เหตุการณ์ในอดีตประจำเดือน มิถุนายน
รวมเรื่องราวที่เกิดในอดีตทุกเดือนเพื่อเป็นข้อมูลแก่ผู้สนใจศึกษา ค้นคว้า
โดย... พระมหาบุญโฮม ปริปุณฺณสีโล (ไชยฤทธิ์) วัดท่าไทร จ.สุราษฎร์ธานี

เกร็ดน่ารู้ในเดือน มิถุนายน.-

ดอกไม้ประจำเดือนมิถุนายน คือ ดอกกุหลาบ

อัญมณีประจำเดือนเกิดของเดือนมิถุนายน คือ ไข่มุก

๑ มิถุนายน วันรณรงค์ดื่มนมสากล

องค์การอาหารแห่งสหประชาชาติ หรือ The Food and Agriculture Organization หรือ FAO กำหนดให้วันที่ ๑ มิถุนายนของทุกปี เป็นวันดื่มนมโลก (World Milk Day) เพื่อให้ประเทศต่างๆ และองค์กรที่ให้ความสำคัญและสนับสนุนการบริโภคนม ร่วมกันจัดกิจกรรมรณรงค์และกระตุ้นให้เห็นความสำคัญของการบริโภคนม ด้วยการให้ความรู้และคุณประโยชน์ของนมแก่ประชาชน

ปัจจุบันมีมากกว่า ๓๕ ประเทศทั่วโลกที่จัดกิจกรรมวันดื่มนมโลก เช่น จีน อินเดีย เวียดนาม อังกฤษ ออสเตรเลีย สวีเดน เดนมาร์ก เป็นต้น

สำหรับไทย อัตราการบริโภคนมยังค่อนข้างน้อย โดยรวมเพียง ๑,๖๐๐ ล้านลิตร แบ่งเป็นการบริโภคนมยูเอชทีเฉลี่ย ๑๐ ลิตรต่อคนต่อปี ทำให้คนไทยส่วนใหญ่ประสบปัญหาขาดแคลเซียม ส่งผลให้ต้องเผชิญภาวะโรคกระดูกพรุน โดยเฉพาะในกลุ่มคนที่อยู่ในวัยทำงานและผู้สูงอายุ

ด้านมูลนิธิโรคกระดูกพรุนนานาชาติ (International Osteoporosis Foundation หรือ IOF) ระบุว่า นมและผลิตภัณฑ์จากนมอื่นๆ เป็นอาหารพร้อมบริโภคที่หาได้ง่าย จัดอยู่ในกลุ่มอาหารที่มีแร่ธาตุแคลเซียมสูงที่สุด ซึ่งมีความสำคัญอย่างมากในการเสริมสร้างกระดูกให้แข็งแรง โดยเป็นแคลเซียมที่ร่างกายดูดซึมไปใช้ได้ดีที่สุด และยังเป็นแหล่งรวมสารอาหารที่จำเป็นต่อร่างกาย เพราะให้ทั้งโปรตีนและเกลือแร่ที่สำคัญ เช่น ฟอสฟอรัส คาร์โบไฮเดรต ไขมัน และวิตามิน

นมช่วยสร้างความแข็งแรงให้กระดูกตั้งแต่อายุยังน้อยๆ จะช่วยป้องกันไม่ให้กระดูกแตกหักได้ง่ายเมื่ออายุมากขึ้น เพราะเมื่ออายุ ๓๕ ปีขึ้นไป ร่างกายของคนเราจะค่อยๆ เริ่มสูญเสียกระดูกมากกว่าที่จะสร้างกระดูก วิธีง่ายๆ ที่จะช่วยรักษากระดูก และเกิดการสูญเสียกระดูกน้อยที่สุดคือการดื่มนมเป็นประจำ เพื่อให้ร่างกายได้รับแคลเซียมอย่างเพียงพอ ซึ่งจะส่งผลต่อสุขภาพฟันที่ดี

ขณะเดียวกัน ธาตุอาหารในนม ทั้งโพแทสเซียม แมกนีเซียม และแคลเซียม ล้วนมีส่วนช่วยไม่ให้ความดันโลหิตสูงเกินกว่าปกติ

สำหรับสาวๆ มีข้อมูลน่าสนใจว่า นมไม่ได้ทำให้อ้วน ไม่ว่าจะเป็นนมสด นมพร่องไขมัน หรือนมไม่มีไขมัน มีปริมาณไขมันแค่เพียง ๓.๙%, ๑.๗%, และ ๐.๓% เท่านั้น

การดื่มนมเป็นประจำอย่างต่อเนื่องตั้งแต่อายุยังน้อยๆ จนอายุมากขึ้น ยังป้องกันโรคกระดูกพรุนซึ่งกำลังเป็นโรคที่คุกคามประชากรทั่วโลก โดยโรคนี้มีผลกระทบต่อผู้หญิงหนึ่งในสามคน และผู้ชายหนึ่งในห้าคนทั่วโลกที่มีอายุ ๕๐ ปีขึ้นไป และคาดการณ์กันว่า ในปี ๒๕๙๙ จะมีผู้ป่วยโรคกระดูกพรุนในแถบเอเชียเพิ่มสูงขึ้นกว่าร้อยละ ๕๐ นมจึงเป็นเครื่องดื่มที่เหมาะสำหรับทุกเพศทุกวัย เพราะสารอาหารที่มีอยู่ในนมมีคุณค่าต่อการสร้างเสริมร่างกายให้แข็งแรง

ตั้งแต่เด็กๆ เราคงคุ้นเคยกับประโยคเชิญชวนที่ว่า "ดื่มนมเยอะๆ ตัวจะได้สูงๆ" แต่ในความเป็นจริงแล้ว "นม" ไม่ได้ให้คุณประโยชน์แค่ความสูงสำหรับเด็กๆ เท่านั้น นมยังเป็นเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพที่ให้คุณประโยชน์สำหรับทุกเพศทุกวัย คุณค่าของนมมีมากมายและมีความสำคัญสำหรับผู้คนทั่วโลก โดยมีการกำหนดให้เป็นวันสากลของการดื่มนมระดับโลกเลยทีเดียว

องค์การอาหารแห่งสหประชาชาติ หรือ The Food and Agriculture Organization หรือ FAO กำหนดให้วันที่ ๑ มิถุนายนของทุกปี เป็นวันดื่มนมโลก (World Milk Day) เพื่อให้ประเทศต่างๆ และองค์กรที่ให้ความสำคัญและสนับสนุนการบริโภคนม ร่วมกันจัดกิจกรรมรณรงค์และกระตุ้นให้เห็นความสำคัญของการบริโภคนม ด้วยการให้ความรู้และคุณประโยชน์ของนมแก่ประชาชน

ปัจจุบันมีมากกว่า ๓๕ ประเทศทั่วโลกที่จัดกิจกรรมวันดื่มนมโลก เช่น จีน อินเดีย เวียดนาม อังกฤษ ออสเตรเลีย สวีเดน เดนมาร์ก เป็นต้น

สำหรับในประเทศไทย กิจกรรม "วันดื่มนมโลก" จัดต่อเนื่องเป็นปีที่ ๒ ในปีนี้ โดยบริษัท เต็ดตรา แพ้ค (ไทย) จำกัด บริษัทผู้จัดจำหน่ายอุปกรณ์ในกระบวนการผลิตและบรรจุอาหาร รวมถึงบรรจุภัณฑ์แบบปลอดเชื้อ หรือกล่องยูเอชที ร่วมกับมูลนิธิโรคกระดูกพรุนแห่งประเทศไทย ในพระอุปถัมภ์ของสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ และบริษัทผู้ผลิตนมพร้อมดื่มในประเทศไทย จัดกิจกรรมเผยแพร่เพื่อรณรงค์ให้ประชาชนเห็นความสำคัญของการบริโภคนม เพื่อสร้างเสริมสุขภาพที่ดี โดยเฉพาะอย่างยิ่งการบริโภคนมเพื่อช่วยป้องกันโรคกระดูกพรุน

นางกลอยตา ณ ถลาง ผู้อำนวยการฝ่ายสื่อสารองค์กรบริษัท เต็ดตรา แพ้ค (ไทย) จำกัด กล่าวว่า ในปี ๒๕๕๐ มีการบริโภคนมประมาณ ๒๔๒,๐๐๐ ล้านลิตร สำหรับชาติในแถบเอเชีย โดยเฉพาะประเทศอินเดียและจีนมีอัตราการบริโภคนมที่สูงขึ้นเรื่อยๆ โดยในอินเดียมีอัตราการบริโภคนมในปี ๒๕๕๐ ประมาณ ๕ หมื่นล้านลิตร สูงเพิ่มขึ้นจากปี ๒๕๔๙ ประมาณ ๑,๔๐๐ ล้านลิตร ส่วนจีน ๑๗,๕๐๐ ล้านลิตรเพิ่มขึ้นจากปี ๒๕๔๙ ประมาณ ๑,๕๐๐ ล้านลิตร ในขณะที่ญี่ปุ่นมีอัตราการบริโภคมากกว่า ๖,๐๐๐ ล้านลิตรในปี ๒๕๕๐

สำหรับไทย อัตราการบริโภคนมยังค่อนข้างน้อย โดยรวมเพียง ๑,๖๐๐ ล้านลิตร แบ่งเป็นการบริโภคนมยูเอชทีเฉลี่ย ๑๐ ลิตรต่อคนต่อปี ทำให้คนไทยส่วนใหญ่ประสบปัญหาขาดแคลเซียม ส่งผลให้ต้องเผชิญภาวะโรคกระดูกพรุน โดยเฉพาะในกลุ่มคนที่อยู่ในวัยทำงานและผู้สูงอายุ

ด้านมูลนิธิโรคกระดูกพรุนนานาชาติ (International Osteoporosis Foundation หรือ IOF) ระบุว่า นมและผลิตภัณฑ์จากนมอื่นๆ เป็นอาหารพร้อมบริโภคที่หาได้ง่าย จัดอยู่ในกลุ่มอาหารที่มีแร่ธาตุแคลเซียมสูงที่สุด ซึ่งมีความสำคัญอย่างมากในการเสริมสร้างกระดูกให้แข็งแรง โดยเป็นแคลเซียมที่ร่างกายดูดซึมไปใช้ได้ดีที่สุด และยังเป็นแหล่งรวมสารอาหารที่จำเป็นต่อร่างกาย เพราะให้ทั้งโปรตีนและเกลือแร่ที่สำคัญ เช่น ฟอสฟอรัส คาร์โบไฮเดรต ไขมัน และวิตามิน

นมช่วยสร้างความแข็งแรงให้กระดูกตั้งแต่อายุยังน้อยๆ จะช่วยป้องกันไม่ให้กระดูกแตกหักได้ง่ายเมื่ออายุมากขึ้น เพราะเมื่ออายุ ๓๕ ปีขึ้นไป ร่างกายของคนเราจะค่อยๆ เริ่มสูญเสียกระดูกมากกว่าที่จะสร้างกระดูก วิธีง่ายๆ ที่จะช่วยรักษากระดูก และเกิดการสูญเสียกระดูกน้อยที่สุดคือการดื่มนมเป็นประจำ เพื่อให้ร่างกายได้รับแคลเซียมอย่างเพียงพอ ซึ่งจะส่งผลต่อสุขภาพฟันที่ดี

ขณะเดียวกัน ธาตุอาหารในนม ทั้งโพแทสเซียม แมกนีเซียม และแคลเซียม ล้วนมีส่วนช่วยไม่ให้ความดันโลหิตสูงเกินกว่าปกติ

สำหรับสาวๆ มีข้อมูลน่าสนใจว่า นมไม่ได้ทำให้อ้วน ไม่ว่าจะเป็นนมสด นมพร่องไขมัน หรือนมไม่มีไขมัน มีปริมาณไขมันแค่เพียง ๓.๙%, ๑.๗%, และ ๐.๓% เท่านั้น

การดื่มนมเป็นประจำอย่างต่อเนื่องตั้งแต่อายุยังน้อยๆ จนอายุมากขึ้น ยังป้องกันโรคกระดูกพรุนซึ่งกำลังเป็นโรคที่คุกคามประชากรทั่วโลก โดยโรคนี้มีผลกระทบต่อผู้หญิงหนึ่งในสามคน และผู้ชายหนึ่งในห้าคนทั่วโลกที่มีอายุ ๕๐ ปีขึ้นไป และคาดการณ์กันว่า ในปี ๒๕๙๙ จะมีผู้ป่วยโรคกระดูกพรุนในแถบเอเชียเพิ่มสูงขึ้นกว่าร้อยละ ๕๐ นมจึงเป็นเครื่องดื่มที่เหมาะสำหรับทุกเพศทุกวัย เพราะสารอาหารที่มีอยู่ในนมมีคุณค่าต่อการสร้างเสริมร่างกายให้แข็งแรง

๑ มิถุนายน ๒๓๐๑

เจ้าฟ้าอุทุมพร (กรมขุนพรพินิต) กษัตริย์อยุธยาองค์ที่ ๓๒ เสวยราชย์ได้๒ เดือนเศษ ได้ถวายราชสมบัติให้กับเจ้าฟ้าเอกทัศน์ (กรมขุนอนุรักขมนตรี) พระเชษฐา ก่อนเสียกรุงศรีอยุธยา เป็นเวลา ๙ ปี ทั้งสองพระองค์เป็นโอรสพระเจ้าบรมโกศ กษัตริย์อยุธยาองค์ที่ ๓๑ ก่อนเสด็จสวรรคตได้ทรงตั้งเจ้าฟ้าอุทุมพรเป็น รัชทายาท ไม่ตั้งเจ้าฟ้าเอกทัศน์ผู้พี่ ซึ่งทรงเห็นว่าโฉดเขลา จะรักษาบ้านเมืองไว้ไม่ได้

๑ มิถุนายน ๒๔๕๑

ประกาศใช้พระธรรมนูญศาลยุติธรรม ร.ศ.๑๒๗ และ กฎหมายลักษณะอาญา ร.ศ.๑๒๗ นับเป็นประมวลกฎหมาย (CODE) ฉบับแรกของไทย

๑ มิถุนายน ๒๔๖๘

วันทำพิธีเปิด โรงเรียนนายเรือ ปัจจุบันคือ สถาบันวิชาการทหารเรือชั้นสูง

๑ มิถุนายน ๒๔๘๑

วันจัดตั้งหน่วยบินทหารเรือขึ้นเป็นครั้งแรก เรียกว่าหน่วยบินทะเล ขึ้นตรงกับกองเรือรบ

๑ มิถุนายน ๒๕๑๖

ไทนสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตอย่างเป็นทางการกับโรมาเนีย

 

๒ มิถุนายน เป็นวันที่ ๑๕๓ ของปี (วันที่ ๑๕๔ ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก ๒๑๒ วันในปีนั้น

๒ มิถุนายน ๒๓๕๘

วางหลักเมือง เมืองนครเขื่อนขันธ์ พระประแดง ขณะนั้นมีมอญ ๔๐,๐๐๐ อยู่ที่เมืองปทุมธานี และให้มอญ ๓๐๐ คน มาอยู่ที่นครเขื่อนขันธ์

๒ มิถุนายน ๒๔๔๕ วันประกาศห้ามจับปลาในฤดูวางไข่

ประกาศห้ามจับปลาในฤดูวางไข่ในที่น้ำนิ่ง ระหว่าง ๑ กรกฎาคม ถึง ๑๕ กันยายน(เฉพาะในมณฑลกรุงเก่า)

ห้ามจับสัตว์น้ำในฤดูปลาวางไข่

ห้ามจับสัตว์น้ำในฤดูปลาวางไข่

หน่วยป้องกันและปราบปรามการประมงน้ำจืดเขื่อนสิริกิติ์ แจ้งประชาสัมพันธ์ห้ามจับสัตว์น้ำในฤดูปลาน้ำจืดวางไข่

นายชยุตม์ ตั้งฐานานุศักดิ์ หัวหน้าหน่วยป้องกันและปราบปรามการประมงน้ำจืดเขื่อนสิริกิติ์ จังหวัดอุตรดิตถ์ แจ้งว่า หน่วยป้องกันและปราบปรามการประมงน้ำจืดเขื่อนสิริกิติ์ จังหวัดอุตรดิตถ์ ซึ่งมีหน้าที่รับผิดชอบในด้านการควบคุมการทำการประมง ตามประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ลงวันที่ ๑๗ เมษายน ๒๕๐๗ ให้ถือระหว่างวันที่ ๑๖ พฤษภาคม ถึงวันที่ ๑๕ กันยายน ของทุกปีเป็นช่วงฤดูปลาน้ำจืดมีไข่ และเลี้ยงตัวอ่อนในน่านน้ำจืดทั่วประเทศ ดังนั้น เพื่อให้ประชาชนทั่วไปได้รับทราบและตระหนักถึงความสำคัญของการบริหารจัดการทรัพยากรสัตว์น้ำจืด และร่วมกันรณรงค์งดจับปลาในช่วงฤดูปลาน้ำจืดมีไข่และเลี้ยงตัวอ่อน จึงขอประชาสัมพันธ์ ดังนี้

เครื่องมือที่สามารถทำการประมงในฤดูปลามีไข่

๑.เบ็ดทุกชนิด ยกเว้นเบ็ดราว

๒.ตะแกรง สวิง ช้อน ยอ และชนาง ซึ่งมีปากกว้างไม่เกิน ๒ เมตร

๓.ไซ ตุ้ม อีจู้ ลัน โปง และโทง

๔.ห้ามมิให้ทำการประมงด้วยวิธีประดาหน้า ตั้งแต่สามเครื่องมือขึ้นไป

ทั้งนี้ ผู้ฝ่าฝืนมีความผิดตาม พ.ร.บ.การประมง พ.ศ.๒๔๙๐ ต้องระวางโทษ ปรับตั้งแต่ ๕,๐๐๐ – ๑๐,๐๐๐ บาท หรือจำคุกไม่เกิน ๑ ปี หรือทั้งจำทั้งปรับ

“ปล่อยสิบ เกิดแสน หวงแหนไว้ให้ลูกหลาน”

๒ มิถุนายน ๒๕๒๔

กรมอุทกศาสตร์ กองทัพเรือประกาศเปลี่ยนแปลงเวลามาตรฐานซึ่งใช้อยู่ปัจจุบันให้ใกล้เคียงกับเวลาจริงตามธรรมชาติ(เวลาที่ดวงอาทิตย์ปรากฏเคลื่อนไปจริง)

๓ มิถุนายน วันการพิมพ์ไทย

วันที่ ๓ มิถุนายน ของทุกปี ถือเป็นวันระลึกถึงวันที่สิ่งพิมพ์ภาษาไทยแผ่นแรกได้ถูกพิมพ์ขึ้นในประเทศไทยเมื่อ ๑๗๒ ปีที่แล้ว โดยบาทหลวงชาร์ล โรบินสัน ซึ่งเป็นหนึ่งในทีมงานของหมอบรัดเลย์ นับเป็นจุดเริ่มต้นของการดำเนินกิจการพิมพ์ของไทย พวกเราจากทุกองค์กรทางการพิมพ์และสถาบันการศึกษาที่มีหลักสูตรการเรียนการสอนและผู้ที่เกี่ยวข้อง ในฐานะตัวแทนของสถานประกอบทั่วประเทศ จึงได้มาชุมนุมพร้อมกันในวันนี้ ณ สุสานหมอบรัดเลย์ ข้างโรงแรมแม่น้ำ เพื่อร่วมกันวางช่อดอกไม้ ระลึกถึงคุณูปการอันใหญ่หลวงของคุณหมอบรัดเลย์ต่ออุตสาหกรรมการพิมพ์ไทย

ความจริงคุณูปการของคุณหมอบรัดเลย์ มิใช่มีเฉพาะการจัดพิมพ์ภาษาไทยแผ่นแรก เมื่อวันที่ ๓ มิถุนายน ๒๓๗๙ ด้วยเครื่องพิมพ์ไม้แบบก๊อปปี้ที่ได้สร้างกันขึ้นมาเองเท่านั้น ยังได้สร้างประวัติศาสตร์ทางการพิมพ์ให้ประเทศไทยอีกหลายเรื่อง เช่น

ปี ๒๓๗๐ ได้สั่งซื้อเครื่องพิมพ์ยี่ห้อ Otis และ Standing อย่างละ ๑ เครื่อง เข้ามาพร้อมกระดาษ ช่างเรียงพิมพ์ และช่างพิมพ์จากอเมริกาเข้ามาทำงานและถ่ายทอดวิชาการให้คนไทย อาจถือได้ว่าหมอบรัดเลย์ เป็นครูทางการพิมพ์ของไทยคนแรกอีกด้วย

ปี ๒๓๘๕ รับจ้างพิมพ์ประกาศห้ามสูบฝิ่น ๙,๐๐๐ ฉบับ นับเป็นเอกสารทางราชการของไทยครั้งแรก

ปี ๒๓๘๔ ได้ออกแบบตัวพิมพ์ไทย และหล่อตัวพิมพ์ได้สำเร็จ

ปี ๒๓๘๕ จัดพิมพ์ปฏิทินตามสุริยคติ เป็นภาษาไทยขึ้นเป็นครั้งแรก

ปี ๒๓๘๗ ออกหนังสือพิมพ์ภาษาไทยฉบับแรกชื่อ “บางกอกรีคอร์เดอร์”

ปี ๒๔๐๔ ได้ซื้อลิขสิทธิ์นิราศลอนดอนของหม่อมราโชทัย จัดพิมพ์จำหน่าย นับเป็นการซื้อขายลิขสิทธิ์เป็นครั้งแรก

นอกจากนี้ยังได้แปลหนังสือฝรั่งเป็นภาษาไทยหลายเล่มรวมถึง กฎหมายสยามสามก๊กพงศาวดารและหนังสือความรู้อีกมากมาย

นับได้ว่าคุณหมอบรัดเลย์ได้อุทิศตนเองนอกเหนือจากเผยแพร่ศาสนาและบริการทางการแพทย์แก่คนไทยแล้ว ยังได้มีวิสัยทัศน์เปิดโรงพิมพ์เป็นธุรกิจเชิงอุตสาหกรรมในอดีต จนสามารถทำให้ผู้ประกอบการคนไทยได้รับรากฐานในการพัฒนาตนเองจนสามารถยืนอยู่ในเวทีการแข่งขันระดับนานาชาติได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสามารถพิมพ์ภาษาต่างประเทศให้ฝรั่งต่างชาติได้อ่านกันทั่วโลกแล้ว

ด้วยคุณงามความดีต่ออุตสาหกรรมการพิมพ์ไทยมากมาย จึงนับเป็นคุณูปการอันยิ่งใหญ่ ที่พวกเราเหล่าตัวแทนในอุตสาหกรรมการพิมพ์ได้ร่วมกันมารำลึกถึงท่านในวันนี้ ซึ่งได้ยึดถือกันว่าเป็น “วันการพิมพ์ไทย” ติดต่อกันมา หากดวงวิญญาณของท่านสามารถรับรู้ได้ ขอได้โปรดรับทราบว่าผู้เกี่ยวข้องในวงการพิมพ์ของไทยต่างรำลึกถึงท่าน และจะร่วมกันพัฒนาศักยภาพของอุตสาหกรรมการพิมพ์ให้ก้าวหน้า มั่นคง และยั่งยืน สืบสานเจตนารมณ์ของท่านสืบต่อไป

๓ มิถุนายน ๒๓๙๔

แก้พระนามพระพุทธรูป (พระพุทธปฏิมากร) ปางห้ามสมุทร ในวัดพระศรีรัตนศาสดาราม จาก “พระพุทธเลิศหล้าสุราลัย” เป็น “พระพุทธเลิศหล้านภาลัย”

๓ มิถุนายน ๒๔๑๐

พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระบรมราชโองการประกาศตั้ง เซอร์ยอน เบาริง เป็นราชทูตวิสามัญ และอัคราชทูตผู้มีอำนาจเต็มฝ่ายไทยประจำยุโรป และได้ตั้งให้เป็น พระยาสยามานุกูลกิจ สยามมิตรมหายศ เมื่อ ๓๑ สิงหาคม ๒๔๑๐

๓ มิถุนายน ๒๔๕๘

ตั้งยศนายพลเสือป่าเป็นครั้งแรก พระราชทานแก่ พระยาบุรุษรัตนราชพัลลภ (นพไกรฤกษ์)

๓ มิถุนายน ๒๔๘๔

ถวายพระเพลิง พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๗ ที่ประเทศอังกฤษ

๔ มิถุนายน วันสากลว่าด้วยเด็กไร้เดียงสาที่ตกเป็นเหยื่อการล่วงละเมิดทางเพศ / วันยุติการทำรุนแรงต่อเหยื่อที่เป็นเด็ก

๔ มิถุนายน ๒๔๓๕

คณะรัฐมนตรีมีมติให้ กองทัพเรือสนับสนุนกรมป่าไม้ เพื่อจัดการทรัพยากรชายฝั่งทะเลด้านป่าชายเลน และป้องกันควบคุมการบุกรุกทำลายป่าชายเลน ตลอดแนวน่านน้ำไทย

๕ มิถุนายน – วันสิ่งแวดล้อมโลก (World Environment Day)

วันสิ่งแวดล้อมโลก

ความตื่นตัวในวิกฤตการณ์ด้านสิ่งแวดล้อมโลกเริ่มขึ้นอย่างจริงจัง เมื่อรัฐบาลสวีเดนได้เสนอต่อองค์การสหประชาชาติถึงวิกฤตการณ์สิ่งแวดล้อม ประกอบด้วยวิกฤตการณ์ต่าง ๆ คือ การขาดแคลนอาหาร วิกฤตการณ์ด้านพลังงาน อัตราการเพิ่มของประชากรที่สูงมากรวมทั้งปัญหาสิ่งแวดล้อมเป็นพิษ ซึ่งส่งผลกระทบถึงคนทั่วโลก องค์การสหประชาชาติร่วมกับรับบาลสวีเดนจึงได้จัด “การประชุมสหประชาชาติเรื่องสิ่งแวดล้อมของมนุษย์” ที่กรุงสต๊อกโฮล์ม ประเทศสวีเดน ระหว่างวันที่ ๕-๑๖ มิถุนายน พ.ศ.๒๕๑๕ โดยใช้เวลาเตรียมการประชุมถึง ๓ ปี เพื่อจัดทำร่างข้อเสนอต่าง ๆ รวมทั้งแผนดำเนินการและปฏิญญาว่าด้วยสิ่งแวดล้อมของมนุษย์

เพื่อเป็นการที่ระลึกถึงจุดเริ่มต้นของการร่วมมือระหว่างชาติทั่วโลกในด้านสิ่งแวดล้อม วันที่ ๕ มิถุนายน อันเป็นวันเริ่มการประชุมครั้งยิ่งใหญ่นี้ จึงได้รับการประกาศให้เป็น ''วันสิ่งแวดล้อมโลก” (World Environment Day) พร้อมกับจัดให้มีหัวข้อในการรณรงค์ และให้คำขวัญซึ่งจะเป็นหัวข้อเดียวทั่วโลกสำหรับรณรงค์เรื่องสิ่งแวดล้อม

 

๕ มิถุนายน ๒๔๖๑

พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้า ฯ ให้ตราพระราชบัญญัติโรงเรียนราษฎร์ฉบับแรกของไทย

๕ มิถุนายน ๒๔๘๑

เรือดำน้ำของไทย ๔ ลำ ออกเดินทางจากประเทศญี่ปุ่นมาถึงไทย

๕ มิถุนายน ๒๕๕๒ เป็นปีแรก ที่รัฐบาล กำหนดให้วันที่ 5 มิ.ย.ของทุกปี เป็นวันข้าวและชาวนาแห่งชาติ

รัฐบาลมีมติกำหนดให้วันที่ 5 มิถุนายนของทุกปี เป็นวันข้าวและชาวนาแห่งชาติ เพื่อรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล รัชกาลที่ 8 และพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ที่ทรงให้ความสำคัญกับชาวนา

นายวัชระ กรรณิการ์ รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบกำหนดให้วันที่ 5 มิถุนายนของทุกปี เป็นวันข้าวและชาวนาแห่งชาติตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอมาว่า เป็นการดำเนินตามยุทธศาสตร์ข้าวไทย ปี 2550 – 2554 ซึ่งได้มีการยกร่าง โดยอาศัยการมีส่วนร่วมของทุกฝ่ายจากกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงพานิชย์ ได้มีการประชาพิจารณ์รับฟังความคิดเห็นจากทุกภาคส่วนหลายครั้ง ดังนั้น ครม. จึงได้เห็นชอบเมื่อวันที่ 6 พฤกษาคม 2552 ซึ่งการเห็นชอบให้วันข้าวและวันชาวนาห่างชาติเป็นการเฉพาะ แยกจากวันเกษตรกร โดยมีเหตุผล เพื่อเป็นการรำลึกถึงความสำคัญของข้าว พร้อมทั้งเชิดชูเกียรติ และสร้างขวัญและกำลังใจให้แก่ชาวนา ซึ่งเป็นผู้สืบทอดการปลูกข้าวในอนาคต รวมทั้งการกำหนดให้วันที่ 5 มิถุนายนเป็นวันข้าวและชาวนาแห่งชาติเนื่องจาก วันที่ 5 มิถุนายน 2489 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล รัชกาลที่ 8 เสด็จพระราชดำเนินพร้อมด้วย พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทอดพระเนตรการทำนา ที่อำเภอบางเขน และทอดพระเนตรกิจกรรม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ทั้งได้ทรงหว่านข้าวด้วยพระองค์เองที่แปลงนา นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณที่ได้พระราชทานต่อชาวสยาม และข้าวไทย ซึ่งเป็นวาระสำคัญต่อกิจกรรมข้าวไทย

นอกจากนี้การแยกวันข้าวและวันชาวนาแห่งชาติเป็นการเฉพาะออกจากวันพืชมงคล นั้น เนื่องจากวันพืชมงคลมิได้เฉพาะเจาะจงแต่เฉพาะอาชีพการทำนาและชาวนาเท่านั้น แต่รวมการทำไร่ การทำสวนด้วย

๖ มิถุนายน ๒๔๕๘

แก้ระเบียบสวดมนต์ไหว้พระสำหรับทหาร ให้มีบทปลุกใจ “ชาติของเราเป็นไทยอยู่ได้จนถึงตัวเราคนหนึ่งนี้...”และมีการแก้เพลงชาติเสียใหม่

๗ มิถุนายน ๒๔๓๐

ชาวเมืองไลเจาและพวกฮ่อจากแคว้นสิบสองจุไท ได้ยกทัพเมืองหลวงพระบาง ภายหลังที่กองทัพเจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรี ยกทัพกลับออกจากเมืองหลวงพระบางเมื่อ ๒๗ เมษายน ๒๔๓๐

๗ มิถุนายน ๒๔๔๗

ตราข้อบังคับอัตราเบี้ยกันดารทหารบก ร.ศ.๑๒๓

๘ มิถุนายน วันกิติยากร, วันมหาสมุทรโลก / วันทะเลโลก

วันกิติยากร (นำเสนอ อย่างสังเขป)

๘ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๑๗ วันพระราชสมภพ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้ากิติยากรวรลักษณ์ กรมพระจันทบุรีนฤนาถ เสนาบดีกระทรวงพาณิชย์พระองค์แรก พระนามเดิมคือ พระองค์เจ้ากิติยากรวรลักษณ์ ทรงเป็นต้นราชสกุล "กิติยากร" เป็นพระราชโอรสองค์ที่ ๑๒ ใน พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ กับเจ้าจอมมารดาอ่วม

ทรงเป็นพระราชโอรสรุ่นแรกที่เสด็จไปศึกษาต่อที่ประเทศอังกฤษเมื่อปี ๒๔๒๘ ร่วมกับ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ (พระองค์เจ้ารพีพัฒนศักดิ์), กรมหลวงปราจิณกิติบดี (พระองค์เจ้าประวิตรวัฒโนดม) และ กรมหลวงนครไชยศรีสุรเดช (พระองค์เจ้าจิรประวัติวรเดช) ทรงสำเร็จสาขาบูรพคดีศึกษา (Oriental Studies) จากวิทยาลัยแบเลียล (Balliol College) มหาวิทยาลัยอ็อกซ์ฟอร์ด ในปี ๒๔๓๗

ทรงเริ่มรับราชการในกรมราชเลขานุการ ต่อมาได้รับโปรดเกล้าฯ ขึ้นเป็น กรมหมื่นจันทบุรีนฤนาถ ดำรงตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงพระคลังมหาสมบัติ ในปี ๒๔๖๓ สมัยรัชกาลที่ ๖ ทรงได้รับโปรดเกล้าฯ ให้ดำรงตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงพาณิชย์พระองค์แรก ทรงปรีชาสามารถในด้านการคลังและการเศรษฐกิจ ส่งเสริมการออมทรัพย์โดยจัดตั้งคลังออมสินให้ราษฎรได้นำเงินมาฝาก ทรงร่างกฎหมายวางระเบียบวิธีการศุลกากร ะทรงแก้ไขปรับปรุงภาษีสรรพากรให้ทันสมัย และทรงจัดให้สุราและฝิ่นเป็นสิ่งผูกขาดของรัฐบาล เพื่อเตรียมการที่จะบังคับให้การสูบฝิ่นเป็นสิ่งต้องห้ามในเวลาต่อมา ปลายปี ๒๔๗๓ กรมพระจันทบุรีนฤนาถได้เสด็จไปรักษาพระองค์ที่กรุงปารีสและสิ้นพระชนม์ที่นั่นเมื่อวันที่ ๒๗ พฤษภาคม ๒๔๗๔

วันกิติยากร (ค่อนข่างละเอียด หากนำเสนอทางวิทยุ เวลาอาจไม่พอ)

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้ากิติยากรวรลักษณ์ กรมพระจันทบุรีนฤนาถ หรือพระนามเดิม พระองค์เจ้ากิติยากรวรลักษณ์ ทรงเป็นต้นราชสกุลกิติยากร

พระประวัติ

พระองค์เจ้ากิติยากรวรลักษณ์ เป็นพระราชโอรสองค์ที่ ๑๒ ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว กับเจ้าจอมมารดาอ่วม ประสูติเมื่อวันจันทร์ เดือน ๗ ปีจอ ตรงกับวันที่ ๘ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๑๗ ในพระบรมมหาราชวัง เนื่องจากเจ้าจอมมารดาอ่วมเป็นลูกจีน พระองค์เจ้ากิติยากรวรลักษณ์ จึงถูกล้อว่า "ปีจอ วันจันทร์ เดือนเจ็ด ลูกเจ้า หลานเจ๊ก" ซึ่งมาจาก เกิดปีจอ วันจันทร์ เดือนเจ็ด ลูกพระจุล หลานพระจอม ตัวเป็นเจ้า ตาเป็นเจ๊ก(เจ้าจอมมารดาอ่วม เป็นธิดาของพระยาพิสณฑ์สมบัติบริบูรณ์ (เจ้าสัวยิ้ม) เป็นเจ้าของเรือกลไฟชื่อ "เจ้าพระยา" เดินระหว่างกรุงเทพฯ-สิงคโปร์ เพียงลำเดียวในสมัยนั้น เป็นต้นตระกูล "พิศลยบุตร" )

ทรงจบการศึกษาชั้นประถมจากโรงเรียนพระตำหนักสวนกุหลาบ ทรงเป็นพระราชโอรสรุ่นแรกที่เสด็จไปศึกษาต่อ ณ ประเทศอังกฤษ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๒๘ ประกอบด้วย

กรมพระจันทบุรีนฤนาถ (พระองค์เจ้ากิติยากรวรลักษณ์)

กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ (พระองค์เจ้ารพีพัฒนศักดิ์)

กรมหลวงปราจิณกิติบดี (พระองค์เจ้าประวิตรวัฒโนดม)

กรมหลวงนครไชยศรีสุรเดช (พระองค์เจ้าจิรประวัติวรเดช)

ทรงสำเร็จสาขาบูรพคดีศึกษา (Oriental Studies) จากสถาบันตะวันออก มหาวิทยาลัยอ๊อกซฟอร์ด สาขาวิชา ภาษาบาลีและสันสกฤต เมื่อ พ.ศ. ๒๔๓๗ ระหว่างศึกษาอยู่ พระองค์ทรงสังกัด 'วิทยาลัยแบเลียล' (Balliol College)ของมหาวิทยาลัย

เมื่อเสด็จนิวัติกลับพระนคร ทรงรับราชการในกรมราชเลขานุการ จากนั้นมาทรงงานในตำแหน่งอธิบดีกรมศึกษาธิการ ต่อมาพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงโปรดเกล้าฯ ให้ทรงกรมเป็น กรมหมื่นจันทบุรีนฤนาถ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๔๕ ดำรงตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงพระคลังมหาสมบัติ ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงโปรดเกล้าฯให้เป็น กรมพระจันทบุรีนฤนาถ พ.ศ. ๒๔๖๓ ดำรงตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงพาณิชย์

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระจันทบุรีนฤนาถ ทรงปรีชาสามารถในด้านการคลังและการเศรษฐกิจ, ทรงพระดำริจัดตั้งคลังออมสินให้ราษฎรได้นำเงินฝากเพื่อให้ปลอดจากโจรภัยและอัคคีภัยและส่งเสริมการออมทรัพย์, ทรงจัดตั้งกรมพาณิชย์และสถิติพยากรณ์ และจัดการตั้งสหกรณ์, ทรงร่างกฎหมายวางระเบียบวิธีการศุลกากร และทรงแก้ไขปรับปรุงภาษีสรรพากร รวบรวมหน่วยงานจัดเก็บภาษีให้มารวมอยู่ในบังคับบัญชากระทรวงเดียวกัน, ทรงจัดให้สุราและฝิ่นเป็นสิ่งผูกขาดของรัฐบาล เพื่อเตรียมการที่จะบังคับให้การสูบฝิ่นเป็นสิ่งต้องห้ามในเวลาต่อมา

ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระจันทบุรีนฤนาถ ทรงได้รับโปรดเกล้าฯ ให้เป็นอภิรัฐมนตรี ที่ปรึกษาในการบริหารราชการแผ่นดิน และทรงเป็นกรรมการราชบัณฑิตยสถาน

ปลายปี พ.ศ. ๒๔๗๓ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระจันทบุรีนฤนาถได้เสด็จไปรักษาพระองค์ที่กรุงปารีส และสิ้นพระชนม์ เมื่อวันที่ ๒๗ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๗๔ รวมพระชนมายุได้ ๕๘ ชันษา กระทรวงพาณิชย์ได้ดำเนินการสร้างพระรูปพระองค์ท่านประดิษฐานไว้หน้าตึกที่ทำการกระทรวงกระทรวงพาณิชย์ ถนนสนามไชย เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร เพื่อรำลึกพระเกียรติคุณในฐานะที่ทรงเป็นเสนาบดีกระทรวงพาณิชย์พระองค์แรก

ผลงานทางวิชาการอันโดดเด่น

กรมพระจันทบุรีนฤนาถ ทรงพระปรีชาสามารถในภาษาบาลี ได้ทรงแปลเรื่อง จันทกุมารชาดก จาก ภาษาบาลี เป็นไทยจนทรงได้รับพระราชทานพัดเปรียญ ๕ ประโยคจาก รัชกาลที่ ๗ ทั้งที่ทรงเป็นฆราวาส เป็นกรณีพิเศษ ทรงพระนิพนธ์ ปทานุกรม บาลี-ไทย-อังกฤษ-สันสกฤต โดยอาศัยพจนานุกรมบาลีของอาร์.ซี. ชิลเดอรส์ (R.C.Childers) ที่ สมาคมบาลีปกรณ์ดำเนินการจัดพิมพ์มาก่อนหน้านี้แล้วเป็นหลัก แต่ต้นฉบับที่ทรงจัดทำไม่เรียบร้อยดีทุกส่วน ต่อมา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้คณะสงฆ์วัดบวรนิเวศวิหาร ร่วมกับ ศ.ม.ล.จิรายุ นพวงศ์ องคมนตรี ตรวจชำระต้นฉบับที่พระองค์ทรงร่างขึ้นแล้วโปรดให้ มูลนิธิมหามกุฏราชวิทยาลัย จัดพิมพ์ปทานุกรมดังกล่าวเพื่อเผยแผ่ นับแต่นั้น ปทานุกรม เล่มนี้จึงเป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลายมากยิ่งขึ้น

พระโอรส-ธิดา

หม่อมเจ้าหญิงอัปสรสมาน เทวกุล

เมื่อเสด็จนิวัติพระนคร ทรงประทับอยู่ ณ วังเทเวศร์ ทรงอภิเษกสมรสกับหม่อมเจ้าหญิงอัปสรสมาน เทวกุล พระธิดาองค์โตของกรมพระยาเทวะวงศ์วโรปการ เสนาบดีกระทรวงต่างประเทศ เมื่อวันที่ ๒๑ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๓๘ มีพระโอรสพระธิดา ๑๒ พระองค์ [๑]

หม่อมเจ้าเกียรติกำจร กิติยากร (พระราชนัดดาองค์แรกในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว) (๗ กันยายน ๒๔๓๙ - ๑๘ กุมภาพันธ์ ๒๔๔๕)

หม่อมเจ้าอมรสมานลักษณ์ กิติยากร (๑๘ มกราคม ๒๔๔๐ - ๑๔ สิงหาคม ๒๕๑๑) สมรสกับหม่อมพิณ หม่อมเจ้าหญิงชวลิตโอภาส รพีพัฒน์ และ หม่อมเจ้าหญิงจีริกา กิติยากร [๒][๓]

หม่อมราชวงศ์หญิงวีณา กิติยากร (๑๐ เมษายน ๒๔๖๔ - ?)

