การก่อสร้าง ไม่ได้รับความสำเร็จเพราะบริเวณนั้นเป็นที่ลุ่ม ดินอ่อน ทานน้ำหนักองค์พระเจดีย์ไม่ไหว้ จึงทรุดพังลงมาทุกครั้ง จึงต้องหยุดการก่อสร้างพระเจดีย์นั้นไว้

ต่อมาในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้โปรดให้พระยาศรีพิพัฒน์ (แพ บุนนาค) เป็นแม่กองก่อสร้างภูเขาทองต่อ และโปรดให้พระยาราชสงครามเป็นนายช่างทำการซ่อมแปลงภูเขา ก่อพระเจดีย์ขึ้นไว้บนยอด และโปรดให้เปลี่ยนนามพระเจดีย์ภูเขาทองใหม่ว่า "บรมบรรพต" อย่างไรก็ดี การซ่อมพระเจดีย์ได้มาแล้วเสร็จบริบูรณ์ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

ต่อมาเมื่อ พ.ศ.๒๔๒๐ ก็ได้เสด็จพระราชดำเนินไป ทรงบรรจุพระบรมสารีริกธาตุในพระเจดีย์ เมื่อวันศุกร์ เดือนยี่ ขึ้น ๑ ค่ำ ปีฉลู พ.ศ. ๒๔๒๐ และในวันที่ ๒๓ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๔๒ พระองค์ได้พระบรม สารีริกธาตุจากประเทศอินเดียก็ได้โปรดให้บรรจุในพระเจดีย์อีกครั้งหนึ่ง

อย่างไรก็ตาม คำว่า "ภูเขาทอง" นี้ แม้พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจะทรงเปลี่ยนนามเป็น "บรมบรรพต" แล้ว ก็ยังมีคนเป็นจำนวนมากเรียกว่า "สุวรรณบรรพต" เพราะมีความหมายตรงกับคำว่า "ภูเขาทอง" ต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้มีพระราชบัญญัติ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๔๓ ประกาศให้เรียกว่า "บรมบรรพต" ดังนี้

"ประกาศเรียกนามภูเขาทอง ศก ๑๑๘

กรมหมื่นสมมตอมรพันธุ์ รับพระบรมราชโองการใส่เกล้าฯ ทรงพระ กรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศให้ทราบทั่วกันว่า ภูเขาก่อด้วยอัฐมีพระเจดีย์อยู่ บนยอดอันตั้งอยู่ที่วัดสระเกษ ซึ่งชนเป็นอันมากเรียกว่า ภูเขาทองนั้น เดิมเป็น ของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นด้วยทรงพระราชดำริห์จะทำเป็นพระเจดีย์ใหญ่เพื่อจะให้มีชื่อเหมือนพระเจดีย์ภูเขาทอง ที่กรุงเก่า ทั้งรูปก็จะทำเช่นนั้นด้วย แต่จะให้ใหญ่กว่าการนั้นไม่สำเร็จด้วย ทรุดดินฟูดขึ้นโดยรอบ จึงเป็นทิ้งค้างอยู่ คนก็คงเรียกพระเจดีย์ ภูเขาทองตาม นามซึ่งโปรดเกล้าฯ พระราชทานไว้เมื่อแรกสร้าง แต่เพราะเหตุที่ไม่เป็นรูปพระเจดีย์ มีแต่กองอิฐ ต้นไม้ขึ้นคลุมรก ตัววัดก็ไม่ได้ชื่อวัดภูเขาทองชื่อวัดสระเกษอยู่ตามเดิมด้วย เพราะฉะนั้นต่อมาคำต้นที่เรียกว่าพระเจดีย์นั้นจึงได้หายไปเหลืออยู่แต่ ภูเขาทองเพราะเป็นกองอิฐใหญ่แดงอยู่

ครั้นมาในแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อปีชวด ฉอศกจุล ศักราช ๑๒๒๖ มีงานพระเมรุพระบรมบรรพตที่ท้องสนามหลวงแล้วทรงพระราชดำริห์เริ่มสร้างพระเจดีย์บนยอดภูเขาทองครั้นถึงเดือน ๖ ปีฉลู สัปตศก จุลศักราช ๑๒๒๗ ได้เสด็จพระราชดำเนินไปก่อพระฤกษ์แลโปรดเกล้าฯ ให้มีลครข้างในเปนการฉลองด้วยโปรดเกล้าฯ ให้เปลี่ยนชื่อภูเขาทองว่า บรมบรรพต เหมือนอย่างพระเมรุบรมบรรพตที่เคยเรียกมาแล้ว คำ บรมบรรพต นี้ ยังใช้อยู่ในราชการ มิได้โปรดเกล้าฯ ให้แก้ไขเปลี่ยนแปลง แต่บัดนี้มีผู้เรียกบรรพตว่า (สุวรรณบรรพต) ซึ่งเป็นชื่อที่ทรงแปลคำไทย เป็นภาษามคธรังสกฤตเอาเอง ไม่มีผู้ตั้งแต่งในราชการโดยมากหนา ขึ้นเป็นการผิดจากนามที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพระราชทานไว้

เพราะฉะนั้นจึงโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศให้ทราบทั่วกันว่า เจติยสถาน ที่นี่มิได้พระราชทานนามเปลี่ยนใหม่ว่า สุวรรณบรรพตเลยอย่าให้ผู้ใดเรียก แลใช้ในหนังสือราชการให้คงใช้เรียกว่า (บรมบรรพต) อันเปนนามถูกต้อง นั้นเทอญ

ประกาศมา ณ วันที่ ๒๔ พฤษภาคม รัตนโกสินทรศก ๑๑๘"

อย่างไรก็ตาม แม้จะได้มีประกาศให้เรียก "ภูเขาทอง" ว่า "บรมบรรพต" แล้ว แต่ก็ยังมีผู้เรียกว่า "สุวรรณบรรพต" อยู่บ้าง แม้แต่สมณศักดิ์ของพระครูสัญญาบัตรที่วัดสระเกศก็ยังมีทั้ง "พระครูสุวรรณบรรพตพิทักษ์" และ "พระครูพิทักษ์บรมบรรพต" อยู่.

๒๓ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๗๗ (ค.ศ. ๑๙๓๔) –

ตำรวจซุ่มดักยิง บอนนี่แอนด์ไคลด์ โจรปล้นธนาคารชาวอเมริกัน ในมลรัฐลุยเซียนา สหรัฐอเมริกา

๒๓ พฤษภาคม ๒๕๑๐ (ค.ศ. ๑๙๖๗) –

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเปิดอนุสาวรีย์ท้าวเทพกษัตรี และท้าวศรีสุนทร ซึ่งประดิษฐานอยู่บริเวณสี่แยกท่าเรือ ตรงกึ่งกลางถนนเทพกษัตรี กับถนนศรีสุนทร อำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต

 

ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับอนุสาวรีย์ท้าวเทพกระษัตรี ท้าวศรีสุนทร

อนุสาวรีย์ของทั้งสองท่านตั้งอยู่ที่วงเวียนสี่แยกท่าเรือ ตำบลศรีสุนทร อำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต และได้มีการตั้งชื่อตำบลในภูเก็ต ๒ ตำบลตามท้าวเทพกระษัตรี ท้าวศรีสุนทร คือตำบลเทพกระษัตรี และตำบลศรีสุนทร

ประวัติท้าวเทพกระษัตรี ท้าวศรีสุนทร

ท้าวเทพกระษัตรี ท้าวศรีสุนทร เป็นวีรสตรีไทยที่ป้องกันเมืองถลางให้พ้นจากข้าศึกได้ในสงครามเก้าทัพ สมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น ท้าวเทพกระษัตรี มีชื่อเดิมว่า "ท่านผู้หญิงจัน" ท้าวศรีสุนทร เป็นน้องมีชื่อเดิมว่า "คุณมุก" ทั้งสองเป็นบุตรีของจอมรั้งเจ้าเมืองถลาง

คุณจัน เป็นบุตรีคนแรกของจอมร้างบ้านเคียน ซึ่งเกิดจากนางหม้าเสี้ย มีพี่น้องร่วมบิดา มารดาเดียวกัน ๕ คน คือคุณจัน คุณมุก คุณหม่า (หญิง) คุณอาด (ชาย) และคุณเรือง (ชาย) เมื่ออายุสมควรจะมีเรือน บิดามารดาก็ได้จัดการแต่งงานให้กับหม่อมภักดีภูธร (สามีคนแรก) มีธิดา ๑ คน คือแม่ปราง และบุตร ๑ คน คือนายเทียน (ต้นสกุล ประทีป ณ ถลาง) หลังจากคลอดนายเทียน หม่อมภักดีภูธรเสียชีวิตลง คุณจันอยู่เป็นหม้ายจนกระทั่งแต่งงานครั้งที่สองกับพระยาพิมลอัยา (ขัน) ภายหลังเป็นพระยาสุรินทราชาพิมลอัยา (ขัน) มีบุตรธิดาอีก ๒ คน คุณจันเป็นผู้ประกอบด้วยความงาม มีอัธยาศัยสุภาพอ่อนโยน และมีความกล้าหาญเด็ดเดี่ยวสมกับเป็นบุตรของจอมร้างบ้านเคียน จึงเป็นที่สนิทเสน่าหาของบิดามารดาและวงศ์ญาติทั้งหลาย เมื่อบิดามารดาแก่เฒ่า คุณจันก็ได้รับภาระปกครองผู้คนบ่าวไพร่ และดูแลการงานภายในครอบครัวแทนบิดามารดาโดยสิทธิ์ขาด

คุณมุก เป็นบุตรคนที่ ๒ ของจอมร้างบ้านเคียน ซึ่งเกิดจากนางหม้าเสี้ย มีกิริยาสุภาพอ่อนโยน ทั้งมีสติปัญญาและความกล้าหาญเด็ดเดี่ยวไม่ย่อหย่อนกว่าคุณจันผู้พี่ เป็นที่สนิทเสน่หาของบิดามารดา และวงศ์ญาติเช่นกัน แต่ไม่ปรากฏหลักฐานว่าแต่งงานกับผู้ใดหรือไม่

เมื่อจอมร้างบ้านเคียนถึงแก่กรรมลง พญาถลางอาดบุตรชายและน้องชายท่านผู้หญิงจันได้ครองเมืองถลาง ครองได้ไม่นานก็ถูกผู้ร้ายยิงตาย หลังสมเด็จพระเจ้าตากสินปราบก๊กพระยานครได้ประมาณ ๗ ปี จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระยาสุรินทราชาพิมลอัยา (ขัน) เป็นเจ้าเมืองถลาง ท่านผู้หญิงจันเป็นแม่เมืองปกครองเมืองถลางด้วยความสงบสุขสืบมา ครั้นเมื่อพระยาสุรินทราชาพิมลอัยา (ขัน) เจ้าเมืองเสียชีวิต กองทหารจากเมืองหลวงที่ยึดค่ายปากพระได้เข้าเกาะตัวจับกุมท่านผู้หญิงจันเป็นเชลยศึกไปที่ค่ายปากพระ ในข้อกล่าวหาอ้างว่าสามีเป็นหนี้แผ่นดิน

ส่วนแผ่นดินพม่ามีพระเจ้าปดุงครองราชสมบัติใต้ฟ้าแผ่นดินอังวะ ลุปี พ.ศ. ๒๓๒๘ พม่าได้เตรียมกองทัพใหญ่ด้วยพระประสงค์ที่จะขยายอาณาเขต ด้วยกองทัพที่ยิ่งใหญ่แกร่งกล้าในการรบสามารถปราบรามัญ ไทใหญ่ มณีปุระ ยะไข่ รวบรวมไพร่พลได้ถึง ๑๔๔,๐๐๐ คน จัดเป็นทัพใหญ่หมายโจมตีสยามประเทศ เป็นที่รู้จักกันดีในนามสงคราม ๙ ทัพ พม่ายกทัพเข้าบุกตีค่ายปากพระ ซึ่งทหารของรัชกาลที่ ๑ เป็นผู้บัญชาการค่าย พญาพิพิธโภไคยหนีไปเมืองพังงา ท่านผู้หญิงจันในขณะนั้นยังถือว่าเป็นเชลยศึก ได้หนีข้ามช่องปากพระ เข้ามายังเมืองถลาง ผ่านบ้านไม้ขาว บ้านสาคู และบ้านเคียน อันเป็นที่ตั้งเมืองถลาง

แม่ทัพใหญ่ยี่หวุ่นคุมกำลัง ๓,๐๐๐ คน เข้าตีหัวเมืองทางชายฝั่งทะเลตะวันตก ตั้งแต่เมืองกระ ตะกั่วป่า ตะกั่วทุ่ง ค่ายปากพระ โดยมีเป้าหมายสุดท้ายที่เมืองถลางขุมคลังของสยาม ข่าวทัพเรือพม่าบุกโจมตี ประกอบกับเจ้าเมืองถลางเสียชีวิตเป็นข่าวร้ายที่ทำร้ายจิตใจชาวเมืองถลางให้อยู่ในความหวาดกลัว ไม่มีที่พึ่งหมดหวัง แต่พลังใจทั้งมวลกลับตั้งมั่นด้วยจิตใจที่เข็มแข็งของท่านผู้หญิงจันและคุณมุกน้องสาว โดยได้นำกำลังจากบ้านสาคู บ้านในยาง บ้านดอน บ้านไม้ขาว บ้านแขนน บ้านลิพอน บ้านเหรียงมาเตรียมการรบ ณ ค่ายข้างวัดพระนางสร้าง ฝ่ายพม่ายกทัพเข้ามาเร่งก่อสร้างค่ายบริเวณทุ่งนา (โคกชนะพม่า) เพื่อเตรียมโจมตีเมืองถลาง

ส่วนท่านผู้หญิงจัน คุณมุก และคณะกรมการเมืองวางแผนตั้งค่ายประชิดค่ายข้าศึก เตรียมปืนใหญ่ตรึงไว้ดึงเวลาได้หลายวันเป็นผลให้เสบียงอาหารของพม่าลดน้อยลง และวางแผนให้กลุ่มผู้หญิงแต่งตัวคล้ายทหารไทย เอาไม้ทองหลางเคลือบดีบุกมาถือแทนอาวุธ ทำทียกขบวนเข้าเมืองถลางในช่วงดึกลวงพม่าว่าเมืองถลางมีกำลังมาเสริมทุกคืน ทำให้พม่าคาดการณ์กองกำลังเมืองถลางผิดพลาด การศึกครั้งนี้กินเวลายาวนานถึง ๑ เดือนเศษ กำลังพม่าทั้งอ่อนล้าและขาดเสบียงอาหาร

เมื่อพม่าตั้งพลเข้าโจมตีถูกฝ่ายเมืองถลางระดมยิงปืนเล็กปืนใหญ่ นำเอาดินประสิวไปโปรยในกองทัพพม่ายิงคบเพลิงเข้าไปผสมตามยุทธวิธีพระพิรุณสังหาร ครั้นเมื่อชาวเมืองถลางยิงปืนใหญ่แม่นางกลางเมืองถูกต้นทองหลางหน้าค่ายพม่าหักลง กองทัพพม่าระส่ำระสายเสียขวัญ และแตกทัพไปเมื่อวันจันทร์ เดือน ๔ แรม ๑๔ ค่ำ ปีมะเส็ง สัปตศก จุลศักราช ๑๑๔๗ ตรงกับวันที่ ๑๓ มีนาคม พ.ศ. ๒๓๒๘ เป็นวันถลางชนะศึก

เมื่อความทราบฝ่าละอองธุลีพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ ๑ ทรงมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมบำเหน็จผู้ทำคุณแก่แผ่นดิน ให้ท่านผู้หญิงจันเป็น ท้าวเทพกระษัตรี คุณมุกน้องสาวเป็น ท้าวศรีสุนทร ดำรงยศอันมีศักดิ์แก่ฐานานุรูป เป็นศรีแก่เมืองถลาง และวงศ์ตระกูลสืบไป

ต่อมา พระยาทุกขราช (เทียน) ได้รับแต่งตั้ง ให้เป็นพระยาเพชรคีรีพิชัยสงคราม พระยาถลางใน พ.ศ. ๒๓๓๑ นอกจากนี้ในภายหลัง ทางการได้ตั้งนาม สถานที่ตั้งเมืองถลาง เมื่อครั้งศึกพม่าว่า ตำบลเทพกระษัตรี และรวมตำบลท่าเรือ กับตำบลลิพอน ตั้งเป็นตำบลชื่อว่า ตำบลศรีสุนทร สำหรับบั้นปลายชีวิตมีผู้กล่าวว่า ทั้งสองวีรสตรี พักอาศัยอยู่กับ พระยาเพชรคีรีพิชัยสงคราม พระยาถลาง (ต้นตระกูล ประทีป ณ ถลาง) จนเข้าสู่วัยชราภาพ และถึงแก่อสัญกรรมโดยสงบ

ต่อมาประชาชนชาวภูเก็ต โดยการนำของนายอ้วน สุระกุล ผู้ว่าราชการ จังหวัดภูเก็ต ในสมัยนั้น ได้ร่วมใจกันสร้าง อนุสาวรีย์ท้าวเทพกระษัตรี ท้าวศรีสุนทร ขนาดเท่าคนครึ่ง นุ่งโจงกระเบน สวมเสื้อแขนยาว รัดผ้าสไบตะแบงมาน ทรงผมดอกกระทุ่ม ต่างหูรูปดอกไม้ มือขวาถือดาบปลายมน มือซ้ายของท้าวเทพกระษัตรียื่นจับข้อมือขวาท้าวศรีสุนทร ท่านท้าวทั้งสองยืนบนแท่นสูง ๕ เมตร เมื่อวันที่ ๒๘ เมษายน พ.ศ. ๒๕๐๙ โดยอนุสาวรีย์ ตั้งอยู่กลางวงเวียน บนถนนเทพกระษัตรี บ้านท่าเรือ ตำบลศรีสุนทร อำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต เป็นอนุสาวรีย์ยืนลอยตัว จารึกใน ศิลาฤกษ์ไว้ว่า

"ท้าวเทพกระษัตรี (จัน) ท้าวศรีสุนทร ( มุก) ได้กระทำการป้องกันเมืองไว้เป็นสามารถ มิให้พม่าข้าศึก ซึ่งยกมาประชิดเมืองถลาง เมื่อ พ.ศ. ๒๓๒๘ ตีหักเอาเมืองได้ พม่าแตกทัพกลับไปเมื่อ ๒ ฯ ๑๔ ๔ ปีมะเส็ง สัปตกศก จ.ศ. ๑๑๔๗ เป็นวีรกรรมอันควรแก่ชาวเมืองถลาง ตลอดจนชาวไทยทั่วไป ยกย่องสรรเสริญ..."