หม่อมราชวงศ์กิตินัดดา กิติยากร (๖ พฤษภาคม ๒๔๖๕ - ๑๗ สิงหาคม ๒๕๐๙)

หม่อมราชวงศ์อมราภินพ กิติยากร (๓๑ กรกฎาคม ๒๔๖๗ - ๒๗ มิถุนายน ๒๕๔๘) สมรสกับชาวอังกฤษ

หม่อมหลวงกิติ กิติยากร

หม่อมหลวงชวลิต กิติยากร

หม่อมหลวงอมฤต กิติยากร

หม่อมหลวงนฤนาท กิติยากร

หม่อมราชวงศ์หญิงกิติอัจฉรา กิติยากร (๒๑ เมษายน ๒๔๗๐ - ) สมรสกับนายสมิธิ์ ปวนะฤทธิ์

พิมพ์อัจฉรา ปวนะฤทธิ์

อัจฉราพร ปวนะฤทธิ์

เอกฤทธิ์ ปวนะฤทธิ์

ปิยกิจ ปวนะฤทธิ์

หม่อมราชวงศ์กิติสมาน กิติยากร (๑๐ กันยายน ๒๔๘๑ - ?) สมรสกับ ระเบียบ กิติยากร ณ อยุธยา

หม่อมหลวงจีริเกียรติ กิติยากร

หม่อมหลวงหญิงจีริหทัย กิติยากร

หม่อมหลวงจีริเนตร กิติยากร

หม่อมราชวงศ์หญิงจีริก กิติยากร (๒๖ พฤษภาคม ๒๔๙๕ - ๑๔ พฤษภาคม ๒๕๒๘)

หม่อมเจ้านักขัตรมงคล กิติยากร (๔ มกราคม ๒๔๔๑ - ๑๑ กุมภาพันธ์ ๒๔๙๖) (ได้รับสถาปนาเป็น พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้านักขัตรมงคล เมื่อ ๘ พฤษภาคม ๒๔๙๓ และเป็นพระวรวงศ์เธอ กรมหมื่นจันทบุรีสุรนาถ เมื่อ ๕ พฤษภาคม ๒๔๙๕ สมรสกับ หม่อมหลวงบัว สนิทวงศ์

หม่อมราชวงศ์กัลยาณกิติ์ กิติยากร สมรสกับ อรุณ สนิทวงศ์ ณ อยุธยา

หม่อมหลวงพลายชุมพล กิติยากร

หม่อมหลวงหญิงสิริณา กิติยากร

หม่อมราชวงศ์อดุลกิติ์ กิติยากร สมรสกับ หม่อมเจ้าพันธุ์สวลี ยุคล

หม่อมหลวงโสมสวลี กิติยากร (ปัจจุบันคือ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาทินัดดามาตุ)

หม่อมหลวงสราลี กิติยากร

หม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ กิติยากร (ปัจจุบันคือ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ)

หม่อมราชวงศ์บุษบา กิติยากร (ปัจจุบันคือ ท่านผู้หญิงบุษบา สธนพงศ์) สมรสกับหม่อมหลวงทวีสันต์ ลดาวัลย์ และ นาวาเอกยุทธ์ สธนพงษ์

ท่านผู้หญิงสุธาวัลย์ เสถียรไทย สมรสกับนายสุรเกียรติ เสถียรไทย

หม่อมเจ้าหญิงกมลปราโมทย์ กิติยากร (๕ ธันวาคม ๒๔๔๑ - ๒๘ พฤศจิกายน ๒๕๑๗) สมรสกับหม่อมเจ้ามรุพรพันธุ์ เทวกุล และหม่อมเจ้าวงศานุวัตร เทวกุล

หม่อมราชวงศ์มรุต เทวกุล สมรสกับ อุไร พู่เรือหงส์

หม่อมหลวงหญิงอัจโรบล เทวกุล

หม่อมราชวงศ์กมลิกา เทวกุล

หม่อมราชวงศ์นิศารัตน์ เทวกุล

หม่อมราชวงศ์เทพ เทวกุล สมรสกับ ขวัญตา ศิริวงศ์ ณ อยุธยา

หม่อมหลวงหญิงอาภาวดี เทวกุล

หม่อมหลวงหญิงขวัญกมล เทวกุล

หม่อมหลวงหญิงรดีเทพ เทวกุล

หม่อมเจ้ามาโนชมานพ กิติยากร (๒๔ มกราคม ๒๔๔๓ - ๒๔ สิงหาคม ๒๔๔๔)

หม่อมเจ้าขจรจบกิตติคุณ กิติยากร (๑๕ มีนาคม ๒๔๔๔ - ๒๘ มกราคม ๒๕๑๐) สมรสกับหม่อมราชวงศ์วิจิตรโฉม ชยางกูร

หม่อมราชวงศ์เกียรติคุณ กิติยากร สมรสกับ อาภัสรา หงสกุล และ เอมมา อูโล

หม่อมหลวงรุ่งคุณ กิติยากร

หม่อมราชวงศ์สฤษดิคุณ กิติยากร

หม่อมราชวงศ์สุจิตคุณ กิติยากร (ท่านผู้หญิงสุจิตคุณ สารสิน) สมรสกับ อาสา สารสิน

กิตติยา สารสิน

พาที สารสิน

ปิยมา สารสิน

หม่อมเจ้าหญิงพิบูลย์เบญจางค์ กิติยากร (๑๓ พฤศจิกายน ๒๔๔๕ - ๒๗ เมษายน ๒๕๑๒) สมรสกับ หม่อมเจ้าวรรณไวทยากร วรวรรณ (พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์)

หม่อมราชวงศ์วิบูลย์เกียรติ วรวรรณ สมรสกับ หม่อมราชวงศ์ทิพพากร อาภากร

หม่อมหลวงเกียรติกร วรวรรณ

หม่อมหลวงสุทธิ์ธรทิพย์ วรวรรณ

หม่อมเจ้าหญิงกัลยางค์สมบัติ กิติยากร (๒๘ มีนาคม ๒๔๔๗ - ๔ กุมภาพันธ์ ๒๔๘๕) สมรสกับ หม่อมเจ้ามุรธาภิเศก โสณกุล

หม่อมราชวงศ์หญิงธีรา โสณกุล สมรสกับ ปีเตอร์ โคเมอร์

พีรวุฒิ โคเมอร์

เมธิต โคเมอร์

หม่อมราชวงศ์หญิงศรี โสณกุล สมรสกับ ประพจน์ ลิมปิชาติ

พจกร ลิมปิชาติ

ณพสิริ ลิมปิชาติ

กิติสรา ลิมปิชาติ

จิราภัสร ลิมปิชาติ

หม่อมราชวงศ์เศาณะ โสณกุล

หม่อมเจ้าหญิงจิตรบรรจง กิติยากร (๒๘ มกราคม ๒๔๔๙ - ๒๙ ตุลาคม ๒๔๘๗) ทรงลาออกจากฐานันดรศักดิ์เพื่อเสกสมรสกับ หม่อมราชวงศ์นักษัตร ลดาวัลย์

หม่อมหลวงอดุลยเดช ลดาวัลย์ สมรสกับ มัณฑนา ดีเหมือนวงศ์

กัณฑรา ลดาวัลย์ ณ อยุธยา

รักเกศ ลดาวัลย์ ณ อยุธยา

หม่อมเจ้าหญิงทรงอัปษร กิติยากร (๒๒ กรกฎาคม ๒๔๕๐ - ๒๘ มีนาคม ๒๕๓๑) สมรสกับ หม่อมเจ้าเพลิงนภดล รพีพัฒน์

หม่อมราชวงศ์อคิน รพีพัฒน์ สมรสกับ จันทรา ปิตะชาติ และ บังเอิญ เกิดอารีย์

หม่อมหลวงหญิงกฤติกา รพีพัฒน์

หม่อมหลวงหญิงณพอร รพีพัฒน์

หม่อมราชวงศ์รพีพงศ์ รพีพัฒน์ สมรสกับ หม่อมหลวงศิริมา ศรีธวัช และ จริยา รอดประเสริฐ

หม่อมหลวงหญิงศิริธิดา รพีพัฒน์

หม่อมราชวงศ์หญิงอัปสร รพีพัฒน์ สมรสกับ ทวีเกียรติ กฤษณามระ และ จอห์น โรก๊อช

นพรังสี กฤษณามระ

อรัญ โรก๊อช

หม่อมเจ้าหญิงสรัทจันทร์ กิติยากร (๒๖ ธันวาคม ๒๔๕๑ - ๓๐ กันยายน ๒๔๖๖)

หม่อมเจ้าพุฒ กิติยากร พระชนม์ ๑๑ เดือน (๘ กุมภาพันธ์ ๒๔๕๔ - ๒๖ ธันวาคม ๒๔๕๔)

[แก้] หม่อม

หม่อมจอน วิชยาภัย ( - ๒๙ ธันวาคม ๒๔๖๗)

หม่อมเจ้าหญิงพัฒนคณณา กิติยากร (๓๐ กันยายน ๒๔๔๖ - ๒๙ พฤษภาคม ๒๕๐๙) สมรสกับหม่อมเจ้าวิวัฒนไชย ไชยยันต์ (พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวิวัฒนไชย)

หม่อมราชวงศ์กิติวัฒนา ไชยยันต์ สมรสกับนายวุธจิระ ปกมนตรี

อวัสดา ปกมนตรี

กีรดี ปกมนตรี

หม่อมเจ้าสมาคม กิติยากร (๑๕ กันยายน ๒๔๔๘ - ๑ ตุลาคม ๒๕๓๑) สมรสกับหม่อมราชวงศ์สมัยการ เทวกุล

หม่อมราชวงศ์ (ถึงแก่กรรมตั้งแต่เด็ก)

หม่อมราชวงศ์หญิงวิริยาภา กิติยากร สมรสกับ ไพบูลย์ ช่างเรียน

จิตตาภา ช่างเรียน

ภัสพิชญ์ ช่างเรียน

หม่อมราชวงศ์จิราคม กิติยากร สมรสกับ พิณน้อย ศรีสวัสดิ์

หม่อมหลวงนันทจิตร กิติยากร

หม่อมหลวงอรณิช กิติยากร

หม่อมราชวงศ์สมลาภ กิติยากร สมรสกับ เนาวรัตน์ โขมพัตร

หม่อมหลวงปวริศน์ กิติยากร

หม่อมหลวงหญิงภัทรสุดา กิติยากร

หม่อมเจ้าพรพิพัฒน์ กิติยากร (๓๐ สิงหาคม ๒๔๕๐ - ๗ กุมภาพันธ์ ๒๔๖๘)

หม่อมเจ้ากิติมตี กิติยากร (๓ พฤษภาคม ๒๔๕๘ - ๒๗ มกราคม ๒๕๒๕)

หม่อมละออง วิจารณ์บุตร (เมษายน ๒๔๒๕ - ๗ พฤษภาคม ๒๕๐๔)

หม่อมเจ้าชมชิด กิติยากร (๑๖ ตุลาคม ๒๔๔๘ - ๒๒ มกราคม ๒๔๙๑)

หม่อมเจ้าโกลิต กิติยากร (๑๓ กรกฎาคม ๒๔๕๓ - ๒ มกราคม ๒๕๑๙) สมรสกับ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าพิสิฐสบสมัย

หม่อมราชวงศ์หญิงพิลาศลักษณ์ กิติยากร สมรสกับนายบัณฑิต บุณยะปาณะ (สารสิน)

พิทูร บุณยะปาณะ

ศิถี บุณยะปาณะ

สิรี บุณยะปาณะ

หม่อมจั่น อินทุเกตุ (๒๔๓๖ - ๑๐ พฤศจิกายน ๒๔๖๕)

หม่อมเจ้าหญิงจีริกา กิติยากร (๒๗ เมษายน ๒๔๕๖ - ๘ พฤศจิกายน ๒๕๑๘) สมรสกับ หม่อมเจ้าอมรสมานลักษณ์ กิติยากร

หม่อมเจ้าจีรินันท์ กิติยากร (๒๖ กุมภาพันธ์ ๒๔๕๘ - ๙ เมษายน ๒๕๑๖) สมรสกับ สมลักษณ์ ทิพย์สมัย

หม่อมราชวงศ์จีริเดชา กิติยากร สมรสกับ หม่อมหลวงหญิงเอื้อมศุขย์ ศุขสวัสดิ

หม่อมหลวงหญิงวรีวรรณ กิติยากร

หม่อมหลวงหญิงยุวันวรี กิติยากร

หม่อมหลวงพงศ์วริน กิติยากร

หม่อมราชวงศ์จีรินัดดา กิติยากร

หม่อมราชวงศ์หญิงจีริสุดา กิติยากร สมรสกับ พิศิษฐ์ วุฒิไกร

จีรสิทธิ์ วุฒิไกร

หม่อมราชวงศ์หญิงจีริกัญญา กิติยากร สมรสกับ หรรษา โชติกเสถียร

จิตีวันต์ โชติกเสถียร

อภิธร โชติกเสถียร

หม่อมเจ้าจีริดนัย กิติยากร (๑ ธันวาคม ๒๔๕๙ - ๒๔ กรกฎาคม ๒๕๒๓) สมรสกับ หม่อมเจ้าหญิงกิติปปียา กิติยากร

หม่อมราชวงศ์วงศ์ดนัย กิติยากร

หม่อมละเมียด เปลี่ยนประยูร (ตุลาคม ๒๔๓๙ - ๕ สิงหาคม ๒๕๒๔)

หม่อมเจ้าหญิงวินิตา กิติยากร (๒ ธันวาคม ๒๔๕๖ - ๖ มีนาคม ๒๕๔๑) สมรสกับ หม่อมเจ้าวิมวาทิตย์ รพีพัฒน์

หม่อมราชวงศ์วิภากร รพีพัฒน์ สมรสกับ หม่อมเจ้าหญิงวุฒิวิทู วุฒิชัย และ เย็นจิตต์ สัมมาพันธ์ (เย็นจิตต์ รพีพัฒน์ ณ อยุธยา)

หม่อมหลวงหญิงนิภาพร รพีพัฒน์

หม่อมหลวงปกรวิช รพีพัฒน์

หม่อมเจ้าสุวินิต กิติยากร (๔ มีนาคม ๒๔๕๘ - ๒๙ มีนาคม ๒๕๒๓) สมรสกับ พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าหญิงสุทธสิริโสภา

หม่อมราชวงศ์หญิงสุนิดา กิติยากร สมรสกับ สีหชาติ บุณยรัตพันธ์

สุชาดา บุณยรัตพันธ์

หม่อมราชวงศ์หญิงเสาวนิต กิติยากร

หม่อมเจ้าหญิงกิติปปียา กิติยากร (๖ ธันวาคม ๒๔๖๖ - ) สมรสกับ หม่อมเจ้าจีริดนัย กิติยากร

พระเกียรติยศ

พ.ศ. ๒๔๔๕ - กรมหมื่นจันทบุรีนฤนาท

พ.ศ. ๒๔๕๔ - กรมหลวงจันทบุรีนฤนาท

พ.ศ. ๒๔๕๙ - กรมพระจันทบุรีนฤนาท สุรเชษฐาธิราชกิตติยากร วรลักษณสุนทรีวีรวิจิตร สรรพรัชดาธิกิจโกศล วิมลรัตนมหาโกศาธิบดี ธีรคุโณฬาร ศุภสมาจารสารสมบัติ มัทวเมตตาธยาศรัย ไตรศรีรัตนสรณาคม อุดมศักดิบพิตร

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

พระองค์ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ชั้นสูงสุดของตระกูลต่าง ๆ ดังต่อไปนี้

-เครื่องขัตติยราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติคุณรุ่งเรืองยิ่งมหาจักรีบรมราชวงศ์ (ม.จ.ก.)

-เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นโบราณมงคลนพรัตนราชวราภรณ์ (น.ร.)

-เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นปฐมจุลจอมเกล้าวิเศษ (ป.จ.ว.)

-เครื่องราชอิสริยาภรณ์รัตนวราภรณ์ (ร.ว.)

-เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีศักดิ์รามาธิบดี ชั้นเสนางคะบดี (ส.ร.)

-เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)

-เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม)

-เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ ๕ ชั้นที่ ๒ (จ.ป.ร.๒)

-เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ ๖ ชั้นที่ ๑ (ว.ป.ร.๑)

-เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ ๗ ชั้นที่ ๑ (ป.ป.ร.๑)

-เหรียญดุษฎีมาลา เข็มศิลปวิทยา (ร.ด.ม.(ศ.ผ.))

๘ มิถุนายน ๒๔๕๗

เปลี่ยนชื่อเมืองนครเขื่อนขันธ์เป็น พระประแดง

๙ มิถุนายน – วันอานันทมหิดล

๙ มิถุนายน ๒๔๘๙ พระบาทสมเด็จพระอนันทมหิดล เสด็จสวรรคต

วันอานันทมหิดล เป็นวันที่มีความสำคัญ กล่าวคือเป็นวันคล้ายวันเสด็จสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทรพระผู้พระราชทานกำเนิดคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งตรงกับวันที่ ๙ มิถุนายน คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยจึงดำริที่จะจัดงานวันอานันทมหิดลขึ้นเป็นประจำทุกปี ด้วยสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์ท่านซึ่งได้สร้างคุณูปการด่อวงการแพทย์และการศึกษา เพื่อเป็นการเผยแผ่พระเกียรติคุณให้เป็นที่ประจักษ์ ตลอดจนเป็นการเฉลิมพระเกียรติล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ ๘ ให้พสกนิกรได้ร่วมน้อมรำลึกถึงพระองค์สืบไป

กิจกรรมต่าง ๆ ที่จัดขึ้นเนื่องในวันอานันทมหิดลประกอบด้วย

-พิธีถวายบังคมพระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทรซึ่งประดิษฐานหน้าอาคาร “อานันทมหิดล” คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ของนิสิตคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

-พิธีวางพวงมาลาถวายราชสักการะพระบรมราชานุสาวรีย์ ของ คณาจารย์ แพทย์ พยาบาล นิสิตแพทย์และหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน

-พิธีบำเพ็ญกุศลอุทิศถวาย พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร ณ อาคารวชิรญาณวงศ์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์

-การจัดทำเข็มกลัดที่ระลึกเนื่องในวันอานันทมหิดล เพื่อออกรับบริจาคโดยนิสิตแพทย์ รายได้สมทบทุนมูลนิธิอานันทมหิดลและช่วยเหลือผู้ป่วยยากไร้ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์

-การจัดการแข่งขันตอบปัญหาวิชาการชีววิทยาและวิทยาศาสตร์การแพทย์เนื่องในวันอานันทมหิดล ชิงโล่พระราชทานสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี

-การจัดงานเสวนาเนื่องสัปดาห์วันอานันทมหิดล

-กิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์อื่น ๆ เพื่อถวายเป็นพระราชกุศล

ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับพระราชประวัติ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล รัชกาลที่ ๘

พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระราชสมภพ เมื่อวันอาทิตย์ขึ้น ๒ ค่ำเดือน ๑๑ ปีฉลู ตรงกับวันที่ ๒๐ กันยายน พ.ศ. ๒๔๖๘ ณ เมือง ไฮเดเบอร์ก ประเทศเยอรมัน ทรงเป็นพระราชโอรสองค์ที่สอง ในสมเด็จพระมหิตลาธิเบศรอดุลยเดชวิกรมพระบรมราชนก (ขณะนั่นดำรงพระอิสริยยศเป็นสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้ามหิดลอดุลยเดชกรมขุนสงขลานครินทร์) และ สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี (ขณะนั่นทรงเป็น หม่อมสังวาลย์ มหิดล ณ อยุธยา) เมื่อพระชนมายุ ๓ พรรษา ได้เสด็จกลับประเทศไทยพร้อมด้วยพระบรมราชชนกและพระบรมราชชนนี โดยเสด็จประทับ ณ วังสระปทุม ในปีต่อมาได้ทรงศึกษาชั้นอนุบาล ณ โรงเรียนมาแตร์เดอีวิทยาลัย ๒ ปี แล้ว จึงเสด็จไปประทับต่อ ณ เมืองโลซานน์ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์

เมื่อเปลี่ยนแปลงการปกครองในปี พ.ศ.๒๔๗๕ ต่อมาภายหลัง พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงสละราชสมบัติเมื่อวันที่ ๗ มีนาคม พ.ศ.๒๔๗๗ สภาผู้แทนราษฎรและรัฐบาลในขณะนั้นมีมติเห็นชอบให้อัญเชิญ พระวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าอานันทมหิดล (พระยศขณะนั้น) ขึ้นครองราชย์สืบราชสันติวงศ์ เป็นพระมหากษัตริย์รัชกาลที่ ๘ แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์ ทรงพระนามว่า “สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล” เมื่อวันที่ ๒ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๗๗ แต่ในขณะนั้นพระองค์มีพระชนมายุเพียง ๙ พรรษา จึงต้องทรงมีคณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ซึ่งได้แก่พระวรวงศ์เธอ กรมหมื่นอนุวัตรจาตุรนต์ พระวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าอาทิตย์ทิพยอาภา และเจ้าพระยายมราช ทำการบริหารแผ่นดินแทนจนกว่าจะทรงบรรลุนิติภาวะ

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล ได้เสด็จนิวัตกลับประเทศไทยเป็นครั้งแรกหลักจากขึ้นครองราชย์ เมื่อวันที่ ๑๕ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ซึ่งขณะนั้นทรงมีพระชนมายุได้ ๑๓ พรรษา การเสด็จนิวัตรครั้งนี้โดยทางเรือชื่อ มีโอเนีย พร้อมด้วยสมเด็จพระบรมราชชนนี สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอและสมเด็จพระอนุชา ซึ่งเมื่อเสด็จถึงปีนัง ได้พระราชทานสัมภาษณ์แก่หนังสือพิมพ์สเตรทเอคโค ดังมีข้อความตอนหนึ่งว่า

“ข้าพเจ้ารู้สึกยินดีที่จะได้เดินทางกลับสู่ประเทศอันเป็นที่รักของข้าพเจ้า และในอันที่จะได้เห็นประชาราษฎร์ของข้าพเจ้าเอง”

ตลอดระยะเวลา ๒ เดือน ที่ทรงเสด็จประทับอยู่ในเมืองไทย ได้ทรงออกเยี่ยมราษฎรในที่ต่าง ๆ เพื่อให้ประชาชนได้มีโอกาสเฝ้าชมพระบารมีอย่างใกล้ชิด จากนั้นได้ทรงเสด็จกลับไปศึกษาต่อที่ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ จนกระทั่งเกิดสงครามโลกครั้งที่ ๒ การคมนาคมติดต่อเป็นไปโดยลำบากพระองค์ท่านจึงไม่ทรงมีโอกาสติดต่อกับประเทศไทย เมื่อสงครามสงบ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล ซึ่งขณะนั้นกำลังศึกษาวิชาเศรษฐศาสตร์และเหลือเวลาอีกประมาณ ๓ ปี จะทรงได้รับปริญญาเอกจึงเสด็จ นิวัติกลับประเทศไทยอีกครั้ง เมื่อวันที่ ๕ ธันวาคม พ.ศ.๒๔๘๘ ขณะนั้นทรงมีพระชนมายุได้ ๒๑ พรรษา ซึ่งทรงบรรลุนิติภาวะแล้ว

ในการเสด็จนิวัตเมืองไทยครั้งนี้ เดิมทรงตั้งพระราชหฤทัยจะประทับอยู่ในเมืองไทยเพียง ๑ เดือนจากนั้นจะเสด็จพระราชดำเนินกลับสวิตเซอร์แลนด์ เพื่อให้ทันการเปิดภาคเรียนใหม่ในกลางเดือนมกราคมแต่เนื่องจากทรงมีพระราชกรณียกิจในฐานะประมุขของประเทศ มากมาย ซึ่งเป็นเรื่องจำเป็นของชาติและพสกนิกร ทำให้ทรงเลื่อนเวลาที่จะเสด็จพระราชดำเนินกลับสวิตเซอร์แลนด์ออกไปเป็นวันที่ ๑๓ มิถุนายน พ.ศ.๒๔๘๙

ทรงเสด็จออกรับการตรวจพลสวนสนามของฝ่ายพันธมิตรในประเทศไทยพร้อมด้วยลอร์ด หลุยส์ เมาท์แบตเตน แม่ทัพใหญ่ของอังกฤษ อันเป็นผลให้ภาพพจน์และฐานะของประเทศเป็นที่ยอมรับแก่ประเทศทางตะวันตกที่เป็นฝ่ายสัมพันธมิตร ซึ่งก่อนหน้านี้ฐานะของประเทศไทยไม่ค่อยสู้ดีนักเนื่องจากในระหว่างสงครามโลก ประเทศต้องอยู่ในภาวะจำยอมที่ต้องให้ความร่วมมือแก่กองทัพญี่ปุ่นซึ่งเป็นฝ่ายอักษะ ทำให้เมื่อสงครามสงบแล้ว มีประเทศพันธมิตรหลายชาติไม่พอใจและถือโอกาสข่มขู่ไทย

การพระราชทานวินิจฉัยรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ฉบับวันที่ ๙ พฤษภาคม พ.ศ.๒๔๘๙ ให้ใช้เป็นหลักในการปกครองประเทศในวันเสด็จเปิดสภาผู้แทนราษฎร

เมื่อสงครามโลกครั้งที่ ๒ สงบลง จีนกลายเป็นประเทศมหาอำนาจที่อยู่ข้างฝ่ายชนะสงครามทำให้ชาวจีนบางกลุ่มที่อาศัยอยู่ในเมืองไทยทำการเรียกร้องสิทธิบางประการจากรัฐบาลไทย ซึ่งก่อให้เกิดความขัดแย้งขึ้นระหว่างชาวไทยกับจีน จนถึงขั้นก่อความไม่สงบและมีการรุมทำร้ายร่างกายคนไทยที่เรียกว่า “เสียพะ” อยู่เนือง ๆ เหตุการณ์นี้ได้ทวีความรุนแรงและขยายพื้นที่อย่างกว้างขวางออกไปมากขึ้น จนเกือบจะกลายเป็นสงครามกลางเมือง เมื่อความบาดหมางระหว่างชาวไทยและชาวจีนนี้ทราบถึงพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล ได้ทรงหาวิธีแก้ไขด้วยพระองค์เอง โดยทรงตระหนักว่าถ้าเสด็จฯ ออกเยี่ยมเยียนท้องถิ่นชาวจีนที่อาศัยอยู่เป็นจำนวนมากแล้ว ย่อมจะสามารถประสานรอยร้าวที่มีอยู่ ให้สนิทแน่นแฟ้นขึ้นได้ จึงทรงกำหนดการเสด็จเยี่ยมสำเพ็งอย่างเป็นทางการในวันที่ ๓ พฤษภาคม พ.ศ.๒๔๘๙ พร้อมด้วยสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ และสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ ข่าวการเสด็จสำเพ็งครั้งนี้เป็นข่าวใหญ่ที่สร้างความตื้นเต้นยินดีเป็นอย่างยิ่งแก่พ่อค้าชาวจีน และพ่อค้าอินเดียที่อาศัยอยู่แถบนั้น เพราะเป็นครั้งแรกที่มีพระมหากษัตริย์เสด็จเยี่ยมสำเพ็งอย่างเป็นทางการ การเสด็จเยี่ยมเยียนครั้งนี้ทางใช้เวลานานถึง ๔ ชั่วโมง เพราะมีชาวจีนมาเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทมากมายและการรับเสด็จก็เป็นไปอย่างมโหฬารด้วยความจงรักภักดีและเคารพบูชาอย่างสูง

สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล รัชกาลที่ ๘ เสด็จวรรคตเมื่อวันที่ ๙ มิถุนายน พ.ศ.๒๔๙๘ ปวงชนชาวไทยต่างรำลึกถึงพระเมตตาธิคุณและพระมหากรุณาธิคุณ อันมีเป็นอเนกประการจึงร่วมใจน้อมรำลึกถึงพระองค์ท่าน โดยถือเอาวันที่ ๙ มิถุนายนของทุกปี เป็น “วันอานันทมหิดล” ในปี พ.ศ.๒๕๒๘ สมาคมศิษย์เก่าแพทย์จุฬาลงกรณ์ ได้รวบรวมทุนจากเงินบริจาคของศิษย์เก่าแพทย์จุฬาฯ “ทุกรุ่นจัดสร้างพระบรมราชานุสาวรีย์ขึ้น เพื่อเป็นการรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณที่ได้ทรงบันดาลให้เกิดคณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ และเป็นการเฉลิมพระเกียรติยศให้ประชาชนได้รำลึกถึงพระองค์ท่านสืบไปโดยมอบให้ คุณไข่มุกด์ ชูโต เป็น ผู้ออกแบบและปั้น พระบรมรูปหล่อด้วยส่วนผสมทองเหลืองและทองแดงขนาดเท่าครึ่งของพระองค์จริง ในท่าประทับนั่งเหนือเก้าอี้ ผินพระพักตร์ไปทางเบื้องขวาของพระองค์เล็กน้อย พระบรมรูปและเก้าอี้สูงประมาณหนึ่งเมตรครึ่ง พระบรมราชานุสาวรีย์ประดิษฐานไว้หน้าตึกอานันทมหิดล คณะแพทยศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดพระบรมราชานุสาวรีย์แห่งนี้เมื่อวันที่ ๓๐ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๒๙

แม้ว่ารัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดลจะมีระยะเวลาสั้น แต่ก็มีเหตุการณ์สำคัญหลายเหตุการณ์เกิดขึ้น ได้แก่

๑. เมื่อวันที่ ๑๒ กันยายน พ.ศ. ๒๔๘๒ รัฐบาลซึ่งมีจอมพล ป.พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรีได้ประกาศเปลี่ยนชื่อจาก ประเทศสยาม มาเป็น ประเทศไทย โดยมีเหตุผลว่า คำว่าสยามมักใช้กันแต่ในวงราชการ และในชาวต่างประเทศ ส่วนคนไทยนั้นโดยเฉพาะชาวบ้านไม่ค่อยใช้คำว่าสยาม แต่ใช้คำว่าไทย อีกประการหนึ่ง การขนานนามประเทศส่วนมากมักเรียกตามเชื้อชาติของคนเจ้าของประเทศนั้น คนไทยมีเชื้อสายไทย ควรชื่อประเทศให้ตรงกับเชื้อชาติ ต่อมาในวันที่ ๗ กันยายน พ.ศ. ๒๔๘๘ รัฐบาลไทย ซึ่งมีนายทวี บุณยเกตุ เป็นนายกรัฐมนตรี ก็ได้มีประกาศการใช้ชื่อประเทศ ประชาชน และสัญชาติ อย่างเป็นทางการ โดยที่เชื่อของประเทศไทย ที่นิยมเรียกกันในต่างประเทศว่า SIAM จนแพร่หลายเป็นที่รู้จักกันมาช้านาน ฉะนั้นจึงให้ใช้ชื่อประเทศในภาษาอังกฤษว่า SIAM รวมถึงชื่อประชาชนและชื่อสัญชาติว่า SIAMESE สำหรับใช้ในภาษาต่างประเทศอื่น ๆ ให้ใช้ได้โดยอนุโลม ส่วนชื่อในภาษาไทยนั้นให้ใช้ชื่อ ไทย ตามเดิม

๒. กำหนดให้วันที่ ๑ มกราคม เป็นวันขึ้นปีใหม่ ได้มีประกาศเมื่อวันที่ ๒๙ สิงหาคม พ.ศ.๒๔๘๓

๓. การสร้างอนุสาวรีย์

๓.๑ อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ

สร้างขึ้นบนถนนประชาธิปัตย์ ตอนถนนพญาไทยกับถนนราชวิถีกรุงเทพมหานคร อนุสาวรีย์นี้สร้างขึ้นเพื่อเชิดชูเกียรติทหาร ตำรวจ และพลเรือน ซึ่งได้สละชีพเพื่อชาติมีพิธีเปิด วันที่ ๒๔ มิถุนายน พ.ศ.๒๔๘๕ อนุสาวรีย์นี้สร้างเป็นรูปดาบปลายปืน ๕ แฉก บานเป็นวงกลมและมีรูปทองแดงเป็นทหารบก ทหารเรือ ทหารอากาศ ตำรวจสนาม และพลเรือน เดิมจารึกชื่อผู้ที่เสียชีวิตในการรบในสมรภูมิอินโดจีนจำนวน ๕๙ นาย ในภายหลังได้จารึกชื่อทหารที่เสียชีวิตในสงครามเกาหลีเพิ่มขึ้นด้วย

๓.๒ อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย

สร้างขึ้นที่กึ่งกลางถนนราชดำเนินกลาง ช่วงที่ถนนดินสอติดต่อกับถนนประชาธิปไตย กรุงเทพมหานคร อนุสาวรีย์นี้รัฐบาลได้สร้างขึ้นเพื่อเป็นการแสดงให้เห็นว่า ประเทศไทยมีการปกครองตามระบอบประชาธิปไตย ได้มีการวางศิลาฤกษ์ในวันที่ ๒๔ มิถุนายน พ.ศ.๒๔๘๓ ลักษณะเด่นของอนุสาวรีย์นี้ คือ พานรัฐธรรมนูญตั้งอยู่กลางป้อมอนุสาวรีย์ รอบอนุสาวรีย์มีปีก ๔ ด้าน

๔.สะพานข้ามแม่น้ำแควใหญ่ที่ชื่อว่า สะพานข้ามแม่น้ำแคว สร้างเสร็จเมื่อเดือน กันยายน พ.ศ.๒๔๘๖ และรถไฟสายมรณะ ในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ ๒ ญี่ปุ่นที่ประกาศสงครามกับฝ่ายสัมพันธมิตร ได้ขอเดินทัพผ่านประเทศไทยในการ ทำสงครามกับอังกฤษและสหรัฐอเมริกา และได้ยกพลขึ้นบกอย่างกะทันหันตามจังหวัดชายทะเลของไทยประเทศไทยจำยอมต้องให้ญี่ปุ่นผ่าน

๙ มิถุนายน ๒๓๘๒

ให้เมืองพังงาเป็นเมืองใหญ่ เอาเมืองถลาง เมืองตะกั่วทุ่ง เมืองตะกั่วป่า มาขึ้นกับเมืองพังงา

๙ มิถุนายน ๒๔๓๕

เรือกลไฟเริ่มเดินในลำแม่น้ำมูลระหว่างเมืองอุบลท่าช้าง เป็นเที่ยวแรก

๙ มิถุนายน ๒๔๕๓

ตั้งเมืองเชียงรายเป็นเมืองจัตวา

๙ มิถุนายน ๒๔๘๙

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดช ขึ้นครองราชย์ เป็นรัชกาลที่ ๙ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์

โดยตรัสปฐมบรมราชโองการว่า “เราจะปกครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม”

๙ มิถุนายน ๒๕๑๔

ตั้งกองพลที่ ๙ ที่จังหวัดกาญจนบุรี ประกอบด้วยกรมทหารราบที่ ๙ และ ๑๙ กองพลที่ ๙ เคยตั้งอยู่ที่จังหวัดฉะเชิงเทรา แล้วยุบเลิกไปเมื่อ ๓๐พฤษภาคม ๒๔๗๑

๑๐ มิถุนายน ๒๔๐๐

พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชสาส์นถึงประธานาธิบดีอเมริกามีใจความว่าขอเจริญทางพระราชไมตรีมายัง แฝรงกลินเปียศปริศเดน ผู้บังการแผ่นดินยุไนติศเตศอเมริกาและเรื่องการขอแก้สัญญาเก่าในทางไมตรี และการค้าขายในแผ่นดินสยาม ที่ได้เคยทำกันมาตั้งแต่ครั้งพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว

๑๐ มิถุนายน ๒๔๐๐ มีการฉายภาพยนตร์ครั้งแรกในไทยที่โรงละคร หม่อมเจ้าอลังการ์

ประวัติภาพยนตร์ไทย

ภาพยนตร์เป็นสื่อให้ความบันเทิงที่มีอยู่ในสังคมไทยมาเป็นเวลานับร้อยปี การเริ่มต้นและเติบโตของอุตสาหกรรมภาพยนตร์ในเมืองไทย เกือบเป็นไปในลักษณะคู่ขนานกับการเริ่มต้นและเติบโตของภาพยนตร์ในส่วนต่างๆของโลก การสร้างหนังในเมืองไทยก็เริ่มต้นเเละพัฒนาไปพร้อมๆกับพัฒนาการของหนังในส่วนอื่นของโลกเช่นกัน

หนังไทยยุคเริ่มต้น

ประวัติภาพยนตร์ไทยเริ่มต้นในปี พ.ศ. 2439 เมื่อพระพุทธเจ้าหลวง รัชกาลที่ 5 เสด็จเยือนสิงคโปร์ และ ชวา วันที่ 10 สิงหาคม พระองค์ท่านมีโอกาสทอดพระเนตรหนังประเภทที่เรียกว่า Kinestoscope หรือภาพยนตร์แบบถ้ำมองของคณะหนังเร่ของนาย Thomas Edison ซึ่งมีผู้นำมาเล่นถวาย พระพุทธเจ้าหลวงจึงเป็นคนไทยคนแรกที่ได้ชมภาพยนตร์

ปีถัดมา S.G. Marchovsky และคณะนำเอาหนังของพี่น้องตระกูล Lumiere แบบที่เรียกว่า Cinematograph เข้ามาฉายในกรุงสยาม การฉายหนังครั้งนั้น เป็นการฉายหนังให้สาธารณะชนดูเป็นครั้งแรก เมื่อวันที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2440 รอบแรกที่หนังออกฉาย โดยจัดฉายที่โรงละครหม่อมเจ้าอลังการ ตั้งอยู่ที่ถนนเจริญกรุง แกล้ประตูสามยอด

ปี 2447 คณะฉายภาพยนตร์แบบหนังเร่ชาวญี่ปุ่นนำหนังเข้ามาฉาย หนังส่วนใหญ่เป็นเหตุการณ์การสู้รบระหว่าง ญี่ปุ่นกับรัสเซีย ซึ่งกำลังต่อสู้กันในขณะนั้น การฉายใช้วิธีกางผ้าใบชั่วคราวในบริเวณลานว่างของวัดชัยชนะสงคราม หรือวัดตึก

เมื่อเห็นว่าการฉายหนังครั้งแรกได้ผลดี ปีถัดมาคณะหนังเร่คณะเดียวกันก็กลับมาฉายหนังเร่ในเมืองไทยอีกครั้ง และครั้งนี้ได้สร้างโรงภาพยนตร์ชั่วคราวขึ้นในบริเวณที่ร้างข้างๆบริเวณที่ต่อมามีการสร้างศาลาเฉลิมกรุง จึงเป็นเหตุให้นักธุรกิจชาวสยามคิดสร้างโรงภาพยนตร์ตามบ้าง จึงมีโรงหนังเกิดขึ้นทีละโรงสองโรง เช่น โรงกรุงเทพซินีมาโตกราฟ บริษัทรูปยนต์กรุงเทพ หรือโรงหนังวังเจ้าปรีดา เป็นต้น

เพราะเหตุที่หนังทีมาฉายที่โรงหนังชั่วคราวนั้นเป็นของคนญี่ปุ่น ชาวกรุงเทพจึงเรียกหนังยุคนั้นว่า 'หนังญี่ปุ่น' อยู่หลายปี ทั้งที่ในความเป็นจริงแล้ว หนังที่เอามาฉายเป็นหนังที่สร้างโดยบริษัทสร้างหนัง Pathe ของฝรั่งเศส หนังที่ฉายแต่ละชุดในยุคนั้น เป็นหนังชุด แต่ละชุดประกอบด้วยหนัง 12 ม้วน แต่ละม้วนยาว 500 ฟุต เวลาฉายหนังจะเริ่มตั้งเเต่ 2 ทุ่ม ไปสิ้นสุดลงเวลา 4 ทุ่ม

เมื่อนักธุรกิจชาวญี่ปุ่นคนอื่นๆเห็นว่าการฉายหนังเร่เป็นงานที่ทำเงินได้ดีในสยาม จึงเริ่มมองหาสถานที่และสร้างโรงหนังขึ้นตามที่ต่างๆหลายแห่ง หนังจึงกลายเป็นสิ่งบันเทิงของคนกรุงเทพไปในที่สุด

การฉายหนังของบริษัทต่างชาติในกรุงเทพในยุคนั้นมีการแข่งขันกันสูงมาก มีการลงโฆษณาตามหน้าหนังสือพิมพ์กันอย่างเอิกเกริก และต่อมาก็มีการให้จับฉลากตั๋วหนังเพื่อให้ของรางวัลแก่ผู้ดูอีกด้วย ข้อสังเกตคือ ในระยะเวลาช่วงแรกนี้ ยังไม่มีหนังเรื่องใดที่สร้างในเมืองไทยเลย

ในหมู่เจ้าของโรงหนังคนสยามก็มีการแข่งขันกันสูงมากเช่นกัน โดยเฉพาะระหว่างบริษัทใหญ่คือบริษัทรูปยนต์กรุงเทพ และบริษัทพยนต์พัฒนาการ ซึ่งแข่งกันสร้างโรงภาพยนตร์ในเครือของตนขึ้นตามตำบลสำคัญๆทั่วกรุงเทพฯ

ถึงปี 2462 ทั้งสองบริษัทใหญ่นี้ตกลงรวมตัวกันเป็นบริษัทเดียวกัน คือ สยามภาพยนตร์บริษัท กลายเป็นบริษัทยักษ์ใหญ่เกือบจะผูกขาดกิจการค้าภาพยนตร์และกิจการโรงหนังทั่วประเทศ

ปี 2473 เพื่อป้องกันมิให้ภาพยนตร์ ซึ่งเมื่อถึงเวลานั้นได้แพร่หลายอย่างกว้างขวาง และมีบทบาทในฐานะสื่อที่มีอิทธิพลสูง รัฐบาลสมัยพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 จึงออกกฎหมายให้อำนาจเจ้าหน้าที่พนักงานตรวจพิจารณาภาพยนตร์ทุกเรื่องก่อนอนุญาตให้นำออกฉาย เรียกว่าพระราชบัญญัติภาพยนตร์ พ.ศ.2473

๑๐ มิถุนายน ๒๔๒๕

บริษัท เดอลอง ของฝรั่งเศส ขอขุดคอคอดกระ แบบเดียวกับการขุคคลองสุเอช แต่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงบ่ายเบี่ยง เพราะต้องพิจารณาประโชยน์ของฝ่ายไทยก่อน เพราะถ้าผิดพลาดจะเสียความสัมพันธไมตรีระหว่างไทยกับอังกฤษ