คำจารึก ที่อนุสาวรีย์ฯ

ท้าวเทพกระษัตรี ท้าวศรีสุนทร

(จัน) (มุก)

ได้กระทำการป้องกันรักษาเมืองถลางไว้เป็นสามารถ

เมื่อปีมะเส็ง พ.ศ.๒๓๒๘

มิให้ข้าศึกตีหักเอาเมืองได้

เป็นวีรกรรมอันควรแก่ชนชาวเมืองถลาง

ตลอดจนชาวไทยทั่วกันยกย่องสรรเสริญ

จึงสร้างอนุสาวรีย์ให้ไว้เป็นอนุสรณ์

เมื่อ พ.ศ.๒๕๐๙

 

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เสด็จฯ เปิด อนุสาวรีย์ท้าวเทพกระษัตรีท้าวศรีสุนทร เมื่อวันที่ ๒๔ พฤษภาคม ๒๕๑๐ นับเป็นพระมหากรุณาอนันตคุณแก่ท้าวเทพกระษัตรีท้าวศรีสุนทร อย่างหาที่สุดมิได้

อนุสาวรีย์ท้าวเทพกระษัตรีท้าวศรีสุนทร จึงเป็นเสมือนหนึ่งเครื่องเตือนใจให้ อนุชนระลึกถึงคุณความดีของบรรพชน

จังหวัดภูเก็ตจึงจัดงานท้าวเทพกระษัตรีท้าวศรีสุนทรในวันที่ ๑๓ มีนาคม ของทุกปี (วันถลางชนะศึก) มีการวางพวงมาลาและสดุดีวีรชนเมืองถลาง เพื่อเป็นการเทิดทูนเกียรติ และรำลึกถึงคุณงามความดี ของสองวีรสตรี ที่ท่านสามารถ ปกป้อง เมืองถลางให้รอดพ้นจากข้าศึก (พม่า) ในสมัยสงครามเก้าทัพ นอกจากนี้ยังเป็นการฟื้นฟู แหล่งประวัติศาสตร์ ไม่ว่าจะเป็น อนุสรณ์สถานถลางชนะศึก (วัดม่วง) โคกชนะพม่า หรือ วัดพระนางสร้าง ให้เป็นแหล่งท่องเที่ยว ที่ทรงคุณค่า เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยว เชิงประวัติศาสตร์ของ จังหวัดภูเก็ต ให้เป็นที่รู้จัก ของนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทย และชาวต่างชาติอีกด้วย

๒๓ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๓๘ (ค.ศ. ๑๙๙๕) เปิดตัวภาษาจาวา โดย เจมส์ กอสลิง และคณะอย่างเป็นทางการ

ภาษาจาวา เป็นภาษาโปรแกรมเชิงวัตถุ พัฒนาโดย เจมส์ กอสลิง และวิศวกรคนอื่น ๆ ที่ ซัน ไมโครซิสเต็มส์ ภาษาจาวาถูกพัฒนาขึ้นในปี พ.ศ. ๒๕๓๔ (ค.ศ. ๑๙๙๑) โดยเป็นส่วนหนึ่งของ โครงการกรีน (the Green Project) และสำเร็จออกสู่สาธารณะในปี พ.ศ. ๒๕๓๘ (ค.ศ. ๑๙๙๕) ซึ่งภาษานี้มีจุดประสงค์เพื่อใช้แทนภาษาซีพลัสพลัส (C++) โดยรูปแบบที่เพิ่มเติมขึ้นคล้ายกับภาษาอ็อบเจกต์ทีฟซี (Objective-C) แต่เดิมภาษานี้เรียกว่า ภาษาโอ๊ก (Oak) ซึ่งตั้งชื่อตามต้นโอ๊กใกล้ที่ทำงานของ เจมส์ กอสลิง แต่ว่ามีปัญหาทางลิขสิทธิ์ จึงเปลี่ยนไปใช้ชื่อ "จาวา" ซึ่งเป็นชื่อกาแฟแทน

และแม้ว่าจะมีชื่อคล้ายกัน แต่ภาษาจาวาไม่มีความเกี่ยวข้องใด ๆ กับภาษาจาวาสคริปต์ (JavaScript) ปัจจุบันมาตรฐานของภาษาจาวาดูแลโดย Java Community Process ซึ่งเป็นกระบวนการอย่างเป็นทางการ ที่อนุญาตให้ผู้ที่สนใจเข้าร่วมกำหนดความสามารถในจาวาแพลตฟอร์มได้

จุดมุ่งหมายหลัก ๔ ประการ ในการพัฒนาจาวา คือ

๑.ใช้ภาษาโปรแกรมเชิงวัตถุ

๒.ไม่ขึ้นกับแพลตฟอร์ม (สถาปัตยกรรม และ ระบบปฏิบัติการ)

๓.เหมาะกับการใช้ในระบบเครือข่าย พร้อมมีไลบรารีสนับสนุน

๔.เรียกใช้งานจากระยะไกลได้อย่างปลอดภัย

[แก้] จาวาแพลตฟอร์ม และ ภาษาจาวา

เนื่องจากชื่อที่เหมือนกัน และการเรียกขานที่มักจะพูดถึงพร้อมกันบ่อย ๆ ทำให้คนทั่วไป มักสับสนว่า ภาษาจาวา และ จาวาแพลตฟอร์ม เป็นสิ่งเดียวกัน

ในความเป็นจริงนั้น ทั้งสองสิ่ง แม้จะทำงานเสริมกัน แต่ก็เป็นสิ่งที่แยกออกจากกัน

โดย ภาษาจาวานั้น คือภาษาโปรแกรมอย่างนึง ดังที่ได้อธิบายไปข้างต้น ส่วน จาวาแพลตฟอร์มนั้น คือสภาพแวดล้อมสำหรับการใช้งานโปรแกรมจาวา โดยมีองค์ประกอบหลักคือ จาวาเวอร์ชวลแมชีน (Java virtual machine) และ ไลบรารีมาตรฐานจาวา (Java standard library)

โปรแกรมที่ทำงานบนจาวาแพลตฟอร์มนั้น ไม่จำเป็นจะต้องสร้างด้วยภาษาจาวา เช่น อาจจะใช้ ภาษาไพธอน (Python) หรือ ภาษาอื่น ๆ ก็ได้

ส่วนภาษาจาวานั้น ก็สามารถนำไปใช้พัฒนาโปรแกรมสำหรับแพลตฟอร์มอื่นได้เช่นเดียวกัน เช่น คอมไพเลอร์ gcj สามารถคอมไพล์โปรแกรมที่เขียนด้วยภาษาจาวา ให้ทำงานได้ โดยไม่ต้องใช้ จาวาเวอร์ชวลแมชีน

รุ่นต่าง ๆ ของภาษาจาวา

๑.๐ (ค.ศ. ๑๙๙๖) — ออกครั้งแรกสุด

๑.๑ (ค.ศ. ๑๙๙๗) — ปรับปรุงครั้งใหญ่ โดยเพิ่ม inner class

๑.๒ (๔ ธันวาคม, ค.ศ. ๑๙๙๘) — รหัส Playground ด้านจาวาแพลตฟอร์มได้รับการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ใน API และ JVM (API สำคัญที่เพิ่มมาคือ Java Collections Framework และ Swing; ส่วนใน JVM เพิ่ม JIT compiler) แต่ตัวภาษาจาวานั้น เปลี่ยนแปลงเพียงเล็กน้อย (เพิ่มคีย์เวิร์ด strictfp) และทั้งหมดถูกเรียกชื่อใหม่ว่า "จาวา ๒" แต่ระบบเลขรุ่นยังไม่เปลี่ยนแปลง

๑.๓ (๘ พฤษภาคม, ค.ศ. ๒๐๐๐) — รหัส Kestrel แก้ไขเล็กน้อย

๑.๔ (๑๓ กุมภาพันธ์, ค.ศ. ๒๐๐๒) — รหัส Merlin เป็นรุ่นที่ถูกใช้งานมากที่สุดในปัจจุบัน (ขณะที่เขียน ค.ศ. ๒๐๐๕)

๕.๐ (๒๙ กันยายน, ค.ศ. ๒๐๐๔) — รหัส Tiger (เดิมทีนับเป็น ๑.๕) เพิ่มคุณสมบัติใหม่ในภาษาจาวา เช่น Annotations ซึ่งเป็นที่ถกเถียงกันว่านำมาจากภาษาซีชาร์ป ของบริษัทไมโครซอฟท์, Enumerations, Varargs, Enhanced for loop, Autoboxing, และที่สำคัญคือ Generics

๖.๐ (๑๑ ธันวาคม, ค.ศ. ๒๐๐๖) [๑] — รหัส Mustang เป็นรุ่นในการพัฒนาของ Java SDK ๖.๐ ที่ออกมาให้ทดลองใช้ในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. ๒๐๐๔

๗.๐ (กำลังพัฒนา กำหนดออก ค.ศ. ๒๐๐๘) — รหัส Dolphin กำลังพัฒนา

๒๔ พฤษภาคม : วันชาติเอริเทรีย

๒๔ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๓๘๗ (ค.ศ. ๑๘๔๔) –

ซามูเอล เอฟ. บี. มอร์ส ส่งโทรเลขอิเล็กทรอนิกส์ฉบับแรก จากบอลทิมอร์ในแมริแลนด์ไปยังวอชิงตัน ดี.ซี.

๒๔ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๒๖ (ค.ศ. ๑๘๘๓) –

เปิดการจราจรบนสะพานบรูกลินในนครนิวยอร์ก ซึ่งเชื่อมระหว่างบรูกลินกับแมนแฮตตัน หลังจากใช้เวลาก่อสร้างนาน ๑๔ ปี

๒๔ พฤษภาคม ๒๔๖๑

พระองค์เจ้าจรูญศักดิ์ กฤดากร อัครราชทูตไทยประจำกรุงปารีส ระหว่างสงครามโลกครั้งที่ ๑ ได้ทำสัญญาข้อตกลงกับฝรั่งเศส ว่าด้วยอำนาจศาลทหาร ถือว่าอำนาจศาลไทยมีอำนาจเหนือบุคคลทั้งปวง ในกองทหารไทยที่ไปปฏิบัติการนอกประเทศ ถ้าเกิดคดีขึ้น ทหารไทยจะต้องขึ้นศาลทหารไทย

๒๔ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๔ (ค.ศ. ๑๙๔๑) –

สงครามโลกครั้งที่สอง: เรือรบเอชเอ็มเอส ฮูด ของสหราชอาณาจักร อับปางลงจากการโจมตีของเรือรบ บิสมาร์ค ของเยอรมันในสมรภูมิช่องแคบเดนมาร์ก

๒๔ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๓๑ (ค.ศ. ๑๙๘๘) –

น.ส.ภรณ์ทิพย์ (ปุ๋ย) นาคหิรัญกนก ครองตำแหน่งนางงามจักรวาลคนที่ ๓๗

๒๔ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๓๕ (ค.ศ. ๑๙๙๒) –

พลเอกสุจินดา คราประยูร ผู้นำเผด็จการของประเทศไทย ลาออกจากตำแหน่ง หลังจากเกิดการเคลื่อนไหว เรียกร้องประชาธิปไตยของประชาชนในเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ ๒๕๓๕

๒๕ พฤษภาคม : วันประกาศเอกราชในจอร์แดน (พ.ศ. ๒๔๘๙)

ข้อมูลทั่วไปประเทศจอร์แดน

ที่ตั้ง ตั้งอยู่ในภูมิภาคตะวันออกกลาง ทิศเหนือติดกับซีเรีย ทิศตะวันออกติดซาอุดีอาระเบีย ทิศตะวันตกติดกับอิสราเอล ทิศใต้ติดกับทะเลแดง มีพื้นที่ ๙๒,๓๐๐ ตารางกิโลเมตร (ไทยมีขนาดใหญ่กว่า ๕.๗ เท่า) มีเมืองหลวงชื่อ กรุงอัมมาน (Amman)

ภูมิอากาศ อากาศโดยทั่วไปค่อนข้างแห้งแล้ง มีปริมาณฝนตกน้อย กลางวันมีแดดจัดและอากาศเย็นในเวลากลางคืน อุณหภูมิฤดูร้อนเฉลี่ย ๒๘ องศาเซลเซียส และอุณภูมิฤดูหนาวเฉลี่ย ๘ องศาเซลเซียส

มีประชากรประมาณ ๕.๙ ล้านคน (๒๕๔๙) เชื้อชาติ อาหรับ (๙๘%) เซอร์คัสเซียน (๑%) และอาร์มาเนียน (๑%) มี อาหรับเป็นภาษาราชการ แต่ชาวจอร์แดนส่วนใหญ่สามารถใช้ภาษาอังกฤษได้ ประชากรนับถือศาสนา อิสลามร้อยละ ๙๘ (สุหนี่ร้อยละ ๙๒ ชีอะห์ร้อยละ ๖) และ คริสเตียนร้อยละ ๑ อื่น ๆ ร้อยละ ๑

ประกาศเอกราชเมื่อวันที่ ๒๕ พฤษภาคม และวันสถานปนาความสัมพันธ์ทางการทูตไทย-จอร์แดน ตรงกับวันที่๑๐ พฤศจิกายน ๒๕๐๙ และเวลาในประเทศจอร์แดน ช้ากว่าไทย ๔ ชั่วโมง

รูปแบบการปกครอง

จอร์แดนปกครองระบอบราชาธิปไตยกึ่งรัฐสภา พระมหากษัตรย์ทรงเป็นพระประมุขนายกรัฐมนตรีเป็นหัวหน้ารัฐบาล แต่งตั้งโดยพระมหากษัตริย์ ปัจจุบันคือ H.E.Eng Nader Al Dahabi( ธันวาคม ๒๕๕๐ ) คณะรัฐมนตรีแต่งตั้งโดยนายกรัฐมนตรีภายใต้การปรึกษาหารือกับพระมหากษัตริย์ รัฐสภาจอร์แดนประกอบด้วย ๒ สภา คือ วุฒิสภา (Majlis Al-Ayan) จำนวน ๔๐ คน แต่งตั้งโดยพระมหากษัตริย์ มีวาระ ๔ ปี และสภาผู้แทนราษฎร (Majlis Al-Nuwaab) จำนวน ๑๑๐ คน เลือกตั้งจากประชาชน โดยเป็นผู้แทนราษฎรในระบบสัดส่วน มีวาระ ๔ ปี เลือกตั้งครั้งหลังสุดเมื่อเดือนมิถุนายน ๒๕๔๖ โดยมีผู้สมัครอิสระ ๙๒ ที่นั่ง และ Islamic Action Front ๑๘ ที่นั่ง

ประวัติศาสตร์โดยสังเขป

จอร์แดนเคยอยู่ภายใต้การปกครองของสหราชอาณาจักรและได้รับเอกราชเมื่อวันที่ ๒๕ พฤษภาคม ๒๔๘๙ หลังจากนั้นในปี ๒๔๙๖ สมเด็จพระราชาธิบดีฮุสเซนเสด็จขึ้นครองราชย์เป็นพระประมุขของจอร์แดน จนถึงต้นปี ๒๕๔๒ และสมเด็จพระราชาธิบดีอับดุลเลาะห์ที่ ๒ บิน อัล ฮุสเซ็น เสด็จขึ้นครองราชย์สืบต่อจากสมเด็จพระราชาธิบดีฮุสเซน พระราชบิดาซึ่งเสด็จสวรรคต โดยทรงกระทำสัตย์สาบานต่อรัฐสภาจอร์แดนเมื่อวันที่ ๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๒

จอร์แดนเป็นประเทศเล็กและไม่มีทางออกทะเล ยกเว้นที่เมืองท่าอะกาบาออกทะเอแดงจึงทำให้ต้องพึ่งพาประเทศเพื่อนบ้าน โดยเฉพาะอิรักในการขนส่งสินค้าผ่านทางทะเล ในอดีตกษัตริย์ฮุสเซ็นทรงมีบทบาทอย่างสูงต่อเสถียรภาพในภูมิภาค โดยทรงเป็นผู้ที่มีบทบาทสำคัญในการไกล่เกลี่ยปัญหาความขัดแย้งระหว่างกลุ่มประเทศอาหรับ นอกจากนั้น การที่จอร์แดนได้ลงนามความตกลงสันติภาพกับอิสราเอลในปี ๒๕๓๗ ทำให้กษัตริย์ฮุสเซ็นทรงมีความสำคัญต่อกระบวนการเจรจาเพื่อสันติภาพในตะวันออกกลางในสายตาของสหรัฐอเมริกาเพิ่มมากขึ้น

๒๕ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๓๕๓ (ค.ศ. ๑๘๑๐) –

การปฏิวัติพฤษภาคม: ชาวเมือง บัวโนสไอเรส ขับไล่อุปราชสเปน แล้วก่อตั้งรัฐบาลท้องถิ่นอิสระในอาร์เจนตินา

๒๕ พฤษภาคม ๒๓๙๔

พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ ทรงตั้ง พระราชพิธีบวรราชาภิเษก สมเด็จพระอนุชาธิราช พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นพระมหาอุปราช แต่ให้มีพระเกียรติยศเทียบเท่าพระเจ้าแผ่นดิน

๒๕ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๓๘ (ค.ศ. ๑๘๙๕) –

ไต้หวันสถาปนาเป็น สาธารณรัฐไต้หวัน เพื่อประกาศความเป็นเอกราชจากราชวงศ์ชิงของจีน

๒๕ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๓ (ค.ศ. ๑๙๔๐) –

สงครามโลกครั้งที่สอง: เริ่มต้นยุทธภูมิดันเคริ์ก

๒๕ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๐๔ (ค.ศ. ๑๙๖๑) –

ประธานาธิบดีจอห์น เอฟ. เคนเนดี แห่งสหรัฐอเมริกาประกาศจุดมุ่งหมายส่งมนุษย์ไปลงดวงจันทร์ แล้วกลับสู่โลกอย่างปลอดภัยใน โครงการอะพอลโล

๒๕ พฤษภาคม ๒๕๑๓ วันเปิดอนุสาวรีย์สุนทรภู่ อำเภอแกลง จังหวัดระยอง

อนุสาวรีย์สุนทรภู่นับว่าเป็น "อนุสาวรีย์กวี" แห่งแรกและแห่งเดียวที่มีอยู่ในประเทศไทย ภายในบริเวณอนุสาวรีย์ มีพื้นที่ ๘ ไร่ครึ่ง หน้าสระน้ำใหญ่เป็นที่ประดิษฐานรูปหล่อสุนทรภู่นั่งเด่นสง่าในท่าที่กำลังแต่งโคลงกลอน เบื้องล่างมีรูปหล่อพระอภัยมณีกำลังเป่าปี่ และในสระน้ำใหญ่นั้นมีรูปหล่อนางเงือกแสนสวย กับนางผีเสื้อสมุทรที่กำลังเอื้อมมือจะยื้อยุดพระอภัยมณี และในวันที่ ๒๖ มิถุนายนของทุกปี จะมีพิธีเซ่นไหว้บวงสรวง สักการะดวงวิญญาณของท่าน การแสดงนิทรรศการ และละครในวรรณกรรมของสุนทรภู่ โดยจังหวัดระยองจัดให้เป็นงานที่ยิ่งใหญ่

ประวัติสุนทรภู่

สุนทรภู่เกิดเมื่อวันจันทร์ เดือน ๘ ขึ้น ๑ ค่ำ ปีมะเมีย ตรงกับวันที่ ๒๖ มิถุนายน พ.ศ. ๒๓๒๙ ในรัชกาลที่ ๑ บิดามารดาชื่อใดไม่ปรากฏ ทราบเพียงว่ามารดามีเชื้อสายผู้ดี และทำหน้าที่เป็นแม่นมของพระธิดาในกรมพระราชวังหลัง ส่วนบิดานั้นบวชเป็นพระอยู่ที่วัดบ้านกร่ำ อำเภอเเกลง จังหวัดระยอง เมื่อสุนทรภู่โตพอสมควร มารดาได้นำไปฝากให้เรียนหนังสือที่วัดชีปะขาว (วัดศรีสุดารามในปัจจุบัน) ครั้นมีความรู้ดีแล้ว มารดานำไปฝากเป็นข้าในกรมพระราชวังหลัง แต่อยู่ได้ไม่นานก็ลาออกไปเป็นเสมียน สุนทรภู่รับราชการไม่ก้าวหน้านัก เพราะติดนิสัยรักกาพย์ กลอน กระทั่งในสมัยรัชกาลที่ ๒ จึงเป็นที่โปรดปรานให้เป็น "ขุนสุนทรโวหาร" ( ภู่ ) เรียกกันสั้น ๆ ว่า "สุนทรภู่ “ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ ๔ ได้รับบรรดาศักดิ์เป็น “พระสุนทรโวหาร” และถึงแก่กรรมเมื่อปีเถาะ พ.ศ. ๒๓๙๘ อายุได้ ๗๐ ปี

อนุสาวรีย์สุนทรภู่

อนุสาวรีย์สุนทรภู่ เป็นอนุสาวรีย์ที่สร้างขึ้นด้วยเงินบริจาคของชาวระยอง เพื่อเป็นอนุสรณ์แด่มหากวีแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ คือ พระสุนทรโวหาร (ภู่) หรือที่เรียกกันโดยทั่วไปว่า สุนทรภู่ ตั้งอยู่บนเส้นทาง แกลง-แหลมแม่พิมพ์ (อยู่ก่อนถึงแหลมแม่พิมพ์ประมาณ ๕ กิโลเมตร จากจังหวัดระยองมาตามถนนสุขุมวิท ถึงหลักกิโลเมตรที่ ๒๓๘ เลี้ยวขวาเข้าตลาดบ้านเพ ใช้ถนนสายเลียบริมฝั่งทะเล ผ่านวนอุทยานแห่งชาติสวนสน) ที่ ต.บ้านกร่ำ อ.แกลง จ.ระยอง ซึ่งเชื่อว่าเป็นบ้านเกิดของบิดาของสุนทรภู่ และท่านเคยมาเยือนที่นี้เมื่อครั้งวัยหนุ่ม พร้อมกับได้ประพันธ์ นิราศเมืองแกลง เอาไว้ด้วย พื้นที่อนุสาวรีย์มีรูปปั้นของสุนทรภู่ตั้งอยู่ตรงกลางเป็นประธานบนเนินสูง ด้านล่างเป็นบ่อน้ำ มีประติมากรรมรูปปั้นหล่อของตัวละครในวรรณกรรมเอกของสุนทรภู่ เรื่อง พระอภัยมณี ประดับอยู่ ๓ ตัว ได้แก่ พระอภัยมณี นางผีเสื้อสมุทร และนางเงือก

อนุสาวรีย์สุนทรภู่ มีอาณาบริเวณ ๘.๕ ไร่ เริ่มวางศิลาฤกษ์ตั้งแต่วันที่ ๓๐ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๙๘ โดย จอมพล ป. พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีในยุคนั้น แต่งานก่อสร้างค้างเติ่งไปเป็นเวลาร่วมสิบปี จนถึงปี พ.ศ. ๒๕๑๑ ผู้ว่าราชการจังหวัดระยองในยุคนั้นคือ นายวิทยา เกษรเสาวภาค เปิดรับบริจาคเงินทั่วประเทศได้เป็นจำนวน ๙๖๒,๗๗๖.๑๐ บาท งานก่อสร้างจึงได้ดำเนินต่อ มีพิธีเททองที่รูปหล่อที่กรมศิลปากรเมื่อวันที่ ๒ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๑๒ และนำไปติดตั้งจนเสร็จเรียบร้อยเมื่อวันที่ ๕ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๑๓ มีพิธีเปิดอนุสาวรีย์อย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ ๒๕ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๑๓

 

ประติมากรผู้ปั้นรูปหล่อในอนุสาวรีย์ ประกอบด้วย

๑.อาจารย์สุกิจ ลายเดช เป็นผู้ปั้นสุนทรภู่

๒.อาจารย์ไกรสร ศรีสุวรรณ เป็นผู้ปั้นพระอภัยมณี

๓.อาจารย์สาโรช จารักษ์ เป็นผู้ปั้นนางเงือก

๔.อาจารย์ธนะ เลาหกัยกุล เป็นผู้ปั้นผีเสื้อสมุทร

 

๒๕ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๒๔ (ค.ศ. ๑๙๗๗) –

ภาพยนตร์เรื่อง สตาร์ วอร์ส กำกับและเขียนบทภาพยนตร์โดยจอร์จ ลูคัส ออกฉายเป็นวันแรก