๑๐ มิถุนายน ๒๔๓๙

การไฟฟ้านครหลวง เปิดบริการแก่ประชาชนในพระนคร

เมืองไทย เราสมัยปู่ย่าตาทวด นอกจากจะอาศัยแสงสว่างจากไต้แล้ว ก็มีเทียนไขและตะเกียงชนิดต่าง ๆ บางทีก็เอาหญ้าปล้องมาแซะเอาไส้ออกแล้วตากแดดไว้ให้แห้ง เพื่อเอาไปทำไส้ตะเกียงส่วนผู้ที่มีฐานะดีสักหน่อยก็ใช้ ้ตะเกียงน้ำมันก๊าดเป็นโคมชนิดที่มีหูหิ้วที่เรียกกันว่า "ตะเกียงรั้ว" ที่เรียกกันเช่นนี้ก็เพราะเมื่อแรกสั่งเข้ามาใช้นั้นเอามาจุดประดับตามรั้วเวลา

มีงาน รอบตะเกียงรั้วมีโป๊ะแก้วกันลมได้ ตะเกียงอีกชนิดหนึ่งเรียกกันว่า "ตะเกียงแมงดา" มีลักษณะกลม ๆ นูนเล็กน้อยและค่อนข้างแบนคล้ายรูป แมงดา ในหม้อมีน้ำมันก๊าดบรรจุอยู่

 

การไฟฟ้าในประเทศไทย

ได้มีขึ้นในรัชสมัย

ของพระบาทสมเด็จ

พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

และโดยพระมหากรุณาธิคุณ

ของพระองค์ท่าน

การไฟฟ้าในประเทศไทย

จึงได้วิวัฒนาการ

ก้าวหน้ามาเป็นลำดับ

สืบจนกระทั่งปัจจุบันนี้

ประเทศไทยเริ่มใช้น้ำมันก๊าซตั้งแต่ พ.ศ. 2417 และใช้น้ำมันเบนซินพร้อมๆ กับสั่งรถยนต์เข้ามาในปี 2447มีท่อเล็ก ๆ ต่อหม้อน้ำมันบงมาที่ปลายท่อมีรูเล็ก ๆ เรียกว่า นมหนูเมื่อน้ำมันหยดลงมาตะเกียงก็จะสว่างขึ้น นอกจากนี้ยังมีตะเกียงลานที่ไขลานให้หมุนใบพัดเป่าลมให้เปลวไฟตั้งตรงทำให้แสงไฟไม่วูบวาบเย็นตาและไม่มีควัน ส่วนตะเกียงเจ้าพายุก็มีการใช้อยู่ทั่วไปไฟฟ้าในเมืองไทย เริ่มครั้งแรกเมื่อจอมพล เจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรี (เจิม แสงชูโต) ครั้งยังเป็น จมื่นไวยวรนาถ เป็นอุปฑูตได้เดินทางไปกับเจ้าพระยาภาสกรวงศ์ และได้เห็นกรุงปารีส (Paris) ประเทศฝรั่งเศส สว่างไสวไปด้วยไฟฟ้า เมื่อกลับมาเมืองไทยจึงคิดว่า เมืองไทยน่าจะมีไฟฟ้าใช้แบบเดียวกับอารยประเทศ และการนี้จะทำให้สำเร็จได้คงต้องเริ่มภายในพระบรมมหาราชวังและบ้านเจ้านายก่อน จึงได้นำความขึ้นกราบทูลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว แต่มีพระราชดำรัสว่า "ไฟฟ้าหลังคาตัดข้าไม่เชื่อ" เมื่อเป็นเช่นนี้ จมื่นไวยวรนาถ ก็ตระหนักว่าก่อนที่จะเริ่มดำเนินการจำเป็นต้องหาวิธีจูงใจให้ผู้ที่ไม่เคยเห็นเคยใช้ไฟฟ้าเกิดความนิยม

ขึ้นก่อน จึงนำความไปกราบบังคมทูลพระเจ้าน้องยาเธอกรมหมื่นเทววงศ์วโรปการ ขอให้ช่วยกราบทูล สมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชเทวีให้ทรงรับซื้อที่ดิน ซึ่งได้รับมรดกจากบิดา ณ ตำบลวัดละมุด บางอ้อ ได้เป็นเงิน 180 ชั่ง หรือ 14,400.00 บาท ปรากฏว่าเป็นผลสำ เร็จ แล้วให้ นายมาโยลา ชาวอิตาเลียนที่มารับราชการเป็นครูฝึกทหารเดินทางไปซื้อเครื่องจักรและเครื่องไฟฟ้าที่ประเทศอังกฤษ เมื่อ พ.ศ. 2427 โดยให้ซื้อเครื่องกำเนิดไฟฟ้ามาสองเครื่อง เพื่อจะได้ผลัดเปลี่ยนกันได้ และซื้อสายเคเบิ้ลสำหรับฝังสายใต้ดินจากโรงทหารม้า (ปัจจุบันคือ กระทรวงกลาโหม) ไปจนถึงพระบรมมหาราชวัง และจัดซื้อโคมไฟชนิดต่าง ๆ เป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 20 กันยายน 2427 ซึ่งเป็นวันคล้ายวันพระราชสมภพของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ต่อมาปรากฏว่าไฟฟ้าเป็นที่นิยมกันแพร่หลาย ทั้งในราชสำนัก วังเจ้านาย และชาวบ้านผู้มีอันจะกิน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจึงโปรดพระราชทานเงินที่ใช้จ่าย ในการติดตั้งไฟฟ้าคืนให้จมื่นไวยวรนาถจึงวางแผนที่จะสร้างโรงไฟฟ้าขนาดใหญ่ เพื่อให้ประชาชนในกรุงเทพฯได้ใช้ไฟฟ้า แต่เกิดมีราชการสงครามต้องไปปราบฮ่ออยู่เป็นเวลานานเรื่องเลยระงับไว้อย่างไรก็ตามไฟฟ้าก็เป็นที่นิยมกันแพร่หลาย

 

 

จอมพลเจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรี

(เจิม แสงชูโต)

บิดาแห่งการไฟฟ้าไทย

นอกจากจะใช้เพื่อแสงสว่างแล้วยังมีการนำไปใช้ด้านพลังงานด้วยนั่นคือ มี การจัดตั้งบริษัทรถราง ขึ้น เพื่อช่วยเหลือให้การสัญจรในกรุงเทพฯ และหัวเมืองบางแห่งเป็นไปอย่างสะดวก ถึงแม้ราคาค่าไฟหลวงใช้จะถูกกว่าชาวบ้านก็จริง แต่การใช้ไฟในสมัยรัชกาลที่ 5ก็ต้องประหยัดตามถนนบางสายก็ไม่มีไฟฟ้าเพราะปรากฎว่าไม่ค่อยมีคนสัญจร บางสายก็ต้องติดห่าง ๆ กัน เพราะภาษีบำรุงท้องที่ในสมัยนั้นยังไม่มี เรื่องการติดตั้งไฟฟ้าตามถนนนี้ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงพิถีพิถันเอาพระทัยใส่อยู่เป็นอันมาก เพราะพระองค์ทรงรู้ว่าไฟฟ้าเป็นของใหม่คนไทยเรายังไม่ค่อยเข้าใจปิดเปิดสวิทซ์ก็ยังไม่เป็น บางทีเปิดไฟทิ้งไว้ตลอดคืนก็มี ทำให้หมดเปลืองพระราชทรัพย์ไปโดยเปล่าประโยชน์ การติดไฟตามถนนจึงต้องดูว่าถนนไหนคนเดินมากเดินน้อย

 

พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท

เป็นสถานที่แห่งแรก

ที่มีไฟฟ้าใช้นับตั้งแต่

มีไฟฟ้าในประเทศไทย

เรื่องเกี่ยวกับไฟฟ้า นี้ทรงมีพระราชหัตถเลขามีถึงเจ้าพระยาวรพงศ์พิพัฒน ์ ครั้งยังเป็นเจ้าหมื่นเสมอใจฉบับแรกได้ตรัสถึงการติดไฟฟ้ามีข้อความตอนหนึ่งว่า "ไฟฟ้าควรจะมีแต่เพียงตะพานเทเวศร์ไปตะพานกิมเซ่งหลี ถนนดวงตะวันไปถึงถนนเบญจมาศ ถนนดวงเดือนนอก ถนนดาวข่าง ส่วนถนนคอเสื้อแลปลายพฤฒิบาศ ถ้ามีก็ได้แต่จะต้องรอดูสักหน่อยก่อนพอให้มีเค้าคนเดิน เพราะเหตุที่ถนนหน้าวัดโสมนัสไม่มีไฟฟ้า รอไว้ตั้งแต่ครึ่งปีก็ได้ "อีกฉบับหนึ่งได้ทรงกล่าวถึงค่าไฟฟ้าและการใช้ " เรื่องไฟฟ้านั้นจะต้องวินิจฉัยต่อภายหลัง เวลานี้ทำอะไรไม่เปลืองแต่เกิดมาเป็นคนไทยไม่รู้จักเปิดรู้จักปิดจะไปเล่นกับไฟฟ้า คิดเป็นยูนิตมันก็ฉิบหายอย่างเดียวเท่านั้น ข้อซึ่งได้กล่าวว่าจัดคนไว้ให้คอยเปิดคอยปิดอะไรเปล่าทั้งนั้น สั่งมัน ๆ ก็รับแต่ว่ามันไม่ได้ทำไฟติดอยู่ยังค่ำ ๆ ถนนรนแคมแดงโร่อยู่เสมอ ร้ายไปกว่าที่จุดตามเรือนซึ่งคงไม่ปิดเหมือนกันสักแห่งเดียว เพราะไม่มีเครื่องที่จะแบ่งปิดได้ ปิดก็ต้องปิดทั้งหมด ถ้าจะให้เจ้าของเรือนทั้งปวงรู้สึกเสียดายแล้วจะจ่ายเป็นเงินพระราชทานสำหรับค่าไฟฟ้าเสียวันละเท่านั้น ๆ แล้วแต่จะใช้มากใช้น้อยว่ากันเป็นเรือนดีกว่าเหลือเงินไปมากน้อยเท่าใด เจ้าของอยากจุดก็ให้เสียเงินเองเจ้าตั้งบิลไปเรียกเอา แต่ข้อสำคัญจะต้องติดที่ที่ดับไว้ให้เขาผ่อนใช้ได้มากบ้างน้อย บางตามสมควร แต่ส่วนถนนแลพลับพลานั้นจะต้องกำหนดว่าจุด 12 ชั่วโมง เท่าไรยูนิต ถ้าเขาคิดราคามาเกิน 12 ชั่วโมง เท่าใดต้องให้ใช้เจ้า ถ้าหากว่าเป็นเช่นนี้ไฟจึงจะดับได้ ความฉิบหายเรื่องไม่ดับไฟน สุขาภิบาลทั้ง 2 กรม เห็นจะทำให้เงินแผ่นดินต้องเสียเปล่ามากโดยไม่เอื้อเฟื้อ"

ค่าไฟฟ้าสำหรับใช้ตามถนนและในพระราชวังในสมัยนั้นคงจะสิ้นพระราชทรัพย์ปีหนึ่ง ๆ ไม่ใช่น้อย ยิ่งเมื่อสร้างสวนดุสิตคือ พระราชวังดุสิตกับพระที่นั่งอนันตสมาคมตลอดจนโครงการประปา ความจำเป็นที่จะต้องใช้ไฟฟ้าก็ทวีมากขึ้นอีกหลายเท่าตัว จะไปซื้อไฟฟ้าบริษัทอยู่ก็ไม่ไหวและทางบริษัทเองก็ไม่สามารถบริการได้ทางกระทรวงนครบาลจึงได้กราบบังคมทูลซึ่งในที่สุดก็ได้รับพระบรมราชานุญาตให้จัดทำไฟฟ้าเอง

บริษัท เดนมาร์กเปลี่ยนมาใช้

รถรางไฟฟ้าในปี พ.ศ.2437

 

บริษัท ไฟฟ้าสยาม จำกัด

มีสำนักงานอยู่ที่วัดเลียบ

องค์กรที่ดำเนินกิจการไฟฟ้าในระยะแรก มี 2 แห่ง การไฟฟ้ากรุงเทพ เมื่อปี พ.ศ.2430 รัฐบาลได้ให้สัมปทานการเดินรถรางแก่ นายจอห์น ลอฟตัส กับ นาย เอ. ดู เปลซี เดอ ริเชอเลียว เนื่องจากยังไม่มีไฟฟ้าจึงต้องใช้ม้าลาก เปิดดำเนินการอยู่พักหนึ่งแต่ขาดทุนจึงต้องโอนกิจการให้บริษัทเดนมาร์ก เมื่อปี พ.ศ. 2435 บริษัทเดนมาร์กเปลี่ยนมาใช้รถรางไฟฟ้า ในปี พ.ศ.2437 ขณะนั้นประเทศส่วนใหญ่ในยุโรปยังไม่มีรถรางไฟฟ้า แม้แต่กรุงโตเกียวซึ่งเป็นเมืองหลวงของประเทศญี่ปุ่น กว่าจะมีรถรางไฟฟ้าใช้ก็หลังเมืองไทยร่วมสิบปีในปีพ.ศ. 2443 บริษัทเดนมาร์กขายกิจการให้แก่ บริษัท บางกอกอีเล็คตริคซิตี้ ไลท์ ซินดิเคท แต่กิจการไม่เจริญเท่าที่ควร จึงได้โอนกิจการให้บริษัทไฟฟ้าสยาม จำกัด มีชาวเดนมาร์กชื่อ นายอ๊อก เวสเตนโฮลส์ เป็นผู้ดำเนินการ ตั้งสำนักงานอยู่ที่วัดเลียบจนกระทั่งปี พ.ศ.2482 จึงได้เปลี่ยนชื่อเป็น บริษัทไฟฟ้าไทยคอร์ปอเรชั่น จำกัด ในปี พ.ศ. 2493 เมื่อหมดสัมปทานรัฐบาลจึงเข้าดำเนินงานแทนและเปลี่ยนชื่อมาเป็นการไฟฟ้ากรุงเทพ เป็นหน่วยงานหนึ่งของกระทรวงมหาดไทย ทำหน้าที่ผลิตและจำหน่ายกระแสไฟฟ้าแก่ประชาชนที่อาศัยอยู่ในบริเวณตอนใต้ของคลองบางกอกน้อยและคลองบางลำภู กองไฟฟ้าหลวงสามเสน เดิมชื่อ กองไฟฟ้าสามเสน กำเนิดขึ้นจากพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่ทรงตระหนักถึงความสำคัญของพลังไฟฟ้าและสายพระเนตรอันยาวไกลของพระองค์ว่าต่อไปบ้านเมืองจะเจริญขึ้นไปทางด้านเหนือของพระนคร จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้สร้างพระราชวังดุสิตเป็นที่ประทับโดยที่พระที่นั่งอนันตสมาคมเป็นท้องพระโรง เพื่อให้ได้กำลังไฟฟ้าราคาถูก และสะดวกในการเดินเครื่องสูบน้ำของการประปาด้วยทรงโปรดเกล้าฯ ให้ เจ้าพระยายมราช (ปั้น สุขุม) เสนาบดีกระทรวงนครบาล และผู้บังคับบัญชากรมสุขาภิบาลในขณะนั้น ดำเนินการสร้างโรงไฟฟ้าเพื่อผลิตกระแสไฟฟ้าจำหน่ายแก่ประชาชน โดยให้มีการจัดการเช่นการค้าขายทั่วไป หรือรัฐวิสาหกิจในปัจจุบัน จ้าพระยายมราช จึงกู้เงินจากกระทรวงการคลังจำนวน 1,000,000 บาท โดยเสียดอกเบี้ยร้อยละ 4 ต่อปี เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการสร้างโรงไฟฟ้าและการดำเนินงานผลิตจำหน่ายกระแสไฟฟ้า และขอโอน นายเอฟ บี ชอว์ นายช่างไฟฟ้าชาวอังกฤษจากกรมโยธาธิการมาเป็นผู้ควบคุมการก่อสร้างโรงไฟฟ้า ใช้วิธีเรียกประกวดราคา และบริษัท อัลเกไมเน อีเลคตริคซิตี้ เกเซ็ลซาฟท์ จำกัด (Allgameine Elektricitats Gesellsehaft) หรือที่รู้จักกันดีในปัจจุบันนี้ในนามบริษัท AEG จากประเทศเยอรมันนีเป็นผู้ประมูลได้ และทำการก่อสร้าง จนกระทั่งวันที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2456 กองไฟฟ้าหลวงสามเสนจึงได้เริ่มทดลองเดินเครื่องจักรผลิตกระแสไฟฟ้าเป็นครั้งแรกและเริ่มจำหน่ายไฟฟ้าให้แก่ประชาชนอย่างเป็นทางการราวต้นปี พ.ศ. 2457 โดยมีเขตจำหน่ายอยู่บริเวณตอนเหนือของคลองบางกอกน้อยและคลองบางลำภู " ต่อมารัฐบาลสมัย พลเอกถนอม กิตติขจร ได้รวมองค์การทั้งสองเข้าด้วยกันเป็น การไฟฟ้านครหลวง "

๑๐ มิถุนายน ๒๔๘๐

ตรา พ.ร.ก. ประกาศแนวถนน ๔๑ สาย

๑๐ มิถุนายน ๒๔๘๖

ตั้งมณฑลทหารเรือที่ ๒ ที่สัตหีบ แล้วยุบลงเหลือเป็นสถานีทหารเรือสัตหีบเมื่อ ๑๔ กรกฎาคม ๒๔๙๔

๑๑ มิถุนายน ๒๔๒๑

พระศรีวิชัย (ครูบาศรีวิไชย) พระภิกษุผู้มีชื่อเสียงแห่งลานนาไทย เกิดที่บ้านปาง อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน เป็นพระภิกษุนักบุญผู้สร้างถนนขึ้นดอยสุเทพ เมืองเชียงใหม่ โดยแรงศรัทธา ใช้เวลาเพียง๕ เดือน พระศรีวิไชย มรณภาพ เมื่อ ๒๒ มีนาคม ๒๔๘๑

 

ประวัติโดยย่อครูบาศรีวิชัย

ครูบาศรีวิชัย ซึ่งเป็นที่รู้จักกันทั่วไปโดยเฉพาะในเขตล้านนาว่าเป็น "ตนบุญ" หรือ "นักบุญ" อันมีความหมายเชิงยกย่องว่าเป็นนักบวชที่มีคุณสมบัติพิเศษ อาจพบว่ามีการเรียกอีกว่า ครูบาเจ้าศรีวิชัย พระครูบาศรีวิชัย ครูบาศีลธรรม หรือ ทุเจ้าสิริ (อ่าน"ตุ๊เจ้าสิลิ") แต่พบว่าท่านมักเรียกตนเองเป็น พระชัยยาภิกขุ หรือ พระศรีวิชัยชนะภิกขุ เดิมชื่อเฟือนหรืออินท์เฟือนบ้างก็ว่าอ้ายฟ้าร้อง เนื่องจากในขณะที่ท่านถือกำเนิดนั้นปรากฏฝนฟ้าคะนองอย่างหนัก ส่วนอินท์เฟือนนั้น หมายถึง การเกิดกัมปนาทหวั่นไหวถึงสวรรค์หรือเมืองของพระอินทร์ ท่านเกิดในปีขาล เดือน ๙ เหนือ(เดือน ๗ของภาคกลาง) ขึ้น ๑๑ ค่ำ จ.ศ.๑๒๔๐ เวลาพลบค่ำ ตรงกับวันอังคารที่ ๑๑ เดือนมิถุนายน พ.ศ.๒๔๒๑ ที่หมู่บ้านชื่อ "บ้านปาง" ตำบลแม่ตืน อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน ท่านเป็นบุตรของนายควาย นางอุสา มีพี่น้องทั้งหมด ๕ คน มีชื่อตามลำดับ คือ ๑. นายไหว ๒. นางอวน ๓. นายอินท์เฟือน(ครูบาศรีวิชัย) ๔. นางแว่น ๕. นายทา

ทั้งนี้นายควายบิดาของท่านได้ติดตามผู้เป็นตาคือ หมื่นปราบ (ผาบ) ซึ่งมีอาชีพเป็นหมอคล้องช้างของเจ้าหลวงดาราดิเรกฤทธิ์ไพโรจน์(เจ้าผู้ครองนครลำพูนองค์ที่ ๗ ช่วง พ.ศ.๒๔๑๔-๒๔๓๑)ไปตั้งครอบครัวบุกเบิกที่ทำกินอยู่ที่บ้านปาง บ้านเดิมของนายควายอยู่ที่บ้านสันป่ายางหลวง ทางด้านเหนือของตัวเมืองลำพูน

ในสมัยที่ครูบาศรีวิชัยหรือนายอินท์เฟือนยังเป็นเด็กอยู่นั้น หมู่บ้านดังกล่าวยังกันดารมากมีชน กลุ่มน้อยอาศัยอยู่มากโดยเฉพาะชาว ปกาเกอญอ (กะเหรี่ยง) ในช่วงนั้นบ้านปางยังไม่มีวัดประจำหมู่บ้าน จนกระทั่งเมื่อนายอินท์เฟือนมีอายุได้ ๑๗ ปีได้มีพระภิกษุรูปหนึ่งชื่อ ครูบาขัติยะ (ชาวบ้านเรียกว่า ครูบาแฅ่งแฅะ เพราะท่านเดินขากะเผลก) เดินธุดงค์จากบ้านป่าซางผ่านมาถึงหมู่บ้านนั้น ชาวบ้านจึงนิมนต์ท่านให้อยู่ประจำที่บ้านปาง แล้วชาวบ้านก็ช่วยกันสร้างกุฏิชั่วคราวให้ท่านจำพรรษา ในช่วงนั้น เด็กชายอินท์เฟือนได้ฝากตัวเป็นศิษย์ และเมื่ออายุได้ ๑๘ ปีก็ได้บรรพชาเป็นสามเณรที่ อารามแห่งนี้โดยมีครูบาขัติยะเป็นพระอุปัชฌาย์ ๓ ปีต่อมา (พ.ศ. ๒๔๔๒) เมื่อสามเณรอินท์เฟือนมีอายุย่างเข้า ๒๑ ปี ก็ได้เข้าอุปสมบทในอุโบสถวัดบ้านโฮ่งหลวง อำเภอบ้านโฮ่งจังหวัดลำพูน โดยมีครูบาสมณะวัดบ้านโฮ่งหลวงเป็นพระอุปัชฌาย์ ได้รับนามฉายาในการอุปสมบทว่า สิริวิชโยภิกฺขุ มีนามบัญญัติว่า พระศรีวิชัย ซึ่งบางครั้งก็พบว่าเขียนเป็น สรีวิไชย สีวิไช หรือ สรีวิชัย

เมื่ออุปสมบทแล้ว สิริวิชโยภิกขุก็กลับมาจำพรรษาที่อารามบ้านปางอีก ๑ พรรษา จากนั้นได้ไปศึกษากัมมัฏฐานและวิชาอาคมกับครูบาอุปละ วัดดอยแต อำเภอแม่ทา จังหวัดลำพูน ต่อมาได้ไปฝากตัวเป็นศิษย์ของครูบาวัดดอยคำอีกด้วย และอีกท่านหนึ่งที่ถือว่าเป็นครูของครูบาศรีวิชัยคือครูบาสมณะ วัดบ้านโฮ่งหลวงซึ่งเป็นพระอุปฌาย์ของท่าน

ครูบาศรีวิชัยรับการศึกษาจากครูบาอุปละวัดดอยแตเป็นเวลา ๑ พรรษาก็กลับมาอยู่ที่อารามบ้านปางจนถึง พ.ศ. ๒๔๔๔ (อายุได้ ๒๔ ปี พรรษาที่ ๔) ครูบาขัติยะได้จาริกออกจากบ้านปางไป(บางท่านว่ามรณภาพ) ครูบาศรีวิชัยจึงรักษาการแทนในตำแหน่งเจ้าอาวาส และเมื่อครบพรรษาที่ ๕ ก็ได้เป็นเจ้าอาวาสวัดบ้านปาง จากนั้นก็ได้ย้ายวัดไปยังสถานที่ที่เห็นว่าเหมาะสม คือบริเวณเนินเขาซึ่งเป็นที่ตั้งวัดบ้านปางในปัจจุบัน เพราะเป็นที่วิเวกและสามารถปฏิบัติธรรมได้เป็นอย่างดีโดยได้ให้ชื่อวัดใหม่แห่งนี้ว่า วัดจอมสรีทรายมูลบุญเรือง แต่ชาวบ้านทั่วไปยังนิยมเรียกว่า วัดบ้านปาง ตามชื่อของหมู่บ้าน

ครูบาศรีวิชัยเป็นผู้มีศีลาจารวัตรที่งดงามและเคร่งครัด โดยที่ท่านงดการเสพ หมาก เมี่ยง บุหรี่ โดยสิ้นเชิง ท่านงดฉันเนื้อสัตว์ตั้งแต่เมื่ออายุได้ ๒๖ ปี และฉันอาหารเพียงมื้อเดียว ซึ่งมักเป็นผักต้มใส่เกลือกับพริกไทเล็กน้อย บางทีก็ไม่ฉันข้าวทั้ง ๕ เดือน คงฉันเฉพาะลูกไม้หัวมันเท่านั้น นอกจากนี้ท่านยังงดฉันผักตามวันทั้ง ๗ คือ วันอาทิตย์ ไม่ฉันฟักแฟง, วันจันทร์ ไม่ฉันแตงโมและแตงกวา, วันอังคาร ไม่ฉันมะเขือ, วันพุธ ไม่ฉันใบแมงลัก, วันพฤหัสบดี ไม่ฉันกล้วย, วันศุกร์ ไม่ฉันเทา (อ่าน"เตา"-สาหร่ายน้ำจืดคล้ายเส้นผมสีเขียวชนิดหนึ่ง), วันเสาร์ ไม่ฉันบอน นอกจากนี้ผักที่ท่านจะไม่ฉันเลยคือ ผักบุ้ง ผักปลอด ผักเปลว ผักหมากขี้กา ผักจิก และผักเฮือด-ผักฮี้(ใบไม้เลียบอ่อน) โดยท่านให้เหตุผลว่า ถ้าพระภิกษุสามเณรรูปใดงดได้ การบำเพ็ญกัมมัฏฐานจะเจริญก้าวหน้า ผิวพรรณจะเปล่งปลั่ง ธาตุทั้ง ๔ จะเป็นปกติ ถ้าชาวบ้านงดเว้นแล้วจะทำให้การถือคาถาอาคมดีนัก

ครูบาศรีวิชัยมีความปรารถนาที่จะบรรลุธรรมะอันสูงสุดดังปรากฏจากคำอธิษฐานบารมีที่ท่านอธิษฐานไว้ว่า "...ตั้งปรารถนาขอหื้อได้ถึงธรรมะ ยึดเหนี่ยวเอาพระนิพพานสิ่งเดียว..." และมักจะปรากฏความปรารถนาดังกล่าวในตอนท้ายชองคัมภีร์ใบลานที่ท่านสร้างไว้ทุกเรื่อง อีกประการหนึ่งที่ทำให้ครูบาศรีวิชัยเป็นที่รู้จักและอยู่ในความทรงจำของชาวล้านนาคือการที่ท่านเป็นผู้นำในการสร้างทางขึ้นสู่วัดพระธาตุดอยสุเทพโดยพลังศรัทธาประชาชนเป็นจำนวนมาก ทั้งกำลังกายและกำลังทรัพย์ ซึ่งใช้เวลาสร้างเพียง ๕ เดือนเศษ โดยไม่ใช้งบประมาณของรัฐ แต่เรื่องที่ทำให้ครูบาศรีวิชัยเป็นที่รู้จักกันใน ระยะแรกนั้นเกิดเนื่องจากการที่ท่านต้องอธิกรณ์ ซึ่งระเบียบการปกครองสงฆ์ตามจารีตเดิมของล้านนานั้นให้ความสำคัญแก่ระบบหมวดอุโบสถ หรือ ระบบหัวหมวดวัด มากกว่า และการปกครองก็เป็นไปในระบบพระอุปัชฌาย์อาจารย์กับศิษย์ ซึ่งพระอุปัชฌาย์รูปหนึ่งจะมีวัดขึ้นอยู่ในการดูแลจำนวนหนึ่งเรียกว่าเจ้าหมวดอุโบสถ โดยคัดเลือกจากพระที่มีผู้เคารพนับถือและได้รับการยกย่องว่าเป็น ครูบา ซึ่งหมายถึงพระภิกษุที่ได้รับความยกย่องอย่างสูง ดังนั้นครูบาศรีวิชัยซึ่งมีชื่อเสียงอยู่ในขณะนั้นจึงอยู่ในตำแหน่งหัวหมวดพระอุปัชฌาย์ โดยฐานะเช่นนี้ ครูบาศรีวิชัยจึงมีสิทธิ์ตามจารีตท้องถิ่นที่จะบวชกุลบุตรได้ ทำให้ครูบาศรีวิชัยจึงมีลูกศิษย์จำนวนมาก และลูกศิษย์เหล่านี้ก็ได้เป็นฐานกำลังที่สำคัญของครูบาศรีวิชัยในการดำเนินกิจกรรมทางศาสนาและกิจกรรมสาธารณประโยชน์ อีกทั้งยังเป็นแนวร่วมในการต่อต้านอำนาจจากกรุงเทพฯ เมื่อเกิดกรณีขัดแย้งขึ้นในเวลาต่อมา

ส่วนสงฆ์ในล้านนาเองก็มีแนวปฏิบัติที่หลากหลาย เนื่องจากมีการจำแนกพระสงฆ์ตามจารีตท้องถิ่นออกเป็นถึง ๑๘ นิกาย และในแต่ละนิกายนี้ก็น่าจะหมายถึงกลุ่มพระที่เป็นสายพระอุปัชฌาย์สืบต่อกันมาในแต่ละท้องที่ซึ่งมีอำนาจปกครองในสายของตนโดยผ่านความคิดระบบครูกับศิษย์ และนอกจากนี้นิกายต่าง ๆ นั้นยังเกี่ยวข้องกับชื่อของเชื้อชาติอีกด้วย เช่น นิกายเชียงใหม่ นิกายขึน (เผ่าไทขึน/เขิน) นิกายยอง (จากเมืองยอง) เป็นต้น สำหรับครูบาศรีวิชัยนั้นยึดถือปฏิบัติในแนวของนิกายเชียงใหม่ผสมกับนิกายยองซึ่งมีแนวปฏิบัติบางอย่างต่างจากนิกายอื่น ๆ มีธรรมเนียมที่ยึดถือคือ การนุ่งห่มที่เรียกว่า กุมผ้าแบบรัดอก สวมหมวก แขวนลูกประคำ ถือไม้เท้าและพัด ซึ่งยึดธรรมเนียมมาจากวัดดอยแตโดยอ้างว่า สืบวิธีการนี้มาจากลังกา การที่ครูบาศรีวิชัยถือว่าท่านมีสิทธิ์ที่จะบวชกุลบุตรได้ตามจารีตการถือปฏิบัติมาแต่เดิมนั้น ทำให้ขัดกับพระราชบัญญัติการปกครองคณะสงฆ์ ร.ศ.๑๒๑(พ.ศ.๒๔๔๖) เพราะในพระราชบัญญัติดังกล่าวกำหนดว่า "พระอุปัชฌาย์ที่จะบวชกุลบุตรได้ ต้องได้รับการแต่งตั้งตามระเบียบการปกครองของสงฆ์จากส่วนกลางเท่านั้น" โดยถือเป็นหน้าที่ของเจ้าคณะแขวงนั้น ๆ เป็นผู้คัดเลือกผู้ที่ควรจะเป็นอุปัชฌาย์ได้ และเมื่อคัดเลือกได้แล้วจึงจะนำชื่อเสนอเจ้าคณะผู้ใหญ่ในกรุงเทพฯเพื่อดำเนินการแต่งตั้งต่อไป การจัดระเบียบการปกครองใหม่ของกรุงเทพฯนี้ถือเป็นวิธีการสลายจารีตเดิมของสงฆ์ในล้านนาอย่างได้ผล องค์กรสงฆ์ล้านนาก็เริ่มสลายตัวลงที่ละน้อยเพราะอย่างน้อยความขัดแย้งต่าง ๆ ก็เกิดขึ้นระหว่างสงฆ์ในล้านนาด้วยกันเอง ดังกรณี ความขัดแย้งระหว่างครูบาศรีวิชัยกับพระครูมหารัตนากรเจ้าคณะแขวงลี้ อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน เป็นต้น

การต้องอธิกรณ์ระยะแรกของครูบาศรีวิชัยนั้นเกิดขึ้นเพราะครูบาศรีวิชัยถือธรรมเนียมปฏิบัติตามจารีตเดิมของล้านนา ส่วนเจ้าคณะแขวงลี้ซึ่งใช้ระเบียบวิธีปฏิบัติของกรุงเทพฯ ซึ่งเห็นว่าครูบาศรีวิชัยทำหน้าที่พระอุปัชฌาย์โดยไม่ได้รับการอนุญาตจากเจ้าคณะแขวงลี้ จึงถือว่าเป็นความผิด เพราะตั้งตนเป็นพระอุปัชฌาย์เองและเป็นพระอุปัชฌาย์เถื่อน ครูบามหารัตนากรเจ้าคณะแขวงลี้กับหนานบุญเติง นายอำเภอลี้ได้เรียกครูบาศรีวิชัยไปสอบสวนเกี่ยวกับปัญหาที่ครูบาศรีวิชัยเป็นพระอุปัชฌาย์บวชกุลบุตรโดยมิได้รับแต่งตั้งตามพระราชบัญญัติ การจับกุมครูบาศรีวิชัยสามารถแบ่งช่วงเวลาออกเป็น ๓ ช่วงเนื่องจากเป็นระยะเวลาที่ยาวนานเกือบ ๓๐ ปีและแต่ละช่วงจะมีรายละเอียดของสภาพสังคมที่แตกต่างกัน

อธิกรณ์ระยะแรก (ช่วง พ.ศ.๒๔๕๑ - ๒๔๕๓)

การต้องอธิกรณ์ช่วงแรกของครูบาศรีวิชัยเป็นผลมาจากการเริ่มทดลองใช้กฎหมายของคณะสงฆ์ฉบับแรก(พ.ศ.๒๔๔๖)และเป็นการเริ่มให้อำนาจกับสงฆ์สายกลุ่มผู้ปกครองในช่วงพ.ศ.๒๔๕๓ นั้น บทบาทของครูบาศรีวิชัยในหมู่ชาวบ้านและชาวเขามีลักษณะโดดเด่นเกินกว่าตำแหน่งสงฆ์ผู้ปกครอง ดังจะเห็นว่าชาวบ้านมักนำเอาบุตรหลานมาฝากฝังให้ครูบาศรีวิชัยบวชเณรและอุปสมบท เมื่อความทราบถึงเจ้าคณะแขวงและนายอำเภอลี้ ทางการก็เห็นว่าครูบาศรีวิชัยล่วงเกินอำนาจของตน เจ้าคณะแขวงและนายอำเภอได้พาตำรวจควบคุมครูบาศรีวิชัยไปกักไว้ที่วัดเจ้าคณะแขวงลี้ได้ ๔ คืน จากนั้นก็ส่งครูบาศรีวิชัยไปให้พระครูบ้านยู้ เจ้าคณะจังหวัดลำพูนเพื่อรับการไต่สวน ซี่งผลก็ไม่ปรากฏครูบาศรีวิชัยมีความผิด หลังจากถูกไต่สวนครั้งแรกไม่นานนัก ครูบาศรีวิชัยก็ถูกเรียกตัวสอบอีกครั้งโดยพระครู มหาอินทร์ เจ้าคณะแขวงลี้ เนื่องจากมีหมายเรียกให้ครูบาศรีวิชัยนำลูกวัดไปประชุมเพื่อรับทราบระเบียบกฎหมายใหม่จากนายอำเภอและเจ้าคณะแขวงลี้ แต่ครูบาศรีวิชัยไม่ได้ไปตามหมายเรียกนั้น ซึ่งส่งผลทำให้เจ้าอธิการหัววัดที่อยู่ในหมวดอุโบสถของครูบาศรีวิชัยไม่ไปประชุมเช่นกัน เพราะเห็นว่าเจ้าหัวหมวดไม่ไปประชุม ลูกวัดก็ไม่ควรไป พระครูเจ้าคณะแขวงลี้จึงสั่งให้นายสิบตำรวจเมืองลำพูนไปควบคุมครูบาศรีวิชัยส่งให้พระครูญาณมงคลเจ้าคณะจังหวัดลำพูนจัดการไต่สวน ครั้งนั้น ครูบา ศรีวิชัยถูกควบคุมตัวอยู่ที่วัดชัยเมืองลำพูนถึง ๒๓ วัน จึงได้รับการปล่อยตัว

ส่วนครั้งที่๓ ใน พ.ศ.เดียวกันนี้ พระครูเจ้าคณะแขวงลี้ได้สั่งให้ครูบาศรีวิชัยนำเอาลูกวัดเจ้าอธิการหัววัดตำบลบ้านปาง ซึ่งอยู่ในหมวดอุโบสถไปประชุมที่วัดเจ้าคณะแขวงตามพระราชบัญญัติที่จะเพิ่มขึ้น ปรากฏว่าครูบาศรีวิชัยมิได้เข้าประชุมอีก มีผลให้บรรดาหัววัดไม่ไปประชุมเช่นกัน เจ้าคณะแขวงและนายอำเภอลี้จึงมีหนังสือฟ้องถึงพระครูญาณมงคล เจ้าคณะจังหวัดลำพูน ครูบาศรีวิชัยถูกควบคุมไว้ที่วัดพระธาตุหริภุญชัยเมืองลำพูนนานถึงหนึ่งปี พระครูญาณมงคลจึงได้เรียกประชุมพระครูผู้ใหญ่ในจังหวัดเพื่อพิจารณาเรื่องนี้ ซึ่งในที่สุดที่ประชุมก็ได้ตัดสินให้ครูบาศรีวิชัยพ้นจากตำแหน่งหัวหมวดวัดหรือหมวดอุโบสถและมิให้เป็นพระอุปัชฌาย์อีกต่อไป พร้อมทั้งถูกควบคุมตัวต่อไปอีกหนึ่งปี

อธิกรณ์ระยะที่สอง (พ.ศ. ๒๔๕๔ - ๒๔๖๔)

อธิกรณ์พระศรีวิชัยครั้งที่สองนี้มีความเข้มข้นและรุนแรงขึ้นเนื่องจากเป็นผลมาจากการต้องอธิกรณ์ครั้งแรกถึง ๓ ครั้ง แต่การต้องอธิกรณ์กลับเป็นการเพิ่มความเลื่อมใสศรัทธาของชาวบ้านที่มีต่อครูบาศรีวิชัยมากยิ่งขึ้น เสียงที่เล่าลือเกี่ยวกับครูบาสรีวิชัยจึงขยายออกไป นับตั้งแต่เป็นผู้วิเศษเดินตากฝนไม่เปียกและได้รับดาบสรีกัญไชย(พระขรรค์ชัยศรี)จากพระอินทร์ ความนับถือเลื่อมใสศรัทธาใน ตัวครูบาศรีวิชัยยิ่งแพร่ขยายออกไปอย่างไม่หยุดยั้ง คำเล่าลือดังกล่าวเมื่อทราบถึงเจ้าคณะแขวงลี้และนายอำเภอแขวงลี้ ทั้งสองจึงได้เข้าแจ้งต่อพระครูญาณมงคล เจ้าคณะจังหวัดลำพูน โดยกล่าวหาว่า "ครูบาศรีวิชัยเกลี้ยกล่อมส้องสุมคนคฤหัสถ์นักบวชเป็นก๊กเป็นเหล่า และใช้ผีและเวทมนต์" พระครูญาณมงคลจึงออกหนังสือลงวันที่ ๑๒มกราคม ๒๔๖๒ สั่งครูบาศรีวิชัยให้ออกไปพ้นเขตจังหวัดลำพูน ภายใน ๑๕ วัน พร้อมทั้งมีหนังสือห้ามพระในจังหวัดลำพูนรับครูบาศรีวิชัยไว้ในวัด เมื่อครูบาศรีวิชัยโต้แย้งและทางการไม่สามารถเอาผิดครูบาศรีวิชัยได้ ความดังกล่าวก็เลิกราไประยะหนึ่ง แต่ต่อมา ก็มีหนังสือของเจ้าจักรคำขจรศักดิ์เจ้าผู้ครองเมืองนครลำพูน เรียกครูบาศรีวิชัยพร้อมกับลูกวัดเข้าเมืองลำพูน ครั้งนั้นพวกลูกศิษย์ได้จัดขบวนแห่ครูบาศรีวิชัยเข้าสู่เมืองอย่างใหญ่โต การณ์ดังกล่าวคงจะทำให้ทางคณะสงฆ์ผู้ปกครองลำพูนตกใจอยู่มิใช่น้อย ดังจะพบว่าเมื่อครูบาศรีวิชัยพักอยู่ที่วัดมหาวันได้คืนหนึ่ง อุปราชเทศามณฑลพายัพจึงได้สั่งย้ายครูบาศรีวิชัยขึ้นไปยังเชียงใหม่ โดยให้พักกับพระครูเจ้าคณะเมืองเชียงใหม่ที่วัดเชตวัน เสร็จแล้วจึงมอบตัวให้พระครูสุคันธศีล รองเจ้าคณะเมืองเชียงใหม่ ที่วัดป่ากล้วย (ศรีดอนไชย)

ในระหว่างที่ครูบาศรีวิชัยถูกควบคุมอยู่ที่วัดป่ากล้วย ก็ได้มีพ่อค้าใหญ่เข้ามารับเป็นผู้อุปฐากครูบาศรีวิชัยคือหลวงอนุสารสุนทร (ซุ่นฮี้ ชัวย่งเส็ง)และพญาคำ แห่งบ้านประตูท่าแพ ตลอดจนผู้คนทั้งในเชียงใหม่และใกล้เคียงต่างก็เดินทางมานมัสการครูบาศรีวิชัยเป็นจำนวนมาก ทางฝ่ายผู้ดูแลต่างเกรงว่าเรื่องจะลุกลามไปกันใหญ่เนื่องจากแรงศรัทธาของชาวเมืองเหล่านี้ เจ้าคณะเมืองเชียงใหม่และเจ้าคณะมณฑลพายัพจึงส่งครูบาศรีวิชัยไปรับการไต่สวนพิจารณาที่กรุงเทพฯ ซึ่งผลการพิจารณาไม่พบว่าครูบาศรีวิชัยมีความผิด และให้ครูบาศรีวิชัยเลือกเป็นเจ้าอาวาสหรืออาศัยอยู่ในวัดอื่นก็ได้ เมื่อครูบาศรีวิชัยกลับจากกรุงเทพฯแล้ว ชนทุกกลุ่มของล้านนาก็ได้เพิ่มความเคารพยกย่องในตัวครูบา ดังจะเห็นได้จากความสนับสนุนในการบูรณะปฏิสังขรณ์วัดวาอารามต่าง ๆ ทั่วไปในล้านนาซึ่งต้องใช้ทั้งเงินและแรงงานอย่างมหาศาล