๒๖ พฤษภาคม : วันเอกราชในกายอานา (พ.ศ. ๒๕๐๙), วันแม่ในโปแลนด์, วันชาติในประเทศจอร์เจีย

๒๖ พฤษภาคม ๒๔๘๕ กองพลที่ ๓ ของกองทัพพายัพยึดเมืองเชียงตุง อันเป็นเมืองหลวงของสหรัฐไทยเดิมได้ในสงครามมหาเอเซียบูรพา

สงครามมหาเอเชียบูรพาการปฏิบัติการรบของกองทัพพายัพ

สงครามโลกครั้งที่ ๒ อุบัติขึ้นด้วยการที่เยอรมนีส่งกองทัพบุกเข้าไปในโปแลนด์ เมื่อวันที่ ๑ กันยายน พ.ศ.๒๔๘๒ เป็นเหตุให้อังกฤษ และฝรั่งเศสผู้นำฝ่ายสัมพันธมิตร ประกาศสงครามกับเยอรมนี ในวันที่ ๓ กันยายน พ.ศ.๒๔๘๒ ภายหลังสัมพันธมิตร ของแต่ละฝ่ายได้เข้าร่วมกันในการรบ ทำให้สงครามขยายแนวออกและทวีความรุนแรงขึ้น ทั้งทวีปยุโรปและแอฟริกา ญี่ปุ่นซึ่งเป็นประเทศมหาอำนาจในเอเชีย ต้องการขยายอิทธิพลครอบคลุมทวีปเอเชีย ได้ส่งกำลังทหารเข้ารุกรบเกาหลี แมนจูเรียฝั่งทะเลตะวันออกของจีนลงมาจนถึงอินโดจีนฝรั่งเศส และยึดครองดินแดนเหล่านั้นไว้

ในตอนต้นของสงครามโลกครั้งที่ ๒ ฝ่ายเยอรมนีรุกรบโจมตีฝ่ายสัมพันธมิตรอย่างรวดเร็วเป็นฝ่ายได้เปรียบในการรบ ญี่ปุ่นเห็นเป็นโอกาสจึงเข้าเป็นฝ่ายพันธมิตร กับเยอรมนีและอิตาลีในปี พ.ศ.๒๔๘๓ ร่วมเป็นกลุ่มที่เรียกว่า อักษะ (The Axis)ร่วมมือช่วยเหลือกันด้านทหาร ตกลงกันที่จัดระเบียบใหม่ในทวีปยุโรปและทวีปเอเชีย โดยทางยุโรปให้เยอรมนีเป็นผู้นำ ส่วนทางเอเชียญี่ปุ่นเป็นผู้นำ ในวันที่ ๘ ธันวาคม พ.ศ.๒๔๘๔ ญี่ปุ่นได้เปิดฉากสงครามมหาเอเชียบูรพาโดยส่งกำลังโจมตีทางอากาศ ทำลายฐานทัพเรือสหรัฐอเมริกาที่เพิร์ลฮาร์เบอร์ เกาะฮาวาย ขณะเดียวกันได้ยกพลขึ้นบก เพื่อยึดมลายูของอังกฤษกับเคลื่อนกำลังเข้าสู่ประเทศไทย ทางตะวันออก ด้านอรัญประเทศจังหวัดปราจีนบุรี และยกพลขึ้นบกใน ๗ จังหวัด ชายฝั่งทะเลของไทย คือ จังหวัดสมุทรปราการ ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช สงขลา และปัตตานี เพื่อใช้ประเทศไทยเป็นทางผ่านไปยังพม่า และมลายูของอังกฤษ ทหาร ตำรวจ ข้าราชการ และประชาชนชาวไทยต่างพร้อมใจกันต่อสู้ ต้านทานกำลังญี่ปุ่นที่รุกรานอย่างกล้าหาญ และทรหดอดทนยอมพลีชีพเพื่อป้องกันประเทศ การจัดตั้งกองทัพพายัพ

เนื่องจากเห็นว่าไม่มีกำลังพลที่จะต้านทานได้ ประเทศไทยจำต้องยอมให้กำลังทหารญี่ปุ่นเคลื่อนทัพผ่าน และได้ตกลงให้ความร่วมมือทางทหารแก่ญี่ปุ่น ซึ่งญี่ปุ่นขอร้องให้ส่งกำลังทหารเข้ายึดพื้นที่รัฐฉานของพม่า ป้องกันปีกขวาของกองทัพ ญี่ปุ่น จอมพล แปลก พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีและผู้บัญชาการทหารสูงสุด เห็น เป็นโอกาสที่จะสงวนกำลังกองทัพไทยไว้ไม่ให้ญี่ปุ่นปลดอาวุธ และยึดครองประเทศ กับเพื่อหาทางติดต่อกับฝ่ายสัมพันธมิตร ผ่านทางประเทศจีน จึงจัดตั้งกองทัพพายัพขึ้นเมื่อวันที่ ๒๑ ธันวาคม พ.ศ.๒๔๘๔ มีพลตรี จรูญ รัตนกุล เสรีเริงฤทธิ์ิ เป็นแม่ทัพพายัพ

การจัดกำลังกองทัพพายัพประกอบด้วย กองพลที่ ๒ (จากจังหวัดปราจีนบุรี) กองพลที่ ๓ (จากจังหวัดนครราชสีมา) กองพลที่ ๔ (จากจังหวัดนครสวรรค์) กองพลทหารม้า กรมทหารม้าที่ี่ ๑๒ กับหน่วยขึ้นสมทบ คือ กองพันทหารราบ กองพันทหารปืนใหญ่ กองพันทหารช่าง รวมทั้งกองบินน้อยผสมที่ ๘๐ (จากจังหวัดลำปาง) และกองตำรวจสนาม กำลังที่เผชิญหน้ากับกองทัพพายัพ คือ กองพลที่ ๙๓ ของจีนฝ่ายก๊กมินตั๋ง ซึ่งอังกฤษมอบให้ดูแลพื้นที่ในส่วนนี้แทนกำลังของกองทัพพายัพได้เคลื่อนที่จากรัฐฉาน (สหรัฐไทยเดิม) เมื่อวันที่ ๑๐ พฤษภาคม พ.ศ.๒๔๘๕ มุ่งเข้ายึดเมืองเชียงตุง ซึ่งเป็นที่ตั้งกองบัญชาการกองพลที่ ๙๓ ของจีน และในวันที่ ๒๖ พฤษภาคม พ.ศ.๒๔๘๕ เวลา ๑๖.๒๕ น. กองพันทหารราบที่ ๕๒ กองพลที่ ๓ สามารถเข้ายึดเมืองเชียงตุงได้เป็นหน่วยแรก

ต่อมาในวันที่ ๔ มิถุนายน พ.ศ.๒๔๘๕ พลตรี หลวงชำนาญยุทธศาสตร์ (ผิน ชุณหะวัณ) ผู้บัญชาการกองพลที่ ๓ ได้ยกกองทัพเข้าสู่เมืองเชียงตุง ได้รับการต้อนรับเป็นอย่างดี จากผู้ปกครองและชาวเมืองเชียงตุงกองทัพพายัพได้เคลื่อนกำลังขึ้นไปยึดเมืองสำคัญต่าง ๆ ตามแผนที่วางไว้และสามารถขึ้นไปประชิดชายแดนพม่าต่อกับชายแดนจีน ด้านมณฑลยูนนานได้สำเร็จในต้นปี พ.ศ.๒๔๘๖ รวมเวลาการรบประมาณ ๘ เดือนเศษ หลังจากนั้นกองทัพพายัพได้เริ่มถอนกำลังบางส่วนกลับสู่ประเทศไทย เข้าที่ตั้งเรียงรายลงมาตั้งแต่จังหวัดเชียงรายจนถึงจังหวัดลำปาง ส่วนกำลังที่คงอยู่ในสหรัฐไทยเดิมมีเท่าที่จำเป็น และได้ถอนทหารทั้งหมด เมื่อสงครามยุติในเดือนสิงหาคม พ.ศ. ๒๔๘๘

ในวันที่ ๑๓ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๔๘๘ กองทัพบกได้มีคำสั่งยกเลิกกองทัพพายัพ และหน่วยต่าง ๆ ที่จัดตั้งขึ้นระหว่างสงครามมหาเอเชียบูรพาจึงเป็นการสิ้นสุด ภาระหน้าที่ของกองทัพพายัพนับแต่นั้นการจัดพิพิธภัณฑ์การปฏิบัติการของกองทัพพายัพ อาคารพิพิธภัณฑ์สงครามมหาเอเชียบูรพา การปฏิบัติการของกองทัพพายัพ เป็นอาคารทรงแปดเหลี่ยมหลังคาทรงไทยใหญ่ประยุกต์ ภายในจัดแสดงหุ่นจำลองโลหะรมดำขนาดเท่าคนจริงของทหารไทยในสงครามมหาเอเชียบูรพา จัดแสดงหุ่นจำลอง ขนาดเล็ก (DIORAMA) เหตุการณ์การเข้าสู่เมืองเชียงตุงของทหารไทยในกองทัพพายัพ และการปฏิสัมพันธ์ระหว่างทหารไทยกับประชาชนชาวเมืองเชียงตุง การจัดแสดงอาวุธยุทธภัณฑ์ที่ใช้ในสงครามมหาเอเชียบูรพา บรรยายข้อมูลประวัติความเป็นมาของกองทัพพายัพ ประวัติการรบ และนำเสนอข้อมูลด้วยระบบคอมพิวเตอร์ญี่ปุ่นยกพลขึ้นบกที่มลายูพลตรี จรูญ รัตนกุล เสรีเริงฤทธิ์ผังการจัดกำลังกองทัพพายัพกองพันทหารราบที่ ๕๒ กองพลที่ ๓ เข้าเมืองเชียงตุงแผนที่กองทัพพายัพประชิดมณฑลยูนานสงครามมหาเอเชียบูรพาการปฏิบัติการรบของกองทัพพายัพ จัดเวทีสำหรับบรรยายสรุป และอัฒจันทร์สำหรับผู้ฟัง นั่งได้ ๒๐๐ คน จัดแสดง หุ่นจำลองโลหะรมดำขนาดเท่าคนจริง เหตุการณ์ตอนทหารไทยในกองทัพพายัพเข้าตีเมืองเชียงตุง มีหมู่ทหารปืนกลเบา ทหารราบ ขบวนวัว เทียมเกวียน ล่อต่าง ทางรถไฟในการขนส่งทหารภายหลังสงครามยุติ

๒๖ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๓๔๘ (ค.ศ. ๑๘๐๕) –

นโปเลียน โบนาปาร์ต สถาปนาตนเองเป็นกษัตริย์แห่งอิตาลี ที่เมืองมิลาน

๒๖ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๓๙ (ค.ศ. ๑๘๙๖) –

ชาลส์ ดาว เริ่มตีพิมพ์ ดัชนีอุตสาหกรรมดาวโจนส์ เป็นดัชนีตลาดหลักทรัพย์

๒๖ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๑๕ (ค.ศ. ๑๙๗๒) –

สหรัฐอเมริกาและสหภาพโซเวียต ลงนามในสนธิสัญญาต่อต้านขีปนาวุธ ที่กรุงมอสโก

๒๖ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๒๙ (ค.ศ. ๑๙๘๖) –

ประชาคมยุโรป เริ่มใช้ธงยุโรป

๒๖ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๓๔ (ค.ศ. ๑๙๙๑) –

หลังจากแวะที่ท่าอากาศยานนานาชาติกรุงเทพ เครื่องบินโบอิง ๗๖๗-๓๐๐ ของสายการบินเลาดาแอร์ (Lauda Air) ประสบอุบัติเหตุระเบิดกลางอากาศและตกในป่า ที่อุทยานแห่งชาติพุเตย อ.ด่านช้าง จ.สุพรรณบุรี เครื่องบินลำนี้มีชื่อว่า Wolfgang Amadeus Mozart เป็นเที่ยวบินที่ ๐๐๔ ระหว่างฮ่องกง-เวียนนา ประเทศออสเตรีย ระหว่างทางได้แวะพักที่สนามบินดอนเมือง หลังจากเทคออฟได้ไม่นาน เครื่องยนต์ที่ก็ขัดข้องและระเบิดกลางอากาศ ที่ระดับความสูง ๑,๒๐๐ เมตร เป็นเหตุให้ผู้โดยสาร ๒๑๓ คนและลูกเรืออีก ๑๐ คนเสียชีวิตทั้งหมด (คร่าชีวิตนักบิน ลูกเรือและผู้โดยสาร รวมทั้งสิ้น ๒๒๓ คน)

๒๗ พฤษภาคม วันสถาปนา กรมการทหารสื่อสาร (พ.ศ.๒๔๖๗) และ วันเด็กในประเทศไนจีเรีย

วันสถาปนากรมการทหารสื่อสาร

๒๗ พฤษภาคม ของทุกป เปนวันสําคัญของเหลาทหารสื่อสาร เนื่องจากเปนวัน กอกําเนิด “ทหารสื่อสาร” ตามคําสั่งสําหรับทหารบกที่ ๓๗/๔๘๖๓ โดย พลเอกพระเจาบรมวงศเธอกรมพระกําแพงเพชรอัครโยธิน พระบิดาผูกอกําเนิดเหลาทหารสื่อสาร ไดจัดตั้ง กองโรงเรียนทหารสื่อสารขึ้น ในกรมจเรการชางทหารบกเมื่อวันที่ ๒๗ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๖๗ ถือไดวาเปนครั้งแรกที่ทหารสื่อสารไดกอกําเนิดในกองทัพบกเรียก “ ชนิดทหารสื่อสาร ” มีสีเม็ดมะปรางเปนสัญลักษณ และพัฒนาการจัดหนวยมาตามลําดับจนถึงปจจุบัน เปนกรมการทหารสื่อสาร ขึ้นตรงตอ กองทัพบก ตั้งอยูเลขที่ ๑๔๙ ถนนพระราม ๕ แขวงถนนนคร ไชยศรี เขตดุสิต กรุงเทพ โดยมี พล.ท.กิตติทัศน บําเหน็จพันธุ เปน เจากรมการทหารสื่อสาร

ในสวนของการพัฒนาเหลาทหารสื่อสาร ตามแผนแมบทการพัฒนาหนวย / เหลาทหารสื่อสาร กรมการทหารสื่อสาร ไดกําหนดแนวทางปฏิบัติ เพื่อรองรับแผนพัฒนา กองทัพบก ในสวนของ กรมการทหารสื่อสาร ซึ่งรับผิดชอบในฐานะเหลาสายวิทยาการ และกรมฝายยุทธบริการของกองทัพบก ใหสามารถบรรลุเปาหมายการพัฒนากองทัพ ในหวงเวลาที่กําหนดอยางเปนรูปธรรม ทั้งในดานโครงสรางการจัดหนวย ความพรอมรบ ความตอเนื่องในการรบ และความทันสมัยโดยสอดคลองกับความเรงดวนทางดานยุทธการ ตามนโยบาย / คําสั่ง กองทัพบก รวมทั้งสภาพแวดลอม และภัยคุกคาม ที่คาดวาจะเกิดขึ้นตามหวงระยะเวลา ตลอดจนสถานภาพทางดานงบประมาณ เพื่อใหหนวยทหารสื่อสาร ในระดับตาง ๆ สามารถสนับสนุนหนวยกําลังรบ หนวยสนับสนุนการรบ และหนวยทางการสงกําลังบํารุงอื่น ๆ ใหสามารถทําการรบได และมีความสมบูรณ ในดานการติดตอสื่อสารในทุกระดับตามหลักนิยม ที่กําหนดไว สรุปสาระสําคัญดังนี้.-

๑. ดานโครงสรางการจัดหนวย

๑.๑ การปรับหนวยทหารสื่อสารในทุกระดับ ใหสามารถสนับสนุนหนวยตาง ๆ ไดอยางสอดคลองกับหนวยรับการสนับสนุน และสภาพแวดลอมทางการยุทธสมัยใหม มีแนวทาง ดังนี้.-

๑.๑.๑ หนวยทหารสื่อสาร ระดับยุทธศาสตรสามารถรองรับภารกิจ เกี่ยวกับ งานดานการสื่อสารทั้งทางภาพ เสียง การสื่อสารขอมูล และงานเทคโนโลยีสารสนเทศ

๑.๑.๒ หนวยทหารสื่อสาร ระดับยุทธวิธีใหมีความคลองตัว สามารถสนับสนุนภารกิจทางยุทธวิธีดานการสื่อสาร และงานสารสนเทศไดอยางมีประสิทธิภาพ

๑.๒ แนวความคิดในการปรับปรุง อจย. กองพันทหารสื่อสาร ซอมบํารุงเขตหลัง ซึ่งเปนเปนหนวยรับผิดชอบหลักในการซอมบํารุงยุทโธปกรณ สาย ส. สนับสนุนหนวยตาง ๆ ของ ทบ. โดยการเพิ่ม รอย ส.ซบร.เขตหลัง อีก ๑ กองรอย เพื่อรองรับปริมาณที่เพิ่มมากขึ้น

๑.๓ การจัดตั้ง กองพันทหารสื่อสารที่ ๑๕ กองพลทหารราบที่ ๑๕ ( กองพันทหารสื่อสาร กองพลพัฒนา และพิทักษทรัพยากรเดิม ) เพื่อสนับสนุนการสื่อสาร ใหกับหนวย ในพื้นที่ จชต. ปจจุบันไดดําเนินการ จัดตั้ง กองพันทหารสื่อสารที่ ๑๕ เสร็จสมบูรณ เปนที่เรียบรอยแลว

๒. การพัฒนาการสื่อสาร

๒.๑ ปรับปรุงชุดวิทยุตาง ๆ แบบติดตั้งประจําที่ และ ติดตั้งบนยานยนต ใหสามารถ รับ – สง การสื่อสารขอมูล ภาพนิ่ง และภาพเคลื่อนไหว ไดทุกระดับหนวย

๒.๒ ปรับปรุงศูนยการสื่อสาร ใหมีการรวมชองการสื่อสารประเภทตาง ๆ ใหสามารถ ติดตอสื่อสาร กันไดโดยตรง และผานระบบโทรศัพททางยุทธวิธี โดยการเขา – ถอดรหัส

๒.๓ ปรับปรุงรถสื่อสารทางยุทธวิธี ใหสามารถควบคุมบังคับบัญชา อํานวยการ ยุทธวิธีในทุกขายการสื่อสาร

๓. งานวิจัยและพัฒนา

๓.๑ ปรับปรุง / พัฒนาหลักนิยม โดยแตงตั้งคณะกรรมการสรรพตํารา เพื่อพัฒนา ปรับปรุง / พัฒนาหลักนิยม ใหมีความสอดคลองกับนโยบาย ทบ. ทันสมัย เหมาะสมกับสถานการณที่เปลี่ยนไป

๓.๒ ดําเนินการวิจัยและพัฒนา HEAD SET และนําไปสูกระบวนการผลิต เพื่อใชงาน

๓.๓ ดําเนินการวิจัย / พัฒนา ระบบภูมิศาสตรสารเทศ เพื่อสนับสนุนการสื่อสาร ทางยุทธวิธี

๓.๔ การวิจัย และพัฒนา ชุดวิทยุในระดับหมู ใหมีขนาดกระทัดรัด เหมาะสม กับการใชงาน

๔. ดานบุคลากร เนื่องจากเทคโนโลยีดานอิเล็กทรอนิกส ไดมีความกาวหนาอยางรวดเร็ว จึงมี ความจําเปนอยางยิ่งที่กําลังพลทุกคน ตองติดตามวิทยาการดานนี้ รวมทั้งมีความจําเปนที่จะตองซอมบํารุงเครื่องอิเล็กทรอนิกสที่เขามาใชใน ทบ. ใหอยูในสภาพที่พรอมจะใชงาน จึงจําเปนตองมีกําลังพลที่มีความรูความสามารถทั้งในระดับเจาหนาที่เทคนิค และวิศวกร โดยกําหนดโครงการดังนี้.-

๔.๑ การศึกษาในประเทศ เรงรัดปรับปรุงหลักสูตรการศึกษาตาง ๆ ใหมีความพัฒนาดานวิชาการอยางตอเนื่อง เชน หลักสูตรนักเรียนนายสิบเหลาทหารสื่อสาร โดยจัดทําโครงการพัฒนาตาง ๆ เพื่อพัฒนา ความรูความสามารถ เปนตน นอกจากนี้ยังสนับสนุนใหกําลังพลไดมีโอกาสไปศึกษานอกหนวยทั้งสถาบันการศึกษาทหาร และพลเรือนอยางตอเนื่อง

๔.๒ การศึกษาในตางประเทศ ไดสงนายทหารไปศึกษาในระดับปริญญาโท สาขาวิศวกรรมไฟฟา, วิศวกรรมคอมพิวเตอรและอิเล็กทรอนิกส ณ ประเทศสหรัฐอเมริกา ปละ ๒ – ๓ ทุน อยางตอเนื่อง

วันที่ ๒๗ พฤษภาคม เปนวันคลายวันสถาปนา เหลาทหารสื่อสาร กรมการทหารสื่อสารไดมีการจัดงานวันสถาปนาเหลาทหารสื่อสาร โดยจัดใหมีพิธี บวงสรวงวางพานประดับพุมดอกไมพระอนุสาวรีย พลเอกพระเจาบรมวงศเธอกรมพระกําแพงเพชรอัครโยธิน และพิธีทางศาสนา โดยมีผูบัญชาการทหารบกเปนประธานพิธี ทั้งนี้ผูบัญชาการทหารบกจะไดใหโอวาทแกกําลังพลของกรมการทหารสื่อสารดวย