อธิกรณ์ระยะที่สาม (ช่วง พ.ศ. ๒๔๗๘ - ๒๔๗๙)

การต้องอธิกรณ์ช่วงที่สามของครูบาศรีวิชัยเกิดขึ้นในช่วงที่ได้มีการสร้างถนนขึ้นสู่พระธาตุดอย สุเทพเพราะขณะก่อสร้างทางอยู่นั้นเอง ปรากฏว่ามีพระสงฆ์ในจังหวัดเชียงใหม่รวม ๑๐ แขวง ๕๐ วัด ขอลาออกจากการปกครองคณะสงฆ์ไปขึ้นอยู่ในปกครองของครูบาศรีวิชัยแทน เมื่อเห็นการที่วัดขอแยกตัวไปขึ้นกับครูบาศรีวิชัยเพิ่มจำนวนมากขึ้นเรื่อย ๆ เช่นนั้น ทางคณะสงฆ์จึงสั่งให้กลุ่มพระสงฆ์ในวัดที่ขอแยกตัวออกดังกล่าวเข้ามอบตัวและพระสงฆ์ที่ครูบาศรีวิชัยเคยบวชให้ก็ถูกสั่งให้สึก อธิกรณ์ครั้งที่ ๓ นี้ได้ดำเนินมาจนกระทั่ง พ.ศ. ๒๔๗๙ ครูบาศรีวิชัยได้ให้คำรับรองต่อคณะสงฆ์ว่าจะปฏิบัติตามพระราชบัญญัติลักษณะการปกครองคณะสงฆ์ทุกประการ ท่านจึงได้รับอนุญาตให้เดินทางกลับลำพูนเมื่อวันที่ ๑๓ พฤษภาคม พ.ศ.๒๔๗๙ รวมเวลาที่ต้องสอบสวนและอบรมอยู่ที่วัดเบญจมบพิตรเป็นเวลาถึง ๖ เดือน ๑๗ วัน

กรณีความขัดแย้งระหว่างครูบาศรีวิชัยกับคณะสงฆ์ฝ่ายปกครองได้ดำเนินมาเป็นระยะเวลาเกือบ ๓๐ ปี นับตั้งแต่ พ.ศ.๒๔๕๑ เป็นต้นมา ตราบกระทั่งวาระสุดท้ายในชีวิตของครูบาศรีวิชัย แต่ในช่วงเวลานั้น ครูบาศรีวิชัยก็ยังคงดำเนินการช่วยเหลือประชาชน เป็นที่พึ่งทางใจและดำเนินการบูรณะ ปฏิสังขรณ์วัดวาอารามต่างๆ ตลอดจนสาธารณะประโยชน์ตามคำอาราธนาอยู่เรื่อยมา

การปฏิสังขรณ์วัดและปูชนียวัตถุทางพุทธศาสนากับการสร้างสิ่งสาธารณประโยชน์

ครูบาศรีวิชัยได้ชื่อว่าเป็นผู้ถือปฏิบัติเคร่งมาตั้งแต่เป็นสามเณร ดังเห็นว่าท่านเป็นผู้ที่มักน้อย ถือสันโดษ และเว้นอาหารที่มีเนื้อสัตว์เจือปน ตลอดจนงดกระทั่งหมาก เมี่ยง และบุหรี่ ทำให้คนทั่วไปเห็นว่าครูบาเป็นผู้บริสุทธิ์ที่มีลักษณะเป็น"ตนบุญ" คนทั้งปวงต่างก็ประสงค์จะทำบุญกับครูบาเพราะเชื่อว่าการถวายทานกับภิกษุผู้บริสุทธิ์เช่นนั้นจะทำให้ผู้ถวายทานได้รับอานิสงส์มาก เงินที่ประชาชนนำมาทำบุญก็นำไปใช้ในการก่อสร้างสาธารณประโยชน์และบูรณะศาสนสถานและศาสนวัตถุ งานก่อสร้างดังกล่าวเริ่มขึ้นเมื่อปี ฉลู พ.ศ.๒๔๔๒ เดือน ๓ แรม ๑ ค่ำ ครูบาได้แจ้งข่าวสารไปยังศรัทธาทั้งหลายรวมทั้งชาวเขาเผ่าต่าง ๆ ว่าจะวัดบ้านปางขึ้นใหม่ ซึ่งก็สร้างเสร็จภายในเวลาไม่นานนัก ให้ชื่อวัดใหม่นั้นว่า "วัดศรีดอยไชยทรายมูล" ซึ่งคนทั่วไปนิยมเรียกว่า "วัดบ้านปาง"

ขั้นตอนปฏิบัติในการไปบูรณะปฏิสังขรณ์วัดมีว่า เมื่อครูบาได้รับนิมนต์ให้ไปบูรณะปฏิสังขรณ์วัดใดแล้ว ทางวัดเจ้าภาพก็จะสร้างที่พักของครูบากับศิษย์และปลูกปะรำสำหรับเป็นที่พักของผู้ที่มาทำบุญกับครูบา คืนแรกที่ครูบาไปถึงก็จะอธิษฐานจิตดูว่าการก่อสร้างครั้งนั้นจะสำเร็จหรือไม่ ซึ่งมีน้อยครั้งที่จะไม่สำเร็จเช่นการสร้างสะพานศรีวิชัยซึ่งเชื่อมระหว่าง อำเภอหางดง เชียงใหม่ กับอำเภอเมือง ลำพูน จากนั้นครูบาก็จะ "นั่งหนัก" คือเป็นประธานอยู่ประจำในงานนั้น คอยให้พรแก่ศรัทธาที่มาทำบุญโดยไม่สนใจเรื่องเงิน แต่มีคณะกรรมการช่วยกันรวบรวมเงินไปเป็นค่าใช้จ่ายในการก่อสร้าง ครูบาไป "นั่งหนัก" ที่ไหน ประชาชนจะหลั่งไหลกันไปทำบุญที่นั่นถึงวันละ ๒๐๐-๓๐๐ ราย คับคั่งจนที่นั้นกลายเป็นตลาดเป็นชุมชนขึ้น เมื่อก่อสร้างเสร็จแล้วก็จะมีงาน "พอยหลวง-ปอยหลวง" คืองานฉลอง บางแห่งมีงานฉลองถึงสิบห้าวัน และในช่วงเวลาดังกล่าวก็มักจะมีคนมาทำบุญกับครูบามากกว่าปกติ เมื่อเสร็จงาน"พอยหลวง-ปอยหลวง" ในที่หนึ่งแล้ว ครูบาและศิษย์ก็จะย้ายไปก่อสร้างที่อื่นตามที่มีผู้มานิมนต์ไว้ โดยที่ท่านจะไม่นำทรัพย์สินอื่นใดจากแหล่งก่อนไปด้วยเลย ช่วงที่ครูบาศรีวิชัยต้องอธิกรณ์ครั้งที่สองและถูกควบคุมไว้ที่วัดศรีดอนชัย เชียงใหม่ เป็นเวลา ๓ เดือนกับ ๘ วันนั้น ผู้คนหลั่งไหลไปทำบุญกับครูบาไม่ต่ำกว่าวันละ ๒๐๐ ราย เมื่อครูบาได้ผ่านการพิจารณาอธิกรณ์ที่กรุงเทพฯ ซึ่งใช้เวลาอีก ๒ เดือนกับ ๔ วันแล้วครูบาก็เดินทางกลับลำพูนเมื่อวันที่ ๒๑ กรกฎาคม พ.ศ.๒๔๖๓ หลังจากนั้นผู้คนก็มีความศรัทธาในตัวครูบามากขึ้น ครูบาศรีวิชัยเริ่มต้นการบูรณะวัดขณะที่ท่านอายุ ๔๒ ปี โดยเริ่มจากการบูรณะพระเจดีย์บ่อนไก้แจ้ จังหวัดลำปาง ถัดจากนั้นได้บูรณะเจดีย์และวิหารวัดพระธาตุหริภุญชัย ต่อมาได้ไปบูรณะเจดีย์ดอยเกิ้ง ในเขตอำเภอฮอด เชียงใหม่ จากนั้นไปบูรณะวัดศรีโคมคำ จังหวัดพะเยา กล่าวกันมาว่าในวันที่ท่านถึงพะเยานั้น มีประชาชนนำเงินมาบริจาคร่วมทำบุญใส่ปีบได้ถึง ๒ ปีบ หลังจากนั้นมาบูรณะวัดพระสิงห์ เชียงใหม่ เป็นอาทิ รวมแล้วพบว่างานบูรณะปฏิสังขรณ์วัดวาอารามของครูบาศรีวิชัยมีประมาณ ๒๐๐ แห่ง

ในขณะที่ครูบาศรีวิชัยกำลังบูรณะวัดสวนดอกเชียงใหม่ใน พ.ศ.๒๔๗๕ อยู่นั้น หลวงศรีประกาศได้หารือกับครูบาศรีวิชัยว่าอยากจะนำไฟฟ้าขึ้นไปใช้บนดอยสุเทพ แต่ครูบาศรีวิชัยว่าหากทำถนนขึ้นไปจะง่ายกว่าและจะได้ไฟฟ้าในภายหลัง ทั้งนี้ทางการเคยคำนวณไว้ในช่วง พ.ศ.๒๔๖๐ ว่าหากสร้างทางขึ้นดอยสุเทพนั้นจะต้องใช้งบประมาณ ๒๐๐,๐๐๐ บาท แต่ครูบาศรีวิชัยได้เริ่มสร้างทางเมื่อวันที่ ๙ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๔๗๗ และเปิดให้รถยนต์แล่นได้ในวันที่ ๓๐ เมษายน พ.ศ.๒๔๘๘ โดยไม่ต้องใช้งบประมาณเลย ครั้นเสร็จงานสร้างถนนแล้ว ครูบาศรีวิชัยก็ถูกนำตัวไปสอบอธิกรณ์ที่กรุงเทพฯอีกเป็นครั้งที่สอง และงานชิ้นสุดท้ายของท่านที่ไม่เสร็จในสมัยที่ท่านยังมีชีวิตอยู่ก็คือสะพานศรีวิชัยอนุสรณ์ ทอดข้ามน้ำแม่ปิงเชื่อมอำเภอหางดง เชียงใหม่ กับอำเภอเมืองจังหวัดลำพูน

ในการก่อสร้างต่าง ๆ นับแต่ พ.ศ.๒๔๖๓ ถึง ๒๔๗๑ มีผู้ได้บริจาคเงินทำบุญกับท่าน ประมาณ ๓๐๐,๐๐๐ รูปี คิดเป็นเงินไม่น้อยกว่าสามหมื่นห้าพันบาท รวมค่าก่อสร้างชั่วชีวิตของท่านประมาณสองล้านบาท นอกจากนั้นท่านยังได้สร้างคัมภีร์ต่าง ๆ อีกไม่น้อยกว่า ๓๐๐๐ ผูก คิดค่าจารเป็นเงิน ๔,๓๒๑ รูปี(รูปีละ ๘๐ สตางค์) ทั้งนี้ แม้ครูบาศรีวิชัยจะมีงานก่อสร้างที่ยิ่งใหญ่และมากมาย แต่บิดามารดาคือนายควายและนางอุสาก็ยังคงอยู่ในกระท่อมอย่างเดิมสืบมาตราบจนสิ้นอายุ

ครูบาศรีวิชัยซึ่งเป็นคนร่างเล็กผอมบางผิวขาว ไม่ใช่คนแข็งแรง แม้ท่านจะไม่ต้องทำงานประเภทใช้แรงงาน แต่การที่ต้องนั่งคอยต้อนรับและให้พรแก่ผู้มาทำบุญกับท่านนั้น ท่านจะต้อง"นั่งหนัก"อยู่ตลอดทั้งวัน ด้วยเหตุนี้ท่านจึงอาพาธด้วยโรคริดสีดวงทวารซึ่งสะสมมาแต่ครั้งการตระเวนก่อสร้างบูรณะวัดในเขตล้านนา และการอาพาธได้กำเริบขณะที่สร้างสะพานข้ามแม่น้ำปิง ครูบาศรีวิชัยถึงแก่มรณภาพเมื่อวันที่ ๒๒ มีนาคม พ.ศ.๒๔๘๑ ที่วัดบ้านปาง ขณะมีอายุได้ ๖๐ ปี ๙ เดือน ๑๑ วัน และตั้งศพไว้ที่วัดบ้านปางเป็นเวลา ๑ ปี บางท่านก็ว่า ๓ ปี จากนั้นได้เคลื่อนศพมาตั้งไว้ที่วัดจามเทวี ลำพูน จนถึงวันที่ ๒๑ มีนาคม พ.ศ.๒๔๘๙ จึงได้รับพระราชทานเพลิงศพ เมื่องานพระราชทานเพลิงศพเสร็จสิ้นจึงได้มีการแบ่งอัฐิของท่านไปบรรจุไว้ตามที่ต่าง ๆ เช่น ที่วัดจามเทวีจังหวัดลำพูน วัดสวนดอก จังหวัดเชียงใหม่ วัดพระแก้วดอนเต้า จังหวัดลำปาง วัดศรีโคมคำ จังหวัดพะเยา วัดพระธาตุช่อแฮ จังหวัดแพร่ และที่วัดบ้านปาง จังหวัดลำพูนอันเป็นวัดดั้งเดิมของท่าน เป็นต้น

วัตถุมงคลของครูบาเจ้าศรีวิชัย

ในยุคที่ครูบาศรีวิชัยยังไม่ถึงแก่มรณภาพนั้น ผู้ที่ทำบุญกับครูบาศรีวิชัยจะได้รับความอิ่มใจที่ได้ทำบุญกับท่านเท่านั้น ส่วนการสร้างวัตถุมงคลนั้น ระยะแรก พวกลูกศิษย์ที่นับถือครูบาศรีวิชัยได้จัดทำพระเครื่องคล้ายพระรอดหรือพระคงของลำพูน โดยเมื่อครูบาปลงผมในวันโกน ก็จะเก็บเอาเส้นผมนั้นมาผสมกับมุกมีส่วนผสมกับน้ำรักกดลงในแบบพิมพ์ดินเผาแล้วแจกกันไปโดยไม่ต้องเช่าในระหว่างศิษย์ กล่าวกันว่าเพื่อป้องกันภยันตรายต่าง ๆ ซึ่งก็ลือกันว่ามีอิทธิฤทธิ์เป็นที่น่าอัศจรรย์

ส่วนเหรียญโลหะรูปครูบาศรีวิชัยนั้น พระครูวิมลญาณประยุต (สุดใจ วิกสิตฺโต) ชาวจังหวัดอ่างทองได้ร่วมกับคณะสงฆ์จังหวัดลำพูนสร้างขึ้นให้เช่าเพื่อนำเงินมาช่วยในการปลงศพครูบาศรีวิชัย โดยให้เช่าในราคาเหรียญละ ๕ สตางค์ ทั้งนี้ สิงฆะ วรรณสัย ยืนยันจากประสบการณ์ที่ท่านรู้จักครูบาดีและได้คลุกคลีกับเรื่องพระเครื่องมาตั้งแต่ครูบายังไม่มรณภาพนั้นระบุว่าไม่มีเหรียญรุ่นดอยสุเทพ ไม่มีเหรียญที่ครูบาศรีวิชัยสร้าง หรือวัตถุมงคลอื่นใดที่ครูบาจะสร้างขึ้น นอกจากการให้พรและความอิ่มใจในการทำบุญกับท่านเท่านั้น แต่ในระยะหลังก็พบว่ามีการสร้างวัตถุมงคลของครูบาอยู่เป็นจำนวนมาก ในรูปแบบต่างๆ โดยผู้ที่ครอบครองวัตถุมงคลเหล่านั้นมีความศรัทธาในความดีของ "ตนบุญ"เป็นสำคัญ

อุดม รุ่งเรืองศรี

(เรียบเรียงจากงานของ วิลักษณ์ ศรีป่าซาง, ประวัติครูบาศรีวิชัยร่วมกับหลวงศรีประกาศ ตอนสร้างทางขึ้นดอยสุเทพ ของ ส.สุภาภา ๑๐ พค.๒๕๑๘, สารประวัติครูบาศรีวิชัย นักบุญแห่งลานนาไทย ของสิงฆะ วรรณสัย ศูนย์หนังสือเชียงใหม่ พฤศจิกายน ๒๕๒๒, และ ตำนานครูบาศรีวิชัยแบบพิศดารและตำนานวัดสวน-ดอก สถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ๒๕๓๗)

 

๑๑ มิถุนายน ๒๔๔๓

สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้าอาภากรเกียรติวงศ์ ทรงสำเร็จการศึกษาวิชาการทหารเรือจากอังกฤษเป็นพระองค์แรก เสด็จกลับถึงกรุงเทพ ฯ แล้วทรงโปรดเกล้า ฯ พระราชทานยศเป็นนายเรือโท พระองค์ได้ทรงบากบั่นก่อสร้างกองทัพเรือไทยให้แข็งแกร่งขึ้น ทรงพระวิริยะอุตสาหะอย่างแรงกล้า ที่จะให้คนไทยมีความสามารถในกิจการทหารเรือ จนได้รับการขนานนามจากกองทัพเรือเมื่อ๑๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๖ ว่า พระบิดาของกองทัพเรือไทย

๑๒ มิถุนายน วันโลกเพื่อต่อต้านการใช้แรงงานเด็ก

วันต่อต้านการใช้แรงงานเด็กโลก ๑๒ มิถุนายน เน้นประเด็นการให้เด็กได้เข้าถึงการศึกษา เพื่อแก้ไขปัญหาแรงงานเด็กโลก

โครงการระหว่างประเทศว่าด้วยการแก้ไขปัญหาการใช้แรงงานเด็ก (International Programme on the Elimination of Child Labour: IPEC) ขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ (International Labour Organization-ILO) ประมาณการว่ามีแรงงานเเด็กกว่า ๒๑๘ ล้านคนทั่วโลก ซึ่งมีหลายล้านคนที่ไม่ได้รับโอกาสทางการศึกษาที่จะช่วยให้พวกเขามีอนาคตที่ดีขึ้น หรือหลายคนต้องพยายามแบ่งเวลาในการทำงานและการศึกษา IPEC กล่าวว่าสาเหตุส่วนหนึ่ง คือค่าใช้จ่าย เพราะครอบครัวต้อง อาศัยรายได้จากเด็ก หรือเพราะไม่มีโรงเรียนที่เพียงพอ

เพื่อแก้ไขปัญหาแรงงานเด็ก ILO เรียกร้องให้รัฐบาลจัดหาสิ่งเหล่านี้

·การศึกษาแก่เด็กทุกคน อย่างน้อยจนถึงอายุขั้นต่ำในการทำงาน

·โครงการศึกษาที่พยายามเข้าถึงแรงงานเด็กและกลุ่มที่โดนกีดกันทางสังคม เพื่อช่วยให้พวกเขาได้กลับมารับการศึกษา

·งบประมาณที่เหมาะสม และการศึกษาที่มีคุณภาพ ตลอดจนการฝึกทักษะโดยครูที่ผ่านการอบรม และมืออาชีพ

ในวันต่อต้านการใช้แรงงานเด็กโลก ILO จะเปิดตัวรายงานเกี่ยวกับแรงงานเด็กและการศึกษา ซึ่งเป็นผลจาก การสำรวจใน ๓๔ ประเทศทั่วโลก

เป้าหมายของ ILO คือการยุติการใช้แรงงานเด็กทั่วโลกอย่างต่อเนื่อง การใช้แรงงานเด็กในรูปแบบที่เลวร้าย ซึ่งรวมถึงงานอันตราย การค้าประเวณี การค้าเด็ก และแรงงานเยี่ยงทาส จะต้องสิ้นสุดโดยรีบด่วน

แรงงานเด็กในประเทศไทย

ตามสถิติของกระทรวงแรงงาน มีเด็กกว่า ๑๐๔,๒๕๓ คน อายุระหว่าง ๑๕-๑๗ ปีขึ้นทะเบียนเป็นแรงงานเด็กเมื่อปี ๒๕๕๐

ตามสถิติของสำนักงานสถิติแห่งชาติ เมื่อปี ๒๕๔๙ มีแรงงานผู้เยาว์อายุ ๑๕-๑๙ ปีจำนวน ๑.๕ ล้านคน สองในสามของจำนวนนี้ทำงานในเศรษฐกิจนอกระบบ เช่น ทำงานกับครอบครัวหรือประกอบอาชีพอิสระ หรือทำงานเป็นลูกจ้างในกิจการขนาดย่อม

จากการสำรวจแรงงานเด็ก ๒,๗๔๔ คนเพื่อเตรียมจัดทำโครงการร่วมมือระหว่างองค์การแรงงานระหว่างประเทศและรัฐบาลไทยพบว่าร้อยละ ๓๕ เป็นเด็กอายุน้อยกว่า ๑๕ ปี และร้อยละ ๖๓ ต้องทำงานมากกว่าแปดชั่วโมงต่อวัน

พบว่ามีแรงงานเด็กต่างชาติอย่างน้อย ๑๐๐,๐๐๐ คนซึ่งทำงานใน ๔๓ จังหวัดซึ่งอนุญาตให้มีการจ้างแรงงานต่างชาติ (สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล)

กิจกรรมวันต่อต้านการใช้แรงงานเด็กโลก

ILO ในประเทศต่างๆทั่วโลก จะจัดกิจกรรมเพื่อรณรงค์ต่อต้านการใช้แรงงานเด็กในวันที่ ๑๒ มิถุนายน

สำหรับประเทศไทย จะมีการจัดกิจกรรมที่อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย และอำเภอแม่สอด จังหวัดตาก

จังหวัดเชียงราย: สำนักงานแรงงานจังหวัดเชียงรายและ ILO ร่วมกันจัดกิจกรรมที่มูลนิธิกวงเม้ง อ.แม่สาย เวลา ๑๓.๐๐-๑๖.๐๐ น. โดยมีการเดินขบวนรณรงค์จากสถานีตำรวจ อ.แม่สาย ไปยังมูลนิธิกวงเม้ง มีนักเรียนจากโรงเรียนและศูนย์การศึกษาต่างๆ กว่า ๑๐ แห่ง รวม ๑ พันคน เข้าร่วม นอกจากนี้ ยังมีการเสวนาเรื่อง “อนาคตของหนู” การแสดงดนตรีและละคร รวมทั้งการประกาศผลประกวดวาดภาพ

จังหวัดตาก: สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาตาก เขต ๒ ร่วมกับ ILO จัดกิจกรรมตลอดทั้งวัน เวลา ๘.๐๐-๑๖.๓๐ น. ณ โรงเรียนบ้านท่าอาจ ตำบลท่าสายลวด อำเภอแม่สอด โดยมีการเดินขบวนรณรงค์จากบริเวณท่า ๑๐ ต.ท่าสายลวด ไปยังโรงเรียนบ้านท่าอาจ มีนักเรียนจากโรงเรียนและศูนย์การศึกษาต่างๆ กว่า ๑๐ แห่ง รวม ๑ พันคน เข้าร่วม มีการนำเสนอ “แนวทางการจัดการศึกษาและป้องกันการใช้แรงงานเด็กในพื้นที่จังหวัดตาก” โดยผู้แทนจากกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน ผู้แทนสภาอุตสาหกรรม สำนักงานเขต และองค์กรพัฒนาสตรี เด็กและชุมชน ทั้งยังมีการแข่งขันประกวดทักษะความรู้ นอกจากนี้ ยังมีการแสดงและการละเล่นต่างๆ และพิธีมอบเกียรติบัตรและรางวัลแก่นักเรียน ซึ่งกิจกรรมของเด็กจะดำเนินการใน ๓ ภาษา คือ ภาษาไทย พม่า และอังกฤษ

ข้อมูลโดยสังเขปเกี่ยวกับแรงงานเด็กในประเทศไทย

เดือนมีนาคม ๒๕๕๐ สำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน พบว่า ในสถานประกอบกิจการที่มีลูกจ้างตั้งแต่ ๑ คนขึ้นไป และเป็นผู้ประกันตน มีแรงงานเด็ก อายุ๑๕-๑๗ ปีที่ทำงานตามกฎหมาย จำนวน ๑๐๔,๒๕๓ คน เป็นอัตราส่วนที่ลดลงจากการสำรวจสถิติกระทรวงแรงงาน เมื่อปี ๒๕๔๘ ซึ่งมี แรงงานเด็กอายุระหว่าง ๑๕-๑๗ ปี จำนวน ๓๐๐,๐๐๐ คน

ปี ๒๕๔๙ มีแรงงานผู้เยาว์อายุ ๑๕-๑๙ ปีจำนวน ๑.๕ ล้านคน สองในสามในจำนวนนี้ทำงานในเศรษฐกิจนอกระบบ เช่น ทำงานกับครอบครัวหรือประกอบอาชีพอิสระ หรือทำงานเป็นลูกจ้างในกิจการขนาดย่อม

จากการสำรวจแรงงานเด็ก ๒,๗๔๔ คนเพื่อเตรียมจัดทำโครงการร่วมมือระหว่างองค์การแรงงานระหว่างประเทศและรัฐบาลไทย พบว่าร้อยละ ๓๕ เป็นเด็กอายุน้อยกว่า ๑๕ ปี และร้อยละ ๖๓ ต้องทำงานมากกว่าแปดชั่วโมงต่อวัน

มีแรงงานเด็กที่อพยพข้ามชายแดนอย่างน้อย ๑๐๐,๐๐๐ คนทำงานใน ๔๓ จังหวัดซึ่งอนุญาตให้มีการจ้างแรงงานต่างด้าว (สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล)

ข้อมูลโดยทั่วไปของแรงงานเด็กต่างด้าวในประเทศไทย

แรงงานเด็กต่างด้าวเข้าสู่ประเทศไทยในหลายลักษณะแตกต่างกันไปในแต่ละพื้นที่ และมีการเข้ามาทำงานแตกต่างกันไปตามประเภทของงาน ในพื้นที่ชายแดนเด็กบางคนข้ามชายแดนไป-มาทุกวัน หรือข้ามมาทำงานตามฤดูกาล ในสถานที่ซึ่งเคยทำมาก่อน ในบางพื้นที่จำมีกลุ่มแรงงานที่ย้ายถิ่นฐานเพื่อเข้ามาทำงานและอาศัยอยู่เป็นเวลานาน โดยได้รับความช่วยเหลือจากเพื่อน ญาติ หรือชุมชนที่รู้จัก เด็กส่วนใหญ่จะเดินทางเข้าประเทศไทยพร้อมกับพ่อแม่ พี่น้องหรือญาติ และมีเด็กจำนวนมากที่เกิดในประเทศไทย เด็กต่างด้าวส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในพื้นที่ตามแนวชายแดน ในต่างจังหวัด และบางส่วนในพื้นที่รอบกรุงเทพ เด็กที่มีอายุมากมักเดินทางเข้ามาโดยลำพังมากกว่าเด็กอายุน้อย

จำนวนแรงงานเด็กย้ายถิ่น ทั้งที่ย้ายถิ่นภายในประเทศและข้ามประเทศไม่มีตัวเลขที่เชื่อถือได้ การอพยพภายในประเทศนั้นเกิดขึ้นกับเด็กทุกกลุ่มอายุ เด็กไทยส่วนใหญ่ยังคงขึ้นทะเบียนอยู่ในสถานที่ ที่เกิดแม้ว่าจะได้ย้ายถิ่นฐานไปแล้วก็ตาม ทำให้การเก็บสถิติติดตามสถานภาพเด็กของเด็กที่ย้ายถิ่นฐานแทบจะเป็นไปไม่ได้เลย

สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดลพบว่า มีแรงงานเด็กต่างด้าว (คือผู้ที่ไม่มีสัญชาติไทย) อย่างน้อย ๑๐๐,๐๐๐ คน อาศัยอยู่ใน ๔๓ จังหวัด (จากทั้งหมด ๗๖ จังหวัด) ซึ่งอนุญาตให้มีการจ้างแรงงานต่างด้าว

จากการรายงานการขึ้นทะเบียนในระบบทะเบียนบ้านของประเทศ ซึ่งจัดทำโดยสำนักงานบริหารแรงงานที่โยกย้ายถิ่นฐานอย่างไม่ปกติ ณ วันที่ ๓๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๗ พบว่า มีเด็กต่างด้าวอายุต่ำกว่า ๑๕ ปี จำนวน ๗๕,๒๗๕ คน และ พบว่า จำนวนเด็กต่างด้าวดังกล่าว เพิ่มขึ้น เป็น ๙๓,๐๘๒ คน ณ วันที่ ๓๑ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๔๘

การประมวลผลงานวิจัยต่างๆ ทำให้สามารถประเมินได้ว่า มีเด็กต่างด้าวซึ่งอายุต่ำกว่า ๑๘ ปี ทั้งที่ขึ้นทะเบียนและไม่ได้ขึ้นทะเบียนอาศัยอยู่ในประเทศไทยอย่างน้อย ๒๕๐,๐๐๐ คน หลายคนในจำนวนนี้น่าจะเป็นผู้ใช้แรงงาน ซึ่งอาจมีจำนวนประมาณ ๑๐๐,๐๐๐ คน เด็กต่างด้าวอาจต้องทำงานตั้งแต่อายุต่ำกว่า ๑๕ ปี หรือต้องทำงานในรูปแบบที่เลวร้ายในขณะที่มีอายุต่ำกว่า ๑๘ ปี

เด็กต่างด้าวเดินทางเข้ามาเพื่อทำงานในหลายลักษณะ ทั้งงานชั่วคราว (ข้ามชายแดนรายวัน หรือตามฤดูกาล) หรืองานประจำ เด็กที่มีอายุ ๑๕ ปีขึ้นไปสามารถขึ้นทะเบียนได้ตามกฎหมาย อย่างไรก็ตาม กล่าวกันว่าการขึ้นทะเบียนนั้นมีการแจ้งอายุที่ไม่ตรงกับความเป็นจริงอยู่เสมอ เนื่องจากผู้อพยพเข้ามาทำงานในประเทศไทยนั้นไม่มีหลักฐานแสดงสถานะบุคคล หรือ การจดทะเบียนประวัติการเกิดของเด็กจากประเทศ ต้นทาง ส่วนใหญ่จะใช้วิธีการแจ้งว่ามีอายุมากกว่า ๑๕ ปี เพื่อให้สอดคล้องกับอายุขั้นต่ำของการจ้างงานที่ถูกกฏหมายในประเทศไทย

ผู้ทำงานด้านเด็กและแรงงานต่างด้าว ได้มีความพยายาม ส่งเสริมให้เกิดนโยบายที่ให้ความสำคัญกับเด็กมากขึ้นไม่ว่าเด็กจะอยู่ในสถานะใด เพื่อให้พวกเขาเข้าถึงบริการ และการคุ้มครองตลอดระยะเวลาที่พำนักอยู่ในประเทศไทย หากจะต้องมีการดำเนินการเพื่อการส่งกลับสู่ถิ่นฐานเดิม เด็กทุกคนควรได้รับการปฏิบัติโดยคำนึงถึงประโยชน์ของเด็กเป็นสำคัญ

การเข้าถึงการศึกษา

คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ ๕ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๘ ให้โรงเรียนรัฐจัดการศึกษาให้แก่เด็กไร้สัญชาติและเด็กต่างด้าวทุกคนในประเทศไทย

มาตรา ๑๒ ของพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ (พ.ศ. ๒๕๔๒ แก้ไขเมื่อพ.ศ. ๒๕๔๕) ส่งเสริมให้องค์กรพัฒนาเอกชนเปิดศูนย์การศึกษา มาตรานี้ทำให้ศูนย์การศึกษาดังกล่าวสามารถมอบประกาศนียบัตรที่ได้รับการรับรองตามกฎหมาย ตลอดจนสามารถโอนหน่วยกิตจากศูนย์การศึกษาไปยังโรงเรียนต่างๆได้ ข้อกฎหมายนี้ยังให้ศูนย์การศึกษามีสิทธิตามกฎหมายที่จะรับการอุดหนุนจากรัฐบาล อย่างไรก็ตามยังไม่มีการออกกฎกระทรวงเพื่อบังคับใช้ข้อกฎหมายนี้

๑๒ มิถุนายน ๒๔๓๗

กองทัพเมืองเชียงใหม่ของพระเจ้ากาวิละ ยึดเมืองเชียงแสนได้ในวันนี้ เมืองเชียงแสนอยู่ในท้องที่จังหวัดเชียงราย ริมแม่น้ำโขง ขณะนั้นยังอยู่ในอิทธิพลพม่า

๑๒ มิถุนายน ๒๔๖๙

ให้รวมโรงเรียนมหาดเล็กหลวงที่กรุงเทพ ฯ (ถนนซังฮี้) กับโรงเรียนราชวิทยาลัยที่บางขวาง เป็นโรงเรียนเดียวกันเรียกว่า โรงเรียนวชิราวุธวิทยาลัย และให้ยุบโรงเรียนมหาดเล็กหลวงที่เชียงใหม่ด้วย”โรงเรียนมหาดเล็ก” ต่อมาเป็นจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย “โรงเรียนมหาดเล็กหลวง”คือ วชิราวุธวิทยาลัย

๑๒ มิถุนายน ๒๔๘๓

รัฐบาลไทยได้ลงนามในกติกาสัญญา ไม่รุกรานกันกับอังกฤษและฝรั่งเศส ในห้วงระยะเวลาที่เกิดสงครามโลก ครั้งที่ ๒

๑๒ มิถุนายน ๒๔๘๓

รัฐบาลไทยได้ลงนามในสนธิสัญญา ว่าด้วยการจำเริญสัมพันธไมตรี และเคารพต่อบูรณภาพแห่งกันระหว่างไทย กับญี่ปุ่น ก่อนเกิดสงครามมหาเอเซียบูรพา

๑๒ มิถุนายน ๒๕๑๕

กองทหารไทยรุ่นสุดท้ายที่ร่วมรบในสงครามเกาหลี เดินทางออกจากประเทศเกาหลีกองทหารไทยรุ่นแรกเดินทางไปถึงประเทศเกาหลี เมื่อ ๗ พฤษจิกายน ๒๔๙๓

๑๓ มิถุนายน ๒๓๒๕

พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงกระทำพิธีปราบดาภิเษก เป็นกษัตริย์พระบรมราชจักรีวงศ์ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์

พระราชประวัติรัชกาลที่ 1 แห่งราชวงศ์จักรี พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช(ประสูติ พ.ศ. 2279 ขึ้นครองราชย์ พ.ศ. 2325 - พ.ศ. 2352) มีพระนามเดิมว่า ทองด้วง

พระราชประวัติ

พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ทรงเป็นปฐมกษัตริย์แห่งพระบรมราชวงศ์จักรี ทรงพระนามเต็มว่า พระบาทสมเด็จพระบรมราชาธิราชรามาธิบดี ศรีสินทรบรมมหาจักรพรรดิราชาธิบดินทร์ ธรณินทราธิราชรัตนากาศภาสกรวงศ์องค์ปรมาธิเบศร ตรีภูวเนตรวรนารถนายก ดิลกรัตนชาติอาชาวศรัย สมุทัยวโรมนต์สกลจักรฬาธิเบนทร์ สุริเยนทราธิบดินทรหริหรินทรธาดาธิบดี ศรีสุวิบุลยคุณธขนิษฐ์ ฤทธิราเมศวรมหันต์บรมธรรมิกราชาธิราชเดโชไชย พรหมเทพาดิเทพนฤดินทร์ภูมินทรปรามาธิเบศร โลกเชฎฐวิสุทธิ์รัตนมกุฎประเทศคตามหาพุทธางกูรบรมบพิตร พระพุทธเจ้าอยู่หัว "

ทรงประสูติเมื่อวันที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2279 พระราชบิดาทรงพระนามว่า ออกอักษรสุนทรศาสตร์ พระราชมารดาทรงพระนามว่า ดาวเรือง มีบุตรและธิดารวมทั้งหมด 5 คน คือ

คนที่ 1 เป็นหญิงชื่อ "สา" ( ต่อมาได้รับสถาปนาเป็นพระเจ้าพี่นางเธอกรมสมเด็จพระเทพสุดาวดี )

คนที่ 2 เป็นชายชื่อ "ขุนรามนรงค์" ( ถึงแก่กรรมก่อนที่จะเสียกรุงศรีอยุธยาแก่พม่าครั้งที่ 2 )

คนที่ 3 เป็นหญิงชื่อ "แก้ว" ( ต่อมาได้รับสถาปนาเป็นพระเจ้าพี่นางเธอกรมสมเด็จพระศรีสุดารักษ์ )

คนที่ 4 เป็นชายชื่อ "ด้วง" (พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช )

คนที่ 5 เป็นชายชื่อ "บุญมา" ( ต่อมาได้รับสถาปนาเป็นกรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท สมเด็จพระอนุชาธิราช )

เมื่อเจริญวัยได้ถวายตัวเป็นมหาดเล็กในสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอเจ้าฟ้าอุทุมพร

พระชนมายุ 21 พรรษา ออกบวชที่วัดมหาทลาย แล้วกลับมาเป็นมหาดเล็กหลวง ในแผ่นดินพระเจ้าอุทุมพร

พระชนมายุ 25 พรรษา ได้รับตัวแหน่งเป็นหลวงยกกระบัตร ประจําเมืองราชบุรี ในแผ่นดินพระที่นั่งสุริยามรินทร์ พระองค์ได้วิวาห์กับธิดานาค ธิดาของท่านเศรษฐีทองกับส้ม

พระชนมายุ 32 พรรษา ในระหว่างที่รับราชการอยู่กับพระเจ้ากรุงธนบุรี ได้เลื่อนตําแหน่งดังนี้

พระชนมายุ 33 พรรษา พ.ศ. 2312 ได้เลื่อนเป็นพระยาอภัยรณฤทธิ์ เมื่อพระเจ้ากรุงธนบุรีปราบชุมนุมเจ้าพิมาย

พระชนมายุ 34 พรรษา พ.ศ. 2313 ได้เลื่อนเป็นพระยายมราชที่สมุหนายก เมื่อพระเจ้ากรุงธนบุรีไปปราบชุมนุมเจ้าพระฝาง

พระชนมายุ 35 พรรษา พ.ศ. 2314 ได้เลื่อนเป็นเจ้าพระยาจักรี เมื่อคราวเป็นแม่ทัพไปตีเขมรครั้งที่ 2

พระชนมายุ 41 พรรษา พ.ศ. 2321 ได้เลื่อนเป็นสมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกเมื่อคราวเป็นแม่ทัพใหญ่ไปตีเมืองลาวตะวันออก

พ.ศ. 2323 เป็นครั้งสุดท้ายที่ไปปราบเขมร ขณะเดียวกับที่กรุงธนบุรีเกิดจลาจล จึงเสด็จยกกองทัพกลับมากรุงธนบุรี เมื่อ พ.ศ. 2325 พระองค์ทรงปราบปรามเสี้ยนหนามแผ่นดินเสร็จแล้วจึงเสด็จขึ้นครองราชสมบัติปราบดาภิเษก แล้วได้มีพระราชดํารัสให้ขุดเอาหีบพระบรมศพของพระเจ้ากรุงธนบุรีขึ้นตั้ง ณ เมรุวัดบางยี่เรือพระราชทานพระสงฆ์บังสุกุลแล้วถวายพระเพลิงพระบรมศพ เสร็จแล้วให้มีการมหรสพ

พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ทรงเป็นปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์จักร เมื่อวันที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2325 และปราบดาภิเษกเมื่อวันที่ 13 มิถุนายน

พ.ศ. 2325 ( วันพฤหัสบดี ขึ้น 4 คํ่า ปีขาล ) ขณะเสด็จขึ้นเสวยราชสมบัติทรงมีพระชนมายุได้ 45 ปี ทรงโปรดให้สถาปนาพระอนุชา ( เจ้าพระยาสุรสีห์ ) เป็นกรมพระราชวังบวรมหาสุรสีหนาท พระนัดดา ( พระยาสุริยอภัย ) เป็นกรมหลวงอนุรักษ์เทเวศร์ กรมพระราชวังหลัง ถัดจากนั้นได้ประกอบกิจการที่สําคัญคือ

สร้างกรุงเทพมหานคร

พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ได้เสด็จขึ้นครองราชสมบัติ ได้ย้ายราชธานีจากกรุงธนบุรี เมื่อวันที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2325 ( วันอาทิตย์ เดือน 6 ขึ้น 10 คํ่า ปีขาล ) คือ ทําพิธียกเขาเอก " เสาหลักเมือง" กรุงเทพมหานครได้ลงมือก่อสร้างอย่างจริงจังเมื่อ พ.ศ. 2326 ปัจจุบันกรุงเทพฯ มีชื่อเต็มว่า

" กรุงเทพมหานคร อมรรัตนโกสินทร์ มหินทรายุธยา มหาดิลกภพ นพรัตนราชธานีบุรีรมย์ อุดมราชนิเวศมหาสถานอมรพิมานอวตารสถิต สักกทัตติยะวิษณุกรรมประสิทธิ์"

สาเหตุที่ย้ายราชธานีเพราะ

1. พระราชวังเดิมที่กรุงธนบุรี มีวัดขนาบทั้งสองข้างไม่เหมาะแก่การที่จะขยายพระราชวังออกไปได้อีก

2. ที่ตั้งพระราชวังเดิมอยู่ฝั่งตะวันตกของแม่นํ้าเจ้าพระยาเป็นที่ที่นํ้าเซาะ

3. กรุงเทพมหานครอยู่ทางฝั่งตะวันออกของแม่นํ้าเจ้าพระยา เป็นพื้นที่กว้างขวางเป็นชัยภูมิที่เหมาะแก่การป้องกันตัวเองจากข้าศึก

การสร้างพระบรมมหาราชวัง

พ.ศ. 2326 สร้างพระนคร ได้สร้างพระราชมณเฑียรสร้างพระราชวังบวรสถานมงคล

พ.ศ. 2327 สร้างพระมหาปราสาท สร้างวัดพระแก้ว ( และได้อัญเชิญพระแก้วมรกตจากพระราชวังเดิมกรุงธนบุรีมาสถิตอยู่ภายในวัดพระศรีรัตนศาสดารามในพระบรมมหาราชวัง พร้อมกับได้อัญเชิญพระบรมรูปของสมเด็จพระรามาธิบดีอู่ทองกษัตริย์ผู้สร้างกรุงศรีอยุธยามาสร้างเป็นพระรูปหุ้มเงินปิดทองประดิษฐานไว้ในพระวิหารทรงพระราชทานนามวิหารแห่งนี้ว่า "หอพระเทพบิดร" ปฎิสังขรณ์วัดสลัก

พ.ศ. 2328 หล่อปืนใหญ่ขึ้น 7 กระบอก สร้างวังให้พวกเจ้าเขมรที่เข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภาร ขุดคลองมหานาค ขุดคูเมือง สร้างป้อมเชิงเทินขึ้นมากมาย

ฟื้นฟูพระราชประเพณี เช่น พระราชพิธีบรมราชาภิเษก

การปกครอง หลังจากปราบดาภิเษกแล้ว ทรงให้มีการตั้งข้าราชการที่มีความดีความชอบในราชการให้มียศฐาบรรดาศักดิ์ใหญ่น้อยตามฐานะทรงตั้งราชการวังหลวงขึ้น

ด้านกฎหมาย ได้ทรงชําระกฎหมาย เรียกว่ากฎหมายตรา 3 ดวง ( คือ ตราราชสีห์ คชสีห์ บัวแก้ว ) เพื่อสําหรับวินิจฉัยอรรถคดี และบริหารราชการแผ่นดินให้เป็นไปตามตัวบทกฎหมาย

การค้าขายกับต่างประเทศ ผลประโยชน์ของประเทศไทยที่ได้รับขณะนั้นได้จากภาษีอากร เช่น อากรสุรา อากรบ่อนเบี้ย อากรขนอนตลาด ภาษีค่านํ้าเก็บตามเครื่องมือ อีกทั้งส่วนสินค้าต่างๆ ที่ให้ผลประโยชน์มาก ก็คือการค้าสําเภาอันสืบเนื่องมากแต่สมัยกรุงธนบุรี การค้ากับต่างประเทศได้แก่ประเทศจีน ลังกา อินเดีย มลายู สิงคโปร์ มาเก๊า

การสงคราม การสงครามกับพม่าในสมัยพระเจ้าปดุง โดยพม่าได้แบ่งกองทัพเข้าโจมตีไทยหลายทาง คือ เชียงใหม่ ตาก กาญจนบุรี ด่านพระเจดีย์สามองค์ ชุมพร ไชยา และเมืองถลาง สมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ได้ทรงปรึกษาการต่อสู้กองทัพพม่า แล้วโปรดฯ ให้แบ่งกองทัพเป็น 4 ทัพคือ

กองทัพที่ 1 กรมหลวงอนุรักษ์เทเวศร์เป็นแม่ทัพไปขัดตาทัพที่เมืองนครสวรรค์

กองทัพที่ 2 กรมพระราชบวรสถานมงคล ไปตั้งรับที่เมืองกาญจนบุรี

กองทัพที่ 3 เจ้าพระยาธรรมากับเจ้าพระยายมราชคอยคุมทางลัาเลียงติดต่อกองทัพ

กองทัพที่ 4 เป็นกองทัพหลวง คอยช่วยศึกถ้าหากด้านใดเพลี้ยงพลํ้าก็จะยกไปช่วย

ทันที การสงครามครั้งนี้ พม่าได้ยกกองทัพเข้าตีไทยทีละทัพ ก็ถูกไทยตีแตกไปทุกทัพด้วยหลักยุทธศาสตร์ที่เหนือกว่า

สงครามกับพม่า ( พม่าล้อมเมืองถลาง พ.ศ. 2328 )

กองทัพพม่ายกมาตีตะกั่วป่า ตะกั่วทุ่งโดยทางเรือแล้วจึงข้ามไปตีเมืองถลางขณะนั้น เจ้าเมืองถลางถึงแก่กรรม คุณหญิงจันทร์ (ภรรยาเจ้าเมือง) กับนางมุก (น้องสาวคุณหญิงจันทร์) เกณฑ์ไพร่พลชาวเมืองช่วยกันป้องกันเมืองถลาง ทัพพม่าไม่สามารถจะเอาเมืองถลาง สู้รบกันประมาณเดือนเศษพม่าขาดเสบียงอาหาร จึงเลิกทัพกลับไป

เมื่อข่าวทราบถึงพระเจ้าอยู่หัว จึงได้ทรงแต่งตั้งให้คุณหญิงจันทร์เป็นท้าวเทพกษัตรีส่วนนางมุกเป็นท้าวศรีสุนทร

สงครามกับพม่า ( ศึกท่าดินแดง พ.ศ. 2329 )

สงครามครั้งนี้ ต่อเนื่องมาจากสงครามครั้งที่พม่าล้อมเมืองถลาง พระเจ้าปดุงยกกองทัพเข้ามาทางด่วนเจดีย์สามองค์ด้านเดียว เนื่องจากพระเจ้าปดุงรู้สึกว่าพระองค์ดําเนินการแผนผิด เพราะตั้งแต่ทําสงครามมาไม่เคยแพ้ใครมาก่อนจึงพยายามที่จะตีไทยให้ได้ จึงรวบรวมกําลังผู้คนตั้งมั่นอยู่ที่เมืองเมาะตะมะ และให้พระมหาอุปราชคุมคน 5 หมื่นคน ตั้งมั่นอยู่ที่ตําบลสามสบ ท่าดินแดง พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงโปรดให้กรมพระราชวังบวรฯเป็นแม่ทัพหน้า และสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกเป็นจอมทัพหลวงทัพทั้งสองเข้าตีพร้อมกัน พม่าทิ้งค่ายแตกหนีทุกค่าย กองทัพไทยไล่ฆ่าฟันและจับเชลยได้เป็นอันมาก ได้ทั้งช้าง ม้า เสบียงอาหาร และอาวุธ ตลอดจนปืนใหญ่

สงครามกับพม่า ( ลําปางและป่าซาง พ.ศ. 2330 )

การที่พม่าแพ้ไทย ประเทศราชของพม่าก็เริ่มทําตัวกระด้างกระเดื่อง พม่าต้องใช้เวลาปราบ จากนั้นพม่าก็เลยมาตีเมืองป่าซางและลําปาง ซึ่งเป็นเขตไทยขณะที่ตีอยู่นั้น ข่าวทราบถึงกรุงเทพฯ ซึ่งกําลังเตรียมทัพจะไปตีเมืองทวายต้องเปลี่ยนแผน รัชกาลที่ 1 โปรดให้กรมพระราชวังบวรฯ ไปช่วยเมืองทั้งสองโดยให้คนที่อยู่ในตัวเมืองตีด้านใน ทหารที่ไปช่วยรบตีด้านนอก เสด็จจากสงครามครั้งนี้กรมพระราชวังบวรฯได้อัญเชิญพระพุทธสิหิงค์มาประดิษฐาน ณ พระที่นั่งพุทธไธสวรรย์

ไทยตีเมืองทวาย พ.ศ. 2330

พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชทรงตั้งพระทัยจะตีเมืองทวายโปรดให้กรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท คุมพล 3 หมื่น ยกไปทางเหนือส่วนพระองค์เอง คุมพล 2 หมื่น โดยกระบวนเรือทางลํานํ้าไทรโยคขึ้นยกที่ท่าตะกั่ว ข้ามทิวเขาบรรทัด ซึ่งมีความลําบาก หนทางกันดาร ทําให้คนในทัพเหนื่อยล้าอิดโรยจึงตีเมืองไม่ได้ ต้องเสด็จยกทัพกลับ ภายหลังต่อมาอีก 4 ปี เมืองทวาย เมืองตะนาวศรี และเมืองมะริด ได้มาขอสวามิภักดิ์ต่อไทย

การรบที่เมืองทวาย พ.ศ. 2336

รัชกาลที่ 1 ทรงมีพระราชดําริจะรบกับพม่าให้ได้ ได้ตั้งพระทัยใช้เมืองทวายเป็นฐานทัพและรวบรวมเสบียงอาหาร พระองค์ทรงยกทัพทางบก และโปรดให้กรมพระราชวังบวรฯบัญชาการทัพเรือแต่ว่าไปถึงเมืองทวายเมืองตะนาวศรีและเมืองมะริด ชาวเมืองกลับไปเข้าข้างพม่า ขณะนั้นพม่าก็ยกกองทัพมาตีทวายกลับคืน

ได้เกิดกบฎขึ้นในเมืองมะริดและเมืองทวาย กองทัพไทยจําต้องทําสงครามทั้งสองด้าน ไทยขาดแคลนเสบียงอาหาร เพราะอาศัยเมืองทั้งสามไม่ได้จึงต้องยกทัพกลับไป

พม่าตีเมืองเชียงใหม่ พ.ศ. 2340

พม่ายกทัพมาคราวนี้ 7 ทัพ โดยมุ่งหมายจะตีลานนาไทยอีก รัชกาลที่ 1 โปรด ให้กรมพระวังบวรฯ ทรงประชวรเป็นโรคนิ่ว จึงต้องหยุดประทับอยู่ที่นั่น ทรงโปรดให้กรมหลวงอนุรักษ์เทเวศร์ กรมพระยาวังหลังติดตามเสด็จขึ้นไปช่วยทรงบัญชาการรบจนมีชัยชนะทรงขับไล่พม่าออกจากแคว้นลานนาจนหมด

ศาสนา

พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงได้ซ่อมแซมปฎิสังขรณ์วัดวาอารามและได้ทรงยกสถาปนาตําแหน่งพระสังฆราชและพระราชาคณะผู้ใหญ่ ทําสังคายนาสอบสวนพระไตรปิฎกให้ถูกต้อง

การติดต่อกับต่างประเทศเพื่อนบ้าน

การติดต่อกับญวน พ.ศ. 2325 กษัตริย์ประเทศญวนขณะนั้นก็คือ องเชียงสือ ได้ลี้ภัยจากพวกกบฎแห่งเมืองไกเชิง ได้พามารดาเข้ามาอยู่ในเมืองไทยในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงอุปถัมภ์ไว้ และทรงช่วยเหลือเสบียงอาหารและสนับสนุนพร้อมทั้งอาวุธยุทธภัณฑ์ต่อมาองค์เชียงสือได้เข้าไปปราบปรามกู้บ้านเมืองได้และตั้งตนเป็นกษัตริย์ทรงพระนามว่า "พระเจ้ายาลอง"

การติดต่อกับจีน

ติดต่อในฐานะการค้า

การติดต่อกับเขมร

นักองเองมกุฎราชกุมารแห่งประเทศเขมรยังทรงอ่อนวัย พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชทรงแต่งตั้งให้พระยายมราช ( แบน ) เป็นผู้สําเร็จราชการประเทศเขมร ทรงชุบเลี้ยงอย่างพระราชบุตรบุญธรรมจนเวลาผ่านไปได้ 12 ปี จึงได้กลับไปครองประเทศเขมร ทรงพระนามว่า " สมเด็จพระนารายณ์รามาธิบดี " และโปรดให้พระยายมราช เป็นพระยาอภัยภูเบศร์ครองเมืองพระตะบองขึ้นกับไทย ผู้นี้เป็นต้นตระกูล "อภัยวงศ์ "

การติดต่อกับประเทศตะวันตก

ประเทศโปรตุเกส เป็นชาติแรกที่มาติดต่อกับไทยเมื่อ พ.ศ. 2329 องตนวีเสนได้อัญเชิญพระราชสาส์นเข้ามาเจริญพระราชไมตรี รัชกาลที่ 1 โปรดให้จัดการต้อนรับอย่างสมเกียรติ

ประเทศอังกฤษ มีอิทธิพลทางใต้ของไทยและฟรานซิสไลท์ คนอังกฤษได้เพียรขอเฝ้ารัชกาลที่ 1 ทูลเกล้าถวายดาบที่ประดับพลอยกับปืนด้ามเงินกระบอกหนึ่ง ต่อมาทรงแต่งตั้งให้เป็นพระยาราชกัปตัน

พระราชนิพนธ์ งานพระราชนิพนธ์รัชกาลที่ 1

-กลอนนิราศท่าดินแดง

-กลอนบทละครเรื่องอิเหนา

-กลอนบทละครเรื่อง รามเกียรติ์ ต่อจากสมัยกรุงธนบุรี

-กลอนบทละครเรื่อง อุณรุธ

-กฎหมายตราสามดวง

เสด็จสวรรคต

พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ครองราชสมบัติได้ 27 ปีเศษ ตั้งแต่ทรงมีพระชนมายุได้ 47 พรรษา ได้เสด็จสู่สวรรคตเมื่อวันที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2352 ขณะนั้นทรงพระชนมายุได้ 74 พรรษา พระองค์มี พระราชโอรสและพระราชธิดารวมทั้งสิ้น 42 พระองค์

๑๔ มิถุนายน วันผู้บริจาคโลหิตโลก

๑๔ มิถุนายน เป็นวันคล้ายวันเกิดของ ดร.คาร์ล แลนด์สไตเนอร์ ผู้ค้นพบระบบหมู่โลหิตเอบีโอ และจากการค้นพบในครั้งนี้ ทำให้ได้รับรางวัลโนเบล และถือได้ว่าเป็นการค้นพบที่มีความสำคัญอย่างยิ่งต่องานการบริการโลหิตของโลก

ดังนั้น องค์การอนามัยโลกร่วมกับสหพันธ์สภากาชาดและสภาเสี้ยววงเดือนแดงระหว่างประเทศ จึงกำหนดให้วันที่ ๑๔ มิถุนายน เป็นวันผู้บริจาคโลหิตโลก (World Blood Donor Day) และเชิญชวนให้สภากาชาดทั่วโลกจัดกิจกรรมร่วมเฉลิมฉลอง โดยเริ่มเป็นครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. ๒๕๔๗ และประเทศไทยมีส่วนร่วมจัดงานวันผู้บริจาคโลหิตมาอย่างต่อเนื่อง สำหรับปีนี้ Slogan คือ “Giving Blood Regularly” โดยประเทศในแถบ SEA มีแนวคิดหลักของโครงการ คือ “Voluntary blood donation…WE CAN DO!”

มีวัตถุประสงค์ เพื่อเป็นการขอบคุณผู้บริจาคโลหิต ส่งเสริมงานด้านบริการโลหิต รวมทั้งร่วมกันเป็นผู้บริจาคโลหิตด้วยความสมัครใจไม่หวังสิ่งตอบแทนใดๆ ตามเจตนารมณ์ขององค์กรที่เกี่ยวข้องกับงานบริการโลหิต ดังที่กล่าวมา อีกทั้งเพื่อเป็นอีกหนึ่งกิจกรรมในการร่วมเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว องค์ราชูปถัมภกสภากาชาดไทย

การบริจาคเกล็ดเลือด ก็เป็นอย่างหนึ่งที่ศูนย์บริการโลหิต รับบริจาค เนื่องจากเลือดของเราจะประกอบด้วย น้ำเลือดและตัวเกล็ดเลือดดังกล่าวสีเกล็ดเลือดมันจะออกเหลือง ถ้าเราสนใจก็สามารถมาบริจาคได้ เดือนเว้นเดือน ก็ ๑ ปีจะบริจาคได้ ๖ ครั้ง แต่ถ้าเป็น บริจาคเลือดธรรมดา ก็ได้ ๔ ครั้งต่อปี

เกล็ดเลือดเหล่านี้จะถูกส่งไปให้กับผู้ป่วยเฉพาะทางที่ร่างกายไม่สามารถผลิตเกล็ดเลือดเองได้

๑๔ มิถุนายน ๒๓๑๐พระเจ้ากรุงธนบุรี เข้ายึดเมืองจันทบุรี

การกอบกู้เอกราชของสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี

การกอบกู้เอกราชของสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี เป็นเหตุการณ์สำคัญทางประวัติศาสตร์ของประเทศไทย ซึ่งกล่าวถึงการรวบรวมผู้คนของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชเพื่อขับไล่กองทัพพม่าที่อยู่ในกรุงศรีอยุธยา และนับเป็นจุดเริ่มต้นของการรวมแผ่นดินของอาณาจักรอยุธยาเดิมที่แตกแยกและตั้งตนเป็นชุมนุมปกครองตนเองแห่งต่าง ๆ หลังการเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 2

ตามบันทึกในพงศาวดารได้เล่าไว้ว่าในปี พ.ศ. 2309 พระยาตาก (สิน)ได้นำทหารในบังคับบัญชาประมาณ 500 คน ตีฝ่าวงล้อมของกองทัพพม่าไปทางด้านทิศตะวันออกของกรุงศรีอยุธยา เพื่อรวบรวมผู้คนและยุทธปัจจัยต่าง ๆ มาสู้รบกับกองทัพพม่าอีกครั้ง หลังเห็นว่าจะไม่สามารถป้องกันกรุงศรีอยุธยาได้แล้วด้วยสาเหตุความอ่อนแอภายในกรุง โดยพระยาตากได้ตั้งมั่นอยู่ที่เมืองจันทบุรี และตั้งตนเป็นเจ้าตากหลังได้รับข่าวว่ากรุงศรีอยุธยาเสียให้แก่พม่าแล้ว เมื่อเตรียมกำลังรบพร้อมสรรพ เจ้าตากจึงเคลื่อนพลกลับไปยังกรุงศรีอยุธยาทางด้านปากแม่น้ำเจ้าพระยาและทำการขับไล่ทหารพม่าที่ยังเหลืออยู่ออกไปได้สำเร็จ จากนั้นจึงย้ายกำลังคนมาตั้งเมืองหลวงใหม่และปราบดาภิเษกเป็นพระเจ้าแผ่นดินที่เมืองธนบุรี เนื่องจากกรุงศรีอยุธยาเสียหนักหนักจนยากแก่การบูรณะ และกำลังของเจ้าตากมีน้อย ไม่พอที่จะรักษาเมืองใหญ่อย่างกรุงศรีอยุธยาไว้ได้

ฝ่าวงล้อมทหารพม่า

ในวันที่ ๓ มกราคม พ.ศ. ๒๓๐๙ ซึ่งตรงกับวันเสาร์ ขึ้น ๔ ค่ำ เดือนยี่ จุลศักราช ๑๑๒๘ ปีจอ อัฐศก พระยาวชิรปราการ (ยศในขณะนั้น) เห็นว่ากรุงศรีอยุธยาคงต้องเสียทีแก่พม่า จึงตัดสินใจร่วมกับพระยาพิชัยดาบหัก พระเชียงเงิน หลวงพรหมเสนา หลวงราชเสน่หา ขุนอภัยภักดี พร้อมด้วยทหารกล้าราว ๕๐๐ คน[1] มีปืนเพียงกระบอกเดียว แต่ชำนาญด้านอาวุธสั้น ยกกำลังออกจากค่ายวัดพิชัย ตีฝ่าวงล้อมทหารพม่าไปทางทิศตะวันออก โดยตั้งใจว่าจะกลับมากู้กรุงศรีอยุธยากลับคืนให้ได้โดยเร็ว

พระยาวชิรปราการ ต้องการยึดเมืองจันทบุรีไว้เป็นที่มั่น เพื่อรวบรวมกำลังกลับมาตีพม่า จึงสั่งทหารทุกคนว่า

เราจะตีเมืองจันทบุรีในค่ำวันนี้ เมื่อกองทัพหุงข้าวเสร็จแล้ว

ทั้งนายไพร่ให้เททิ้งอาหารที่เหลือและต่อยหม้อเสียให้หมด หมายไปกินข้าวเช้าด้วยกันที่ในเมืองเอาพรุ่งนี้ ถ้าตีเอาเมืองไม่ได้ในค่ำวันนี้ ก็จะให้ได้ตายเสียด้วยกันให้หมดทีเดียว

สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี

หลังจากที่พระยาวชิรปราการพาไพร่พลตีฝ่าวงล้อมพม่า มุ่งไปยังหัวเมืองชายทะเลด้านตะวันออก ประมาณ ๓ เดือน พม่าก็เข้ายึดกรุงศรีอยุธยาได้ในวันที่ ๘ เมษายน พ.ศ. ๒๓๑๐ พม่าจุดไฟเผาเมืองจนวอดวาย พระเจ้ามังระกษัตริย์พม่ามีพระบรมราชโองการให้ทำลายทุกอย่างให้ย่อยยับ แล้วให้จับพระเจ้าแผ่นดิน พระบรมวงศานุวงศ์ และรวบรวมสมบัติทั้งหมดของอยุธยาส่งกลับไปพม่า ข่าวกรุงแตกได้แพร่กระจาย ขณะที่พระยาตากอยู่ที่เมืองระยอง พระยาตากจึงได้ประกาศตนเป็นผู้นำในการที่จะฟื้นฟูพระพุทธศาสนา และกอบกู้กรุงศรีอยุธยาให้กลับรุ่งเรืองดังเดิม

พระราชพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขา กล่าวถึงคำพูดของพระยาวชิรปราการไว้ตอนหนึ่งว่า

“ตัวเราคิดจะซ่องสุมประชาราษฎรในแขวงหัวเมืองให้ได้มาก แล้วจะยกกลับไปกู้กรุงให้คงคืนเป็นราชธานีดังเก่า แล้วจัดทำนุบำรุงสมณพราหมณาประชาราษฎร ซึ่งอนาถาหาที่พำนักมิได้ให้ร่มเย็นเป็นสุขานุสุข แล้วจะยอยกพระบวรพุทธศาสนาให้โชตนาการขึ้นเหมือนอย่างแต่ก่อน เราจะตั้งตัวเป็นเจ้าขึ้นให้คนทั้งหลายยำเกรงจงมาก ซึ่งจะก่อกู้แผ่นดินจึงจะสำเร็จโดยง่าย ท่านทั้งหลายจะเห็นประการใด”

สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี

การประกาศยึดเมืองระยองได้กระทำกลางทุ่งนาและไพร่พลจำนวนมาก พระยาวชิรปราการได้ประทับ ณ บริเวณวัดลุ่มมหาชัยชุมพล และได้ประกาศแสดงแสนยานุภาพ แล้วเกิดพายุหมุนจนทำให้ต้นตาลต้นหนึ่งหมุนเป็นเกลียว เมื่อพายุหมุนหยุดแล้ว ต้นตาลที่หมุนจึงขดเป็นวงไม่คลายตัว ปัจจุบันต้นตาลต้นนั้นยังอยู่หน้าวัดประดู่ ชาวบ้านเรียกกันว่า ตาลขด หลังจากนั้นบรรดาแม่ทัพนายกองที่สวามิภักดิ์ ต่างพร้อมใจกันยกพระยาวชิรปราการขึ้นเป็นผู้นำขบวนการกอบกู้แผ่นดิน และเรียกพระยาวชิรปราการว่า เจ้าตาก นับตั้งแต่นั้นมา ถึงแม้จะเป็นเสมือนผู้ละเมิดกฎหมายบ้านเมือง แต่เจ้าตากก็ระวังตนมิได้คิดตั้งตัวเป็นกบฏ ให้เรียกคำสั่งว่าพระประศาสน์อย่างเจ้าเมืองเอกเท่านั้น

เจ้าตากได้นำไพร่พลทั้งไทยและจีนเดินทางต่อไปยังฝั่งทะเลด้านตะวันออก รอเวลาที่จะกอบกู้แผ่นดินจากพม่า ทุกขั้นตอนของแผนกอบกู้เอกราช ล้วนแสดงถึงอัจฉริยะในด้านยุทธวิธีทางทหาร ทั้งทางบกและทางน้ำของเจ้าตาก

เส้นทางเดินทัพของพระยาตาก

เจ้าตากพาไพร่พลตีฝ่าวงล้อมของทัพพม่าออกจากกรุงศรีอยุธยามุ่งตรงไปยังบ้านโพธิ์สังหาร รุ่งเช้าได้ต่อสู้กับกองทหารพม่าจนล้มตายและบางส่วนแตกหนีไป พระยาตากจึงนำทหารเดินทางต่อและไปตั้งค่ายพักอยู่บ้านพรานนก ให้พวกทหารไปเที่ยวหาอาหารมาเลี้ยงกัน ขณะนั้นมีทหารพม่ากองหนึ่งซึ่งประกอบด้วยทหารม้าประมาณ ๓๐ คน ทหารเดินเท้าประมาณ ๒๐๐ คน[แก้ไข]เดินทางมาจากแขวงเมืองปราจีนบุรี[8] สวนทางมาพบทหารเจ้าตากที่เที่ยวหาเสบียงอาหาร ทหารพม่าก็ไล่จับและติดตามมายังบ้านพรานนก เจ้าตากจึงให้ทหารแยกออกซุ่มสองทาง ตนเองขึ้นขี่ม้าพร้อมกับทหารอีก ๔ คน ควบตรงไปไล่ฟันทหารม้าพม่า ขณะที่ทหารพม่ายังไม่ทันรู้ตัวก็ตกใจถอยกลับไปปะทะกับทหารเดินเท้าของตนเองจึงเกิดการอลหม่าน ทหารไทยที่ซุ่มอยู่สองข้างจึงแยกเป็นปีกกาตีโอบทหารพม่าไว้สองข้าง แล้วไล่ฟันทหารพม่าล้มตายและแตกหนีไป

พวกราษฎรที่หลบซ่อนพม่าอยู่ ครั้นเห็นเจ้าตากรบชนะพม่าก็ดีใจพากันเข้ามาสมัครเป็นพรรคพวก เจ้าตากจึงให้ราษฎรเหล่านั้นไปเกลี้ยกล่อมหัวหน้านายซ่องมาสวามิภักดิ์ นำช้างม้าพาหนะและเสบียงอาหารมามอบให้ นายซ่องใหญ่ที่ไม่ยอมอ่อนน้อมก็ถูกปราบปรามจนราบคาบริบพาหนะ ผู้คน ช้างม้า และศาสตราวุธได้เป็นจำนวนมาก หลังจากนั้นเจ้าตากจึงยกกองทหารไปทางนาเริง เมืองนครนายก ผ่านด่านกบแจะ ข้ามลำน้ำปราจีนบุรี ไปตั้งพักอยู่ชายดงศรีมหาโพธิ์ ข้างฝั่งตะวันออก พม่าที่ตั้งทัพอยู่ปากน้ำเจ้าโล้ หรือปากน้ำโจ้โล้ เมืองฉะเชิงเทรา ยกพลตามมา เจ้าตากก็นำทหารประมาณ ๑๐๐ นายคอยรบพม่าที่ท้องทุ่ง ครั้นรบสักพักหนึ่งก็แกล้งถอยหนีเข้าไปทางช่องพงแขม ที่ตั้งปืนใหญ่เตรียมไว้ พม่าหลงกลอุบายรุกไล่ตามเข้าไปใน "วงกับดักเสือ" จึงถูกทหารไทยระดมยิงและตีกระหนาบเข้ามาทำให้พม่าไม่มีทางต่อสู้ เจ้าตากจึงนำทหารไล่ติดตามฆ่าฟันทหารพม่าล้มตายลงเป็นจำนวนมาก ที่เหลือก็หนีแตกกระจัดกระจายไป นับแต่นั้นมา พม่าก็มิได้ติดตามกองทัพเจ้าตากอีกต่อไป

เจ้าตากได้ยกกองทัพผ่านเมืองฉะเชิงเทรา ชลบุรี แล้วจึงเดินทางต่อไปยังบ้านนาเกลือแขวงเมืองบางละมุง เมื่อถึงเมืองระยอง เจ้าเมืองระยองซึ่งได้ยินกิติศัพท์ของเจ้าตากก็ยอมอ่อนน้อมเชิญให้เข้าเมือง เจ้าตากใช้เวลาไม่ถึงเดือนนับจากตีหักออกจากกรุงศรีอยุธยาก็ยึดเมืองระยองเป็นที่มั่นได้ ความสามารถของเจ้าตากในการรวบรวมคนไทยได้เป็นจำนวนมากเช่นนี้ แสดงถึงศักยภาพของเจ้าตากที่มีอยู่เหนือกว่ากลุ่มอื่น ๆ ในการกอบกู้กรุงศรีอยุธยา

เส้นทางเดินทัพของพระยาตาก

พระราชวิเทโศบายในการยึดจันทบุรี

เจ้าตากเดินทัพจากระยองผ่านแกลงเข้าบางกระจะ มุ่งยึดจันทบุรีซึ่งเป็นเมืองใหญ่เพื่อใช้เป็นฐานกำลังฟื้นฟูขวัญของไพร่พล เจ้าเมืองจันทบุรีไม่ยอมสวามิภักดิ์ เจ้าตากจึงต้องใช้จิตวิทยาในด้านการรบมาใช้กับแม่ทัพนายกอง เพื่อต้องการรบให้ชนะ โดยสั่งให้ทุบหม้อข้าวหม้อแกงหมายไปกินอาหารมื้อเช้า ในเมือง ถ้าตีเมืองไม่ได้ก็ต้องอดตาย ซึ่งกล่าวกับทหารมาแล้วในวันที่ ๓ มกราคม พ.ศ. ๒๓๐๙

ครั้นถึงเวลา ๑๙.๐๐ น. เจ้าตากจึงได้สั่งให้ทหารไทยและจีนลอบเข้าไปอยู่ตามสถานที่ที่ได้วางแผนไว้แล้ว ให้คอยฟังสัญญาณเข้าตีเมืองพร้อมกัน มิให้ส่งเสียงจนกว่าจะเข้าเมืองได้ จึงให้โห่ขึ้นให้พวกอื่นรู้ พอได้ฤกษ์เวลา ๐๓.๐๐ น. เจ้าตากก็ขึ้นคอช้างพังคีรีบัญชร ให้ยิงปืนสัญญาณพร้อมกับบอกพวกทหารเข้าตีเมืองพร้อมกัน

ส่วนเจ้าตากก็ไสช้างเข้าพังประตูเมือง ชาวเมืองที่ประจำการอยู่ก็ยิงปืนใหญ่เข้าใส่ นายท้ายช้างเกรงว่าเจ้าตากจะถูกยิงจึงเกี่ยวช้างให้ถอยออกมา เจ้าตากชักดาบออกมาจะฟันนายท้ายช้าง นายท้ายช้างจึงได้ขอชีวิตไว้ แล้วไสช้างเข้าชนทำให้บานประตูเมืองพังลง ทหารเจ้าตากจึงกรูกันเข้าเมืองได้ พวกชาวเมืองต่างพากันละทิ้งหน้าที่หนีไป ส่วนพระยาจันทบุรีก็พาครอบครัวลงเรือหนีไปยังเมืองบันทายมาศ

ทัพของเจ้าตากได้ผ่านไปตั้งพักและหาเสบียงอาหารที่บ้านพรานนก ได้ต่อสู้กับพม่าที่ไล่ติดตามมาจนแตกพ่ายไป พวกราษฎรที่หลบซ่อนเร้นพม่าอยู่ ต่างก็พากันมาเป็นพวกด้วยจำนวนมาก เจ้าตากได้คุมทหารไปปราบนายซ่องเมืองนครนายก

จากนั้นได้ยกทัพผ่านเมืองนครนายก ข้ามลำน้ำเมืองปราจีน ไปตั้งพักที่ชายดงศรีมหาโพธิ์ทางด้านฝั่งตะวันตก แล้วไปรบกับพม่าอีกครั้งที่ปากน้ำเจ้าโล้ เมืองฉะเชิงเทรา ซึ่งกองทัพพม่ากองสุดท้ายไปรอดักอยู่ ณ ที่นั้น

เมื่อเจ้าตากได้ชัยชนะพม่าแล้ว ได้ยกทัพผ่านเขต เมืองชลบุรี บ้านหัวทองหลาง พานทอง บางปลาสร้อย บ้านนาเกลือ นาจอมเทียน ทุ่งไก่เตี้ย ชายทะเลสัตหีบ หินโด่งและน้ำเก่า เขตเมืองระยอง เจ้าตากได้มีความคิดที่จะรวบรวมเมืองชายทะเลตะวันออก ตั้งแต่เมืองบางละมุง เมืองชลบุรี เมืองจันทบุรี เมืองตราด ไว้เป็นพวกเดียวกันเพื่อช่วยกันปราบปรามพม่า ที่ล้อมกรุงศรีอยุธยาและเล็งเห็นว่า เมืองจันทบุรีเป็นเมืองใหญ่กว่าหัวเมืองอื่น มีเจ้าปกครองอยู่เป็นปกติ มีกำลังคนและอาหารอยู่บริบูรณ์ ชัยภูมิก็เหมาะที่จะเป็นที่ตั้งมั่นยิ่งกว่าหัวเมืองใกล้เคียง จึงได้ตีเมืองจันทบุรี และใช้เป็นที่มั่นสำคัญในการเตรียมกำลังมากอบกู้เอกราช

เจ้าตากตีเมืองจันทบุรีได้ ณ วันอาทิตย์ เดือน ๗ แรม ๓ ค่ำ จุลศักราช ๑๑๒๙ ปีกุน นพศก เพลา ๓ ยามเศษ ตรงกับวันที่ ๑๕ มิถุนายน พ.ศ. ๒๓๑๐ เวลาประมาณ ๐๓.๐๐ น. หลังจากเสียกรุงศรีอยุธยาแล้ว ๒ เดือน

เมื่อยึดเมืองจันทบุรีได้แล้ว เจ้าตากได้เคลื่อนทัพไปยังเมืองตราด พวกกรมการและราษฎรเกิดความเกรงกลัวต่างพากันมาอ่อนน้อมโดยดี ที่ปากน้ำเมืองตราดมีเรือสำเภาจีนมาทอดทุ่นอยู่หลายลำ เจ้าตากได้เรียกนายเรือมาพบ แต่พวกจีนนายเรือขัดขืนต่อสู้ เจ้าตากจึงลงเรือรบคุมกองเรือไปล้อมสำเภาจีนเหล่านั้น ได้ทำการต่อสู้กันอยู่ประมาณครึ่งวัน เจ้าตากก็ยึดสำเภาจีนไว้ได้หมด ได้ทรัพย์สินสิ่งของมาเป็นจำนวนมาก เป็นที่น่าสังเกตว่าเรือรบไทยสมัยนั้นมีขนาดพอ ๆ กับเรือยาวที่ใช้แข่งตามแม่น้ำ เมื่อสามารถเข้าตียึดเรือสำเภาขนาดใหญ่ที่ใช้เดินทะเลและมีปืนใหญ่ประจำเรือด้วยได้นั้น แสดงว่าแม่ทัพเรือและทหารเรือ จะต้องมีความสามารถมาก

แผนปฏิบัติการกอบกู้กรุงศรีอยุธยา

หลังจากนั้นเจ้าตากได้เดินทางจากตราดกลับมาตั้งมั่นรวบรวมผู้คนอยู่ที่เมืองจันทบุรี เพื่อวางแผนปฏิบัติการรบเพื่อยึดกรุงศรีอยุธยาคืนจากข้าศึก พร้อมกับสั่งให้ต่อเรือรบและรวบรวมเครื่องศัตราวุธ ยุทธภัณฑ์ ได้ใช้เวลา ๓ เดือนในการฝึกไพร่พลให้พร้อมที่จะปฏิบัติการ เมื่อสิ้นฤดูมรสุม ซึ่งเป็นฤดูน้ำหลากที่กรุงศรีอยุธยา ได้เคลื่อนทัพโดยเลือกเส้นทางน้ำ เนื่องจากการยกกองทัพโดยใช้เส้นทางบกจะล่าช้า ทหารจะเหนื่อยล้าและพม่าอาจทราบข่าวการเคลื่อนทัพก่อนที่กองทัพไทยจะถึงอยุธยา ทำให้พม่ารู้ตัวและอาจรวบรวมกำลังต่อสู้ได้ทันท่วงที อีกประการหนึ่งทหารพม่าชำนาญแต่การรบบนบกและที่สำคัญคือพม่าไม่มีเรือรบ ในเดือนตุลาคม พ.ศ. ๒๓๑๐ เจ้าตากได้ยกกองทัพเรือจากจันทบุรีเข้ามาทางปากแม่น้ำเจ้าพระยา แล้วเข้าโจมตีข้าศึกที่เมืองธนบุรี เมื่อพม่ายกทัพมาถึงชานกรุงศรีอยุธยา ได้ยึดเมืองธนบุรีไว้ก่อนที่จะเข้าล้อม กรุงศรีอยุธยา พม่าให้คนไทยชื่อ นายทองอิน รักษาเมืองไว้เป็นเมืองหน้าด่าน เมื่อเจ้าตากยึดเมืองธนบุรีและปราบนายทองอินได้แล้ว จึงเคลื่อนทัพต่อไปที่กรุงศรีอยุธยา เข้ายึดค่ายโพธิ์สามต้น ปราบพม่าจนราบคาบ โดยที่พม่าไม่ทันรู้ตัวและไม่ทันวางแผนต่อสู้ จึงสามารถกอบกู้กรุงศรีอยุธยากลับคืนมา เมื่อวันศุกร์ เดือน ๑๒ ขึ้น ๑๕ ค่ำ จุลศักราช ๑๑๒๙ ปีกุน นพศก เวลาบ่ายโมงเศษ ซึ่งตรงกับวันที่ ๗ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๓๑๐ เวลาประมาณ ๑๓.๐๐ น. ใช้เวลาเพียง ๗ เดือนหลังจากเสียกรุงศรีอยุธยา

ปราบดาภิเษก

หลังจากสร้างพระราชวังบนฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยาแล้ว เมื่อทรงจัดการบ้านเมืองเรียบร้อยพอสมควร บรรดาแม่ทัพ นายกอง ขุนนาง ข้าราชการทั้งฝ่ายทหารและพลเรือน ตลอดทั้งสมณะพราหมณาจารย์และอาณาประชาราษฎร์ทั้งหลาย จึงพร้อมกันกราบบังคมทูลอัญเชิญขึ้นทรงปราบดาภิเษก เป็นพระมหากษัตริย์ ณ วันพุธ เดือนอ้าย แรก ๔ ค่ำ จุลศักราช ๑๑๓๐ ปีชวด สัมฤทธิศก ตรงกับวันที่ ๒๘ ธันวาคม พ.ศ. ๒๓๑๑ ทรงพระนามว่า พระศรีสรรเพชญ์ หรือ สมเด็จพระบรมราชาที่ ๔ แต่เรียกขานพระนามของพระองค์ติดปากว่า สมเด็จพระเจ้าตากสิน หรือ สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี

จดหมายเหตุของคณะบาทหลวงฝรั่งเศส ในประชุมพงศาวดารภาคที่ ๓๙ มองซิเออร์คอร์ เขียนจดหมายเล่าแก่ มองเซนเยอร์บรีโกต์ ว่า "เมื่อวันที่ ๔ เดือนมีนาคม ปีนี้ (๒๓๑๑) ข้าพเจ้าได้มาถึงบางกอก..." และ "เมื่อข้าพเจ้าได้มาถึงบางกอก พระยาตากพระเจ้าแผ่นดินพระองค์ใหมได้ทรงต้อนรับข้าพเจ้าอย่างดี"

นายสวนมหาดเล็กได้แต่งโคลงยอพระเกียรติพระเจ้ากรุงธนบุรี เมื่อ พ.ศ. ๒๓๑๔ ยืนยันการปราบดาภิเษกว่า

ใครอาจอาตมตั้ง ตัวผจญ ได้ฤๅ

พ่ายพระกุศลพล ทั่วท้าว

ปราบดาลิเษกบน ภัทรบิฐ บัวแฮ

สมบัติสมบูรณ์ด้าว แด่นฟ้ามาปาน

 

การสถาปนากรุงธนบุรี

เมื่อสมเด็จพระเจ้าตากสินทรงขับไล่พม่าออกจากกรุงศรีอยุธยาแล้ว ก็รวบรวมผู้คน ทรัพย์สมบัติ และสิ่งต่าง ๆ ซึ่งสุกี้พระนายกองยังมิได้นำไปยังพม่า นำกลับมายังค่ายที่เมืองธนบุรี ปรากฏว่าที่เมืองลพบุรี มีพระบรมวงศานุวงศ์ของราชวงศ์อยุธยามาพำนักอยู่เป็นจำนวนมาก พระเจ้าตากจึงสั่งให้คนไปอัญเชิญมายังเมืองธนบุรี พระองค์ทรงขุดพระบรมศพของสมเด็จพระเจ้าเอกทัศน์ ขึ้นมาถวายพระเพลิงตามโบราณราชประเพณี ต่อจากนั้น พระองค์ก็ทรงคิดที่จะปฏิสังขรณ์พระนครศรีอยุธยาให้กลับคืนเป็นดังเดิม แต่แล้วหลังจากตรวจดูความพินาศของเมือง จึงได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้อพยพผู้คนเคลื่อนลงมาทางใต้ ตั้งราชธานีใหม่ขึ้นที่เมืองธนบุรี เรียกนามว่า กรุงธนบุรีศรีมหาสมุทร

๑๔ มิถุนายน ๒๔๕๖

ตั้งบริษัทปูนซิเมนต์ไทยทุน ๑ ล้านบาท

๑๕ มิถุนายน ๒๔๐๑

หมอบลัดเล (บรัด-เล่) ซื้อลิขสิทธิ์หนังสือนิราศลอนดอนของหม่อมราโชทัย เป็นการซื้อลิขสิทธิ์ครั้งแรกในเมืองไทย

๑๕ มิถุนายน ๒๕๐๕

ศาลโลก (WORLD COURT JUSTICE) ที่กรุงเฮก พิจารณาคดีเขาพระวิหาร ระหว่างไทยกับกัมพูชา โดยตัดสินให้เขาพระวิหารเป็นของกัมพูชา ด้วยคะแนน ๙ ต่อ ๓ เหตุที่ไทยแพ้คือ กฎหมายปิดปาก (การยอมรับในสมัยนั้น) ที่ทางกัมพูชานำมาอ้าง