๒๗ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๒๔๖ (ค.ศ. ๑๗๐๓) –

พระเจ้าซาร์ปีเตอร์ที่ ๑ แห่งรัสเซีย สถาปนากรุง เซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก

๒๗ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๔๙ (ค.ศ. ๑๙๐๖) วันเกิดของ ท่านพุทธทาสภิกขุ บุคคลสำคัญของโลก และนักปราชญ์แห่งศาสนาพุทธยุคใหม่

 

ชีวิตและผลงาน พุทธทาส ภิกขุ สวนโมกขพลาราม อำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี

--------------------------------------------------------------------------------

เป็นบุตรนายเซี้ยง และนางเคลื่อน พานิช เกิดเมื่อวันอาทิตย์ที่ ๒๗ พฤษภาคม ๒๔๔๙ ขึ้น ๗ ค่ำ เดือน ๗ ปีมะเมีย ณ หมู่บ้านกลาง ตำบลพุมเรียง (ที่ตั้งเดิมของจังหวัดไชยา ก่อนเปลี่ยนชื่อเป็น “สุราษฎร์ธานี”)

พ.ศ. ๒๔๔๙ เด็กชายเงื่อม หรือพุทธทาสภิกขุในเวลาต่อมา เกิดเมื่อวันอาทิตย์ที่ ๒๗ พฤษภาคม ตรงกับวันขึ้น ๗ ค่ำ เดือน ๗ ปีมะเมีย บุตร นายเซี้ยงและนางเคลื่อน พานิช ที่หมู่บ้านกลาง ตำบลพุมเรียง ซึ่งสมัยนั้นยังเป็นที่ตั้งของจังหวัดไชยา

พ.ศ. ๒๔๕๗ เมื่ออายุ ๘ ขวบ บิดามารดาพาเด็กชายเงื่อมไปฝากเป็นเด็กวัดที่วัดพุมเรียง เป็นเวลา ๓ ปี เพื่อรับการศึกษาเบื้องต้นตามแบบโบราณ

พ.ศ. ๒๔๖๐ เด็กชายเงื่อมกลับมาอยู่บ้าน เข้าเรียนชั้นประถมศึกษาที่โรงเรียนวัดโพธาราม และเล่าเรียนที่นี่จนถึงชั้นมัธยม

พ.ศ. ๒๔๖๔ ย้ายมาเรียนชั้นมัธยมปีที่ ๒ ที่โรงเรียนสารภีอุทิศ ตำบลตลาด เพื่อจะได้อยู่กับบิดา ซึ่งมาเปิดร้านค้าอีกแห่งหนึ่งที่ตำบลนี้

พ.ศ. ๒๔๖๕ บิดาถึงแก่กรรมด้วยโรคลมปัจจุบัน เด็กหนุ่มเงื่อมออกจากโรงเรียนมาช่วยดำเนินการค้ากับมารดา ระหว่างนี้ นายยี่เกย น้องชาย บวชเป็นสามเณรและเรียนชั้นมัธยมอยู่ที่โรงเรียนประจำจังหวัดสุราษฎร์ธานี

พ.ศ. ๒๔๖๙ -ก่อนเข้าพรรษานายเงื่อมบวชเมื่อวันที่ ๒๙ กรกฎาคม ได้ฉายา "อินฺทปญฺโ" จำพรรษาที่วัดพุมเรียง ปลายปีสอบได้นักธรรมชั้นตรี และไม่ลาสิกขาตามกำหนด

-ปิดเทอมปลายปี นายยี่เกยกลับบ้านและไม่ไปเรียนต่อ เพื่อเปิดโอกาสให้พระเงื่อมได้บวชเรียนต่อไป

พ.ศ. ๒๔๗๐ -พระเงื่อมสอบได้นักธรรมชั้นโท

พ.ศ. ๒๔๗๑

-ต้นปีพระเงื่อมเข้าเรียนต่อกรุงเทพฯ ครั้งแรกที่วัดปทุมคงคา อยู่ได้เพียง ๒ เดือน ก็เดินทางกลับมาจำพรรษาที่วัดพุมเรียง

-ปีนั้นสอบได้นักธรรมเอก

พ.ศ. ๒๔๗๒

-เป็นครูสอนนักธรรม โรงเรียนนักธรรม วัดพระบรมธาตุไชยา

-นายยี่เกย “ธรรมทาส” ซึ่งเป็นน้องชาย ได้ตั้งคณะธรรมทานขั้นต้นขึ้น โดยเปิดหีบหนังสือธรรมะให้คนยืมอ่านที่ร้านไชยาพานิช

-เริ่มรับหนังสือวารสารพุทธศาสนาภาษาอังกฤษจากต่างประเทศ

-นายยี่เกยเขียนบทความลงหนังสือพิมพ์ในกรุงเทพฯ ใช้นามปากกาว่า "ธรรมทาส"

พ.ศ. ๒๔๗๓

-พระเงื่อม อินฺทปญฺโญ ได้ขึ้นกรุงเทพฯ มาอยู่ที่ วัดปทุมคงคา อีกครั้งหนึ่งเพื่อเรียนบาลีต่อ

-เขียนบทความชิ้นแรกชื่อ "ประโยชน์แห่งทาน" เพื่อพิมพ์ในงานพระราชทานเพลิงศพพระอุปัชฌาย์ มีเนื้อความตอบคำถามของคนสมัยใหม่ที่เริ่มสงสัยคุณค่าของการทำทานแบบที่ทำ ๆ กันอยู่

-ปลายปีเขียนบทความขนาดยาวเรื่อง "พระพุทธศาสนาขั้นบุถุชน" อธิบายคุณค่าของพระพุทธศาสนาด้วยภาษาสมัยปัจจุบัน และเริ่มแสดงความคิดเห็นว่า มรรค ผล นิพพาน เป็นเรื่องที่เป็นไปได้จริงในสมัยปัจจุบัน บทความนี้พิมพ์เป็นหนังสือแจก งานฉลองโรงเรียนนักธรรมวัดพระบรมธาตุไชยา

-ปลายปีนั้นสอบได้เปรียญธรรม ๓ ประโยค เป็น พระมหาเงื่อม อินฺทปญฺโญ

พ.ศ. ๒๔๗๔

-เบื่อเรียนมากขึ้น ค้นคว้าศึกษานอกตำราเรียนออกไป ความคิดอุดมคติเริ่มตั้งมั่น

-ปลายปีสอบเปรียญธรรมประโยค ๔ ตก เตรียมเดินทางกลับบ้านเพื่อทำงานตามอุดมคติ

พ.ศ. ๒๔๗๕

-เดินทางกลับถึงพุมเรียง (๖ เม.ย. ๒๔๗๔)

-เข้าอยู่ในวัดร้างตระพังจิก ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของสวนโมกข์สวนโมกขพลารามเมื่อ ๑๒ พฤษภาคม

-เดือนกรกฎาคมคณะธรรมทานตั้งขึ้นอย่างเป็นกิจจะลักษณะ

-นางเคลื่อนทำพินัยกรรมมอบเงิน ๖,๓๗๘ บาท ตั้งเป็นทุนต้นตระกูลพานิช ช้ดอกผลบำรุงสวนโมกข์และคณะธรรมทาน

-คณะธรรมทานตั้งขึ้นอย่างเป็นกิจจะลักษณะ (ก.ค.) เปิดบ้านหนังหนึ่งเป็น "ห้องธรรมทาน" -มีทำบุญเลี้ยงพระและเทศน์ทุกวันพระและวัน ๘ ค่ำ

-เริ่มเขียน "ตามรอยพระอรหันต์" ในเดือนสิงหาคม

พ.ศ. ๒๔๗๖

-ออกหนังสือพิมพ์พุทธสาสนา ราย ๓ เดือน

-เริ่มเขียนบทความวิพากษ์วิจารณ์สภาพพระพุทธศาสนาและพระสงฆ์ใช้นามปากกา "ธรรมโยช" "ชินวาทก์"ฯ

- และเขียน "ทำไมไม่ไปกับพระโลกนาถ" ลงหนังสือพิมพ์ประชาธิปไตย ฉบับวันที่ ๒๔ พฤศจิกายน ๒๔๗๖

 

พ.ศ. ๒๔๗๗

-คณะธรรมทานซื้อแท่นพิมพ์มาพิมพ์หนังสือเอง

-เขียน"คันถะธุระกับวิปัสสนาธุระเนื่องกันอย่างไร"

-เริ่มแปล "พุทธประวัติจากพระโอษฐ์"

-แปล "บาลีมหาสติปัฏฐานสูตร"

-สด กูรมะโรหิต เขียนเรื่องมาจากปักกิ่ง ทั้งหมดนี้ลงพิมพ์ในพุทธสาสนา

-ก่อนเข้าพรรษาเดินทางไปนครศรีธรรมราช ปาฐกถาเรื่อง "การส่งเสริมปฏิบัติธรรม" และ "หลักพุทธศาสนา" ให้แก่คณะของพระดุลยพากย์สุวมัณฑ์ ซึ่งเปิดสวนปันตาราม ตามแบบสวนโมกขพลาราม

-ในพรรษาเข้ากรรมฐาน ๓ เดือนงดพูด จดบันทึกปฏิบัติธรรมเป็นรายวัน

-เขียนบทความขนาดยาวเรื่อง "การปฏิบัติธรรม" (๑๗ ก.พ.)

พ.ศ. ๒๔๗๘

-ทางราชการย้ายที่ว่าการอำเภอจากพุมเรียง ไปอยู่ที่ตำบลตลาด ริมทางรถไฟ

-คณะธรรมทานและโรงพิมพ์ธรรมทานย้ายตามไปอยู่ที่ตำบลตลาดด้วย

-เริ่มแปล "อริยสัจจากพระโอษฐ์" ลงพุทธสาสนา

-เดินทางไปเทศน์ถิ่นไทยทางใต้สุด กลับมาเขียนเรื่อง "พระพุทธศาสนาในถิ่นไทยทางใต้"

-เริ่มติดต่อกับสามเณรกรุณา กุศลาสัย (ต่อมาคืออาจารย์กรุณา กุศลาสัย) บรรพชิตไทยรูปเดียวที่เดินเท้าไปถึงอินเดียพร้อมกับพระโลกนาถ (พระภิกษุชาวอิตาเลียน)

พ.ศ. ๒๔๗๙

-แปลและแต่งกาพย์สุกรยักษ์ อันเป็นคำวิจารณ์พระสงฆ์อย่างรุนแรง (จากบางตอนของสุมังคลวิลาสินี)

-เขียน "คุณค่าของปริยัติ" ชี้ให้เห็นความสำคัญของการเชื่อมระหว่างทฤษฎีและการปฏิบัติในพุทธศาสนา

-เขียน "สังคายนาแต้มหัวตะ" เรียกร้องให้แปลพระไตรปิฎกเป็นไทย และวิจารณ์การทำสังคายนาที่ผ่าน ๆ มา

-ท่านปัญญานันทะ พระราชญาณกวี (บุญชวน) และสามเณรสำเริง มาร่วมจำพรรษาอยู่ด้วย

-พิมพ์รวมเล่มพุทธประวัติจากพระโอษฐ์ครั้งแรก

-คณะธรรมทานเปิดโรงเรียนพุทธนิคม

พ.ศ. ๒๔๘๐

-หัวหน้ากองตำรามหามกุฎราชวิทยาลัย ประกาศใช้พุทธประวัติจากพระโอษฐ์ เป็นหนังสือประกอบแบบเรียน (๑๕ มิ.ย.)

-แปล "ลังกาวตาลสูตร" จากพระสูตรฝ่ายมหายาน ลงพุทธสาสนา

-สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (เจริญ ญาณวรเถร) วัดเทพศิรินทร์ ประธานกรรมการมหาเถรสมาคม และผู้บัญชาการคณะสงฆ์แทนองค์สมเด็จพระสังฆราชเจ้า เดินทางมาเยี่ยมสวนโมกข์และค้างคืน ๑ คืน (๒๖ มิ.ย.)

-เขียน "บรรณวิจารณ์อภิธานัปปทีปนีกา" และ "ต้นบัญญัติสิกขาบท" -ไว้อาลัยวาระสิ้นพระชนม์ของสมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงชินวรสิริวัฒน์ (๑๖ ธ.ค.)

 

พ.ศ. ๒๔๘๑

-เริ่มอบรมสามเณรชุดพิเศษ เพื่อสร้างนักเผยแผ่ที่ทันสมัย (งานที่ไม่ประสบความสำเร็จในเวลาต่อมา)

-เรียบเรียง "เกียรติคุณของพระพุทธเจ้า" หนังสือพุทธประวัติสำหรับคนหนุ่มสาว ลงวันที่ ๑๑ ม.ค.

-เขียนบทความขนาดยาว "อนัตตาของพระพุทธเจ้า"

-พระยาลัดพลีธรรมประคัลภ์ (วงศ์ ลัดพลี) อธิบดีผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ พระยาภะรตราชสุพิช ผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ และนายสัญญา ธรรมศักดิ์ มาเยี่ยมสวนโมกข์เป็นครั้งแรก

พ.ศ. ๒๔๘๒

-นายยี่เกยเปลี่ยนชี่อเป็น "ธรรมทาส" อย่างเป็นทางการ

-สร้างหอสมุดธรรมทาน ที่วัดชยาราม เป็นที่พักและที่ทำงานอีกแห่งหนึ่ง

-มีบทความเกี่ยวกับกฤษณมูรติ ลงพุทธสาสนา

-เขียนบทความขนาดยาว ๕๕ หน้า "ตอบปัญหาบาทหลวง" หักล้างความเชื่อเกี่ยวกับพระเจ้าแบบบุคคลอย่างรุนแรง ลงหนังสือพิมพ์ พุทธสาสนา ราย ๓ เดือน

พ.ศ. ๒๔๘๓

-เกิดสงครามในยุโรป ทำให้กระดาษแพง หายาก พุทธสาสนา ๒ เล่ม ออกรวมเป็นเล่มเดียว

-เริ่มมีบทความต่อต้านสงครามเรื่อง "ไฟไหม้โลกยุคกึ่งพุทธกาล" ลงพุทธสาสนา

แสดงปาฐกถาที่กรุงเทพฯ เป็นครั้งแรก ตามคำอาราธนาของพุทธธรรมสมาคม (ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็นพุทธสมาคมแห่งประเทศไทยในปี พ.ศ.๒๔๘๔) ในหัวข้อเรื่อง "วิถีแห่งการเข้าถึงพุทธธรรม" (๑๓ ก.ค. พูด ๒ ชั่วโมง ๑๕ นาที)

พ.ศ. ๒๔๘๔

-ทางราชการเปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่ จาก ๑ เมษายน เป็น ๑ มกราคม

-เริ่มแปล "ขุมทรัพย์จากพระโอษฐ์" ลงพุทธสาสนา

พ.ศ. ๒๔๘๕

-เริ่มสร้างสโมสรธรรมทาน ที่วัดชยาราม

-หนังสือพิมพ์พุทธสาสนาเริ่มลงเรื่องเกี่ยวกับพุทธศาสนา ฝ่ายมหายาน

-แสดงปาฐกถาธรรมที่พุทธสมาคมแห่งประเทศไทยเรื่อง "ความสงบในฐานะเป็นผลแห่งการเข้าถึงพุทธธรรม"

พ.ศ. ๒๔๘๖

-วางเงินซื้อที่บริเวณธารน้ำไหลจากหลวงพรหมปัญญา เมื่อ ๑๘ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๖

-หลวงบริบาลบุรีภัณฑ์เป็นผู้เชื่อมให้ได้เฝ้าสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ที่วังวรดิศ เพื่อปรึกษาหารือเรื่องโบราณคดีเมืองไชยา

-เทศน์งานพระราชทานเพลิงศพของสมเด็จพระวันรัต (เฮง เขมจารี) เรื่อง "ลักษณะน่าอัศจรรย์บางประการของนิพพาน" (๒๒ ส.ค.)

-เขียนความเรียบเรียงเชิงประวัติ เกี่ยวกับชีวิตและงานในสวนโมกข์ที่ผ่านมาชื่อ "สิบปีในสวนโมกข์"

พ.ศ. ๒๔๘๗

-ย้ายมาจำพรรษาที่สวนโมกขพลารามแห่งใหม่ บริเวณธารน้ำไหล เขาพุทธทอง (สวนโมกข์ปัจจุบัน)

 

พ.ศ. ๒๔๘๙

-ได้รับแต่งตั้งให้เป็นหัวหน้าฝ่ายองค์การเผยแผ่ประจำจังหวัดสุราษฎร์ธานี (๒๒ ม.ค.)

-ย้ายมาจำพรรษาที่สวนโมกข์แห่งใหม่ บริเวณธารน้ำไหล เขาพุทธทอง (สวนโมกข์ปัจจุบัน)

-คณะพระยาลัดพลีธรรมประคัลภ์มาเยี่ยมครั้งที่ ๒

พ.ศ. ๒๔๘๙

-ได้รับแต่งตั้งให้เป็นพระครูสัญญาบัตร ในราชทินนามที่ พระครูอินทปัญญาจารย์ (๕ ธันวาคม ๒๔๘๙)

-ปาฐกถาธรรมที่พุทธสมาคมแห่งประเทศไทย เรื่อง "พุทธธรรมกับสันติภาพ" (๒ มี.ค.)

-เลิกสวนโมกข์แห่งเดิมที่พุมเรียงโดยสิ้นเชิง (ก่อนหน้านี้ยังมีพระอยู่ประจำ)

-ปาฐกถาธรรมที่สมาคมพุทธบริษัทไทยจีนประชา เรื่อง "ข้อควรทราบเกี่ยวกับหลักพุทธศาสนาระหว่างนิกายต่าง ๆ " (๒๙ ธ.ค.)

พ.ศ. ๒๔๙๐

-ปาฐกถาที่หอประชุมใหญ่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เรื่อง "พระพุทธศาสนาจะช่วยพวกเราในปัจจุบันนี้ได้อย่างไร" (๓๑ พ.ค. ๒๔๙๐)

-ปาฐกถาที่พุทธสมาคมแห่งประเทศไทย เรื่อง "พุทธธรรมกับเจตนารมณ์แห่งประชาธิปไตย" ฯพณฯ ปรีดี พนมยงค์ ผู้สำเร็จราชการแผ่นดินในขณะนั้นเข้าฟังด้วย (๑๑ พ.ย. ๒๔๙๐)

-เกิดคณะพุทธนิคมที่เชียงใหม่

-เริ่มแปล "สูตรของเว่ยหล่าง" ลงพุทธสาสนา

พ.ศ. ๒๔๙๑

-โยมมารดาถึงแก่กรรม (๒๔ เม.ย.๒๔๙๑)

-เดินทางขึ้นเชียงใหม่ครั้งแรก เพื่อช่วยให้คำแนะนำแก่กิจการของคณะพุทธนิคมเชียงใหม่ (ก่อนเข้าพรรษา)

-ออกตระเวณเทศน์ตามอำเภอเกาะสมุย อำเภอเกาะพงัน

-ปาฐกถาธรรมที่พุทธสมาคมแห่งประเทศไทย เรื่อง "ภูเขาแห่งวิถีพุทธธรรม" (๕ มิ.ย. ๒๔๙๑) และเริ่มถูกโจมตีในข้อหาเกี่ยวกับคอมมิวนิสต์

-ออกพรรษา ท่านปัญญานันทะขึ้นไปประจำอยู่ที่เชียงใหม่

พ.ศ. ๒๔๙๒

-ได้รับแต่งตั้งให้เป็นหัวหน้าองค์การเผยแผ่ประจำภาค ๕ (ภาคใต้ ๑๔ จังหวัด)

ได้รับแต่งตั้งให้เป็นเจ้าอาวาสวัดพระบรมธาตุไชยา (๓๐ มิ.ย.)

พ.ศ. ๒๔๙๓

-พักสวนชาใกล้หมู่บ้านแก่งปันเต้า อ.เชียวดาว จ.เชียงใหม่ เป็นเวลา ๒๐ วัน เพื่อเขียน "โบราณคดีรอบอ่าวบ้านดอน" (ม.ค.)

-ได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้อำนวยการพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ สาขาประจำจังหวัดสุราษฎร์ธานี

เขียนบทความทดลอง เสนอเกี่ยวกับจิตวิทยาแบบพุทธ เรื่อง "ปมเขื่อง"

-ตระเวณเทศน์หัวเมืองปักษ์ใต้ กับพระยาอมรฤทธิธำรง (พร้อม ณ ถลาง)

-ได้รับแต่งตั้งให้เป็นประธานพิธีสวดกระทำน้ำมุรธาภิเษกสำหรับพระเจ้าอยู่หัวองค์ปัจจุบัน ณ วัดพระบรมธาตุไชยา ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นสามัญ ในราชทินนามที่ พระอริยนันทมุนี (๔ ธ.ค. ๒๔๙๓)

พ.ศ. ๒๔๙๔

-อบรมข้าราชการในสำนักงานปลัดกระทรวงยุติธรรมและศาล ที่กรุงเทพฯ เรื่อง "ทุกขขัปนูทนกถา" (๒๐ ก.ย. ๒๔๙๔)

-มีประกาศในหนังสือพิมพ์ พุทธสาสนา ว่า พระยาอนุมานราชธน ส่งหนังสือมาให้ห้องสมุดธรรมทานหลายเล่ม

พ.ศ. ๒๔๙๕

-นายกุหลาบ สายประดิษฐ์ มาเยี่ยมสวนโมกข์ (ก.พ.)