๑๖ มิถุยายน ๒๓๖๓

เกิดอหิวาตกโรคระบาดในกรุงเทพ ฯ ในสมัยพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว เรียกว่า “ห่าปีระกา” มีผู้เสียชีวิต ๓๐,๐๐๐ คน พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ให้ตั้งราชพิธีอาพาธพินาศที่พระที่นั่งดุสิตาทำคล้ายพิธีตรุษคือยิงปืนใหญ่รอบพระนครตลอดรุ่ง ๑ คืน แล้วอัญเชิญพระแก้วมรกตและพระบรมธาตุออกเวียนรอบพระนครมีพระราชาคณะในขบวนแห่ประพรมน้ำพระพุทธมนต์ทั้งทางบกและทางเรือ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยทรงรักษาอุโบสถศีลพร้อมพระวงศานุวงศ์ ข้าราชการทั่วไปได้รับพระบรมราชานุญาติให้รักษาศีลทำบุญให่ทานตามใจสมัคร ไม่ต้องเข้าเฝ้า และทำราชการที่ไม่จำเป็น

 

๑๗ มิถุนายน วันต่อต้านปัญหาภัยแล้งและฝนแล้งของโลก/วันโลกเพื่อต่อสู้กับภาวะความเป็นทะเลทรายและภาวะแห้งแล้ง

 

๑๗ มิถุนายน ๒๓๒๕

ตรากฎหมายลงโทษข้าราชการที่กินเหล้า เล่นเบี้ย โดยใช้เฆี่ยนหลัง ๓ ยก (๙๐ที)

 

๑๗ มิถุนายน ๒๔๔๑

ประกาศโครงการศึกษา ร.ศ.๑๑๗ ขณะนั้นมีพลเมือง ๖ ล้าน เด็กในเกณฑ์เรียน ๔๙๐,๐๐๐ คน

๑๘ มิถุนายน ๒๔๖๒

กงสุลฝรั่งเศส ทูลทาบทามพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เพื่อขอทหารไทย ๕๐๐ คน ไปช่วยฝรั่งเศสรบในตังเกี๋ย ซึ่งพระองค์ทรงบ่ายเบี่ยง

๑๘ มิถุนายน ๒๔๕๕

ขึ้นระวางเรือเสือคำรณสินธุ์ เรือรบของไทยที่ต่อจากประเทศญี่ปุ่น เป็นเรือลำแรกที่ทหารไทยนำเรือเดินทางจากญี่ปุ่น

๑๘ มิถุนายน ๒๔๘๐

ตราพระราชบัญญัติเวนคืนที่ดิน เพื่อสร้างสถานีเกษตรกลาง ถนนกรุงเทพ- ดอนเมือง

๑๙ มิถุนายน ๒๔๖๐

พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชสาส์นถึงพระราชาธิบดีฮอลันดา มีใจความว่าขอเจริญทางพระราชไมตรีมายังสมเด็จพระเจ้าวิเลียมที่สาม พระเจ้าแผ่นดินกรุงนิเทอร์แลนด์ ทรงย้ำถึงทางพระราชไมตรีของสองพระนครที่จะยั่งยืนสืบไปนาน และคนของทั้งสองฝ่ายจะค้าขายต่อกันโดยสุขสวัสดิ์

๑๙ มิถุนายน ๒๔๒๘

สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นเทวะวงศ์ ฯ ทรงประกอบพิธีเปิดสำนักงานกระทรวงการต่างประเทศซึ่ง พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชทานนามว่า ศาลาการต่างประเทศนับเป็นกระทรวงแรกที่มีสำนักงานขึ้นต่างหากจากที่เคยใช้วังหรือบ้านเสนาบดีกระทรวงนั้น ๆ เป็นที่ทำการ

๑๙ มิถุนายน ๒๔๕๗

จดทะเบียนบริษัทภาพยนตร์แห่งแรกของเมืองไทย คือ บริษัทภาพยนตร์พัฒนากร

๑๙ มิถุนายน ๒๔๖๑

ไทยส่งกำลังอาสาสมัครไปรบในยุโรปในสงครามโลกครั้งที่ ๑ เดินทางโดยเรือเอมไพร์ไปถึงท่าเรือมาร์แซย์ ประเทศฝรั่งเศส เมื่อ ๓๐ กรกฎาคม ๒๔๖๑ เมื่อฝึกเสร็จแล้วก็ได้ไปเข้าประจำฐานทัพที่เมืองตรัวส์และได้เข้าไปปฏิบัติการในพื้นที่การรบบริเวณเมืองชาร์ลอง

๒๐ มิถุนายน วันผู้ลี้ภัยโลก

วันผู้ลี้ภัยโลก (World Refugee Day) ตรงกับวันที่ ๒๐ มิถุนายน ของทุกปี สหประชาชาติได้ประกาศให้เป็น "วันผู้ลี้ภัยโลก" โดยวันนี้เริ่มก่อตั้งขึ้นครั้งแรกเมื่อปี ค.ศ. ๒๐๐๑ ก่อนหน้าที่จะเริ่มมีวันผู้ลี้ภัยโลกนี้ แต่ละประเทศจะมีวันผู้ลี้ภัยโลกเป็นของตนเอง เช่น Africa Refugee Day

เริ่มก่อตั้ง

ก่อนหน้าที่จะเริ่มมีวันผู้ลี้ภัยโลกนี้ แต่ละประเทศหรือระดับภูมิภาคจะมีวันผู้ลี้ภัยโลกของตนเอง บางที่ก็จัดเป็นสัปดาห์ผู้ลี้ภัยโลกขึ้นเลยก็มี ที่รู้จักกันกว้างขวางมากที่สุดก็คงเป็น Africa Refugee Day ซึ่งตรงกับวันที่ ๒๐ มิถุนายน ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความมีน้ำหนึ่งใจเดียวกันของทวีปแอฟริกา ที่มีจำนวนประชากรผู้ลี้ภัยอยู่มากที่สุดเลยก็ว่าได้

โดย Africa Refugee Day จัดขึ้นเป็นประจำทุกปี จนที่ประชุมสมัชชาสหประชาชาติได้ยกเรื่องนี้ขึ้นมาพูดคุยกันในสภา เมื่อวันที่ ๔ ธันวาคม ค.ศ.๒๐๐๐ (resolution ๕๕/๗๖) ที่ประชุมเห็นว่าในปี ๒๐๐๑ เป็นวาระครบรอบ ๕๐ ปีของอนุสัญญาเกี่ยวกับสถานะของผู้ลี้ภัย ซึ่งประกาศใช้ในปี ค.ศ.๑๙๕๑ พอดี ทาง Organization of African Unity ก็เห็นด้วยที่จะให้มีวันผู้ลี้ภัยโลกขึ้นให้พ้องกับวันผู้ลี้ภัยของแอฟริกา ในที่สุดที่ประชุมสมัชชาแห่งสหประชาชาติก็ประกาศให้วันที่ ๒๐ มิถุนายน ตั้งแต่ปี ๒๐๐๑ เป็นต้นไป เป็น World Refugee Day

งานในแต่ละปี

ในทุกปี วันผู้ลี้ภัยโลก จะมีการจัดกิจกรรมหลากหลายเพื่อเฉลิมฉลองให้กับพลังใจที่ยิ่งใหญ่ของผู้ลี้ภัยทุกประเทศในโลก ซึ่งในแต่ละปีจะมีรูปแบบการจัดงานแตกต่างกันไป และจะจัดให้สอดคล้องกับสถานการณ์โลกในแต่ละปีด้วย

ปี ๒๐๐๒

รูปแบบของงานจะเน้นไปที่ผู้ลี้ภัยหญิง โดยเจ้าชายซารูดิน อกา ข่าน ข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัย สหประชาชาติ เมื่อปี ค.ศ. ๒๐๐๒ กล่าวไว้ว่า งานของสำนักงานข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยคือการเลิกทำงาน คือทำงานเพื่อให้ถึงวันที่คำว่าผู้ลี้ภัยจะหายไปจากพจนานุกรมเพราะว่าความรุนแรงต่างๆ ที่ผลักดันให้ผู้คนต้องลี้ภัยได้หมดสิ้นไปแล้วเช่นกัน

ปี ๒๐๐๓

เน้นไปที่เด็กๆ ผู้ลี้ภัย พุ่งความสนใจไปที่ความต้องการและศักยภาพของเด็กๆ เพื่อสร้างอนาคตที่ดีกว่าให้กับตนเองและชุมชน เพราะบรรดาเด็กๆ ผู้ลี้ภัยนั้นสามารถช่วยสร้างอนาคตได้ ดังคำกล่าวที่ว่ายุคสมัยของวัยเยาว์ คือยุคสมัยอันรุ่งเรือง - ลอร์ด ไบรอน กวีเลื่องชื่อนิพนธ์ไว้เช่นนั้น แต่น่าเสียใจว่ามีเยาวชนราว ๒๐ ล้านคนทั่วโลกซึ่งยุคสมัยแห่งวัยเยาว์ของพวกเขานั้นเต็มไปด้วยความโหดร้าย ผู้ลี้ภัยในวัยเยาว์ก็เป็นหนึ่งในเยาวชนผู้เคราะห์ร้ายเหล่านี้ ความผิดเพียงประการเดียวของเขา คือ เขาเกิดผิดที่และผิดเวลา จึงพบตัวเองอยู่ในฐานะเหยื่อของสงครามและความขัดแย้งที่ตนไม่ได้ก่อขึ้น

ปี ๒๐๐๔

"To Feel at Home" ให้คนทั่วไปหันมาสนใจกับปัญหาของผู้ลี้ภัยทั่วโลกที่ต้องจากบ้านเกิดเมืองนอนของตัวเอง สามารถสร้างชีวิตใหม่อย่างปลอดภัยและมีศักดิ์ศรีสำหรับผู้ลี้ภัยที่ทิ้งถิ่นฐานบ้านเรือนหนีภัยมานั้น มี ๓ ทางเลือกในการ "มีบ้าน" คือ ลงหลักปักฐานที่แผ่นดินที่มาอาศัยหลบภัย หรือกลับไปยังประเทศบ้านเกิดเมื่อภัยสงบลง และการเดินทางต่อไปยังประเทศที่สาม

ปี ๒๐๐๕

เสริมสร้างกำลังใจอันยิ่งใหญ่ให้แก่ผู้ลี้ภัย เพราะการจะเป็นผู้ลี้ภัยได้ ต้องอาศัยความกล้าหาญ และความกล้าหาญ เป็นคำนาม หมายถึงความเข้มแข็งทางจิตใจที่จะยืนหยัด เผชิญหน้า และต้านทานอันตราย ต่อความกลัว และความยากลำบาก

ปี ๒๐๐๖

"Keeping the Flame of Hope Alive" หัวข้อในปีนี้สืบเนื่องจากปีที่แล้ว เมื่อมีความกล้าหาญแล้วก็ต้องมีความหวังคอยหล่อเลี้ยงด้วยเช่นกัน ดังคำขวัญต่อไปนี้ "แต่ในทุกย่างก้าวของเส้นทางการลี้ภัย ผู้ลี้ภัยได้พาเอาความหวังอันมั่นคง และไม่มีวันหมดสิ้น ด้วยความหวังว่าจะรอดชีวิต จะมีปัจจัย ๔ เพื่อการดำรงชีวิตรอด จะได้รับการปกป้องคุ้มครอง และความหวังว่าสักวันหนึ่งจะได้สร้างชีวิตใหม่ ผู้ลี้ภัยต่อสู้เพื่อทุกความเป็นไปได้" ซึ่งถูกคิดขึ้นเพื่อจะทำให้ผู้ลี้ภัยนั้นมีความหวัง

ปี ๒๐๐๗

มีคำกล่าวว่า "ขอให้พวกเราอย่าลืมว่า ในวันหนึ่งข้างหน้า เราบางคนอาจจะต้องไปยืนเคาะประตูบ้านของคนแปลกหน้าเพื่อขอความช่วยเหลือและที่พักพิง เราควรจะให้ความช่วยเหลือแก่ผู้ลี้ภัย เช่นเดียวกับที่เราหวังว่าเราจะได้รับความช่วยเหลือเมื่อประสบเคราะห์กรรมเช่นนั้น"

ผู้ลี้ภัยในประเทศไทย

สำหรับในประเทศไทยเราก็มีผู้ลี้ภัยอยู่มากถึง ๑๔๐,๐๐๐ คนเลยทีเดียวค่ะ ส่วนใหญ่จะอยู่แถวชายแดนไทย-พม่า

๒๐ มิถุนายน ๒๓๐๙ วันค่ายบางระจันแตก

ประวัติศาสตร์ค่ายบางระจัน

พ.ศ ๒๓๐๘ เมื่อสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๓ หรือ พระเจ้าบรมโกศ เสด็จสวรรคตในปีพ.ศ. ๒๓๐๑ทรงมอบราชสมบัติให้สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๔ หรือพระนามที่เรามักเรียกว่า กรมขุนพรพินิต แต่เมื่อครองราชสมบัติได้ ๑๐ วันก็ทรงถวายราชสมบัติให้แก่สมเด็จเจ้าฟ้ากรมขุนอนุรักษ์มนตรี ซึ่งเป็นพระเชษฐาธิราชของกรมขุนพรพินิต ทรง พระนามว่า สมเด็จพระบรมราชาที่ ๓ หรือที่เรียกกันว่า สมเด็จพระที่นั่งสุริยาศอมรินทร์ หรือสมเด็จพระเจ้าเอกทัศ สมเด็จพระเจ้าเอกทัศมิได้ทรงพระปรีชาสามารถในงานการปกครองบ้านเมือง พระอุปนิสัยส่วนพระองค์ก็ไม่ทรงเข้มแข็งเด็ดขาด ซึ่งเป็นคุณสมบัติอันจำเป็นที่พระเจ้าแผ่นดินจะพึงมีทำให้บรรดาข้าราชบริวาร และเหล่าเจ้านายทั้งหลายเกิดความระส่ำระส่าย ต่างคิดเอาใจออกห่าง ทั้งแบ่งพรรคแบ่งพวกไม่เกิดความสามัคคีในหมู่ราชการ ไม่เต็มใจปฏิบัติงานราชการ

ครั้นถึงปี พ.ศ. ๒๓๐๒ พระเจ้าอลองพญามังลอง และมังระราชบุตร ยกกองทัพมาตีเมืองทวาย มะริด และตะนาวศรีซื่งเป็นของไทยในสมัยนั้น (ปัจจุบันเมืองทั้ง ๓ เป็นเมืองของสหภาพพม่าอยู่ทางด้านทิศตะวันตกของไทยใกล้จังหวัดเพชรบุรี ราชบุรี และประจวบคีรีขันธ์) สมเด็จพระเจ้าเอกทัศโปรดให้กองทัพไทย ออกไปป้องกันถึง ๓ กองทัพ แต่ก็แตกพ่ายกลับพระนครทั้งสิ้น ทางฝ่ายพม่าเมื่อเห็นไทยแตกพ่ายก็ได้ใจเร่งยกทัพล่วงเข้ามาในเขตไทย จนกระทั่งมาตั้งทัพหลวงที่เมืองสุพรรณบุรี

ครั้งนั้นบรรดาข้าราชการและราษฎรต่างพากันไปกราบทูลวิงวอน เจ้าฟ้ากรมขุนพรพินิตให้ทรงลาผนวชออกมาช่วยป้องกันรักษาพระนคร เจ้าฟ้ากรมขุนพรพินิตทรงลาผนวชออกมารักษาพระนครให้แข็งขันกว่าเดิม ทรงส่งกองทัพออกไปตั้งรับข้าศึก ถึงกระนั้นก็ตามกองทัพไทยก็แตกพ่ายทุกทัพ ด้วยข้าราชการมิได้ปฎิบัติราชการสงครามอย่างแท้จริง พม่าสามารถยกเข้าถึงชานกรุงศรีอยุธยา ใชัปืนใหญ่ระดมยิง พระราชวัง เผอิญพระเจ้าอลองพญามังลอถูกรางปืนแตกต้องพระองค์ประชวร กองทัพพม่าจึงจำต้องยกกลับไป ซึ่งต่อมาพระเจ้าอลองพญามังลอก็ถึงแก่สวรรคต มังลอราชบุตรขึ้นเป็นกษัตริย์ในปี พ.ศ. ๒๓๐๗

พระเจ้ามังละเห็นว่าครั้งที่แล้วต้องยกทัพกลับเพราะพระเชษฐาประชวร จึงยังตีกรุงศรีอยุธยาไม่แตก จำต้องยกทัพไปอีกครั้ง ปี พ.ศ. ๒๓๐๘ พระเจ้ามังระมีบัญชาให้มังมหานรธาเป็นแม่ทัพใหญ่นำไพร่พล๑๕,๐๐๐ คนยกทัพเข้ามาทางใต้ ส่วนทางเหนือให้เนเมียวสีหบดีเป็นแม่ทัพใหญ่นำไพร่พลประมาณ ๑๐,๐๐๐ คน เคลื่อนกองทัพออกจากเมืองเชียงใหม่ กองทัพของมังมหานรธายกมาทางใต้เข้าตีเมืองทวายเมื่อตีได้แล้ว ก็เลยไปตีเมืองมะริดและเมืองตะนาวศรีของไทยด้วย พม่าได้ใจยกล่วงต่อไปทางเมืองกระ พม่าเผาเมืองชุมพร ตีเมืองปะทิวเมืองกุย ตลอดจนถึงปราณ แตกทั้ง ๓ เมือง มังมหานรธาส่งทัพหน้าเข้ามาทางกาญจนบุรีในเดือน ๗ ปีนั้นปะทะกับกับทัพพระยาพิเรนทรเทพ ที่ตั้งรอทัพพม่าอยู่ แต่ทัพไทยแตกพ่าย พม่ายกทัพเข้ามาตั้งค่ายอยู่ที่ตำบลบ้านลูกแก ฆ่าฟันลูกค้าที่มาจอดเรืออยู่แถบนั้นล้มตายเป็นอันมาก จากนั้นได้เข้ามาตั้งค่าย ณ ตอกระออมและดงรังหนองขาว ให้ไพร่พลต่อเรือรบเรือไล่อยู่ ณ ที่นั้น แล้วจัดทัพแยกไปตีเมืองเพชรบุรี เมืองราชบุรี ด้านเนเมียวสีหบดียกทัพจากทางเหนือเคลื่อนลงใต้ตีหัวเมืองต่างๆลงมา ทางกรมการเมืองเหนือมีใบบอกลงมาว่า ทางเหนือเนเมียวสีหบดีส่งทัพหน้าลงมาตั้งที่กำแพงเพชร ทำการต่อเรือรบ เรือลำเลียงพลตลอดจนสะสมเสบียงอาหาร

สมเด็จพระเจ้าเอกทัศโปรดให้เจ้าพระยาพิษณุโลก ยกทัพไปตีข้าศึกในเดือน ๗ ทัพหน้าของพม่าก็ยกมาจากกำแพงเพชรมาตั้งค่ายที่เมืองนครสวรรค์ เดือน ๑๑ เนเมียวสีหบดียกจากเชียงใหม่มาทางด่านสวรรคโลก ตีเมืองต่างๆ เรื่อยมาจนถึงสุโขทัย ได้เมืองสุโขทัยแล้วตั้งทัพมั่นอยู่ในเมือง เจ้าพระยาพิษณุโลกยกทัพไปช่วย แต่เกิดเหตุจลาจลที่เมืองพิษณุโลก เจ้าพระยาพิษณุโลกจึงจำต้องยกทัพกลับไปจัดการบ้านเมือง เนเมียวสีหบดีรบกับไทยที่เมืองสุโขทัยจนถึงเดือนยี่ จึงได้ยกไปสมทบกับทัพหน้าที่กำแพงเพชร

ในระยะแรกที่ฝ่ายไทยได้ทราบข่าวการรุกรานของพม่าและต่างเห็นว่าพม่าต้องยกมาตีไทยแน่นอน จึงได้ตระเตรียมทัพไว้เพื่อรับมือ แต่การวางแผนรับมือทัพพม่ากลับเป็นไปโดยผิดพลาดอย่างมหันต์ ตำราพิชัยสงครามโบราณ มักจะกล่าวไว้ในบทที่ว่าถึงความตื้นลึกหนาบางว่า " ให้ศัตรูเป็นฝ่ายเปิดเผย ส่วนเราไม่สำแดงร่องรอยให้ประจักษ์ กระนี้ฝ่ายเรารวม แต่ศัตรูแยก เรารวมเป็นหนึ่ง ศัตรูแยกเป็นสิบ เท่ากับเราเอาสิบเข้าตีหนึ่ง เมื่อกำลังฝ่ายเรามากแต่ศัตรูน้อย การที่เอากำลังมาจู่โจมกำลังน้อย สิ่งที่เราจะจู่โจมกับข้าศึกก็ง่ายดาย " การตั้งรับของกองทัพไทยที่วางแผนไว้รับมือทัพพม่านั้น กลับทำในทางตรงกันข้ามกับหลักในพิชัยสงคราม โดยไทยเราให้แยกกองทัพออกไปรักษาพระนครโดยรอบทิศตามหัวเมืองต่างๆ ทำให้กำลังในแต่ละกองลดน้อยลงมีรายละเอียดพอจะสรุปได้ ตามนี้คือ

ขั้นแรก ให้เกณฑ์ทหารออกไปรักษาด่าน แบ่งกองทัพเรือออกเป็น ๙ กอง ๆละ ๒๐ ลำ ในแต่ละกองมีกำลังไพร่พลทหารประจำกองละ ๑,๔๐๐ คน พร้อมด้วยเครื่องศาสตราวุธ ให้นำเรือรบไป ๑ ลำ มีปืนใหญ่ ๑ กระบอก ปืนขนาดเล็ก ๑ กระบอก แล้วแบ่งไปประจำที่ต่าง ๆ ดังนี้ ๑ ให้พระราชสงกรานต์ ไปตั้งรับทัพพม่าทางปากน้ำเจ้าพระยา ๒ ให้ศรีภูเบศร์ ไปตั้งรับพม่าทางเมืองพรหมบุรี ๓ ให้หม่อมทิพยุพันไปตั้งรับพม่าทางเมืองพรหมบุรี ๔ ให้หม่อมเทไพ ไปตั้งรับพม่าทางเมืองอินทร์บุรี ๕ ให้หม่อมมหาดเล็กวังหน้า ไปตั้งรับพม่าทางแม่น้ำเมืองสิงห์บุรี ๖ ให้หลวงศรียุทธ ไปตั้งรับพม่าทางปากน้ำหิงสา ๗ ให้ศรีวรข่าน ไปตั้งรับพม่าทางปากน้ำประสบ ๘ ให้พระยาจุหล่า (แขก) ไปตั้งรับพม่าทางปากน้ำพระประแดง (พระมะดัง) ๙ ให้หลวงหรทัยคุมออกไปตั้งรับพม่าทางปากน้ำลำทอง ขั้นที่สอง สมเด็จพระเจ้าเอกทัศน์ ทรงมีรับสั่งให้จัดกองทัพไปตั้งรับกองทัพพม่า แต่ละทัพห่างไกลกันออกไปเป็นจุดต่างๆ กันดังนี้ กองทัพที่ ๑ ให้พระยาพิพัฒน์โกษา เป็นแม่ทัพใหญ่คุมกองทัพ ๑๓ กอง แต่ละกองมีกำลัง ๑,๐๐๐ คน มีช้างคลุมเกราะเหล็ก ๑๐ เชือก ช้างเชือกหนื่งมีปืนใหญ่ขนาดเล็ก ๒ กระบอก มีควาญหัว ๑ คน กลาง ๑ คน ท้ายช้าง ๑ คน มีพลทหารถือทวนตามช้างอีกข้างละ ๑๐๐ คน ให้ไปตั้งรับพม่าที่เมืองมะริด เมืองตะนาวศรี กองทัพที่ ๒ ให้พระยาเพชรบุรี เป็นแม่ทัพใหญ่ คุมกองทัพ ๑๑ กองแต่ละ กองจัดกำลังเหมือนกองทัพที่ ๑ ให้ไปตั้งรับพม่าทางเมืองสวรรคโลก กองทัพที่ ๓ ให้ศิริธรรมราชา เป็นปลัดทัพ ให้พระยาพิพัฒน์โกษาเป็นแม่ทัพคุมกองทัพ ๗ กองอีกทางหนึ่ง เพราะอยู่ในเขตใกล้เคียงกัน ให้ไปตั้งที่ตำบลท่ากระดานเขตแดนเมืองกาญจนบุรี กองทัพที่ ๔ ให้เจ้าพระยากลาโหม คุมกองทัพ ๑๕ กอง การจัดกำลังกองทัพจัดแบบเดียวกับกองทัพที่ ๑ ให้ไปตั้งรับทัพพม่าทางเมืองราชบุรี กองทัพที่ ๕ ให้พระยาธิเบศร์ เป็นแม่ทัพ คุมกองทัพ ๑๔ กอง การจัดกำลังกองทัพเหมือนกองทัพที่ ๑ ให้ไปตั้งรับพม่าทางเมืองราชบุรี การที่ทางกรุงศรีอยุธยาได้จัดเตรียมการป้องกัน พระนครและเตรียมสู้รบพม่าโดยจัดแบ่งออกเป็นกองย่อยๆ มากมายและแยกไปตามจุดต่างๆ โดยกองทัพพม่ายกมาจริงๆ เพียงสองทางเท่านั้น

ดังนั้นกองทัพไทยที่ไปอยู่อีกหลายจุดที่กองทัพพม่ามิได้เคลื่อนทัพผ่าน จึงไม่ได้สู้รบกับพม่าเป็นการสูญเสียกำลังไปโดยปราศจากประโยชน์ ส่วนทางด้านที่กองทัพพม่าเคลื่อนผ่านมา ปะทะกับกองทัพไทยแต่ฝ่ายเรามีน้อยกว่าเพราะได้กระจายกำลังไปตามจุดต่างๆ คือเปรียบดังเอา ๑ เข้าสู้กับ ๑๐ ซึ่งแทนที่จะเอากำลัง ๑๐ ส่วนเข้าทำลายกำลัง ๑ ส่วน ฝ่ายกองทัพไทยน้อยกว่าย่อมยากแก่การที่จะเอาชนะ เหตุนี้น่าจะเป็นอีกเหตุหนึ่งที่ทำให้ไทยต้องเสียกรุงเป็นครั้งที่ ๒ แล้วผลการรบเป็นไปตามที่ได้คาดไว้ ทัพไทยพ่ายศึกในแทบทุกทางที่ปะทะกับกองทัพพม่า ทำให้กองทัพพม่ารุกคืบหน้าเข้ามาทุกที และแล้วกรุงศรีอยุธยาก็ตกอยู่ในวงล้อมกองทัพพม่า

ในขณะที่กองทัพพม่ากำลังตั้งค่ายขยายวงล้อมกรุงศรีอยุธยา ในด้านเหนือมีทัพของเนเมียวสีหบดียกเข้ามาตั้งค่ายใหญ่อยู่ที่ ตำบลวัดป่าฝ้าย ปากน้ำพระประสบ ทัพของมังมหานรธาที่ยกมาทางใต้มาตั้งค่ายใหญ่ที่ ตำบลสีกุก พระเจ้ามังระส่งทัพหนุนเข้ามาอีก คือ สุรินทรจอข่อง มณีจอข่อง มหาจอข่อง อากาปันยี ถือพลพันเศษยกมาทางเมาะตะมะ เดินทัพเข้ามาทางอุทัยธานีมาตั้งค่ายอยู่แชวงเมืองวิเศษชัยชาญ ในเดือนยี่ พ.ศ. ๒๓๐๘ พระยาเจ่งตละเสี้ยง ตละเกล็บ คุมพลรามัญจากเมาะตะมะประมาณสองพันเศษเข้ามาทางกาญจนบุรีมาถึงค่ายตอกระออม แล้วยกทัพเรือหนุนเข้ามาตั้งค่ายอยู่ ณ ขนอนวัดโปรดสัตว์ จากสภาพการณ์จะเห็นได้ว่าทัพพม่าเข้าประชิดชานพระนครกำลังโอบล้อมกรุงศรีอยุธยาไว้เกือบจะรอบอยู่แล้ว ในช่วงนี้เองที่เกิดวีรกรรมของชาวบ้านบางระจันการต่อสู้ระหว่างกองทัพพม่ากับชาวบ้านธรรมดาโดยลำพัง ซึ่งเป็นชาวบางระจันรวมตัวกับชาวเมืองใกล้เคียงอันได้แก่ ชาวเมืองวิเศษชัยชาญ เมืองสิงห์บุรี เมืองสรรค์บุรี เ ป็นวีรกรรมของพลเมืองธรรมดาที่ลุกขึ้นต่อสู้ การรุกรานอันกดขี่ของพม่า พวกเขาเหล่านั้นต่อสู้กับความอยุติธรรม ความโหดเหี้ยมของผู้รุกราน ซึ่งทั้งปล้นชิงทรัพย์สินหญิงสาวถูกข่มขืนและนำไปเป็นนางบำเรอ ปล้นบ้านเผาเมือง ทำลายไร่นาเก็บเอาผลผลิตไปหมดสิ้น ใครขัดขวางจะถูกฆ่า จับผู้คนกวาดต้อนไปเป็นเชลยเพื่อใช้แรงงานเป็นทาส ความเดือดร้อนเกิดขึ้นทุกหย่อมหญ้า แผ่นดินแทบลุกเป็นไฟ อิสรภาพกำลังถูกคุกคามจากน้ำมือผู้รุกราน ผู้ที่จะทำให้ไทย ที่"ไท" ชึ่ง หมายความว่า ผู้ยิ่งใหญ่ ต้องแปดเปื้อนอีกครั้ง ราชการบ้านเมืองก็อ่อนแอจะหาผู้ใดมาปกป้องก็หาได้ไม่ จนเหลือกำลังสุดที่จะทนต่อไปได้อีก เหตุการณ์อันเป็นวีรกรรมที่ประวัติศาสตร์ไทยต้องจารึกถึงความกล้าหาญ ความสามัคคี การยอมสละชีพเพื่อต่อต้านข้าศึก ไม่ก้มหัวให้ศํตรูที่ได้กระทำโดยชาวบ้านธรรมดาอันปราศจากกองทัพใดๆ เข้าช่วยเหลือ วีรกรรมของชาวบ้านบางระจันเริ่มขึ้นเมื่อ เนเมียวสีหบดีแม่ทัพพม่าที่เคลื่อน ทัพมาจากทางเหนือได้ส่งทหารกองหนึ่งออกลาดตระเวน กวาดต้อนผู้คนและทรัพย์สินทางเมืองวิเศษชัยชาญ เท่านั้นยังไม่พอ หากพบว่าบ้านใดมีลูกสาวก็เรียกเอาตัวด้วยหากไม่ให้ก็ฉุดคร่าเอามา หากต่อสู้ก็ฆ่าทิ้งเสีย ทำให้คนไทยโกรธแค้นพม่ามากยิ่งขึ้นทนต่อการกระทำของทหารพม่าอีกไม่ได้ จึงแอบคบคิดกันต่อสู้พม่า

ในเดือน ๓ ปีระกา พ.ศ. ๒๓๐๘ พวกชาวเมืองวิเศษชัยชาญ เมืองสิงห์ เมืองสรรค์ และชาวบ้านใกล้เคียง พากันคบคิดอุบายเพื่อล่อลวงพม่า ทั้งรวบรวมผู้คนไว้เพื่อทำการ ในบรรดาชาวบ้านที่ร่วมกันอยู่นี้มีหัวหน้าที่สำคัญคือ นายแท่น นายโชติ นายอิน นายเมือง ชาวบ้านสีบัวทอง แขวงเมืองสิงห์ นายดอก ชาวบ้านกรับ และนายทองแก้ว บ้านโพทะเล แขวงเมืองวิเศษชัยชาญ ชาวไทยเหล่านี้ต่างพากันหลอกลวงพม่าว่าจะนำไปหาทรัพย์สิ่งของที่ต้องการพม่าหลงเชื่อตามไป ก็ถูกนายโชติซึ่งคุมสมัครพรรคพวกซุ่มอยู่บุกเข้ามาฆ่าฟันพม่าตายประมาณ ๒๐ คน และชาวบ้านที่ร่วมก่อการก็พาพรรคพวกครอบครัวอพยพหันมาพึ่งพระอาจารย์ธรรมโชติ ซึ่งมีกิตติศัพท์ว่ามีคุณความรู้ดีเชี่ยวชาญทางวิทยาคมมาก

ต่อมานายแท่นและผู้มีชื่ออื่นๆ ชักชวนชาวบ้านได้อีกประมาณ ๔๐๐ คนเศษพากันมาอยู่ที่บ้านบางระจัน หลังจากนั้นก็ตั้งค่ายขึ้นที่บ้านบางระจัน ๒ ค่าย คือ ค่ายใหญ่และค่ายน้อย ทั้งนี้เพื่อป้องกันทหารพม่าที่จะยกติดตามมาพระอาจารย์ธรรมโชติได้ลงตะกรุดประเจียดมงคล แจกจ่ายชาวค่าย สำหรับป้องกันตัวและเป็นกำลังใจ นอกจากนี้มีคนไทยชั้นหัวหน้าที่เข้ามาร่วมด้วยอีก ๕ คน คือขุนสรรค์ พันเรือง นายทองเหม็น นายจันหนวดเขี้ยว และนายทองแสงใหญ่ รวมหัวหน้าที่สำคัญของค่ายบางระจันครั้งนั้นรวม ๑๑ คน ท่านเหล่านี้รวมทั้งชาวบ้านอื่นๆ ได้สู้รบกับพม่าถึง ๘ ครั้ง แม้จะเสียเปรียบด้านอาวุธและกำลังไพร่พลแต่ด้วยความรักชาติ ความสามัคคี ความกล้าหาญ ตลอดจนความเสียสละ จึงทำให้ได้รับชัยชนะถึง ๗ ครั้งอันเป็นวีรกรรมอันยิ่งใหญ๋ของชาวบ้านบางระจัน จนได้รับการจารึกไว้ในประวัติศาสตร์ดังนี้

ประวัติศาสตร์การรบทั้ง 8 ครั้ง

การรบครั้งที่ ๑ ทหารพม่าที่เมืองวิเศษชัยชาญยกพลมาประมาณ ๑๐๐ เศษ มาตามจับพันเรืองเมื่อถึงบ้านบางระจัน ก็หยุดอยู่ ณ ฝั่งแม่น้ำ (บางระจัน) นายแท่นจัดคนให้รักษาค่ายแล้วนำคน ๒๐๐ ข้ามแม่น้ำไปรบกับพม่า ทหารพม่าไม่ทันรู้ตัวยิงปืนได้เพียงนัดเดียวชาวไทยซึ่งมีอาวุธสั้นทั้งนั้นก็กรูเข้าไล่ฟันแทงพม่าถึงขั้นตะลุมบอน พลทหารพม่าล้มตายหมดเหลือแต่ตัวนายสองคนขึ้นม้าหนีไปได้ ไปแจ้งความให้นายทัพพม่าที่ค่ายแขวงเมืองวิเศษชัยชาญทราบ และส่งข่าวให้แม่ทัพใหญ่คือเนเมียวสีหบดี ซึ่งตั้งค่ายใหญ่อยู่ ณ ปากน้ำพระประสบทราบด้วย

การรบครั้งที่ ๒ เนเมียวสีหบดีจึงแต่งให้งาจุนหวุ่น คุมพล ๕๐๐ มาตีค่ายบางระจัน นายแท่นก็ยกพลออกรบ ตีทัพพม่าแตกพ่ายล้มตายเป็นอันมาก แม่ทัพพม่าได้เกณฑ์ทหารเพิ่มเป็น ๗๐๐ คน ให้เยกินหวุ่นคุมพลยกมาตีค่ายบางระจัน ทัพพม่าก็ถูกตีแตกพ่ายอีกเป็นครั้งที่ ๒

การรบครั้งที่ ๓ เมื่อกองทัพพม่าต้องแตกพ่ายหลายครั้ง เนเมียวสีหบดีเห็นว่าจะประมาทกำลังของชาวบ้านบางระจันต่อไปอีกไม่ได้ จึงเกณฑ์พลเพิ่มเป็น ๙๐๐ คน ให้ติงจาโบ เป็นผู้คุมทัพครั้งนี้ชาวบ้านบางระจันมีชัยชนะพม่าอีกเช่นครั้งก่อนๆ

การรบครั้งที่ ๔ การที่พม่าแพ้ไทยหลายครั้งเช่นนี้ ทำให้พม่าขยาดฝีมือคนไทย จึงหยุดพักรบประมาณ ๒-๓ วัน แล้วเกณฑ์ทัพใหญ่เพื่อมาตีค่ายบางระจัน มีกำลังพลประมาณ๑,๐๐๐ คน ทหารม้า ๖๐ สุรินจอข่องเป็นนายทัพ พม่ายกทัพมาตั้งที่บ้านห้วยไผ่ (ปัจจุบันอยู่ในเขตอำเภอแสวงหา จังหวัดอ่างทอง) ฝ่ายค่ายบางระจันได้จัดเตรียมกันเป็นกระบวนทัพสู้พม่าคือ นายแท่นเป็นนายทัพคุมพล ๒๐๐ พันเรืองเป็นปีกซ้ายคุมพล ๒๐๐ ชาวไทยเหล่านี้มีปืนคาบศิลาบ้าง ปืนของพม่าและกระสุนดินดำของพม่า ซึ่งเก็บได้จากการรบครั้งก่อนๆ บ้าง นอกจากนั้นก็เป็นอาวุธตามแต่จะหาได้ ทัพไทยทั้งสามยกไปตั้งที่คลองสะตือสี่ต้น อยู่คนละฟากคลองกับพม่า ต่างฝ่ายต่างยิงตอบโต้กันฝ่ายไทยชำนาญภูมิประเทศกว่า ได้ขนไม้และหญ้ามาถมคลอง แล้วพากันรุกข้ามรบไล่พม่าถึงขั้นใช้อาวุธสั้น พม่าล้มตายเป็นอันมาก ตัวสุรินทรจอข้องนายทัพพม่า ขี่ม้ากั้นร่มระย้าเร่งให้ตีกองรบอยู่กลางพล ถูกพลทหารไทยวิ่งเข้าไปฟันตาย ณ ที่นั้น ส่วนนายแท่นแม่ทัพไทยก็ถูกปืนที่เข่าบาดเจ็บสาหัสต้องหามออกมาจากที่รบ ทัพไทยกับพม่ารบกันตั้งแต่เช้าจนเที่ยง ต่างฝ่ายต่างอิดโรย จึงถอยทัพจากกันอยู่คนละฟากคลอง พวกชาวบ้านบางระจันในค่ายก็นำอาหารออกมาเลี้ยงดูพวกทหาร ขณะพม่าต้องหุงหาอาหารและมัวจัดการศพแม่ทัพไม่ทันระวังตัว กองสอดแนมของไทยมาแจ้งข่าว พวกทหารไทยกินอาหารเสร็จแล้วก็ยกข้ามคลองเข้าโจมตีพม่าพร้อมกันทันที ทหารพม่าแตกพ่ายไม่เป็นกระบวน ที่ถูกอาวุธล้มตายประมาณสามส่วน และเสียเครื่องอาวุธยุทธภัณฑ์เป็นอันมาก ไทยไล่ติดตามจนใกล้ค่ำจึงยกกลับมายังค่าย กิตติศัพท์ความเก่งกล้าของชาวบ้านบางระจันแพร่หลายออกไปมีชาวบ้านอื่นๆ อพยพครอบครัวเข้ามาอาศัยอยู่ในค่ายบางระจันเพื่อขึ้นอีกเป็นลำดับ

การรบครั้งที่ ๕ พม่าเว้นระยะไม่ยกมาตีค่ายบางระจันอยู่ประมาณ ๑๐-๑๑ วัน ด้วยเกรงฝีมือชาวไทย หลังจากนั้นจึงแต่งทัพยกมาอีกครั้งหนึ่ง มีแยจออากาเป็นนายทัพ คุมทหารซึ่งเกณฑ์แบ่งมาจากทุกค่ายเป็นคนประมาณ ๑,๐๐๐ คนเศษ พร้อมด้วยม้าและอาวุธต่างๆแต่กองทัพพม่านี้ก็ปราชัยชาวบ้านบางระจันแตกพ่ายไป

การรบครั้งที่ ๖ นายทัพพม่าครั้งที่ ๖ นี้คือ จิกแก ปลัดเมืองทวาย คุมพล ๑๐๐ เศษ ฝ่ายไทยมีชัยชนะอีกเช่นเคย

การรบครั้งที่ ๗ เนเมียวสีหบดีได้แต่งกองทัพให้ยกมาตีค่ายบางระจันอีก ให้อากาปันคยีเป็นแม่ทัพคุมพล ๑,๐๐๐ เศษ อากาปันคยียกกองทัพไปตั้ง ณ บ้านขุนโลก ทางค่ายบางระจันดำเนินกลศึกคือ จัดให้ขุนสรรค์ซึ่งมีฝีมือแม่นปืน คุมพลทหารปืนคอยป้องกันกองทัพม้าของพม่า นายจันหนวดเชี้ยวเป็นแม่ทัพใหญ่คุมพล ๑,๐๐๐ เศษออกตีทัพพม่าและล้อมค่ายไว้ ทหารไทยใช้การรบแบบจู่โจม พม่ายังไม่ทันตั้งค่ายเสร็จก็ถูกโอบตีทางหลังค่าย ทหารพม่าถูกฆ่าตายเกือบหมดเหลือรอดตายเป็นส่วนน้อย แม่ทัพก็ตายในที่รบครั้งนี้ทำให้พม่าหยุดพักรบนานถึงครึ่งเดือน