-คณะพุทธนิคม เชียงใหม่ ออกหนังสือพิมพ์ชาวพุทธ เมื่อวันวิสาขบูชา

-มีพิธีทอดกฐินครั้งแรกและครั้งเดียวของสวนโมกข์

-เขียน"บันทึกเปิดผนึกครบรอบ๒๐ปี"ลงในพุทธสาสนาซึ่งออกรวมเป็นเพียงฉบับเดียวในปีนั้น

-เริ่มมีการบรรยายประจำคืนในช่วงพรรษา เพื่ออบรมพระภิกษุสามเณรภายในสวนโมกข์

พ.ศ. ๒๔๙๖

-แสดงธรรมเรื่อง "ศาสนาคือโรงพยาบาลของโลก" ที่โรงพยาบาลสงฆ์ ในโอกาสเปิดตึกสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (๒๑ ก.พ.)

-คณะธรรมทานได้รับอนุญาตให้จดทะเบียนเป็น "ธรรมทานมูลนิธิ" (๒๔ พ.ย.)

-มีผู้บริจาคแท่นพิมพ์และเครื่องตัดกระดาษให้ใหม่

-มีการฉายสไลด์ในสวนโมกข์ ริเริ่มการเผยแผ่ธรรมโดยการฉายสไลด์

พ.ศ. ๒๔๙๗

-อธิษฐานไม่ออกนอกเขตตลอดพรรษา

-พิมพ์หนังสือทำวัตรสวดมนต์แปลครั้งแรก

-ร่วมประชุมและกล่าวปราศรัยในนามตัวแทนคณะสงฆ์ไทย ในงานฉัฏฐสังคายนาที่ประเทศพม่า เรื่อง "ลักษณะน่าอัศจรรย์บางประการของพุทธศาสนาแบบเถรวาท" (๖ ธ.ค.)

-เขียน "โลกอาจรอดได้ แม้เพราะกตัญญู" (๘ มี.ค.) เป็นบทความที่เด่นบทหนึ่ง แสดงให้เห็นถึงโลกทัศน์แบบพุทธที่มีลักษณะนิเวศวิทยาอยู่ในตัว

พ.ศ. ๒๔๙๘

-อบรมข้าราชการตุลาการครั้งแรก เรื่อง "ใจความสำคัญของพุทธศาสนา" ณ ห้องบรรยายเนติบัณฑิตยสภา ต่อมาพิมพ์เป็นเล่มชื่อหลักพระพุทธศาสนา และพิมพ์ในชุดธรรมโฆษณ์ ชื่อ "ตุลาการิกธรรม เล่ม ๑" การบรรยายชุดนี้ทำต่อเนื่องมาอีกรวม ๑๔ ครั้ง

พ.ศ. ๒๕๐๐

-แสดงธรรมที่โรงพยาบาลสงฆ์ เรื่อง "ธรรมะคือโอสถสำหรับโลก" (ก.พ.)

-เทศน์ในโอกาส ๒๕ พุทธศตวรรษ เรื่อง "หนทางดับความเลวร้ายในยุคปัจจุบัน" ที่วัดพระบรมธาตุไชยา

-คณะพุทธนิคมเชียงใหม่ตั้งชาวพุทธมูลนิธิ

-ในพรรษาบรรยาย "การศึกษาธรรมะอย่างถูกวิธี" หรือ "ธรรมวิภาคนวกภูมิ" ต่อมากลายเป็นหนังสือพื้นฐานที่สำคัญอีกเล่มหนึ่งของสวนโมกข์

-ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นราช ในราชทินนามที่ พระราชชัยกวี (๕ ธันวาคม ๒๕๐๐)

พ.ศ. ๒๕๐๑

-ตั้งสำนักปฏิบัติธรรม "สวนอุศม" และ "สวนอุศมมูลนิธิ" ที่กรุงเทพฯ เป็นอีกองค์กรหนึ่งในเครือข่ายของสวนโมกข์

-ทางราชการประกาศให้วันอาสาฬหบูชาเป็นวันสำคัญทางศาสนา สอดคล้องกับที่สวนโมกข์ทำมาก่อน

-ไปเขมร ชม นครวัด นครธม

พ.ศ. ๒๕๐๒

-กรมศิลปากรส่งศิลาจารึกจำลองทุกหลักที่ทำจากไชยามาถวาย

-ท่านปัญญานันทะลงมาจำพรรษาที่วัดชลประทานรังสฤษฏ์

-เจ้าชื่น สิโรรส หัวหน้าคณะพุทธนิคมและบุตรลงมาอยู่ที่สวนโมกข์ในระหว่างช่วงเข้าพรรษา

-สถานีวิทยุ ปชส.๗ ธนบุรี นำ "หลักพระพุทธศาสนา" ที่อบรมข้าราชการตุลาการครั้งแรก ไปอ่านออกอากาศเป็นประจำทุกวัน เวลา ๐๖.๓๐ น. ในระหว่างช่วงเข้าพรรษา

-พิมพ์อริยสัจจากพระโอษฐ์ ครั้งแรก

-บรรยาย "อานาปานสติ" (ฉบับสมบูรณ์) ในระหว่างพรรษาในสวนโมกข์

พ.ศ. ๒๕๐๓

-โรงเรียนพุทธนิคมเปิดชั้นเตรียมอุดมศึกษา

-แสดงธรรมที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เรื่อง "ส่วนสำคัญของพระพุทธศาสนาที่ทุกคนควรรู้จัก" ตามคำอาราธนาของสมเด็จพระราชชนนี องค์อุปถัมภกของชมรมกลุ่มศึกษาพุทธศาสตร์และประเพณี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีผู้ฟังประมาณ ๓,๐๐๐ คน (๒๘ ธ.ค. ๒๕๐๓)

พ.ศ. ๒๕๐๔

-ในพรรษาพูดเรื่อง "ตัวกู-ของกู" อบรมพระสงฆ์สามเณร

-ร่วมสัมมนาเรื่อง "การศึกษาพุทธศาสนาในมหาวิทยาลัย" ที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (๒๖ พ.ย. - ๒๒ ธ.ค. ๒๕๐๔)

- และแสดงธรรมอบรมนิสิต รวม ๗ ครั้ง

พ.ศ. ๒๕๐๕

-เริ่มสร้างโรงมหรสพทางวิญญาณ (โรงหนังแบบสวนโมกข์) -และมีโรงปั้นเพื่อปั้นภาพพุทธประวัติยุคแรกของโลก ทั้ง ๒ อย่างนี้ใช้เวลาราว ๑๐ ปี จึงเสร็จ

พ.ศ. ๒๕๐๖

-อภิปรายแบบธรรมสากัจฉา กับหม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช ครั้งแรก ในหัวข้อ "การทำงานคือการปฎิบัติธรรม" มีนายปุ๋ย โรจนบุรานนท์ และ นายฉันทิชย์ กระแสสินธุ์ ร่วมด้วย ที่หอประชุมคุรุสภา (๖ ธ.ค.)

พ.ศ. ๒๕๐๗

-อภิปรายแบบธรรมสากัจฉา (ที่กลายเป็นวิวาทะ) กับหม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช ครั้งที่ ๒ และครั้งสุดท้าย ที่หอประชุมคุรุสภา เรื่อง "การทำงานด้วยจิตว่าง" (๑๓ ก.พ. ๒๕๐๘)

-ปาฐกถาธรรมเรื่อง "สิ่งที่เรายังเข้าใจผิดกันอยู่" ที่พุทธสมาคมแห่งประเทศไทย กรุงเทพฯ (๒๑ ม.ค.)

-ปาฐกถาธรรมเรื่อง "การส่งเสริมจริยธรรมแก่เด็กวัยรุ่น" ในที่ประชุมสามัญประจำปี ที่คุรุสภา (๒๗ เม.ย.)

พ.ศ. ๒๕๐๘

-หนังสือแก่นพุทธศาสน์ ที่ท่าน อาจารย์พุทธทาส ได้แสดงปาฐกถา ในโอกาสพิเศษ ณ.ชุมนุมศึกษาพุทธธรรม (ศิริราช) ในอุปการะของ คณะแพทย์ ศาสตร์และศิริราชพยาบาลมหาวิทยาลัยแพทย์ศาสตร์ เมื่อวันที่ ๑๗ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๐๔ ได้รับรางวัลชนะเลิศ “หนังสือดีประจำปี ๒๕๐๘” จากองค์การ ยูเนสโก้ แห่งสหประชาชาติ

พ.ศ. ๒๕๐๙

-เริ่มมีงานล้ออายุ ครั้งแรก (๒๗ พ.ค.)

-ปาฐกถาธรรมเรื่อง "สิ่งที่เรายังสนใจกันน้อยเกินไป" ในที่ประชุมองค์การพุทธศาสนิกสัมพันธ์แห่งโลก ณ พุทธสถานเชียงใหม่ (๘ พ.ย.)

-ปาฐกถาธรรมเรื่อง "ผีหัวเราะเยาะมนุษย์" แก่ผู้ร่วมประชุมยุวพุทธิกสมาคมทั่วประเทศครั้งที่ ๑๐ ยอดเขาพุทธทอง สวนโมกข์ (๑๔ พ.ย.)

พ.ศ. ๒๕๑๐

-เป็นประธานในการอบรมพระธรรมทูตรุ่นแรกที่จะไปเผยแผ่พระศาสนาในต่างประเทศ

-ปาฐกถา "คริสตธรรม-พุทธธรรม" ณ วิทยาลัยพระคริสตธรรม เชียงใหม่

-ในพรรษา เริ่มบรรยายชุด "ธรรมปาฏิโมกข์" แก่พระสงฆ์สามเณรภายในสวนโมกข์ (กระทำต่อเนื่องทุกพรรษาถึง พ.ศ. ๒๕๑๔)

พ.ศ. ๒๕๑๑

-เป็นประธานในการประชุมสมาคมพุทธศาสนาทั่วประเทศ ครั้งที่ ๑๖ ณ ค่ายลูกเสือธรรมบุตร ติดกับสวนโมกข์ (๑ ธ.ค.)

-พระยาลัดพลีธรรมประคัลภ์ "สหายธรรมหมายเลขหนึ่ง" ถึงแก่อนิจกรรม (๑๙ เม.ย.) มอบทุน ๒๐๐,๐๐๐ บาท ให้ธรรมทานมูลนิธิ

-เริ่มโครงการพิมพ์หนังสือชุดธรรมโฆษณ์

พ.ศ. ๒๕๑๒

-บรรยายชุด "บรมธรรม" แก่ พระนิสิตภาคฤดูร้อน

พ.ศ. ๒๕๑๔

-เริ่มบรรยายธรรมประจำวันเสาร์และทำต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน

-ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นเทพ ในราชทินนามที่ "พระเทพวิสุทธิเมธี" (๕ ธ.ค. ๒๕๑๔)

-เขียน "บันทึกคำชี้แจงเกี่ยวกับการศึกษาเรื่องปฏิจจสมุปบาท" (๓๐ ก.ย.)

พ.ศ. ๒๕๑๕

-บรรยายชุด "แก่นพุทธศาสน์" ที่โรงพยาบาลศิริราช

-บรรยายชุด "สอนพุทธศาสนาผ่านคัมภีร์ไบเบิล" ในสวนโมกข์

พ.ศ. ๒๕๑๖

-บรรยายเรื่อง "มหาวิทยาลัยกับความรู้เรื่องจิต" แก่อาจารย์คณะแพทย์ศาสตร์จากมหาวิทยาลัยมหิดล ที่มาสวนโมกข์ (๓๐ ส.ค.)

-เขียนบทความขนาดยาว "สมเด็จในความรู้สึกของข้าพเจ้า" ตามคำขอของพระดุลยพากย์สุวมัณฑ์ เพื่อพิมพ์ในหนังสือครบรอบ ๑๐๐ ปี สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (เจริญ ญาณวรเถร)

-บรรยายเรื่อง "ประชาธิปไตยแบบสังคมนิยม" ในสวนโมกข์ (๑๑ พ.ย.)

-อาพาธ ขณะกำลังเทศน์และเข้ารับการรักษาตัวที่โรงพยาบาลศิริราช (ธ.ค.)

พ.ศ. ๒๕๑๗

-บรรยายเรื่อง "มหิดลธรรม" แก่พระนักศึกษาภาคฤดูร้อน

-บรรยายเรื่อง "สังคมนิยมตามหลักแห่งพระศาสนา" (๑๕ ก.ย.)

พ.ศ. ๒๕๑๘

-บรรยายชุด "โมกขธรรมประยุกต์" สำหรับพระนักศึกษาภาคฤดูร้อน

-บรรยายเรื่อง "พระพุทธเจ้ามีอุดมคติเป็นสังคมนิยม"

-บรรยายเรื่อง "สังคมนิยมชนิดที่ช่วยโลกได้" (๒๗ พ.ค. ๑๘)

พ.ศ. ๒๕๒๑

-เริ่มปาฐกถาธรรมทางวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย ทุกวันอาทิตย์ที่ ๓ ของเดือน

พ.ศ. ๒๕๒๒

-บรรยายชุด "ใจความแห่งคริสตธรรม เท่าที่พุทธบริษัทควรทราบ"

-๘ พฤศจิกายน ๒๕๒๒ ได้รับการถวาย ปริญญา พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต กิตติมศักดิ์ จากมหาจุฬาลงกรณ ราชวิทยาลัย

พ.ศ. ๒๕๒๕

-สวนโมกข์อายุครบ ๕๐ ปี พิมพ์แถลงการณ์ ๕๐ ปี สวนโมกข์

-พิมพ์กฎบัตรของพุทธบริษัท ในวันวิสาขบูชา

พ.ศ. ๒๕๒๗

-พิมพ์อริยสัจจากพระโอษฐ์ ฉบับสมบูรณ์

-ท่านพุทธทาส ได้รับคัดเลือกจากทางราชการ ประเภทบุคคลทำประโยชน์ฝ่ายบรรพชิต ในโอกาสสมโภชน์กรุงเทพฯ ๒๐๐ ปี ได้รับรางวัลเป็นสัญญลักษณ์ “เสาอโศก” และเงินสดหนึ่งหมื่นบาท

พ.ศ. ๒๕๒๘

-อาพาธค่อนข้างหนักตั้งแต่ต้นปี

-๘ พฤศจิกายน ๒๕๒๘ ได้รับการถวาย อักษรศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาปรัชญาและศาสนา จากมหาวิทยาลัยศิลปากร

-๓ ธันวาคม ๒๕๒๘ ได้รับการถวาย ปรัชญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยรามคำแหง

พ.ศ. ๒๕๒๙

-ได้รับปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาอักษรศาสตร์ (ศาสนาและปรัชญา) จากมหาวิทยาลัยศิลปากร

-ได้รับปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาศึกษาศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยรามคำแหง

พ.ศ. ๒๕๓๐

-ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นธรรม ในราชทินนามที่ "พระธรรมโกศาจารย์" (๕ ธ.ค. ๒๕๓๐)

พ.ศ.๒๕๓๖

-๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๐ ได้รับการถวาย ปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาครุศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

-๑๖ กรกฎาคม ๒๕๓๐ ได้รับการถวาย ปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาปรัชญา จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

-๘ กรกฎาคม ๒๕๓๖ เวลา ๑๑.๒๐ นาฬิกา มรณภาพ

-๒๘ กันยายน ๒๕๓๖ พิธีเผาศพ ณ เขาพุทธทอง ภายในสวนโมกขพลาราม อ.ไชยา

-๒๙ กันยายน ๒๕๓๖ ทำบุญอัฐิ

-๑๖ ตุลาคม ๒๕๓๖ ฝังกระดูกและลอยอังคาร ที่เขาประสงค์ และช่องอ่างทอง

-๑๗ ตุลาคม ๒๕๓๖ ลอยอังคารที่ต้นน้ำตาปี ที่เขาสก

พ.ศ. ๒๕๓๗

-คุรุสภาประกาศยกย่องเชิดชูเกียรติคุณ พระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาส) ว่าเป็นผู้ทำคุณประโยชน์อย่างสูงยิ่ง ต่อการศึกษาของชาติ เนื่องในโอกาสที่กระทรวงศึกษาธิการครบรอบ ๑๐๐ ปี ในปี พ.ศ. ๒๕๓๕

พ.ศ. ๒๕๔๘

-๒๐ ตุลาคม ๒๕๔๘ องค์การศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (ยูเนสโก) ยกย่อง ‘พุทธทาสภิกขุ’ เป็นบุคคลสำคัญของโลก

พ.ศ. ๒๕๔๘

-UNESCO ได้มีมติให้ประกาศยกย่อง พระธรรมโกศาจารย์ พุทธทาสภิกขุ เป็นบุคคลสำคัญของโลก ด้านอุทิศตนเพื่อการสั่งสอนธรรมะเพื่อผดุงไว้ซึ่งสันติธรรม ยุติธรรม และให้มนุษย์อยู่ร่วมกับสิ่งแวดล้อมได้อย่างกลมกลืน และบรรจุการเฉลิมฉลองครบชาตกาล ๑๐๐ ปี ในวันที่ ๒๗ พฤษภาคม ๒๕๔๙

พ.ศ. ๒๕๔๘-๒๕๔๙

-จัดให้มีการเฉลิมฉลองครบชาตกาล ๑๐๐ ปี ในวันที่ ๒๗ พฤษภาคม ๒๕๔๘-๒๗ พฤษภาคม ๒๕๔๙

******************************

เกียรติคุณท่านอาจารย์พุทธทาส สมณศักดิ์ท่านอาจารย์พุทธทาส ได้รับสมณศักดิ์เป็นลำดับมาดังนี้

-พ.ศ. ๒๔๖๙ พระเงื่อม

-พ.ศ. ๒๔๗๓ พระมหาเงื่อม

-พ.ศ. ๒๔๘๙ พระครูอินทปัญญาจารย์

-พ.ศ. ๒๔๙๓ พระอริยนันทมุนี

-พ.ศ. ๒๕๐๐ พระราชชัยกวี

-พ.ศ. ๒๕๑๔ พระเทพวิสุทธิเมธี

-พ.ศ. ๒๕๓๐ พระธรรมโกศาจารย์

ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์.-

ท่านอาจารย์พุทธทาสได้รับการถวายปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาต่าง ๆ จากสถาบันต่าง ๆ ดังนี้

-๘ พฤศจิกายน ๒๕๒๒ ได้รับการถวาย ปริญญา พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต กิตติมศักดิ์ จากมหาจุฬาลงกรณ ราชวิทยาลัย

-๘ พฤศจิกายน ๒๕๒๘ ได้รับการถวาย อักษรศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาปรัชญาและศาสนา จากมหาวิทยาลัยศิลปากร

- ๓ ธันวาคม ๒๕๒๘ ได้รับการถวาย ปรัชญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยรามคำแหง

- ๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๐ ได้รับการถวาย ปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาครุศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

- ๑๖ กรกฎาคม ๒๕๓๐ ได้รับการถวาย ปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาปรัชญา จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

- ๙ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๓ ได้รับการถวาย ปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาพัฒนศึกษาศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยศรี นครินทรวิโรฒ

- ๒๙ กรกฎาคม ๒๕๓๖ ได้รับการถวาย ปริญญาศิลปศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต กิตติมศักดิ์ จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

รางวัลอื่น ๆ .-

-สแวเรอร์ ได้สรรเสริญท่านอาจารย์พุทธทาสว่าเป็น นาคารชุนแห่งเถรวาท กล่าวคือ เป็นผู้ปฏิวัติชำระสะสาง ปฏิรูปพุทธศาสนา ทั้งในด้านวิชาความรู้ และวิธีดำเนินการ ให้ถูกต้องยิ่งขึ้น สะอาดยิ่งขึ้น และก้าวหน้ายิ่งขึ้น (นาคารชุนคนแรก เป็นผู้ปฏิวัติพุทธศาสนาในสมัย นาลันทา ที่อินเดีย )

-พ.ศ. ๒๕๐๘ หนังสือแก่นพุทธศาสน์ ที่ท่าน อาจารย์พุทธทาส ได้แสดงปาฐกถา ในโอกาสพิเศษ ณ.ชุมนุมศึกษาพุทธธรรม (ศิริราช) ในอุปการะของ คณะแพทย์ ศาสตร์และศิริราชพยาบาลมหาวิทยา ลัย แพทย์ศาสตร์ เมื่อวันที่ ๑๗ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๐๔ ได้รับรางวัลชนะเลิศ “หนังสือดีประจำปี ๒๕๐๘” จากองค์การ ยูเนสโก้ แห่งสหประชาชาติ

- พ.ศ. ๒๕๒๗ ท่านอาจารย์พุทธทาส ได้รับคัดเลือกจากทางราชการ ประเภทบุคคลทำประโยชน์ฝ่ายบรรพชิตในโอกาสสมโภชน์กรุงเทพฯ ๒๐๐ ปี ได้รับรางวัลเป็นสัญญลักษณ์ “เสาอโศก” และเงินสดหนึ่งหมื่นบาท

- พ.ศ. ๒๕๓๗ คุรุสภาประกาศยกย่องเชิดชูเกียรติคุณ พระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาส) ว่าเป็นผู้ทำคุณประโยชน์อย่างสูงยิ่ง ต่อการศึกษาของชาติ เนื่องในโอกาสที่กระทรวงศึกษาธิการครบรอบ ๑๐๐ ปี ในปี พ.ศ. ๒๕๓๕

- เกียรติคุณท่านอาจารย์ที่กล่าวมาแล้ว เป็นเกียรติคุณ ในทางโลกบ้าง ทางรูปธรรม ตามสมมติบ้าง ส่วนเกียรติคุณในทางนามธรรม ท่านอาจารย์คือผู้เปิดประตูทาง วิญญาณ ให้ศิษยานุศิษย์ทั้งหลาย หลุดพ้นออกมาจากคอกอันมืดมิดของอวิชชา ซึ่งจะไปได้ถึงระดับใด ก็ขึ้นอยู่กับ พละอินทรีย์ของแต่ละบุคคล ซึ่งก็ไม่มีใคร จะรับรองใครได้

พระธรรมโกศาจารย์

สมณศักดิ์สุงสุด “พุทธทาส” พระผู้เปรื่องปราชญ์บริสุทธิ์

อยู่เหนือโสมมสมมุติ สิ้นสุด “พระธรรมโกศาจารย์”

พระใดถึงจุด “พุทธทาส” สมควรสมคาดอาจหาญ

ผ้าเหลืองห่มกิเลสเปรตมาร ไม่ควรเทียมทานท่านเลย

พระธรรมโกศาจารย์

พุทธทาสภิกขุ (เงื่อม อินทปัญโญ) แห่ง “สวนโมกขพลาราม” อ.ไชยา จ.สุราษฎร์ธานี ท่านได้รับพระราชทานสมณศักดิ์ในทางคณะสงฆ์เป็นที่

“พระธรรมโกศาจารย์”

แม้คนโดยทั่วไปจะไม่เรียกขานสมณศักดิ์ของท่านกันอย่างแพร่หลาย แต่ในการประกาศก่อนเทศน์วันอาทิตย์ทางวิทยุกรมประชาสัมพันธ์ ก็จะประกาศสมณศักดิ์อย่างเป็นทางการทุกครั้งไป ทำให้สมณศักดิ์นี้เป็นที่ติดหู และ ประทับใจคนฟังโดยทั่วไปว่า หมายถึง “หลวงปู่พุทธทาส”

ในกาลต่อมา หลวงปู่สวนโมกข์ ก็ละสังขารไปด้วยวัยอันสมควร สมณศักดิ์ “พระธรรมโกศาจารย์”ก็ไปอยู่กับ “หลวงพ่อปัญญานันทะ” แห่งวัดชลประทานฯ อ.ปากเกร็ด จ.นนทบุรี พระผู้เป็นดั่งน้องชายของท่านพุทธทาส ก่อนที่ท่หลวงพ่อปัญญาฯจะเลื่อนสมณศักดิขึ้นเป็น “พระพรหมมังคลาจารย์”ในปัจจุบันนี้

ข่าวล่าสุดที่ได้ทราบมาว่า สมณศักดิ์ “พระธรรมโกศาจารย์” ซึ่งเป็นสมณศักดิ์สูงสุดของหลวงปู่พุทธทาส ได้นำไปแต่งตั้งให้กับพระรูปหนึ่งซึ่งมีตำแหน่งสูงในทางคณะสงฆ์ แต่มีข้อวัตรปฏิบัติที่ไม่เป็นไปในทางเดียวกันหรือใกล้เคียงกันเลยกับท่านพุทธทาส ทำให้มีข้อสงสัยไต่ถามตามมามากมาย

มีผู้ตั้งประเด็นเสวนาขึ้นมาว่า เนื่องในโอกาสที่เราท่านทั้งหลายจะจัดงานฉลองอายุ ๑๐๐ ปีของท่านพุทธทาส ควรหรือไม่ที่คณะสงฆ์จะช่วยกันสงวนสมณศักดิ์

“พระธรรมโกศาจารย์”ไว้เป็นสัญลักษณ์อันน่าเคารพ ดุจเดียวกับหลวงปู่พุทธทาส

หากไม่มีพระรูปใดที่เท่าเทียม หรือใกล้เคียงท่าน ก็ไม่ควรแต่งตั้งผู้ใดขึ้นมาให้เป็นที่ด้อยคุณค่าแก่สมณศักดิ์สุดท้ายของหลวงปู่พุทธทาส

ยิ่งพระบางรูปที่ยังมีข้อคลางแคลงแหนงใจว่ายังเหลือความเป็นพระอยู่หรือไม่

ทางคณะสงฆ์ก็ยิ่งต้องระวังให้มาก เพราะจะเป็นการดึงของสูงมาทำลายด้วยความมักง่ายจนเกินไป

หากจะต้องสถาปนาสมณศักดิ์ชั้นธรรมขึ้นมาใหม่ก็สามารถทำได้ แต่ไม่ควรยกตนเทียบเท่าท่านพุทธทาส แม้ไม่มีเช่นนั้น แต่ก็ไม่ควรแต่งตั้ง "ใครก็ได้" เป็นที่

“พระธรรมโกศาจารย์”

เก็บความจาก อัตชีวประวัติของท่านพุทธทาส “เล่าไว้เมื่อวัยสนธยา” โดย พระประชา ปสนฺนธมฺโม สัมภาษณ์ สำนักพิมพ์มูลนิธิโกมลคีมทอง พิมพ์รวมเล่มครั้งแรก กรกฎาคม ๒๕๓๕

๘๐ ปีของท่านพุทธทาส อัตชีวประวัติของท่านพุทธทาส โดย พระประชา ปสนฺนธมฺโม สัมภาษณ์ "กลุ่มพุทธทาสศึกษาได้รับอนุญาตโดยตรงจากผู้สัมภาษณ์เพื่อการเผยแพร่ในเว็บไซต์แห่งนี้" สิบปีในสวนโมกข์ : เรื่องเล่าในวัยหนุ่มของพุทธทาสภิกขุ

ปณิธาน ๓ ประการ

๑. ให้ศาสนิกเข้าถึงหัวใจของศาสนา

๒. การทำความเข้าใจระหว่างศาสนา

๓. ออกมาเสียจากอำนาจวัตถุนิยม

มรดกที่ขอฝากไว้

--------------------------------------------------------------------------------

รายชื่อธรรมโฆษณ์ที่ได้จัดพิมพ์ขึ้นเป็นหนังสือเล่มแล้ว สิ่งที่เป็นธรรมโฆษณ์

๑ หมวดที่หนึ่ง ชุด "จากพระโอษฐ์" สันปกสีน้ำตาล ๑–๑๐ เป็นเรื่องเก็บมาเฉพาะที่ตรัสเล่าไว้เอง.

พุทธประวัติ จาก พระโอษฐ์

วิธีใช้หนังสือเล่มนี้

ลำดับเรื่องในพุทธประวัติจากพระโอษฐ์ ลำดับเรื่องในพุทธประวัติจากพระโอษฐ์ (โดยละเอียด)

ภาคนำ - ข้อความให้เกิดความสนใจในพุทธประวัติ (๑๒ เรื่อง) ภาค ๑ - เริ่มแต่การเกิดแห่งสากยวงศ์ จนถึงออกผนวช (๒๑ เรื่อง) ภาค ๒ - เริ่มแต่ออกผนวชแล้ว จนถึง ได้ตรัสรู้ (๓๕ เรื่อง) ภาค ๓ - เริ่มแต่ได้ตรัสรู้แล้ว จนถึง โปรดปัญจวัคคีย์ (๗๙ เรื่อง) ภาค ๔ - เริ่มแต่โปรดปัญจวัคคีย์แล้ว จนถึง จวนจะปรินิพพาน (๑๗๐ เรื่อง) ผนวกพุทธประวัติฯ ภาค ๔ - เรื่องเบ็ดเตล็ดตรมเสียงของคนนอก (๒๔ เรื่อง) ภาค ๕ - การปรินิพพาน (๑๐ เรื่อง) ภาค ๖ - การบำเพ็ญบารมีในอดีตชาติ (๒๐ เรื่อง)

(หมวด ๑ "จากพระโอษฐ์" เลขประจำเล่ม ๑) Update! ๒๘ ส.ค. ๔๕ -- เพิ่ม ภาค ๓ (๒๕ เรื่องจาก ๗๙ เรื่อง)

ใจความสำคัญ

เป็นพระประวัติตรัสเล่า ไม่มีคำเรียบเรียงของผู้แต่งคละปน เพราะเป็นที่รวบรวมเฉพาะพระพุทธภาษิตที่ตรัสถึงประวัติของพระองค์เอง. จากคัมภีร์พระไตรปิฎกล้วน เลือกเก็บเอามาร้อยกรองให้เป็นหมวดหมู่ ติดต่อกันเป็นลำดับ, มุ่งแสดงหลักธรรมที่แนบอยู่ในพระชนม์ชีพของพระองค์ แทนการมุ่งทางตำนานประวัติ หรือนิยายประวัติ เพื่อให้เป็นหนังสือส่งเสริมปฏิบัติธรรมเล่มหนึ่ง เป็นส่วนใหญ่ รวมทั้งเป็นแก่นแห่งเรื่องพุทธประวัติด้วย, เป็นส่วนพิเศษ.– ผู้รวบรวม (พุทธทาสภิกขุ)

๒ หมวดที่สอง ชุด "ปกรณ์พิเศษ" สันปกสีแดง ๑๑–๒๐ เป็นคำอธิบายข้อธรรมะที่เป็นหลักวิชาและหลักปฏิบัติอย่างสมบูรณ์.

๓ หมวดที่สาม ชุด "ธรรมเทศนา" สันปกสีเขียว ๒๑–๓๐ เป็นเทศนาตามเทศกาลต่าง ๆ .

๔ หมวดที่สี่ ชุด "ชุมนุมธรรมบรรยาย" สันปกสีน้ำเงิน ๓๑–๔๐ เป็นการบรรยายในรูปปาฐกถาในเรื่องใดเรื่องหนึ่งอย่างละเอียด.

"ค่ายธรรมบุตร"คำปรารภ ๑. ลูกเสือ คือ ธรรมบุตร ๒.บารมี ๑๐ ประการของลูกเสือ ๓. การเต้นรำทำเพลง และการหัวเราะ ๔. อุดมคติของลูกเสือ เป็นอย่างเดียวกับพุทธศาสนา ๕. การรู้จักถือประโยชน์จากศาสนา ๖. ความรอดตัวของวัยรุ่น ๗. ความไม่เห็นแก่ตัว ๘. เจียดส่วนเกินให้ผู้อื่นบ้าง เพื่อช่วยให้โลกอยู่เย็น ๙. งานอนุกาชาด ในแง่ของศีลธรรม ๑๐. ความสับสนแห่งความหมายของภาษาที่ใช้พูดกันอยู่ ๑๑. วิญญาณของความเป็นครู ๑๒. ท่านจะได้อะไรจากการมาประชุมกันที่นี่ ๑๓ ธรรมะ ทำไมกัน ?. ๑๔. อานาปานสติภาวนา ๑๕. เรื่อง มะพร้าวนาฬิเกร์ ๑๖. สนทนาเกี่ยวกับโบราณคดีเมืองไชยา ๑๗. พึงประพฤติธรรม ให้สุจริต ๑๘. รบกันพลาง แลกธรรมกันพลาง ๑๙. อาสาสมัครของพระพุทธเจ้า ๒๐. ต้องพัฒนาจิตใจให้ทันกับพัฒนาวัตถุ ๒๑. อนามัยคือการประพฤติธรรม ๒๒. จิตที่คิดจะให้ สบายกว่าจิตที่คิดจะเอา ๒๓. การสังคมสงเคราะห์ส่วนที่ยังขาดอยู่ ๒๔. การพัฒนาอนามัย (เลขประจำเล่ม ๓๗)

"ธรรมะเล่มน้อย" ----------------------------------------------------------------- คำปรารภ ๑. ภาวะธรรมดาแห่งชีวิตมนุษย์ ๒. จิตตภาวนา คือ ชีวิตพัฒนา ๓. ผลของจิตตภาวนา คือ มรรค ผล นิพพาน. ๔. ผลของจิตตภาวนา คือ มรรค ผล นิพพาน. ๕. จิตตภาวนาในแง่ของไสยศาสตร์ ๖. แนวสังเขปทั่ว ๆ ไปของการพัฒนา ๗. มองดูปริทัศน์แห่งชีวิตในทุกแง่ทุกมุม ๘. พฤกษาแห่งชีวิตชนิดสมบูรณ์แบบ ๙. อะไร ๆ ในชีวิต สักแต่ว่าเป็นเรื่องของจิตสิ่งเดียว ๑๐. อะไร ๆ ก็เป็นสักแต่ว่าธาตุ ๑๑. สังขารและวิสังขาร ๑๒. สรุปความธรรมะเล่มน้อย (เลขประจำเล่ม ๔๐)

๕ หมวดที่ห้า ชุด "ปกิณกะ" สันปกสีม่วง ๔๑–๕๐

เป็นการอธิบายข้อธรรมะเบ็ดเตล็ดต่าง ๆ ประกอบความเข้าใจ.

หนังสือธรรมะ

ชุดลอยปทุม ลำดับที่ ๓ เรื่อง ศิลปะแห่งการมีพระพุทธเจ้าอยู่กับเนื้อกับตัว

ชุดลอยปทุม ลำดับที่ ๔๙ เรื่อง ศิลปะสำหรับการมีชีวิตอยู่ในโลก

ชุดมองด้านใน ลำดับที่ ๒๔ เรื่อง ชนะดวงจันทร์ หรือชนะตนดี

หนังสืออื่น ๆ

คนหนุ่มสาวกับอุดมคติเพื่อสังคม : ข้อคิดจากชีวิตครูโกมล คีมทอง

คณะธรรมทาน

ความฝันของคณะธรรมทาน

ธรรมทานมูลนิธิ

การอบรมอานาปานสติภาวนาที่สวนโมกข์นานาชาติ

หลักการ ๘ ข้อของธรรมาศรมนานาชาติ

หลักการจัดอบรมฯ ๕ ประการ

ข้อปฏิบัติระหว่างการอบรมฯ

ธรรมาศรม ธรรมมาตา

โรงมหรสพทางวิญญาณ

ภาพพุทธประวัติจากหินสลัก

ยุคก่อนมีพระพุทธรูปในประเทศอินเดีย พ.ศ. ๓๐๐–๗๐๐ พุทธทาสภิกขุ รวบรวมและอธิบาย

ภาพปริศนาธรรม ชุด จากจิตสู่จิต

๑. พุทธะองค์จริง ๒. เสียงตบมือข้างเดียว ๓. ในโลกนี้มีพุทธศาสนาเพื่อเข่นฆ่าสิ่งเหล่านี้มิให้เหลือ ๔. พระองค์อยู่หลังม่าน ๕. เสียงขลุ่ยกลับมาหากอไผ่ ๖. ปฏิบัติเพื่อความสะอาด ๗. ดอกไม้จัดคน ๘. ไหว้พระพุทธรูป ๙. อยู่ให้เหมือนลิ้นงูในปากงู ๑๐. เต่าหินตาบอด ๑๑. ยิ่งคัดลอกยิ่งเลอะเทอะ ๑๒. ผู้ดับไม่เหลือ ๑๓. จิตว่างได้ยินหญ้าพูด ๑๔. ฝนอิฐเป็นกระจกเงา ๑๕. อริยมรรคมีองค์แปด ๑๖. แม่น้ำคด น้ำไม่คด ๑๗. สาหร่ายเขียนพระไตรปิฎก ๑๘. พ้นแล้วโว้ย! ๑๙. ไส้เดือนเขียนจดหมายถึงมนุษย์ ๒๐. ตัวกูกับตัวกู ๒๑. จากอนันตะสู่อนันตะ ๒๒ กวนอิมโพธิสัตว์ ๒๓. เรือธรรม

๒๗ พฤษภาคม ๒๔๖๗ (ค.ศ.๑๙๒๔) วันสถาปนากรมการทหารสื่อสาร โดยพลเอกพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน

๒๗ พฤษภาคม ของทุกปี เป็นวันสำคัญของเหล่าทหารสื่อสารเนื่องจากเป็นวันก่อกำเนิด “ทหารสื่อสาร” ตามคำสั่งสำหรับทหารบกที่ ๓๗/๔๘๖๓ โดย พลเอกพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน พระบิดาผู้ก่อกำเนิดเหล่าทหารสื่อสาร ได้จัดตั้ง กองโรงเรียนทหารสื่อสารขึ้น ในกรมจเรการช่างทหารบกเมื่อวันที่ ๒๗ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๖๗ ถือได้ว่าเป็นครั้งแรกที่ทหารสื่อสารได้ก่อกำเนิดในกองทัพบกเรียก “ชนิดทหารสื่อสาร” มีสีเม็ดมะปรางเป็นสัญลักษณ์ และพัฒนาการจัดหน่วยมาตามลำดับจนถึงปัจจุบัน เป็น กรมการทหารสื่อสาร ซึ่งเป็นหน่วยขึ้นตรงของกองทัพบก ตั้งอยู่เลขที่ ๑๔๙ ถนนพระราม ๕ แขวงถนนนครไชยศรี เขตดุสิต กรุงเทพ

๒๗ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๑๗ (ค.ศ. ๑๙๗๔) –

ชาก ชีรัก ขึ้นดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีฝรั่งเศส

๒๗ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๔๒ (ค.ศ. ๑๙๙๙) –

สลอบอดาน มีโลเชวิช ถูกฟ้องร้องในข้อหาอาชญากรรมสงครามและอาชญากรรมต่อมนุษยชาติ จากเหตุการณ์ในคอโซโว

๒๘ พฤษภาคม : วันกีฬาเพื่อมวลชน (แชลเลนจ์เดย์), วันสุขบัญญัติแห่งชาติ, วันสากลแห่งกิจกรรมเพื่อสุขภาพสตรี, วันชาติอาเซอร์ไบจาน วันชาติเอธิโอเปีย

วันกีฬาเพื่อมวลชน (วันพุธสัปดาห์ของพฤษภาคม) วันกีฬาเพื่อมวลชน (Challenge Day)

คือวันที่จัดให้ประชาชนทุกเพสทุกวัยทุกท้องที่ได้ออกกำลังกายหรือเล่นกีฬาด้วยกิจกรรมอะไรก็ได้ที่ชอบและสะดวก ใช้เวลาอย่างน้อย ๑๕ นาทีขึ้นไป โดยทุกคนจะเป็นนักกีฬาที่มีความสำคัญเท่าเทียมกันหมดในการมีส่วนร่วมที่จะให้ท้องที่ อำเภอ หรือจังหวัดของตนได้รัยชัยชนะ วัตถุประสงค์คือ เพื่อส่งเสรอมให้ประชาชนได้ออกกำลังกายและเล่นกีฬาโดยเสมอภาคอย่างต่อเนื่อง และมีส่วนร่วมในกิจกรรมแข่งขันกีฬาเพื่อมวลชนในวันพุธสัปดาห์สุดท้ายของเดือนพฤษภาคมของทุกปี พร้อมกันทุกจังหวัด ทั่วประเทศและทั่วโลก

 

วันสุขบัญญัติแห่งชาติ

สุขบัญญัติแห่งชาติ หมายถึง ข้อกำหนดที่เด็กและเยาวชน ตลอดจนประชาชนทั่วไปพึ่งปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอจนเป็นนิสัย เพื่อให้มีสุขภาพดีเกี่ยวข้องกับเรื่องอาหาร ออกกำลังกาย อนามัยสิ่งแวดล้อม ฯลฯ ดังนั้นการส่งเสริมสุขบัญญัติจึงเป็นกลวิธีหนึ่งในการสร้างเสริมและปลูกฝังพฤติกรรมสุขภาพที่พึงประสงค์ เพื่อให้เด็ก เยาวชน และประชาชนปฏิบัติเพื่อนำไปสู่การมีสุขภาพที่ดี

วันสากลแห่งกิจกรรมเพื่อสุขภาพสตรี

 

๒๘ พฤษภาคม เมื่อ ๔๒ ปีก่อน พ.ศ. (๕๘๕ ปีก่อน ค.ศ.) –

สุริยุปราคา ที่ทำนายโดยเธลีส ปราชญ์ชาวกรีก ทำให้สงครามระหว่างชาวลิเดียกับเมเดส สงบลงชั่วคราว

๒๘ พฤษภาคม ๒๓๙๔

พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงสถาปนาเจ้าฟ้าน้อย หรือกรมขุนอิศเรศรังสรรค์ ขึ้นเป็นพระมหาอุปราช แต่ให้มีพระเกียรติยศอย่างพระเจ้าแผ่นดิน

๒๘ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๔๘ (ค.ศ. ๑๙๐๕) –

กองทัพเรือญี่ปุ่นนำโดยพลเรือเอกโทโกะ เฮฮะชิโร ทำลายกองเรือบอลติกของรัสเซียในสงครามรัสเซีย-ญี่ปุ่น

๒๘ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๗๙ (ค.ศ. ๑๙๓๖) –

แอลัน ทัวริง เสนอบทความ “On Computable Numbers with an application to the Entscheidungsproblem” สำหรับตีพิมพ์

๒๘ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๐๔ (ค.ศ. ๑๙๖๑) –

บทความในหนังสือพิมพ์โดย ปีเตอร์ เบเนนสัน เป็นจุดเริ่มต้นของการก่อตั้งองค์การนิรโทษกรรมสากล

๒๘ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๔๑ (ค.ศ. ๑๙๙๘) –

การทดสอบอาวุธนิวเคลียร์: ประเทศปากีสถานได้ทดสอบอาวุธนิวเคลียร์ ๕ ครั้ง เพื่อตอบโต้การทดสอบอาวุธนิวเคลียร์ของอินเดีย ส่งผลให้สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น และประเทศอื่น ๆ คว่ำบาตรทางเศรษฐกิจกับปากีสถาน