การรบครั้งที่ ๘ การที่พม่าส่งกองทัพมาปราบค่ายบางระจันถึง ๗ ครั้ง แต่ต้องแตกพ่ายยับเยินทุกครั้งนั้น ทำให้แม่ทัพใหญ่ของพม่าวิตกมาก เนื่องจากชาวบ้านบางระจันมีกำลังเข้มแข็งขึ้นทุกที และทหารพม่าก็พากันเกรงกลัวฝีมือไทย ไม่มีใครอาสาเป็นนายทัพ ขณะนั้นมีชาวรามัญผู้หนึ่งเคยอยู่เมืองไทยมานาน รู้จักนิสัยคนไทยและภูมิประเทศดี ได้เข้าฝากตัวทำราชการอยู่กับพม่าจนได้รัยตำแหน่งสุกี้ หรือพระนายกอง สุกี้เข้ารับอาสาจะขอไปตีค่ายบางระจัน เนเมียวสีหบดีจึงแต่งตั้งให้เป็นแม่ทัพคุมพล ๒,๐๐๐ พร้อมทั้งม้าและสรรพาวุธทั้งปวง สุกี้ดำเนินการศึกอย่างชาญฉลาด เมื่อเวลาเดินทัพไม่ตั้งทัพกลางแปลงอย่างทัพอื่น ให้ตั้งค่ายรายไปตามทาง ๓ ค่าย และรื้อค่ายหลังผ่อนไปสร้างข้างหน้าเป็นลำดับ (เป็นที่น่าสังเกตุว่าการเคลื่อนทัพโดยตั้ง ๓ ค่ายของสุกี้นี้ เป็นวิธีเดียวกับการเดินทัพของกองทัพเล่าปี่ ที่มีขงเบ้งเป็นแม่ทัพในสงครามสามก็ก ใช้ตั้งรับทัพที่เชี่ยวชาญการรบในท้องที่นั้นๆ น่าจะแสดงให้เห็นว่าสุกี้ ชาวรามัญผู้นี้ต้องเป็นผู้เชี่ยวชาญในพิชัยสงครามหรือ อย่างน้อยต้องศึกษาประวัติศาสตร์สงครามมาอย่างลึกซึ้ง ) ใช้เวลาถึงครึ่งเดือนจึงใกล้ค่ายบางระจัน สุกี้ใข้วิธีตั้งมั่นรบอยู่ในค่าย ด้วยรู้ว่าคนไทยเชี่ยวชาญการรบกลางแปลง พวกหัวหน้าค่ายบางระจันนำกำลังเข้าตีค่ายพม่าหลายครั้งไม่สำเร็จกลับทำให้ไทยเสียไพร่พลไปเป็นจำนวนมาก

วันหนึ่งนายทองเหม็นดื่มสุราแล้วขี่กระบือนำพลส่วนหนึ่งเข้าตีค่ายพม่า สุกี้นำพลออกรบนอกค่าย นายทองเหม็นถลำเข้าอยู่ท่ามกลางข้าศึกแต่ผู้เดียว แม้ว่าจะมีฝีมือสามารถฆ่าฟันทหารพม่ารามัญล้มตายหลายคน แต่ในที่สุดก็ถูกทหารพม่ารุมล้อมจนสิ้นกำลังและถูกทุบตีตายในที่รบ (เล่าขานกันมาว่านายทองเหม็นเป็นผู้รู้ในวิชาคงกระพันชาตรี และมีของขลังป้องกันภยันตราย ฟันแทงไม่เข้า หากจะทำร้ายคนมีวิชาเช่นนี้จะต้องตีด้วยของแข็ง)

ทัพชาวบ้านบางระจันเมื่อเสียนายทัพก็แตกพ่าย ซึ่งนับว่าเป็นครั้งแรกในการรบกับพม่า ทัพพม่ายกติดตามมาจนถึงบ้านขุนโลกใกล้ค่ายบางระจัน แล้วตั้งค่ายมั่นอยู่ ทัพบางระจันพยายามตีค่ายพม่าอีกหลายครั้งไม่สำเร็จก็ท้อถอย สุกี้จึงให้ทหารขุดอุโมงค์เข้าใกล้ค่ายน้อยบางระจัน ปลูกหอรบขึ้นสูงนำปืนใหญ่ขึ้นยิงเข้าไปในค่ายถูกผู้คนล้มตายเป็นอันมาก ค่ายน้อยบางระจันก็แตกพ่ายลงนอกจากนี้ยังมีเรื่องที่ทำให้ชาวบ้านบางระจันเสียกำลังใจลงอีกคือ นายแท่นหัวหน้าค่ายที่ถูกปืนที่เข่าบาดเจ็บครั้งที่สุรินทรจอข่องเป็นแม่ทัพยกมาเมื่อการรบครั้งที่ ๔ นั้นได้ถึงแก่กรรมลง ในเดือน ๖ ปีจอ พ.ศ. ๒๓๐๙ หัวหน้าชาวบ้านบางระจันคนอื่น ได้พยายามจะนำทัพไทยออกรบกับพม่าอีกหลายครั้ง วันหนึ่งทัพพม่าสามารถตีโอบหลังกระหนาบทัพไทยได้ ขุนสรรค์และนายจันหนวดเขี้ยวได้ทำการรบจนกระทั่งตัวตายในที่รบ ยังเหลือแต่พันเรืองและนายทองแสงใหญ่เป็นหัวหน้าสำคัญ ชาวค่ายบางระจันเห็นว่าตนเสียเปรียบ ผู้คนล้มตายลงไปมาก เหลือกำลังที่จะต่อสู้กับพม่าแล้ว จึงมีใบบอกเข้าไปยังกรุงศรีอยุธยาขอปืนใหญ่ ๒ กระบอก พร้อมด้วยกระสุนดินดำเพื่อจะนำมายิงค่ายพม่า ทางพระนครปรึกษากันแล้วเห็นพร้อมกันว่าไม่ควรให้เนื่องจากกลัวว่าพม่าจะแย่งชิงกลางทางบ้าง หรือหากพม่าตีค่ายบางระจันแตก พม่าก็จะได้ปืนใหญ่นั้นมาเป็นกำลังรบพระนคร พระยารัตนาธิเบศร์ไม่เห็นด้วยในข้อปรึกษา จึงออกไป ณ ค่ายบางระจัน เรี่ยไรเครื่องภาชนะทองเหลืองทองขาวจากพวกชาวบ้านหล่อปืนใหญ่ขึ้นมาสองกระบอก แต่ปืนทั้งสองนั้นร้าวใช้ไม่ได้ พระยารัตนาธิเบศร์เห็นว่าการศึกจะไม่เป็นผลสำเร็จจึงกลับพระนคร

เมื่อขาดที่พึ่งชาวบ้านบางระจันก็เสียกำลังใจมากขึ้น ฝีมือการสู้รบกับพม่าก็พลอยอ่อนลง บางพวกก็พาครอบครัวหลบหนีออกจากค่าย ผู้คนในค่ายก็เบาบางลง ในที่สุดพม่าก็สามารถตีค่ายใหญ่บางระจันได้ ในวันจันทร์ แรม ๒ ค่ำ เดือนแปด ปีจอ พ.ศ. ๒๓๐๙ รวมเวลาที่ไทยรบกับพม่าตั้งแต่เดือน ๔ ปลายปีระกา พ.ศ. ๒๓๐๘ ถึงเดือนแปด ปีจอ พ.ศ. ๒๓๐๙ เป็นเวลาทั้งสิ้น ๕ เดือน พม่าได้กวาดต้อนชาวไทยในค่ายบรรดาที่รอดตายทั้งหลายกลับไปยังค่ายพม่า ส่วนพระอาจารย์ธรรมโชติซึ่งเป็นผู้หนึ่งที่ช่วยให้กำลังใจให้ชาวบ้านบางระจันสู้รบกับพม่าอย่างห้าวหาญนั้น ไม่ปรากฏว่าท่านมรณภาพอยู่ในค่าย ถูกกวาดต้อน หรือหลบหนีไปได้

รายชื่อวีรชนที่ปรากฏในประวัติศาสตร์

1.พระอาจารย์ธรรมโชติ เดิมอยู่วัดเขานางบวช แล้วมาอยู่วัดโพธ์เก้าต้น มีความรู้ ทางวิชาอาคม เป็นที่พึ่งทางใจแก่ชาวค่ายบางระจัน

2.นายแท่น เป็นชาวบ้านสีบัวทอง ถืออาวุธสั้น ถูกปืนของพม่าที่เข่าใน การรบครั้งที่ 4 เสียชีวิตเมื่อการรบครั้งสุดท้าย

3.นายอิน เป็นชาวบ้านสีบัวทอง

4.นายเมือง เป็นชาวบ้านสีบัวทอง

5.นายโชติ เป็นชาวบ้านสีบัวทอง ถืออาวุธสั้น

6.นายดอก เป็นชาวบ้านกลับ

7.นายทองแก้ว เป็นชาวบ้านโพทะเล

8.นายจัน หนวดเขี้ยว เก่งทางใช้ดาบ เสียชีวิตในการรบครั้งที่ 8

9.นายทอง แสงใหญ่

10.นายทองเหม็น ขี่กระบือเข้าสู้รบกับพม่า ตกในวงล้อมถูกพม่าตีตายใน การรบครั้งที่ 8

11.ขุนสรรค์ มีฝีมือเข้มแข็งมักถือปืนเป็นนิจ แม่นปืน

12.พันเรือง

เหตุการณ์ในระยะเวลา ๕ เดือนที่ชาวบ้านบางระจันและชาวบ้านใกล้เคียงกันไม่ว่าจะเป็น ชาวเมืองสิงห์ เมืองสรรค์ เมืองวิเศษชัยชาญได้รวมตัวกันร่วมแรงร่วมใจเข้าต่อต้านกองทัพพม่าที่มีกำลังมากกว่าในทุกด้านไม่ว่าจะเป็นจำนวนไพร่พล อาวุธยุทธโธปกรณ์ ชาวบางระจันใช้ประโยชน์จากชัยภูมิที่มีความชำนาญในท้องที่กว่า ใช้การรบแบบกองโจร ซุ่มโจมตีกองทัพพม่า ฆ่าฟันทหารพม่าตายรวมแล้วหลายพันคน เข้ารบพุ่งโรมรันโดยมิเกรงว่าจะเสียชีวิต ทำให้พม่าครั่นคร้ามในฝีมือรบของชาวไทย โดยแท้ชาวบ้านบางระจันแตกพ่ายทัพพม่าในการรบครั้งสุดท้าย หาใช่ด้วยสติปัญญาชาวพม่าไม่ ชาวเราแพ้ชาวรามัญที่อยู่ในไทยมานานและไปฝากตัวรับราชการในกองทัพพม่า จนได้ตำแหน่งสุกี้ วางแผนคุมกองทัพพม่ายกมาตีค่ายบางระจันในครั้งที่ ๘ ทั้งหมดเป็นเหตุการณ์ประวัติศาสตร์ ที่ ชาวสิงห์บุรี และชาวไทยทุกคนต้องภาคภูมิใจ ในความกล้าหาญ และความสามัคคีเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน เพื่อปกป้องมาตุภูมิ จากการข่มเหงของชาวชาติอื่น แม้ชาวบ้านบางระจันจะพ่ายแพ้ในที่สุด แต่ชื่อเสียงและเกียรติคุณยังคงอยู่แม้เวลาล่วงเลยมา ๒๐๐ กว่าปีแล้ว เรื่องราวของวีระกรรมชาวค่ายบางระจันยังคงอยู่เปรียบดังผู้เป็นอมตะ แม้ตัวจะตายไปชื่อยังคงอยู่ แม้จะไม่มีชื่อวีรชนทั้งหมดแต่วีระกรรมยังคงอยู่ ปรากฏอยู่ในหน้าหนึ่งของประวัติศาสตร์ แม้แต่ สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ พระบิดาแห่งประวัติศาสตร์ไทย ยังทรงพระนิพนธ์ไว้ในหนังสือไทยรบพม่า ตอนวีรชนชาวบ้านบางระจัน เป็นเรื่องเล่าจากปากผู้คนจากรุ่นหนึ่งสู่คนอีกรุ่นหนึ่ง จากพ่อสู่ลูก เป็นนิทานก่อนนอนของปู่เล่าสู่ลูกหลาน ให้เด็กๆได้จินตนาการถึงภาพความกล้าหาญ ภาพชาวค่ายบางระจันรุกรบกับกองทัพพม่า เป็นอุทาหรณ์แก่อนุชนรุ่นหลังให้ตระหนักถึงความกล้าหาญ โดยเฉพาะอย่างยิ่งความสามัคคี เป็นเรื่องที่พิสูจน์คำกล่าวที่ว่า "สามัคคีคือพลัง" ได้อย่างแน่แท้ปราศจากข้อสงสัย หากชาวค่ายบางระจันไม่สามัคคีกันไม่มีทางใดเลยที่จะต้านกองทัพพม่าได้นานถึง ๕ เดือน ถ้าไม่สามัคคีกันย่อมเป็นไปไม่ได้ที่จะชนะกองทัพพม่าถึง ๗ ครั้งติดต่อกัน ทั้งไม่ปรากฏว่ามีกองทัพใดเข้าช่วยเหลือในการรบที่ค่ายบางระจัน ชัยชนะที่ผ่านมาย่อมไม่ใช่เรื่องบังเอิญ ให้เราได้ใคร่ครวญว่าได้ทำให้หมู่คณะของเรามีความสามัคคีกันบ้างไหม ในปัจจุบันมีการสร้างอนุสาวรีย์วีรชนค่ายบางระจันในปี พ.ศ. ๒๕๑๗ โดยกรมศิลปากรสร้างอนุสาวรีย์ไว้ตรงกันข้ามวัดโพธิ์เก้าต้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลปัจจุบัน ทรงเสด็จพระราชดำเนินมาในวโรกาสเปิดอนุสาวรีย์วีรชนค่ายบางระจันเมื่อวันที่ ๒๙ กรกฏาคม พ.ศ. ๒๕๑๙ ทรงมีพระราชดำรัสไว้จึงขออัญเชิญพระราชดำรัสมาลงไว้ ณ ที่นี้ " วีรกรรมในครั้งนั้นเป็นของผู้ที่รักแผ่นดินไทย เป็นสิ่งที่ทำให้คนไทยทั้งมวล ทั้งในอดีตและปัจจุบันมีกำลังใจและเตือนสติให้มีความสามัคคีและรักษาจิตใจให้เข้มแข็ง เพื่อรักษาประเทศไทยให้ตนเองและเพื่อความมั่นคงของแผ่นดิน....." ที่ฐานของอนุสาวรีย์มีคำจารึกไว้ว่า "สิงห์บุรีนี่นี้ นามใด สิงห์แห่งต้นตระกูลไทย แน่แท้ ต้นตระกูล ณ กาลไหน วานบอก หน่อยเพื่อน ครั้งพม่ามาล้อมแล้ ทั่วท้องบางระจัน " หลังจากพม่าตีค่ายบางระจันแตกแล้วก็เคลื่อนทัพเข้าล้อมกรุงศรีอยุธยา และสามารถตีกรุงศรีอยุธยาแตกอีกเป็นครั้งที่ ๒ ในพ.ศ. ๒๓๑๐ ไทยได้เสียกรุงศรีอยุธยาแก่พม่า สมเด็จพระเจ้าเอกทัศเสด็จหนีไปหลบซ่อนตัวและอดอาหารอยู่ประมาณ ๑๐ วันพม่าจับตัวได้ นำไปไว้ที่ค่ายโพธิ์สามต้น และเสด็จสวรรคตที่นั่น พม่ายึดกรุงศรีอยุธยาไว้ได้ประมาณ ๘ เดือน

๒๑ มิถุนายน – วันดำรงราชานุภาพ

เพื่อระลึกถึงวันคล้ายวันประสูติของ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ เมื่อวันที่ ๒๑ มิถุนายน พ.ศ.๒๔๐๕ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงเป็นกำลังสำคัญของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ ในการพัฒนาประเทศให้ได้รับความเจริญก้าวหน้า ทรงพัฒนางานด้านการปกครอง การศึกษา งานด้านสาธารณสุข ทรงก่อตั้งโรงพยาบาลในท้องถิ่นห่างไกล ทรงก่อตั้งโอสถศาลา หรือสถานีอนามัยในปัจจุบัน อีกทั้งทรงก่อตั้งกรมพยาบาลซึ่งมีความเจริญก้าวหน้าจนเป็นกระทรวงสาธารณสุขในปัจจุบัน และมีอีกหลายกระทรวง หลายกรม ที่ทรงเป็นผู้ริเริ่มก่อตั้ง เช่น กรมศิลปากร ราชบัณฑิตยสภา พิพิธภัณฑสถาน หอสมุกพระนครและงานด้านอื่นอีกหลายด้าน อีกทั้งทรงเป็นที่ปรึกษาสำคัญในการทำให้ประเทศรอดพ้นจากการเป็นเมืองขึ้นของต่างชาติในสมัยนั้นด้วย

เมื่อพระองค์ดำรงตำแหน่งนายกราชบัณฑิตยสภา ทรงอนุรักษ์และชำระหนังสือสำคัญทางประวัติศาสตร์ไว้จำนวนมาก รวมถึงทรงนิพนธ์หนังสือ ที่ทรงคุณค่าทางประวัติศาสตร์ไว้มากกว่า ๖๕๐ เรื่อง ทำให้ทรงพระปรีชาสามารถและชำนาญงานทางด้านประวัติศาสตร์ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ จึงเป็นบุคคลไทยพระองค์แรก ที่ได้รับการยกย่องจากองค์การศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO)ให้เป็นบุคคลสำคัญของโลก เมื่อปี พ.ศ.๒๕๐๕ และทรงได้รับการถวายพระนามว่า "พระบิดาแห่งประวัติศาสตร์ไทย"

พระประวัติสมเด็จ ฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ

สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงเป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์ และเจ้าจอมมารดาชุ่ม ธิดาพระยาอัพภันตริกามาตย์ (ดิศ) ต้นสกุล "โรจนดิศ" เป็นเจ้าจอมมารดา ประสูติในพระบรมมหาราชวัง เมื่อ วันเสาร์ที่ ๒๑ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๐๕

พระบาทสมเด็จพระบรมชนกนาถพระราชทานพระนาม และพระพรประกอบด้วยคาถาเป็นภาษาบาลี ซึ่งมีคำแปล ดังต่อไปนี้

“...สมเด็จพระปรเมนทรมหามงกุฎพระจอมเกล้าเจ้าแผ่นดินสยามผู้บิดาขอตั้งนาม กุมารบุตรที่เกิดแต่ชุ่มเล็กเป็นมารดานั้น และซึ่งคลอดในวันเสาร์ขึ้น ๙ ค่ำ เดือน ๗ ปีจอจัตวาศกนั้น ว่าดังนี้ พระเจ้าลูกเธอพระองค์เจ้าดิศวรกุมาร นาคนาม ขอจงเจริญ ชนมายุ วรรณ สุข พล ปฏิภาณ สรรพสิริสวัสดิพิพัฒนมงคลทุกประการ สิ้นกาลนาน ต่อไป เทอญ...”

พระองค์ทรงเริ่มเรียนหนังสือไทยชั้นต้นจากสำนักคุณแสงและคุณปาน ราชนิกุล ในพระบรมมหาราชวัง ทรงศึกษาภาษาบาลี ในสำนักพระยาปริยัติธรรมธาดา (เปี่ยม) และหลวงธรรมานุวัติจำนง (จุ้ย) ทรงศึกษาภาษาอังกฤษในโรงเรียนหลวง ซึ่งมีมิสเตอร์ ฟรานซิส ยอร์ช แพตเตอร์สันเป็นพระอาจารย์ และทรงศึกษาวิชาหลักรัฐประศาสนศาสตร์จากพระบาทสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวง รัชกาลที่ ๕

พ.ศ.๒๔๗๒ ทรงได้รับพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ เป็น "สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ" ในรัชกาลที่ ๗ ซึ่งเป็นอิสริยยศสูงสุดสำหรับพระองค์ท่านตราบจนสิ้นพระชนม์

สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงเป็นองค์ปฐมเสนาบดีกระทรวงมหาดไทย องค์ปฐมผู้บัญชาการทหารบก อธิบดีกรมศึกษาธิการ (ตำแหน่งเทียบเท่าเสนาบดีกระทรวงศึกษาธิการ) อภิรัฐมนตรี นายกราชบัณฑิตยสภา และทรงบุกเบิกงานด้านโบราณคดีไทยศึกษา โดยทรงนิพนธ์หนังสือที่มีคุณค่าทางด้านประวัติศาสตร์และโบราณคดีไว้เป็นจำนวนมาก จนกระทั่งได้รับการยกย่องว่าเป็นองค์พระบิดาแห่งประวัติศาสตร์และโบราณคดี ทรงเป็นองค์ผู้อำนวยการก่อตั้งโรงเรียนข้าราชการพลเรือน โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย(รร.หลวงแห่งแรก) โรงเรียนเทพศิรินทร์ โรงเรียนอัสสัมชัญ(รร.เอกชนแห่งแรก) โรงเรียนนายร้อยทหารบก โรงเรียนนายร้อยตำรวจ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และโรงพยาบาลศิริราช

วันที่ ๒๑ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๐๕ องค์การยูเนสโกแห่งสหประชาชาติประกาศ เฉลิมฉลองวันประสูติ ครบ ๑๐๐ ชันษา สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชนุภาพ ให้ทรงเป็นคนไทยคนแรกที่ได้รับการถวายสดุดีเป็น "บุคคลสำคัญของโลก" โดยมีการจัดกิจกรรมเฉลิมพระเกียรติพร้อมกันในสมาชิกประเทศของยูเนสโกทั่วโลกเป็นเวลา ๑๔ วัน

วันที่ ๒๗ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๔ คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบกำหนดให้ วันที่ ๑ ธันวาคมของทุกปีเป็น "วันดำรงราชานุภาพ" เพื่อน้อมนำให้อนุชนรุ่นหลังได้รำลึกถึงสมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพผู้ทรงมีคุณูปการต่อแผ่นดินไทยเป็นอเนกอนันต์สืบไป

พ.ศ.๒๔๑๘ เมื่อมีพระชนม์ได้ ๑๓ พรรษา ได้ทรงผนวช เป็น สามเณรที่ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม สมเด็จกรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ ทรงเป็นพระอุปัชฌาย์ และประทับจำพรรษา ที่วัดบวรนิเวศวิหาร

พ.ศ.๒๔๒๐ ได้ทรงสำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนนายร้อยทหารบก ได้รับพระราชทานยศเป็นนายร้อยตรีทหารมหาดเล็ก บังคับกองแตรวง พระชนมายุได้ ๑๕ ปี

พ.ศ.๒๔๒๒ ได้รับพระราชทานยศเป็นนายร้อยโทผู้บังคับการทหารม้าในกรมมหาดเล็กและในปีเดียวกันนี้ได้รับพระราชทานยศเป็นนายร้อยเอก ราชองครักษ์ประจำพระองค์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระชนมายุ ได้ ๑๗ ปี

พ.ศ.๒๔๒๓ ได้รับพระราชทานยศเลื่อนเป็นนายพันตรี ผู้สนองพระบรมราชโองการ ว่าการกรมทหารมหาดเล็ก

พ.ศ.๒๔๒๔ โปรดเกล้าฯ ให้ย้ายไปสังกัดกรมทหารปืนใหญ่ ซึ่งเรียกกันในสมัยนั้นว่า “กรมกองแก้วจินดา"

พ.ศ.๒๔๒๕ ทรงผนวชเป็นพระภิกษุ ณ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม โดยสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ ทรงเป็นพระอุปัชญาย์ และ ประทับจำพรรษาที่วัดนิเวศธรรมประวัติ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

พ.ศ.๒๔๒๘ โปรดเกล้าฯ ให้ย้ายไปเป็นผู้บังคับการทหารมหาดเล็ก และได้รับพระราชทานยศเป็นนายพันโท

พ.ศ.๒๔๒๙ โปรดเกล้าฯ พระราชทานพระสุพรรณบัฎ และทรงประกาศแต่งตั้งให้ ดำรงพระอิสริยยศเป็น “กรมหมื่นดำรงราชานุภาพ”

พ.ศ.๒๔๓๐ โปรดเกล้าฯ ให้เป็น "ผู้บัญชาการทหารบก"

พ.ศ.๒๔๓๑ ได้รับพระราชทานยศเป็นนายพลตรี

พ.ศ.๒๔๓๒ โปรดเกล้าฯ ให้ย้ายจากงานฝ่ายทหารไปปฏิบัติงานทางพลเรือน ทรงเป็นผู้กำกับกรมธรรมการ

พ.ศ.๒๔๓๓ โปรดเกล้าฯ ให้เลื่อนขึ้นเป็นอธิบดีกรมศึกษาธิการ

พ.ศ.๒๔๓๕ -๒๔๕๘ โปรดเกล้าฯ ให้ดำรงตำแหน่ง "เสนาบดีกระทรวงมหาดไทย"

พ.ศ.๒๔๔๒ โปรดเกล้าฯ ให้เลื่อนพระอิสริยยศเป็น “กรมหลวงดำรงราชานุภาพ”

พ.ศ.๒๔๕๔ โปรดเกล้าฯ ให้เลื่อนพระอิสริยยศเป็น “กรมพระดำรงราชานุภาพ”

พ.ศ.๒๔๕๘ ดำรงตำแหน่งนายกหอพระสมุดสำหรับพระนคร

พ.ศ.๒๔๖๖ ดำรงตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงมุรธาธร และเป็นนายพลเอกเหล่าทหารบก

พ.ศ.๒๔๖๘ ดำรงตำแหน่งอภิรัฐมนตรี

พ.ศ.๒๔๖๙ ดำรงตำแหน่งนายกราชบัณฑิตยสภา

พ.ศ.๒๔๗๒ โปรดเกล้าฯ ให้เลื่อนพระอิสริยยศ เป็น “สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ”

พ.ศ.๒๔๘๖ สิ้นพระชนม์ ณ วังวรดิศ สิริรวมพระชันษาได้ ๘๑ ปี

๒๑ มิถุนายน ๒๔๑๖ เกิดอหิวาตกโรคในพระนคร ระบาดอยู่ ๓๐ วัน คนตายมาก

ประวัติการเกิดโรคในประเทศไทย

อหิวาตกโรคเป็นโรคเก่าแก่มีมานานแล้ว เชื่อกันว่าแหล่งของอหิวาตกโรคอยู่ในมณฑลเบงกอลประเทศอินเดียนานๆ ก็ระบาดทั่วโลกเสียครั้งหนึ่ง โรคที่ระบาดเข้ามาในประเทศไทยแต่ก่อนนั้นมักติดต่อจากต่างประเทศ ในระยะแรกมักมาโดยทางเรือที่เข้ามาค้าขายและนำโรคอหิวาต์ติดต่ามมาส่วนมากเริ่มต้นแถวมณฑลทางภาคใต้ก่อน แล้วเข้ามาจังหวัดสมุทรปราการและพระนคร ประวัติการระบาดในอดีตของประทเศไทยจนถึง พ.ศ. ๒๕๑๒ ท่านนายแพทย์ประเมิน จันทวิมล ได้ทำการค้นคว้าไว้สรุปโดยย่อคือ

ก่อนปรากฏการระบาดทั่วโลกครั้งที่ ๑ (ก่อน พ.ศ. ๒๓๖๐-๒๓๖๖) ได้ปรากฎตามพระราชพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขาของสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ กล่าวไว้ว่า สมัยพระเจ้าอู่ทองขึ้นครองราชสมบัติอยู่ ๖ ปี เกิดอหิวาตกโรคในพระนครปี พ.ศ. ๑๘๙๐ จึงย้ายเมืองหลวงจากจังหวัดสุพรรณบุรีมาเมืองอยุธยา ในปี พ.ศ.๑๘๙๓และในพ.ศ.๑๙๐๐ ได้เกิดมีอหิวาตกโรคขึ้นเป็นครั้งแรกในกรุงศรีอยุธยาซึ่งเป็นเมืองหลวงใหม่ ต่อจากนั้นมาก็ไม่มีบันทึกไว้ต่อมาจนถึงครั้งกรุงรัตนโกสินทร์ จึงได้มีบันทึกของ "เจ้าพระยาทิพากรวงศ์" เล่าเรื่องการระบาดของอหิวาตกโรคไว้ดังต่อไปนี้

ในรัชกาลที่ ๒ อหิวาตกโรคได้ระบาดขึ้นเมื่อปีมะโรง พ.ศ. ๒๓๖๓ ตรงกับการระบาดทั่วโลกครั้งแรก (พ.ศ. ๒๓๖๐-๒๓๖๖) ซึ่งไปจากอินเดีย โรคได้เข้ากรุงเทพมหานครโดยผ่านมาทางปีนัง และหัวเมืองฝ่ายตะวันตก มาจนถึงจังหวัดสมุทรปราการและจังหวัดพระนคร โรคระบาดมากอยู่ราว ๒ สัปดาห์

ในรัชกาลที่ ๓ โรคได้เกิดระบาดขึ้นมากในปี พ.ศ. ๒๓๙๒ ซึ่งตรงกับการระบาดทั่วโลกครั้งที่ ๒ (พ.ศ. ๒๓๘๙-๒๔๐๕) โรค ระบาดจากอินเดียไปทั่วยุโรป อเมริกา ระบาดเข้าประเทศไทยโดยผ่านเข้ามาทางปัตตานี สงขลา และประมาณ ๓ สัปดาห์ ก็ระบาดโดยทางเรือเข้าสมุทรปราการและกรุงเทพฯ

ในรัชกาลที่ ๔ โรคได้ระบาดขึ้นเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๐๓ ซึ่งตรงกับการระบาดทั่วโลกครั้งที่ ๓ โรคได้เกิดขึ้นที่เมืองตากก่อน แล้วลุกลามถึงกรุงเทพฯ การะบาดครั้งนี้ไม่รุนแรงนัก

ในรัชกาลที่ ๕ โรคระบาดใหญ่ในปี พ.ศ. ๒๔๑๖ ซึ่งตรงกับการระบาดทั่วโลกครั้งที่ ๔ (พ.ศ. ๒๔๐๖-๒๔๑๘) การระบาดทั่วโลกคราวนี้โดยชาวมุสลิม ซึ่งกลับจากแสวงบุญที่เมืองเมกกะได้นำโรคมาระบาดไปทั่วประเทศอาระเบีย แอฟริกา สำหรับทางทวีปเอเซียเข้าประเทศจีน มลายู และระบาดเข้าประเทศไทย

ในปี พ.ศ. ๒๕๒๔ ซึ่งตรงกับการระบาดใหญ่ทั่วโลกครั้งที่๕ (พ.ศ.๒๔๒๔-๒๔๓๙) โรคระบาดจากเมกกะเช่นเดียวกันการระบาดคราวนี้ที่อียิปต์ในปีพ.ศ. ๒๔๒๖ เป็นแหล่งที่ทำให้ โรเบิร์ต ค็อก ได้พบเชื้อโรคที่ทำให้เกิดอหิวาตกโรค จึงทำให้มีความรู้ในการป้องกันดีขึ้น โรคมนยุโรปและอเมริกาจึงเบาบางลงในยุโรปนอกจากรัสเซียไม่มีอหิวาตกโรคมาตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๔๖๖ และอเมริกาไม่มีมาแต่ปี พ.ศ. ๒๔๕๔ แต่เนื่องจากอหิวาตกโรคยังคงมีประปรายอยู่ในเอเชียและอียีปต์ จึงทำให้มีระบาดทั่วโลกอีกครั้งหนึ่งเป็นครั้งที่ ๖ ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๔๖๒-๒๔๖๖ โดยโรคระบาดมากในกัลกัตตาและบอมเบย์ แล้วไประบาดที่เมกกะ จากเมกกะ ก็ไปยุโรปโดยเข้ามาในรัสเซีย และในเอเซียก็คงจะมีระบาดที่ พม่า มลายู จีน ญี่ปุ่น ฟิลิปปินส์ และเข้าประเทศไทยผ่านจากพม่า ในปี พ.ศ. ๒๔๖๑ หลังจากนั้น โรคก็คงมีระบาดประปรายตลอดมา

พ.ศ. ๒๔๖๑-๒๔๖๓ โรคได้ตั้งต้นขึ้นที่จังหวัดตาก ซึ่งเข้าใจว่าต่อเนื่องมาจากการระบาดทั่วโลกครั้งที่ ๖ โดยผ่านมาจากประเทศพม่า และลุกลามไป ๕๑ จังหวัด

พ.ศ. ๒๔๖๘-๒๔๗๒ การระบาดเกิดขึ้นโดยเข้าใจว่ามาจากประเทศจีนที่ส่งเรือเข้ามาค้าขาย

พ.ศ. ๒๔๗๘-๒๔๘๐ การระบาดเริ่มเกิดที่จังหวัดกาญจนบุรี สงสัยมาจากพม่า ซึ่งกำลังมีการระบาดอยู่ในขณะนั้น และโรคได้แพร่อย่างรวดเร็วใน ๔๐ จังหวัด มีผู้ป่วย ๑๕,๕๕๗ ราย ตาย ๑๐,๐๐๕ ราย การระบาดคราวนี้ได้เริ่มใช้วัคซีนตามมาตรฐานสากลและได้มีการบังคับฉีดวัคซีนตามสถานีรถไฟและท่าเรือต่างๆ

พ.ศ. ๒๔๘๖-๒๔๙๐ ในระหว่างสงครามโลกครั้ง ๒ อหิวาตกโรคได้เริ่มระบาดที่จังหวัดกาญจนบุรี ในเชลยศึกพม่า มลายู และชวา ซึ่งกำลังสร้างทางรถไฟสายมรณะและมีการแพร่ระบาดโดยทางน้ำ

พ.ศ. ๒๕๐๑-๒๕๐๒ เร่มมีผู้ป่วยที่จังหวัดชลบุรีเป็นรายแรก และแพร่ระบาดไป ๓๘ จังหวัดมีผู้ป่วย ๑๙,๓๕๙ ราย ตาย ๒,๓๗๒ ราย ในจำนวนนี้เป็นผู้ป่วยในจังหวัดธนบุรี ๑๑,๔๐๑ ราย เชื้อที่เป็นสาเหตุ คือ เชื้ออหิวาต์แท้ (Classical Vibrio cholerae)

พ.ศ. ๒๕๐๓ พบอหิวาตกโรคจากเชื้อ El Tor-Ogawa ที่จังหวัดอุบลราชธานี ซึ่งในปีนั้น องค์การอนามัยโลกยังไม่ถือว่าอุจจาระร่วงจาก El Tor เป็นโรคที่ต้องแจ้งความ จนถึงปีพ.ศ. ๒๕๐๕ องค์การอนามัยโลก จึงนับเอา El Tor Vibrio เป็นอหิวาตกโรคด้วย

พ.ศ. ๒๕๐๖ มีการระบาดของ El Tor ที่จังหวัดนครศรีธรรมราช แล้วกระจายไปยังจังหวัดต่างๆ ๔๒ จังหวัด หลังจากนั้นมีอหิวาตกโรคกระจายประปรายทุกปี ส่วนใหญ่เป็น serotype Inaba โดยมีข้อสังเกตหลายประการคือ

๑.ท้องที่ที่มักจะมีอหิวาตกโรคเกิดเป็นประจำเกือบตลอดปี มักเป็นท้องที่ที่มีเขตติดต่อกับทะเลมีน้ำทะเลขึ้นลงน้ำในลำน้ำบางตอนกร่อยอยู่เสมอ เช่น จังหวัดสมุทรสงคราม สมุทรสาคร สมุทรปราการ เพชรบุรี ชลบุรี ระยอง จันทบุรี

๒. อาการผู้ป่วยเนื่องจากเชื้อ Cholera El Tor โดยทั่ว ๆ ไปไม่มีอาการรุนแรงเหมือนอาการของผู้ป่วย เนื่องจากเชื้อ Classical Vibrio cholerae นี่เป็นเหตุหนึ่งที่ผู้ป่วยบางรายเป็นอหิวาต์อย่างอ่อนก็คิดว่าตนเป็นโรคท้องเสียธรรมดา ไม่ได้ไปหาแพทย์ เจ้าหน้าที่อนามัยไม่ได้รับทราบการดำเนินงานป้องกันการแพร่หลายของโรคก็เลยมิได้กระทำ

๓. ผู้สัมผัสโรคหลายรายกายเป็นพาหะโรค แล้วก็นำโรคไประบาดท้องที่ต่างๆ

๔. การคมนาคมในประเทศไทย สมัยปัจจุบันสะดวกและรวดเร็วมาก ดังนั้นเมื่อมีโรคเกิดขึ้นที่จังหวัดหนึ่งภายในระยะเวลาไม่กี่วัน โรคก็อาจไปเกิดที่จังหวัดอื่นที่อยู่ไกล ๆ ออกไปได้

พ.ศ. ๒๕๒๐-๒๕๒๓ มีผู้ป่วย ๑๐,๐๙๒ ราย ตาย ๒๗๑ ราย การระบาดแบ่งได้เป็น ๓ ครั้ง

ครั้งแรกเดือนเมษายน พ.ศ.๒๕๒๐ ที่จังหวัดตาก

ครั้งที่ ๒ เดือนกันยายน พ.ศ. ๒๕๒๐ เริ่มที่จังหวัดระนอง

ครั้งที่ ๓ เดือนตุลาคม ๒๕๒๐ จังหวัดกรุงเทพฯ จากนั้นมีจำนวนผู้ป่วยเพิ่มขยายไป ๕๙ จังหวัด

พ.ศ. ๒๕๓๐ มีรายงานผู้ป่วยอหิวาตกโรคจำนวนมาก ๕,๓๑๑ ราย ส่วนใหญ่อยู่ในจังหวัดทางภาคกลาง กระทรวงสาธารณสุข จึงกำหนดนโยบายเร่งรัดการควบคุมอหิวาตกโรคขึ้น ในต้นปีพ.ศ. ๒๕๓๑ และมีบัญชาให้ทุกส่วนราชการร่วมกันดำเนินการกวาดล้างอหิวาตกโรค

พ.ศ. ๒๕๓๑ เริ่มพบเชื้อ El - Tor Ogawa ที่สระบุรี ,ศรีสะเกษ , สมุทรสงคราม และกรุงเทพมหานคร

พฤศจิกายน ๒๕๓๑ กระทรวงพาณิชย์ได้แจ้งปัญหาการส่งออกสินค้าไทยไปประเทศชาอุดิอารเบียอันเนื่องจากการที่ประเทศไทยมีรายงานผู้ป่วยอหิวาตกโรค และขอให้กระทรวงสาธารณสุขติดต่อองค์การอนามัยโลกให้ลบชื่อประเทศไทยออกจากบัญชีประเทศที่เป็นเขตโรคติดต่อ

ธันวาคม ๒๕๓๑ กองระบาดวิทยางดการายงานผู้ป่วยอหิวาตกโรคไปยังองค์การอนามัยโรค

พ.ศ. ๒๕๓๒ พบเชื้อ El-Tor Ogawa ใน ๑๕ จังหวัด คือ อุบลราชธานี ,นครราชสีมา , ตาก, เชียงใหม่,ระนอง,กรุงเทพฯ, นนทบุรี, ปทุมธานี, อยุธยา, ขอนแก่น , เชียงใหม่ , ลำพูน ,ลำปาง , อุทัยธานี และชุมพร

กุมภาพันธ์ ๒๕๓๒ กระทรวงสาธารณสุขแจ้งองค์การอนามัยโลกให้ถอนชื่อพื้นที่จังหวัดต่างๆ ของประเทศออกจากบัญชีเขตโรคติดต่ออหิวาตกโรค (เมื่อไม่มีผู้ป่วยในพื้นที่นั้น เป็นเวลาติดต่อกันเกิน ๒๑ วัน)

มิถุนายน ๒๕๓๒ องค์การอนามัยโลกได้ดำเนินการตามที่ประเทศไทยแจ้ง พร้อมทั้งลงพิมพ์ประกาศข้อความใน Weekly Epidemiological Record ว่าประเทศไทยไม่มีรายงานผู้ป่วยอหิวาตกโรค นอกจากนั้นกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข จะตรวจสอบและรับรองว่าอาหารทะเล ตลอดจนผลิตภัณฑ์อาหารอื่นๆ ที่บริษัทผู้ส่งออกส่งมาให้ตรวจปลอดจากเชื้ออหิวาตกโรค ก่อนนำออกจำหน่ายยังต่างประเทศ

พ.ศ. ๒๕๓๓ พบเชื้อ El Tor Ogawa ทั่วทุกภาคของประเทศ และพบมากที่สุดในภาคเหนือ รองลงมาเป็นภาคกลาง

มีนาคม ๒๕๓๓ กระทรวงสาธารณสุขจัดการประชุมเร่งรัดการติดตามการควบคุมโรคอุจจาระร่วงอย่างแรง สรุปสาระสำคัญคือ

๑. กระทรวงสาธารณสุขมีนโยบายให้ความสำคัญต่อการป้องกันและควบคุมโรคอุจจาระร่วงอย่างแรง

๒. ให้เรียก Cholera ว่าโรคอุจจาระร่วงอย่างแรง

๓. กำหนดพื้นที่ดำเนินการออกเป็น ๓ กลุ่ม คือ

๓.๑ พื่นที่ที่ยังไม่เกิดโรค ให้เตรียมการป้องกันล่วงหน้า

๓.๒ พื้นที่ที่เกิดโรคแล้ว แต่ยังมีจำนวนไม่มากให้ตั้งหน่วยเคลื่อนที่เร็วออกควบคุมโรคให้สงบโดยไม่ชักช้า และดำเนินการด้านสุขาภิบาลควบคู่ไปด้วย

๓.๓ พื้นที่ที่เกิดโรคมากแล้ว ให้ดำเนินการเต็มที่และรายงานทุกวัน ทั้งนี้ กระทรวงสาธารณสุขจะให้การช่วยเหลือสนับสนุนเต็มที่ โดยกองสาธารณสุขภูมิภาคพิจารณาจัดสรรงบประมาณหมวดค่าตอบแทน ค่าใช้สอยและวัสดุ สนับสนุนให้แก่จังหวัดที่เกิดโรคมาก และให้สาธารณสุขนิเทศก์ที่รับผิดชอบเขตต่างๆ ติดตามป้องกันและควบคุมโรค โดยเน้นให้มีการสอบสวนการเร่งรัดค้นหาผู้ป่วย การรายงานและการดำเนินการควบคุมโรคให้สงบโดยเร็ว