๒๙ พฤษภาคม พ.ศ. ๑๐๖๙

เกิดเหตุแผ่นดินไหวที่เมืองแอนติโอก ดินแดนซีเรีย ทำให้มีผู้เสียชีวิต ๒๕๐,๐๐๐ คน ปัจจุบันเมืองแอนติโอก คือ เมืองแอนตากยา ประเทศตุรกี

๒๙ พฤษภาคม พ.ศ. ๑๙๙๖ (ค.ศ. ๑๔๕๓)

การล่มสลายของคอนสแตนติโนเปิล นำไปสู่การสิ้นสุดของจักรวรรดิโรมันตะวันออก

(กรุงคอนสแตนติโนเปิล ศูนย์กลางของอาณาจักรโรมันตะวันออก หรือไบแซนไทน์ ถึงกาลล่มสลาย หลังถูกกองทัพเติร์ก ที่นำโดยพระเจ้ามูฮำหมัด ที่ ๒ เข้ารุกราน)

๒๙ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๒๐๓ (ค.ศ. ๑๖๖๐) –

มีการฟื้นฟูระบอบกษัตริย์ในอังกฤษ ในยุคของพระเจ้าชาลส์ที่ ๒ (ในภาพ) หลังจากที่เกิดความขัดแย้งระหว่างกษัตริย์กับรัฐสภา จนนำไปสู่สงครามกลางเมือง

๒๙ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๖๒ (ค.ศ. ๑๙๑๙) –

การสังเกตการณ์สุริยุปราคาโดยเซอร์อาร์เทอร์ เอ็ดดิงตัน ยืนยันความถูกต้องของเนื้อหาบางส่วนในทฤษฎีสัมพัทธภาพของอัลเบิร์ต ไอน์สไตน์

๒๙ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๙๖ (ค.ศ. ๑๙๕๓) –

เซอร์เอดมันด์ ฮิลลารี และ เทียนซิง นอร์เก เป็นบุคคลแรกที่พิชิตยอดเขาเอเวอเรสต์

๒๙ พฤษภาคม ๒๔๙๙

ไทยทำสัญญาทางไมตรีกับ สหรัฐ เช่นเดียวกับที่ทำกับอังกฤษ และจัดตั้งกงสุลขึ้นที่ กรุงเทพ ฯ ในวันเดียวกันนี้ โดยมี หมอ แมททูน เป็นกงสุลคนแรก

๒๙ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๐๒

นายพลชาร์ลส์ เดอ โกลล์ จัดตั้งรัฐบาลปกครองฝรั่งเศส

๒๙ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๐๙ (ค.ศ. ๑๙๖๖) –

ประเทศไทยและสหรัฐอเมริกา ร่วมลงนามในสนธิสัญญาทางไมตรีและความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจ

๒๙ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๒๕

กระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ หรือเพนตากอน เริ่มแผนยุทธศาสตร์ เพื่อการต่อสู้สงครามนิวเคลียร์เป็นครั้งแรก

๒๙ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๓๓

บอริส เยลต์ซิน ได้รับเลือกตั้งให้ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีของสาธารณะรัฐรัสเซีย

๓๐ พฤษภาคม พ.ศ. ๑๙๗๔ (ค.ศ. ๑๔๓๑) –

สงครามร้อยปี: โยนออฟอาร์ค (ในภาพ) ถูกประหารชีวิตโดยการเผาทั้งเป็น ณ เมืองรูออง ประเทศฝรั่งเศส

๓๐ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๕๔ (ค.ศ. ๑๙๑๑) –

การแข่งรถ อินเดียแนโพลิส ๕๐๐ จัดขึ้นเป็นครั้งแรกที่สนามแข่งรถอินเดียแนโพลิสมอเตอร์สปีดเวย์ ในเมืองสปีดเวย์ มลรัฐอินดีแอนา สหรัฐอเมริกา

๓๐ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๕๗ (ค.ศ. ๑๙๑๔) –

พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเปิด โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์

โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ เป็นหน่วยงานในสังกัดสภากาชาดไทย โดยดำเนินงานร่วมกับคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ตั้งอยู่ที่ ๑๘๗๓ ถนนพระราม ๔ แขวงปทุมวัน เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร ๑๐๓๓๐

ประวัติ

โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สร้างขึ้นโดยพระราชดำริในพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ พระองค์มีพระราชประสงค์ที่จะทรงบำเพ็ญพระราชกุศลพร้อมด้วยพระราชภาดาและภคินี สนองพระเดชพระคุณสมเด็จพระบรมชนกนาถ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว[๑] ด้วยเมื่อครั้งพระพุทธเจ้าหลวงทรงพระชนม์อยู่นั้น ได้ทรงพระราชดำริจัดตั้ง สภากาชาด ซึ่งเรียกในเวลานั้นว่า สภาอุณาโลมแดง ขึ้นไว้ โดยรับการรักษาพยาบาลผู้เจ็บไข้ได้ป่วย ตามมติของนานาชาติที่เจริญแล้ว แต่การสภากาชาดไทยยังไม่แล้วเสร็จบริบูรณ์ ถ้าจะบริจาคทรัพย์สร้างโรงพยาบาลสภากาชาดขึ้น ก็จะเป็นพระกุศล อันประกอบด้วยถาวรประโยชน์อนุโลม ตามพระราชประสงค์แห่งองค์สมเด็จพระบรมชนกนาถ และเป็นเกียรติแก่ราชอาณาจักรโดยทรงพระดำริเห็นพ้องกัน บรรดาพระราชโอรส พระราชธิดาในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงทรงบริจาคทรัพย์รวมกัน สมทบกับทุนของสภากาชาด สร้างโรงพยาบาลขึ้น และพระราชทานนามตามพระปรมาภิไธย สมเด็จพระบรมชนกนาถว่า "โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์" เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดโรงพยาบาลเมื่อวันที่ ๓๐ พฤษภาคม ๒๔๕๗ [๒]

โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ตามแจ้งความสภากาชาดสยาม ลงวันที่ ๑ พฤษภาคม ๒๔๕๗ ได้กำหนดจุดมุ่งหมายให้โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ เป็นโรงพยาบาลที่ดีจริงต้องตามวิทยาศาสตร์แผ่พระเกียรติยศในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัวกับทั้งแพร่เกียรติยศของชาติไทย บริการรักษาพยาบาลช่วยแบ่งเบาภาระของรัฐบาล ให้บริการรักษาผู้บาดเจ็บและผู้ป่วยไข้ทั้งในยามสงครามและปกติ โดยยึดมั่นในปณิธาณอันแน่วแน่ที่จะให้ความช่วยเหลือผู้บาดเจ็บทั่วไป โดยไม่เลือกชาติ ชั้น วรรณะ ลัทธิ ศาสนา หรือความคิดเห็นทางการเมือง โดยให้บริการทางการแพทย์ พยาบาล ตลอดจนการนำเทคโนโลยีทางการแพทย์และวิทยาศาสตร์ที่ทันสมัย รวมทั้งระบบคอมพิวเตอร์ มาใช้ในการรักษาพยาบาล มีการค้นคว้าวิจัย[๔]และพัฒนาการรักษา พัฒนาบุคลากรทุกระดับอย่างต่อเนื่อง ทำให้โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ มีความก้าวหน้าเป็นอย่างมากในด้านการรักษาพยาบาล ทั้งนี้ด้วยความร่วมมือกันระหว่าง'โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์' และ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

นอกจากการรักษาพยาบาลผู้ป่วย โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ยังเป็นสถานฝึกอบรมนิสิตแพทย์ แพทย์ประจำบ้านและแพทย์ประจำบ้านต่อยอดของคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นักศึกษาพยาบาลของวิทยาลัยพยาบาลสภากาชาดไทยและนักเรียนโรงเรียนรังสีเทคนิค ซึ่งผลิตบุคลากรทางการแพทย์ในสายงานเจ้าหน้าที่รังสีเทคนิค จึงนับได้ว่า โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ เป็นศูนย์รวมของความดีเด่นทางวิทยาการ ในสหสาขาวิชาของวงการแพทย์ปัจจุบัน และยังคงมุ่งมั่นที่จะพัฒนางานบริการของโรงพยาบาลให้ดียิ่งขึ้นต่อไป

ศูนย์เฉพาะทาง

ศูนย์สิริกิติ์บรมราชินีนาถ

ศูนย์แก้ไขความพิการบนใบหน้าและกะโหลกศีรษะจุฬาลงกรณ์

ศูนย์โรคหัวใจ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์

ศูนย์โรคตับและปลูกถ่ายตับ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์

ศูนย์เลเซอร์สายตาจุฬาฯ (Chula Excimer Laser Center)

ศูนย์เลเซอร์วิเคราะห์ขั้วประสาทตา Glaucoma Imaging & Diagnostic Center

ศูนย์เวชศาสตร์ครอบครัวโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์

ศูนย์รักษาพาร์กินสันและกลุ่มโรคความเคลื่อนไหวผิดปกติแบบครบวงจร

โครงการรักษาผู้ป่วยโรคลมชักครบวงจร

๓๐ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๔ (ค.ศ. ๑๙๔๑)–พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๗ เสด็จสวรรคต ที่อังกฤษ

พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๗ เสด็จสวรรคตด้วยโรคพระหทัยวาย ที่ประเทศอังกฤษ สหราชอาณาจักร พระชนมายุได้ ๔๘ พรรษา พระบรมอัฐิของพระองค์ได้อัญเชิญกลับประเทศไทย เมื่อปี พ.ศ.๒๔๙๑ (พระราชสมภพ ๘ พฤศจิกายน ๒๔๓๖ สละราชสมบัติ ๒ มีนาคม ๒๔๗๗)

ขออัญเชิญพระราชประวัติโดยสังเขปมาเสนอดังต่อไปนี้.-

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาประชาธิปกฯ พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชสมภพเมื่อวันที่ ๘ พฤศจิกายน ๒๔๓๖ (ตรงกับวันพุธ แรม ๑๔ ค่ำ เดือน ๑๑ ปีมะเส็ง เวลา ๑๒.๒๕ น.) เป็นพระราชโอรสองค์ที่ ๗๖ ใน พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ และ สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ (สมเด็จพระพันปีหลวง) เสวยราชสมบัติ เมื่อวันที่ ๒๑ พฤศจิกายน ๒๔๖๘

๒๕ กุมภาพันธ์ ๒๔๖๘ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงอภิเษกสมรส กับ สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี (หม่อมเจ้าหญิงรำไพพรรณี สวัสดิวัฒน์) ไม่มีพระราชโอรส-พระราชธิดา

และพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จสวรรคตด้วยโรคพระหทัยวาย ที่ประเทศอังกฤษ สหราชอาณาจักร ขณะที่ทรงเจริญพระชนมายุได้ ๔๘ พรรษา เมื่อวันที่ ๓๐ พฤษภาคม ๒๔๘๔ รวมพระชนมพรรษา ๔๘ พรรษา

พระนามเต็ม

พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระนามเต็ม "พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาประชาธิปก มหันตเดชนดิลกรามาธิบดี เทพยปรียามหาราชรวิวงศ์ อสัมภินพงศพีระกษัตรบุรุษรัตนราชนิกโรดม จาตุรันตบรมมหาจักรพรรดิราชสังกาศ อุภโตสุชาตสังสุทธเคราะหณี จักรีบรมนาถจุฬาลงกรณราชวรางกูร มหมกุฏวงศวีรสูรชิษฐ ราชธรรมทศพิธ อุต์กฤษฎานิบุณย์อดุลยฤษฎาภินิหาร บูรพาธิการสุสาธิต ธันยลักษณ์วิจิตรเสาวภาคยสรรพางค์ มหาชโนตมางคมานท สนธิมตสมันตสมาคม บรมราชสมภาร ทิพยเทพวตารไพศาลเกียรติคุณ อดุลยศักดิเดช สรรพเทเวศปริยานุรักษ์ มงคลลคนเนมาหวัยสุโขทัยธรรมราชา อภิเนาวศิลปศึกษาเดชาวุธ วิชัยยุทธศาสตร์โกศล วิมลนรรยพินิต สุจริตสมาจาร ภัทรภิชญาณประดิภานสุนทร ประวรศาสโนปสุดมภก มูลมุขมาตยวรนายกมหาเสนานี สราชนาวีพยูหโยธโพยมจร บรมเชษฏโสทรสมมต เอกราชยยศสธิคมบรมราชสมบัติ นพปฏลเศวตฉัตราดิฉัตร ศรีรัตโนปลักษณมหาบรมราชาภิเษกาภิศิกต์ สรรพทศทิศวิชิตเดโชไชย สกลมไหศวรยมหาสยามินทร มเหศวรมหินทรมหารามาธิราชวโรดม บรมนาถชาติอาชาวศรัย พุทธาธิไตรรัตนวิศิษฎศักดิ์อัครนเรศวราธิบดี เมตตากรุณาศีตลหฤทัย อโนปไมยบุณยการ สกลไพศาลมหารัษฎราธิบดินทร์ ปรมินทรธรรมิกมหาราชาธิราช บรมนาถบพิตร พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว"

พระราชประวัติ

พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชสมภพเมื่อวันพุธ แรม ๑๔ ค่ำ เดือน ๑๑ ปีมะเส็ง ตรงกับวันที่ ๘ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๓๖ ทรงมีพระนามเดิมว่า “สมเด็จเจ้าฟ้าชายประชาธิปกศักดิเดชน์ ธเนศรมหาราชาธิราชจุฬาลงกรณ์นาถวโรรส อุดมยศอุกฤษฐศักดิ์ อุภัยปักษนาวิล อสัมภินชาติพิสุทธิ์ มหามงกุฎราชพงศบริพัตรบรมขัตติยมหารัชฎาภิษิยจนพรรโษทัย มงคลสมัยสมากร สถาวรรัจฉริยคุณ อดุลยราชกุมาร” พระนามทั่วไปเรียกว่า “ทูล กระหม่อมเอียดน้อย”

เมื่อเยาว์วัยทรงศึกษาวิชาภาษาไทย และราชประเพณีโบราณ ต่อมาครั้นทรงโสกันต์แล้วทรงเสด็จไปศึกษาวิชาการที่ประเทศอังกฤษ เมื่อเดือนกรกฎาคม ๒๔๔๙ ในขณะนั้นมีพระชนมายุเพียง ๑๓ พรรษา ทรงเริ่มรับการศึกษาในวิชาสามัญในวิทยาลัยอีตันซึ่งเป็นโรงเรียนมัธยมชั้นหนึ่งของประเทศอังกฤษ เมื่อสำเร็จการศึกษาจากวิทยาลัยอีตันแล้ว ทรงสอบเข้าศึกษาต่อที่โรงเรียนนายร้อยทหารที่เมืองวูลิช (ROYAL MILITARY ACADEMY COUNCIL) ทรงเลือกศึกษาวิชาทหารแผนกปืนใหญ่ม้า

แต่ในขณะนั้นพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ ทรงเสด็จสวรรคตในปี พ.ศ.๒๔๕๓ พระองค์จึงได้เสด็จกลับประเทศไทยเพื่อเข้าร่วมพิธีพระบรมศพ แล้วจึงเสด็จกลับไปศึกษาต่อเมื่อสำเร็จการศึกษาในปี พ.ศ.๒๔๕๖

ทรงเข้าประจำการ ณ กรมทหารปืนใหญ่ม้าอังกฤษที่เมืองอัลเดอร์ช้อต (ALDERSHOT) ตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๔๕๖ ถึงเดือนกันยายน พ.ศ. ๒๔๕๗ ซึ่งเป็นช่วงเวลาการซ้อมรบ โดยรัฐบาลอังกฤษตามความเห็นชอบของที่ประชุมกองทหาร (ARMY COUNCIL) และได้รับอนุญาตให้ทรงเครื่องแบบนายทหารอังกฤษสังกัดใน “L” BATTERY FOYAL HORSE ARTILLERY ทรงได้รับสัญญาบัตรเป็นนายทหารยศร้อยตรีกิตติมศักดิ์ แห่งกองทัพอังกฤษ

และในกาลที่พระองค์สำเร็จการศึกษาจากสถานทีนี้ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงโปรดเกล้าฯ ให้ดำรงตำแหน่งพระยศนายร้อยตรีนอกกอง สังกัดกรมทหารมหาดเล็กรักษาพระองค์ ต่อมาได้เลื่อนขึ้นเป็นนายร้อยโท และนายทหารนอกกอง สังกัดกรมทหารปืนใหญ่รักษาพระองค์

ในปี ๒๔๕๗ ได้เกิดสงครามโลกขึ้นในยุโรป แต่เนื่องจากพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงดำริเห็นว่า สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ ยังทรงศึกษาวิชาการทหารได้เพียงครึ่ง ๆ กลาง ๆ หากจะกลับมาเมืองไทยก็ยังทำคุณประโยชน์แก่บ้านเมืองยังไม่ได้เต็มที่ ดังนั้นจึงโปรดเกล้าฯ ให้พระวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าจรูญศักดิ์ กฤษดากร ทรงจัดหาครูเพื่อสอนวิชาการเพิ่มเติมโดยเน้นวิชาที่จะเป็นคุณประโยชน์แก่บ้านเมือง ในวิชากฎหมายระหว่างประเทศ พงศาวดารศึก และยุทธศาสตร์การศึก

ครั้งสงครามได้ทวีความรุนแรงขึ้นอย่างมาก และการหาครูมาถวายพระอักษรก็ลำบาก เนื่องด้วยนายทหารที่มีความสามารถต้องออกรบในสงคราม พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงโปรดเกล้าฯ ให้พระเจ้าน้องยาเธอพระราชดำเนินกลับประเทศไทย แต่สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอมีความประสงค์ที่จะเสด็จร่วมรบกับพระสหายชาวอังกฤษ หากแต่พระเจ้ายอร์ซที่ ๕ ไม่สามารถทำตามพระราชประสงค์ เนื่องด้วยพระองค์เป็นคนไทยซึ่งเป็นประเทศเป็นกลางในสงคราม สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอจึงจำเป็นต้องเสด็จกลับประเทศไทยในเดือนเมษายน ๒๔๕๘

ครั้นเมื่อเสด็จกลับประเทศไทย ทรงเข้ารับราชการในตำแหน่งนายทหารคนสนิทพิเศษจอมพล สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถ กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถซึ่งเป็นพระเชษฐาในพระองค์ ต่อมาพระองค์ได้เลื่อนเป็นผู้บังคับกองร้อยทหารปืนใหญ่รักษาพระองค์และเป็นร้อยเอกต่อมาเสด็จเข้ารับราชการประจำกรมบัญชาการกองพันน้อยที่ ๒ ในตำแหน่งนายทหารเสนาธิการและต่อมาเลื่อนเป็นนายพันตรี แล้วเป็นพันโทบังคับการโรงเรียนนายร้อยชั้นประถม

สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ ทรงปฏิบัติราชการสนองพระเดชพระคุณในตำแหน่งหน้าที่การงานต่าง ๆ เป็นที่เรียบร้อยมาโดยตลอด ต่อมาทรงลาราชการเพื่อทรงผนวช ณ อุโบสถ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม เมื่อปี ๒๔๖๐ โดยมีสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส เป็นพระอุปัชฌาย์ แล้วเสร็จประทับจำพรรษา ณ วัดบวรนิเวศวิหาร

เมื่อสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอลาผนวชและเสด็จเข้ารับราชการเป็นที่เรียบร้อย พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณตรัสขอหม่อมเจ้าหญิงรำไพพรรณีให้และประกอบพระราชพิธีอภิเษกสมรส ณ พระที่นั่งวโรภาษพิมาน พระราชวังบางปะอิน เมื่อวันที่ ๒๖ สิงหาคม ๒๔๖๑

พระองค์ทรงประสบปัญหากับพระโรคเรื้อรัง จึงจำเป็นต้องลาราชการไปพักรักษาตัวในที่ ๆ มีอากาศเย็นตามความเห็นของคณะแพทย์ พระองค์เสด็จไปรักษาตัวที่ยุโรปในปี ๒๔๖๓ ครั้นพระองค์ทรงหายจากอาการประชวรแล้ว ทรงเข้าศึกษาวิชาการในโรงเรียนนายทหารฝ่ายเสนาธิการฝรั่งเศส ณ กรุงปารีส จนสำเร็จการศึกษาเสด็จกลับประเทศไทย ในปี ๒๔๖๔

หลังจากนั้นอีก ๔ ปี ทรงเข้ารับราชการอีกครั้งโดยพระบรมเชษฐาธิราชพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้า โปรดเกล้าฯ ให้เข้ารับราชการในตำแหน่งปลัดกรมเสนาธิการทหารบก และเลื่อนพระยศขึ้นเป็นนายพันเอก ผู้บัญชาการกองพลทหารบกที่ ๒ และเป็นผู้บังคับการพิเศษกรมทหารปืนใหญ่ที่ ๒ ในคราวเดียวกัน และได้รับการสถาปนาขึ้นเป็น สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอเจ้าฟ้าฯ กรมหลวงสุโขทัยธรรมราชา

ครั้นพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวสวรรคต พ.ศ. ๒๔๖๘ พระองค์ก็ได้เสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติสืบต่อ ในวันที่ ๒๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๖๘

เมื่อ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๗ เสด็จขึ้นครองราชสมบัติแล้ว พระองค์ทรงมั่นคงอยู่ในทศพิธราชธรรม ได้ทรงบำเพ็ญพระราชกรณียกิจอันเป็นประโยชน์แก่บ้านเมืองหลายด้านหลายประการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการตัดสินพระราชหฤทัยครั้งสำคัญ เมื่อครั้งเกิดปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครอง ได้ทรงยินยอมที่จะเป็นพระมหากษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญตามการปกครองระบอบประชาธิปไตย เมื่อวันที่ ๒๔ มิถุนายน ๒๔๗๕ ทั้ง ๆ ที่พระองค์ก็ยังมีกองทัพที่จงรักภักดีพอที่จะต่อสู้กับ คณะราษฎร ผู้ก่อการเปลี่ยนแปลงการปกครองได้ และเมื่อวันที่ ๑๐ ธันวาคม พ.ศ.๒๔๗๕ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๗ พระราชทานรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม (พ.ศ.๒๔๗๕) รัฐธรรมนูญฉบับแรกของไทย ให้แก่ปวงชนชาวไทย ต่อมาจึงได้ถือเอาวันที่ ๑๐ ธันวาคม ของทุกปีเป็นรัฐธรรมนูญ จนกระทั่งทุกวันนี้

ต่อมาเมื่อรัฐบาลในขณะนั้นได้ใช้การปกครองไม่ตรงกับหลักการของพระองค์และทรงเห็นว่าพระราชประสงค์ที่จะให้ประเทศไทยมีการปกครองแบบประชาธิปไตยอย่างแท้จริงไม่บรรลุผลสำเร็จ จึงทรงกล้าหาญเด็ดเดี่ยวอย่างยิ่งด้วยการสละราชสมบัติ เมื่อวันที่ ๒ มีนาคม ๒๔๗๗ ในขณะที่พระองค์ประทับรักษาพระเนตรอยู่ในประเทศอังกฤษ เพื่อเปิดหนทางให้ผู้ที่เหมาะสมกว่าเข้ามาทำหน้าที่แทนพระองค์สืบไป ดังพระราชหัตถเลขาว่า

"ข้าพเจ้ามีความเต็มใจที่จะสละอำนาจอันเป็นของ ข้าพเจ้าอยู่แต่เดิมให้แก่ราษฎรโดยทั่วไป แต่ข้าพเจ้าไม่ยินยอมยกอำนาจทั้งหลายของข้าพเจ้าให้แก่ผู้ใด คณะใดโดยเฉพาะเพื่อใช้อำนาจนั้นโดย สิทธิขาด และโดยไม่ฟังเสียงอันแท้จริงของราษฎร"

 

พระราชกรณียกิจ

ทรงมีพระราชกรณียกิจที่สำคัญได้แก่ ทรงฟื้นฟูศิลปวัฒนธรรมชั้นสูงของชาติ โดยทรงก่อตั้งกรมมหรสพ และทรงอุปถัมภ์ศิลปินโขนผู้มีฝีมือ ทรงส่งเสริมการศึกษาของชาติ โดยโปรดเกล้าฯ ให้สร้างหอพระสมุดสำหรับพระนคร ทรงตั้ง ราชบัณฑิตยสภา

ด้านเศรษฐกิจ

ในช่วงเวลาที่ เศรษฐกิจ ของประเทศและของโลกกำลังทรุดหนัก อันเป็นผลเนื่องมาจากสงครามโลก ครั้งที่ ๑ ซึ่งพระองค์ได้ทรงแก้ปัญหาเศรษฐกิจอย่างเต็มพระกำลังความสามารถ ทรงตัดรายจ่ายที่ไม่จำเป็นของราชการ ทรงยุบหน่วยราชการและลดจำนวนข้าราชการบางหน่วยที่พอจะยุบได้ ทรงเสียสละตัดทอนรายจ่ายส่วนพระองค์ โดยมิได้ขึ้นภาษีให้ราษฎรเดือดร้อน เพื่อแก้ไขการงบประมาณของประเทศให้สมดุลย์ จนกระทั่งประเทศไทย ได้รอดพ้นจากวิกฤติการณ์นั้นได้

ในรัชสมัยของพระองค์ไทยสามารถติดต่อกับนานาประเทศทางวิทยุ และโทรเลขได้โดยทั่วไปเป็น ครั้งแรก ทรงพระราชทานนามหอสมุดแห่งชาติ พิมพ์พระไตรปิฎกเล่มใหม่ สร้างโรงเรียนวชิราวุธ วิทยาลัย เปิดเดินรถไฟไปถึงชายแดนไทยติดต่อกับเขมร แก้ไขระบบการจัดเก็บภาษีอากรใหม่ ตั้งสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทยประกาศพระราชบัญญัติเงินตรา และทรงตรากฎหมายอื่น ๆ อีกเป็นจำนวนมาก สร้างสะพานพระปฐมบรมราชานุสรณ์(สะพานพระพุทธยอดฟ้าฯ)

ด้านการทำนุบำรุงบ้านเมือง

การสุขาภิบาลและสาธารณูปโภค โปรดให้ปรับปรุงงานสุขาภิบาลทั่วราชอาณาจักรให้ทัดเทียมอารยประเทศ ขยายการสื่อสารและการคมนาคม โปรดให้สร้างสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งแรกใน ประเทศไทย ในส่วนกิจการรถไฟ ขยายเส้นทางรถทางทิศตะวันออกจากทางจังหวัดปราจีนบุรี จน กระทั่งถึงต่อเขตแดนเขมร

ทรงส่งเสริมกิจการสหกรณ์ให้ประชาชนได้มีโอกาสร่วมกันประกอบกิจการทางเศรษฐกิจ โดยทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติสหกรณ์ พ.ศ. ๒๔๗๑ ขึ้น

ทรงสละพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์สร้างโรงภาพยนตร์ศาลาเฉลิมกรุง ซึ่งนับเป็นโรงภาพยนตร์ทันสมัยในสมัยนั้น ติดเครื่องปรับอากาศ เพื่อเป็นสถานบันเทิงให้แก่ผู้คนในกรุงเทพมหานคร สำหรับในเขตหัวเมือง ทรงได้จัดตั้ง สภาจัดบำรุงสถานที่ชายทะเลทิศตะวันตกขึ้น เพื่อทำนุบำรุงหัวหินและใกล้เคียงให้เป็นสถานที่ตากอากาศชายทะเลแก่ประชาชนที่มาพักผ่อน

ในปี พ.ศ. ๒๔๗๕ เป็นระยะเวลาที่กรุงเทพฯ มีอายุครบ ๑๕๐ ปี ทรงจัดงานเฉลิมฉลองโดยทำนุบำรุง บูรณปฏิสังขรณ์สิ่งสำคัญอันเป็นหลักของกรุงเทพฯ หลายประการ คือ บูรณะวัดพระศรีรัตนศาสดาราม พระบรมมหาราชวัง สร้างสะพานปฐมบรมราชานุสรณ์ เพื่อเชื่อมกรุงเทพฯและธนบุรี เป็นการขยายเขต เมืองให้กว้างขวาง และสร้างพระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก

ด้านการปกครอง

ทรงมีพระราชปรารภจะพระราชทานรัฐธรรมนูญในโอกาสกรุงเทพฯ มีอายุครบ ๑๕๐ ปี ในปี พ.ศ. ๒๔๗๕ แต่ก็มีเหตุที่ยังไม่อาจทำได้ในระยะนั้น ซึ่งเป็นช่วงที่มีคณะบุคคลคณะหนึ่งถือ โอกาสยึดอำนาจการปกครอง ขอเปลี่ยนแปลงการปกครองในวันที่ ๒๔ มิถุนายน การกระทำดังกล่าวเป็น พระราชประสงค์ที่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ตั้งพระราชหฤทัยไว้แต่แรกแล้ว จึงทรงพระราชทานอำนาจและยินยอมให้ปกครองแบบประชาธิปไตย นับเป็นการเปลี่ยนแปลงการปกครองชาติเดียวในโลกที่เลือดไม่นองแผ่นดิน ทรงยินยอมสละพระราชอำนาจ เป็นพระมหากษัตริย์อยู่ภายใต้กฎหมาย ทรงให้ตรวจตราตัวบทกฎหมายรัฐธรรมนูญที่จะเป็นหลักในการปกครองอย่างถี่ถ้วน การที่พระองค์ทรง เป็นนักประชาธิปไตยอย่างแท้จริงนี่เอง เมื่อคณะรัฐบาลบริหารงานไม่ถูกต้องตามหลักการที่วางไว้

ทรงแก้ไขกฎหมายองคมนตรี ด้วยการออกพระราชบัญญัติองคมนตรี พ.ศ. ๒๔๗๐ ให้ สภากรรมการองคมนตรี มีอำนาจหน้าที่ ในการให้คำปรึกษาในการร่างกฎหมาย โดยมีพระราชดำริให้สภาองคมนตรีเป็นที่ฝึกการประชุมแบบรัฐสภา กรรมการสภาองคมนตรีอยู่ในตำแหน่งวาระละ ๓ ปี

ทรงวางรากฐานการบริหารงานบุคคลของชาติใหม่ ให้เป็นระบบและมีคุณธรรม ด้วยการตราพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๔๗๑ ขึ้นบังคับใช้ โดยมี คณะกรรมการข้าราชการพลเรือน ทำหน้าที่ดูแลและควบคุมข้าราชการให้อยู่ในระเบียบวินัยข้าราชการ

ทรงตราพระราชบัญญัติควบคุมการค้าขายอันกระทบถึงความปลอดภัยหรือความผาสุกแห่งสาธารณชน พ.ศ. ๒๔๗๑ เพื่อคุ้มครองสวัสดิการของปวงชนชาวไทย โดยมีขอบเขตครอบคลุมการค้าขายที่เป็นสาธารณูปโภคและการเงิน เช่น การประปา การไฟฟ้า การรถไฟ การเดินอากาศ การชลประทาน การออมสิน และการประกันภัย อันเป็นรากฐานของระเบียบปฏิบัติ ที่ใช้กันมาจนทุกวันนี้

ทรงมีพระราชดำริให้จัดระเบียบการปกครองรูปแบบเทศบาลขึ้น เพื่อให้ประชาชนในท้องถิ่นรู้จักเลือกตัวแทนเข้าไปบริหารและจัดการงานต่าง ๆ ของชุมชน โดยโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติเทศบาล ขึ้นแต่มิได้เป็นไปตามพระราชประสงค์เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงการปกครอง

ด้านการศาสนา การศึกษา ประเพณีและวัฒนธรรม

ทรงส่งเสริมการศึกษาของชาติทั้งส่วนรวมและส่วนพระองค์ โปรดให้สร้างหอพระสมุดสำหรับพระนคร เพื่อเปิดโอกาสให้ประชาชนเข้าศึกษาได้อย่างเสรี ทรงตั้งราชบัณฑิตยสภา เพื่อมีหน้าที่บริหารและเผยแพร่วิชาการด้านวรรณคดี โบราณคดี และศิลปกรรม ในด้านวรรณกรรม โปรด ตราพระราชบัญญัติคุ้มครองวรรณกรรมและศิลปกรรมใน พ.ศ. ๒๔๗๕ พระราชทานเงินส่วนพระองค์ เป็นรางวัลแก่ผู้แต่งหนังสือยอดเยี่ยม และให้ทุนนักเรียนไปศึกษาวิชาวิทยาศาสตร์จากต่างประเทศ การศาสนา ทรงปลูกฝังเยาวชนให้มีคุณธรรมดีงาม โดยยึดหลักคำสอนของพระพุทธศาสนา โปรดให้ราชบัณฑิตยสร้างหนังสือสอนพระพุทธศาสนาสำหรับเด็ก ซึ่งนับว่าพระองค์ทรงเป็นพระมหากษัตริย์พระองค์แรกที่ทรงสร้างหนังสือสำหรับเด็ก ส่วนการศึกษาในเนื้อแท้ของพระพุทธศาสนานั้น ทรงโปรดให้สร้างหนังสือพระไตรปิฎกฉบับสมบูรณ์ เรียกว่าฉบับสยามรัฐ ชุดหนึ่ง จำนวน ๔๒ เล่ม ซึ่งใช้สืบมาจนทุกวันนี้

ในด้านศิลปวัฒนธรรมของชาติได้ทรงวางรากฐานเป็นอย่างดีกล่าวคือ ได้ทรงสถาปนาราชบัณฑิตยสถานสภาขึ้น เพื่อจัดการหอพระสมุดสำหรับพระนครและสอบสวนพิจารณาวิชาอักษรศาสตร์ เพื่อจัดการพิพิธภัณฑสถานตรวจรักษาโบราณสถานและโบราณวัตถุ และเพื่อจัดการบำรุงรักษาวิชาช่างผลงานของราชบัณฑิตสภาเป็นผลดีต่อการอนุรักษ์และส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมของชาติเป็นอย่างมาก เช่นการตรวจสอบต้นฉบับเอกสารโบราณออกตีพิมพ์เผยแพร่ มีการส่งเสริมสร้างสรรค์วรรณกรรมรุ่นใหม่ด้วยการประกวดเรียบเรียงบทประพันธ์ทั้งร้อยแก้วและร้อยกรอง

ทรงอนุรักษ์ดนตรีไทยไว้ด้วยพระองค์เอง ทั้งนี้เพราะได้ทรงสนพระราชหฤทัยในวิชาดนตรีไทย ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้หลวงประดิษฐ์ไพเราะ เข้าถวายการฝึกสอนจนสามารถ พระราชนิพนธ์ทำนองเพลงไทยได้ ถึง ๓ เพลง คือเพลง ราตรีประดับดาวเถา เพลงเขมรลออองค์เถา และเพลงโหมโรงคลื่นกระทบฝั่ง

ทางด้านวัฒนธรรมและสถาปัตยกรรม ทรงสละทรัพย์ส่วนพระองค์ปฏิสังขรณ์วัดสุวรรณดาราราม จังหวัดอยุธยา โปรดฯให้เขียนภาพพงศาวดาร สมเด็จพระนเรศวรมหาราชไว้ที่ผนังพระอุโบสถ

ทรงพยายามสร้างค่านิยมให้มีสามีภรรยาเพียงคนเดียว ทรงโปรดให้ตรา พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายลักษณะผัวเมีย พ.ศ. ๒๔๗๑ ริเริ่มให้มีการจดทะเบียนสมรส ทะเบียนหย่า ทะเบียนรับรองบุตร อันเป็นการปลูกฝังค่านิยมแบบใหม่ทีละน้อยตามความสมัครใจ นอกจากนี้ยังทรงปฏิบัติตอนเป็นแบบอย่างโดยทรงมีแต่พระบรมราชินีเพียงพระองค์เดียว โดยไม่ทรงมีพระสนมนางในใด ๆ ทั้งสิ้น

นอกจากนี้แล้ว เมื่อทรงว่างจากพระราชภารกิจ ทรงโปรดในการถ่ายภาพนิ่งและถ่ายภาพยนตร์ ทรงทดลองใช้เอง กล้องถ่ายภาพและภาพยนตร์จำนวนมากที่ทรงสะสมไว้ สะท้อนให้เห็นพระอุปนิสัยโปรดการถ่ายภาพและภาพยนตร์ ภาพยนตร์ทรงถ่ายมีเนื้อหาทั้งที่เป็นสารคดีและที่ให้ความบันเทิง ในจำนวนภาพยนตร์เหล่านี้ เรื่องที่เป็นเกียรติประวัติของวงการภาพยนตร์ไทยและแสดงพระราชอัจฉริยภาพดีเยี่ยมในการสร้างโครงเรื่อง กำกับภาพ ลำดับฉาก และอำนวยการแสดง คือ เรื่องแหวนวิเศษ นับได้ว่าพระองค์เป็นหนึ่งในบุคคลที่บุกเบิกวงการภาพยนตร์ไทยอีกพระองค์หนึ่ง

ความสัมพันธ์กับต่างประเทศ

ในต้นรัชสมัย ได้ทรงดำเนินกิจการสำคัญที่ทรงเกี่ยวข้องกับต่างประเทศที่ค้างมาตั้งแต่รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวให้สำเร็จลุล่วงไป เช่น การให้สัตยาบันสนธิสัญญาต่าง ๆ นอกจากนี้ยังทรงทำสัญญาใหม่ ๆ กับประเทศเยอรมนีหลังสถาปนาความสัมพันธ์ขั้นปกติ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๗๑ และทำสนธิสัญญากับฝรั่งเศสเกี่ยวกับดินแดนในลุ่มแม่น้ำโขงเรียกว่า สนธิสัญญาอินโดจีน พ.ศ. ๒๔๖๙ ที่ กำหนดให้ มีเขตปลอดทหาร ๒๕ กิโลเมตร ทั้ง สองฝั่งน้ำโขง แทนที่ จะมีเฉพาะฝั่งสยามแต่เพียงฝ่ายเดียว

๑๒ มกราคม พ.ศ.๒๔๗๖ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๗ และพระบรมราชินีนาถ พร้อมด้วยพระบรมวงศานุวงศ์เสด็จประพาสยุโรป และประทับอยู่ที่อยู่ที่พระตำหนักคอมพ์ตัน ตำบลเวอร์จิเนียวอเตอร์ ประเทศอังกฤษ จนกระทั่งเสด็จสวรรคตด้วยโรคพระหทัยพิการ ในวันที่ ๓๐ พฤษภาคม พ.ศ.๒๔๘๔ รวมพระชนมายุ ๔๘ พรรษา

ในวันที่ ๓ มิถุนายน ๒๔๘๔ ได้มีการถวายพระเพลิง พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่ประเทศอังกฤษ และในปี ๒๔๙๑ รัฐบาลได้อัญเชิญพระบรมอัฐิของพระองค์กลับมาประเทศไทย และได้ประดิษฐานไว้ร่วมกันกับสมเด็จพระบูรพมหากษัตริยาธิราชเจ้า

๓๑ พฤษภาคม : วันงดสูบบุหรี่โลก, (วันเอกราชในแอฟริกาใต้ พ.ศ. ๒๔๕๓),

วันงดสูบบุหรี่โลก เริ่มมีการจัดงานวันงดสูบบุหรี่โลกใน พ.ศ.๒๕๓๑ โดยองค์การอนามัยโลก

เนื่องจากเล็งเห็นอันตรายของบุหรี่ต่อสุขภาพของผู้สูบบุหรี่และผู้ไม่สูบบุหรี่แต่ได้รับควันบุหรี่ องค์การอนามัยโลกระบุชัดเจนว่าการสูบบุหรี่เป็นสาเหตุสำคัญของการป่วยและเสียชีวิตก่อนวัยอันควรที่สามารถป้องกันได้และกำหนดให้ วันที่ ๓๑ พฤษภาคม ของทุกปีเป็นวันงดสูบบุหรี่โลก (World No Tobacco Day) มีการกำหนดคำขวัญในการรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่ในแต่ละปี

บุหรี่มีพิษภัยทำลายไกลกว่าที่คิด สุขภาพหรือบุหรี่อยู่ที่คุณจะเลือก และหากคุณคิดจะเลิกสูบบุหรี่ ต้องการคำปรึกษา โทร.สายด่วน 1600 ได้ตลอด 24 ชั่วโมง

๓๑ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๒๓ (ค.ศ. ๑๘๘๐) –

สมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ พระบรมราชเทวี หรือ พระนางเรือล่ม อัครมเหสีในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พร้อมด้วยพระราชธิดา เสด็จทิวงคตในอุบัติเหตุเรือพระที่นั่งล่ม ระหว่างทางเสด็จแปรพระราชฐานไปประทับแรม ณ พระราชวังบางปะอิน

๓๑ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๓๒ (ค.ศ. ๑๘๘๙) –

อุทกภัยที่จอนส์ทาวน์: เกิดอุทกภัยคร่าชีวิตประชาชนกว่า ๒,๒๐๐ คน ในเมืองจอนส์ทาวน์ มลรัฐเพนซิลเวเนีย สหรัฐอเมริกา

๓๑ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๕๙ (ค.ศ. ๑๙๑๖) –

สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง: กองทัพเรือเยอรมันและอังกฤษ ปะทะกันในยุทธนาวีแห่งคาบสมุทรจัตแลนด์ ซึ่งเป็นยุทธนาวีที่ใหญ่ที่สุดในสงครามครั้งนั้น

๓๑ พฤษภาคม ๒๕๐๙

แม่ชีชาวเวียตนามวัย ๑๗ ปีเผาตัวเองเสียชีวิตที่เมืองฮุย ในเวียตนามใต้ เพื่อประท้วงรัฐบาลที่จำกัดสิทธิเสรีภาพของประชาชน

๓๑ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๔๐ (ค.ศ. ๑๙๙๗) –

ระหว่างการประชุมระดับรัฐมนตรีต่างประเทศที่กัวลาลัมเปอร์ ๗ ชาติอาเซียน มีมติรับพม่า กัมพูชา และลาว เข้าเป็นสมาชิกในเดือนกรกฎาคม ท่ามกลางเสียงทักท้วงโดยเฉพาะกรณีการละเมิดสิทธิมนุษยชนในพม่า

 

โปรดเลือก "คลิ๊ก" เพื่ออ่านเหตุการณ์ใน ๑๒ เดือน

มกราคม กุมภาพันธ์ มีนาคม เมษายน
พฤษภาคม มิถุนายน กรกฎาคม สิงหาคม
กันยายน ตุลาคม พฤศจิกายน ธันวาคม

 

นำเสนอโดย
วัดท่าไทร ต.ท่าทองใหม่
อ.กาญจนดิษฐ์ จ.สุราษฎร์ธานี 84290