อนึ่งปัจจุบัน องค์การอนามัยโลก กำลังพัฒนาระบบการรายงานโรคตามกลุ่มอาการ (syndromic reporting) โดยในขั้นต้นแบ่งเป็น ๕ กลุ่ม คือ กลุ่มอาการไข้และมีเลือดออก กลุ่มอาการระบบทางเดินหายใจ กลุ่มอาการระบบทางเดินอาหารกลุ่มอาการอื่นๆ ทั้งนี้เพื่อประโยชน์สำคัญสองประการคือ

๑. เพื่อให้สามารถรายงานโรคได้โดยรวดเร็ว ไม่ต้องรอการยืนยันการวินิจฉัยโรค จะได้ควบคุมโรคได้โดยรวดเร็วตามหลักการควบคุมโรคติดต่อ นั้นคือ รู้เร็ว ควบคุมเร็ว

๒. เพื่อให้ประเทศต่างๆ รายงานโรคติดต่อโดยไม่ต้องกลัวผลกระทบต่อเศรษฐกิจ

การใช้ชื่อโรคอุจจาระร่วงอย่างแรงของประเทศไทย ถึงแม้จะไม่สอดคล้องกับสากลในระยะแรกแต่จะสอดคล้องกับแนวทางการรายงานโรคระหว่างประเทศที่องค์การอนามัยโลกกำลังพัฒนาขึ้นในอนาคต

ในช่วงระหว่างปี พ.ศ. ๒๕๓๓-๒๕๓๕ ประเทศไทยมีรายงานผู้ป่วยด้วยอุจจาระร่วงอย่างแรงปีละ ๔,๐๐๐-๕,๐๐๐ ราย แต่ในปี พ.ศ. ๒๕๓๖-๒๕๓๗ ได้มีการระบาดใหญ่เกิดขึ้นมีผู้ป่วยมากกว่าหมื่นรายต่อปี ทั้งนี้การระบาดที่เกิดขึ้น น่าจะมีความเกี่ยวพันกับการเกิดสภาวะภัยแล้ง และการเปลี่ยนแปลงของการขยายตัวทางเศรษฐกิจในภาคอุตสาหกรรมที่ก่อให้เกิดงานก่อสร้างเป็นจำนวนมาก โดยที่สภาวะสุขาภิบาลของชุมชนก่อสร้างส่วนใหญ่มีสภาพที่ไม่ถูกสุขลักษณะ ทำให้เป็นปัจจัยสำคัญที่ก่อให้เกิดการระบาดของโรคในกลุ่มคนงานรับจ้างก่อสร้างจำนวนมาก ประกอบกับในปี พ.ศ. ๒๕๓๗ มีการระบาดของเชื้อ Vibrio cholerae O๑๓๙ ซึ่งเป็นสายพันธุ์ใหม่ที่เชื่อว่าเป็นผลกระทบติดต่อมาจากการระบาดในประเทศอินเดียและบังคลาเทศ ซึ่งมีจำนวนถึงร้อยละ๔๒.๔ ของผู้ป่วยทั้งหมด

สำหรับในปี พ.ศ. ๒๕๓๘-๒๕๓๙ จำนวนผู้ป่วยได้ลดลงเหลือประมาณ ๓๐๐๐ รายต่อปี ซึ่งเชื่อว่าเป็นผลมาจากการที่จังหวัดมีแผนการป้องกันโรคล่วงหน้าที่ชัดเจน และมีการจัดทีมปฎิบัติงานควบคุมโรคเชิงรุกต่อเนื่องและจริงจัง และในปี พ.ศ. ๒๕๔๐ จำนวนผู้ป่วยได้ลดลงต่ำสุดในรอบ ๑๐ ปี พบผู้ป่วยเพียง ๘๕๒ ราย ตาย ๑๒ ราย

ลักษณะการกระจายของโรคในช่วงระหว่างปี พ.ศ. ๒๕๓๖-๒๕๔๐ พบว่าผู้ป่วยส่วนใหญ่ประมาณร้อยละ ๓๕-๔๐ มีอาชีพรับจ้าง และเมื่อจำแนกตามกลุ่มอายุ พบว่าเป็นวัยแรงงานมาก (อายุ ๑๕-๔๔ ปี) ร้อยละ ๕๐-๕๕ และเป็นเด็กอายุต่ำกว่า ๕ ปี ร้อยละ ๕-๑๐ เดือนที่มีรายงานผู้ป่วยมากอยู่ในช่วงฤดูร้อนระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ถึงมิถุนายน ภาคกลางยังเป็นพื้นที่ที่มีอัตราป่วยสูงสุดและภาคเหนือมีอัตราป่วยต่ำสุด เมื่อจำแนกชนิดของเชื้อที่ตรวจพบ ส่วนใหญ่เกือบทั้งหมดเกิดจากเชื้อ V.cholerae O๑ El Tor serotype Ogawa พบ serotype Inabs เพียงร้อยละ ๐.๖-๔๗ ยกเว้นในปี พ.ศ. ๒๕๓๗ ที่มีผู้ป่วยจากเชื้อ V.cholerae O๑๓๙ สูงถึง ๔๒.๔ % แต่หลังจากนั้นในปีต่อ ๆ มา พบผู้ป่วย O๑๓๙ ประปรายปีละ ๑๐-๒๔ ราย

แม้จำนวนผู้ป่วยในปี พ.ศ. ๒๕๔๐ จะลดลงมากเป็นปรากฏการณ์ แต่มีข้อสังเกตว่าปี ๒๕๔๐ มีรายงานผู้ป่วยชาวต่างประเทศชาติสูงถึง ๘๐๓ ราย และส่วนใหญ่เป็นการระบาดในค่ายผู้อพยพชาวกระเหรี่ยงพม่าในหลายจังหวัดทางทิศตะวันตกที่มีเขตติดต่อไทยพม่า อันเนื่องมาจากการอพยพหนีภัยสงครามทั้งนี้ได้มีการเก็บข้อมูลผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการของโรงพยาบาลแม่สอด จังหวัดตาก จำนวน ๑๘๙ ตัวอย่าง พบเชื้อมีการดื้อต่อยาด้านจุลชีพหลายชนิดพร้อมกันในอัตราที่สูงผิดปกติ โดยเฉพาะTetracycline มีอัตราดื้อยาถึงร้อยละ ๙๐ และในปลายปี พ.ศ.๒๕๔๐ ได้เริ่มมีการระบาดของโรคอุจจาระร่วงอย่างแรงในจังหวัดทางภาคใต้ และการระบาดได้ขยายเป็นวงกว้างไปเกือบทั้งประเทศในช่วงต้นปี พ.ศ. ๒๕๔๑

ปี พ.ศ. ๒๕๔๑ มีผู้ป่วยโรคอุจจาระร่วงอย่างแรงที่ได้รับรายงานจากกองระบาดวิทยาทั่วประเทศ ๔,๕๑๕ ราย เสียงชีวิต ๒๓ ราย (และมีผู้ป่วยชาวต่างชาติ ๑๔๔ ราย เสียชีวิต ๓ ราย) ในจำนวนนี้เป็นผู้ป่วยที่รับการรักษาในโรงพยาบาล ,สถานีอนามัย (Passive case finding) ๔,๐๕๐ ราย และเป็นผู้ป่วยที่ค้นหาได้ในชุมชน (Active case finding) ๔๖๐ ราย เมื่อวิเคราะห์จำแนกตามอายุ พบว่าผู้ป่วยส่วนใหญ่เป็นผู้สูงอายุและเด็กอายุต่ำกว่า ๕ ปี คิดเป็นอัตาป่วย ๑๗.๖๓ และ ๑๓.๘๕ ต่อแสนประชากร ตามลำดับ มีการระบาดของโรคเกิดขึ้นในช่วงเดือนมกราคม-เมษายน โดยเฉพาะจังหวัดทางภาคใต้ของประเทศมีอัตราป่วยสูงสุด ๑๖.๕๕ ต่อแสนประชาชน

การระบาดเริ่มขึ้นตั้งแต่ปลายปี พ.ศ. ๒๕๔๐ในจังหวัดภาคใต้ ได้แก่ ชุมพร และสุราษฎร์ธานีและได้กระจายขยายตัวลงไปยังจังหวัดในภาคใต้ตอนล่างของประเทศ โดยเฉพาะจังหวัดในพื้นที่เขต ๑๒ (สงขลา ตรัง ปัตตานี สตูล และพัทลุง ซึ่งมีชายฝั่งติดทะเลด้านอ่าวไทย) รวมไปถึงจัวหวัดในเขตภาคกลางและภาคตะวันออกทีมีพื้นที่อยู่รอบอ่าวไทย เช่น จังหวัดสมุทรสาคร สมุทรสงคราม ชลบุรีโดยรายงานการระบาดได้เพิ่มขึ้นสูงสุดในช่วงเดือนกุมภาพันธ์-มีนาคม ๒๕๔๑ ซึ่งเป็นช่วงที่ประเทศประสบกับภาวะภัยแล้ง อันเป็นผลกระทบจากปรากฎการณ์ เอลนิโญ่ และมีการกระจายต่อลึกเข้าไปในพื้นที่ภาคตะวันออก ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคเหนือตอนล่างในช่วงเดือนเมษายน-กรกฎาคม โดยรวมแล้วพบผู้ป่วยกระจายเกือบทั่วประเทศ อนึ่ง ในเดือนมีนาคมได้เกิดกรณีนักท่องเที่ยวชาวฮ่องกงติดเชื้ออุจจาระร่วงอย่างแรงจากประเทษไทย ซึ่งในระยะแรกก่อให้เกิดผลกระทบต่อธุรกิจการท่องเที่ยว

เมื่อจำนวนผู้ป่วยในปี พ.ศ. ๒๕๔๑ ตามกลุ่มอายุ พบว่า มีการเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมที่เคยเป็นกลุ่มวัยแรงงานมากกลับพบผู้ป่วยส่วนใหญ่เป็นผู้สูงอายุและเป็นเด็กอายุต่ำกว่า ๕ ปี ซึ่งบ่งชี้ว่าการระบาดที่เกิดขึ้นมีการกระจายเข้าไปในชุมชน โดยปนเปื้อนมากับอาหาร น้ำดื่ม น้ำใช้ และมีอัตราการพบผู้เป็นพาหะในพื้นที่ที่มีการระบาดสูงกว่าทุกปีผ่านมา และช่วงแรกของการระบาดในจังหวัดที่ติดชายทะเล พบผู้ป่วย ส่วนหนึ่งเป็นลูกเรือชาวประมง และเป็นแรงงานต่างชาติชาวพม่า

จากรายงานการสอบสวนโรคในหลายแห่งที่มีการระบาดเกิดขึ้น พบว่า แหล่งสำคัญในการแพร่โรค ได้แก่ ตลาดสดรถเร่ขายอาหาร เรือประมง โรงฆ่าสัตว์ ชุมชนก่อสร้างที่มีสภาพสุขาภิบาลไม่ดีและการจัดเลี้ยงในงานบุญงานบวชงานศพ อาหารที่สงสัยหรือมีการตรวจพบเชื้อ ได้แก่ อาหารทะเล (เช่น หอยแครง ปลาหมึก ปลา),กะทิ ,เฉาก๊วย และเนื้อวัวมาปรุงดิบๆ สุก ๆ

สืบเนื่องจากการเฝ้าระวังทางห้องปฎิบัติการในระยะหลัง พบว่า เชื้อมีการดื้อยา Tetracuycline ในอัตราที่สูง โดยเฉพาะในพื้นที่ที่ภาคใต้และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จึงมีความจำเป็นที่จะต้องเคร่งครัดมิให้มีการใช้ยาปฏิชีวนะโดยไม่จำเป็น โดยเฉพาะผู้สัมผัสที่ไม่มีอาการจะได้รับยาต่อเมื่อผลการตรวจอุจจาระ พบเชื้อเท่านั้น และควรพิจารณาใช้ยาตามผลความไวของเชื้อต่อยาในแต่ละท้องถิ่นและตามแนวทางการรักษาของกรมควบคุมโรคติดต่อ ซึ่งยังถือว่ายา Tetracycline และ Doxycycline เป็นยาพื้นฐานในการรักษา ทั้งนี้ยา Norfloxacin จะพิจารณาใช้เฉพาะรายที่มีการดื้อต่อยาดังกล่าวข้างต้นเท่านั้น

ความร่วมมือของหน่วยงานทุกระดับตั้งแต่ส่วนกลาง ระดับเขตและระดับจังหวัด ในการรณรงค์เร่งรัดป้องกันและควบคุมการระบาดของโรคอย่างจริงจังตามแนวนโยบายของกระทรวงสาธารณสุขทำให้สามารถหยุดยั้งและควบคุมการระบาดโรคได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ที่มา.- กลุ่มงานพัฒนายุทธศาสตร์, สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอุทัยธานี

http://www.planuthai.myokhost.com/page๑๘.php

๒๑ มิถุนายน ๒๔๓๒

ทหารสามารถกวาดต้อนพวกอั้งยี่ในกรุงเทพ ฯ ที่เกิดวิวาทกันเองแล้วยกกำลังเข้าต่อสู้กันที่โรงสีปล่องเหลี่ยมบางรัก มีการตั้งสนามเพลาะเพื่อสู้รบกันบนถนนเจริญกรุง กระทรวงนครบาลไม่สามารถปราบปรามได้ จึงต้องใช้กำลังทหารบก และทหารเรือเข้าปราบ

๒๒ มิถุนายน ๒๔๑๖

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้า ฯ ให้เปลี่ยนธรรมเนียมหมอบคลานเข้าเฝ้าเป็นยืนเฝ้า

๒๒ มิถุนายน ๒๔๕๕

แต่งตั้ง เลื่อนยศทหาร ให้เป็นนายทหารพิเศษของกองทัพบก

นายพันเอก เจ้าบุญวาทย์วงศามานิต เป็น นายพลตรี

เจ้าแก้วนวรัฐ เป็น นายพันเอก

เจ้าจักรคำขจรศักดิ์ เป็น นายพันเอก

นายพันโท เจ้าอุปราชเมืองนครน่าน เป็น นายพันเอก

เจ้าราชบุตรเมืองนครเชียงใหม่ เป็น ร้อยเอก

เจ้าอุปราชเมืองนครลำปาง เป็น นายร้อยเอก

เจ้าราชวงศ์เมืองนครเชียงใหม่ เป็น นายร้อยเอก

การแต่งตั้งยศทหาร ให้เป็นนายทหารพิเศษของกองทัพบก ไม่ทราบว่าเริ่มเมื่อใดแต่ปรากฎในทำเนียบทหารบก ร.ศ.๑๒๒ (พ.ศ. ๒๔๔๖) มีเจ้านายฝ่ายเหนือและใต้ได้รับยศทหารแล้วคือ

นายพันเอก เจ้าอินทวโรรสสุริยวงศ์ เจ้านครเชียงใหม่ พระบิดาของเจ้าดารารัศมี

นายพันโท พระยาเสนีณรงค์ฤทธิ์ รายามดา เมืองไทยบุรี

นายพันตรี เจ้าราชบุตร เมืองเชียงใหม่

นายร้อยเอก เจ้าไชยสงคราม เมืองนครเชียงใหม่

นายร้อยตรี น้อยสมพมิตร เมืองนครเชียงใหม่

วันที่ ๒๒ มิถุนายน

เป็นวันที่ ๑๗๓ ของปี (วันที่ ๑๗๔ ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก ๑๙๒ วันในปีนั้น

 

๒๒ มิถุนายน พ.ศ. ๒๑๗๖ (ค.ศ. ๑๖๓๓) –

สภาศักดิ์สิทธิ์ในกรุงโรมบังคับให้กาลิเลโอยอมรับว่า ทฤษฎีโลกเป็นศูนย์กลางจักรวาล

๒๒ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๔ (ค.ศ. ๑๙๔๑) –

นาซีเยอรมันรุกรานสหภาพโซเวียตในยุทธการบาร์บารอสซา

๒๒ มิถุนายน พ.ศ. ๒๓๐๐ (ค.ศ. ๑๗๕๗) –

วันเกิด จอร์จ แวนคูเวอร์ นักสำรวจชาวอังกฤษ (เสียชีวิต พ.ศ. ๒๓๔๑)

๒๒ มิถุนายน พ.ศ. ๒๓๑๐ (ค.ศ. ๑๗๖๗) –

วันเกิด วิลเฮล์ม ฟอน ฮุมโบลท์ นักปรัชญาและรัฐบุรุษชาวเยอรมัน (เสียชีวิต ค.ศ. ๑๘๓๕)

๒๒ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๓๐ (ค.ศ. ๑๘๘๗) –

วันเกิด จูเลียน ฮักซ์เลย์ นักชีววิทยาชาวอังกฤษผู้สนับสนุนทฤษฎีของชาร์ล ดาร์วิน (เสียชีวิต ค.ศ. ๑๙๗๕)

๒๒ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๑๒ (ค.ศ. ๑๙๖๙) –

จูดี การ์แลนด์ นักแสดง/นักร้อง ชาวอเมริกัน เสียชีวิต

๒๒ มิถุนายน ๒๕๑๖ –

สถานีอวกาศสกายแลป (skylab) ตกลงมายังมหาสมุทรแปซิฟิกอย่างปลอดภัย หลังจากขึ้นไปปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์บนห้วงอวกาศเป ็นเวลา ๒๘ วัน

๒๒ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๑๙ (ค.ศ. ๑๙๗๖) –

สภาผู้แทนราษฎรแคนาดาลงมติยกเลิกโทษประหารชีวิต

๒๒ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๒๙ –

ทั่วโลกต่างตื่นตะลึง เมื่อ ดิเอโก มาราโดนา (Diego Maradona) นักฟุตบอลทีมชาติอาร์เจนตินา ยิงประตูทีมชาติอังกฤษ หลังจากที่ทุกสายตาทั่วโลกมองเห็นว่าเขาใช้ มือปัดลูก แต่กรรมการไม่ถือว่าลูกนั้นฟาล์ว ดิเอโก กล่าวว่า นั่นเป็น หัตถ์ของพระเจ้า (Hand of God goal) และทำให้อาร์เจนตินาสามารถเข้ารอบ ไปชิงกับทีมชาติเยอรมัน และสามารถเอาชนะ เป็นแชมป์ฟุตบอลโลกในปีนั้นได้

๒๒ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๓๙ (ค.ศ. ๑๙๙๖) –

กมส์คอมพิวเตอร์ เควก (Quake) ออกวางจำหน่าย

๒๒ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๔๕ (ค.ศ. ๒๐๐๒) –

เกิดแผ่นดินไหวขนาด ๖.๕ ริกเตอร์ที่ภาคตะวันตกของประเทศอิหร่านส่งผลให้มีผู้ เสียชีวิตมากกว่า ๒๖๑ ราย

 

๒๓ มิถุนายน ๒๑๕๕

เรือสำเภาอังกฤษชื่อ โกลบ เดินทางมาถึงปัตตานี นับเป็นเรืออังกฤษลำแรกที่เดินทางมาไทยในสมัยสมเด็จพระเอกาทศรถ

๒๔ มิถุนายน : วันเปลี่ยนแปลงการปกครอง

๒๔ มิถุนายน ๒๔๗๕

คณะราษฎร์ได้ก่อการเปลี่ยนแปลงการปกครองของประเทศสยาม ให้พระมหากษัตริย์อยู่ใต้รัฐธรรมนูญ

๒๔ มิถุนายน ๒๓๒๙

เกิดอหิวาตกโรคระบาดในกรุงเทพ ฯ ระหว่าง ๑๗ มิถุนายน ถึง ๑๕ กรกฎาคม ๒๓๒๙ วันนี้เป็นวันที่มีคนตายมากที่สุดถึง ๗๐๐ ศพ เฉพาะที่เผาที่วัดสระเกศ วัดสังเวช วัดบพิตธพิมุข

๒๔ มิถุนายน ๒๔๘๒

เปลี่ยนชื่อประเทศสยาม เป็นประเทศไทย เป็นครั้งแรกที่เริ่มมีรัฐนิยมคือ การชี้นำในเรื่องการนิยมไทย ครั้นถึง ๗ กันยายน ๒๔๘๘ จึงเปลี่ยนกลับไปใช้คำว่า “ประเทศสยาม” ตามเดิม

๒๔ มิถุนายน ๒๔๘๓

กำหนดให้ วันที่ ๒๔ มิถุนายน เป็นวันชาติ

๒๔ มิถุนายน ๒๔๘๕

มีพิธีเปิด อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ ที่บริเวณต้นทางหลวงประชาธิปัตย์ ซึ่งต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็นทางหลวงพหลโยธิน เพื่อเป็นอนุสรณ์ของผู้ที่กล้าหาญของชาติ ที่ได้เสียชีวิตไปในการรบ เรียกร้องการปรับปรุงเส้นเขตแดนกับอินโดจีนฝรั่งเศส ชื่อของวีรชนไทยดังกล่าวจำนวน ๑๖๐ คน ได้จารึกไว้ ณ อนุสาวรีย์แห่งนี้

๒๔ มิถุนายน ๒๔๙๗

บริษัท ททท. เปิดสถานีส่งโทรทัศน์เป็นครั้งแรก สถานีนี้เรียกว่าช่อง ๔ สถานีตั้งอยู่ที่วังบางขุนพรหม

 

๒๕ มิถุนายน วันไอโอดีนแห่งชาติ

วันไอโอดีนแห่งชาติ ปัญหาการขาดไอโอดีนเป็นปัญหาสาธารณสุขของประเทศไทยทำให้เกิดโรคคอพอก พบมากในภาคเหนือ กรมอนามัย โดยกองโภชนาการ ได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงรับเป็นองค์ประทานในคณะกรรมการควบคุมโรคขาดสารไอโอดีนแห่งชาติ จนสามารถรวมพลังความร่วมมือจากหน่วยงานภาครัฐ เอกชน ตลอดจนประชาชนในการดำเนินกิจกรรมตามโครงการควบคุมโรคขาดสารไอโอดีแห่งชาติ จนประสบความสำเร็จ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๔๓ ด้วยพระมหากรุณาธิคุณในการวินิจฉัยปัญหาและพระราชทานแนวทางแก้ไขปัญหาจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จนเป็นที่ประจักษ์แก่ประชาคมโลก สภานานาชาติเพื่อการควบคุมการขาดสารไอโอดีน (International for Council of Iodine Deficiency Diorders , ICCIDD) จึงได้ทูลเกล้าถวายเหรียญทอง ICCIDD แด่พระบาทสามเด็จพระเจ้าอยู่หัว นับเป็นพระมหากษัตริย์พระองค์แรกของโลกที่ได้รับรางวัลดังกล่าว เมื่อวันที่ ๒๕ มิถุนายน ๒๕๔๐

 

๒๕ มิถุนายน ๒๔๕๐

มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์แห่งอังกฤษได้ทูลเกล้า ฯ ถวายปริญญาทางกฎหมาย (Doctorof Law) กิตติมศักดิ์แก่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวนับเป็นพระมหากษัตริย์พระองค์แรกในทวีปเอเซีย ที่ได้รับการถวายพระเกียรติดังกล่าว

๒๖ มิถุนายน วันสุนทรภู่,วันต่อต้านยาเสพติดโลก,วันสากลแห่งสหประชาชาติในการช่วยเหลือผู้ตกเป็นเหยื่อของการทารุณ

วันต่อต้านยาเสพติดโลก ยาเสพติดก่อให้เกิดโทษต่อร่างกายและจิตใจของผู้เสพ บางชนิดก่อให้เกิดอันตรายถึงชีวิต นำความเดือดร้อนมาสู่ครอบครัว สังคมและประเทศชาติ ปัญหายาเสพติดเป็นปัญหาสังคมที่มีความสำคัญและทวีความรุนแรงมากขึ้นตามลำดับ ทั้งยังแพร่ระบาดไปทั่วโลก องค์การอนามัยโลกได้เล็งเห็นความสำคัญของปัญหานี้จึงได้จัดประชุมเพื่อประสานความพยายามในการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดของประเทศต่าง ๆ โดยในการประชุมว่าด้วยการใช้ยาในทางที่ผิดและลักลอบค้ายาเสพติด (ICDAIT) ณ กรุงเวียนนา ประเทศ

ออสเตรีย เมื่อวันที่ ๑๗ - ๒๖ มิถุนายน ๒๕๓๐ ที่ประชุมมีมติให้เสนอให้ที่ประชุมสมัชชาใหญ่สหประชาชาติกำหนดให้วันที่ ๒๖ มิถุนายน เป็นวัน “วันต่อต้านยาเสพติด”

กิจกรรม จัดนิทรรศการเกี่ยวกับยาเสพติด รณรงค์ต่อต้านการติดยาเสพติด ให้คำปรึกษาเกี่ยวกับการเลิกยาเสพติด การเผาทำลายยาเสพติดให้โทษของกลางคดีสิ้นสุดลงแล้ว การฝึกอบรมต่าง ๆ การประชุมสัมมนา การมอบโล่เกียรติคุณแก่บุคคลและองค์กรที่ร่วมมือและสนับสนุนการดำเนินงานต่อต้านยาเสพติด

๒๖ มิถุนายน ๒๔๗๕

ประกาศปลด นายทหารชั้นนายพลทั้งกองทัพ เมื่อคราวคณะราษฎร์ยึดการปกครอง แล้วกลับให้มียศนายพล เมื่อ ๓๑ ตุลาคม ๒๔๗๙

๒๗ มิถุนายน ๒๔๑๒

ประกาศตั้ง สมเด็จเจ้าพระยามหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) เป็นผู้สำเร็จราชการแผ่นดิน

เจ้าพระยาทิพากรวงศ์ (ขำ บุนนาค) เป็นผู้สำเร็จราชการต่างประเทศ

เจ้าพระยาสุรวงศ์ไวยวัฒน์ (วร บุนนาค) เป็นสมุหพระกลาโหม

ขณะที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ยังทรงพระเยาว์

 

๒๘ มิถุนายน อุทยานแห่งชาติเขาสามร้อยยอดได้รับการประกาศเป็นอุทยานแห่งชาติทางทะเล แห่งแรก ( ปี พ.ศ. ๒๕๐๙)

๒๘ มิถุนายน ๒๒๒๙

ออกพระวิสูตรสุนทร ได้เป็นราชทูตออกไปเมืองฝรั่งเศส เดินทางถึงเมืองเบรสต์ นำเด็กไทยไปด้วย ๑๒ คน

๒๙ มิถุนายน ๒๔๔๕

ประกาศใช้ พระราชบัญญัติธนบัตร ร.ศ.๑๒๑ ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

๒๙ มิถุนายน ๒๔๙๔ วันกบฎแมนฮัตตัน

กบฏแมนฮัตตัน เป็นชื่อเรียกเหตุการณ์การกบฏในวันที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2494 เมื่อทหารเรือกลุ่มหนึ่ง นำโดย น.ต.มนัส จารุภา รน. ทำการกบฏจี้ตัว จอมพล ป. พิบูลสงคราม ระหว่างเป็นประธานในพิธีรับมอบเรือขุดสันดอนสัญชาติอเมริกัน ชื่อ แมนฮัตตัน ที่กองบัญชาการกองทัพเรือ เขตบางกอกใหญ่ กรุงเทพมหานคร โดยนำไปกักขังไว้ในเรือหลวงชื่อ "ศรีอยุธยา" ที่จอดรออยู่กลางแม่น้ำเจ้าพระยา

ในความเป็นจริง กรณี กบฎแมนฮัตตัน เป็นกรณีต่อเนื่องระหว่างความขัดแย้งของ ฝ่ายรัฐประหารที่โค่นอำนาจรัฐบาลสนับสนุนนายปรีดี พนมยงค์ฝ่ายหนึ่ง และกำลังสนับสนุนนายปรีดี อีกฝ่ายที่ประกอบขึ้นระหว่างกองกำลังเสรีไทย และกำลังทหารเรืออีกฝ่ายหนึ่ง เหตุการณ์นี้ขัดแย้งยืดเยื้อจนกระทั่งเกิดเหตุการณ์ กบฎวังหลวง ซึ่งลงเอยด้วยการลี้ภัยของนายปรีดี แต่รัฐบาลยังไม่กล้าทำอะไรกับกองทัพเรือ จนกระทั่งมีการกระทบกระทั่งกันอีกหลายครั้ง

หัวหน้าคณะก่อการ คือ น.อ. อานนท์ บุญฑริกธาดา รน. สั่งการให้ทหารเรือกลุ่มที่สนับสนุนการก่อการมุ่งหน้าและตรึงกำลังไว้ที่พระนคร และประกาศตั้ง พระยาสารสาสน์ประพันธ์ ขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรี โดย จอมพล ป. พิบูลสงคราม กระจายเสียงในฐานะนายกรัฐมนตรีจากในเรือ แต่ทางฝ่ายรัฐบาลไม่ยอม ได้กระจายเสียงตอบโต้ไปโดยใช้วิทยุของกรมการรักษาดินแดน (ร.ด.) โดยได้ให้นายวรการบัญชา ประธานสภาผู้แทนราษฎรรักษาการณ์นายกรัฐมนตรีแทน และตั้งกองบัญชาการขึ้นที่ทำเนียบรัฐบาล (ในขณะนั้นคือ พระที่นั่งอนันตสมาคม) จึงเกิดการต่อสู้ยิงกันอย่างหนักระหว่างทหารฝ่ายรัฐบาลและทหารฝ่ายก่อการ มีการทิ้งระเบิดจากเครื่องบินแบบ Spirt fire และ T6 ใส่เรือหลวงศรีอยุธยาที่อยู่กลางแม่น้ำเจ้าพระยา จนกระทั่งเวลาประมาณ 15.00 น. ของวันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2494 เรือก็จม จอมพล ป. พิบูลสงคราม ถูกทหารเรือที่อยู่บนเรือนำว่ายน้ำหลบหนีออกมาได้ โดยการกบฏครั้งนี้นับว่าเสียหายมากที่สุดในประวัติศาสตร์ไทย เพราะสถานที่ต่าง ๆ เสียหาย และมีผู้บาดเจ็บล้มตายนับร้อยทั้งทหารของทั้ง 2 ฝ่าย และประชาชนที่ไม่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ ภายหลังเหตุการณ์ผู้ก่อการได้แยกย้ายกันหลบหนีไปพม่าและสิงคโปร์

น.ต.มนัส จารุภา รน. ผู้ทำการจี้จอมพล ป. ได้หลบหนีไปพม่าได้สำเร็จ แต่ถูกจับกุมได้หลังจากลักลอบกลับเข้าประเทศเมื่อปี พ.ศ. 2495

เหตุการณ์สิ้นสุดลงด้วยการจับกุมผู้ต้องหาร่วม 1,000 คน ปล่อยตัวเพราะหาหลักฐานไม่เพียงพอจนเหลือฟ้องศาลประมาณ 100 คน ภายหลังนักโทษคดีนี้ส่วนใหญ่ได้รับการนิรโทษกรรมเมื่อปี พ.ศ. 2500 เนื่องในโอกาสครบ 25 พุทธศตวรรษ

หลังจากกบฏแมนฮัตตันแล้ว กองทัพเรือได้มีการเปลี่ยนแปลงขนานใหญ่ จนเกือบจะกล่าวได้ว่ากองทัพเรือนั้นไม่มีอิทธิพลใดอีกแล้ว ถึงแม้จะมีความพยายามของ พล.ร.ท. หลวงพลสินธวาณัติก์ ที่จะรื้อฟื้นกองทัพเรือแต่ก็ไม่ประสบผลจนกระทั่งภายหลังเขาต้องลาออกจากตำแหน่งผู้บัญชาการทหารเรือเมื่อวันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2494 รัฐบาลได้ส่งพวกของคณะรัฐประหารที่วางใจได้ เข้าสวมตำแหน่งสำคัญๆ ไว้โดยสิ้นเชิง เช่น พล.ร.ต. หลวงยุทธศาสตร์ โกศล (ประยูร ศาสตระรุจิ) นายทหารนอกราชการ และเป็นอดีตคนสนิทของ จอมพล ป. พิบูลสงคราม เลื่อนขึ้นเป็นผู้บัญชาการทหารเรือแทน ส่วนนายทหารชั้นผู้ใหญ่ถูกปลดออกจากตำแหน่งหมด

อาจสรุปได้ว่ากรณีแมนฮัตตัน เริ่มต้นจากความพยายามในการก่อการโค่นรัฐบาลของทหารเรือชั้นผู้น้อย ที่เรียกว่า 'คณะกู้ชาติ' แต่ลงท้ายด้วยการที่รัฐบาลถือโอกาสปราบปรามฝ่ายกองทัพเรือครั้งใหญ่ จนไม่อาจเป็นภัยคุกคามใดๆ แก่คณะรัฐประหารได้อีก ทั้งนี้แม้ฝ่ายรัฐบาลจะทราบว่านายทหารเรือชั้นผู้ใหญ่มิได้เข้าร่วมหรือสนับสนุนกลุ่ม 'คณะกู้ชาติ' แต่ฝ่ายรัฐบาลก็ได้เตรียมการที่จะปราบปรามกองทัพเรือโดยไม่ประณีประนอม

๒๙ มิถุนายน : วันสุดใจ เหล่าสุนทร

๒๙ มิถุนายน ๒๕๑๗ เป็นวันยกฐานะวิทยาลัย วิชาการศึกษา เป็นมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ตามราชบัญญัติมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ๒๕๑๗ ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ ๙๑ ตอนที่ ๑๑๒ และมีผลใช้บังคับตั้งแต่ วันที่ ๒๙ มิถุนายน ๒๕๑๗ มหาวิทยาลัยจึงถือเอา วันที่ ๒๙ มิถุนายน เป็นวันยกฐานะวิทยาลัยวิชาการศึกษา เป็นมหาวิทยาลัย ศรีนครินทรวิโรฒ ผู้ที่มีบทบาทสำคัญในการยกฐานะวิทยาลัยวิชาการศึกษาเป็นมหาวิทยาลัย ศรีนครินทรวิโรฒ คือ ศาสตราจารย์ ดร.สุดใจ เหล่าสุนทร และเพื่อเป็นเกียรติแก่ ศาสตราจารย์ ดร.สุดใจ เหล่าสุนทร จึงเรียกวันที่ ๒๙ มิถุนายน เป็น วันสุดใจ เหล่าสุนทร

๓๐ มิถุนายน ๒๓๗๔

มิชชั่นนารีอเมริกันคนแรกที่เดินทางมาถึงไทยในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวคือ ศาสตราจารย์ เดวิด เอบีล พร้อมกับศาสตราจารย์ ทอมลิน

๓๐ มิถุนายน ๒๔๙๑

บรรจุพระบรมสริรางคารที่พระพุทธบัลลังก์ พระพุทธอังคีรสในพระอุโบสถวัดราชบพิธ

 

ประวัติพระพุทธอังคีรส วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม

"วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม" หรือเรียกสั้น ๆ ว่า วัดราชบพิธ

ตั้งอยู่ที่ถนนเฟื่องนคร แขวงวัดราชบพิธ เขตพระนคร กทม. ข้างกระทรวงมหาดไทย มีรถเมล์สาย 2 ผ่าน เป็นพระอารามหลวงที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นในรัชกาลของพระองค์เมื่อ พ.ศ. 2412

มูลเหตุที่ทรงสร้างนั้น สืบเนื่องมาจากพระราชศรัทธาอันยิ่งใหญ่ และเป็นไปตามโบราณ ประเพณีนิยม ที่สมเด็จพระบรมราชบุพการีได้ทรงบำเพ็ญมา กล่าวคือ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงสร้างวัดพระเชตุ พนฯ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ทรงสร้างวัดอรุณฯ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงสร้างวัดราชโอรสาราม และพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงสร้างวัดราชประดิษฐสถิตมหาสีมาราม

ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าประดิษฐวรการ ซึ่งกำกับราชการกรมช่างสิบหมู่ ทรงอำนวยการสร้างเป็นพระองค์แรก องค์ต่อมาคือพระเจ้าวรวงศ์เธอชั้น 4 กรมหลวงสรรพศาสตร์ศุภกิจ และเมื่อผู้อำนวยการสร้างองค์ที่ 2 สิ้นพระชนม์ลงอีกจึงโปรดเกล้าฯ ให้เจ้าพระยาธรรมาธิกรณาธิบดี (ม.ร.ว.ปุ้ม มาลากุล) เป็นผู้อำนวยการสร้างจนเสร็จการ

การสร้างวัดนี้ทรงนำเอาหลักเดิมแต่โบราณมาใช้ ดังเช่นวัดราชประดิษฐฯ กล่าวคือ ทรงสถาปนาพระมหาเจดีย์เป็นหลัก ห้อมล้อมด้วยระเบียงวารทิศสองวิหารคือ ด้านเหนือและด้านใต้ สำหรับวิหารด้านเหนือนั้น ทรงสถาปนาเป็นพระอุโบสถ

ภายในพระอุโบสถตกแต่งออกแบบตามอย่างตะวันตก และเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปสำคัญ คือ "พระพุทธอังคีรส"

"พระพุทธอังคีรส"เป็นพระพุทธรูปสมัยรัตน โกสินทร์ รัชกาลที่ 5 ปางสมาธิ ขัดสมาธิราบ ทรงผ้ามีกลีบ วัสดุกะไหล่ทองเนื้อแปด สำริด ขนาดหน้าตักกว้าง 2 ศอกคืบ หรือ 60 นิ้ว น้ำหนัก 108 บาท พระฉวี วรรณเป็นทองคำทั้งองค์

วัดนี้ไม่เพียงแต่จะเป็นวัดประจำรัชกาลที่ 5 เท่านั้น แต่ยังเป็นวัดประจำรัชกาลที่ 7 อีกพระองค์หนึ่งด้วย

พระพุทธรูปองค์นี้ มีประวัติการสร้างบันทึกไว้ต่างกันเป็น 2 ความ

ความที่หนึ่งสมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงนิพนธ์ว่า พระ บาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 (พ.ศ.2411-2453) แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์ เมื่อเสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติ พุทธศักราช 2411 มีพระราชดำริสร้างวัดใกล้พระบรมมหาราชวัง สถาปนาเป็นพระอารามหลวงประจำรัชกาล

ส่วนอีกความหนึ่ง สมเด็จพระสังฆราชเจ้ากรมหลวงชินวรสิริวัฒน์ นิพนธ์ว่าพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดฯ ให้หล่อขึ้นเพื่อนำไปประดิษฐานยังพระปฐมเจดีย์ จ.นครปฐม แต่สิ้นรัชกาลเสียก่อน

ภายหลังเมื่อเสด็จสวรรคตแล้ว พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดฯ ให้นำเศวตฉัตรองค์ที่ใช้กั้นพระโกศพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มาถวายพระพุทธอังคีรส โดยเสด็จฯ ทรงประกอบพิธียกเศวตฉัตรด้วยพระองค์เอง

สิ่งก่อสร้าง พระอุโบสถ พระวิหาร พระเจดีย์ ประดับด้วยกระเบื้องเคลือบเบญจรงค์งดงามมาก มีมหาสีมารอบกำแพงวัด โปรดฯ ให้สร้างพระ พุทธอังคีรสเป็นพระประธานภายในพระอุโบสถ

พระพุทธอังคีรส เป็นพระนามของพระพุทธ เจ้าพระนามหนึ่ง แปลว่า มีพระรัศมีออกจากพระกาย องค์พระกะไหล่ทองคำทั้งองค์ หนัก 108 บาท เป็นทองคำที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงใช้แต่งพระองค์เมื่อทรงพระเยาว์ ประดิษฐานบนแท่นชุกชีหินอ่อนที่สั่งมาจากอิตาลี

รัชกาลที่ 7 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงบูรณปฏิสังขรณ์วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม เป็นงานใหญ่ ทรงถือว่าเป็นวัดประจำรัชกาลของพระราชบิดา เมื่อเสด็จสวรรคต ณ ประเทศอังกฤษ ได้อัญเชิญพระบรมอัฐิกลับเมืองไทย เมื่อปี พ.ศ.2492 บรรจุไว้ที่ฐานพระอังคีรส และในปี พ.ศ.2528 ก็ได้บรรจุพระบรมอัฐิสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณีไว้เช่นกัน

ณ ใต้ฐานบัลลังก์พระพุทธอังคีรสนี้ สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงชินวรสิริวัฒน์ โปรดให้บรรจุพระบรมอัฐิและพระอัฐิในครอบครองของพระองค์ ประกอบด้วยพระบรมอัฐิพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว พระบาทสมเด็จพระจอม เกล้าเจ้าอยู่หัว และพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระอัฐิสมเด็จพระศรีสุลาลัยและสมเด็จฯ กรมพระยาสุดารัตนราชประยูร

เมื่อเรากราบพระพุทธอังคีรส นอกจากจะได้สักการบูชาพระพุทธเจ้าแล้ว ยังเท่ากับได้ถวายสักการะพระมหากษัตริยาธิราชเจ้า แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์และพระบรมวงศ์ไปในขณะเดียวกัน

ทั้งนี้ ในวันที่ 20 กันยายนของทุกปี จะมีพิธีบำเพ็ญกุศลถวายพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เนื่องในวันคล้ายวันเสด็จพระบรมราชสมภพ ณ พระอุโบสถวัดราชบพิธแห่งนี้

ส่วนประชาชนทั่วไปที่มีจิตศรัทธา มีความประสงค์จะเข้าไปกราบนมัสการ พระพุทธอังคีรส ในพระอุโบสถของวัดราชบพิธ จะเปิดให้เข้าชมเฉพาะในวันสำคัญทางศาสนาและวันพระเท่านั้น เวลาประมาณ 08.00-09.30 น. หลังจากนั้นแล้ว พระอุโบสถจะปิด สนใจสอบถามรายละเอียด โทร. 0-2222-3930

๓๐ มิถุนายน ๒๕๐๖

ยูเนสโก ประกาศเกียรติคุณ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ เป็นบุคคลดีเด่นทางประวัติศาสตร์ของโลกในโอกาสครบรอบ ๑๐๐ ปี วันประสูติ

 

โปรดเลือก "คลิ๊ก" เพื่ออ่านเหตุการณ์ใน ๑๒ เดือน

มกราคม กุมภาพันธ์ มีนาคม เมษายน
พฤษภาคม มิถุนายน กรกฎาคม สิงหาคม
กันยายน ตุลาคม พฤศจิกายน ธันวาคม

 

นำเสนอโดย
วัดท่าไทร ต.ท่าทองใหม่
อ.กาญจนดิษฐ์ จ.สุราษฎร์ธานี 84290